งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักการพูดในโอกาสต่างๆ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักการพูดในโอกาสต่างๆ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักการพูดในโอกาสต่างๆ
เบญจภัทร หมวกทอง นักสื่อสารมวลชนชำนาญการ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดสุโขทัย FM MHz

2 ทำไมต้องเรียนรู้ ศิลปะการพูด
ทำไมต้องเรียนรู้ ศิลปะการพูด รู้จักการสื่อสารด้วยคำพูดที่ถูกต้อง เตรียมตัวเป็นผู้นำ ส่งเสริมประชาธิปไตย สร้างมนุษยสัมพันธ์ พัฒนาบุคลิกภาพ

3 ผู้นำ ฝึกนั่งแถวหน้า สบตาเข้าไว้ เดินไวกว่าเดิม ฝึกเพิ่มการพูด
ครบสูตรยิ้มกว้าง

4 พลังผู้นำ Leadership Power

5 5 พลังสร้างความสำเร็จ พลังแห่งความคิด พลังแห่งการกระทำ
5 พลังสร้างความสำเร็จ พลังแห่งความคิด พลังแห่งการกระทำ พลังแห่งมนุษยสัมพันธ์ พลังแห่งบุคลิกภาพ พลังแห่งการพูด

6 ถ้าต้องเลือกเพียง 1 พลัง จะเลือกอะไร?
พลังแห่งความคิด พลังแห่งการกระทำ พลังแห่งมนุษยสัมพันธ์ พลังแห่งบุคลิกภาพ พลังแห่งการพูด มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

7 ถ้าต้องเลือกเพียง 1 พลัง จะเลือกอะไร?
“พลังแห่งความคิด” John F. Kennedy

8 ถ้าเรามี “พลังแห่งการพูด”
พลังแห่งความคิด “จงคิดทุกคำที่พูด อย่าพูดทุกคำที่คิด” “หากพูดทุกคนที่คิด จะติดคุกทุกครั้งที่พูด”

9 ถ้าเรามี “พลังแห่งการพูด”
พลังแห่งการกระทำ “คนเราต้องทำตามที่พูด” “พูดก่อนทำ หรือทำก่อนพูด”

10 ถ้าเรามี “พลังแห่งการพูด”
พลังแห่งมนุษยสัมพันธ์ “นกไม่มีขน คนไม่มีเพื่อน สู่ที่สูงไม่ได้”

11 ถ้าเรามี “พลังแห่งการพูด”
พลังแห่งบุคลิกภาพ

12 ความสามารถนั้น อาจจะอำนวยให้คนขึ้นสู่จุดสุดยอดได้
แต่บุคลิกภาพเป็นสิ่งเดียวที่จะช่วยให้เขาไม่ต้องตกลงมา

13 การพูด กระบวนการสื่อสารความคิดจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง โดย ภาษา น้ำเสียง อากัปกิริยา

14 แนวคิดพื้นฐานการพูดในที่สาธารณะ
คนทุกคนย่อมพูดได้ การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ นักพูดที่ดีไม่จำเป็นต้องมีพรสวรรค์ ในโลกนี้ไม่มีใครเก่งจนไม่มีทางที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อีก การฝึกพูดจะเป็นผลดีต่อบุคลิกภาพทั้งภายในและภายนอก

15 ลักษณะของการพูด (General Types of Speech)
แบบจูงใจ หรือชักชวน (Persuasive Speech) แบบบอกเล่า หรือ บรรยาย (Informative or Instructive Speech) แบบบันเทิง (Recreative Speech)

16 การพูดมีกี่วิธี? วิธีแบบพูดท่องจำ วิธีพูดแบบอ่านจากร่าง หรือต้นฉบับ
วิธีพูดแบบพูดจากความเข้าใจหรือจดเฉพาะหัวข้อ วิธีพูดแบบกะทันหัน

