งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คดีปกครองเกี่ยวกับการเงิน พัสดุ และการงบประมาณ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คดีปกครองเกี่ยวกับการเงิน พัสดุ และการงบประมาณ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คดีปกครองเกี่ยวกับการเงิน พัสดุ และการงบประมาณ
นายตรีภพ คริสต์รักษา ตุลาการศาลปกครองเชียงใหม่

2 ศาลปกครองเชียงใหม่

3 และวิธีพิจารณาคดีปกครอง
ศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง

4 การจัดองค์กรของรัฐ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ก.ก.ต.
คณะรัฐมนตรี องค์กรอิสระตาม รธน. ศาลรัฐธรรมนูญ ก.ก.ต. สำนักงาน ก.ก.ต. ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ช. ฯลฯ สำนักงาน ค.ต.ง. ค.ต.ง. รัฐบาล ฝ่ายปกครอง ศาลยุติธรรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ศาลปกครอง หน่วยงาน ของรัฐอื่น ศาลทหาร

5 ศาลตามรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลทหาร ศาลปกครอง
ศาลยุติธรรม (และศาลฎีกาแผนกดดีอาญาของผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมือง) รัฐธรรมนูญ (ม.199) คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล

6 ศาลชำนัญพิเศษ ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลล้มละลาย
1 ศาลแรงงาน 2 ศาลภาษีอากร 3 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ 4 ศาลล้มละลาย 5 ศาลชำนัญพิเศษอื่นๆ 6

7 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (รัฐธรรมนูญปี 50 หมวด 11)
ก) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง 1 ผู้ตรวจการแผ่นดิน 2 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 3 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 4

8 รัฐธรรมนูญ 2550 ม. 223 วรรคหนึ่ง
รัฐธรรมนูญ ม. 223 วรรคหนึ่ง ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน อันเนื่องมาจาก การใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง...ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ...

9 ความหมายของศาลปกครอง
ศาลปกครองเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง

10 คดีที่ขึ้นศาลปกครอง 1. คดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ด้วยกัน หรือกับเอกชน 2. คดีพิพาทจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือการดำเนินกิจการทางปกครอง 3. เป็นคดีที่กำหนดไว้ในมาตรา 9

11 ศัพท์ที่ใช้ต่างจากคดีแพ่ง
1. ผู้ฟ้องคดี ไม่ใช่ โจทก์ 2. ผู้ถูกฟ้องคดี ไม่ใช่ จำเลย 3. คู่กรณี ไม่ใช่ คู่ความ

12 ความเป็นมา การทำงานของหน่วยงานมีปัญหามาก
นำหลักความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มาใช้ แนวคิดปฏิรูประบบราชการ โดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ นำไปสู่การตรากฎหมายปกครองที่สำคัญ 1. พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ 2. พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ ๒๕๓๙ 3. พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ 4. พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดี ปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒

13 เหตุใดจึงต้องมีศาลปกครอง
ข้อพิพาทระหว่างประชาชนกับทางราชการ เป็นข้อพิพาททางปกครอง คดีปกครองมีลักษณะพิเศษจึงต้องใช้ “ระบบไต่สวน” ศาลที่มีความเป็นกลาง และเชี่ยวชาญในหลักกฎหมายปกครอง และการบริหารราชการแผ่นดิน สร้างความสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะ กับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน

14 เหตุผลในการตรากฎหมาย
- รัฐธรรมนูญบัญญัติให้จัดตั้ง “ศาลปกครอง” พิจารณาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับหน่วยงาน / จนท. ของรัฐ หรือหน่วยงาน / จนท. ของรัฐ ด้วยกันเอง เกี่ยวกับการกระทำ / การละเว้นการกระทำ อำนาจหน้าที่อันเป็นเรื่องของกฎหมายมหาชน - ระบบพิจารณาคดีจำเป็นต้องมีกระบวนการเป็นพิเศษต่างจากคดีทั่วไป คำพิพากษามีผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินหรือต้องจ่ายเงินภาษีอากร เอกชนอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบ ไม่ทราบข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐ - การพิจารณาจำเป็นต้องใช้ “ระบบไต่สวน” เพื่อหาข้อเท็จจริงที่แท้จริง - ตุลาการมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ ตรวจสอบได้ / หน่วยงานธุรการ ที่เป็นอิสระ

15 ความเป็นมาของศาลปกครอง
รัชกาลที่ 5 ทรงจัดตั้งเคาน์ซิลออฟสเตด คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์ รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีการจัดตั้งศาลปกครอง คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะกรรมการร่างกฎหมาย คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีการจัดตั้งศาลปกครอง กฎหมายจัดตั้งศาลปกครอง ศาลปกครองเปิดทำการครั้งแรก

16 โครงสร้างของศาลปกครอง
ศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองชั้นต้น ศาลปกครองกลาง ศาลปกครอง ในภูมิภาค

17 ศาลปกครองในภูมิภาค 1. ศาลปกครองเชียงใหม่ (8 จังหวัดภาคเหนือ) 2. ศาลปกครองสงขลา (7 จังหวัดภาคใต้) 3. ศาลปกครองนครราชสีมา (4 จังหวัดภาคอีสาน) 4. ศาลปกครองขอนแก่น (4 จังหวัดภาคอีสาน) 5. ศาลปกครองพิษณุโลก (8 จังหวัดภาคเหนือ) 6. ศาลปกครองระยอง (7 จังหวัดภาคตะวันออก) 7. ศาลปกครองนครศรีธรรมราช (7 จังหวัดภาคใต้) 8. ศาลปกครองอุดรธานี (6 จังหวัดภาคอีสาน) 9. ศาลปกครองอุบลราชธานี (5 จังหวัดภาคอีสาน) 10. ศาลปกครองภูเก็ต (4 จังหวัดภาคใต้ กระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง) 11. ศาลปกครองเพชรบุรี (4 จังหวัดภาคกลาง ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม) 12. ศาลปกครองนครสวรรค์ (4 จังหวัดภาคกลาง ชัยนาท นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี)

18 เขตอำนาจศาลปกครองเชียงใหม่
จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่

19 ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณา “คดีปกครอง”
คู่กรณี (เป็นคดีพิพาทระหว่าง) หน่วยงานทางปกครอง/เจ้าหน้าที่ของรัฐ กับเอกชน หน่วยงานทางปกครอง/เจ้าหน้าที่ของรัฐ ด้วยกันเอง ลักษณะคดีพิพาท (พิพาทในเรื่อง) หน่วยงานฯ/จนท.ของรัฐ กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จากการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่น หน่วยงานฯ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ ละเลยต่อหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า เกินสมควร ละเมิดของเจ้าหน้าที่ และความรับผิดอย่างอื่น สัญญาทางปกครอง กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานฯ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ ฟ้องคดีต่อศาล ปกครอง กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

20 ส่วนกลาง พ.ร.บ. ส่วนภูมิภาค พ.ร.ฎ ส่วนท้องถิ่น
องค์การมหาชน ใช้อำนาจ ส่วนภูมิภาค พ.ร.ฎ องค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ ดำเนินกิจกรรม ส่วนท้องถิ่น ทางปกครอง

21 หน่วยงานทางปกครอง 1. กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการ ส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น 2. รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกา 3. หน่วยงานอื่นของรัฐ 4. หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจ ทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง

22 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดย พ.ร.บ.
1. พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ พ.ร.บ.การไฟฟ้านครหลวง พ.ศ พ.ร.บ.การประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ พ.ร.บ. การเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2537

23 องค์การของรัฐบาลที่จัดตั้งโดย พ.ร.ฎ.
1. องค์การเลี้ยงไก่ 2. องค์การสวนสัตว์ 3. องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ 4. องค์การคลังสินค้า

24 หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์การมหาชน
1. โรงพยาบาลบ้านแพ้ว 3. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง แห่งชาติ 2. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา 4. สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ

25 พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539
ให้กองทุนเป็นนิติบุคคล (ม.5) กองทุนไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และรายได้ ของกองทุนไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน (ม.11)

26 หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจการทางปกครอง
สภาทนายความ, แพทยสภา, สภาวิศวกร บริษัทไปรษณีย์ไทย มหาวิทยาลัยเอกชน บริษัท TOT

27 เจ้าหน้าที่ของรัฐ 1. ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง 2. คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท คณะกรรมการ หรือบุคคลที่กฎหมาย ให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่ง หรือมติ ที่มีผลต่อบุคคล 3. บุคคลในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแล ของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่

28 เจ้าหน้าที่ของรัฐ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง คณะบุคคล หรือผู้ปฏิบัติงาน ในหน่วยงานทางปกครอง คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท คณะกรรมการ หรือบุคคลซึ่งกฎหมายให้อำนาจออกกฎ คำสั่ง หรือมติ ที่มีผลกระทบต่อบุคคล ผู้ที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของหน่วยงาน ทางปกครอง/ เจ้าหน้าที่ของรัฐ

29 นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี รมต.,อธิบดี, ปลัดกระทรวง
เจ้าหน้าที่ของรัฐ นายอำเภอ, ผู้ว่าราชการจังหวัด รมต.,อธิบดี, ปลัดกระทรวง นายกเทศมนตรี, นายก อบจ. นายก อบต. คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี

30 คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 161/2546 (ป.)
การใช้อำนาจของสภา อบต. และคณะกรรมการบริหาร อบต. เป็นส่วนหนึ่ง ของการใช้อำนาจทางบริหาร โดยมีนายอำเภอ และผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ใช้อำนาจกำกับดูแล ศาลปกครองจึงมีอำนาจตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของ อบต. ได้ ไม่ว่าในเรื่องความชอบด้วยกฎหมายของข้อบัญญัติท้องถิ่น การใช้อำนาจหน้าที่ หรือการกระทำ ในความสัมพันธ์ระหว่างสภา อบต. กับคณะกรรมการบริหาร

31 6. คดีอื่นที่กฎหมายกำหนด
1. การออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำ ฝ่ายเดียว โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย 4. สัญญาทางปกครอง 2. ละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า 3. ละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่น คดีปกครอง (มาตรา 9) 5. คดีที่กฎหมายบังคับให้ฟ้องศาลเพื่อบังคับบุคคล ให้กระทำ

32 ตัวอย่างของคำสั่งทางปกครอง
คำสั่งที่มีต่อประชาชน 1. คำสั่งไม่ออกใบอนุญาต ไม่รับ จดทะเบียน เพิกถอน หรือพักใช้ใบอนุญาต 2. คำสั่งเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ของทางราชการ 3. คำสั่งให้กระทำหรืองดเว้นกระทำ 4. คำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่ง

33 ตัวอย่างคำสั่งทางปกครอง
การออกใบอนุญาตก่อสร้าง อาคาร การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท การอนุญาตให้มีอาวุธปืน การออกโฉนดที่ดิน การเพิกถอนโฉนด หรือ น.ส.3 ก.

34 กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2543)
การดำเนินการสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง ของทางราชการ เช่น สั่งรับหรือไม่รับคำเสนอขายหรือรับจ้าง อนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง สั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณา คำเสนอ สั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน

35 ตัวอย่างของคำสั่งทางปกครอง
Replace with presentation notes here. คำสั่งที่เกี่ยวกับการบริหารงาน บุคคล ลงโทษทางวินัย คำสั่งที่มีต่อข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ Summary Overview XXXX Major Title Heading. XXXX คำสั่งที่เกี่ยวกับสวัสดิการต่างๆ คำสั่งอื่น ๆ

36 ตัวอย่างของกฏ กฎกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น พระราชกฤษฎีกา
2 กฎกระทรวง 1 พระราชกฤษฎีกา 3 ประกาศกระทรวง 4 ข้อบัญญัติท้องถิ่น 5 ระเบียบ ข้อบังคับ 6 บทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับ เป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมาย ใช้บังคับแก่กรณีใด หรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

37 การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
1. ไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ 2. ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย 3. ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ 4. ไม่สุจริต 5. เลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม 6. สร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้าง ภาระเกินสมควร 7. ใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

38 คดีละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า
(ม. 9 วรรคหนึ่ง(2) คดีเรื่อง เหตุเดือดร้อนรำคาญ คดีละเลยไม่บังคับตามกม.ควบคุมอาคาร

39 คดีละเมิดในอำนาจศาลปกครอง
1. ละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ 2. การปฏิบัติหน้าที่ในกรณี ดังนี้ การใช้อำนาจตามกฎหมาย กฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น ละเลยต่อหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า

40 คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 271/2545 (ป.)
พิเคราะห์มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติ สภาตำบลฯ การขุดคูส่งน้ำและถมถนนตามคำฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของการจัดให้มีทางน้ำและทางบก ตามอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีตามกฎหมาย แม้ผู้ถูกฟ้องคดีจะทำสัญญาขุดคูส่งน้ำและถมถนน กับนายวิโรจน์ ถือได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีใช้อำนาจหน้าที่ ตามกฎหมายดำเนินการจัดให้มีและบำรุงรักษา ทางน้ำและทางบก... โดยมอบหมายให้นายวิโรจน์ ผู้รับจ้างเป็นผู้ดำเนินการแทน ..จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ

41 ตัวอย่างคดีละเมิดที่ไม่ขึ้นศาลปกครอง
1 ละเมิดจากอุบัติเหตุ รถชน 2 ละเมิดจาก การรักษาพยาบาลที่ไม่ดีของแพทย์ของโรงพยาบาลของรัฐ

42 สัญญาทางปกครอง (มาตรา ๓)
หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง หรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

43 สัญญาทางปกครอง 1. คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายรัฐ เพื่อแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ 2. ประเภท เนื้อหา หรือวัตถุประสงค์ของสัญญาเป็นการสัมปทาน ให้จัดทำบริการสาธารณะ จัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ โดยให้เข้าดำเนินการ หรือร่วมดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรง หรือมีข้อกำหนดพิเศษในสัญญาที่แสดงถึง เอกสิทธิ์ของรัฐ

44 ตัวอย่างสัญญาทางปกครอง
1. อบต.จ้าง หจก. ก่อสร้างประปาหมู่บ้าน 2. สัญญาให้อาจารย์ลาศึกษาต่อ 3. กปภ.จ้าง หจก. ปรับปรุงขยายการประปาแม่แตง โดยมีธนาคารค้ำประกัน 4. เทศบาลจ้าง หจก.สร้างเมรุเผาศพ

45 พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พุทธศักราช 2456 (มาตรา 90)
พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พุทธศักราช 2456 (มาตรา 90) มาตรา ให้เจ้าท่า หรือเจ้าพนักงาน ผู้มีหน้าที่ตามมาตรา 89 บังคับให้รื้อถอน แพคนอยู่ หรือเรือนที่ปักเสาลงในชายฝั่งน้ำ โดยให้ผู้เป็นเจ้าของเสียค่ารื้อถอนนั้นเอง ในกรณีที่เจ้าของไม่รื้อถอนภายในกำหนดเวลาที่เจ้าท่าหรือเจ้าพนักงาน ผู้มีหน้าที่ตามมาตรา 89 กำหนดให้เจ้าท่าร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งให้เจ้าท่าเป็นผู้จัดการให้มีการรื้อถอน...

46 พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ม.42 ถ้าการกระทำตามมาตรา 40 เป็นกรณี ที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ หรือเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 41 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมด หรือบางส่วนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ...

47 พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ม.43 (1) ถ้าไม่มีการรื้อถอนอาคารตามคำสั่ง ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 42 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) ยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องขอ ต่อศาล ... ขอให้ศาลมีคำสั่งจับกุมและกักขังบุคคลซึ่งมิได้ปฏิบัติการตามคำสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่น... (2) ดำเนินการหรือจัดให้มีการรื้อถอนอาคารดังกล่าวได้เอง...

48 พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 (มาตรา 116)
เมื่อ ก.พ.ค. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ก.พ.ค. มีคำวินิจฉัย ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. ให้ฟ้องคดี ต่อศาลปกครองสูงสุดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค.

49 คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง (มาตรา 9 วรรคสอง)
1 การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร 2 การดำเนินการของ ก.ต. 3 คดีของศาลชำนัญพิเศษ

50 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8
ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง (2) คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ ตามกฎหมายแรงงานฯ … (5) คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน …

51 รัฐธรรมนูญ. ปี 50 ม. 239 วรรคสอง
ในกรณีที่ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าควรให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือ เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร... ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย... ในกรณีที่ศาลฎีกามีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งใด หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง...ให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภา... ในเขตเลือกตั้งนั้นสิ้นสุดลง

52 รัฐธรรมนูญ ปี 50 ม. 239 วรรคสี่
ให้นำความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นด้วยโดยอนุโลม โดยการยื่นคำร้องต่อศาลตามวรรคสอง ให้ยื่นต่อศาลอุทธรณ์ และให้คำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด

53 เงื่อนไขการฟ้องคดี หลักทั่วไป : กระทำได้โดยง่าย ไม่มีข้อยุ่งยาก
ต้องเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี เป็นผู้เดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหาย ผู้ตรวจการแผ่นดิน ความสามารถของผู้ฟ้องคดี ต้องฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คำฟ้องที่ยื่นต่อศาลไม่มีรูปแบบ แต่ต้องมีรายการตามที่กฎหมายกำหนด ดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดแล้ว ฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อน ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ค่าธรรมเนียมศาล

54 ระยะเวลาการฟ้องคดี (อายุความการฟ้องคดี)
ระยะเวลาการฟ้องคดี (อายุความการฟ้องคดี) คดีปกครองทั่วไป (ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกฎ คำสั่ง การกระทำ) ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี ผู้ออกคำสั่งไม่ระบุวิธีการยื่นคำฟ้องและระยะเวลาการฟ้องในคำสั่ง ให้แจ้งให้ผู้รับคำสั่งทราบโดยไม่ชักช้า ให้เริ่มนับระยะเวลาใหม่ หากไม่แจ้งเลย หากระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปี ให้ขยายเป็น 1 ปี คดีละเลย ล่าช้า ภายใน 90 วัน นับแต่วันพ้นกำหนด 90 วัน ที่ยื่นหนังสือ 90 วัน วัน ฟ้องคดี ยื่น

55 คดีกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่น / สัญญาทางปกครอง
ภายใน 1ปี / 5 ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่มีเหตุ คดีเกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ / สถานะบุคคล ฟ้องเมื่อใดก็ได้ ศาลเห็นว่าคดีเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือมีเหตุจำเป็นอื่น ศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณาก็ได้ กรณีคู่กรณีตายให้รอการพิจารณาจนกว่า ทายาทฯ มีคำขอเข้ามาแทนที่ หรือ ผู้มีส่วนได้เสียมีคำขอเข้ามา หรือ ศาลหมายเรียกให้เข้ามาเพราะคู่กรณีมีคำขอ คำขอต้องยื่นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่คู่กรณีตาย

56 ลักษณะคำฟ้อง ต้องทำเป็นหนังสือ
ใช้ถ้อยคำที่สุภาพ และอย่างน้อยต้องมีรายการ… 1. ชื่อที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี 2. ผู้ถูกฟ้องคดี (หน่วยงานทางปกครอง / เจ้าหน้าที่ของรัฐ) 3. การกระทำที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีตามสมควร 4. คำขอ 5. ลงลายมือชื่อของผู้ฟ้องคดี 6. ต้องจัดทำสำเนาคำฟ้องและพยานหลักฐาน เท่าจำนวนผู้ถูกฟ้องคดี

57 การยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง
ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ศาลปกครองชั้นต้น ที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนา หรือ ที่มูลคดีเกิด ศาลปกครองสูงสุด ที่มูลคดีเกิด ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด วิธีการยื่นคำฟ้อง ยื่นฟ้องด้วยตนเอง ยื่นฟ้องโดยส่งคำฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

58 วิธีพิจารณาคดีปกครอง
ผู้เกี่ยวข้องในการพิจารณาคดี คู่กรณี ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดี ผู้ร้องสอด ตุลาการ ตุลาการองค์คณะ ศาลปกครองสูงสุดอย่างน้อย 5 คน ศาลปกครองชั้นต้นอย่างน้อย 3 คน ตุลาการหัวหน้าคณะ ตุลาการเจ้าของสำนวน ตุลาการผู้แถลงคดี พนักงานคดีปกครอง

59 ๑. ยื่นคำฟ้องต่อเจ้าหน้าที่ของศาลหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
๒. เจ้าหน้าที่รับคำฟ้องและออกใบรับให้ ๓. สรุปคำฟ้องเสนออธิบดีฯ สั่งจ่ายให้องค์คณะและ ตั้งตุลาการผู้แถลงคดี ๔. องค์คณะจ่ายให้ตุลาการเจ้าของสำนวน ๑๔ ศาลมีคำสั่ง/คำพิพากษา ๕. ตุลาการเจ้าของสำนวนพิจารณาว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลปกครองและเป็นไปตามเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองหรือไม่ ๑๓. ตุลาการผู้แถลงคดีเสนอคำแถลงการณ์ด้วยวาจา ๑๕. อุทธรณ์คำสั่ง/คำพิพากษา ศาลสั่งให้ผู้ฟ้องคดีแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหรือสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและจำหน่ายคดีในกรณีแก้ไขไม่ได้หรือไม่แก้ไขตามคำสั่งศาล ไม่ คู่กรณียื่นคำแถลงเป็นหนังสือก่อนวันหรือระหว่างนั่งพิจารณาคดี ๑๒. นั่งพิจารณาคดี ใช่ ๑๑. ส่งสำนวนให้ตุลาการผู้แถลงคดีจัดทำคำแถลงการณ์แล้วกำหนดวันนั่งพิจารณาครั้งแรก ๖. ศาลสั่งรับคำฟ้องไว้พิจารณาและส่งสำเนา คำฟ้องให้ผู้ถูกฟ้องคดี ทำคำให้การ แสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เช่น มีคำสั่งเรียกผู้เกี่ยวข้องมาไต่สวน ส่งสำเนาคำให้การเพิ่มเติมให้ผู้ฟ้องคดีทราบ แก้ไข ไม่เพียงพอ ๑๐. สรุปสำนวน นำเสนอองค์คณะและอธิบดีส่งสรุปข้อเท็จจริงให้คู่กรณีและกำหนดวันสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริง ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีหากไม่แจ้งว่าประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ๙. ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าครบถ้วนเพียงพอหรือไม่ ๘. ศาลส่งสำเนาคำคัดค้านคำให้การให้ผู้ถูกฟ้องคดีทำคำให้การเพิ่มเติม ๗. ศาลส่งสำเนาคำให้การให้ผู้ฟ้อง คดีทำคำคัดค้านคำให้การภายในกำหนดเวลา กรณี ไม่ส่งภายในกำหนด เวลา กรณีส่งภายในกำหนด เวลา

