งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เรื่อง การใช้ท่าทางประกอบการพูด ครูณรงค์ฤทธิ์ ศักดารณรงค์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เรื่อง การใช้ท่าทางประกอบการพูด ครูณรงค์ฤทธิ์ ศักดารณรงค์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เรื่อง การใช้ท่าทางประกอบการพูด ครูณรงค์ฤทธิ์ ศักดารณรงค์
วิชาภาษาไทย ท42101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การใช้ท่าทางประกอบการพูด ผู้สอน ครูณรงค์ฤทธิ์ ศักดารณรงค์ ครูเชี่ยวชาญ คศ.4

2 การใช้ท่าทางประกอบการพูด
การใช้ท่าทางหรืออากัปกิริยาประกอบการพูด มีส่วนในการช่วยสื่อความหมายได้ดีพอ ๆกับการใช้คำพูดและเสียงพูด

3 รองศาสตราจารย์วิรัช ลภิรัตนกุล
รองศาสตราจารย์วิรัช ลภิรัตนกุล ผู้แต่งหนังสือ วาทนิเทศและวาทศิลป์กล่าวถึงการใช้สายตาและอากัปกิริยาท่าทางต่าง ๆ ประกอบการพูด สรุปได้ดังนี้

4 ผู้พูดสามารถใช้สายตา อากัปกิริยาท่าทางประกอบการพูดของตน เพื่อช่วยในการสื่อความหมายให้การพูดมีน้ำหนัก มีความเข้าใจชัดเจน และน่าสนใจยิ่งขึ้น

5 นอกจากนี้ การใช้อากัปกิริยา
ท่าทาง ยังเป็นการแสดงถึงบุคลิก ลักษณะของผู้พูดให้ปรากฏออก มาสู่สายตาผู้ฟัง

6 ผู้พูดมีกิริยาท่าทางวอกแวก ลุกลี้ลุกลน ย่อมส่อแสดงถึงความไม่เชื่อมั่นหรือไม่มั่นใจตนเอง

7 ผู้พูดที่มีสายตาเฉยเมย หรือกิริยาท่าทางมึนตึงเฉื่อยชา ย่อมแสดงถึงการขาดความเอาใจใส่ หรือขาดความสนใจที่จะสื่อสารกับผู้ฟัง

8 ผู้พูดที่มีกิริยาท่าทางกระปรี้กระเปร่า มีชีวิตชีวา ย่อมแสดงถึงความพร้อมและความกระตือรือร้นที่จะสื่อสารกับผู้ฟัง

9 นอกจากนี้ การวางท่า การเคลื่อนไหว ท่าทาง การแสดงสีหน้าของผู้พูด กิริยาท่าทางการยืน การเดินเหิน การใช้ศีรษะ หัวไหล่และมือสิ่งเหล่านี้คือ ภาษาแห่งร่างกาย ที่สามารถสื่อความหมายแก่ผู้ฟังได้เป็นอย่างดี

10 ผู้พูดมีสีหน้าบึ้งตึง เป็นการแสดงถึงความโกรธหรือไม่พอใจ สีหน้าที่ยิ้มแย้มอ่อนโยน แสดงถึงความมิตรไมตรี เช่น สีหน้าและแววตาที่บิดามารดามองดูบุตรของตนอย่างห่วงใยย่อมแสดงถึงความเมตตากรุณาและปรารถนาดี

11 กิริยาท่าทางที่บิดามารดาลูบหัวลูก แสดงถึงความรักใคร่เอ็นดู ทะนุถนอม ดังนั้น สีหน้าแววตา กิริยาท่าทาง จึงสามารถสะท้อนให้เห็นเจตนาหรือสิ่งซ่อนเร้นในส่วนลึกจิตใจของมนุษย์

12 การพูดก็เช่นกัน สีหน้า แววตา กิริยาท่าทาง สะท้อนให้เห็นเจตนาหรือจิตใจของผู้พูดได้เป็นอย่างดี

13 นอกจากนี้อากัปกิริยาท่าทาง ยังสามารถดึงดูดให้ผู้ฟังสนใจสิ่งที่พูดการใช้กิริยาท่าทางประกอบการพูดอย่างเหมาะสม ย่อมเป็นสิ่งดึงดูดความสนใจและตรึงความสนใจของผู้ฟังได้ดีที่สุด

14 การประสานสายตา คือ การที่ผู้พูดใช้สายตาจับกลุ่มผู้ฟังอย่างทั่วถึงในการสนทนาระหว่างบุคคล หรือการพูดในที่ชุมนุมชน ผู้พูดที่ดีย่อมต้องมีการประสานสายตากับผู้ฟังอย่างสม่ำเสมอ

15 ผู้พูดไม่ควรทอดทิ้งหรือละความสนใจจากผู้ฟัง ด้วยการมองไปยังสิ่งอื่น ๆ เช่น มองออกไปทางระเบียงหน้าต่างห้อง ก้มหน้ามองโต๊ะ แหงนมองเพดาน หรือใช้สายตาเหม่อลอยไม่มีจุดหมาย เป็นต้น

16 ลักษณะการพูดดังกล่าวนี้ ควรปรับปรุงแก้ไข เพราะกิริยาที่ไม่พึงปรารถนาเหล่านี้ นอกจากจะไม่ช่วยในการสื่อสารให้ดีขึ้นแล้ว ยังบั่นทอนทำลายบุคลิกภาพของผู้พูดอีกด้วย


ดาวน์โหลด ppt เรื่อง การใช้ท่าทางประกอบการพูด ครูณรงค์ฤทธิ์ ศักดารณรงค์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google