17 การพูดใช้มาก 2 วิธี วิธีพูดแบบพูดสด วิธีพูดแบบผสมผสาน

18 การพูดมีกี่แบบ? แบบบอกเล่าหรือ บรรยาย แบบจูงใจหรือชักชวน แบบบันเทิง

19 ทฤษฎีการพูด 3 สบาย ฟังสบายหู ดูสบายตา พาสบายใจ

20 ฟังสบายหู ต้องเป็นเสียงพูด เสียงดังได้ยินทั่ว มีสูงต่ำหนักเบา
อย่าใช้ผิดวรรณยุกต์ ใช้เสียงสั้นยาวให้ถูก ระวังเสียงเทียมหรือเสียงแปลกปลอม พูดให้เสียงทุ้มและหนักแน่น การใช้ถ้อยคำภาษา (คำผิดพจนานุกรม, คำควบกล้ำ, คำย่อ คำตลาด, คำภาษาต่างประเทศ, คำเอ้ออ้า อึกอัก เอ่อเอิมฯ)

21 ดูสบายตา มาดต้องตา (เมื่อใดก็ตามที่มีคนเห็นเราต้องเท่ เสมอ) วาจาต้องใจ
ภายในยอดเยี่ยม บุคลิกภาพผู้นำ/นักบริหาร

22 ดูสบายตา การแต่งกาย ความเชื่อมั่น ความกระตือรือร้น ความองอาจผึ่งผาย
แผ่กระแสจิต “เมตตา” ทักที่ประชุมก่อนทุกครั้ง การยืนพูด การนั่งพูด

23 ดูสบายตา การใช้ท่าทางประกอบการพูด ความหมายต้องสอดคล้องกับถ้อยคำ ต้องให้ได้จังหวะพอดีกับถ้อยคำ ไม่จำเป็นไม่ต้องใช้ก็ได้ ไม่เสียหาย ไม่ควรต่ำกว่าระดับเอวลงไปหรือสูงเกินไหล่ การแสดงออกทางสีหน้า ดวงตา (สีหน้าต้องเบิกบาน แจ่มใส ตาจะต้องสบตา มองให้ทั่วถึง)

24 พาสบายใจ การเลือกเรื่อง เป็นเรื่องที่เรารู้ดี เป็นเรื่องที่อยากพูด
เป็นเรื่องที่ผู้ฟังกำลังสนใจ

25 พาสบายใจ การเตรียมการพูด เตรียมความคิด เตรียมจิตใจ เตรียมร่างกาย
เตรียมเรื่องพูด

26 พาสบายใจ การเตรียมเรื่องพูด หาวัตถุดิบ โดยอ่าน ฟัง คิด
จัดลำดับความคิดให้เป็นระบบ สร้างโครงเรื่อง

27 เตรียมตัวดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
เตรียมความคิด เตรียมร่างกาย เตรียมเรื่องพูด

28 การเริ่มต้นพูดแบบสุนทรพจน์
อย่าเริ่มต้นแบบ ออกตัว มัวอ้อมค้อม ถ่อมตน สาระวนขออภัย

29 จงเริ่มต้นแบบ พาดหัวข่าว กล่าวคำถาม สร้างความสงสัย ให้รื่นเริง เชิงกวี

30 คุณสุภาพ คลี่ขจาย ครั้งหนึ่ง...ชีวิตคู่เคยก้าวพลาด ครั้งนี้มีโอกาสได้ก้าวใหม่ จึงเรียนมาเพื่อขอเกียรติกำลังใจ ขอมงคลเป็นธงชัยให้ก้าวเดิน

31 พลตรีจำลอง ศรีเมือง ครั้งหนึ่ง...ชีวิตคู่เคยก้าวพลาด ครั้งนี้อย่าประมาทจงก้าวใหม่ จงสุขสันต์วันวิวาห์ตลอดไป อย่าก้าวใหม่บ่อยนักมักไม่ดี

