งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทนปัจจัยการผลิต (ค่าเช่า, ดอกเบี้ย, ค้าจ้าง ,กำไร) ปัจจัยการผลิต (ที่ดิน, ทุน, แรงงาน, ผู้ประกอบการ)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทนปัจจัยการผลิต (ค่าเช่า, ดอกเบี้ย, ค้าจ้าง ,กำไร) ปัจจัยการผลิต (ที่ดิน, ทุน, แรงงาน, ผู้ประกอบการ)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2

3 ผลตอบแทน ผลตอบแทน

4 ผลตอบแทน ผลตอบแทน

5 ผลตอบแทนปัจจัยการผลิต (ค่าเช่า, ดอกเบี้ย, ค้าจ้าง ,กำไร)
ปัจจัยการผลิต (ที่ดิน, ทุน, แรงงาน, ผู้ประกอบการ) ผู้บริโภค ผู้ผลิต สินค้าและบริการ ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ

6 ประเภทของระบบเศรษฐกิจ
เสรีนิยม Free Enterprise Economics System Economics System สังคมนิยม Socialist Economics System ประเภทของระบบเศรษฐกิจ ผสม Mixed Economics System

7 ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
หรือ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) เอกชนมีสิทธิเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รัฐไม่เข้าไปแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินไปโดยผ่าน กลไกราคา (Price mechanism) หรือ ระบบตลาด

8 กลไกราคา (Price mechanism)
ผลิตอะไร ? ราคาสินค้าเป็นตัวจูงใจผู้ผลิต ผลิตอย่างไร ? เลือกวิธีการผลิตที่ต้นทุนต่ำสุด ผลิตเพื่อใคร ? รายได้ของบุคคลเป็นตัวกำหนด

9 ข้อดี ให้เสรีภาพในแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความสมัครใจ และให้สิทธิเอกชนในการสะสมทรัพย์สิน กลไกราคาทำให้การตัดสินใจผลิตสินค้าสอดคล้องกับความต้องการของสังคม การแข่งขันโดยเสรีช่วยป้องกันมิให้ผู้ผลิตหากำไรเกินควร การแข่งขันทำให้เกิดการปรับปรุงวิธีการผลิตอยู่เสมอ ทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

10 ข้อเสีย กิจกรรมบางอย่างใช้กลไกราคาเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาพื้นฐาน ทางเศรษฐกิจไม่ได้ เช่น สินค้าสาธารณะ นายทุน หรือผู้มีอิทธิพลทางการเมืองสามารถเอาเปรียบผู้บริโภคและแรงงาน ทำให้การกระจายรายได้และการจัดสรรทรัพยากร ไม่ทั่วถึง การแข่งขันทำให้รายย่อยไม่สามารถอยู่ในตลาดได้ เกิดการผูกขาดจากผู้ผลิตรายใหญ่มีทุนมากและอำนาจต่อรองสูง ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น รายได้แรงงานลดลง สวัสดิการสังคมโดยรวมลดลง

11 ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
หรือระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วนกลาง (Central Planned Economy) ทรัพยากรของประเทศเป็นของรัฐ รัฐเป็นผู้วางแผนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อตอบปัญหาพื้นฐานเศรษฐกิจ ไม่ใช้กลไกราคา ราคาถูกกำหนดตามนโยบายของรัฐ ไม่เกิดการแข่งขันเสรีเนื่องจากราคาไม่ใช่สิ่งจูงใจ

12 ข้อดี ถ้ารัฐดำเนินการได้มีประสิทธิภาพ จะทำให้มีการผลิตสินค้าและบริการเป็นประโยชน์แก่คนส่วนรวมมากที่สุด ทำให้การจัดสรรทรัพยากรและการกระจายรายได้เป็นธรรม การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างช้า ๆ และมี เสถียรภาพ การผูกขาดโดยผู้ผลิตแต่ละรายไม่เกิดขึ้น และไม่มีการแข่งขันเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด ทุกคนเสมอภาคเท่าเทียมกัน

13 ข้อเสีย ขาดแรงจูงใจให้ผลิตเต็มความสามารถ เพราะเอกชนไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ไม่เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เพราะขาดการแข่งขัน ผู้บริโภคไม่มีเสรีภาพในการเลือกซื้อสินค้า เนื่องจากอยู่ภายใต้ขอบเขตที่รัฐผลิต อาจก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรไม่มีประสิทธิภาพ หากผลิตสินค้าที่สังคมไม่ต้องการ ไม่ก่อให้เกิดความพอใจสูงสุดแก่สังคม

14 ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เอกชนมีสิทธิในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความสมัครใจ รัฐเข้าไปควบคุมกิจกรรมพื้นฐานที่สำคัญ ที่เอกชนไม่ลงทุนเพราะต้องลงทุนมากและกำไรน้อย เช่น ประปา ไฟฟ้า และผลิตสินค้าสาธารณะ รัฐดูแลควบคุมให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นไปโดยราบรื่น

15 ข้อดี ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าและบริการได้ตามความพอใจ
ธุรกิจมีเสรีภาพในการผลิต และกลไกราคาทำงานได้ ทำให้เกิดการพัฒนา ลดบทบาททุนนิยม โดยรัฐเข้าไปแทรกแซงกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนโดยส่วนรวม และออกกฎหมายคุ้มครองการเอารัดเอาเปรียบในสังคม

16 ข้อเสีย การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจและอำนาจต่างๆ ขึ้นอยู่กับรัฐบาล ทำให้ธุรกิจขาดความมั่นในการลงทุน เนื่องจากมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของนโยบาย

17 คำถาม 1.ปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์มีอะไรบ้าง จงบอกผลตอบแทนกับการเป็น เจ้าของปัจจัยการผลิตแต่ละชนิด 2.จงอธิบายคำว่า “ ระบบเศรษฐกิจ” และความสำคัญของระบบเศรษฐกิจ อย่างละเอียด 3.ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแต่ละระบบและข้อดี ข้อเสีย 4.ในแต่ละระบบเศรษฐกิจประกอบด้วยหน่วยเศรษฐกิจอะไรบ้าง แต่ละหน่วยเศรษฐกิจมีหน้าที่อะไร 5.จงแสดงความเห็นว่าทำไมระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์จึงล่มสลาย 6.เหตุใดรัฐจึงต้องเข้ามามีบทบาทและควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจใน ระบบเศรษฐกิจแบบผสม 7.ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบใด เหมาะสมหรือไม่ อธิบาย 8.จากความรู้เรื่องระบบเศรษฐกิจ ท่านคิดว่าระบบใดดีที่สุด 9.จงบอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละหน่วยเศรษฐกิจ 10.อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์จุลภาค


ดาวน์โหลด ppt ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทนปัจจัยการผลิต (ค่าเช่า, ดอกเบี้ย, ค้าจ้าง ,กำไร) ปัจจัยการผลิต (ที่ดิน, ทุน, แรงงาน, ผู้ประกอบการ)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google