งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

2 พระราชดำรัส “...การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติดี และคุณธรรมของบุคคล สังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วนล้วนพอเหมาะกันทุกๆ ด้าน สังคมและบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพซึ่งสามารถธำรงรักษาความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้และพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปได้โดยตลอด...”

3 ปฐมพระราชดำรัสว่าด้วย เศรษฐกิจพอเพียง
“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (18 กรกฎาคม 2517)

4 “...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบและทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกินมีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (4 ธันวาคม 2517)

5 ทรงเตือนเรื่องพออยู่พอกินตั้งแต่ปี 2517 เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว แต่ทิศทางการพัฒนามิได้เปลี่ยนแปลง
“...เมื่อปี 2517 วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเองถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกินบางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” (4 ธันวาคม 2541)

6 (เศรษฐกิจพอเพียงเปรียบเสมือนเสาเข็ม)
พระบรมราโชวาท (เศรษฐกิจพอเพียงเปรียบเสมือนเสาเข็ม) “...เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป...”

7 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดี ทางสายกลาง พอประมาณ เงื่อนไขความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) เงื่อนไขคุณธรรม (ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน สติปัญญา แบ่งปัน) เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร เศรษฐกิจพอเพียงมีกรอบแนวคิดคือ เป็นปรัชญาชี้แนะแนวทางปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น มีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตของสังคมไทย และเป็นการมองโลกเชิงพลวัตร มุ่งเน้นการรอดพ้นจากวิกฤต ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน บนพื้นฐานของความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง รวมทั้งจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนให้มีสำนึกใน คุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ใช้สติปัญญา เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่ เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ ๒ แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า กล่าวคือ - ความพอเพียงในระดับบุคคล/ครอบครัว เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๑ - ความพอเพียงในระดับชุมชน/ระดับองค์กร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าซึ่งครอบคลุม ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๒ - ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจ พอเพียงแบบก้าวหน้า ครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๓ นำสู่ สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม

8 พัฒนาการศึกษาบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง
 ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดทำหลักสูตรและการจัด การเรียนการสอนและการบริหารงาน  มุ่งทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ภายใต้กระแสของโลกาภิวัตน์  ใช้หลักเหตุผลในการกำหนดนโยบายการศึกษา  ใช้หลักเหตุผลและหลักพอประมาณในการจัดทำแผนงานด้านการศึกษา  บริหารจัดการใช้หลักภูมิคุ้มกัน และความรู้คู่คุณธรรม  บริหารการเงินยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง  บริหารงานบุคคล ใช้บุคลากรให้เหมาะสม

9 แนวทางการสอนนักศึกษา
 ให้ความรู้ความเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่  สอนให้คำนึงถึงความพอประมาณในการดำเนินชีวิต  ตัดสินใจบนหลักของเหตุผล มองไปข้างหน้า  แสวงหาความรู้ รอบรู้ รอบคอบ  ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม  มีความรู้ความเข้าใจในหลักภูมิสังคม  หลักเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา  หลักรู้ รัก สามัคคี

10 ทรงส่งเสริมการพัฒนาการศึกษา
 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงส่งเสริมการศึกษาในฐานะที่การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา ทั้งในระดับบุคคล ชุมชน และประเทศโดยรวม

11 ทรงส่งเสริมการพัฒนาการศึกษา (ต่อ)
 พระราชทานความช่วยเหลือด้านการศึกษาเพื่อให้พึ่งตนเอง  พระราชทานพระราชดำริและพระบรมราชานุเคราะห์ให้จัดตั้ง โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจน โรงเรียนชาวเขา โรงเรียนในท้องที่ห่างไกลทุรกันดาร ฯลฯ  ทรงส่งเสริมการจัดตั้งและดำเนินกิจการโรงเรียนสำหรับเด็กพิการทุกประเภท  ทรงก่อตั้ง กองทุนนวฤกษ์ ในมูลนิธิช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนในพระบรมราชูปถัมภ์

12 ทรงส่งเสริมการพัฒนาการศึกษา (ต่อ)
 พระราชทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับไปศึกษาต่อต่างประเทศ เช่น ทุนภูมิพล ทุนอานันทมหิดล  ทรงให้จัดทำโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เพื่อให้เยาวชนมีหนังสือที่ดีสำหรับค้นคว้าหาความรู้

13 ทรงส่งเสริมการพัฒนาการศึกษา (ต่อ)
 พระราชทาน “ศูนย์การศึกษาพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ” ขึ้นตามภูมิภาคต่างๆ จำนวน 6 ศูนย์ เพื่อ 1) ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัยเพื่อหาแนวทางและวิธีการพัฒนาด้านต่างๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน 2) เป็นแหล่งความรู้ของราษฎร เป็นแหล่งศึกษาทดลองของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนถ่ายทอดประสบการณ์และแนวทางแก้ไขปัญหาระหว่างคน 3 กลุ่ม คือ นักวิชาการ เจ้าหน้าที่พัฒนา และราษฎร

14 ทรงส่งเสริมการพัฒนาการศึกษา (ต่อ)
3) เป็นตัวอย่างของแนวความคิดแบบสหวิทยาการ ซึ่งเป็นการผสมผสานในการให้ความรู้หลายสาขา ผสมผสานการดำเนินงานและการบริหารที่เป็นระบบ 4) เป็นการประสานงานการทำงานร่วมกันระหว่างส่วนราชการ 5) เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One stop services) โดยผู้เข้าไปศึกษาดูงานจะได้รับความรู้รอบด้าน

15 ควรกำหนดความพอดี ๕ ประการ
เศรษฐกิจพอเพียง ควรกำหนดความพอดี ๕ ประการ

16 ความพอดีด้านจิตใจ มีจิตใจเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี
มองโลกอย่างสร้างสรรค์ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ปรานีประนอม ยึดประโยชน์สุข

17 ความพอดีด้านสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รู้รักสามัคคี
เชื่อมโยงเครือข่าย สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน ผลประโยชน์ของส่วนรวม

18 ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด ระวังไม่ให้กิจกรรมกระทบสิ่งแวดล้อม - ขยะ น้ำเน่าเสีย ฯลฯ รักษา ฟื้นฟู พัฒนา ทรัพยากร - ดิน น้ำ ลม ไฟ

19 ความพอดีด้านเทคโนโลยี
รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสอดคล้องต่อ ความต้องการและสภาพแวดล้อม พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองก่อน ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก

20 ความพอดีด้านเศรษฐกิจ
มุ่งลดรายจ่าย ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้ ไม่ใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะที่หามาได้ หารายได้เพิ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลีกเลี่ยงการก่อหนี้ โดยไม่มีผลตอบแทนที่คุ้มค่า บริหารความเสี่ยงอย่างเข้มงวด

21 จะทำได้อย่างไร ???

22 พลิกใจ พลิกความคิด

23 พลิกใจให้พอเพียง เพื่อความสุขที่ยั่งยืน
พลิกอ่อนแอ เป็นเข้มแข็ง พลิกจากไม่มี เป็นมี พลิกรู้จักแต่ใช้ เป็นรู้จักเก็บ พลิกแตกแยก เป็นพลัง พลิกคิดถึงแต่ตัวเอง เป็นแบ่งปัน พลิกแห้งแล้ง เป็นชุ่มชื้น พลิกปัญหา เป็นทางออก พลิกทุกข์ เป็นสุข พลิกใจให้พอเพียง เพื่อความสุขที่ยั่งยืน

24 การศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เกิดสติปัญญา ความรอบรู้ และศีลธรรม อันจะเป็น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมและประเทศดำรงอยู่ได้ อย่างเข้มแข็ง และพอเพียง

25 “เศรษฐกิจพอเพียง” “ความสมดุล ความมั่นคง ความยั่งยืน”
ไม่ได้ใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่สามารถใช้กับการเมือง สังคม สิ่งแวดล้อมได้ อันจะนำไปสู่ “ความสมดุล ความมั่นคง ความยั่งยืน”


ดาวน์โหลด ppt การศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google