60 ภาพการนั่งพิจารณาคดีในศาลปกครอง

61 ภาพการนั่งพิจารณาคดีในศาลปกครอง

62 ภาพการนั่งพิจารณาคดีในศาลปกครอง

63 วิธีการชั่วคราวก่อนศาลมีคำพิพากษา
1 การขอทุเลา การบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครอง 2 การบรรเทาทุกข์ชั่วคราว

64 การอุทธรณ์คำพิพากษา / คำสั่ง
ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษา / คำสั่ง ชื่อผู้อุทธรณ์และชื่อผู้ถูกอุทธรณ์ ข้อคัดค้านคำพิพากษา / คำสั่ง แสดงข้อเท็จจริง / ข้อกฎหมายสนับสนุน ไม่มีแบบกำหนดเฉพาะ ทำเป็นหนังสือระบุรายการ คำขอของผู้อุทธรณ์ ลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ ยื่นอุทธรณ์แทนต้องส่งใบมอบฉันทะ ยื่นด้วยตนเอง / มอบฉันทะ เจ้าหน้าที่จะออกใบรับไว้เป็นหลักฐาน ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองชั้นต้นที่มีคำพิพากษา / คำสั่ง ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา / คำสั่งชี้ขาดอุทธรณ์ คดีถึงที่สุด

65 คดีที่ต้องฟ้องตรงต่อศาลปกครองสูงสุด
ความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดย ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี คดีที่มีกฎหมายกำหนด

66 ระเบียบที่ประชุมใหญ่ฯ ว่าด้วยวิธีพิจารณาฯ (ข้อ 39)
ในกรณีที่องค์คณะเห็นว่าคดีที่ยื่นฟ้อง ต่อศาลปกครองชั้นต้นอยู่ในอำนาจของ ศาลปกครองสูงสุด ให้เสนออธิบดีศาลปกครองชั้นต้น เพื่อพิจารณาสั่งให้ส่งคำฟ้องนั้นไปยังประธานศาลปกครองสูงสุดเพื่อพิจารณาดำเนินการ

67 ข้อดีของวิธีพิจารณาคดีปกครอง
ฟ้องง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย มีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานศาลปกครองให้คำปรึกษาในการดำเนินคดี ต่อสู้คดีได้อย่างเท่าเทียมกันกับหน่วยงาน / เจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้รับการตัดสินคดีจากผู้ที่มีความเป็นกลางและมีความเชี่ยวชาญ มีระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลการพิจารณาพิพากษาคดี การตัดสินคดียึดหลักประโยชน์ส่วนรวมและประโยชน์เอกชน ควบคู่กัน

68 ประโยชน์จากการจัดตั้งศาลปกครอง
เป็นช่องทางให้ประชาชนร้องขอให้มีการตรวจสอบการกระทำ ของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐว่ากระทำการโดยไม่ชอบ ประชาชนจะได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพจากการกระทำ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของหน่วยงาน / เจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานทางปกครอง / เจ้าหน้าที่ของรัฐ จะทำงานโดยยึดหลัก ความชอบด้วยกฎหมาย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิด “การบริหารราชการที่ดี” เป็นฐานสำคัญ ในการพัฒนาประเทศ

69 ปัญหาการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลปกครอง
ลักษณะของคำพิพากษาคดีปกครอง คำพิพากษาที่ไม่จำเป็นต้องมีการบังคับคดี ได้แก่ คำพิพากษาในคดีที่ฟ้องขอให้ศาลปกครอง มีคำพิพากษาแสดงความเป็นอยู่แห่งสิทธิ คำพิพากษาที่ศาลปกครองสั่งให้เพิกถอนกฎ คำสั่งทางปกครอง 2. คำพิพากษาที่จำเป็นต้องบังคับคดี ได้แก่ คำพิพากษาที่ศาลกำหนดบังคับให้ฝ่ายปกครองกระทำการหรือสั่งห้ามกระทำการ หรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ภายในระยะที่กำหนดหรือสั่งให้ชำระเงิน ให้ส่งมอบทรัพย์สิน

70 การบังคับคดีปกครองตามคำพิพากษา
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 บัญญัติให้ นำบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ โดยอนุโลม 1. กรณีศาลมีคำพิพากษาให้ชำระเงิน - ยึด อายัด ทรัพย์สิน - ขายทอดตลาด

71 2. กรณีศาลมีคำพิพากษาให้กระทำการ หรือละเว้นกระทำการ
2.1 ให้บุคคลภายนอกกระทำการแทน 2.2 ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดง เจตนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษา 2.3 ออกหมายจับกุม และกักขัง ลูกหนี้ ตามคำพิพากษา

72 (2) คำบังคับให้ใช้เงิน
ประเภทของคำบังคับ และมาตรการในการบังคับตามคำพิพากษา คำบังคับให้เพิกถอนกฎ คำสั่งทางปกครอง (2) คำบังคับให้ใช้เงิน ป.วิ.แพ่ง กำหนดให้ยึด อายัด ขายทอดตลาดทรัพย์สินลูกหนี้ ก. สามารถใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งบังคับแก่เอกชน รัฐวิสาหกิจ(บางกิจการ)องค์กรควบคุม ผู้ประกอบวิชาชีพและหน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจให้ใช้อำนาจปกครอง

73 ข. ไม่สามารถใช้ประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่งได้
ข. ไม่สามารถใช้ประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่งได้ 1. ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาค ปัญหา ล่าช้า ข้อเสนอแนะ (1) ควรบัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนให้ฝ่ายปกครองปฏิบัติ (2) พ้นกำหนดไม่ชำระหนี้ ควรกำหนดให้เจ้าหนี้ ยื่นขอรับชำระหนี้จากกระทรวงการคลังโดยตรง

74 2. ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ
ปัญหา ล่าช้า ข้อเสนอแนะ ควรกำหนดให้เป็นหน้าที่ของหัวหน้าสูงสุดของหน่วยงานนั้นๆต้องเร่งดำเนินการชำระหนี้ หากงบประมาณไม่เพียงพอต้องรีบดำเนินการขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมจากสภาของหน่วยงานนั้นๆ

75 (3) คำบังคับให้ฝ่ายปกครองกระทำการหรืองดเว้นการกระทำการ
ปัญหา ฝ่ายปกครองไม่ปฏิบัติตาม ข้อเสนอแนะ (1) ควรบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนให้ฝ่ายปกครองปฏิบัติ (2) พ้นกำหนดไม่ปฏิบัติ กรณีที่โดยสภาพสามารถมอบให้ผู้อื่นดำเนินการ แทนได้ ควรกำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจสั่งให้ผู้อื่นดำเนินการแทนโดยฝ่ายปกครองเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย กรณีที่โดยสภาพไม่สามารถมอบให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้ ควรกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งปรับ

76 มาตรการเสริมในการบังคับคดี
เป็นการแก้ไขปัญหาในระยะต้นก่อนมีการแก้กฎหมาย (1) การมีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา (2) การร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน (3) ความรับผิดทางอาญาและทางวินัย ของเจ้าหน้าที่ (4) ความรับผิดทางละเมิด

77 หลักปฏิบัติราชการ เกี่ยวกับ การจัดซื้อจัดจ้าง

78 แผนผังกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
หลักประกันซอง (คำสั่งทางปกครอง) ตามกฎกระทรวง รับ/ไม่รับ เอกสารทั่วไป ทำสัญญา ทางปกครอง ได้คู่สัญญา (คำสั่งทางปกครองทั่วไป) ประกาศ ประกวดราคา/สอบราคา ผู้ซื้อซองประกวดราคา/สอบราคา หลักประกันซอง ระบบอิเลคทรอนิคส์ ผิดข้อกำหนดในสัญญา เลิกจ้าง ค่า K ทิ้งงาน อนุญาโตฯ คำสั่ง สัญญา คำสั่ง สัญญา

79 การดำเนินการเกี่ยวกับการกระทำหรือใช้สิทธิประโยชน์ในกรณีดังต่อไปนี้
ประกาศสอบราคาจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นคำสั่งทางปกครองตามกฎกระทรวง (ฉบับที่ ๑๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่กำหนดไว้ว่า การดำเนินการเกี่ยวกับการกระทำหรือใช้สิทธิประโยชน์ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การสั่งรับหรือไม่รับคำเสนอขาย รับจ้าง แลกเปลี่ยน ให้เช่า ซื้อ เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ (๒) การอนุมัติสั่งซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ (๓) การสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณา คำเสนอ หรือการดำเนินการอื่นใดในลักษณะเดียวกัน (๔) การสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน

80 (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๑๖๕/๒๕๕๑)
ประกาศประกวดราคา : เป็นคำสั่ง ทางปกครองทั่วไป ไม่ต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวก่อนนำคดีมาฟ้อง ต่อศาลปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๑๖๕/๒๕๕๑)

81 (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๕๕/๒๕๕๐)
สัญญาสอบราคา : กรณีที่ตามประกาศ มีข้อกำหนดให้ยึดหลักประกันหาก ผู้ซื้อซองสอบราคา/ประกวดราคา ซื้อซองหรือเอกสารแล้วไม่มายื่นซองตามกำหนดเวลา (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๕๕/๒๕๕๐)

82 (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๕๒/๒๕๔๘)
สัญญาสอบราคา : กรณีที่เมื่อมี การประกวดราคาได้แล้วแต่ไม่ยอมไปทำสัญญากับหน่วยงานทางปกครอง จึงถูกริบหลักประกันซองอีกครั้งหนึ่ง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๕๒/๒๕๔๘)

83 (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๖๕๘/๒๕๕๑)
สัญญาหลักประกันซอง : ประกาศ การประมูลทางอิเลคทรอนิคส์ที่มีข้อกำหนดว่าเมื่อผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติแล้วจะต้องมาเคาะราคาโดย มีหลักประกันซองไว้ด้วย หากไม่มาเคาะตามกำหนดเวลาจะถูกริบหลักประกัน (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๖๕๘/๒๕๕๑)

84 สัญญาทางปกครอง เกิดขึ้นได้โดย...
การเจรจาต่อรองก่อนที่จะตกลงทำสัญญา (คำเสนอ,คำสนอง) องค์ประกอบ บุคคลในคู่สัญญา วัตถุประสงค์ของสัญญา (ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่พ้นวิสัย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน) เจตนาตรงกับในใจจริง แบบหลักวิธีการในการแสดงเจตนา (วาจาหรือ ลายลักษณ์อักษร)

85 ข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการพัสดุ
ฟ้องว่าการกระทำหรือคำสั่งทางปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ฟ้องว่า ประกาศประกวดราคาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องว่า คำสั่งไม่รับคำเสนอราคาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องว่า คำสั่งยกเลิกการประกวดราคาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องว่าหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร เช่น ฟ้องว่า หน่วยงานฯ พิจารณาผลการประกวดราคาล่าช้า เกินสมควร ฟ้องว่าหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดอันเกิดจาก การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร เช่น ฟ้องว่า หน่วยงานฯ ออกคำสั่งยกเลิกการประกวดราคา ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้ได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนคำสั่งยกเลิกการประกวดราคา หรือขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย

86 ความทั่วไปเกี่ยวกับการพัสดุ

87 การพัสดุ ความหมาย การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา
การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย และการดำเนินการอื่นๆ ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้

88 หลักการคัดเลือกคู่สัญญา
ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหาพัสดุแต่ละ ขั้นตอนต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้... เปิดเผย ตรวจสอบได้ เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกัน อย่างเป็นธรรม คำนึงประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ สามารถอธิบายได้อย่างมีเหตุมีผล รับฟังได้

89 ความรับผิดตามระเบียบพัสดุฯ
การกระทำ ความรับผิด ผู้มีอำนาจหรือหน้าที่ดำเนินการ ตามระเบียบนี้หรือผู้หนึ่งผู้ใด 1. กระทำการใดโดยจงใจหรือประมาท เลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือ 2. กระทำการโดยมีเจตนาทุจริต หรือ 3. กระทำการโดยปราศจากอำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ 4. มีพฤติกรรมที่เอื้ออำนวย แก่ผู้เข้าเสนอราคาหรือเสนองาน ให้มีการขัดขวางการแข่งขันราคา อย่างเป็นธรรม ความรับผิดทางวินัย (1) ถ้าการกระทำมีเจตนาทุจริต หรือเป็นเหตุให้ทางราชการเสียหาย อย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการลงโทษอย่างต่ำปลดออกจากราชการ (2) ถ้าการกระทำเป็นเหตุให้ ทางราชการเสียหายแต่ไม่ร้ายแรง ให้ลงโทษอย่างต่ำตัดเงินเดือน (3) ถ้าการกระทำไม่เป็นเหตุให้ ทางราชการเสียหายให้ลงโทษภาคทัณฑ์หรือว่ากล่าวตักเตือน โดยทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร ความรับผิดทางแพ่ง (ละเมิด) ความรับผิดทางอาญา

90 การปฏิบัติหน้าที่ กับความรับผิดของเจ้าหน้าที่
ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้อง ชอบด้วยกฎหมาย “ศาล” ตรวจสอบความชอบฯ ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความรับผิด ความรับผิดอย่างอื่น เจตนาทุจริต กลั่นแกล้งให้เสียหาย ทำให้เกิด ความเสียหาย เข้าเหตุตามมาตรา 81-85 เป็นเหตุให้ พ้นจากตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น /สมาชิกสภาท้องถิ่น รับผิดทางอาญา รับผิดทางละเมิด รับผิดทางวินัย

91 สร้างหลักฐานเพื่อให้มีการเบิกจ่ายเงินเท็จ : เป็นการกระทำผิดวินัย
ผู้ฟ้องคดีจัดทำฎีกาเบิกเงินเป็นค่าปรับปรุงถนน และเขียนเช็คจ่ายให้กับ หจก.ธ พร้อมกับจัดทำสมุดคุมการสั่งจ่ายเช็คในฐานะหัวหน้าส่วนการคลังได้ลงนามในเอกสาร ใส่แฟ้มเสนอเซ็นวางไว้บนโต๊ะทำงาน เจ้าหน้าที่จึงได้ นำแฟ้มเสนอปลัด อบจ. และนายก อบจ.1 ผู้มีอำนาจ สั่งจ่ายเงินและได้มีการลงนามในเอกสาร คณะกรรมการตรวจการจ้างพบว่างานเสร็จ 10% จึงไม่ตรวจรับ ต่อมาผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือให้ยืนยันการส่งมอบงานถึง หจก.ธ โดยไม่มีอำนาจ และสั่งให้เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนส่งย้อนหลังแทรกลงในสมุดทะเบียนส่งโดยใช้เลขหนังสือซ้ำฯ และสั่งให้ลงทะเบียนรับหนังสือส่งมอบ ค่าซ่อมแซมปรับปรุงถนนของ หจก.ธ โดยลงทะเบียนรับย้อนหลังแทรกในสมุดทะเบียนรับด้วย คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 538/2551

92 แม้ว่าการกระทำของผู้ฟ้องคดีจะไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการแต่ก็เป็นการสร้างหลักฐานเท็จเพื่อให้มีหลักฐานการเบิกจ่ายเงินสมบูรณ์ แม้ต่อมาได้สั่งให้ยกเลิกฎีกาเบิกเงินและมิให้จ่ายเช็คให้กับผู้รับจ้าง ทางราชการ ยังไม่ได้รับความเสียหาย แต่ก็ถือว่าได้กระทำความผิดฐาน ไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตน ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมหาประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น ทั้งไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ และรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา โดยการปกปิดข้อความจริงซึ่งต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ แม้อาจใช้ดุลพินิจเตรียมการจัดทำฎีกาและเขียนเช็ค สั่งจ่ายเงินไว้ล่วงหน้าเพื่อให้สามารถเบิกจ่ายเงินได้ทันที เมื่อตรวจรับงานแล้วได้ แต่ต้องเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีทราบว่างานใกล้จะเสร็จตามสัญญา การที่ผู้ฟ้องคดีกับนาย ว. หุ้นส่วนผู้จัดการ หจก.ธ เป็นสามีภรรยากัน อาศัยอยู่ด้วยกัน จึงย่อมทราบดีว่าทำงานเสร็จเพียง 10%

93 คำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนผู้ฟ้องคดีของนายก อบจ
คำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนผู้ฟ้องคดีของนายก อบจ. 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย ต่อมา ผู้ฟ้องคดีโอนไป อบจ. 2 และยื่นอุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ต่อ นายก อบจ. 2 ตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 16 ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ ข้อ 13 กำหนดว่า เมื่อ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวง ได้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ถ้าเห็นว่า การสั่งลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม กับความผิด และเห็นว่าผู้อุทธรณ์ได้กระทำผิดวินัยอย่าง ไม่ร้ายแรงแต่ควรได้รับโทษหนักขึ้น ให้มีมติให้เพิ่มโทษเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่หนักขึ้น การที่ กจจ.2 (= อ.ก.พ. กระทรวง และ อ.ก.พ. กรม) เห็นว่า การลงโทษยังไม่เหมาะสมกับความผิด จึงมีมติให้เพิ่มโทษเป็นลงโทษลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น มติจึงชอบด้วยกฎหมาย และคำสั่งที่สั่งเพิ่มโทษ ตามมติฯ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

94 กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. 2538 พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ระเบียบ คตง. ว่าด้วยวินัยทางงบประมาณและการคลัง พ.ศ. 2544

95 ขั้นตอนการคัดเลือกคู่สัญญา
ขั้นตอนการประกาศจัดซื้อ/จ้าง ขั้นตอนก่อนการเปิดซอง ขั้นตอนการพิจารณาผล ขั้นตอนอนุมัติสั่งซื้อ สั่งจ้าง ขั้นตอนของการทำสัญญา

96 ลักษณะข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้น
ขั้นตอนการประกาศจัดซื้อจัดจ้าง ล็อคสเปก กำหนดผลงานสูงเกินสมควร ไม่ประกาศให้ทราบโดยเปิดเผย ไม่ยอมขายแบบ

97 ขั้นตอนก่อนการเปิดซอง
ไม่รับซองเสนอราคา (ยื่นเกินกำหนด/เอกสารไม่ครบ ฯลฯ) การพิจารณาว่า ผู้เสนอราคามีผลประโยชน์ร่วมกัน การพิจารณาว่า มีการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่าง เป็นธรรม ขั้นตอนการพิจารณาผล รู้ผลการพิจารณาของคณะกรรมการเป็นการภายใน ยกเลิกการประกวดราคา (อ้างว่ามีการฮั้วราคา ทางราชการ ต้องการแก้ไขเงื่อนไขการประกวดราคาใหม่ ฯลฯ) ไม่คืนหลักประกันซอง กรณีไม่ผ่านข้อเสนอทางเทคนิค

98 4) ขั้นตอนอนุมัติสั่งซื้อ สั่งจ้าง
การยกเลิกการประกวดราคา การสั่งซื้อสั่งจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย 5) การยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง 6) ขั้นตอนของสัญญา การบอกเลิกสัญญา เงินค่าปรับ การให้ทำงานพิเศษ ค่า K มติ ครม. ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบฯ การสั่งเป็นผู้ทิ้งงาน

99 ความสัมพันธ์ระหว่างการพัสดุและสัญญา
หาตัวคู่สัญญา ทำสัญญาซื้อหรือจ้าง การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุฯ ผูกพันตามสัญญา และปฏิบัติ ตามระเบียบพัสดุ/กฎหมาย ความรับผิดก่อนสัญญา การพิจารณาทางปกครอง คดีพิพาทเกี่ยวกับ สัญญาทางปกครองหรือละเมิด คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำโดยไม่ชอบฯ / ละเลยล่าช้า / ละเมิด ประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้าง “คำสั่งทางปกครอง”

100 คำสั่งทางปกครอง หมายความว่า...
การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็น การสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง

101 คำสั่งทางปกครอง (2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (1) ลักษณะทั่วไป
การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง การรับจดทะเบียน มีผลสร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล/กระทบสถานภาพของสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคล มีผลเฉพาะ “กรณีใด หรือบุคคลใด” เป็นการกระทำที่มีผลไป สู่ภายนอกโดยตรง (2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 1) การดำเนินการเกี่ยวกับ การจัดหาหรือให้สิทธิ ประโยชน์ ในกรณีดังนี้ การสั่งรับหรือไม่รับคำเสนอขาย รับจ้าง แลกเปลี่ยน ให้เช่า ซื้อ เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ การอนุมัติสั่งซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ การสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณา คำเสนอหรือการดำเนินการอื่นใด ในลักษณะเดียวกัน การสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน 2) การให้หรือไม่ให้ ทุนการศึกษา

102 ข้อสังเกต กรณีการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัสดุในส่วนที่เป็น “การพิจารณาทางปกครอง” และ “คำสั่งทางปกครอง” จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง พ.ศ ด้วย คำสั่งในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง เป็น คำสั่งทางปกครองทั่วไป คำสั่งรับหรือไม่รับคำเสนอขายหรือจ้าง.....เป็น.....คำสั่งทางปกครอง คำสั่งอนุมัติซื้อหรือจ้าง เป็น.....คำสั่งทางปกครอง คำสั่งยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง เป็น.....คำสั่งทางปกครอง คำสั่งเป็นผู้ทิ้งงาน เป็น.....คำสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการจัดหาพัสดุจึงต้องมีรู้ความเข้าใจกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเป็นอย่างดีด้วย

