งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การแก้ไขระเบียบและกฎกระทรวงที่ออกตาม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การแก้ไขระเบียบและกฎกระทรวงที่ออกตาม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การแก้ไขระเบียบและกฎกระทรวงที่ออกตาม
พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543

2 ความเป็นมา ข้าราชการ ลูกจ้าง เมื่อเข้ารับราชการครบตามกำหนดเวลาที่กฎหมายหรือระเบียบกำหนดไว้ โดยไม่มีความผิด เมื่อออกจากราชการ ก็มีสิทธิได้รับเงินเป็นค่าตอบแทน เป็น บำเหน็จ บำนาญ เงินทำขวัญ หรือเงินอื่นใดที่ทางราชการจ่ายให้ ในกรณีที่ข้าราชการถึงแก่ความตาย ในระหว่างรับราชการ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการ ปฏิบัติหน้าที่ ทายาทของข้าราชการผู้นั้นก็มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตกทอดหรือบำนาญพิเศษ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี

3 ความเป็นมา (ต่อ) การช่วยเหลือราชการการปฏิบัติงานของชาติมิใช่จะเป็นหน้าที่ของข้าราชการแต่เพียงฝ่ายเดียว ประชาชนทั่วไปรวมทั้งผู้ซึ่งมิได้มีฐานะเป็นข้าราชการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อาสาพัฒนา ราษฎรอาสาสมัคร ฯลฯ ก็มีหน้าที่ช่วยเหลือราชการหรือปฏิบัติงาน ของชาติด้วยเหมือนกัน เมื่อบุคคลตามข้างต้นได้รับอันตราย เจ็บป่วยหรือถูกประทุษร้าย เนื่องมาจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติแล้ว แต่เดิมมาทางราชการไม่มีกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนให้จ่ายเงิน ช่วยเหลือเป็นการตอบแทน

4 ความเป็นมา (ต่อ) ทางราชการได้ตระหนักในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง จึงได้ตรากฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ ผู้ประสบภัยขึ้นเรียกว่า“พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือ ราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2497” เป็นครั้งแรก ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ที่จะได้รับเงินสงเคราะห์ไว้ว่า จะต้องเป็นการ ได้รับอันตรายจนพิการเสียแขนหรือขา หูหนวกทั้งสองข้าง ตาบอดหรือได้รับการป่วยเจ็บ ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจแล้วและแสดงว่าถึงทุพพลภาพเพราะได้กระทำการ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ช่วยเหลือราชการ ปฏิบัติงานของชาติตามที่ได้รับมอบหมาย จากทางราชการ ช่วยเหลือบุคคลอื่นตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ปฏิบัติการตามหน้าที่ มนุษยธรรม ในเมื่อการนั้นไม่เป็นการขัดกับคำสั่งโดยชอบของเจ้าพนักงาน แล้วมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือน

5 ความเป็นมา (ต่อ) กฎหมายฉบับดังกล่าว ได้มีการปรับปรุง แก้ไขมาเป็นลำดับเพื่อให้เหมาะสมและ สอดคล้องกับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 15 ได้มีการ ยกเลิกการจ่ายเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือนและกำหนดให้จ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว และพระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ ได้ยกเลิก กฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยที่มีอยู่เดิมทั้งหมด โดยกำหนดให้ผู้ประสบภัยซึ่ง สูญเสียอวัยวะอื่นๆ นอกจากแขน ขา หูหนวกทั้งสองข้าง หรือตาบอดได้รับการ สงเคราะห์ และในกรณีที่ผู้ประสบภัยต้องพิการทุพพลภาพขนาดหนักจนเป็นอุปสรรค สำคัญยิ่งในการประกอบอาชีพหรือการดำรงชีพ สมควรให้ได้รับเงินดำรงชีพเป็นราย เดือนด้วย

6 สาระสำคัญ บุคคลที่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ มาตรา 5
พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัย เนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543 สิทธิประโยชน์ มาตรา 5-9, 10-11, 17 การขอรับ มาตรา 12 คณะกรรมการ มาตรา 13-16

7 บุคคลที่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์
บุคคลที่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ เมื่อได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ช่วยเหลือราชการด้วยความสมัครใจหรือทางราชการร้องขอโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ จากทางราชการ ปฏิบัติงานของชาติตามที่ได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางราชการ ยกเว้น สำหรับกรณีเร่งด่วนหรือปฏิบัติงานที่เป็นความลับ ปฏิบัติการตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีหน้าที่ในการดูแล ความสงบเรียบร้อยในตำบล หรือหมู่บ้านที่รับผิดชอบ ปฏิบัติหน้าที่เป็นพลเมืองดี เช่น การช่วยเหลือคนตกน้ำ ช่วยสกัดคนร้าย เป็นต้น

8 บุคคลที่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ (ต่อ)
ซึ่งผลจากการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ตนเองประสบภัย ดังนี้ ถูกทำร้ายร่างกาย ประสบอันตรายจนต้องสูญเสียอวัยวะ หรือสมรรถภาพในการใช้งานของอวัยวะส่วนนั้นไป ป่วยทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ หรือเป็นอุปสรรค ในการดำรงชีวิต ถึงแก่ความตาย ยกเว้น ภัยที่เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือจากความผิดของตนเอง

9 สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประสบภัยจะได้รับ
ได้รับบาดเจ็บ ค่ารักษาพยาบาล มาตรา 9 เสียอวัยวะ ค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชย มาตรา 5 วรรค 2, มาตรา 6 ทุพพลภาพขนาดหนัก ค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชย เงิน ดำรงชีพ มาตรา 8 ถึงแก่ความตาย ค่ารักษาพยาบาล (ก่อนเสียชีวิต) เงินชดเชย ค่าจัดการศพ มาตรา 7 ทายาท

10 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
มาตรา 9 ผู้ประสบภัยมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลจากรัฐ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราที่ กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ประสบภัย จะมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์หรือไม่ก็ตาม ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัย เนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2544 พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543

11 อวัยวะเทียม อุปกรณ์บำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม
ค่ายา ค่าเลือด น้ำยา สารทดแทน อาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน ฯลฯ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์

