ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยLek Lertkunakorn ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น ครู โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม
โดย นางวนัสนันท์ บัวชุม ครู โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม
2
มารู้จักอินเตอร์เน็ต
เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องจากทั่วโลกเข้าด้วยกัน จนเรียกได้ว่า “เครือข่ายไร้พรมแดน” อินเตอร์เน็ต เป็นแหล่งรวมข้อมูลมหาศาล ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของข้อมูลเหล่านั้น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันนั่นแหละคือเจ้าของข้อมูล ร้านค้าออนไลน์ ผู้ใช้ ISP อินเตอร์เน็ต ISP แหล่งบันเทิงออนไลน์ ผู้ใช้ ISP ISP ห้องสมุดออนไลน์
3
เราเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร ในเมืองไทย
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั่วโลกเชื่อมต่อกันโดยหน่วยงานที่เรียกว่า ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP ย่อมาจาก Internet Service Provider) เป็นเจ้าของและผู้ดูแลระบบ แต่ไม่ใช่เจ้าของอินเตอร์เน็ต ทำหน้าที่เปิดบริการให้ผู้ใช้ทั่วไปเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายของตนเพื่อต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตอีกที โดยเก็บค่าบริการเป็นทอด ๆ ในเมืองไทย ISP บริษัทอินเตอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด บริษัทเอ-เน็ต จำกัด บริษัททรูอินเตอร์เน็ต จำกัด บริษัทจัสมินอินเตอร์เน็ต จำกัด บริษัทสามารถอินโฟเนต จำกัด บริษัททีโอที จำกัด มหาชน บริษัทซีเอส ล็อกอินโฟ จำกัด บริษัทอื่น ๆ อีกมากมาย
4
คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อ ISP อย่างไร
ผ่านระบบโทรศัพท์พื้นฐาน โดยมี โมเด็ม (Modem) ทำหน้าที่ แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Digital) คอมพิวเตอร์ผู้ใช้ โมเด็มผู้ใช้ สายโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ ISP โมเด็ม ISP อินเตอร์เน็ต ผ่านสายโทรศัพท์ และโมเด็ม (ADSL) หรืออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง(Hispeed Internet) ผ่านสายโทรศัพท์ และโมเด็ม (ISDN) ผ่านเช่าความเร็วสูง(Leased Line) แบบไร้สาย ต้องมีโมเด็มแบบไร้สาย (Wireless Modem) หรือโทรศัพท์มือถือ แบบไร้สาย สาธารณะ (Hotspot) อยู่ตามศูนย์การค้า และแหล่งชุมชน
5
บริการบนอินเตอร์เน็ต
บริการ www (world wide web) ข้อมูลบน www อยู่ในรูปเอกสารอิเลคทรอนิกส์ ที่เรียกดูบนจอคอมพิวเตอร์ โดยโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser) สามารถแสดงผลได้ทั้ง ภาพ เสียง วิดีโอ และมัลติมีเดีย แต่ละหน้าจะมีการเชื่อมโยง (Link) อีเมล์ ( )หรือจดหมายอิเลคทรอนิกส์ เป็นบริการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต คือการส่งข้อความหรือข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของเราไปยังผู้รับที่ระบุ IM (Instant Messaging) เป็นการรับ-ส่งข้อความถึงกันแบบทันทีทันใด ทั้งภาพ เสียง อีเมล์ หรือไฟล์ข้อมูลอื่น ๆ รวมถึงการสนทนาโต้ตอบแบบเห็นภาพและเสียงด้วย เช่น MSN Messenger Yahoo Messenger หรือ ICQ
6
บริการอื่น ๆ บนอินเตอร์เน็ต
การดาวโหลด ไฟล์ข้อมูล โปรแกรม หนัง เพลง โลโก้ ริงโทน ฯลฯ โทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ต การประชุมผ่านอินเตอร์เน็ต ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ผ่านอินเตอร์เน็ต
7
กติกาของอินเตอร์เน็ต