103 คดีปกครองเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองในคดีพัสดุ

104 ฟ้องเพิกถอนคำสั่งจ้างต้องอุทธรณ์ก่อน (หจก
ฟ้องเพิกถอนคำสั่งจ้างต้องอุทธรณ์ก่อน (หจก.ประภาพร) (ไม่อุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำเสนอราคาก่อนฟ้องคดี) ผู้ฟ้องคดียื่นซองประกวดราคาเสนอราคาต่ำเป็นลำดับที่ ๒ แต่ผู้เสนอราคาต่ำสุดเสนอผิดเงื่อนไข คณะกรรมการพิจารณาผลฯ จึงมีความเห็นให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ชนะ การประกวดราคาและเรียกไปต่อรองราคาแล้ว ผวจ.ให้คณะกรรมการพิจารณาผลฯ พิจารณาใหม่ ให้ผู้เสนอราคาต่ำสุดชนะการประกวดราคา และเรียกไป ลงนามในสัญญาจ้างแล้ว ศาลปกครองเห็นว่า การที่ ผวจ. ให้ผู้เสนอราคาต่ำสุด เป็นผู้ชนะ เป็นการอนุมัติสั่งซื้อหรือจ้าง หรือให้สิทธิประโยชน์เป็นคำสั่งทางปกครอง เมื่อผู้ฟ้องคดีนำคดี มาฟ้องโดยไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวก่อน ถือว่าไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการสำหรับการแก้ไข ความเดือดร้อนหรือเสียหายฯ ก่อนนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดี ศาลจึงไม่รับคำฟ้อง ไว้พิจารณา คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๒๒๑/๒๕๔๕

105 พรบ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๗ ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวงหรือกระทำการโดยวิธี อื่นใดเป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเข้าทำการเสนอราคา อย่างเป็นธรรมหรือให้มีการเสนอราคาโดยหลงผิด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาสูงสุดระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดนั้น หรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า มาตรา ๑๐ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใดซึ่งมีอำนาจหรือหน้าที่ในการอนุมัติ การพิจารณา หรือการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอราคาครั้งใด รู้หรือมีพฤติการณ์ปรากฏแจ้งชัดว่าควรรู้ว่าการเสนอราคาในครั้งนั้นมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ละเว้นไม่ดำเนินการเพื่อให้มีการยกเลิกการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอราคาในครั้งนั้น มีความผิดฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

106 การยกเลิกการประกวดราคาโดยไม่ชอบฯ (งานนี้ สจ
การยกเลิกการประกวดราคาโดยไม่ชอบฯ (งานนี้ สจ. ขอ – ไม่ให้สิทธิโต้แย้งตามมาตรา 30) ออป. ประกาศประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างเพื่อปรับปรุง และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวพื้นที่สวนป่าเขากระยาง โดย ข้อ 6.5 กำหนดว่า ออป.ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะพิจารณายกเลิก การประกวดราคาและลงโทษผู้เสนอราคาให้เป็นผู้ทิ้งงานไม่ว่า จะเป็นผู้เสนอราคาที่ได้รับการคัดเลือกหรือไม่ก็ตาม หากมีเหตุ ที่เชื่อได้ว่าการเสนอราคากระทำไปโดยไม่สุจริตหรือมี การสมยอมกันในการเสนอราคา ข้อ 6.6 กำหนดว่า ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงภายหลังการเปิดซองฯ ว่า ผู้เสนอราคาที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกตามที่ประกาศรายชื่อไว้เป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่น ณ วันประกาศสอบราคา หรือเป็นผู้เสนอราคาที่กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ออป. มีอำนาจ จะตัดรายชื่อผู้เสนอราคาที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกออกจากประกาศรายชื่อ และ ออป. จะพิจารณาผู้เสนอราคารายนั้น เป็นผู้ทิ้งงาน ในกรณีนี้ หาก ออป. พิจารณาเห็นว่าการยกเลิกการเปิดซองใบเสนอราคาที่ได้ดำเนินการไปแล้วจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการอย่างยิ่ง ออป. มีอำนาจยกเลิกการเปิดซอง ใบเสนอราคาได้ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.๖๑/๒๕๕๒

107 ยื่นซองเวลา 9.00-10.30 น. มีผู้ยื่นซอง 5 ราย รวมทั้งผู้ฟ้องคดีด้วย ผ่านคุณสมบัติทุกราย
ผู้ฟ้องคดีเสนอราคาต่ำสุด ๖.๕ ล้านบาท (ราคากลาง ๖.๕๗๖ ล้านบาท) ต่อรองราคาเหลือ ๖.๔๗ ล้านบาท คณะกรรมการเปิดซองฯ เสนอว่าเห็นควรเลือกผู้ฟ้องคดีเป็นผู้รับจ้างก่อสร้าง นาย ส. จนท. รายงานว่า ระหว่างเวลา น. ตนไปสังเกตการณ์การยื่นซองฯ พบว่ามีการกระทำ ในลักษณะสมยอมในการเสนอราคาโดยมีกลุ่มบุคคล 10 คน (ชาย 8 หญิง 3) ยืนกีดกันไม่ให้มีการยื่นซองโดยพูดว่า “งานนี้ สจ.ขอ” และพูดว่าได้จ่ายค่าฮั้วรายละ 30,000 บาทแล้ว จึงเชื่อว่ามีพฤติกรรมในการฮั้วประมูล

108 ออป. จึงยกเลิกการประกวดราคาโดยให้เหตุผลว่า ได้รับรายงานซึ่งเชื่อว่ามีการกระทำในลักษณะสมยอม เสนอราคาและมีพฤติการณ์ต่าง ๆ อันทำให้มิได้มี การแข่งขันกันเสนอประโยชน์สูงสุดให้แก่ ออป. ซึ่งเป็นการกระทำผิดตาม พรบ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับ การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐฯ ผู้ฟ้องคดีทราบประกาศเมื่อ 11 เมษายน จึงอุทธรณ์คำสั่งเมื่อ 21 เมษายน 2546 ว่า วันยื่นซองไม่ปรากฏพฤติการณ์ดังกล่าว ตนเสนอราคาต่ำสุด และต่ำกว่าราคากลางโดยมีการต่อรองราคากันแล้ว ขอให้ยกเลิกประกาศยกเลิกฯ และเรียกให้ตนทำสัญญาต่อไป ออป. ยืนยันว่าประกาศเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง

109 ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า...
ประกาศยกเลิกการประกวดราคาเป็นคำสั่ง ทางปกครองตามกฎฯ ฉบับที่ ๑๒ ผู้ฟ้องคดีได้ซื้อเอกสารประกวดราคาฯ เข้ายื่นซอง และเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดจนคณะกรรมการเปิดซองฯ เรียกมาเจรจาต่อรองและรายงาน ออป. ว่าควรเลือก ผู้ฟ้องคดีให้เป็นผู้รับจ้างแล้ว จึงถือว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิเข้าทำสัญญาฯ เมื่อ ออป. ยกเลิกการประกวดราคาฯ จึงถือว่าสิทธิ ของผู้ฟ้องคดีได้รับผลกระทบ ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นคู่กรณี การที่ ออป. จะยกเลิกการประกวดราคาอันเป็น การกระทบสิทธิผู้ฟ้องคดี จึงต้องแจ้งข้อเท็จจริงให้ ผู้ฟ้องคดีทราบอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนตามมาตรา ๓๐ วิปฏิบัติฯ

110 การที่ ออป. ยกเลิกการประกวดราคาโดยอาศัยเพียงรายงานลับ ของนาย ส
การที่ ออป.ยกเลิกการประกวดราคาโดยอาศัยเพียงรายงานลับ ของนาย ส. โดยมิได้มีการสอบสวนพยานบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์ เช่น คณะกรรมการรับซองหรือคณะกรรมการเปิดซองฯ ฯลฯ เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณา ทั้ง ๆ ที่ ออป. เองก็ไม่แน่ใจว่าข้อความตามรายงานลับจะเป็นจริงหรือไม่ จนไม่อาจนำความ เข้าแจ้งความกล่าวโทษต่อ พสส. ได้ ดังคำให้การของ ออป. ที่ยื่น ต่อศาล นอกจากนั้น ออป. ก็มิได้รวบรวมข้อเท็จจริงที่จะใช้เป็นเหตุผลใน การประกาศยกเลิกฯ แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบและให้โอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนและนำพยานหลักฐานจากทั้งสองฝ่ายมาพิจารณาเปรียบเทียบกันว่า ฝ่ายใดน่าเชื่อถือกว่ากัน จึงจะวินิจฉัยไปตามนั้น และการไม่แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวก็มิใช่กรณีที่จะก่อให้เกิด ผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะอันจะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา ๓๐ วรรคสาม การประกาศยกเลิกฯ จึงไม่ถูกต้องตามขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น คำสั่งประกาศยกเลิกการประกวดราคาจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

111 การที่ ออป. อ้างในคำอุทธรณ์ว่า บริษัท พรหมพิรามฯ (1 ในกิจการร่วมค้า) ได้มอบอำนาจให้ผู้แทนเข้ายื่นซองประกวดราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของ ออป. และเสนอราคา ๔.๒๓๖ ล้านบาท และได้รับเลือกเป็นคู่สัญญาโครงการนี้ จึงเท่ากับผู้ฟ้องคดียอมรับผล ของการยกเลิกการประกวดราคาฯ และสละสิทธิที่จะดำเนินการทางกฎหมายต่อไปนั้น เป็นข้อเท็จจริงใหม่ มิได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลปกครองชั้นต้น และไม่เป็นปัญหาความสงบเรียบร้อยหรือปัญหาเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจรับไว้วินิจฉัยได้และข้อเท็จจริงนี้ไม่อาจทำให้ประกาศของ ออป. ที่เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบฯ กลับมามีผลเปลี่ยนแปลงไป จึงพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งยกเลิกการประกวดราคาโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่มีประกาศดังกล่าว

112 ขั้นตอนการประกาศจัดซื้อ/จ้าง - ประกาศจัดซื้อ/จัดจ้างชอบหรือไม่ - การส่ง/ปิดประกาศชอบหรือไม่

113 การส่งประกาศจัดซื้อจัดจ้าง (นายจิโรจน์ฯ/อบจ.นครศรีฯ)
ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือขอให้ อบจ.ส่งประกาศจัดซื้อจัดจ้างให้ตนทาง ปณ ทุกโครงการ โดยยินดีจ่ายค่าใช้จ่าย แต่ไม่เคยส่งให้เลย จึงร้องเรียน ผวจ. เพื่อขอให้สั่งการ อบจ. ให้ดำเนินการ แต่ก็ไม่มีการส่งให้ ขณะดำเนินคดีได้ไปขอตรวจดูเอกสารการประกาศจัดซื้อ/จ้าง แต่ จนท. บ่ายเบี่ยง จึงร้อง คขร. จึงได้รับอนุญาตและทราบว่ามีการจัดจ้างไป ๖๖ โครงการ เห็นว่าการไม่ส่งประกาศฯ ให้ เป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ ทำให้ตนเสียหายไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารฯ ไม่มีโอกาสเข้าแข่งขันราคา อย่างเป็นธรรม นอกจากนั้น ตนเคยไปดูประกาศที่สำนักงานฯ ทุกสัปดาห์ ปรากฏว่า ไม่มีการปิดประกาศ สอบถามแล้ว จนท.ก็แจ้งว่าไม่มีการประกาศจัดซื้อ/จ้าง แต่อย่างใด ขอให้ส่งประกาศฯ ทาง ปณ.ให้ผู้ฟ้องคดีทุกโครงการจนกว่าจะบอกเลิก เป็นลายลักษณ์อักษร โดยยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๓๓๓/๒๕๔๘

114 ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ข้อ ๓๔ (๑) กำหนดให้เจ้าหน้าที่พัสดุ 1) ประกาศเผยแพร่การสอบราคาและเอกสารฯไปยังผู้มีอาชีพขาย/รับจ้างทำงานนั้นโดยตรง หรือทาง ปณ. ลงทะเบียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ กับ 2) ให้ปิดประกาศเผยแพร่ไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของ อปท. นั้น เห็นว่า ระเบียบฯ ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ที่จะต้องจัดส่งประกาศ สอบราคาให้แก่ผู้มีอาชีพรายหนึ่งรายใดโดยเฉพาะ กำหนดเพียงว่า ให้จัดส่งฯ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ กรณีจึงเป็นการให้ดุลพินิจ แก่ อปท. ในการจัดส่งประกาศเผยแพร่การสอบ ดังนั้น การที่ อบจ. ไม่จัดส่งประกาศให้ผู้ฟ้องคดี จึงหาได้เป็น คดีพิพาทเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) ไม่

115 ที่อ้างว่า หนังสือ ที่ มท ๐๓๑๘/ว๒๒๕๒ ลว ๒๖ สค ๔๕ ที่กำหนดว่า การซื้อ /จ้างโดยวิธีสอบราคาทุกครั้ง หากมีผู้ประกอบการแสดงความจำนงต่อ อบต เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อขอรับประกาศสอบราคาฯ อบต. ควรจัดส่งไปยังผู้ร้องขอทุกรายเพื่อให้เกิด การแข่งขันอย่างกว้างขวาง เป็นกรณีเดียวกับ อบจ. สามารถนำมาเทียบเคียงกันได้เห็นว่า หนังสือ มท. ไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย เป็นเพียงคำแนะนำภายในเพื่อให้เจ้าหน้าที่และหน่วยงานในสังกัด ถือเป็นแนวทางปฏิบัติเท่านั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่/หน่วยงานสามารถใช้ดุลพินิจในการจัดส่งประกาศสอบราคา และเอกสารฯได้ ที่ศาลปกครองชั้นต้นไม่รับคำฟ้อง จึงชอบแล้ว

116 การส่งประกาศฯ (หจก. สุจรรยา/อบต. แซงบาดาล และ อบต.หนองแวง)
เมื่อ อบต. ได้ดำเนินการประกาศสอบราคาครบถ้วนตามที่ระเบียบข้อ ๒๗(๑) กำหนดแล้ว การที่ไม่ได้ส่งประกาศสอบราคาให้ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ถือเป็นการปฏิบัติที่ผิดระเบียบเพราะ ไม่มีกฎหมายระเบียบใดที่กำหนดให้ต้องแจ้งให้ผู้ใดโดยตรงเป็นการเฉพาะ และถือเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ต้องติดตามข้อมูลการประกาศประกวดราคาของหน่วยงานราชการด้วยตนเองเพราะมีผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก หน่วยงานราชการไม่สามารถจัดส่งให้แก่ผู้ประกอบการได้เป็น การเฉพาะราย ประกอบกับไม่ปรากฏว่า ได้มีการดำเนินการโดยไม่ชอบนอกจากข้อกล่าวหาของผู้ฟ้องคดี และโครงการได้ดำเนินการเสร็จก็มิได้มีการร้องเรียนจากประชาชนในท้องที่แต่อย่างใด ดังนั้น การออกประกาศสอบราคาจ้างจึงเป็นไปโดยชอบ ด้วยกฎหมาย คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๒๕๒/๒๕๔๙

117 การประกาศสอบราคาไม่ชอบด้วยกฎหมาย (หจก. พ
การประกาศสอบราคาไม่ชอบด้วยกฎหมาย (หจก. พ. บุญมี ที่ ๑ กับพวกรวม ๗ คน / อบต. หินเหล็กไฟ) อบต. ออกประกาศสอบราคาโครงการก่อสร้างประปากำหนด ออกประกาศสอบราคาเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๔ ซื้อแบบ/เอกสารฯ ณ ที่ทำการ อบต. ตั้งแต่ ๒๘ มิถุนายน - ๘ กรกฎาคม ๒๕๔๔ ยื่นซองวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๔ เปิดซองวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๔ ผู้ฟ้องคดีไปขอซื้อแบบฯ เมื่อ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๔ แต่ปิด ทำการ จึงเห็นว่า ระยะเวลาขายแบบตรงกับวันหยุด ๖ วัน เหลือเวลาขายแบบเพียง ๕ วัน ซึ่งไม่ถูกต้องตามระเบียบ ที่กำหนดให้มีช่วงเวลาการขายแบบไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน แต่ผู้รับเหมาบางรายที่รู้จักกับปลัด อบต. สามารถโทรศัพท์ ซื้อแบบฯ ได้ในวันหยุดราชการ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๑๓๘/๒๕๔๙

118 การขายแบบฯ ต้องไม่น้อยกว่า 10 วันทำการ
ยื่นซอง มิถุนายน กรกฎาคม 28 29 30 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 พฤ เปิดซอง กำหนดซื้อแบบ ประกาศสอบราคาฯ 1. ติดต่อขอซื้อแบบฯ ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน – 8 กรกฎาคม ในวันและเวลาราชการ (วันที่ 5-6 เป็นวันมาฆะบูชา-วันเข้าพรรษา) 2. ยื่นซองฯ กรกฎาคม 3. เปิดซองฯ 10 กรกฎาคม

119 การกระทำของ อบต.มีลักษณะเป็นการสมยอมและปกปิด เพื่อช่วยเหลือผู้รับเหมาบางรายที่เป็นพวกพ้อง ทำให้ผู้ฟ้องคดีซื้อแบบตามเวลาที่กำหนดและรัฐสูญเสียรายได้ค่าซื้อแบบฯ อบต. อ้างว่า ได้ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบแล้ว เพราะได้ประกาศขยายเวลาการขายแบบฯ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ กรกฎาคม – ๘ กรกฎาคม ๒๕๔๔ โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ รวมทั้งมีคำสั่งให้ หน.ส่วนการคลังมาปฏิบัติงานในวันหยุดราชการเพื่อ ขายแบบฯ ซึ่งผู้รับเหมาหลายรายสามารถซื้อแบบฯ ได้ในวันหยุดราชการดังกล่าว ผวจ.ส่งเอกสารสำนวนการสอบสวนการทุจริตโครงการดังกล่าวตามคำสั่งศาล และผู้แทน อบต. ปลัด อบต. ชี้แจงว่า จนท. ผู้พิมพ์ประกาศให้การว่าประกาศขยายเวลาฯ จัดทำขึ้นภายหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาในการขายแบบแล้ว ประธาน อบต. ให้ถ้อยคำว่า มิได้เป็นผู้ลงนามอนุมัติให้ผู้เสนอราคาต่ำสุดเป็นผู้ชนะการสอบราคา และไม่ได้ลงชื่อในฐานะผู้ว่าจ้างตามสัญญาจ้าง

120 ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า การกระทำของ อบต
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า การกระทำของ อบต. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลเพิกถอนประกาศสอบราคาโครงการพิพาท และให้มีการสอบราคาใหม่ ศาลปกครองสูงสุดวินิจแล้วเห็นว่า ระเบียบ ข้อ ๒๗ วรรคหนึ่ง กำหนดว่า การซื้อ/จ้างโดยวิธีสอบราคา ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ก่อนวันเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน ให้เจ้าหน้าที่พัสดุส่งประกาศเผยแพร่การสอบราคาและเอกสารสอบราคาไปยัง ผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง หรือโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ กับให้ปิดประกาศเผยแพร่การสอบราคาไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการ อบต. และที่ว่าการอำเภอนั้น วรรคสอง กำหนดว่า การให้/ขายเอกสารสอบราคาซึ่งรวมทั้ง คุณลักษณะเฉพาะ หรือรายละเอียด ให้ถือปฏิบัติตามการให้/ขายเอกสารของวิธีการประกวดราคาโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้เริ่มดำเนินการให้/ขาย ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศสอบราคาจนถึงก่อนวัน เปิดซองสอบราคา

121 ข้อ ๓๒ วรรคหนึ่ง กำหนดว่า การให้/ขายเอกสารประกวดราคาซึ่งรวมทั้งคุณลักษณะเฉพาะ หรือรายละเอียด ให้กระทำ ณ ที่ทำการ อบต. หรือสถานที่ที่สามารถติดต่อได้โดยสะดวกและไม่เป็นเขตหวงห้ามกับจะต้องจัดเตรียมไว้ ให้มากพอสำหรับความต้องการของผู้มาขอรับ/ซื้อ ที่มีอาชีพขาย/รับจ้างทำงานนั้นอย่างน้อยรายละ ๑ ชุด โดยไม่มีเงื่อนไขอื่นในการให้/ขาย ทั้งนี้ ให้เริ่มให้/ขายก่อนวัน รับซองไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน และให้มีช่วงเวลาในการให้/ขาย ไม่น้อยกว่า ๑๐ วันด้วย ข้อ ๓๓ วรรคหนึ่ง กำหนดว่า ก่อนวันเปิดซองประกวดราคา หากมีความจำเป็นที่จะต้องชี้แจงหรือให้รายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์แก่ อบต. หรือมีความจำเป็นต้องแก้ไขคุณลักษณะเฉพาะหรือรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญซึ่งมิได้กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคามาแต่ต้น ให้จัดทำ เป็นประกาศและเอกสารประกวดราคาเพิ่มเติม และดำเนินการตามข้อ ๓๑ โดยอนุโลม กับแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ที่ขอรับ/ซื้อเอกสารประกวดราคาไปแล้วทุกรายด้วย

122 ประกาศสอบราคามีลักษณะเป็น “คำสั่งทั่วไปของฝ่ายปกครอง” ที่มิได้กำหนดตัวผู้รับคำสั่งไว้โดยเฉพาะ เพียงแต่กำหนดคุณสมบัติกว้าง ๆ ไว้เพื่อให้ผู้ที่มีคุณสมบัติตามคำสั่ง ที่ประสงค์จะเสนอตัวเข้าเป็นคู่กรณีกับหน่วยงานของรัฐทราบ และมีสิทธิที่จะเสนอราคาตามเงื่อนไขและเวลาที่กำหนด เมื่อฟ้องว่าประกาศดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และผู้ฟ้องคดีมิใช่คู่กรณีตามคำสั่งทางปกครองจึงสามารถนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองโดยไม่ต้องอุทธรณ์คำสั่งก่อน เมื่อ อบต. ประกาศขายแบบฯ โดยเป็นหยุด ๖ วัน และมีเวลาขายเพียง ๕ วัน เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ประกาศสอบราคาฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับกำหนดวันขายแบบจึงมีกำหนดระยะเวลาที่ไม่เป็นไปตามข้อ ๓๒ วรรคหนึ่ง ประกอบกับข้อ ๒๗ วรรคสอง และมีผลกระทบต่อเนื่องไปทำให้กำหนดวันยื่นซองและกำหนดเปิดซองสอบราคาที่กำหนดไว้ในวันที่ ๙ และ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๔ ไม่ชอบด้วยระเบียบไปด้วย

123 ที่อ้างว่า ได้ออกประกาศขยายเวลาโดยขายไม่เว้นวันหยุดราชการ เพื่อให้เป็นไปตามข้อ ๓๒ และเป็นประโยชน์แก่ทางราชการ มีปัญหาว่าได้มีการออกประกาศดังกล่าวจริงหรือไม่ เพราะผู้ฟ้องคดีอ้างว่าไม่เคยพบเห็น และเข้าใจว่าเป็นการทำประกาศเพื่อป้องกันความผิด ประธาน อบต. ชี้แจงว่า เป็นผู้ ลงนามในประกาศดังกล่าว แต่ไม่ทราบว่ามีการปิดประกาศหรือไม่ ปลัด อบต. ชี้แจงว่า มีการออกประกาศทั้ง ๒ ฉบับ โดยยืนยันว่าได้มีการปิดประกาศประกาศฉบับแรกแล้ว แต่ไม่ได้กล่าวถึงประกาศขยายเวลาว่ามีการปิดประกาศหรือไม่ จนท. ให้ถ้อยคำในการสอบสวนว่า จนท. ผู้พิมพ์ประกาศขยายเวลา ให้การว่าประกาศขยายเวลาจัดทำขึ้นภายหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาขายแบบฯ โดยปลัดเป็นผู้ร่างประกาศฯ กรณีจึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติว่า ได้มีการอกประกาศขยายเวลาจริงหรือไม่ แต่ไม่ว่าจะมีการประกาศจริงหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่มีพยานคนใดยืนยันว่า ได้มีการปิดประกาศโดยเปิดเผยและส่งประกาศแก่ผู้มีอาชีพ ตาม ข้อ ๓๓ วรรคหนึ่ง โดยชอบแล้ว

124 ดังนั้น การขยายเวลาขายแบบฯ ไม่ว่าจะมีประกาศจริงหรือไม่ จึงยังไม่เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการเพื่อแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องหรือบุคคลทั่วไปได้ทราบถึงการมีประกาศขยายเวลา ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญในการสอบราคาตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ เป็นเหตุให้ประกาศสอบราคาที่วินิจฉัยแล้วว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมายยังคงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอยู่เช่นเดิม ดังนั้น อุทธรณ์ของ อบต. ที่ว่า ได้ดำเนินการตามระเบียบแล้ว จึงไม่อาจรับฟังได้ และแม้ได้มีการออกประกาศขยายเวลาจริง การที่มิได้ ปิดประกาศโดยเปิดเผยและส่งประกาศตามระเบียบ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการออกประกาศสอบราคาแล้ว หาได้มีผลกระทบต่อความชอบด้วยกฎหมายของประกาศสอบราคา เพียงแต่เป็นเหตุให้ประกาศขยายเวลาไม่มีผลเป็นการขยายเวลาขายแบบในวันหยุดราชการ กรณัจึงไม่ต้องเพิกถอนประกาศขยายเวลา พิพากษาให้เพิกถอนประกาศสอบราคาของ อบต.