12 สิทธิ = สิทธิของข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยเงินสวัสดิการ
เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ** แต่ถ้าผู้ประสบภัยได้รับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือบุคคลในครอบครัวของผู้ประสบภัยได้รับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล สำหรับผู้ประสบภัยจากหน่วยงานอื่นของรัฐ แล้วจะไม่มีสิทธิตามระเบียบนี้ *** เว้นแต่ ได้รับในอัตราที่ต่ำกว่าระเบียบนี้ ให้มีสิทธิได้รับเฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่ พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543

13 - คณะกรรมการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย เสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาอนุมัติ
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลบางประเภท ที่ไม่สามารถเบิกได้ตามระเบียบ กรณีไม่เกิน 50,000 บาท - ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ผู้ว่าราชการจังหวัด เสนอคณะกรรมการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย เพื่ออนุมัติจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ กรณีเกินกว่า 50,000 บาท - คณะกรรมการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย เสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาอนุมัติ พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543

14 เงินชดเชย เงินดำรงชีพ เงินสงเคราะห์
+ = กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและอัตราในการจ่ายเงินสงเคราะห์ และกำหนดลักษณะของความพิการทุพพลภาพขนาดหนักจนเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งในการประกอบอาชีพ หรือในการดำรงชีพ พ.ศ. 2544 พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543

15 เงินชดเชย คำนวณเป็นจำนวนเท่าของอัตราเงินเดือน ตามความร้ายแรงของการสูญเสีย เช่น เสียชีวิตหรือทุพพลภาพขนาดหนัก 30 เท่าของอัตราเงินเดือน แขนขาดข้างหนึ่ง 24 เท่าครึ่งของอัตราเงินเดือน สูญเสียลูกตาข้างหนึ่ง 11 เท่าครึ่งของอัตราเงินเดือน สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์หรือ 25 เท่าของอัตราเงินเดือน ความสามารถในการสืบพันธุ์ ถ้าสูญเสียหลายอวัยวะคำนวณรวมกัน แต่ไม่เกิน 30 เท่า อัตราเงินเดือน = อัตราเงินเดือนระดับ 3 ขั้นต้นของบัญชีอัตราเงินเดือนของ ข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ขณะประสบภัย

16 ได้รับเงินดำรงชีพในอัตรา 50% ของ อัตราเงินเดือน
พิการทุพพลภาพขนาดหนักจนเป็นอุปสรรค์สำคัญยิ่งในการประกอบอาชีพหรือในการดำรงชีพ เช่น ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่ศีรษะหรือกระดูกสันหลัง เป็นเหตุให้มือหรือแขนทั้งสองข้าง มือข้างหนึ่งกับแขนข้างหนึ่ง เท้าหรือขาทั้งสองข้าง เท้าข้างหนึ่งกับขาอีกข้างหนึ่ง มือหรือแขนข้างหนึ่งกับเท้าหรือแขนอีกข้างหนึ่ง สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานโดยสิ้นเชิง แขนขาดข้างหนึ่งกับมือขาดอีกข้างหนึ่ง ขาขาดสองข้าง หรือขาขาดข้างหนึ่งกับเท้าขาดอีกข้างหนึ่ง เท้าหรือขาขาดข้างหนึ่งกับมือหรือแขนขาดอีกข้างหนึ่ง ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่ศีรษะอันเป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติของความรู้สึกตัวหรือจิตฟั่นเฟือน เป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติงานได้และไม่สามารถรักษาให้หายได้หรือวิกลจริต ได้รับเงินดำรงชีพในอัตรา 50% ของ อัตราเงินเดือน

17 แขนขาด มือขาด เท้าขาด นิ้วขาด ?
กฎกระทรวงมีคำอธิบายไว้ แขนขาด ขาดตั้งแต่ข้อศอกขึ้นมา ขาขาด ขาดตั้งแต่หัวเข่าขึ้นมา มือขาด ขาดตั้งแต่ข้อมือขึ้นมา นิ้วขาด ขาดเกินหนึ่งข้อขึ้นไป (หัวแม่มือ/เท้า) ขาดเกินสองข้อขึ้นไป (นิ้วอื่น) เท้าขาด ขาดตั้งแต่ข้อเท้าขึ้นมา

18 เงินช่วยเหลือค่าจัดการศพ
มาตรา 7 ในกรณีที่ผู้ประสบภัยถึงแก่ความตายเพราะเหตุได้กระทำการตามมาตรา 5 ให้จ่ายเงินช่วยเหลือค่าจัดการศพแก่ทายาทซึ่งจัดการศพหรือผู้จัดการศพของผู้ประสบภัยตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราที่ กระทรวงการคลังกำหนด ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินช่วยเหลือค่าจัดการศพผู้ประสบภัย เนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2544 พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543

19 *** เว้นแต่ได้รับต่ำกว่าระเบียบนี้ ให้ได้รับเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่
ข้อ 5 ให้จ่ายเงินช่วยเหลือค่าจัดการศพแก่ทายาทซึ่งจัดการศพหรือผู้จัดการศพของผู้เสียชีวิต เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท ** ถ้าทายาทหรือผู้จัดการศพ ได้รับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการศพจากหน่วยงานอื่นของรัฐแล้ว จะไม่มีสิทธิได้รับเงินตามระเบียบนี้ *** เว้นแต่ได้รับต่ำกว่าระเบียบนี้ ให้ได้รับเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543

20 ถ้าทายาทซึ่งจัดการศพมีหลายคน ให้จ่ายแก่ทายาทผู้ซึ่งทายาทอื่นมอบหมายเป็นหนังสือ
ถ้าไม่มีทายาท หรือมีแต่ไม่มีผู้ใดจัดการศพ ซึ่งจัดการศพมีหลายคน ให้จ่ายแก่ผู้จัดการศพผู้ซึ่งผู้จัดการศพอื่นมอบหมายเป็นหนังสือ

21 ระยะเวลาในการยื่นเรื่องขอรับ
ภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ผู้มีสิทธิ ได้ทราบถึงสิทธิ

