ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ประชาสัมพันธ์อำเภอจอมทอง
2
ประวัติอำเภอจอมทอง อำเภอจอมทอง มีประวัติความเป็นมาสืบเนื่องเกี่ยวกับตำนานวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร โดยในปี พ.ศ. 2443 ได้มีการจัดระเบียบการปกครองหัวเมืองขึ้นใหม่ ในช่วงที่นครเชียงใหม่ว่างเจ้าผู้ครองนครอันเนื่องจากการถึงแก่พิราลัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ในกลุ่มหัวเมืองย่อยทางใต้ของนครเชียงใหม่ ได้มีการจัดตั้งที่ว่าการอำเภอเพื่อเป็นศูนย์กลางปกครองขึ้น ณ บริเวณบ้านท่าศาลา ริมแม่น้ำปิงทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอจอมทอง ซึ่งปัจจุบันคือบ้านท่าศาลา หมู่ที่ 3 ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง [3] โดยมีเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ (ยังไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนคร) เป็นผู้คุมการก่อสร้างด้วยตนเองและตั้งได้ชื่อตามชื่อวัดพระธาตุจอมทองว่า “อำเภอจอมทอง”
3
คำขวัญ "อินทนนท์สูงเด่น ร่มเย็นองค์พระธาตุ น้ำตกสวยสะอาด เชิดชูศาสน์แห่ไม้ค้ำโพธิ์" อินทนนท์สูงเด่น ดอยอินทนนท์เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดของประเทศไทย สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 2,565 เมตร ปัจจุบันเป็นสถานที่สำคัญของประเทศ มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ มาเที่ยวปีละหลายล้านคน เป็นสถานที่ที่งดงาม มีถ้ำ น้ำตก ภูเขา ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว อาทิ เช่น น้ำตกแม่กลาง น้ำตกแม่ยะ น้ำตกสิริภูมิ น้ำตกวชิรธาร ถ้าบริจินดา ดอยหัวเสือ กิ่วแม่ปาน เป็นต้น
4
อาณาเขต อำเภอจอมทองมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอแม่วางและอำเภอดอยหล่อ ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเวียงหนองล่องและอำเภอบ้านโฮ่ง (จังหวัดลำพูน) ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอฮอด ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแม่แจ่ม
5
ลักษณะทางภูมิประเทศ ลักษณะพื้นที่อำเภอจอมทอง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบกว้าง ระหว่างริมฝั่งแม่น้ำปิง และน้ำแม่กลาง ซึ่งเป็นชุมชนหนาแน่นกระจายในพื้นที่ดังกล่าว พื้นที่หุบเขาเชิงเขาทางทิศตะวันตก ซึ่งใช้ประโยชน์ในการทำนา ทำสวน ทำไร่ ปลูกไม้ยืนต้น เช่น ลำไย สำหรับบริเวณภูเขาเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและที่อยู่อาศัย สภาพพื้นที่ พื้นที่สูงทางตอนกลาง ที่ราบลุ่มทางทิศเหนือ และพื้นที่ภูเขาทางทิศตะวันตกของอำเภ
6
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอจอมทองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลจอมทอง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านหลวง ตำบลข่วงเปา และตำบลดอยแก้ว เทศบาลตำบลบ้านหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านหลวง (นอกเขตเทศบาลตำบลจอมทอง) เทศบาลตำบลบ้านแปะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแปะทั้งตำบล เทศบาลตำบลดอยแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอยแก้ว (นอกเขตเทศบาลตำบลจอมทอง) เทศบาลตำบลสบเตี๊ยะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสบเตี๊ยะทั้งตำบล เทศบาลตำบลแม่สอย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สอยทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลข่วงเปา (นอกเขตเทศบาลตำบลจอมทอง)
7
สถานศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ภาคพายัพ (จอมทอง) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย วิทยาเขตจอมทอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยาเขตจอมทอง (อยู่ในระหว่างการดำเนินการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเพื่อเปิดเป็นวิทยาเขต) วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง โรงเรียนจอมทอง โรงเรียนชุมชนศรีจอมทอง โรงเรียนณัทชวิทย์ (โรงเรียนเอกชน) โรงเรียนสุทธิวงค์ดำรงวิทย์ (โรงเรียนเอกชน) โรงเรียนพุทธนิมิตรวิทยา (โรงเรียนนักธรรม เปิดสอนระดับ ม.1-ม.6) โรงเรียนอนุบาลสวนแก้ว (โรงเรียนเอกชน)
8
ธนาคาร ธนาคารออมสิน สาขาจอมทอง ,สาขาย่อย โรงเรียนจอมทอง
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาจอมทอง ธนาคารกสิกรไทย สาขาจอมทอง , สาขาย่อย อำเภอฮอด ธนาคารกรุงไทย สาขาจอมทอง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาจอมทอง , สาขาแม่สอย ธนาคารกรุงเทพ สาขาจอมทอง