125 ประกาศประกวดราคาล๊อคสเปค (หจก.แม่ฮ่องสอนคอนกรีต/ทม.แม่ฮ่องสอน)
ประกาศประกวดราคาล๊อคสเปค (หจก.แม่ฮ่องสอนคอนกรีต/ทม.แม่ฮ่องสอน) ทม.ประกาศประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างระบุต้องปูพื้นแบบ Cobble Stone หรือมาตรฐานเทียบเท่า ซึ่งเป็นชื่อสินค้าของ บ.ซีแพ็ค ไม่ใช่ มอก. ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถเข้าแข่งขันได้ เพราะสินค้าดังกล่าวใน จ.เชียงใหม่ มีราคาสูง และทำให้สินค้า มอก. ที่ผลิตใน จ.แม่ฮ่องสอน ไม่มีโอกาสจำหน่าย ผู้ฟ้องคดีได้ชี้แจงและขอให้แก้ไขแล้ว แต่ ทม. เพิกเฉยและยังได้สอบราคาต่อไป ขอให้เพิกถอนประกาศประกวดราคาฯ และให้ระงับการสอบราคาชั่วคราว ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ประกาศฯ แม้จะใช้กับบุคคลทั่วไป ที่สมัครใจจะเข้าเสนอราคา เฉพาะการจ้างเหมาเฉพาะรายไม่ใช่เป็นการทั่วไป ประกาศจึงมีสถานะเป็นเพียงการชี้ชวน โดยมีการกำหนดคุณลักษณะของสิ่งของและกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าเสนอราคาเท่านั้น คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๘๐๖/๒๕๔๘

126 ประกาศฯแม้จะกำหนดเกณฑ์ของวัสดุ แต่ก็เป็นวัสดุที่ผู้เข้าแข่งขันทุกรายสามารถที่จะหาได้ในสถานะเท่าเทียมกันในขณะเสนอราคา หาได้มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ฟ้องคดีโดยเฉพาะแต่อย่างใด ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายตามมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่งฯ และที่อุทธรณ์ว่า ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายเพราะ ไม่สามารถหาวัสดุที่กำหนดไว้ได้ เห็นว่า การกำหนดวัสดุฯจะมีผลกระทบต่อผู้ชนะการประกวดราคาและได้รับ การคัดเลือกเข้าเป็นผู้รับจ้างเท่านั้น หากใช้เป็นผลโดยตรงจากประกาศดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีเป็นเพียงผู้ซื้อแบบแปลนยังไม่ได้เป็นผู้ชนะ การประกวดราคา จึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง จึงไม่รับคำฟ้อง ไว้พิจารณา

127 ประกาศประกวดราคาล๊อคสเปค (บ.เอเทค/อบจ.พะเยา)
ประกาศประกวดราคาล๊อคสเปค (บ.เอเทค/อบจ.พะเยา) อบจ.ประกาศประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์โครงการจัดซื้อเครื่องคอมฯ พร้อมอุปกรณ์ ๔๐๐ ชุด โดยกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของคอมฯ ว่า ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองคุณภาพผ่านการทดสอบการทำงานเข้ากันได้ระหว่าง hardware & software ในระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows & Linux Soft Ware จากสถาบัน NSTL และ NECTEC ต้องมีศูนย์บริการสาขาที่ได้รับ ISO เปิดบริการไม่น้อยกว่า ๕ ปี ตั้งอยู่ในจังหวัดภาคเหนือ เป็นการกำหนดโดยเฉพาะเจาะจงหรือใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ของ SVOA เพียงยี่ห้อเดียวหรือผู้ขายเพียงรายเดียวกีดกันไม่ให้ผู้ฟ้องคดีที่จำหน่ายยี่ห้อ ATEC ที่ไม่มีคุณลักษณะและไม่มีศูนย์บริการลักษณะดังกล่าวเข้าร่วมแข่งขันราคา จึงไม่ชอบด้วยระเบียบ / มติ ครม. ที่ห้ามกำหนดลักษณะเฉพาะ (Specification) ของสิ่งของให้ใกล้เคียงกับยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง หรือผู้ขายรายใดรายหนึ่ง โดยเฉพาะเจาะจง คำพิพากษาศาลปกครองกลาง ที่ ๑๖๑๗/๒๕๔๙

128 ขอให้เพิกถอนประกาศประกวดราคาฯ ให้ระงับการประกวดราคา และให้ออกประกาศใหม่ที่เปิดกว้างเพื่อให้มีการแข่งขัน การเสนอราคาที่เป็นธรรม ศาลปกครองกลางเห็นว่า ระเบียบฯ กำหนดว่า ข้อ ๑๑ ให้ อปท.ใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศไทย และหรือกิจการของคนไทยตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๕) ..มีผู้ได้รับอนุญาตแสดงเครื่องหมาย ประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน และเป็นพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตั้งแต่ ๓ รายขึ้นไป ให้ระบุความต้องการเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทำในประเทศไทยซึ่งได้รับการรับรองคุณภาพเท่านั้น (๙) การดำเนินการตาม (๕) ให้ถือตามที่ปรากฏในบัญชีคู่มือผู้ซื้อหรือใบแทรกคู่มือผู้ซื้อที่ อก. จัดทำขึ้นถึงเดือนก่อนหน้าที่จะประกาศซื้อหรือจ้าง ข้อ ๒๓ อปท. ประสงค์จะคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ในการซื้อหรือจ้างให้กระทำได้ในกรณีที่จำเป็นต้องจำกัดเฉพาะ ผู้ที่มีความสามารถโดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกประกาศให้ผู้สนใจทราบโดยเปิดเผย

129 วรรคสอง ในการคัดเลือกให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำรายงานเสนอขออนุมัติหัวหน้าฝ่ายบริหาร อปท. ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ พร้อมเอกสารคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น โดยมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้ ..(๓) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกซึ่งเป็นเกณฑ์ความต้องการขั้นต่ำ เช่น ประสบการณ์และผลงานที่ผ่านมา สมรรถภาพเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ เครื่องมือและโรงงาน ฐานะทางการเงิน เป็นต้น เห็นได้ว่า ระเบียบเปิดโอกาสให้ อปท. สามารถใช้ดุลพินิจกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่ประสงค์จะซื้อให้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานแต่ละครั้งได้ เพียงแต่ต้องเป็นพัสดุที่ผลิตในประเทศไทยที่ได้รับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตั้งแต่ ๓ รายขึ้นไป และ อปท. ยังสามารถคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อหรือจ้างโดยการกำหนดเกณฑ์ความต้องการขั้นต่ำ ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ฯ ของผู้เสนอราคาได้อีกด้วย

130 ที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า อปท
ที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า อปท. กำหนดคุณลักษณะเฉพาะของคอมฯ ว่าต้องได้รับการรับรองคุณภาพผ่านการทดสอบการทำงานฯ อันเป็นการกำหนดเงื่อนไขที่เจาะจงให้ใกล้เคียงกับยี่ห้อ SVOA เพียงยี่ห้อเดียวนั้น ข้อเท็จจริงตามคำให้การของ อบจ. ฟังได้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะดังกล่าวมีหลายยี่ห้อ เช่น Belta DTK Laser และ SVOA ซึ่งผู้ฟ้องคดีไม่ได้โต้แย้ง จึงเห็นได้ว่า เป็นกรณีมีผู้ได้รับการรับรองเกิน ๓ รายขึ้นไป ไม่ได้เป็นการระบุเจาะจงเฉพาะผลิตภัณฑ์ดังที่อ้าง ส่วนประเด็นเรื่องศูนย์บริการนั้น เห็นว่า การกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าเสนอราคาดังกล่าวเป็นการกำหนดเกณฑ์ความต้องการขั้นต่ำเกี่ยวกับสมรรถภาพในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ เครื่องมือ และโรงงานในการบริการหลังการขายที่สะดวกและรวดเร็ว อันถือเป็นเหตุผลและความจำเป็นซึ่งเป็นประโยชน์แก่ทางราชการต่อไปในอนาคต ซึ่ง อบจ. สามารถกำหนดได้ตามระเบียบฯ

131 อีกทั้งผู้เสนอราคาที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำและได้รับ การพิจารณามี ๒ ราย และผู้ฟ้องคดีก็รับว่ามีตัวแทนจำหน่ายของผู้ฟ้องคดีที่มีลัษณะดังกล่าวอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลกเช่นกัน ดังนั้น การกำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำของผู้มีสิทธิเสนอราคาจึงหาได้เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด จึงฟังได้ว่า การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของคอมฯ และการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเสนอราคาครั้งนี้ มิได้มีลักษณะเจาะจงหรือระบุให้ใกล้เคียงผลิตภัณฑ์ยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งหรือผู้ขายเพียงรายเดียวอันไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่อ้าง จึงไม่มีเหตุเพิกถอนประกาศฯ หรือ มีคำสั่งให้ อบจ. ยุติการจัดซื้อ พิพากษายกฟ้อง

132 ประกาศประกวดราคากีดกันไม่ให้เสนอราคา : ขอให้กำหนดมาตรการชั่วคราว (บ
ประกาศประกวดราคากีดกันไม่ให้เสนอราคา : ขอให้กำหนดมาตรการชั่วคราว (บ.ไทยวินเนอร์ฯ) ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ทน.ยะลา ประกาศประกวดราคาซื้อรถดับเพลิง กำหนดคุณสมบัติกีดกันไม่ให้มีการแข่งขันการเสนอราคา ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถเสนอราคาได้ จึงฟ้องขอให้เพิกถอนประกาศประกวดราคาฯ และระงับการรับและเปิดซอง และระงับการทำสัญญา ศาลปกครองชั้นต้น มีคำสั่งให้กำหนดวิธีการชั่วคราว ห้ามมิให้ทำสัญญาซื้อรถดับเพลิง ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ทน.กำหนดคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในหนังสือของ มท. ผู้ฟ้องคดีไม่ได้เป็นผู้ขายรถดับเพลิง ไม่ได้ซื้อ/ยื่นซอง ความเสียหายยังไกลเมื่อเทียบกับ กรณีที่ซื้อและยื่นซองแล้ว จึงถือว่าความเสียหายของผู้ฟ้องคดียังไม่เกิด และเมื่อพิจารณาว่า ทน.รับผิดชอบบริการสาธารณะที่จะปกป้องภัยพิบัติอันเกิดจากอัคคีภัย แม้มีรถอยู่ ๖ คัน แต่ ทน.อ้างว่าไม่เพียงพอ เก่า ถ้าจัดซื้อรถดับเพลิงล่าช้า ผลกระทบด้านการบริหารงบประมาณ และความรับผิดชอบของ ทน. อุปสรรค ที่อาจเกิดขึ้นกับการทำงานจึงให้ยกคำขอวิธีการคุ้มครองชั่วคราว คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๒๒๑/๒๕๔๕

133 การแบ่งจ้าง หจก. สุจรรยาฟ้อง อบต. โดยอ้างว่ามีการจัดจ้างโดยการแบ่งจ้าง และใช้วิธีตกลงราคา รวม ๓ คดี คือ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 149/2549 ระหว่าง หจก. สุจรรยา กับ อบต. นามน คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 252/2549 ระหว่าง หจก. สุจรรยา กับ อบต. แซงบาดาล และ อบต.หนองแวง คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 381/2549 ระหว่าง หจก. สุจรรยา กับ อบต. ศรีสมเด็จ ศาลปกครองสูงสุดมีคำวินิจฉัยในแนวเดียวกัน คือ

134 การแบ่งจ้าง (หจก. สุจรรยา / อบต. นามน)
การแบ่งจ้าง (หจก. สุจรรยา / อบต. นามน) อบต. จัดทำโครงการก่อสร้างและซ่อมแซมถนน ๑๙ โครงการ งบประมาณ ๑.๐๙ ล้านบาท โดยขอจ่ายขาดจากเงินสะสม และได้จัดจ้างด้วยวิธีตกลงราคา แยกจ้างเหมาก่อสร้างฯ ถนน ๑๙ สาย เป็น ๑๙ สัญญา โดยทำบันทึกตกลงการจ้างกับผู้รับจ้าง ๓ ราย แต่ละโครงการวงเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ผู้ฟ้องคดีจึงร้องเรียน นอ.นามน ว่าเป็นการแบ่งจ้างลดวงเงินขัดต่อระเบียบ และขอให้สั่งให้มีการจัดจ้างใหม่ นอ.ชี้แจงว่า อบต.ดำเนินการตามระเบียบแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงร้องเรียน ผวจ. ให้สอบสวนข้อเท็จจริง แต่ไม่ได้รับแจ้งผล จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๑๔๙/๒๕๔๙

135 ศาลปกครองสูงสูดวินิจฉัยว่า
ระเบียบ ข้อ ๑๖ กำหนดว่า การซื้อหรือการจ้างตามข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ ถ้าผู้สั่งซื้อหรือสั่งจ้างเห็นสมควรจะสั่งให้กระทำโดยวิธีกำหนดไว้สำหรับวงเงินที่สูงกว่าก็ได้ การแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้าง โดยลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกันเพื่อให้วงเงินต่ำกว่า ที่กำหนดโดยวิธีหนึ่งวิธีใดเพื่อให้อำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างเปลี่ยนไป จะกระทำมิได้ เว้นแต่ การแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างวัสดุที่ง่ายต่อการเน่าเสีย หรือ โดยสภาพไม่อาจดำเนินการซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกัน ทั้งจำนวนเงิน โดยอนุโลมให้แบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างได้ตามที่เห็นสมควร หนังสือ มท ๐๓๑๘/ว ๒๒๕๒ ลว ๒๖ สค ๒๕๔๕ ข้อ ๕ ระบุว่า หาก อบต. มีความต้องการใช้พัสดุประเภทเดียวกันในระยะเวลาเดียวกัน ควรดำเนินการจัดซื้อ/จ้างในคราวเดียวกัน โดยกำหนดเงื่อนไขการพิจารณาตัดสินด้วยราคาต่อรายการหรือพิจารณาตัดสินเป็นรายโครงการแล้วแต่กรณี

136 เห็นว่า โครงการก่อสร้างฯ ถนน ๑๙ โครงการ แม้จะเป็นโครงการที่มีความต้องการใช้พัสดุเหมือนกันหลายรายการ และระยะเวลาดำเนินการใกล้เคียงกันก็ตาม แต่สถานที่ตั้ง ของทั้ง ๑๙ โครงการ ไม่เชื่อมต่อและมีสถานที่ตั้งห่างไกลกัน โดยสภาพจึงไม่อาจรวมว่าจ้างเป็นโครงการเดียวกันได้ และเมื่อพิจารณาจากวงเงินค่าจ้างเหมาของแต่ละโครงการ ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งข้อ ๑๓ กำหนดให้จ้างโดยวิธีตกลงราคา ดังนั้น การที่ นายก.อบต.สั่งจ้างโดยวิธีตกลงราคา จึงเป็นการจ้างที่ชอบด้วยระเบียบแล้ว ที่อ้างว่า มี อบต. หลายแห่งด้วยความสุจริตจึงได้รวมการจัดจ้างแล้วใช้วิธีการสอบราคานั้น เห็นว่า แม้ข้อ ๑๓ กำหนดให้ใช้วิธีตกลงราคาก็ตาม แต่ข้อ ๑๖ วรรคหนึ่ง กำหนดให้ การซื้อ/จ้างตามข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ ถ้าผู้สั่งซื้อ/จ้าง “เห็นสมควร” จะสั่งให้กระทำโดยวิธีที่กำหนดไว้สำหรับวงเงินที่สูงกว่าก็ได้

137 คำว่า “เห็นสมควร” หมายถึง ระเบียบให้อำนาจผู้สั่งซื้อ/จ้างกระทำ การสั่งซื้อ/จ้างนอกเหนือจากวิธีที่ระเบียบกำหนดไว้สำหรับวงเงินนั้น ซึ่งข้อ ๑๖ “กำหนดให้อำนาจตัดสินใจอย่างอิสระแก่ผู้สั่งซื้อ/จ้าง” ที่จะสั่งซื้อ/จ้างด้วยวิธีอื่นซึ่งระเบียบนี้กำหนดไว้สำหรับวงเงินที่สูงกว่า อันได้แก่ วิธีสอบราคาหรือประกวดราคาก็ได้ หากผู้สั่งซื้อ/จ้าง เห็นว่า วิธีที่ตนเลือกสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามความมุ่งหมายแห่งอำนาจหน้าที่ของตนได้อย่างดีที่สุด ซึ่ง “ไม่ว่าจะเลือกใช้วิธีใดก็ล้วนแต่ชอบ ด้วยกฎหมายทั้งสิ้น” ดังนั้น เมื่อ อบต. ใด ใช้ดุลพินิจแล้วเห็นสมควรสั่งจ้างครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท โดยวิธีสอบราคาซึ่งเป็นวิธีที่สูงกว่า จึงเป็นการกระทำ ที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน แต่ไม่ผูกมัดให้ อบต. อื่น ๆ สั่งจ้างด้วยวิธีเดียวกัน และอำนาจดุลพินิจดังกล่าวนี้เป็นอำนาจการบริหารภายใน ของฝ่ายปกครองโดยเฉพาะ หากผู้สั่งซื้อ/จ้างได้ใช้ดุลพินิจกระทำ การสั่งซื้อ/จ้างอยู่ภายในขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลไม่อาจก้าวล่วงไปกำหนดให้ผู้สั่งซื้อ/จ้างใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓,๔ เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนในการเตรียมการเพื่อเสนอนายก อบต. พิจารณาออกคำสั่งเท่านั้น ไม่ใช่ผู้ออกคำสั่งอันกระทบสิทธิ ผู้ฟ้องคดี จึงพิพากษายกฟ้อง

138 การแบ่งจ้าง (หจก. สุจรรยา / อบต. ศรีสมเด็จ)
เมื่อแต่ละโครงการตั้งอยู่ต่างหมู่บ้านและอยู่ห่างจากกัน ไม่เชื่อมต่อใกล้เคียงกัน แม้จะจัดกลุ่มตามที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอ ให้รวมจัดจ้างเป็นโครงการเดียวกันโดยอาศัยลักษณะงาน อย่างเดียวกันหรือคล้ายกันก็ตาม ก็ย่อมเห็นได้ว่าไม่เหมาะสม ที่จะรวมจัดจ้างเช่นนั้น เพราะการก่อสร้างและปรับปรุงถนน ต่างพื้นที่ย่อมมีรายละเอียดแตกต่างกัน ข้อเท็จจริงจึงเข้าข่ายเป็นกรณีที่ไม่อาจดำเนินการจ้างในครั้งเดียวกันทั้งจำนวนเงินได้ตามข้อยกเว้นตามข้อ ๑๖ วรรคสาม การแยกจัดจ้างเป็นแต่ละโครงการจึงมิใช่การฝ่าฝืนข้อห้ามตามข้อ ๑๖ วรรคสอง ดังนั้น การที่ อบต. ใช้ดุลพินิจในการจัดจ้างโดยวิธีตกลงราคา จึงมิใช่การใช้ดุลพินิจที่ไม่มีเหตุผล ที่อ้างว่าแบ่งจ้างมีมูลเหตุจูงใจจากการเรียกรับเงินสินบน เป็นเพียงข้ออ้างที่ไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน ศาลปกครองชั้นต้นเห็นว่า “หากโครงการก่อสร้างเส้นหนึ่ง แต่แบ่งซอยออกเป็น ๒ โครงการเพื่อลดวงเงินให้จ้างด้วยวิธีตกลงราคาได้ จึงจะถือว่าเป็นการแบ่งจ้างซึ่งต้องห้าม ตามข้อ ๑๖” คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๓๘๑/๒๕๔๙