22 คณะกรรมการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย

23 คณะกรรมการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย ประกอบด้วย
ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ ผู้แทนกระทรวงกลาโหม กรรมการ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย กรรมการ ผู้แทนกระทรวงแรงงาน กรรมการ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กรรมการและเลขานุการ

24 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย
พิจารณาพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นว่าใครจะมีสิทธิ ได้รับเงินสงเคราะห์ พิจารณาอนุมัติจ่ายเงินสงเคราะห์ กำหนดระเบียบและวิธีปฏิบัติอื่นๆ ตามที่ เห็นสมควร

25 แนวทาง วิธีการ และขั้นตอนปฏิบัติ การขอรับเงินสงเคราะห์
เงินชดเชย และเงินดำรงชีพ ค่ารักษาพยาบาล ค่าจัดการศพ

26 การขอรับเงินชดเชยและเงินดำรงชีพ
1. ผู้มีสิทธิยื่นเรื่องขอรับ 2. สถานที่ในการยื่นเรื่องขอรับ 3. เอกสารประกอบในการขอรับ

27 1. ผู้มีสิทธิยื่นเรื่องขอรับ
ตัวผู้ประสบภัยเอง ทายาทของผู้ประสบภัย

28 2. สถานที่ในการยื่นเรื่องขอรับ
กรุงเทพมหานคร ยื่นต่อผู้อำนวยการเขตซึ่งเป็นท้องที่ที่เกิดเหตุ จังหวัด ยื่นต่อนายอำเภอซึ่งเป็นท้องที่ที่เกิดเหตุ

29 3. เอกสารประกอบในการขอรับ
แบบคำขอรับเงินสงเคราะห์ เอกสารประกอบ

30 แบบคำขอรับเงินสงเคราะห์

31

32 เอกสารประกอบ หลักฐานเกี่ยวกับตัวผู้ประสบภัยและข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้น
หลักฐานเกี่ยวกับตัวผู้ประสบภัยและข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้น หลักฐานเกี่ยวกับทายาท

33 หลักฐานเกี่ยวกับตัวผู้ประสบภัยและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
กรณีสูญเสียอวัยวะ พิการทุพพลภาพ กรณีถึงแก่ความตาย - หลักฐานเกี่ยวกับตัวผู้ประสบภัย - หลักฐานการสอบสวนพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ - หลักฐานหรือคำสั่งในการช่วยเหลือราชการ - รายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงของอำเภอ - รายงานการสอบสวนของพนักงานสอบสวน - ใบรับรองแพทย์ - หลักฐานเกี่ยวกับการตาย - รายงานการสอบสวนของพนักงานสอบสวน - หลักฐานทางการแพทย์

34 รายละเอียดของรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงของอำเภอ
จะต้องมีรายละเอียด ที่เกี่ยวข้องกับพฤติการณ์การปฏิบัติหน้าที่ว่าปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับผู้ใดบ้าง ปฏิบัติอย่างไร หากประสบภัยทางรถจักรยานยนต์/รถยนต์ * จะต้องสอบสวนว่าก่อนที่จะเดินทาง มีการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมหรือไม่ * การขับขี่รถจักรยานยนต์ได้มีการ สวมหมวกป้องกันศีรษะหรือไม่ * ใช้ความเร็วรถเท่าใด * ถนนมีแสงสว่างมากน้อยเพียงใด * สภาพถนนและการจราจรเป็นอย่างไร มีช่องทางการเดินรถกี่ช่องทาง * อธิบายสภาพของถนนและภูมิทัศน์ ให้ชัดเจน * แผนผังพื้นที่การปฏิบัติหน้าที่

35 รายละเอียดของรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงของอำเภอ
กรณีป่วยตาย ให้มีข้อมูล ดังนี้ * เอกสารหลักฐานทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับ ประวัติการรักษาพยาบาล * ให้ตรวจสอบว่า มีโรคประจำตัว และเคย เข้ารับการรักษาพยาบาลหรือไม่ อย่างไร * ขอข้อมูลทางการแพทย์โดยให้แพทย์ ผู้รักษาระบุสาเหตุการเสียชีวิตให้ชัดเจน และเข้าใจง่ายว่า มีสาเหตุการเสียชีวิตเพราะ เหตุใด เช่น เกิดจากโรคประจำตัว หรือเกิด จากการปฏิบัติหน้าที่ หรือจากกรณีอื่นใด ที่อาจส่งผลต่อการเสียชีวิตได้ กรณีสูญเสียอวัยวะ ให้มีข้อมูล ดังนี้ * ขอให้ส่งใบรับรองแพทย์ฉบับจริงซึ่งแพทย์ ได้วินิจฉัยและลงความเห็นว่า “แผลติดเชื้อ ต้องตัดแขนซ้าย” *ให้วินิจฉัยว่า สูญเสียอวัยวะส่วนใด ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้าใดบ้างขาด และแต่ละนิ้วขาดเป็น จำนวนกี่ข้อ

36 รายละเอียดของรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงของอำเภอ
กรณีนักประดาน้ำจมน้ำเสียชีวิต จะต้องมีรายละเอียด ดังนี้ 1.ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าในวันเกิดเหตุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการดำน้ำมีสภาพพร้อม ใช้งานหรือไม่ โดยปกติอากาศหายใจในถังจะใช้ดำน้ำได้นานเพียงใด 2.ขอให้สอบสวนข้อเท็จจริงว่าสาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากอุปกรณ์บกพร่องหรือจากสภาพร่างกายของผู้ตายเอง 3.ขอให้ตรวจสอบว่าผู้ตายมีโรคประจำตัวหรือไม่ และเคยเข้ารับการตรวจสุขภาพร่างกายบ้างหรือไม่ 4.การเป็นนักประดาน้ำมีใบอนุญาตถูกต้องหรือไม่ 5.นักประดาน้ำมีชั่วโมงการฝึกอบรมการเป็นนักประดาน้ำมากน้อยเพียงใด มีจำนวนครั้งในการปฏิบัติงานประดาน้ำ จำนวนเท่าใด

