งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ขั้นตอนการพิจารณา จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ขั้นตอนการพิจารณา จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

0 ...สรุป... แนวทางการพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา ๔๑

1 ขั้นตอนการพิจารณา จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น
สำนักกฎหมาย สปสช.

2 ตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
เป็นผู้มีสิทธิตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพฯหรือไม่ เข้าเงื่อนไข การขอเงินช่วยเหลือ ตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ มีสิทธิขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น หรือไม่ ยื่นขอภายใน ๑ ปีนับแต่ทราบความเสียหายหรือไม่ เป็นหน่วยบริการตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพฯหรือไม่ ความเสียหายเข้าเกณฑ์จ่ายเงินช่วยเหลือหรือไม่ ความเสียหายคืออะไร เข้าเกณฑ์ ความเสียหายเกิดจาก รักษาพยาบาล หรือ เหตุสุดวิสัย หรือพยาธิสภาพ ไม่ ควรจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเท่าไร เป็นความเสียหาย ประเภทใด ตามข้อ ๖ ของข้อบังคับฯ ความเสียหายสัมพันธ์กับการรักษาพยาบาลเพียงใด ผลกระทบต่อผู้เสียหาย

3 ขั้นตอนที่ ๑ เข้าเงื่อนไขการขอเงินช่วยเหลือ ตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
มีสิทธิ UC ขณะเข้ารับบริการ เป็นผู้มีสิทธิตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพฯหรือไม่ ผู้เสียหาย มีสิทธิขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น หรือไม่ ทายาท ผู้อุปการะ ยื่นขอภายใน ๑ ปีนับแต่ทราบความเสียหายหรือไม่ หลักการนับ ๑ ปี วันที่รับรู้ความเสียหาย เป็นหน่วยบริการตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพฯหรือไม่ ขึ้นทะเบียน UC

4 ขั้นตอนที่ ๒ ขอพิจารณาใหม่ เข้าเกณฑ์ ไม่เข้าเกณฑ์
ความเสียหายเข้าเกณฑ์จ่ายเงินช่วยเหลือหรือไม่ ส่งผลรุนแรงที่สุด ความเสียหายคืออะไร ยื่นขอครั้งเดียว ขอพิจารณาใหม่ สาเหตุของความเสียหาย รักษาพยาบาล เข้าเกณฑ์ เหตุสุดวิสัย พยาธิสภาพ รักษาพยาบาล + พยาธิสภาพ หรือ เหตุสุดวิสัย + พยาธิสภาพ ไม่เข้าเกณฑ์

5 ขั้นตอนที่ ๓ ๖(๑) ตาย ๖(๒) พิการ ๖(๓) เจ็บป่วย มาก ปานกลาง น้อย
ควรจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเท่าไร ๖(๒) พิการ เป็นความเสียหาย ประเภทใด ตามข้อ ๖ ของข้อบังคับฯ ๖(๓) เจ็บป่วย แนวทางพิจารณา (ยี่ต๊อก) โดยตรง ทั้งรักษาพยาบาล และ โรค ความเสียหายสัมพันธ์กับ การรักษาพยาบาลเพียงใด มีส่วนน้อย มาก ผลกระทบต่อผู้เสียหาย ปานกลาง น้อย

6 แนวทางการพิจารณา (ยี่ต๊อก)
สำนักกฎหมาย สปสช.

7 ความสัมพันธ์ของความเสียหาย
ประเภท 1 (240, ,000) ความสัมพันธ์ของความเสียหาย กับการรักษาพยาบาล ระดับความรุนแรง เสียชีวิต ทุพพลภาพถาวร เรื้อรังรุนแรง พึ่งพา ตลอดเวลา ความเสียหายสัมพันธ์กับการรักษาพยาบาล และไม่สัมพันธ์กับโรคที่เจ็บป่วย 400,000 320,000 – 360,000 ความเสียหายสัมพันธ์กับการรักษาพยาบาล และสัมพันธ์กับโรคที่เจ็บป่วย 360,000 280,000 – 320,000 ความเสียหายบางส่วนสัมพันธ์กับการรักษาพยาบาล 320,000 240,000 – 280,000 สำนักกฎหมาย สปสช. สำนักกฎหมาย สปสช.

8 ประเภท 2 (100,000 - 240,000) ความสัมพันธ์ของความเสียหาย
กับการรักษาพยาบาล ระดับความรุนแรงของผลกระทบ จากพิการหรือเสียอวัยวะ หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง มาก ปานกลาง น้อย ความเสียหายสัมพันธ์กับการรักษาพยาบาล และไม่สัมพันธ์กับโรคที่เจ็บป่วย 240,000 216,000 100,000 – 216,000 ความเสียหายสัมพันธ์กับการรักษาพยาบาล และสัมพันธ์กับโรคที่เจ็บป่วย 192,000 100, ,000 ความเสียหายบางส่วนสัมพันธ์กับการรักษาพยาบาล 168,000 – 192,000 100,000 – 168,000 สำนักกฎหมาย สปสช. สำนักกฎหมาย สปสช.