32 อ.ประสาร มฤคพิทักษ์ ชีวิตคู่ครั้งที่สองต้องไม่พลาด จึงประกาศความรักประจักษ์แจ้ง จันทร์เจ้าขาจะขอข้าวและขอแกง ขอให้แต่งหนนี้ เป็นทีสุดท้าย..นะเพื่อนนะ

33 เนื้อเรื่อง พูดตามลำดับเหตุการณ์ วัน...เวลา....สถานที่
เน้นจุดมุ่งหมายเดียว จุดเดียว ประเด็นเดียว อย่าให้เนื้อหาขัดกันหรือค้านกันเอง อย่าออกนอกประเด็น พร้อมตัดทอน หรือขยายความได้ ใช้ถ้อยคำ ภาษา น้ำเสียง สายตา ท่าทาง ให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ยกตัวอย่างรูปธรรมประกอบเสมอ เพราะจะทำให้ผู้ฟังเห็นภาพพจน์และเข้าใจง่ายขึ้น

34 การลงท้ายกล่าวจบสุนทรพจน์
อย่าจบแบบ ไม่มากก็น้อย คอยขอโทษ หมดแค่นี้

35 ควรจบแบบ สรุปความ ตามคมปาก ฝากให้คิด สะกิดชักชวน

36 บันได 13 ขั้น เตรียมให้พร้อม 9. เสียงดังให้พอดี
เตรียมให้พร้อม 9. เสียงดังให้พอดี ซักซ้อมให้ดี อย่าให้มีเอ้ออ้า ท่าทีให้สง่า ดูเวลาให้พอครบ หน้าตาให้สุขุม สรุปจบให้จับใจ ทักที่ประชุมไม่วกวน ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอด เริ่มต้นให้โน้มน้าว การพูด เรื่องราวให้กระชับ ตาจับที่ผู้ฟัง

37 บัญญัติ 10 ประการ ทะยานสู่ความสำเร็จในการพูด
บัญญัติ 10 ประการ ทะยานสู่ความสำเร็จในการพูด รู้เรื่องดี ก็พูดได้ เตรียมตัวไว้ ก็พูดดี พูดทั้งที่ ต้องเชื่อมั่น แต่งกายนั้น ต้องเหมาะสม ปรากฏโฉม กระตือรือร้น

38 บัญญัติ 10 ประการ ทะยานสู่ความสำเร็จในการพูด
บัญญัติ 10 ประการ ทะยานสู่ความสำเร็จในการพูด ไม่ลุกลน ใช้ท่าทาง สบตาบ้าง อย่างทั่วถึง ภาษาซึ้ง เข้าใจง่าย น้ำเสียงไซร้ เป็นธรรมชาติ อย่าให้ขาดรูปธรรม

39 ศิลปะการพูดในโอกาสต่าง ๆ
โอกาสต่าง ๆ ในการพูด กล่าวแสดงความยินดี/กล่าวตอบ กล่าวไว้อาลัย กล่าวอวยพร/กล่าวตอบ กล่าวสดุดี กล่าวมอบรางวัลหรือตำแหน่ง/กล่าวตอบ กล่าวต้อนรับ กล่าวแนะนำผู้พูด - องค์ปาฐก

40 หลักทั่วไป พยายามคิดค้นลักษณะเฉพาะของโอกาสหรือบุคคลที่เรากล่าวถึง อย่าพูดเหมือนกันทุกงาน อย่าลืมการขึ้นต้น และการลงท้ายที่ดี อย่าพูดนานเกินไป ควรรวบรัดที่สุด ใช้อารมณ์ขันบ้าง - ถ้าเหมาะสม

41 ข้อควรคำนึงสำหรับการพูดในโอกาสต่างๆ
จุดมุ่งหมายของการชุมนุม - การประชุมนั้นจัดขึ้นเพื่ออะไร - ผู้ฟังเป็นใคร มาประชุมในฐานะอะไร - สาระสำคัญของการชุมนุมอยู่ตรงไหน ลำดับรายการ - มีรายการเรียงลำดับกันไว้อย่างไร - ผู้พูดอยู่ในฐานะอะไร กล่าวในนามใคร