37 รายงานการ สอบสวนของ พนักงาน สอบสวน

38 หลักฐานเกี่ยวกับทายาท
1. หลักฐานเกี่ยวกับการตาย 3.หลักฐานแสดงการเป็นผู้ปกครอง/ผู้พิทักษ์/ผู้อนุบาล 2. หลักฐานเกี่ยวกับทายาท กรณีทายาทเป็นผู้ยื่นคำขอ ประกอบด้วย

39 กรณีทายาทเป็นผู้ยื่นคำขอ
1. หลักฐานเกี่ยวกับการตาย สำเนามรณบัตรของผู้ประสบภัย สำเนาคำสั่งศาล สำหรับผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ

40 กรณีทายาทเป็นผู้ยื่นคำขอ
2. หลักฐานเกี่ยวกับทายาท 3. บุตร 2.คู่สมรส 1. บิดามารดา สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนามรณบัตร กรณีไม่มีสำเนามรณบัตรให้ใช้หนังสือรับรองการตายของบุคคลที่ควรเชื่อถือได้ สำเนาทะเบียนสมรสหรือใบสำคัญการสมรสของผู้ตายกับมารดาของบุตรหรือสำเนาทะเบียนการรับรองบุตร หรือ สำเนาคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตร สำเนาทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมกรณีที่มีบุตรบุญธรรม สำเนาทะเบียนบ้านของบิดามารดา สำเนามรณบัตรของบิดา หรือมารดา กรณีไม่มีสำเนามรณบัตรให้ใช้หนังสือรับรองการตายของบุคคลที่ควรเชื่อถือได้ สำเนาทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการสมรสของบิดามารดา (หรือหนังสือรับรองของบุคคลที่ควรเชื่อถือได้ที่รับรองว่าบิดามารดาสมรสก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478) สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนามรณบัตร กรณีไม่มีสำเนามรณบัตรให้ใช้หนังสือรับรองการตายของบุคคลที่ควรเชื่อถือได้ สำเนาทะเบียนสมรสหรือใบสำคัญการสมรส สำเนาทะเบียนการหย่า หรือใบสำคัญการหย่า

41 กรณีทายาทเป็นผู้ยื่นคำขอ
3. หลักฐานแสดงการเป็นผู้ปกครองโดยชอบด้วย กฎหมายหรือผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาล สำเนาคำสั่งศาลตั้งผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี

42 ขั้นตอนการขอรับและสั่งจ่ายเงินชดเชย และเงินดำรงชีพ

43 การยื่นเรื่องขอรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
เอกสารประกอบ ตามกรณี ดังนี้ กรณีผู้ประสบภัยยื่นคำขอ กรณีบุคคลอื่นเป็นผู้ขอ

44 เอกสารประกอบคำขอรับเงินค่ารักษาพยาบาลของผู้ประสบภัย
กรณีผู้ประสบภัยยื่นคำขอ แบบคำขอรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล 1 คำสั่งหรือหลักฐานใด ๆ ในการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม 2 หนังสือรับรองของสถานพยาบาล 3 หลักฐานการรับเงินของสถานพยาบาล 4 รายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงของผู้อำนวยการเขต (กทม.) หรือนายอำเภอ 5 หลักฐานอื่น ๆ 6 1 2 3 4

45 หลักฐานกรณีบุคคลอื่นเป็นผู้ขอ
1 กรณีผู้ประสบภัยถึงแก่ความตาย 2 กรณีผู้ประสบภัยมีสติสัมปชัญญะดี แต่ไม่อาจลงลายมือชื่อ ในคำขอรับได้ 3 กรณีผู้ประสบภัยไม่รู้สึกตัว หรือไม่มีสติสัมปชัญญะ หรือไม่สามารถพิมพ์ลายนิ้วมือได้ 4 กรณีบุคคลที่ผู้อำนวยการเขต/นายอำเภอ พิจารณาให้เป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำขอรับเงินแทนผู้ประสบภัย

46 กรณีผู้ประสบภัยถึงแก่ความตายก่อนยื่นขอรับ
1 กรณีผู้ประสบภัยถึงแก่ความตายก่อนยื่นขอรับ เป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำขอรับแทนปลัด ไม่อาจลงลายมือชื่อในคำขอรับได้ กรณีถึงแก่ความตาย ให้ผู้จัดการมกรดก หรือทายาทตาม ปพพ. ลงลายมือชื่อในแบบคำขอรับ พร้อมแนบหลักฐาน ดังนี้ 2. สำเนามรณบัตร 4. หลักฐานเกี่ยวกับทายาท (กรณีทายาทของผู้ประสบภัยเป็นผู้ยื่นคำขอ)รับเงิน โดยใช้หลักฐานเช่นเดียวกับกรณียื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์) 3.สำเนาคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก (กรณีผู้จัดการมรดกเป็นผู้ยื่นคำขอ) 1. หลักฐานเกี่ยวกับตัวผู้ประสบภัย และหลักฐานประกอบ คำขอรับ

47 2 กรณีผู้ประสบภัยมีสติสัมปชัญญะดี แต่ไม่อาจ ลงลายมือชื่อในคำขอรับได้
ให้ผู้ประสบภัยพิมพ์ลายนิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อพร้อมทั้งให้พยาน 2 คน ลงลายมือชื่อในคำรับรอง หลักฐานเกี่ยวกับตัวผู้ประสบภัย และหลักฐานประกอบคำขอรับ หลักฐานของผู้ยื่นคำขอแทนผู้ประสบภัย ได้แก่ หลักฐานแสดงความเป็นบุคคล ในครอบครัวกับผู้ประสบภัย ( บุตร คู่สมรส บิดาหรือมารดา) หรือคำสั่งศาล ในการตั้งเป็นผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี โดยใช้หลักฐานเช่นเดียวกับ กรณียื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์