139 การรวมจ้าง (หจก. วันสต็อพเซอร์วิส กับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)
กรมฯ ประกาศสอบราคาจ้างเหมางาน ๓ ประเภท ได้แก่ งานรักษาความปลอดภัย งานทำความสะอาด และงานดูแลสนามหญ้า รวมในคราวเดียวกัน ผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะบางงานและได้ยื่นซองสอบราคาเฉพาะงานใดงานหนึ่งไม่ได้รับการพิจารณา ทำให้ผู้เสนอราคาดังกล่าวเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะมีลักษณะกีดกันผู้ประกอบการขนาดเล็กและไม่ชอบด้วยระเบียบเนื่องจากระเบียบไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้จ้างหลายงานที่มีลักษณะแตกต่างกันรวมกัน ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ส่วนราชการมีอำนาจกำหนดคุณสมบัติของงานจ้างโดยรวมงานที่มีลักษณะแตกต่างกันไว้ในการสอบราคาคราวเดียวกันได้ หากเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ ต่อทางราชการโดยแท้จริงตามข้อ ๔๒(๓) แต่หากมีวัตถุประสงค์หรือก่อให้เกิดการผูกขาดในการเสนอราคาจ้าง หรือเจาะจงเพื่อคัดเลือกผู้เสนอราคา หรือมุ่งประสงค์ ในประการที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ทางราชการ การสอบราคานั้นย่อม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๑๕๙/๒๕๔๘

140 กรณีที่กรมฯ ได้ประกาศสอบราคาโดยรวมงาน ๓ ประเภท ไว้ในคราวเดียวกันโดยมีเหตุผลว่า เพราะเป็นงานที่มีเวลา การทำงานเหลื่อมซ้อนกันอยู่ หากให้เอกชนต่างรายเป็น ผู้รับจ้างแล้ว อาจก่อให้เกิดปัญหาในการรักษาความปลอดภัยของอาคารสถานที่และทรัพย์สินของทางราชการ และยังอาจก่อให้เกิดปัญหาในการเรียกร้องค่าสินไหมฯ จากผู้รับจ้าง ในกรณีเกิดความเสียหายขึ้น เพราะเป็นการยากที่จะพิสูจน์ ได้ว่าเกิดจากความผิดหรือบกพร่องของฝ่ายใด นั้น เป็นกรณีที่เห็นได้ว่าเป็นการประกาศสอบราคาที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ ของทางราชการตามข้อ ๔๒(๓) กรมฯ จึงมีอำนาจดำเนินการได้ นอกจากนั้น กรณีที่เอกสารสอบราคากำหนดว่า จะพิจารณาตัดสินจากราคารวมเป็นหลักอันเป็นผลให้ผู้เสนอราคา ต้องเสนอราคาเป็นราคารวมนั้น เป็นดุลพินิจของผู้ประกาศสอบราคาที่จะกำหนดให้มีการเสนอราคารวมทั้งสิ้นอย่างเดียว หรือเป็นราคารวมทั้งสิ้นพร้อมราคาต่อหน่วยหรือรายการ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามข้อ ๔๐(๖)

141 ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีความไม่เหมาะสมในการกำหนด ให้เสนอราคารวมทั้งสิ้นอย่างเดียว การไม่ได้ให้ผู้เสนอราคาเสนอราคาเป็นต่อหน่วยหรือต่อรายการจึงไม่ขัดต่อข้อ ๔๐(๖) ประกาศสอบราคาจ้างของกรมฯ จึงชอบด้วยระเบียบแล้ว พิพากษายกฟ้อง

142 2. ขั้นตอนก่อนเปิดซอง เสนอราคา

143 ทราบมาว่าไม่รับซองเสนอราคา จึงนำคดีมาฟ้อง (บ. อรลักษณ์ฯ)
ทราบมาว่าไม่รับซองเสนอราคา จึงนำคดีมาฟ้อง (บ. อรลักษณ์ฯ) ผู้ฟ้องคดียื่นซองประกวดราคา ต่อมาทราบด้วยวาจาจากเจ้าหน้าที่รับซองและเปิดซองประกวดราคาว่า ผู้ฟ้องคดี มีผลงานผิดเงื่อนไขและไม่พิจารณาซองที่ยื่นเสนอมา วันถัดมาผู้ฟ้องคดีได้ร้องขอความเป็นธรรมจาก ผวจ. และอธิบดี และถัดมาอีกวันก็ได้นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนผลการเปิดซองราคา และระงับการดำเนินการตามผลการประกวดราคา ศาลปกครองเห็นว่า หน่วยงานยังไม่ได้สั่งการใด ๆ เกี่ยวกับการประกวดราคาครั้งนี้ โดยยังอยู่ในขั้นการพิจารณา ของหน่วยงาน ยังไม่มีคำสั่งทางปกครอง ยังไม่มีข้อพิพาททางปกครองที่ศาลจะรับไว้พิจารณาได้ ศาลจึงไม่รับคำฟ้อง ไว้พิจารณา คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๒๒๑/๒๕๔๕

144 การกระทำที่ทำให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเสนอราคา
มีการวิ่งราวซองเสนอราคาก่อนหมดเวลายื่นซอง ๕ นาที ทำให้มีผู้ไม่อาจเข้าเสนอราคาได้ หน่วยงานประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือก แต่เมื่อผู้ยื่นซองไม่ทันร้องคัดค้านหน่วยงาน จึงประกาศยกเลิกการประกวดราคาครั้งที่ ๑ และประกาศราคาครั้งที่ ๒ ผู้ได้รับการคัดเลือกในการประกวดราคาครั้งที่ ๑ นำคดีมาฟ้องต่อศาล ขอให้เพิกถอนคำสั่งประกาศยกเลิกการประกวดราคาครั้งที่ ๑ และการประกวดราคาครั้งที่ ๒ คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ๕๔๘/๒๕๔๔ 6

145 คำพิพากษาของศาลปกครอง
มาตรา ๑๐ แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับ การเสนอราคาฯ เจ้าหน้าที่รู้หรือควรรู้ว่ามีการกระทำผิดกฎหมายนี้ ละเว้นไม่ดำเนินการให้มีการยกเลิกการเสนอราคามีความผิด การที่เจ้าหน้าที่ยกเลิกการประกวดราคา ครั้งที่ ๑ จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย

146 ไม่พิจารณาการเสนอราคาเพราะถูกตัดสิทธิ เสนอราคา (ขึ้นบัญชีดำ) (บ
ไม่พิจารณาการเสนอราคาเพราะถูกตัดสิทธิ เสนอราคา (ขึ้นบัญชีดำ) (บ. หนึ่งพัฒนาการฯ / กรมโยธาธิการและผังเมือง) ผู้ฟ้องคดียื่นซองเสนอราคางานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง ริมแม่น้ำโขง โดยเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด แต่กรมฯ ไม่รับพิจารณาการเสนอราคาอ้างว่ากรมฯ ได้ประกาศตัดสิทธิไม่ให้เสนอราคากับกรมฯในทุกสาขางานก่อสร้าง ๓๐ วัน เพราะ ผู้ฟ้องคดีทำงานก่อสร้างปรับปรุงเขื่อนชายหาดบางแสนล่าช้า ผู้ฟ้องคดีชี้แจงปัญหาอุปสรรคการก่อสร้างให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบโดยตลอด และมีหนังสือแจ้งการเข้าดำเนินการสถานที่ก่อสร้างไม่ได้จึงขอหยุดงานชั่วคราว และสงวนสิทธิขอต่ออายุสัญญา หลังจากนั้น ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์การตัดสิทธิไม่ให้เสนอราคาไปยังกรมฯ แต่ถูกปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่า ผู้ฟ้องคดี ไม่ประสานงานกับ ทต.แสนสุข ในการเข้าพื้นที่ก่อสร้าง ส่วนของละเมิดกลับคำพิพากษาของจิ้วเสรี คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๒๒๑/๒๕๔๘

147 ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า เป็นหน้าที่ของกรมฯ ที่จะต้องส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง รวมทั้งกรมฯ ได้ดำเนินการในลักษณะเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เพราะให้ประโยชน์กับอีก ๓ บริษัท ทั้งที่ มีปัญหาเช่นเดียวกับผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า การไม่พิจารณาการเสนอราคาของผู้ฟ้องคดีเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีเสียหาย ๒.๘ ล้านบาท ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า มีประเด็นต้องพิจารณาว่า การที่กรมฯ ประกาศตัดสิทธิมิให้ผู้ฟ้องคดีเสนอราคารับจ้างงานก่อสร้างกับกรมฯ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ตามระเบียบฯ ข้อ ๑๕ ทวิ วรรคหนึ่ง กำหนดให้ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดหาพัสดุต้องดำเนินการโดยเปิดเผย โปร่งใส และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงคุณสมบัติและความสามารถของผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน

148 ข้อ ๕๐ กำหนดให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา มีหน้าที่ดังนี้
ข้อ ๕๐ กำหนดให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา มีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา เอกสารหลักฐานต่าง ๆ พัสดุตัวอย่าง แคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายการละเอียด แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคา ในกรณีที่ผู้เสนอราคารายใดเสนอรายละเอียดแตกต่างไปจากเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ และความแตกต่างนั้น ไม่มีผลทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบต่อผู้เสนอราคารายอื่น หรือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ให้พิจารณาผ่อนปรนให้ผู้เข้าประกวดราคาโดยไม่ตัดผู้เข้าประกวดราคารายนั้นออก และในการพิจารณา คณะกรรมการอาจสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้เสนอราคารายใดก็ได้แต่จะให้ผู้เสนอราคารายใดเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่เสนอไว้แล้วมิได้ (๒) พิจารณาคัดเลือกสิ่งของ หรืองานจ้าง หรือคุณสมบัติของผู้เสนอราคาที่ตรวจสอบแล้วตาม (๑) ซึ่งมีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ แล้วเสนอให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายที่คัดเลือกไว้แล้ว ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด

149 เห็นได้ว่า การพิจารณาคุณสมบัติและความสามารถของ ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ระเบียบให้อำนาจไว้ ทั้งจะต้องไม่ขัดต่อเจตนารมณ์ของระเบียบที่มุ่งคุ้มครองให้การจัดหาพัสดุ ต้องกระทำโดยเปิดเผย โปร่งใส และมีการแข่งขันกันอย่างเสรีและเป็นธรรมด้วย เมื่อพิเคราะห์เงื่อนไขประกาศประกวดราคาฯ ที่ตัดสิทธิมิให้ ผู้ฟ้องคดีเข้าเสนอราคารับจ้างกับกรมฯ ด้วยเหตุที่ เคยก่อสร้างเขื่อนชายหาดบางแสนล่าช้าอันเป็นการห้ามมิให้ ผู้เสนอราคาที่เคยมีประวัติรับจ้างก่อสร้างบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดมาก่อนเข้าเสนอราคากับส่วนราชการ เห็นได้ว่า ไม่มีบทบัญญัติใดของระเบียบกำหนดไว้ ซึ่งไม่เป็นธรรม แก่ผู้ฟ้องคดี ไม่โปร่งใส และไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขัน อย่างเป็นธรรมตามข้อ ๑๕ ทวิ

150 ดังนั้น การที่กรมฯ มีประกาศตัดสิทธิมิให้ผู้ฟ้องคดีเสนอราคารับจ้างก่อสร้างกับกรมฯในทุกสาขางานก่อสร้าง จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่อุทธรณ์ว่า มาตรา ๘ และมาตรา ๓๒ แห่ง พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ประกอบกับมาตรา ๓(๒) แห่ง พรฎ. แบ่งส่วนราชการกรมโยธาธิการ ให้อำนาจหน้าที่กรมฯ ดำเนินการเกี่ยวกับการออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงเขื่อนป้องกันตลิ่งด้วย จึงต้องควบคุมดูแลการจัดหาพัสดุตามอำนาจหน้าที่ ให้ถูกต้องและเป็นธรรม และมิให้ประโยชน์ของทางราชการหรือประโยชน์สาธารณะเสียหาย จึงจำเป็นต้องออกประกาศดังกล่าวนั้น เห็นว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ไม่ได้ให้อำนาจกรมฯ ในการตัดสิทธิไม่ให้ผู้ฟ้องคดีเข้าเสนอราคาฯ แต่เป็นเพียงกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรมฯเท่านั้น ไม่อาจแปลความขยายอำนาจหน้าที่ให้รวมถึงการตัดสิทธิไม่ให้ผู้ฟ้องคดีเข้าเสนอราคารับจ้างงานก่อสร้างกับกรมฯ ไว้เป็นการล่วงหน้าได้

151 ส่วนการควบคุมดูแลการจัดหาพัสดุตามอำนาจหน้าที่ ให้ถูกต้องและมิให้ประโยชน์ของทางราชการหรือประโยชน์สาธารณะเสียหาย นั้น กรมฯ สามารถกำหนดไว้ในข้อสัญญาให้ผู้รับจ้างต้องรับผิดจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือการปฏิบัติงานล่าช้า และสามารถบังคับตามข้อสัญญาได้อยู่แล้ว ไม่อาจนำกรณีการปฏิบัติงานล่าช้าตามโครงการหนึ่งมาเป็นข้ออ้างตัดสิทธิมิให้เสนอราคาหรือเสนองานนั้น กรมฯ ต้องพิจารณาความพร้อมหรือความสามารถของผู้เสนอราคาในขณะที่เสนอราคา และต้องดำเนินการคัดเลือกผู้รับจ้าง ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในระเบียบ ทั้งใน การเสนอราคามิได้หมายความว่า ผู้เสนอราคาจะได้รับ การพิจารณาให้เข้าทำสัญญาเสมอไปไม่ อุทธรณ์ของกรมฯ จึงฟังไม่ขึ้น

152 การประกาศตัดสิทธิเป็นกรณีการใช้อำนาจเกินกว่าที่ระเบียบกำหนดไว้ และขัดต่อเจตนารมณ์ของระเบียบเท่านั้น ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจในการจำกัดเสรีภาพหรือสิทธิ ของบุคคลในการประกอบอาชีพที่ขัดต่อ รธน. มาตรา ๕๐ แต่อย่างใด ประเด็นต่อมา คือ การที่กรมฯ ไม่รับพิจารณาการเสนอราคาของผู้ฟ้องคดี โดยอ้างว่าไม่มีสิทธิเสนอราคากับกรมฯ ตามประกาศฯ นั้น เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีหรือไม่ และกรมฯ ต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่เพียงใด เห็นว่า เมื่อการออกประกาศฯ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น การที่กรมฯ ไม่รับพิจารณาการเสนอราคางานโดยอ้างประกาศดังกล่าวจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี

153 สำหรับค่าเสียหาย ๒.๘ ล้านบาท ที่อ้างมา เป็นค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้เข้าทำสัญญาและดำเนินการก่อสร้าง นั้น เห็นว่า ค่าเสียหาย ๒.๗ ล้านบาท เป็นค่าตอบแทนการดำเนินการ (กำไร) นั้น แม้จะเสนอราคาต่ำสุด แต่ก็หาใช้ว่าจะได้เข้า ทำสัญญาเป็นการแน่นอน และหากได้เข้าทำสัญญา ก็ไม่อาจคาดหมายได้ว่าจะได้กำไรตามจำนวน ที่กล่าวอ้าง ทั้งเป็นค่าเสียหายในอนาคตที่ยังไม่แน่นอนและไกลเกินเหตุ ไม่อาจคาดหมายได้ ศาลจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้

154 ส่วนค่าเสียหายที่กรมฯ ต้องชดใช้ให้แก่ผู้ฟ้องคดี จากการเสนอราคาจ้าง ได้แก่ ค่าซื้อแบบประกวดราคา ๑๐,๐๐๐ บาท ค่าธรรมเนียมทำหนังสือ ค้ำประกัน ๑,๒๘๙ บาท ค่าธรรมเนียมรับรองเครดิตของธนาคาร ๑,๕๕๐ บาท และค่าอากรแสตมป์ ๑๐ บาท รวม ๑๒,๘๔๙ บาท และค่าเสียหายงานก่อสร้างอีกโครงการหนึ่ง ๒๓,๗๕๐ บาท รวม ๒ โครงการ ๓๖,๕๙๙ บาท ตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น ซึ่งศาล ได้พิจารณากำหนดให้ตามค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงนั้น ถือได้ว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยเหตุผล และเป็นธรรมแล้ว อุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น

155 3. ขั้นตอนการพิจารณาผล

156 กรณีมีผู้เสนอราคารายเดียว
การสอบราคา คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดง ที่ อ. ๔๓/๒๕๔๖ (ทม.ปัตตานี/จิ้วเสรี) การประกวดราคา - คำพิพากษาศาลปกครองกลาง ที่ ๑๑๔๐/๒๕๔๔ (อบจ.สุพรรณบุรี/สินทรัพย์ทวี) - คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๙๖/๒๕๔๙ (บ.ดีพร้อมภัณฑ์/กรมควบคุมโรค)

157 การประกวดราคาที่มีผู้เสนอราคารายเดียว (เดิม)
การประกวดราคาก่อสร้างมีผู้เสนอราคา เพียงรายเดียว หน่วยงานประกาศยกเลิกการประกวดราคา โดยไม่ได้ประกาศให้ผู้เสนอราคาได้รับการคัดเลือก และประกาศประกวดราคาครั้งที่ ๒ โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากมีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว ผู้เสนอราคานำคดีมาฟ้อง และขอคุ้มครองชั่วคราว คำพิพากษาศาลปกครองกลาง ที่ ๑๑๔๐/๒๕๔๔ (บ.สินทรัพย์ทวี/อบจ.สุพรรณบุรี)

158 ข้อพิจารณาของศาลปกครอง
ตามระเบียบได้กำหนดเป็นข้อยกเว้นว่าอาจไม่ต้องเสนอยกเลิกการประกวดราคาได้ หากเห็นว่า มีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไป คณะกรรมการฯ จึงต้องพิจารณาเหตุผลทุกครั้งว่า “ถ้าไม่ยกเลิกมีเหตุผลสมควรใดบ้าง” การใช้ดุลพินิจ ๑) ต้องใช้ดุลพินิจ ๒) ใช้อย่างเหมาะสม จำนวนผู้ซื้อซองประกวดราคา ไปดูสถานที่ ประสบการณ์ทำงาน การค้ำประกันของธนาคาร

159 คำพิพากษาของศาลปกครอง
การอ้างเหตุผลของหน่วยงานเป็นการใช้ดุลพินิจ โดยไม่ชอบ ถือว่าเป็นการกระทำโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ดังนั้น คำสั่งที่ให้ยกเลิกการประกวดราคาจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลมีข้อสังเกต โดยให้หน่วยงานและคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาพิจารณาผลต่อไปโดยถือเสมือนไม่มีการยกเลิกการประกาศราคา

160 หลักกฎหมาย คำสั่งยกเลิกการประกวดราคา เป็นคำสั่ง ทางปกครอง
คำสั่งยกเลิกการประกวดราคา เป็นคำสั่ง ทางปกครอง คำสั่งไม่ได้กระทบสิทธิบุคคลใดเป็นการเฉพาะ ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ใช่ “คู่กรณี” ที่จะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งฯ จึงสามารถฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์คำสั่งตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการก่อน การใช้ดุลพินิจ ในกรณีกฎหมายให้ใช้ดุลพินิจ เจ้าหน้าที่จะต้องใช้ดุลพินิจ และใช้อย่างมีเหตุมีผล ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมาย

161 การประกวดราคาที่มีผู้เสนอราคารายเดียว (ใหม่)
กรมประกวดราคาซื้อสารเคมี ๔ รายการ มีผู้ซื้อเอกสาร ๑๒ ราย มีผู้มายื่นซอง ๔ ราย แต่คณะกรรมการรับและเปิดซองรับซองไว้ เพียง ๒ ราย คือ ผู้ฟ้องคดี และ บ.เคมโปรฯ ส่วน ๒ ราย ยื่นซองล่าช้าจึงไม่รับซองไว้ ผู้ฟ้องคดียื่นเสนอราคาเฉพาะรายการที่ ๑ และ ๓ ส่วน บ.เคมโปร ยื่นเฉพาะรายการที่ ๑ เมื่อเปิดซองรายการที่ ๑ ผู้ฟ้องคดีเสนอราคาต่ำสุด คณะกรรมการฯจึงเสนอให้ซื้อกับผู้ฟ้องคดีและทำสัญญาแล้ว 2 คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๙๖/๒๕๔๗ (บ.ดีพร้อมภัณฑ์/กรมควบคุมโรค)

162 รายการที่ ๒ และ ๔ ไม่มีผู้เสนอราคา คณะกรรมการฯ จึงเสนอยกเลิกการประกวดราคาและอนุมัติให้จัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ซึ่งได้ทำสัญญาซื้อขายแล้ว ส่วนรายการที่ ๓ ผู้ฟ้องคดีเสนอราคารายเดียว คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเสนอให้ยกเลิกการประกวดราคาโดยอ้างข้อ ๕๑ กรมฯจึงอนุมัติให้ยกเลิก เนื่องจาก มีผู้เสนอราคารายเดียวและเพื่อต้องการให้มีการแข่งขันราคา ซึ่งขณะนั้น คณะกรรมการฯ ทราบแล้วว่า ยังมีผู้ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ อย. อีก ๑ ราย นอกจากนั้น กรมฯเห็นว่ายังมีสารเคมีใช้ได้อีก ๑-๒ เดือน การไม่ตกลงซื้อจากผู้เสนอราคารายเดียวไม่ทำให้ทางราชการเสียหาย อีกทั้งไม่มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณรายจ่าย จึงเห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไป และหากมีการประกวดราคาใหม่จะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการมากกว่า อีกทั้งผู้ฟ้องคดีก็มีสิทธิ ยื่นซองเสนอราคาตามเงื่อนไขประกวดราคาครั้งใหม่ได้อยู่แล้ว