9
ตลาดที่สำคัญ ตลาดสดเทศบาลตำบลจอมทอง กาดแลงหน้อย กาดเจ้าหน้อย
ตลาดโชคเจริญ ตลาดแม่ดวงดีสามแยกขึ้นดอยอินทนนท์ ตลาดจำหน่ายดอกไม้ พืชผัก ผลไม้เมืองหนาว ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของหมู่บ้านม้งขุนกลาง หลัก ก.ม.ที่ 31 ถ.จอมทอง - อินทนนท์
10
กาดนัด กาดอังคาร ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอจอมทอง บริเวณศูนย์การค้าสมายเพลส จอมทอง กาดพุธ บ้านหนองอาบช้างและบ้านห้วยน้ำดิบ กาดผัด บ้านสบเตี๊ยะและบ้านสบแจ่มฝั่งซ้าย กาดศุกร์ หน้าที่ว่าการอำเภอจอมทองและบริเวณหน้าเทศบาลตำบลบ้านแปะ กาดเสาร์ บริเวณบ้านสบเตี๊ยะและบ้านดงหาดนาค และบริเวณศูนย์การค้าสมายเพลส จอมทอง
11
การคมนาคม อำเภอจอมทองตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ บนถนนสายเชียงใหม่-ฮอด ระยะทางห่างจากเชียงใหม่ 58 กิโลเมตร[7] เส้นทางเชื่อมต่ออำเภอจอมทอง ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 จากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านเขตอำเภอจอมทองไปจนสุดเขตที่สะพานท่าข้าม ระยะทาง 38 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1009 จากสามแยกขึ้นดอยอินทนนท์ (จอมทอง) – แม่กลาง ระยะทาง กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข จากแม่กลาง – ดอยอินทนนท์ ระยะทาง กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1010 จากท่าลี่ – ป่าซาง ระยะทาง 30 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1085 จากขุนกลาง – ขุนวาง ระยะทาง 25 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1088 จากด่านตรวจที่ 2 อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ – แม่แจ่ม ระยะทาง 19 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1103 จากบุ้งฮวด (จอมทอง) – เวียงหนองล่อง ระยะทาง 5 กิโลเมตร
12
แหล่งท่องเทียวที่สำคัญ
ศูนย์บริการข้อมูลนกอินทนนท์ (ร้านลุงแดง) ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 31 หน่วยจัดการต้นน้ำแม่กลาง ให้บริการด้านข้อมูลนกในดอยอินทนนท์ เช่น สมุดบันทึกการพบนกในดอยอินทนนท์ ภาพวาดลายเส้นของนักดูนกท่านต่างๆแผนที่เส้นทางดูนกดอยอินทนนท์ ภาพถ่าย สไลด์เกี่ยวกับนก ฯลฯ ให้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ กิ่วแม่ปาน เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนดอยอินทนนท์ ทางเข้าอยู่กิโลเมตรที่ 42 ด้านซ้ายมือ ระยะทางเดิน 3 กิโลเมตร ระหว่างทางเดินจะพบป่าดิบเขา (Hill Evergreen) ก่อนผ่านเข้าสู่ทุ่งหญ้าซึ่งเคยเป็นพื้นที่ป่าถูกทำลาย เพื่อเป็นการศึกษาลักษณะการเกิดผลกระทบต่อเนื่องบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นที่ป่า สมบูรณ์กับพื้นที่ถูกทำลาย (edge effect) หลังจากนั้นทางเดินจะเลาะริมผา มีไอหมอกปลิวผ่านตลอดเวลา สองข้างจะพบดอกกุหลาบพันปี หรือ Rhododendron (ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ขึ้นตามป่าในระดับสูง มีพันธุ์ดอกสีขาวและสีแดง เวลาออกดอกช่วงแรกมีลักษณะเหมือนปลีกล้วย ก่อนที่จะบานเต็มต้นในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ พบมากในแถบเทือกเขาหิมาลัยและเป็นไม้ประจำชาติของเนปาลด้วย) มองลงไปยังเบื้องล่างจะพบทัศนียภาพที่งดงามของอำเภอแม่แจ่ม
13
เนื่อหา 1 ประวัติ 2 คำขวัญ 3 ที่ตั้งและอาณาเขต 4 ลักษณะทางภูมิประเทศ
1 ประวัติ 2 คำขวัญ 3 ที่ตั้งและอาณาเขต 4 ลักษณะทางภูมิประเทศ 5 ลักษณะภูมิอากาศ 6 การแบ่งเขตการปกครอง 6.1 การปกครองส่วนภูมิภาค 6.2 การปกครองส่วนท้องถิ่น 7 สถานศึกษา 8 ธนาคาร 9 ตลาดที่สำคัญ 10 การคมนาคม 11 แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ 12 ฤดูกาลท่องเที่ยว 13 อ้างอิ
14
ทางหลวงชบบท ทางหลวงชนบททางหลวงชนบท บ้านหนองล่อง – ท่าศาลา
ทางหลวงชนบท บ้านทุ่งปูน – ท่ามณี ทางหลวงชนบท แยกทางหมายเลข 1009 – บ้านเมืองกลาง ทางหลวงชนบท บ้านแท่นดอกไม้ – บ้านดงหาดนาค ทางหลวงชนบท บ้านสบเตี๊ยะ - บ้านแพะดินแดง ทางหลวงชนบท บ้านวังน้ำหยาด - บ้านแม่สอย ทางหลวงชนบท บ้านสบแปะ - ถ้ำตอง ทางหลวงชนบท บ้านทุ่งปูน-บ้านแม่เตี๊ยะ ทางหลวงชนบท บ้านแม่สอย-บ้านสบแจ่มฝั่งซ้าย ทางหลวงชนบท บ้านแม่กลางบ้านลุ่ม-ดอยแก้ว
15
จบการนำสเอน จัดทำโดย ด.ญ.เจนจิรา กระจ่างโชคสุข
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.