48 3 กรณีผู้ประสบภัยไม่รู้สึกตัว หรือไม่มีสติสัมปชัญญะ หรือไม่สามารถพิมพ์ลายนิ้วมือได้ ให้บุคคล ในครอบครัว ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ฯ เป็นผู้ลงลายมือชื่อ ในคำขอรับและยื่นคำขอ หลักฐานเกี่ยวกับตัวผู้ประสบภัย และหลักฐานประกอบคำขอรับ หนังสือรับรองของแพทย์ผู้ทำการรักษาระบุว่า ผู้ประสบภัย ไม่รู้สึกตัว หรือไม่มีสติสัมปชัญญะเพียงพอที่จะพิมพ์ลายนิ้วมือด้วยตนเอง หรือไม่สามารถพิมพ์ลายนิ้วมือได้ หลักฐานของผู้ยื่นคำขอแทนผู้ประสบภัย ได้แก่ หลักฐานแสดงความเป็นบุคคลในครอบครัวกับผู้ประสบภัย (บุตร คู่สมรส บิดาหรือมารดา) หรือคำสั่งศาลในการตั้งเป็นผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี โดยใช้หลักฐานเช่นเดียวกับกรณียื่นคำขอรับ เงินสงเคราะห์

49 กรณีบุคคลที่ผู้อำนวยการเขต/นายอำเภอ พิจารณาให้เป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำขอรับเงินแทนผู้ประสบภัย
4 หากไม่มีบุคคลตามที่กำหนดไว้ที่จะลงลายมือชื่อในคำขอรับให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้อำนวยการเขต/นายอำเภอ ที่จะพิจารณาให้บุคคลใดตามที่เห็นสมควรเป็นผู้ ลงลายมือชื่อในคำขอรับแทนผู้ประสบภัยได้ พร้อมแนบหลักฐาน ดังนี้ 1. หลักฐานเกี่ยวกับตัวผู้ประสบภัย และหลักฐานประกอบคำขอรับ 2. หลักฐานที่ผู้อำนวยการเขต หรือนายอำเภอมอบหมายให้เป็นผู้ลง ลายมือชื่อในการขอรับเงินแทนผู้ประสบภัย

50 แบบคำขอรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล

51

52 ขั้นตอนการขอรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล
ผู้ประสบภัยหรือทายาท แบบและหลักฐาน ผู้อำนวยการเขต / นายอำเภอ สอบข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐาน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร / ผู้ว่าราชการจังหวัด พิจารณาอนุมัติ กรุงเทพมหานคร / ที่ทำการปกครองจังหวัด เบิกจ่ายให้ผู้ประสบภัยหรือทายาท

53 กรณีที่ค่ารักษาพยาบาลบางประเภทที่ไม่อาจเบิกได้ตามระเบียบ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร / ผู้ว่าราชการจังหวัด เบิกไม่ได้ตามระเบียบ เสนอคณะกรรมการอนุมัติไม่เกินรายละ 50,000 บาท คณะกรรมการเห็นควรจ่ายเกินกว่า 50,000 บาท กระทรวงการคลังพิจารณาเป็นรายๆไป กรุงเทพมหานคร หรือ ที่ทำการปกครองจังหวัด เบิกจ่ายให้ผู้ประสบภัย / ทายาท

54 การยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือค่าจัดการศพ
เอกสารประกอบ

55 เอกสารประกอบคำขอรับเงินช่วยเหลือค่าจัดการศพ
1 แบบคำขอรับเงินช่วยเหลือค่าจัดการศพ 2 หลักฐานหรือคำสั่งในการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงาน ของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม สำเนามรณบัตรของผู้ประสบภัย 3 หนังสือมอบหมายให้ทายาทหรือผู้จัดการศพผู้หนึ่งผู้ใด เป็นผู้รับเงินค่าจัดการศพ 4 หลักฐานแสดงการเป็นผู้จัดการศพ พร้อมหนังสือมอบหมาย ให้เป็นผู้จัดการศพ 5 6 หลักฐานอื่นๆ

56 แบบขอรับเงินช่วยเหลือค่าจัดการศพ

57

58 ขั้นตอนการขอรับเงินช่วยเหลือค่าจัดการศพ

59 การปรับปรุงแก้ไข

60 สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประสบภัยจะได้รับ
ได้รับบาดเจ็บ ค่ารักษาพยาบาล มาตรา 9 เสียอวัยวะ ค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชย มาตรา 5 วรรค 2, มาตรา 6 ทุพพลภาพขนาดหนัก ค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชย เงิน ดำรงชีพ มาตรา 8 ถึงแก่ความตาย ค่ารักษาพยาบาล (ก่อนเสียชีวิต) เงินชดเชย ค่าจัดการศพ มาตรา 7 ทายาท

61 เงินสงเคราะห์ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและอัตราในการจ่ายเงินสงเคราะห์และกำหนดลักษณะของความพิการทุพพลภาพขนาดหนักจนเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งในการประกอบอาชีพ หรือในการดำรงชีพ พ.ศ. 2544 เงินสงเคราะห์ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัย เนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2544 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินช่วยเหลือค่าจัดการศพผู้ประสบภัย เนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2544 เงินช่วยเหลือค่าจัดการศพ พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543

62 เงินสงเคราะห์ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
ร่างพระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543 ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและอัตราในการจ่ายเงินสงเคราะห์และกำหนดลักษณะของความพิการทุพพลภาพขนาดหนักจนเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งในการประกอบอาชีพ หรือในการดำรงชีพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เงินสงเคราะห์ ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัย เนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เงินช่วยเหลือค่าจัดการศพ ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินช่วยเหลือค่าจัดการศพผู้ประสบภัย เนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543

63 แนวทางการปรับปรุงแก้ไข กฎหมายสงเคราะห์ฯ
1. การกำหนดนิยามคำว่า “เงินเดือน” ให้ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน ที่มา เงินชดเชย และเงินดำรงชีพ คำนวณจ่ายเป็นจำนวนเท่าของเงินเดือน เดิม เงินเดือน = เงินเดือนข้าราชการระดับ 3 การปรับปรุงแก้ไข เงินเดือน = เงินเดือนของข้าราชการประเภทวิชาการวุฒิปริญญาตรีขั้นต่ำ (15,000) ประเด็นที่ได้จากการสัมมนา 1.อัตราเงินเดือนระดับนี้ เป็นอัตราที่เหมาะสมหรือไม่ 1.1 ไม่เหมาะสม - มากเกินไป เพราะ ใช้อัตราข้าราชการบางคนยังไม่ได้เท่านี้ - น้อยเกินไป เพราะ ประชาชนบางราย มีรายได้ต่อเดือนที่สูงกว่านั้น 1.2 เหมาะสมแล้ว