163 เมื่อยกเลิกการประกวดราคาแล้ว กรมฯ ได้มีประกาศประกวดราคาใหม่ และได้มีหนังสือแจ้งผู้ฟ้องคดีทราบ ผู้ฟ้องคดี เห็นว่าการยกเลิกการประกวดราคารายการที่ ๓ ไม่ชอบ ด้วยกฎหมายโดยอ้างคำพิพากษาศาลปกครองกลาง ที่ ๑๑๔๐/๒๕๔๔ และมีหนังสือขอให้ กรมฯ ยกเลิก การประกวดราคารายการที่ ๓ ครั้งใหม่ และทบทวนผล การประกวดราคาเดิม กรมฯ มีหนังสือแจ้งผู้ฟ้องคดีว่า ได้ใช้ดุลพินิจในการพิจารณาแล้วเห็นควรประกวดราคาใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแข่งขัน ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้อง ต่อศาล ขอให้เพิกถอนคำสั่งยกเลิกการประกวดราคารายการที่ ๓ และให้ผู้ฟ้องคดีเข้าทำสัญญา และยกเลิกการประกวดราคาครั้งใหม่ รวมทั้งเพิกถอนการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ (รายการ ที่ ๒,๔ ทั้งที่ตนเองไม่ได้เสนอราคา) โดยด่วนและสั่งห้าม ให้หยุดดำเนินการทุกอย่างทันที มิฉะนั้นอาจจะทำให้ยาก ต่อการแก้ไขเยียวยาความเสียหายต่องบประมาณของรัฐได้

164 อนุมัติซื้อ ผู้ฟ้องคดี
สารเคมี ผู้ยื่นซองเสนอราคา ผลการ พิจารณา 1. สารเคมี D ผู้ฟ้องคดี บ.เคมโปร ฯ เสนอราคาสูงกว่า บ.แทคซาโกฯ ไม่รับซอง บ. เคมฟลีทฯ ไม่รับซอง อนุมัติซื้อ ผู้ฟ้องคดี 2. สารเคมี C บ.แทคซาโกฯ ไม่รับซอง ยกเลิก 3. ทรายฯ ๑% 4. ทรายฯ ๒% หมายเหตุ บริษัท แทคซาโก จำกัด และ บริษัท เคมฟลีท จำกัด ยื่นซองล่าช้า จึงไม่รับซองเสนอราคา 2. รายการที่ 2 และ 4 ไม่มีผู้เสนอราคาจึงยกเลิกการประกวดราคา ต่อมาได้จัดซื้อโดยวิธีพิเศษจากบริษัท แทคซาโก จำกัด

165 ศาลปกครองสูงสุด เห็นว่า คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า การยกเลิกการประกวดราคารายการที่ ๓ และดำเนินการประกวดราคาครั้งใหม่เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ข้อ ๕๑ [อปท.ข้อ ๔๔/อบต.ข้อ ๓๗] กำหนดว่า เมื่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ได้พิจารณาตามข้อ ๕๐ (๑) แล้วปรากฏว่า มีผู้เสนอราคารายเดียวหรือมีผู้เสนอราคาหลายรายแต่ถูกต้องตรงตามรายการรายละเอียดและเงื่อนไขที่กำหนด ในเอกสารประกวดราคาเพียงรายเดียว โดยปกติ ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น แต่ถ้าคณะกรรมการฯ เห็นว่ามีเหตุผลสมควร ที่จะดำเนินการต่อไปโดยไม่ต้องยกเลิกการประกวดราคาก็ให้ดำเนินการตามข้อ ๕๐ (๒) โดยอนุโลม (เสนอให้ซื้อหรือจ้าง)

166 ดังนั้น หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อคณะกรรมการฯได้ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา เอกสารหลักฐานต่าง ๆ และรายการละเอียดแล้ว คัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไข ในเอกสารประกวดราคาแล้วปรากฏว่า มีผู้เสนอราคารายเดียวหรือมีผู้เสนอราคาหลายรายแต่ถูกต้องฯ เพียงรายเดียว โดยปกติให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการยกเลิกการประกวดราคานั้น ๆ แต่ในกรณีที่ คณะกรรมการฯ เห็นว่า มีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไปโดยไม่ต้องยกเลิกฯ ก็ให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกสิ่งของหรืองานจ้าง หรือคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ที่ตรวจสอบแล้วว่ามีคุณภาพและคุณสมบัติ เป็นประโยชน์ต่อทางราชการแล้วเสนอให้ซื้อ หรือจ้างต่อไปโดยอนุโลม

167 ข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่า การยื่นเสนอราคารายการที่ ๓ มีผู้ฟ้องคดีเสนอราคาเพียงรายเดียว และคณะกรรมการฯ เห็นว่า เป็นผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไข อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ เสนอให้กรมฯ ยกเลิก การประกวดราคาเนื่องจากผู้ฟ้องคดีเป็นผู้เสนอราคา รายเดียว ทำให้ไม่มีการแข่งขันเพื่อเปรียบเทียบราคา ประกอบกับในขณะนั้น คณะกรรมการฯ ทราบแล้วว่า ยังมีผู้ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ อย. อีก ๑ ราย และกรมฯ ยังมีสารเคมีใช้อีก ๑-๒ เดือน ทั้งไม่มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณรายจ่าย คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่า ไม่มีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไปและการประกวดราคาใหม่จะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการมากกว่า กรมฯ จึงอนุมัติให้ยกเลิกการประกวดราคา

168 จึงเห็นได้ว่า การที่คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาตรวจสอบและคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขแล้วปรากฏว่า มีผู้ฟ้องคดีเพียงรายเดียวที่ยื่นซองเสนอราคา และถูกต้องตามเงื่อนไขฯ ซึ่งเมื่อพิจารณาตามข้อ ๕๑ แล้ว ปรากฏว่า มีผู้เสนอราคารายเดียวโดยปกติให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการยกเลิกการประกวดราคา ดังนั้น การที่คณะกรรมการฯ เสนอให้ยกเลิก การประกวดราคา และกรมฯ ได้อนุมัติให้ยกเลิก จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามข้อ ๕๑

169 ที่อ้างว่า การที่คณะกรรมการฯ ไม่พิจารณาว่าการประกวดราคามีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไปตามข้อ ๕๐(๒) หรือไม่ ก่อนยกเลิก การประกวดราคา เป็นการกระทำที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย นั้น เห็นว่า ข้อ ๕๑ เห็นได้ว่า การยกเลิกการประกวดราคา คณะกรรมการฯ ไม่จำต้องพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุผลสมควร ที่จะดำเนินการต่อไปตามข้อ ๕๐(๒) หรือไม่ เพราะดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดไว้หากข้อเท็จจริงครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ในระเบียบฯ ก็ย่อมเป็นสิทธิของคณะกรรมการฯ ที่จะเห็นสมควรให้ยกเลิกการประกวดราคาได้

170 เว้นแต่เป็นกรณีที่คณะกรรมการฯเห็นสมควรที่จะ มีการดำเนินการเสนอเพื่อให้จัดซื้อ/จ้างต่อไป คณะกรรมการฯ จะต้องมีเหตุผลอันสมควรและ เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าการดำเนินการต่อไปจะมีผลดีต่อทางราชการหรือไม่ เพื่อป้องกันมิให้มี การเอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือมีการทุจริตเกิดขึ้น เพราะการดำเนินการเสนอให้มีการจัดซื้อ/จ้างต่อไป ย่อมเสี่ยงต่อการที่จะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ เพราะมิได้มีผู้เสนอราคารายอื่นเสนอราคาเข้ามาให้คณะกรรมการฯ พิจารณาเปรียบเทียบราคาได้ อันมิใช่หลักการของการประกวดราคา ที่ต้องการให้มีการแข่งขั้นราคาเพื่อให้ส่วนราชการได้ประโยชน์สูงสุดจากการประกวดราคา

171 ดังนั้น การที่คณะกรรมการฯ มิได้พิจารณาว่ามีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไปตามข้อ ๕๐(๒) หรือไม่ นั้น จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ข้ออ้างจึงไม่อาจรับฟังได้ ที่อ้างว่า การที่อีกบริษัทหนึ่งยื่นซองประกวดราคา ไม่ทันเวลา จึงเป็นเหตุให้มีผู้ฟ้องคดียื่นซองเพียง รายเดียว ไม่ใช่ความผิดของผู้ฟ้องคดี แต่เป็นความผิดของอีกบริษัทนั้นเอง และที่กรมฯ ให้เหตุผลว่า สารเคมีมีสำรองใช้อีก ๑-๒ เดือน ไม่จำเป็นต้องจัดซื้อ เห็นได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงหลักการเดิมที่จัดประกวดราคา นั้น เห็นว่า เมื่อศาลวินิจฉัยแล้วว่า การดำเนินการของกรมฯ ในการยกเลิกการประกวดราคาชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นอีกต่อไป จึงพิพากษายกฟ้อง

172 การสอบราคาที่มีผู้เสนอราคารายเดียว
การสอบราคาก่อสร้าง วงเงินไม่เกิน ๑ ล้าน มีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว โดยเสนอต่ำกว่างบประมาณ และราคากลาง หน่วยงานประกาศยกเลิกการสอบราคาโดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากมีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องเรียกค่าเสียหาย อีกปีเศษ จึงได้จัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ โดยอ้างประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในราคาที่ต่ำกว่าเพียง ๘๐๐ บาท และก่อสร้างงานเสร็จแล้ว คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด (อุทธรณ์) คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๔๓/๒๕๔๖ (จิ้วเสรี)

173 ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า
เมื่อคณะกรรมการเปิดซองตรวจสอบคุณสมบัติ และรายการเอกสารแล้วครบถ้วนถูกต้อง จึงเปิดซองโดยเปรียบเทียบราคา กับราคากลาง และต่อรองราคาให้ต่ำกว่าราคากลาง และงบฯ และรายงานว่า “ราคาที่ลดราคาให้เป็นราคาที่เหมาะสม” การดำเนินการของคณะกรรมการจึงชอบด้วยกฎหมาย แม้อำนาจการจัดจ้างเป็นของนายกเทศมนตรี แต่จะสั่งยกเลิก การสอบราคาก็จะต้องมีเหตุผลเพียงพอให้เห็นว่าเป็นการใช้ดุลฯโดยชอบ และความเห็นของคณะกรรมการฯไม่ชอบอย่างไร เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ข้ออ้างเพียงว่า ไม่ทำให้เปรียบเทียบราคาได้ หากต้องการให้ยกเลิก ต้องกำหนดไว้ตั้งแต่ในชั้นของคณะกรรมการเปิดซองแล้ว คำสั่งยกเลิกการสอบราคาจึงขัดต่อหลักเกณฑ์การจัดจ้างตามข้อ ๓๕(๑) ไม่เป็นประโยชน์กับทางราชการ และก่อความเดือดร้อน แก่ประชาชน เป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ ข้ออ้างว่ามีอำนาจยกเลิกฯได้เพื่อประโยชน์ของทางราชการไม่อาจรับฟังได้ ส่วนความเสียหาย ให้ศาลปกครองชั้นต้นไปพิจารณา

174 การพิจารณาว่าไม่ผ่านเกณฑ์ข้อเสนอทางเทคนิค (การประกาศเงื่อนไขทางเทคนิคไม่ชอบ)

175 ประกาศเงื่อนไขทางเทคนิคไม่ครบถ้วน คดีกิจการร่วมค้า CCDCK & กรมทางหลวง
วิธีจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ(Turnkey) อยู่ในบังคับระเบียบพัสดุ ? เงินงบประมาณ = …เงินซึ่งส่วนราชการได้รับไว้ โดยได้รับอนุญาตจาก รมว.กค.ให้ไม่ต้องส่งคลัง…” เอกสารประกวดราคาระบุ ข้อเสนอทางเทคนิค แต่ไม่ได้ระบุ หลักเกณฑ์การพิจารณาให้คะแนน และคะแนนเท่าใดถือว่าผ่าน ชอบหรือไม่ ? กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโดยไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนข้อ ๕๔ 10 คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ๑๓๑๔/๒๕๔๕

176 คกก.พิจารณาผลฯ กำหนดหลักเกณฑ์ การพิจารณาฯ และคะแนนที่ผ่านการประเมินภายหลังวันยื่นข้อเสนอ แต่ก่อนเปิดซอง ชอบหรือไม่ ? ไม่ก่อให้เกิดได้เปรียบเสียเปรียบ ไม่ทำให้ การแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมต้องเสียไป ดังนั้น การประประกวดราคาจึงไม่เสียไป คำสั่งว่าผู้ฟ้องคดีไม่ผ่านเกณฑ์ข้อเสนอทางเทคนิค อันเป็นคำสั่งไม่รับคำเสนอรับจ้าง เป็นคำสั่ง โดยชอบด้วยกฎหมาย ? หลักเกณฑ์การพิจารณาฯไม่ทำให้การประกวดราคาเสียไป จึงฟังได้ว่าคำสั่งไม่รับข้อเสนอ ชอบแล้ว

177 คณะกรรมการพิจารณาผล เห็นว่ามีคุณสมบัติ ไม่ครบถ้วน นำคดีมาฟ้องในขณะที่ผู้มีอำนาจ ยังไม่ได้มีคำสั่งซื้อ

178 คดีล๊อกเล่ย์ & กทม. การจัดซื้อคอมพิวเตอร์
กทม.จัดประกวดราคาซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ยื่นซองประกวดราคา คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา มีความเห็นว่าผู้ฟ้องคดีมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน (ผว.กทม. ยังไม่มีคำสั่ง) ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง ศาลเห็นว่าความเห็นของคณะกรรมการฯ ยังไม่มีผลกระทบต่อผู้ฟ้องคดี จึงยังไม่เป็นผู้เดือดร้อน หรือเสียหาย จึงยังไม่เป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๒๙/๒๕๔๗

179 การจัดซื้อจัดจ้าง ยื่นซอง ประกวดราคา คกก.พิจารณาผลการประกวดราคา
เสนอ ผู้มีอำนาจเพื่อมีคำสั่ง ผู้มีอำนาจ มีคำสั่ง ยังไม่กระทบสิทธิยังไม่เป็น ผู้เดือดร้อนหรือเสียหาย เป็น “คำสั่งทางปกครอง” ตามวิปฏิบัติ (กฎ ๑๒)

180 กรณีอื่น ๆ ผู้จัดการลงลายมือชื่อและประทับตรา ในเอกสาร แต่ไม่มีคำว่า “รับรองสำเนาถูกต้อง”

181 คดีกิจการร่วมค้า บริษัททรัพย์มากก่อสร้างฯ
ผู้ถูกฟ้องคดีจัดประกวดราคาจ้างปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสาร ค่าก่อสร้าง ๑๖๕ ล้านฯ มีผู้เสนอราคา ๘ ราย ผู้ฟ้องคดีเสนอราคาต่ำสุด แต่คณะกรรมการพิจารณา ผลการประกวดราคาเห็นว่า หนังสือค้ำประกันการยืนราคา ไม่ครบ ๑๒๐ วันนับแต่วันเปิดซองเสนอราคา (๑๒๐ วัน นับแต่วันยื่นซองเสนอราคา) ผิดเงื่อนไขและเป็นสาระสำคัญ จึงเสนอให้ผู้เสนอราคาลำดับที่ ๒ เป็นผู้ชนะการประกวดราคา ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอน ผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ และให้พิจารณาราคา ที่เสนอ และให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้ผู้เสนอราคาลำดับที่ ๒ ชนะการประกวดราคา คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๑๖๒/๒๕๔๖

182 ข้อสังเกต “อำนาจสั่งจ้าง และอำนาจในการสั่งไม่รับคำเสนอราคา”
ระหว่างการพิจารณาคดี รมว.คค. อนุมัติสั่งจ้างผู้เสนอราคาลำดับ ที่ ๒ และผู้ถูกฟ้องคดีได้มีหนังสือแจ้งผู้ฟ้องคดีทราบ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า การที่หน่วยงานแจ้งผลให้ทราบก่อนที่ รมว.คค. จะมีคำสั่ง ไม่ใช่คำสั่งไม่รับ คำเสนอราคาที่จะเป็นคำสั่งทางปกครอง เพราะอำนาจเป็น ของ รมว.คค. การแจ้งดังกล่าวจึงยังไม่กระทบสิทธิผู้ฟ้องคดี เมื่อมาฟ้องก่อน รมว.คค. จะอนุมัติให้จ้างฯ จึงยังไม่ใช่ ผู้เดือดร้อนหรือเสียหายฯ ที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล พิพากษายืนที่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา แต่โดยที่ผลของ การพิจารณาของ รมว.คค. ที่ไม่รับคำเสนอราคาของผู้ฟ้องคดี เกิดระหว่างการพิจารณาคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงอนุญาตให้ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องคดีนี้ใหม่ได้ภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ข้อสังเกต “อำนาจสั่งจ้าง และอำนาจในการสั่งไม่รับคำเสนอราคา”

183 4. ขั้นตอนอนุมัติสั่งซื้อ สั่งจ้าง

184 ฟ้องเพิกถอนคำสั่งจ้าง/คำสั่งยกเลิกการประกวดราคา (คำสั่งทางปกครอง) ต้องอุทธรณ์คำสั่งก่อน

185 5. ขั้นตอนการยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง

186 ข้อกฎหมาย : การยกเลิกการประกวดราคา
[ ส่วนราชการ ข้อ ๕๓ /อปท. ข้อ ๔๖ /อบต. ข้อ ๓๙ ] หลังจากการประกวดราคาแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำสัญญาหรือตกลงซื้อหรือจ้างกับผู้เสนอราคารายใด ถ้ามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในรายการละเอียด หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคาซึ่งทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้เข้าเสนอราคาด้วยกัน ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณายกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น

187 ข้อกฎหมาย : การยกเลิกการสอบราคา
[ ส่วนราชการ ข้อ ๔๓(๓) /อปท. ข้อ ๓๖(๓) /อบต. ข้อ ๒๙(๓) ] ราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง และ เรียกผู้เสนอราคารายต่ำสุดและผู้เสนอราคาทุกราย มาต่อรองราคาแล้วไม่ได้ผล ให้เสนอความเห็นต่อหัวหน้าส่วนราชการเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจว่าจะสมควรลดรายการ ลดจำนวน หรือลดเนื้องาน หรือขอเงินเพิ่มเติมหรือยกเลิกการสอบราคาเพื่อดำเนินการสอบราคาใหม่

188 ลักษณะการยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย

189 คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๓๓/๒๕๔๘ (บ.วิทยุการบิน จำกัด และ กทพ.)
กทพ. มีอำนาจยกเลิกการประกวดข้อเสนอได้ภายใต้เงื่อนไขว่า หากภายหลังการประกวดข้อเสนอแล้ว แต่ยังไม่ทำสัญญาหรือตกลงซื้อหรือจ้าง ถ้ามี ความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของ กทพ. เป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในรายละเอียดหรือเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศ ตามข้อ ๓๘ วรรค ๑ ข้อ ๑๔๘ ข้อ ๑๕๐ ว ๒

190 เมื่อ คกก. กทพ. เห็นว่า มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของ กทพ
เมื่อ คกก.กทพ.เห็นว่า มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของ กทพ. โดยเห็นว่า เงื่อนไขที่กำหนดให้พื้นที่พัฒนา ๕ ปี น้อยไป อาจไม่คุ้มต่อการลงทุน ทำให้มีผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียว จึงได้ปรับปรุงเงื่อนไขและข้อกำหนดอื่น ให้เหมาะสมชัดเจนยิ่งขึ้น และขยายเวลาพัฒนาเป็น ๑๐ ปี เพื่อให้ค่าตอบแทนการเช่าเป็นไปตามมาตรฐานและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ จึงเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของ กทพ. เป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในรายละเอียดหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ในประกาศฯ คกก.กทพ. ย่อมมีอำนาจยกเลิกการประกวดข้อเสนอและดำเนินการประกวดข้อเสนอใหม่ได้ตามระเบียบฯ คำสั่งของ คกก.กทพ. ที่ยกเลิกการประกวดข้อเสนอจึงชอบด้วยกฎหมาย เมื่อคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย แม้จะทำให้ผู้ฟ้องคดีเสียหาย กทพ. ก็ไม่จำต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี

191 คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ. ๕-๖/๒๕๔๖ (บ
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๕-๖/๒๕๔๖ (บ.เหมืองแร่สายทอง จำกัด กับ ผวจ. สมุทรสาคร (นายวีระ เสรีรัตน์) ผวจ. มีคำสั่งยกเลิกการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลเพราะเหตุที่ราคาที่ผู้เสนอราคาต่ำสุดยังสูงกว่าวงเงินงบประมาณและราคากลาง ซึ่งหากดำเนินการต่อไปจำเป็นต้องปรับลดรายการก่อสร้างในเอกสารประกวดราคาอันจะมีผล ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้เข้าเสนอราคาด้วยกัน แต่ผู้เสนอราคาต่ำสุดซึ่งคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเสนอว่าเห็นควรจ้าง ผู้เสนอราคาดังกล่าวเห็นว่าเป็นการยกเลิกการประกวดราคาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งฯ

192 ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า เนื่องจากการประกวดราคานั้น จังหวัดได้กำหนดแบบเอกสารใบเสนอราคาโดยให้ผู้เสนอราคา กรอกรายการค่าก่อสร้างเป็นค่าวัสดุก่อสร้างและค่าแรงงาน ในแต่ละรายการ แล้วรวมค่าก่อสร้างและค่าแรงงานทุกรายการ มาคำนวณเป็นค่าอำนวยการ กำไร ภาษี ค่าความผันผวน และค่าดอกเบี้ย โดยไม่ได้แยกรายการที่อยู่นอกเหนือจากค่าวัสดุก่อสร้างและค่าแรงงานไว้อย่างชัดแจ้ง ซึ่งผู้เสนอราคาแต่ละรายมีหลักเกณฑ์เฉพาะในการคำนวณรายการที่อยู่นอกเหนือดังกล่าวแตกต่างกันโดยจังหวัดไม่อาจล่วงรู้หลักเกณฑ์ ในการคำนวณนั้นได้ ดังนั้น การเสนอราคาในลักษณะดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำราคาที่มีการปรับลดรายการก่อสร้างมาปรับลดราคา ค่าก่อสร้างตามที่มีการเสนอไว้ในใบเสนอราคาได้ ซึ่งการปรับลดรายการก่อสร้างเป็นการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในรายละเอียดหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคาอันทำให้เกิด การได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้เข้าเสนอราคาด้วยกัน