บนอินเตอร์เน็ต มีกติกาเป็นมาตรฐานเดียวกัน เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) TCP/IP กับ IP address เป็นกติกาหลักในการรับส่งข้อมูล ข่าวสารผ่านอินเตอร์เน็ตข้อมูลทุกรูปแบบจะต้องผ่านการแปลงให้อยู่ในมาตรฐานนี้ก่อนจึงจะรับส่งได้กติกานี้จะกำหนดวิธีขั้นตอนการรับส่งข้อมูลและการตรวจสอบความถูกต้องอย่างรัดกุม การเรียกชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบนี้ ทางเทคนิคเรียนกว่า “ที่อยู่” หรือ Ip Address เป็นตัวเลข 4 ชุด ตั้งแต่ คั่นด้วยจุด เช่น จะทำให้ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ นับพันล้านเครื่อง ไม่ซ้ำกัน โดเมนเนม (Domain name) เนื่องจากระบบ นั้นจำยากจึงได้คิดระบบโดเมนเนมโดยใช้ต่ออักษรภาษาอังกฤษคั่นด้วยจุด เช่น IP address
8
DNS และ DNS Server เนื่องจากมีคอมพิวเตอร์ติดต่อกับอินเตอร์เน็ตอยู่ 2 ระบบจึงต้องมีกลไกแปลงชื่อ เรียกว่า Domain name system เข้ามาช่วย โดย ISP จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เฉพาะคอยเก็บข้อมูลชื่อโดเมน และ IP address เครื่องนี้เรียกว่า DNS Server DNS server ฐานข้อมูลชื่อโดเมนเนม
9
URL = โปรโตคอล+ชื่อโดเมน+ชื่อไฟล์ในเครื่อง
www Transfer Protocol) เป็นโปรโตคอลสำหรับเปิด ดูข้อมูล www เช่น ส่วนการรับ – ส่งไฟล์ ระหว่างเครื่อง มักใช้โปรโตคอล FTP(File Transfer Protocol) URL = โปรโตคอล+ชื่อโดเมน+ชื่อไฟล์ในเครื่อง คือที่อยู่ ที่เข้าถึงข้อมูล หรือไฟล์บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งรูปแบบที่อยู่นี้ถูกกำหนด เป็นมาตรฐานที่เรียกว่า URL (Uniform Resource Locator) ประกอบด้วย โปรโตคอล ชื่อโดเมนของเครื่อง (ใส่ IP Address แทนได้) ชื่อไฟล์เว็บเพจ (.htm หรือ .html) หรือไฟล์ประเภทอื่น เช่น ไฟล์รูปภาพ JPEG .jpg ในเครื่องนั้น ๆ
10
URL URL http://www.provision.co.th/book/new/catalog.htm ชื่อโดเมน
ชื่อไดเร็คทอรี่ และชื่อไฟล์ในเครื่อง ชื่อโปรโตคอล ชื่อโดเมน ไดเร็คทอรี่ book/new ประเทศไทย th ประเภท บริษัท co=company ชื่อองค์กร provision ชื่อไฟล์ และนามสกุล ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์www โปรโตคอล http
11
เว็บไซต์ เว็บเพจ โฮมเพจ
เว็บไซต์ เว็บเพจ โฮมเพจ Website webpage homepage เว็บไซต์ กลุ่มของเว็บเพจที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ประกอบไปด้วยไฟล์ ชนิดต่าง ๆ เช่น รูปภาพ มัลติมีเดีย ไฟล์โปรแกรมภาษาสคริปต์ และไฟล์ข้อมูล เว็บเพจ หน้าเอกสารแต่ละหน้าของบริการ www ตามปกติอยู่ในรูปไฟล์ Html เว็บเพจแต่ละหน้าจะเชื่อมโยงหรือ ลิงค์ link กัน เพื่อความสะดวก ในการเข้าชมเพจ ต่าง ๆ โฮมเพจ คือเว็บเพจหน้าแรก ซึ่งเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์ ถ้าเปรียบกับ หนังสือ ก็คือปกหน้า ซึ่งจะถูกออกแบบให้ดูโดดเด่นน่าสนใจ
12
ตัวอย่างปลั๊กอิน plug-in ที่เป็นที่นิยม
บราวเซอร์ browserและปลั๊กอิน plug-in เว็บบราวเซอร์ web browser เป็นโปรแกรมสำหรับดูเว็บเพจ เช่น Internet Explorer (IE), Netscape, Opera, Firefox ปลาวาฬบราวเซอร์ ของคนไทย เป็นต้น ปลั๊กอิน plug-in คือโปรแกรมเสริม ทำหน้าที่เพิ่มคุณสมบัติบางอย่างให้กับราวเซอร์ เช่น การแสดงผลข้อมูลประเภทที่บราวเซอร์ไม่รู้จัก ส่วนใหญ่จะดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี ตัวอย่างปลั๊กอิน plug-in ที่เป็นที่นิยม ปลั๊กอิน plug-in ที่เล่นไฟล์เสียงและวีดีโอ เช่น Window Media Player Real Player และ Quick Time ปลั๊กอิน plug-in ที่เล่นไฟล์มัลติมีเดีย เช่น Flash Player, Shockwave player ปลั๊กอิน plug-in สำหรับแสดงไฟล์เอกสารในรูปแบบเฉพาะ เช่น Acrobat Reader สำหรับอ่านไฟล์ PDF
13
หนังสือคู่มือสร้างเว็บไซต์ด้วยตนเอง ผู้เขียน ดวงพร เกี่ยงคำ
ขอขอบคุณ หนังสือคู่มือสร้างเว็บไซต์ด้วยตนเอง ผู้เขียน ดวงพร เกี่ยงคำ จัดพิมพ์โดย บริษัทโปรวิชั่น จำกัด พิมพ์ครั้งที่ 1.ตุลาคม 2549
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.