64 แนวทางการปรับปรุงแก้ไข กฎหมายสงเคราะห์ฯ
2. กำหนดให้มีเงินเพื่อการชดเชยการขาดรายได้ ที่มา ผู้ประสบภัยมีสิทธิได้รับเงินชดเชย และได้รับค่ารักษาพยาบาลในระหว่างเข้ารับการรักษา แต่ยังไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดให้ได้รับเงินเพื่อชดเชยรายได้ในระหว่างที่เข้ารับการรักษาพยาบาลนั้น การปรับปรุงแก้ไข กำหนดให้มีเงินก้อนหนึ่งที่จ่ายให้เพื่อชดเชยการขาดรายได้ คำนวณจากอัตรา วันละสามร้อยบาท (ค่าแรงขั้นต่ำ) ตามจำนวนวันที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ข้อจำกัด 1. ได้รับไม่เกิน วัน หรือไม่เกินตามที่แพทย์สั่ง 2. ถ้าผู้ประสบภัยเป็นข้าราชการที่ได้รับเงินเดือน หรือเป็นผู้ที่ได้รับเงินเดือนตามสัญญาจ้างแรงงาน หรืออื่นๆในลักษณะเดียวกัน จะไม่ได้รับการชดเชย ประเด็นที่ได้จากการสัมมนา 1. อัตราวันละ 300 บาท (ข้อสันนิษฐาน = ค่าแรงขั้นต่ำ) เหมาะสมหรือไม่ 1.1 เหมาะสม 1.2 ไม่เหมาะสม - สูงเกินไป เพราะค่าแรงขึ้นต่ำวันละ 300 บาท ถ้าวันใดไม่ทำงานก็จะไม่ได้รับค่าจ้าง ฉะนั้น จริงๆ จะได้ไม่ถึงเดือนละ 9000 บาท กรณีนี้ นอนรักษาตัวก็ได้เงินทุกวัน จะได้เงินมากกว่าคนที่ทำงานจริงๆ เสียอีก - น้อยเกินไป เพราะไม่ได้คำนึงถึงรายได้ที่แท้จริงของผู้ประสบภัย (บางคนอาจมีรายได้ที่สูงกว่านั้นมาก)

65 ประเด็นที่ได้จากการสัมมนา
2. กำหนดกรอบระยะเวลาในการได้รับเงิน เป็น 60 วัน แต่สามารถขยายได้อีกไม่เกิน 60 วัน ทั้งนี้ต้องไม่เกินกว่าวันที่แพทย์สั่ง จะเหมาะสมหรือไม่ 2.1 เหมาะสม เพราะข้าราชการก็มีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างลาได้ไม่เกินนี้ 2.2 ไม่เหมาะสม เพราะผู้ประสบภัยได้รับอันตรายเพราะช่วยเหลือราชการ ทางราชการควรดูแลเต็มที่ ตามจำนวนวันที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจริง 3. ถ้าผู้ประสบภัยไม่สูญเสียรายได้จริง ยังควรมีสิทธิได้รับเงินนี้หรือไม่ 3.1 ควร เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายนี้ ต้องการสงเคราะห์คนที่ทำความดี รายได้เดิมของเขาจะขาดไปหรือไม่ ก็ไม่สำคัญ 3.2 ไม่ควร เพราะรายได้เป็นเรื่องของการทำงานปกติ แต่การชดเชยนี้ เป็นการตอบแทนที่เป็นพลเมืองดี 4. อัตราวันละ 300 เหมาะสมหรือไม่ 4.1 เหมาะสมแล้ว 4.2 ไม่เหมาะสม ควรกำหนดจากรายได้ที่แท้จริงของผู้ประสบภัย 4.3 ไม่เหมาะสม ควรเป็นวันละ 500 บาท (ฐานเงินเดือน 15,000 หาร 30 = วันละ 500 บาท) พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543

66 แนวทางการปรับปรุงแก้ไข กฎหมายสงเคราะห์ฯ
3. เพิ่มอำนาจของคณะกรรมการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยในการอนุมัติค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ไม่สามารถเบิกได้ตามระเบียบ ฯ ที่มา เดิมกรณีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ไม่สามารถเบิกได้ตามระเบียบฯ ในวงเงินไม่เกิน 5 หมื่นบาท ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เสนอคณะกรรมการฯ อนุมัติ แต่ถ้าเกิน ให้กระทรวงการคลังอนุมัติ การปรับปรุงแก้ไข ขยายวงเงินที่คณะกรรมการฯ มีอำนาจพิจารณาอนุมัติจาก 5 หมื่นบาท เป็น 1 แสนบาท ประเด็นที่ได้จากการสัมมนา 1. เกณฑ์ 1 แสน = อำนาจกรรมการ, เกิน 1 แสน = อำนาจคลัง เหมาะสมหรือไม่ 1.1 เหมาะสม เพราะคลังควรมีอำนาจในการพิจารณาขั้นสุดท้าย 1.2 ไม่เหมาะสม เพราะทำให้กระบวนการยาว ผู้ประสบภัยได้เงินช้า ประเด็นต่อเนื่อง จะมีวิธีการอย่างไรให้สามารถอนุมัติเงินได้รวดเร็วขึ้น มอบอำนาจให้ผู้ว่าฯ พิจารณาสั่งจ่ายได้เลย มีคณะกรรมการระดับจังหวัด กำหนดให้ ร.พ รักษาไปก่อน แล้วให้ ร.พ มาเบิกกับทางราชการเอง