193 เมื่อปรากฏว่ากรณีเป็นการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ จึงเป็นกรณีที่อยู่ในหลักเกณฑ์ซึ่ง ผวจ. ในฐานะหัวหน้า ส่วนราชการมีอำนาจที่จะพิจารณายกเลิก การประกวดราคาได้ตามข้อ ๕๓ คำสั่งยกเลิก การประกวดราคาของ ผวจ. จึงเป็นคำสั่งที่ชอบ ด้วยกฎหมาย จึงพิพากษายกฟ้อง

194 ฟ้องเพิกถอนคำสั่งยกเลิกการประกวดราคาต้องอุทธรณ์ก่อน (หจก.ประภาพร)
ผู้ฟ้องคดีชนะการประกวดราคา แต่ไม่ยอมเข้าทำสัญญาเนื่องจากเนื้องานไม่ตรงตามประกาศจ้าง เมื่อได้รับการชี้แจงแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงขอเข้าทำสัญญาแต่ อบต. ได้ยกเลิก การประกวดราคาแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงได้ขอทราบเหตุผลการยกเลิกการประกวดราคาจาก ผวจ. แต่ยังไม่ทราบผล ต่อมาได้นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง ศาลปกครองเห็นว่า คำสั่งยกเลิกการประกวดราคาเป็นการสั่งยกเลิกกระบวนพิจารณาคำเสนอหรือการดำเนินการอื่นใด ในลักษณะเดียวกัน จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง การที่มีหนังสือถึง ผวจ. ถือเป็นการอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวแล้ว แต่เมื่อยัง ไม่ทราบผลแล้วนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง ถือว่าไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการและได้มีการสั่งการ ตามกฎหมาย หรือไม่ได้สั่งการภายในเวลาอันสมควร หรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีสิทธิ ฟ้องคดี ศาลจึงไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๒๒๑/๒๕๔๕

195 ลักษณะการยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

196 คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๑๕๔/๒๕๔๗
เรียกค่าเสียหายจากการยกเลิกการประกวดราคา (หจก.เอวี โปรดัคชั่น / กรมอนามัย) กรมฯ ประกาศประกวดราคาซื้อครุภัณฑ์การแพทย์ เครื่องวัดส่วนสูง ๑๒,๐๐๐ เครื่อง โดยกำหนดให้แนบสำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของ อก. (รง. ๔) ผู้ฟ้องคดีเข้ายื่นซองเสนอราคาร่วมกับผู้เสนอราคารายอื่นอีก ๒ ราย คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาทำบันทึกเสนอให้ยกเลิก การประกวดราคา เนื่องจากผู้เสนอราคาทั้ง ๓ ราย ผิดเงื่อนไขตามเอกสารประกวดราคา ซึ่งผู้ฟ้องคดียื่นใบ รง.๔ เฉพาะลำดับที่ ๑,๗,๙ โดยผู้ฟ้องคดีเคยร่วมการประกวดราคา กับกรมฯ มา ๔ ครั้ง และทุกครั้งก็ได้รับการคัดเลือกเข้าทำสัญญา รวมทั้ง หจก. เอส เสนอเครื่องวัดส่วนสูงและยื่นใบ รง. ๔ ในลำดับที่ ๑,๙ ก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็นคู่สัญญา คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๑๕๔/๒๕๔๗

197 ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า การยกเลิกการประกวดราคาเป็นไปโดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้เกิดความเสียหาย อย่างไร ก็ตาม เมื่อมีการประกวดราคาครั้งใหม่ จำนวน ๖,๐๐๐ เครื่อง ผู้ฟ้องคดีก็เป็นผู้ชนะการประกวดราคาและเข้าทำสัญญาแล้ว ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า มีประเด็นพิจารณาว่า การยกเลิกการประกวดราคาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ข้อ ๖ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ ออกตามกฎหมายโรงงาน กำหนดให้การอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การขยาย การต่ออายุ และการอนุญาตให้โอนกิจการโรงงาน ให้ใช้ แบบ รง. ๔ ซึ่งมีเอกสารทั้งหมด ๑๐ ลำดับ โดยใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแสดงไว้เป็นลำดับที่ ๑ เมื่อประกาศประกวดราคากำหนดให้แนบสำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม (รง. ๔) ของผู้ผลิตด้วย และผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นเพียงเอกสารลำดับที่ ๑,๗,๙ นั้น

198 กรณีจะถือว่า เป็นการเสนอราคาไม่ถูกต้องในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หรือเสนอรายละเอียดแตกต่างไปจากเงื่อนไข ที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาที่เป็นสาระสำคัญหรือมีผลทำให้เกิดความได้เปรียบเทียบเสียเปรียบแก่ผู้เสนอราคารายอื่นตามหลักเกณฑ์และสิทธิในการพิจารณาราคาที่กรมฯ กำหนดหรือไม่ เพื่อพิจารณาว่า กรมฯ ยกเลิกการประกวดราคาโดยชอบ ด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ในการประกวดราคาครั้งที่ผ่านมา ผู้ฟ้องคดีก็ไม่เคยยื่น ใบ รง. ๔ ครบทั้ง ๑๐ ลำดับ ในการเสนอราคากับกรมฯ รวมทั้ง ผู้เสนอราคารายอื่นด้วย ก็ได้รับการคัดเลือกให้เข้าทำสัญญา ดังนั้น แม้ใบ รง. ๔ ที่สมบูรณ์จะต้องประกอบด้วยเอกสาร ๑๐ ลำดับ แต่ผู้เสนอราคามิได้ยื่นครบทั้งหมด กรมฯก็เคยผ่อนผันมาโดยตลอด จึงแสดงว่า การยื่นใบ รง. ๔ ลำดับที่ ๑,๗,๙ ของ ผู้ฟ้องคดีไม่เป็นการผิดเงื่อนไขในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ทั้งกรมฯ ชี้แจงว่า เหตุที่ผ่อนผันกรณีผิดเงื่อนไขครั้งที่ผ่านมาเพราะ ผู้ฟ้องคดีเสนอราคาเพียงรายเดียวไม่มีผลต่อผู้เสนอราคารายอื่น แต่โดยที่ข้อ ๕๐(๑) วรรคสอง กำหนดว่า หากเป็นการเสนอราคาเพียงรายเดียวก็ต้องถือเสมือนว่าเสนอราคาผิดเงื่อนไขและไม่อาจรับไว้พิจารณาราคาได้

199 แสดงให้เห็นว่า การที่กรมฯ มีอำนาจผ่อนผันนั้นเฉพาะแต่ในกรณีที่ต้องเป็นการผิดเงื่อนไขในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือผิดพลาดเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อกรมฯ เคยใช้ดุลพินิจพิจารณาว่า การยื่น รง. ๔ ไม่ครบทุกลำดับมิใช่การผิดเงื่อนไขของเอกสารประกวดราคาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าการประกวดราคาครั้งนี้และครั้งก่อนมีข้อเท็จจริงต่างกัน กรมฯ จึงมีหน้าที่ผูกพันกับการใช้ดุลพินิจดังกล่าว เว้นแต่กรมฯ จะกำหนดไว้ชัดเจนในครั้งนี้ว่า จะต้องยื่นครบทั้ง ๑๐ ลำดับ ที่อ้างว่า กรมฯ ไม่จำต้องผูกพันกับการใช้ดุลพินิจครั้งก่อน การแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลฯ ก็เป็นครั้ง ๆ ไป การพิจารณาก็เป็นครั้ง ๆ ไปเช่นกัน จึงรับฟังไม่ได้ในกรณีนี้ เพราะกรมฯ เป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมายในการออกประกาศประกวดราคาและพิจารณาใช้ดุลพินิจสั่งการเกี่ยวกับ การประกวดราคา คณะกรรมการต่าง ๆ ที่อ้างเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ที่เตรียมการและดำเนินการเพื่อเสนอกรมฯ ให้มี “คำสั่ง ทางปกครอง” เกี่ยวกับการประกวดราคาเท่านั้น

200 ที่อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีไม่นำ รง
ที่อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีไม่นำ รง. ๔ ลำดับ ๓ มาแสดงจึงผิดเงื่อนไข การประกวดราคา นั้น เห็นว่า กรมฯ มิได้แสดงให้เห็นว่าต้องการให้ ผู้เสนอราคานำใน รง. ๔ ทั้ง ๑๐ ลำดับมาแสดง เพียงแต่ต้องการให้ผู้ฟ้องคดีนำใบ รง. ๔ ลำดับที่ ๓ ซึ่งแสดงเพียงว่าได้แจ้งประกอบกิจการ กำหนดสิ้นใบอนุญาต และการต่อใบอนุญาตมาแสดงเท่านั้น ซึ่งมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง ของกฎหมายโรงงาน กำหนดว่า ใบอนุญาตให้ใช้ได้จนถึงสิ้นปีปฏิทินแห่งปีที่ ๕ นับแต่ปีที่เริ่มประกอบกิจการ เว้นแต่มีการย้ายโรงงาน หรือเลิกประกอบกิจการ ให้ถือว่าใบอนุญาตสิ้นอายุในวันที่ออกใบอนุญาตใหม่ หรือวันที่เลิกประกอบกิจการโรงงาน จึงเห็นได้ว่า ใบ รง. ๔ ลำดับที่ ๑ ได้แก่ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานได้รับอนุญาตเมื่อ ๓ กพ ๓๗ ซึ่งจะสิ้นอายุ ๓๑ ธค ๔๒ กรณีนี้ แม้กรมฯ ไม่ทราบก็อาจตรวจสอบได้จากเอกสารลำดับที่ ๗ หรือ ๙ หรือสอบถามจากผู้ฟ้องคดีได้ ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นว่า การยกเลิกฯ เนื่องจากไม่นำใบ รง. ๔ ลำดับที่ ๓ มาแสดง ไม่มีเหตุผลอันควรและเป็นการเลือกปฏิบัติต่อกรณีที่มีข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน รวมทั้งไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของระเบียบฯ การยกเลิกฯ จึงไม่ชอบ

201 ประเด็นที่ ๒ หากการยกเลิกการประกวดราคาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีสมควรได้รับการชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่ อย่างไร ศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีควรได้รับผลกำไร จากการประกวดราคาเครื่องวัดส่วนสูงไปแล้ว ๖,๐๐๐ เครื่อง จึงควรได้รับผลกำไรบางส่วนจากอีก ๖,๐๐๐ เครื่องเท่านั้น โดยคำนวณ ๑๐% จากราคาต่อเครื่อง (๕๙๐ บาท) เป็นเงิน ๓๕๔,๐๐๐ บาท อันเป็นค่าสินไหมทดแทนที่เหมาะสม เป็นธรรม และพอสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรง แห่งละเมิด รวมกับค่าธรรมเนียมธนาคารในการออกแคชเชียร์เช็ค และหนังสือค้ำประกันสัญญา รวมเป็นเงิน ๓๕๘,๔๓๕ บาท พร้อมดอกเบี้ย ๗.๕%

202 ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์ว่า ผลกำไรต้องคิดจาก ๑๒,๐๐๐ เครื่อง ไม่ใช่ ๖,๐๐๐ เครื่อง และคิดราคากลางคือ ๖๐๐ บาท ไม่ใช่ ๕๙๐ บาท จะได้กำไรสุทธิ ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนกรมฯ แก้อุทธรณ์ว่า คำพิพากษาให้กรมฯ จ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยพิจารณาจากจำนวนเงินที่เสนอราคา คูณกับจำนวนเครื่องวัดส่วนสูงในส่วนที่ยังไม่มีการจัดซื้อ ๖,๐๐๐ เครื่อง นั้น เห็นว่า จำนวนเงินดังกล่าวมาจากฐานราคาที่ขายรวมกับ VAT ๑๐% จึงเป็นจำนวนสูงกว่าราคาขายจริง หากจะคำนวณค่าเสียหายก็น่าจะพิจารณาจากฐานราคาขายสุทธิเมื่อหัก VAT ออกแล้ว โดยไม่ได้ชี้แจงว่า กำไรร้อยละ ๑๐% มีที่มาอย่างไร เชื่อถือได้หรือไม่

203 เห็นว่า คำสั่งยกเลิกการประกวดราคาเป็นคำสั่งทางปกครอง และละเมิดจากคำสั่งทางปกครองศาลย่อมสามารถกำหนดค่าสินไหมทดแทนได้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ผู้ฟ้องคดีย่อมเรียกร้องค่าสินไหมฯได้เฉพาะที่เป็นผลโดยตรงจากผลของคำสั่งทางปกครอง ตลอดจนค่าเสียหายที่ผู้ได้รับความเสียหายจะพึงได้รับการชดใช้ จะต้องมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วอย่างแท้จริง คดีนี้ ค่าเสียหายที่ได้จ่ายไปจริงและเกิดขึ้นโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมซื้อแคชเชียร์เช็ค ใช้เป็นหลักประกันซอง การออกหนังสือค้ำประกันสัญญา เป็นเงิน ๔,๔๓๕ บาท ส่วนค่าเสียหายจากค่าขาดประโยชน์จากกำไร ๒.๕ ล้านบาท นั้น

204 เห็นว่า แม้จะอ้างว่าหากเข้าทำสัญญาจะได้กำไร แต่ผู้ฟ้องคดีได้นำหลักฐานที่ได้จากการทำสัญญาครั้งอื่นที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่กรมฯ ออกคำสั่งยกเลิกการประกวดราคาครั้งนี้มาแสดง อันเป็นการคาดหมายว่าจะได้รับกำไรเช่นนั้น ซึ่งเป็นเพียงเรื่องการคาดหมายที่ไม่อาจพิสูจน์ค่าเสียหายที่ใกล้เคียงที่ศาลจะกำหนดให้ได้ และเป็นผลตอบแทนที่ผู้ฟ้องคดีองก็จะต้องปฏิบัติตามสัญญาเป็นการตอบแทนด้วย ดังนั้น เมื่อการทำสัญญาไม่ได้เกิดขึ้น เพราะได้ยกเลิกการประกวดราคาแล้ว ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องปฏิบัติตามสัญญา การอ้างเอากำไรอันเป็นประโยชน์ค่าตอบแทนด้วย โดยไม่ต้องปฏิบัติตามสัญญาในส่วนของตนเป็นการตอบแทนเลย จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และเพราะคดีนี้เป็นเรื่องการเรียกค่าเสียหายจากการออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่ชอบมิใช่การเรียกค่าเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญาทางปกครองที่ผู้ฟ้องคดีอาจพิสูจน์ความเสียหายระหว่างการปฏิบัติตามสัญญาทางปกครอง ศาลจึงกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้ไม่ได้

205 ส่วนความเสียหายอื่นอันอาจจะเกิดก่อนมีการทำสัญญา อันเป็นความเสียหายที่กรมฯ อาจต้องรับผิดชอบเนื่องมาจากความไว้วางใจของผู้ฟ้องคดีที่เชื่อว่าจะได้มีการทำสัญญาเกิดขึ้น จึงได้ตระเตรียมดำเนินการบางอย่างก่อนทำสัญญา และเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแก่ผู้ฟ้องคดี นั้น เห็นว่า ได้มีความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นกับผู้ฟ้องคดีด้วย และมิได้กำหนดค่าสินไหมฯ ไว้ล่วงหน้าสำหรับความรับผิดก่อนสัญญา ในกรณีที่สัญญาไม่เกิดขึ้นเพราะเหตุที่กรมฯ ไม่ต้องรับผิดชอบ ศาลจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ จึงพิพากษาให้กรมฯ จ่ายค่าเสียหาย ๔,๔๓๕ บาท พร้อมดอกเบี้ย ๗.๕%

206 สรุปประเด็น ประกวดราคาซื้อฯ เครื่องชั่ง 12,000 เครื่อง ยกเลิก
ต่อมา ประกวดราคาซื้อฯ ครั้งที่ 2 จำนวน 6,000 เครื่อง ผู้ฟ้องคดีชนะการประกวดราคา ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาว่า การยกเลิกฯ ไม่ชอบ เป็นละเมิด ให้ชดใช้ค่าเสียหาย กำไร เครื่องชั่ง 6,000 เครื่อง ๆ ละ 590 บาท = 354,000 บาท ค่าธรรมเนียมธนาคาร รวมแล้วเป็นเงิน 358,435 บาท

207 ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาว่า การยกเลิกฯ ไม่ชอบ
ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์ขอค่าเสียหาย กำไรจากเครื่องชั่ง 12,000 เครื่อง ๆ ละ 600 บาท = 2,500,000 บาท กรมฯ อุทธรณ์ขอให้ลดค่า VAT 10% ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาว่า การยกเลิกฯ ไม่ชอบ เป็นละเมิด ให้ชดใช้ค่าเสียหาย กำไร เป็นการคาดการณ์ ไม่แน่นอน ไม่อาจพิสูจน์ได้ ไม่ให้ ให้จ่ายค่าธรรมเนียมธนาคาร รวมแล้วเป็นเงิน 4,435 บาท

208 ยกเลิกการสอบราคา (หจก.จิ้วเสรี/ทม.ปัตตานี)
ทม.ประกาศสอบราคาจ้างเหมาก่อสร้างคูระบายน้ำ มีผู้ซื้อซอง ๓ ราย แต่ผู้ฟ้องคดียื่นซองเพียงรายเดียว เมื่อต่อรองราคากันแล้ว ปรากฏว่าเสนอราคาต่ำกว่าราคากลาง และงบประมาณที่ตั้งไว้ คณะกรรมการเปิดซองฯบันทึกว่า ราคาตามที่ลดลงเป็นราคาที่เหมาะสม นายกฯ มีคำสั่งให้ยกเลิกการสอบราคาโดยไม่ระบุเหตุผล แต่ได้ชี้แจง ผวจ. ว่า เพราะมีผู้เสนอราคารายเดียว ไม่สามารถเปรียบเทียบราคาได้ (ระเบียบฯข้อ ๔๔) ผวจ. แจ้งผู้ฟ้องคดีว่า ทม. ดำเนินการชอบด้วยระเบียบแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงอุทธรณ์ผลการพิจารณาไปยังจังหวัดปัตตานี ต่อมานายกฯได้ประกาศสอบราคาจ้างเหมาครั้งที่ ๒ ผู้ฟ้องคดีขอให้ระงับการสอบราคาไว้ก่อน ทม. จึงยกเลิกการสอบราคาครั้งที่ ๒ ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือเรียกค่าเสียหาย (ค่าเอกสารสอบราคา ค่าจ้างวิศวกร กำไร VAT) และขอให้ ผวจ. เร่งรัดให้ชำระค่าเสียหาย คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.๔๓/๒๕๔๖

209 ผวจ. วินิจฉัยอุทธรณ์ว่า ทม. ดำเนินการถูกต้องแล้ว
ทม. มีอำนาจที่จะรับหรือไม่รับราคาต่ำสุด หรือราคาหนึ่งราคาใด หรือราคาที่เสนอทั้งหมดก็ได้ การสั่งจ้างเป็นดุลพินิจของผู้สั่งจ้าง (ข้อ ๓๕(๕)) การต่อรองราคาเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการฯ (ข้อ ๓๖(๑)) แม้ยอมลดราคาต่ำกว่างบประมาณ แต่การเสนอรายเดียวไม่ทำให้เกิดการเปรียบเทียบราคา หากมีผู้เสนอราคาหลายรายก็ย่อมมีการแข่งขันราคาอาจทำให้ได้ราคาต่ำกว่า เป็นประโยชน์แก่ทางราชการมากกว่า การยกเลิกการสอบราคา ผู้ฟ้องคดีไม่อาจเรียกค่าเสียหายจาก ทม. ได้ ต่อมากองคลังได้เสนอขออนุมัตินายกฯเพื่อจ้างโดยวิธีพิเศษ โดยให้เหตุผลว่า งบฯ ปี ๔๑ กันไว้ได้เพียง ก.ย. ๔๒ และประชาชนเดือดร้อนมากเพราะน้ำท่วมขัง หากสอบราคาใหม่เกรงว่าจะเกิดปัญหาอีก นายกฯอนุมัติ และต่อมาได้ทำสัญญาจ้าง หจก. ธนพล ในราคา (๙๔๘,๐๐๐ บาท) ต่ำกว่าราคาของผู้ฟ้องคดี ๘๐๐ บาท และได้มีการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว

210 ศาลปกครองสูงสุดมีคำวินิจฉัยดังนี้
คำสั่งยกเลิกการสอบราคาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ กรณีมีผู้เสนอราคารายเดียว สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีสอบราคา คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาต้องดำเนินการต่อไปเช่นเดียวกับกรณีที่มีผู้ยื่นซองสอบราคาหลายราย ส่วนการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีประกวดราคานั้น คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาโดยปกติแล้วจะต้องเสนอผู้สั่งซื้อสั่งจ้างยกเลิกการประกวดราคาเสมอ เว้นแต่จะมีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไป เมื่อคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาได้ทำการ (๑) ตรวจสอบคุณสมบัติและรายการเอกสารของผู้ฟ้องคดีแล้ว มีคุณสมบัติครบถ้วน (๒) จึงเปิดซองเสนอราคาโดยเทียบราคาตามลำดับรายการกับราคากลาง และ (๓) ได้ทำการต่อรองราคาลงอีก กระทั่งราคาต่ำกว่าราคากลางและงบประมาณฯ โดยทำบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และ (๔) รายงานผลและความเห็นให้นายกฯเพื่อสั่งการ โดยเสนอว่าเป็นราคาที่เหมาะสม การดำเนินการของคณะกรรมการฯจึงชอบด้วย ข้อ ๓๕(๔)(๕)