42 ข้อควรคำนึงสำหรับการพูดในโอกาสต่างๆ
- เวลาที่กำหนดไว้นานเท่าใด หรือควรจะนานเท่าใด - ก่อนหรือหลังการพูด มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดน่าสนใจพิเศาหรือไม่

43 เทคนิคในการพูดในโอกาสต่างๆ
เปิดฉากให้น่าสนใจทันที จะให้ดี จงกล่าวสั้น ๆ พูดให้เกี่ยวข้องกับงานและคน อย่าสับสน จงพูดแต่ดี พูดให้มีหลักสุนทรพจน์

44 หลักการพัฒนาคำพูด 9 ประการ
อ่านหนังสือพบประโยค หรือวลีมีคุณค่า จดไว้เป็นเสบียงกรัง จัดลำดับความคิดที่จะพูดให้คล้องจองเหมือนเรียงความ พูดจากหัวใจ จริงใจ วิเคราะห์สถานการณ์การพูด คนฟัง สถานที่ เวลา เรื่องที่จะพูด ก่อนพูดเตรียมร่างกายให้ดี ดูเครื่องช่วยพูด เช่น ไมโครโพน พูดเหมือนการเขียน – คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป ระลึกว่าการพูดเป็น “ศาสตร์” และ “ศิลป์” พูดให้สอดคล้องสีหน้าและอารมณ์ กำหนดสารบัญการพูดในใจ จากใจ ที่ขึ้นใจ

45 พูดให้ได้เพื่อน พูดให้ได้พวก พูดให้เป็นบวก พูดอย่างผู้นำ
พูดให้ได้เพื่อน พูดให้ได้พวก พูดให้เป็นบวก พูดอย่างผู้นำ

46 ข้อคิดนักพูด การเลียนแบบใคร คุณก็ไม่มีวันเก่งกว่าเขา
โลกไม่เคยจำ อันดับ 2 ได้ นักพูดที่ดี...ต้องเป็นนักฟังที่ดี ความสำเร็จของนักพูด ไม่ได้วัดจากเสียงฮา สำหรับนักพูด ต้องรัก คำเดียว ควรพูดให้ได้ สาระ และ บันเทิง อ่านหนังสือดี ๆ 1 เล่ม ประหยัดเวลาชีวิตไป 10 ปี ฟังนักพูดดี ๆ 1 ชั่วโมง ประหยัดเวลาอ่านหนังสือไป 10 เล่ม จะเป็นนักพูด ต้องใช้หัวใจนักปราชญ์ “สุ จิ ปุ ลิ”

47 ข้อคิดการพัฒนาความเป็นผู้นำ
การแสวงหา ความพยายาม การเรียนรู้ การฝึกฝน ทำให้คนเป็นอะไรก็ได้ ที่เขาอยากจะเป็น

48 ข้อคิดการพัฒนาความเป็นผู้นำ
ถ้าต้องการความสบาย ให้ขวนขวายทำความดี ถ้าต้องการเป็นเศรษฐี ให้มีการประหยัด ถ้าต้องการสมบัติ ให้มีความกตัญญู ถ้าต้องการความรู้ ให้คบบัณฑิต ถ้าต้องการมิตร ให้รู้จักเสียสละ ถ้าต้องการพละ ให้บริหารร่างการ ถ้าต้องการเป็นนาย ให้มีความยุติธรรม ถ้าต้องการมีคนอุปถัมภ์ ให้อ่อนน้อมถ่อมตน ถ้าต้องการงานมีผล ให้มีความขยัน ถ้าต้องการให้เรื่องสั้น ให้หยุดพูด....

49 ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในชีวิต
สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt หลักการพูดในโอกาสต่างๆ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google