67 แนวทางการปรับปรุงแก้ไข กฎหมายสงเคราะห์ฯ
4. เพิ่มอัตราเงินช่วยค่าจัดการศพ ที่มา กรณีผู้ประสบภัยถึงแก่ความตาย จะได้รับเงินช่วยค่าจัดการศพ 2 หมื่นบาท ซึ่งปัจจุบัน ไม่เพียงพอแล้ว การปรับปรุงแก้ไข แก้ไขเป็น 3 เท่าของเงินเดือนของข้าราชการประเภทวิชาการวุฒิปริญญาตรีขั้นต่ำ (15,000) ซึ่งจะสอดคล้องกับเงินช่วยพิเศษ (เงินช่วยค่าทำศพ) ของข้าราชการ ประเด็นที่ได้จากการสัมมนา 1.อัตราเงินช่วยค่าทำศพเหมาะสมหรือไม่ 2. การใช้อัตรา 3 เท่าของเงินเดือน เหมาะสมหรือไม่ 2.1 ไม่เหมาะสม - มากเกินไป เพราะ ใช้อัตราข้าราชการบางคนยังไม่ได้เท่านี้ - น้อยเกินไป เพราะ ประชาชนบางราย มีรายได้ต่อเดือนที่สูงกว่านั้น 2.2 เหมาะสมแล้ว

68 ข้อมูลเพิ่มเติม ค่าจัดการศพ ในปัจจุบัน

69

70 99,240 บาท จัดพิธีแบบจีน วัดสุนทรธรรมทาน กรุงเทพมหานคร คิดเพียง 3 วัน
1. ค่าหีบศพ ,000 บาท 2. ค่าสถานที่ 2,400 บาท 3. ค่าคนหามศพ 2,100 บาท 4. ค่าดอกไม้ประดับศพ 4,100 บาท 5. ค่าอาหารเลี้ยงแขก (เฉลี่ยวันละ 2,000 บาท) 6,000 บาท 6. ค่าน้ำดื่ม บาท 7. ค่าน้ำแข็ง บาท 8. ค่าของถวายพระ บาท 9. ค่าผ้าสบง บาท 10. ค่าดอกไม้ถวายพระ บาท 11. ค่าพนักงานประจำศาลา บาท 12. ค่าใช้จ่ายในพิธีกงเต็ก ,990 บาท 13. ค่าจุดธูป บาท 14. ค่ากระแสไฟฟ้าพิเศษกงเต็ก บาท 15. ค่าเตาเผากระดาษ บาท 99,240 บาท

71 วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จังหวัดนนทบุรี คิดเพียง 3 วัน
1. ค่าหีบศพ 7,700 บาท 2. ค่าดอกไม้ประดับศพ 4,500 บาท 3. ค่ารถรับศพ 900 บาท 4. ค่าศาลา 2,400 บาท 5. ค่าเมรุเผาศพ 3,000 บาท 6. ค่าพนักงานเผาศพ 200 บาท 7. ค่าดอกไม้ ธูป เทียน 750 บาท 8. ค่าไทยทาน 2,800 บาท 9. ค่าดอกไม้จันทน์ 180 บาท 10. ค่าผ้าสบง 2,450 บาท 11. ค่าภัตตาหารเพลพระสงฆ์ 1,600 บาท 12. ค่าอาหารแขกมื้อกลางวัน 5,000 บาท 13. ค่าบำรุงรักษาศาลารับแขก 300 บาท 14. ค่าพนักงานบริการ 3 คน 900 บาท 32,680 บาท

72 วัดแหลมใต้ จังหวัดฉะเชิงเทรา คิดเพียง 3 วัน
1. ค่าเมรุ (ค่าน้ำ ไฟ) 4,000 บาท 2. ค่าพระดูแลประจำศาลา 3,000 บาท 3. พนักงานบริการ (สัปเหร่อ) 1,200 บาท 4. ค่าผ้าสบง ถวายพระสวดอภิธรรม (ผืนละ 30 บาท 3 คืน 4 ผืน = 12 ผืน) บาท ถวายพระสวดมาติกาบังสุกุล (ผืนละ 30 บาท ถวาย 10 ผืน) บาท 5. ค่าผ้าไตรวันเผาศพ (ผืนละ 300 บาท ใช้ 10 ผืน) 3,000 บาท 6. ค่าอาหารเลี้ยงแขกในวัดสวดอภิธรรม (คืนละประมาณ 5, ,000 บาท) ,000 บาท 7. ค่าดอกไม้หน้าศพ ดอกไม้ถวายพระสวดอภิธรรมศพ ,000 บาท 8. ค่าพุ่มถวายพระ พุ่มละ 200 บาท (คืนละ 4 รูป 3 คืน = 4 X 3 X 200 ) ,400 บาท ค่าภัตตาหารเพลพระสงฆ์ 9 รูป =9 x ,800 บาท 9. เงินถวายพระ - วันสวดอภิธรรมคืนละ 2,500 บาท 3 คืน ,500 บาท - วันเผาศพ พระ 13 รูป 200 บาท / รูป ,600 บาท 10. ค่า มัคทายก และเจ้าหน้าที่ของวัด ,500 บาท 56,660 บาท

73 ฌาปนสถาน กองทัพบก 1. ค่ารถรับศพ(กรุงเทพ ฯ 800,ปริมลฑล 1,000 ) 800 บาท 2. ค่าบำรุงศาลาสวด (วันละ 600 , 800, 1,000 ) 2,400 บาท 3. ค่าเครื่องปรับอากาศ ( วันละ 500 , 1,000) 1,500 บาท 4. ค่าบำรุงเมรุ 600 บาท 5. ค่าน้ำมันเผาศพ 3,000 บาท 6. ค่าแรงเจ้าหน้าที่เผาศพ 12 คน (ชาย 10 หญิง2) 1,440 บาท 7. เครื่องทองน้อย (วันละ 20 บาท) 60 บาท 8. ค่าบำรุงสาธารณูปโภคในวันสวดและทำบุญ 600 บาท 9. ค่าบำรุงสาธารณูปโภคในวันฌาปนกิจศพ 300 บาท 10. ค่าศาลาทำบุญ (400 , 500 , 1,000) 500 บาท รวม 11,200 บาท