211 แม้นายกฯจะมีอำนาจในการจัดซื้อจัดจ้างก็ตาม แต่การที่พิจารณาไม่เห็นชอบด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการฯที่ได้ดำเนินการโดยถูกต้องตามระเบียบ โดยมีคำสั่งยกเลิกการสอบราคา การมีคำสั่งยกเลิกการสอบราคาจะต้องมีเหตุผลเพียงพอที่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบ ทั้งสามารถชี้แจงได้ว่าความเห็นของคณะกรรมการฯไม่ชอบอย่างไร เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งประสงค์ให้เกิดความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง และสามารถตรวจสอบได้

212 เมื่อพิจารณาเหตุผลของนายกฯที่ยกเลิกคำสั่งสอบราคา โดยให้เหตุผลว่าไม่สามารถเปรียบเทียบราคาได้ จึงเป็น การขัดต่อหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีสอบราคา ตามข้อ ๓๕(๔) [หากประสงค์ให้ยกเลิกกรณีมีผู้เสนอราคารายเดียว ก็ควรต้องกำหนดให้ยกเลิกตั้งแต่ในชั้นคณะกรรมการ] นอกจากนั้นที่อ้างว่าหากมีผู้เสนอราคาหลายรายย่อมมีการแข่งขัน อาจได้ราคาต่ำกว่า เป็นประโยชน์กับทางราชการ ขัดกับข้อเท็จจริงที่ให้มีการจ้างโดยวิธีพิเศษ และไม่ได้นำความเดือดร้อนของประชาชนมาประกอบการพิจารณา โดยต้องก่อสร้างช้าไปเกือบ ๑ ปี ทำให้ประชาชนเดือดร้อนมากยิ่งขึ้น และราคาต่ำกว่าเดิมเพียง ๘๐๐ บาท ดังนั้น การใช้ดุลพินิจของ ทม. จึงไม่ได้เป็นประโยชน์แก่ทางราชการ และไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะลบล้างความเห็นของคณะกรรมการฯ ได้ ทั้งก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ คำสั่งยกเลิกการสอบราคาจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

213 ข้ออ้างที่ว่า มีอำนาจยกเลิกการสอบราคาได้ เพื่อประโยชน์ของทางราชการ เห็นว่าไม่อาจรับฟังได้ เนื่องจากการยกเลิกก่อให้ประชาชนเดือดร้อน ไม่เกิดประโยชน์แก่ทางราชการ ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ทิ้งงาน และไม่มีเหตุเชื่อว่า การเสนอราคากระทำโดยไม่สุจริต หรือมีการสมยอมกันในการเสนอราคา ผู้ฟ้องคดีต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้ฟ้องคดีหรือไม่ เมื่อคำสั่งยกเลิกการสอบราคาไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี จึงให้ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีต่อไป

214 เรียกค่าเสียหายจากการยกเลิกการสอบราคา (หจก. จิ้วเสรี/ทม
เรียกค่าเสียหายจากการยกเลิกการสอบราคา (หจก.จิ้วเสรี/ทม.ปัตตานี) (ตอน ๒) คดีมีประเด็นพิจารณาว่า ทม. ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี ตามคำขอท้ายฟ้องของ ผู้ฟ้องคดีหรือไม่ เพียงใด เห็นว่า คำสั่งของ ทม. ที่ให้ยกเลิกการสอบราคาจ้างเหมาฯ เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีตามมาตรา ๙(๓) แล้ว คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.๘๐/๒๕๔๘

215 มีประเด็นพิจารณาว่า จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอะไรบ้าง
ค่าซื้อเอกสารสอบราคา ๒,๕๐๐.๐๐ บาท  ค่าจ้างวิศวกรคำนวณราคา ๕,๐๐๐.๐๐ บาท  ค่ากำไรที่ควรจะได้รับ ๙๘,๘๓๘.๖๐ บาท  ค่า VAT ๖,๙๑๘.๗๐ บาท  รวม ๑๑๓,๒๕๗.๓๐ บาท

216 ค่าซื้อเอกสาร เป็นเงินที่จ่ายไปจริง จึงถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และเป็นผลโดยตรงจากคำสั่งยกเลิกการสอบราคาอันมิชอบฯ ค่าจ้างวิศวกรคำนวณราคา แม้จะไม่มีใบเสร็จรับเงินค่าจ้างดังกล่าว แต่การคำนวณราคานับว่าเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการยื่นซองสอบราคา อีกทั้งค่าจ้างมีความเหมาะสม ดังนั้น ถือได้ว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของ ทม. ทม. จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว ค่า VAT เป็นเงินที่ผู้ฟ้องคดีจะเรียกเก็บจาก ทม. และมีหน้าที่ต้องนำส่งสรรพากร จึงไม่ใช่ค่าเสียหายที่ ทม. จะต้องชดใช้ให้แก่ผู้ฟ้องคดี

217 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ค่ากำไร ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐ ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหาย (แก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิ) ผู้นั้นกระทำละเมิด จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น มาตรา ๔๓๘ ค่าสินไหมทดแทนจะพึงชดใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่ การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้ง ค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อให้เกิดขึ้นนั้นด้วย

218 หลักกฎหมายในเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิด
ไม่ใช่เรื่องการลงโทษผู้กระทำละเมิด แต่เป็นการเยียวยาให้ผู้เสียหายกลับสู่สถานะที่ควรเป็น หากไม่มีการละเมิดเกิดขึ้น ผู้เสียหายจึงไม่อาจได้รับการเยียวยาเกินกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงตามที่ได้รับ ศาลจะต้องกำหนดโดย คำนึงถึงพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด พิจารณาถึงพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด พิจารณาถึงผลการกระทำละเมิดว่าก่อให้เกิดความเสียหายที่แท้จริงแก่ผู้เสียหายมากน้อยเพียงใด โดยสรุป การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน คืนทรัพย์สิน หรือใช้ราคาทรัพย์นั้นให้แก่ผู้ถูกกระทำละเมิด หากได้รับความเสียหาย ก็จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ด้วย

219 การที่ ทม. มีคำสั่งยกเลิกการสอบราคา ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิทธิในการเข้าทำสัญญาจ้างฯ ของผู้ฟ้องคดี อันเป็นผลโดยตรงให้ผู้ฟ้องคดีเสียโอกาสที่จะได้รับกำไรหากได้เข้าทำงานตามสัญญาจ้างฯ ค่ากำไรเป็นวัตถุประสงค์หลักของผู้ประกอบธุรกิจ และทางราชการก็ได้ให้การรับรองว่าจะได้รับกำไรเป็นการตอบแทนส่วนหนึ่ง โดยกำหนดให้ผู้เสนอราคาเสนอค่ากำไรมาพร้อมกับการเสนอราคาค่าวัสดุและค่าแรงงานอันเป็นต้นทุนด้วย และในการกำหนดราคากลางก็ได้มีการกำหนดค่ากำไรรวมอยู่ด้วย การที่ผู้ฟ้องคดีเสียโอกาสในการเข้าทำสัญญาจ้างฯ และเสียโอกาสที่จะได้รับกำไร หากได้เข้าทำงานก่อสร้าง ซึ่งเป็นผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดของ ทม. ทม. จึงย่อมต้องชดใช้ค่าเสียหายในการเสียโอกาสให้แก่ ผู้ฟ้องคดี (ปพพ. ม. ๔๓๘ วรรคสอง)

220 ข้ออ้างที่ว่า ยังไม่ได้ลงมือเริ่มดำเนินการหรือดำเนินการใด ๆ ในการก่อสร้าง และไม่อาจหยั่งรู้ได้ว่าจะกำไรหรือขาดทุน ศาลเห็นว่า ข้ออ้างนี้ ไม่มีผลทำให้รับฟังได้ว่าการเสียโอกาสดังกล่าวไม่เป็นค่าเสียหายที่ ทม. ได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่ผู้ฟ้องคดี มีประเด็นต้องพิจารณาต่อไปว่า การคำนวณค่ากำไร จะคำนวณอย่างไร

221 กรมบัญชีกลางชี้แจง สูตรการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง
ราคากลางงานก่อสร้าง = ค่างานต้นทุน X ค่า FACTOR F ค่างานต้นทุน = ค่าวัสดุอุปกรณ์ (รวมค่าขนส่ง) + ค่าแรงงาน ค่า FACTOR F = ค่าของค่าใช้จ่ายในการดำเนินการก่อสร้าง ค่า FACTOR F = ค่าอำนวยการในการก่อสร้าง + ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ + กำไร + VAT กำไร = กำหนดจากค่ากำไรเชิงธุรกิจอัตราระหว่าง ๓.๕๐-๕.๕๐% ของ ค่างานต้นทุน ค่ากำไรผันแปรตามค่างานต้นทุน โดย = มีอัตราสูงสำหรับค่างานต้นทุนต่ำ และ = มีอัตราต่ำสำหรับค่างานต้นทุนสูง

222 เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงควรชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการขาดโอกาสให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามสูตรการกำหนดราคากลางของทางราชการในอัตรา๕.๕๐ % ของค่างานต้นทุน เนื่องจากเป็นงานก่อสร้างที่มีต้นทุนต่ำ ค่าวัสดุและค่าแรงงาน ๗๐๕,๙๙๐ บาท จึงมีสิทธิได้รับ ๓๘,๘๒๙.๔๕ บาท

223 การกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา

224 ขอให้ระงับการดำเนินการตามประกาศประกวดราคาไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำพิพากษา
เงื่อนไขแห่งการที่ศาลปกครองจะมีอำนาจออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษามีอยู่ 3 ประการประกอบกัน คือ คำฟ้องมีมูล มีเหตุเพียงพอที่จะนำมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาตามที่ขอนั้นมาใช้ และ คำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาตามที่ขอนั้นจะไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคแก่การบริหารงานของรัฐ คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๘๐-๓๘๔/๒๕๕๐

225 2544-2546 ผู้ฟ้องคดีเคยรับจ้าง กฟภ.
2547 ผู้ฟ้องคดีไม่ชนะการประกวดราคา กฟภ. ต่อสัญญากับผู้รับจ้าง รายเดิม ตุลาคม 2549 กฟภ. ประกาศประกวดราคาจัดจ้างบริการงาน ด้านระบบไฟฟ้าแบบราคาคงที่ไม่จำกัดจำนวนด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์

226 ประกาศเดิม กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้เสนอราคาว่า
ต้องเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ที่จดทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์รับจ้างงานด้านระบบไฟฟ้า มีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า ๓ ล้านบาท เคยเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ผู้ถูกฟ้องคดี หรือหน่วยงานเอกชนที่มีผลงานรับจ้างงานด้านระบบไฟฟ้าหรือการบริหารแรงงาน ไม่ต้องมีมูลค่าผลงานแต่อย่างใด ประกาศใหม่ กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้เสนอราคาว่า ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า ๒๐% ของวงเงินจ้าง ต้องมีประสบการณ์รับจ้างฯ มาแล้ว ไม่เกิน ๓ ปี นับถึงวันยื่นซอง ภายใน ๓ ปี ต้องมีผลงานไม่น้อยกว่า ๒ ปี ไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ โดยในแต่ละปีต้องมีผลงานในสัญญาเดียวหรือหลายสัญญาที่แล้วเสร็จมีมูลค่างานไม่น้อยกว่าปีละ ๔๐% ของวงเงินจ้าง ในกรณีที่เป็นการเสนอราคาโดยกลุ่มผู้เข้าร่วมค้า (Joint Venture หรือ Consortium) ต้องใช้ผลงานของผู้เข้าร่วมค้าเพียงรายใดรายหนึ่งมาใช้แสดงเป็นผลงานเข้าเสนอราคา

227 ข้อเท็จจริงยอมรับกันว่า ก่อนหน้านี้ กฟภ
ข้อเท็จจริงยอมรับกันว่า ก่อนหน้านี้ กฟภ. ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้เสนอราคาว่าต้องมีมูลค่าผลงานแต่อย่างใด จึงเห็นว่า คำฟ้องของผู้ฟ้องคดีมีมูล และ เห็นได้ว่า กฟภ. ตั้งใจจะดำเนินการประกวดราคาตามประกาศฯ ที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี ทั้ง ๑๓ ฉบับต่อไป กรณีจึงมีเหตุเพียงพอที่ศาลจะมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการ เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาโดยการสั่งให้ระงับการดำเนินการประกวดราคา ตามประกาศประกวดราคาฯ ไว้จนกว่าจะมีการพิพากษาคดี ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในระหว่างที่ กฟภ. ยังไม่อาจดำเนินการประกวดราคาฯ ได้ ก็อาจว่าจ้างผู้รับจ้างเดิมให้ดำเนินการให้บริการฯ โดยวิธีพิเศษได้ ซึ่ง กฟภ. ก็ได้ว่าจ้างผู้รับจ้างเดิมตามสัญญาทั้ง ๑๖๖ ฉบับ โดยวิธีพิเศษเป็นเวลา ๖ เดือน แล้วด้วย กรณีย่อมเห็นได้ว่า การที่ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา โดยสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีระงับการดำเนินการประกวดราคาจ้างฯ ไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำพิพากษา ไม่ก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคแก่การบริหารงานของ กฟภ. แต่อย่างใด คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นจึงไม่เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

228 การประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

229 ฟ้องคดีเกี่ยวกับการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ผู้ฟ้องคดีฟ้องรวมสองข้อหา คือ ฟ้องว่า การที่ สพ. กำหนดเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทาง E การจ้างก่อสร้างอาคารสำนักงานฯ ให้มีการยึดหลักประกันซองของผู้มีสิทธิเสนอราคา คือ (๑) ผู้มีสิทธิเสนอราคาไม่ส่งผู้แทนมาลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่กระบวนการเสนอราคาตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด (๒) ผู้มีสิทธิเสนอราคาที่มาลงทะเบียนแล้วไม่ LOG IN เข้าสู่ระบบ (๓) ผู้มีสิทธิเสนอราคา LOG IN แล้ว แต่ไม่มีการเสนอราคา หรือเสนอราคาผิดเงื่อนไขที่กำหนดโดยการเสนอราคาสูงกว่าหรือเท่ากับราคาเริ่มต้นการประมูล (๔) ผู้มีสิทธิเสนอราคาไม่ลงลายมือชื่อในแบบ บก. ๐๐๘ แบบยืนยันราคาสุดท้ายในการเสนอราคา เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากขัดต่อมาตรา ๔ (๒) (๕) และมาตรา ๑๐ พรบ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ และมาตรา ๖ พรบ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐฯ ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอนข้อกำหนดการยึดหลักประกันซองของผู้มีสิทธิเสนอราคาฯ คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๕๐๔/๒๕๕๑

230 คำฟ้องข้อหานี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด ตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) ประกอบกับมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑)ฯ ฟ้องว่า การที่ สพ. มีหนังสือแจ้งให้ธนาคารฯ ส่งเงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน ไปให้ สพ. ภายใน 7 วัน โดยอ้างว่าผู้ฟ้องคดีทำผิดเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทาง E เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมกับผู้ฟ้องคดี และคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทาง E พิจารณาหนังสืออุทธรณ์การยึดหนังสือสัญญาค้ำประกันล่าช้าเกินสมควร ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายจากการที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารตลอดมา ขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอนหนังสือของ สพ. และให้ชำระค่าธรรมเนียมสำหรับหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นรายปี ปีละ ๔๘,๐๐๐ บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

231 กรณีจึงมีปัญหาที่ต้องพิจารณาว่า คำฟ้องข้อหาที่สองนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด และคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) ประกอบกับมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) ประกอบกับมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

232 การที่ สพ. ยึดหลักประกันซองฯ และมีหนังสือเรียกให้ธนาคารฯ ชำระเงินตามสัญญา ค้ำประกัน รวมทั้งการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการฯ มิใช่การใช้อำนาจตามกฎหมายหรือการละเลยต่อหน้าที่ฯ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรฯ แต่เป็นการที่ สพ. และคณะกรรมการฯ ใช้สิทธิตามหนังสือแสดงเงื่อนไขการซื้อและการจ้างโดยการประมูลด้วยระบบ E ที่ผู้ฟ้องคดีทำไว้กับ สพ. และ ผู้ให้บริการตลาดกลางฯ ข้อหานี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่และความรับผิดตามสัญญา

233 หนังสือแสดงเงื่อนไขการซื้อและการจ้างโดยการประมูลด้วยระบบ E ที่ผู้ฟ้องคดีทำไว้กับ สพ. และผู้ให้บริการตลาดกลางฯ เป็นเครื่องมือหรือวิธีการที่จะทำให้การดำเนินกิจการทางปกครองของ สพ. บรรลุผล หนังสือแสดงเงื่อนไขการซื้อและการจ้างโดยการประมูลด้วยระบบ E จึงเป็นสัญญาทางปกครองโดยสภาพ คำฟ้องข้อหาที่สองจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง สำหรับคำขอให้เพิกถอนหนังสือของ สพ. แจ้งให้ธนาคารส่งเงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นกรณีที่ สพ. ใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญา มิได้ใช้อำนาจตามกฎหมาย จึงไม่ใช่คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่นซึ่งศาลอาจเพิกถอนได้แต่อย่างใด แต่พอจะแปลเจตนาได้ว่า ผู้ฟ้องคดีมีความประสงค์จะให้ สพ. ระงับการเรียกให้ชำระเงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฯ โดยให้ สพ. คืนหลักประกันซองให้แก่ผู้ฟ้องคดี

234 ผู้ฟ้องคดีได้ซื้อเอกสารประกวดราคาจ้างฯ เพื่อเข้าประมูลงานก่อสร้าง แต่ในวันเสนอราคาผู้ฟ้องคดีไม่ประสงค์จะเสนอราคาและขอคืนหนังสือสัญญาค้ำประกันฯ แต่ไม่สามารถขอคืนได้ โดย สพ. มีหนังสือแจ้งให้ธนาคารฯ ส่งเงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฯ โดยอ้างว่าผู้ฟ้องคดีทำผิดตามเงื่อนไขฯ กรณี LOG IN เข้าสู่ระบบแล้วแต่ไม่ทำการเสนอราคา การที่เอกสารประกวดราคาจ้างฯ กำหนดเงื่อนไขให้มีการยึดหลักประกันซองของผู้มีสิทธิเสนอราคาในกรณีต่างๆ จึงก่อความเดือดร้อนหรือเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี และการแก้ไขฯ จะกระทำได้ก็แต่โดยการที่ศาลปกครองพิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอนข้อกำหนดการยึดหลักประกันซองฯ ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี ในข้อหาที่หนึ่ง และโดยที่เอกสารประกวดราคาจ้างฯ เป็นคำสั่งซึ่งระเบียบฯ ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ ไม่ได้กำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายจากคำสั่งดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ ทั้งไม่ใช่คำสั่งที่อาจอุทธรณ์ได้ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่ง พรบ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องคดีข้อหานี้ต่อศาลปกครองได้ทันทีที่ได้รับทราบคำสั่งดังกล่าว

235 เมื่อประกาศประกวดราคาจ้างฯ กำหนดให้มีการซื้อเอกสารประกวดราคาจ้างฯ ระหว่างวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๙ ถึงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๙ และผู้ฟ้องคดีได้ซื้อเอกสารประกวดราคาจ้างฯ ผู้ฟ้องคดีจึงย่อมรู้หรือควรรู้ถึงการที่มีข้อกำหนดการยึดหลักประกันซองฯ แล้ว ตั้งแต่วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๙ เป็นอย่างช้า จึงชอบที่จะยื่นฟ้องข้อหานี้ภายใน 90 วัน คือ ภายในวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ การที่นำมาฟ้องเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ จึงเป็นการยื่นฟ้องเมื่อพ้นเวลาการฟ้องคดี การที่ข้อ ๒.๔ ของหนังสือแสดงเงื่อนไขการซื้อและการจ้างฯ กำหนดว่า เมื่อผู้มีสิทธิเสนอราคายื่นอุทธรณ์แล้ว จะดำเนินการขั้นตอนต่อไปไม่ได้นั้น เป็นกรณีที่ผู้มีสิทธิเสนอราคาที่เข้าสู่กระบวนการเสนอราคาไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาของหัวหน้าหน่วยงานและได้ยื่นอุทธรณ์การเสนอราคาเท่านั้น จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุที่เป็นอุปสรรคขัดขวางมิให้ผู้ฟ้องคดีสามารถยื่นฟ้องข้อหานี้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดได้แต่อย่างใด ศาลปกครองจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจรับคำฟ้องข้อหานี้ไว้พิจารณาได้ การที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องในข้อหาที่หนึ่งไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว

236 ปัญหาว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีในข้อหาที่สองหรือไม่เห็นว่า
การที่ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือแจ้ง สพ. ว่าไม่ประสงค์จะเสนอราคาและขอคืนหลักประกันซอง และมีหนังสือถึง คณะกรรมการฯ เพื่อขอให้พิจารณาการคืนหลักประกันซอง รวมทั้งได้มีหนังสือถึง สพ. ขอให้คืนหลักประกันซอง แต่ สพ. กลับมีหนังสือแจ้งให้ธนาคารส่งเงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันย่อมถือได้ว่าเกิดข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการยึดหลักประกันซองตามหนังสือแสดงเงื่อนไขการซื้อและการจ้างฯ ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครองแล้ว และโดยที่การที่ สพ. ยึดหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีต้องเสียค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคารต่อไป การยุติข้อโต้แย้งดังกล่าวจึงจำต้องมีคำบังคับของศาลโดยการมีคำสั่งให้ สพ. คืนหลักประกันซอง ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีในข้อหาที่สอง

237 โดยที่ระเบียบฯ ไม่ได้กำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการยุติข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการยึดหลักประกันซองของผู้มีสิทธิเสนอราคาไว้ จึงฟ้องคดีข้อหานี้ได้ทันทีที่ผู้ฟ้องคดีรู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี เมื่อเจ้าหน้าที่ของ สพ. แจ้งว่าไม่อาจคืนหนังสือค้ำประกันซองฯ ให้ได้ในวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๙ เหตุแห่งการฟ้องคดีจึงเกิดขึ้นในวันดังกล่าว และต้องถือว่าวันดังกล่าว การที่ผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ จึงเป็นการยื่นฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงชอบที่จะรับคำฟ้องข้อหานี้ของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณา

238 Thank You


ดาวน์โหลด ppt คดีปกครองเกี่ยวกับการเงิน พัสดุ และการงบประมาณ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google