งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ข้อสังเกตคำบาลีและสันสกฤต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ข้อสังเกตคำบาลีและสันสกฤต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ข้อสังเกตคำบาลีและสันสกฤต
หลักสังเกตทั่วไป ส่วนมากเป็นคำหลายพยางค์ เช่น บิดา อาคาร กุญชร สวรรค์ ฯลฯ มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา เช่น พยัคฆ์ รัชกาล สัญญา มัตสยา ฯลฯ มีตัวการันต์ เช่น สังข์ นิตย์ สัตว์

2 หลักสังเกตเฉพาะคำบาลี
๑. มีตัวสะกดและตัวตาม ซึ่งเป็นพยัญชนะวรรคเดียวกัน ดังนี้ ตัวสะกด ตัวตาม ตัวอย่าง พยัญชนะแถวที่ ๑ พยัญชนะแถวที่ ๑ , ๒ อุกกาบาต , สักกะ , ทุกข์ , มัจฉา พยัญชนะแถวที่ ๓ พยัญชนะแถวที่ ๓ , ๔ อัคคี , พยัคฆ์ , วัชชี , มัชฌิม พยัญชนะแถวที่ ๕ พยัญชนะแถวที่ ๑ , ๒ , ๓ , ๔ , ๕ สัมปทาน , สัมผัส , พิมพ์ ,คัมภีร์ ,สัมมนา

3 ๒. พยัญชนะวรรค ฏะ นิยมตัดตัวสะกดเดิม แล้วใช้ตัวสะกดตามแทน เช่น
๒. พยัญชนะวรรค ฏะ นิยมตัดตัวสะกดเดิม แล้วใช้ตัวสะกดตามแทน เช่น รัฏฐ์ เขียนเป็น รัฐ ทิฏฐิ ทิฐิ วัฑฒน์ วัฒน์ วุฑฒิ วุฒิ อัฏฐิ อัฐิ อัฑฒจันทร์ อัฒจันทร์

4 ตัวสะกดและตัวตามที่เป็นพยัญชนะเดียวกัน บางทีก็ตัดเสียตัวหนึ่ง เช่น
ตัวสะกดและตัวตามที่เป็นพยัญชนะเดียวกัน บางทีก็ตัดเสียตัวหนึ่ง เช่น เขตต์ เขียนเป็น เขต จิตต์ จิต บุญญ์ บุญ นิสสัย นิสัย ยุตติ ยุติ วิชชา วิชา

5 ๔. นิยมใช้ ฬ เช่น กีฬา , จุฬา , โอฬาร , อาสาฬหบูชา
อัญญประกาศ เขียนเป็น อัญประกาศ อิสสระ อิสระ อนุสสรณ์ อนุสรณ์ ๔. นิยมใช้ ฬ เช่น กีฬา , จุฬา , โอฬาร , อาสาฬหบูชา ๕. ไม่มี ศ , ษ ๖. ไม่มี ฤ , ฤา , ไอ , เอา ๗. ไม่มี รร ( หัน ) ๘. ไม่นิยมคำควบกล้ำ

6 ๙. มีสระ ๘ ตัว ได้แก่ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
สังเกตจากการใช้ “ ริ ” เช่น อริยะ, ภริยา, จริยา, อัจฉริยะ ,อิสริยะ ๑๑. สังเกตจาก

7 หลักสังเกตเฉพาะคำสันสกฤต
มีสระ ๑๔ ตัว ได้แก่ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา ใช้ ร และ รร หัน เช่น อารยะ , กรรม , สวรรค์ , ภรรยา ,จรรยา , หรรษา , อัศจรรย์ , ไอศวรรย์ สังเกตจากการใช้ ส , ศ , ษ “ส” ใช้นำหน้าพยัญชนะวรรค ตะ ( ต ถ ท ธ น ) เช่น พัสดุ สถาน อัสดง สถิต สถาปนา “ ศ , ษ” มีใช้เฉพาะ ภาษาสันสฤตเท่านั้น เช่น ศีรษะ , อภิเษก ๔. สังเกตจากการใช้ ฑ เช่น กรีฑา , ครุฑ , จุฑา ๕. สังเกตจากการใช้ ณ ตามหลัง ร เช่น พราหมณ์ , นารายณ์ , อรัณย์ , อรุณ , ปราณี

8 หลักสังเกตเฉพาะคำสันสกฤต ( ต่อ )
๖. สังเกตจากการใช้ “ เคราะห์” (ครุห) เช่น วิเคราะห์ , สังเคราะห์ , อนุเคราะห์ ๗. ไม่มีหลักการสะกดตัวแน่นอน พยัญชนะตัวหนึ่งสะกดพยัญชนะตัวใด ในวรรค จะ ตามก็ได้ หรือไม่มีตัวตามก็ได้ เช่น อัคนี , มัตสยา , อาชญา , สัปดาห์ , พนัส ๘. ใช้ ฤา ,ฤา ,ไอ ,เอา เช่น ฤทธิ์ , ฤาษี ,ไมตรี ,เสาร์ ๙. นิยมใช้คำควบกล้ำ เช่น จักร, สมัคร, เพชร, มิตร, ยนตร์ สมุทร, อินทร์, ทรัพย์, สัตย์, อัศวะ, พิศวาส

9

10 แนวการเทียบคำบาลีสันสกฤต
กัญญา กันยา กัป ( ป์ ) กัลป์ การุญ ( ญ์ ) การุณย์ กิตติ กีรติ , เกียรติ กีฬา กรีฑา ขณะ กษณะ ขัตติยะ กษัตริย์

11 บาลี สันสกฤต ขัย กษัย ขีระ กษีระ , เกษียร ครุฬ ครุฑ จักขุ จักษุ จุฬา
จุฑา ฐาน สถาน ติณ ตฤณ

12 บาลี สันสกฤต ถาวร สถาวร , สถาพร ธัม ( ม์ ) ธรรม นักขัต ( ต์ ) นักษัตร
นิจ ( จ์ ) นิตย์ บุคคล บุทคล บุญ ( ญ์ ) บุณย์ บุปผา บุษบา

13 บาลี สันสกฤต ปฐม ประถม ปัจจุบัน ปรัตยุบัน ปัจฉิม ปัศจิม ,ปรัศจิม ปัญญา
ปรัชญา

14 บาลี สันสกฤต อริยะ อารยะ อัจฉริยะ อัศจรรย์ อัจฉรา อัปสร อัต (ต์) , อัตตา อาตมัน ,อาตมา รัตติ ราตรี


ดาวน์โหลด ppt ข้อสังเกตคำบาลีและสันสกฤต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google