74 ฌาปนสถาน กองทัพอากาศ (วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ)
1. ค่าศาลา (มีหลายอัตรา (คำนวณ 2,000บาท)) 6,000 บาท 2. ค่าเมรุเผาศพ 3,500 บาท 3. ค่าฝากศพ 2,500 บาท 4. ค่าหีบศพ (เริ่มที่ 3,450บาทขึ้นไป) 7,700 บาท 5. ค่ารับศพ (ในเขตบางเขน 1,000 นอกเขต 1,500) 1,500 บาท 6. ค่าดอกไม้จันทน์ 220 บาท 7. ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ศาลา (2 คน/คนละ 200 บาท 3 วัน) 1,200 บาท 8. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (น้ำ 475 ค่าบำรุงศาลา 1,000) 1,475 บาท 9. ค่าบำรุงฝากศพ 2,500 บาท 10. ค่าของถวายพระ - ค่าผ้าสบง 2,400 บาท - ไทยธรรมชุดใหญ่ 180 บาท - ถังสังฆทาน 300 บาท - ดอกไม้ถวายพระ (20X4X3) 240 บาท รวม 29,715 บาท

75 ฌาปนสถาน กองทัพเรือ (วัดเครือวัลย์วรวิหาร)
1. รถรับศพ เริ่ม 500 ขึ้นไปตามระยะทาง 500 บาท 2. อุปกรณ์รดน้ำศพ ดอกไม้ 150 บาท 3. เจ้าหน้าที่จัดศาลา , บรรจุศพ 200 บาท 4. สวดอภิธรรม - ค่าศาลา ( 1,000 , 1,200 ) 3,000 บาท - ค่าบำรุงวัด ธูป เทียน 300 บาท - ค่าสาธารณูปโภค 300 บาท - เจ้าหน้าที่บริการ 1,500 บาท 5. ประชุมเพลิง - ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 2,500 บาท - ค่าบำรุงสิ่งของใช้ ภาชนะ 300 บาท - ค่าบำรุงวัด ธูป เทียน 100 บาท - ค่าสาธารณูปโภค 100 บาท - ค่าเก็บขยะรถเทศบาล 200 บาท - ค่าเจ้าหน้าที่บริการ 920 บาท 6. เก็บอัฐิ - แปรธาตุ - ค่าอุปกรณ์ ดอกไม้ น้ำอบ 675 บาท - เจ้าหน้าที่บริการ 150 บาท รวม 10,895 บาท

76 ค่าจัดการศพผู้นับถือศาสนาอิสลาม
1. ค่าหีบศพ 4,000 บาท 2. ค่าขุดหลุมฝังศพ 3,000 บาท 3. ค่าอาบน้ำศพ 200 บาท 4. ผ้าขาว สำหรับห่อศพ 1,000 บาท 5. ค่าพาหนะโต๊ะอิหม่าม 1,000 บาท 6. ค่าคนละหมาด 10,000 บาท 7. ค่าอาหาร ทำบุญ 50,000 บาท 69,200 บาท

77 ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ งานศพวัดพระกุมารเยซู
1. ค่าหีบศพ 25,000 บาท 2. วันสวด - ค่าใช้บริการศาลา คืนละ 1,000 บาท 3,000 บาท - ค่าเทียนในศาลา 200 บาท - ดอกไม้หน้าศพในศาลา 4,800 บาท 3. วันปลงศพ - ดอกไม้ในวัด 4,800 บาท - ค่าบำรุงวัด 2,000 บาท - คนตรี - พิธีกร- ผู้ช่วยพิธี 1,200 บาท - ถวายพระสงฆ์ที่ประกอบและมาร่วมพิธี(ตามความประสงค์ของเจ้าภาพ) 4. ค่าหลุมฝังศพ ( ใส่ได้ 2 ศพ ) 40,000 บาท 5. ค่าบริการเปิดหลุม 500 บาท 6. ค่าแผ่นหิน ขาว- ดำ 3,650 บาท 7. ค่าบำรุงหลุม ปีละ 800 บาท 85,950 บาท

78 ประเด็นอื่นๆ 1. เรื่องคณะกรรมการ
1.1 องค์ประกอบของคณะกรรมการควรเปลี่ยนแปลงใหม่ - ผู้แทนมหาดไทย ควรเจาะจงเป็น ปภ. หรือ กรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น - ผู้แทน ส.ต.ช. (ความเห็นด้านพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุ) - ผู้แทน อัยการ (ความเห็นทางกฎหมายเรื่อง ประมาทเลินเล่อ) - ผู้แทนแรงงาน น่าจะเปลี่ยนเป็น ผู้แทนกระทรวงพัฒนาสังคมฯ เพราะตรงกว่า 1.2 ควรมีคณะกรรมการระดับจังหวัด (ผู้ว่าฯ เป็นประธาน คลังจังหวัดเป็นเลขา กรรมการอื่นๆ ล้อมาจากคณะกรรมการชุดใหญ่) (เขต 2) 1.3 คณะกรรมการระดับจังหวัดใหญ่ไป เป็นคณะกรรมการระดับเขต จะเหมาะสมกว่า (เขต2) 1.4 พยานหลักฐานต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบคำขอ ไม่ควรกำหนดให้ยุ่งยาก (เขต 5) 1.5 ควรลดขั้นตอนพิจารณาให้สั้น เพื่อให้สามารถจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยได้รวดเร็ว 2. ควรเปิดช่องให้ทายาทที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เป็นทายาทกันจริงๆ สามารถขอรับเงินชดเชยในกรณีที่ผู้ประสบภัยถึงแก่ความตายได้ด้วย (เขต 2) 3. กรณีผู้ประสบภัยได้รับอันตรายเพราะประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ไม่ควรตัดสิทธิไม่ให้ได้รับเงินสงเคราะห์เลย เพราะไม่เป็นธรรมกับคนที่ทำความดีมาตลอดแต่พลาดแค่ครั้งเดียวก็เสียสิทธิไปทั้งหมด ควรกำหนดให้แค่ลดจำนวนเงินที่จะได้รับการสงเคราะห์ลง (เช่น ได้รับครึ่งเดียว) ก็พอ (เขต 2)

79 ประเด็นอื่นๆ 4. ควรมีเงินชดเชยกรณีทรัพย์สินเสียหายด้วย เพราะบางกรณีผู้ที่เข้าช่วยเหลือราชการ หรือเป็นพลเมืองดี ไม่ได้บาดเจ็บ หรือเสียอวัยวะ แต่ทรัพย์สินเสียหาย ก็ไม่มีเงินชดเชยใดๆจากทางราชการเลย (เขต 5)


ดาวน์โหลด ppt การแก้ไขระเบียบและกฎกระทรวงที่ออกตาม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google