9 ความสัมพันธ์ของความเสียหาย
ประเภท 3(ไม่เกิน 100,000) ความสัมพันธ์ของความเสียหาย กับการรักษาพยาบาล การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่องต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษาหรือฟื้นฟู มาก ปานกลาง น้อย ความเสียหายสัมพันธ์กับการรักษาพยาบาล และไม่สัมพันธ์กับโรคที่เจ็บป่วย 100,000 90,000 – 100,000 ไม่เกิน 80,000 ความเสียหายสัมพันธ์กับการรักษาพยาบาล และสัมพันธ์กับโรคที่เจ็บป่วย 80,000 - ไม่เกิน70,000 ความเสียหายบางส่วนสัมพันธ์กับการรักษาพยาบาล 70,000 ไม่เกิน60,000 สำนักกฎหมาย สปสช. สำนักกฎหมาย สปสช.

10 คำวินิจฉัยที่น่าสนใจ ของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพ กรณีจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา ๔๑

11 ขั้นตอนที่๑ เข้าเงื่อนไขการขอเงินช่วยเหลือ ตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
ขั้นตอนที่๑ เข้าเงื่อนไขการขอเงินช่วยเหลือ ตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่

12 เป็นผู้มีสิทธิตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพฯหรือไม่
การเข้ารับบริการที่ทำให้เกิดความเสียหายนั้น ต้องเป็นผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ จึงเป็นผู้รับบริการตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ กรณีตัวอย่าง ผู้ป่วยเข้ารับบริการทำหมัน โดยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต่อมาได้เปลี่ยนสิทธิเป็นสิทธิประกันสังคม และตรวจพบว่าตั้งครรภ์ กรณีนี้มีสิทธิยื่นขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา ๔๑ ผู้ป่วยใช้สิทธิประกันสังคม เข้าคลอดบุตรและทำหมัน ต่อมาผู้ป่วยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตรวจพบว่าตั้งครรภ์ กรณีนี้ไม่มีสิทธิยื่นขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา ๔๑

13 เป็นผู้มีสิทธิตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพฯหรือไม่
ความเสียหายที่เกิดแก่ผู้รับบริการที่มีสิทธิรักษาพยาบาลตามกฎหมายอื่น ไม่ใช่ผู้รับบริการ ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัตินี้ กรณีตัวอย่าง ผู้ป่วยเด็ก ที่บิดาเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีสิทธิครอบคลุมถึงบุตร กรณีนี้จึงไม่ใช่ผู้รับบริการ ตามมาตรา ๔๑ ผู้ป่วยหญิงสิทธิครูโรงเรียนเอกชน และสามีสิทธิข้าราชการ เข้ารับบริการผ่าตัดคลอดบุตร แล้วเสียชีวิต เนื่องจากบิดาของผู้ป่วยมีสิทธิข้าราชการ ซึ่งครอบคลุมถึงบุตรด้วย ดังนั้น บุตรจึงไม่ใช่ผู้รับบริการ ตามมาตรา ๔๑ ผู้ป่วยหญิง เป็นข้าราชการบำนาญ ญาติจะขอสละสิทธิจากราชการ และขอใช้สิทธิตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแทน แต่การขอสละสิทธิจากราชการไม่สามารถกระทำได้ ดังนั้น จึงไม่ใช่ผู้รับบริการ ตามมาตรา ๔๑

14 เป็นผู้มีสิทธิตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพฯหรือไม่
บุตรแรกคลอดของมารดาที่มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม และบิดาไม่สิทธิรักษาพยาบาลที่ครอบคลุมถึงบุตร เป็นผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพฯ กรณีตัวอย่าง ผู้ป่วยหญิงสิทธิประกันสังคม เข้ารับบริการคลอดบุตร มีภาวะติดไหล่ ๑๐ นาที ทารกแรกคลอดมีภาวะขาดออกซิเจน และยกแขนขวาไม่ได้ แพทย์วินิจฉัย ว่าทารกมีการบาดเจ็บของเส้นประสาทแขนขวา สิทธิประกันสังคมไม่ครอบคลุมถึงบุตรด้วย บุตรจึงเป็นผู้มีสิทธิตามพรบ.หลักประกันสุขภาพฯ จึงเป็นผู้รับบริการ ตามมาตรา ๔๑

15 เป็นผู้มีสิทธิตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพฯหรือไม่
เมื่อเกิดความเสียหายแก่ผู้รับบริการที่เป็นผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง ผู้เสียหายนั้นมีสิทธิขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัตินี้ กรณีตัวอย่าง ผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพ เข้ารับบริการที่หน่วยบริการโดยเสียค่าใช้จ่ายเอง ผู้ป่วย ได้รับการผ่าตัดเนื้องอกในสมอง ผู้ป่วยเสียเลือดมาก หลังผ่าตัดมีอาการสมองบวม และมีภาวะเบาจืด ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงเรื่อยๆ และเสียชีวิต กรณีนี้ เป็นความเสียหายของผู้มีสิทธิตามตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นผู้รับบริการ ตามมาตรา ๔๑ จึงรับไว้พิจารณาต่อไปตามกระบวนการ

16 เป็นผู้มีสิทธิ ตามพรบ.หลักประกันสุขภาพฯหรือไม่
ผู้ที่ได้รับความเสียหายซึ่งไม่ใช่ผู้ที่เข้ารับบริการในหน่วยบริการ ไม่ใช่ผู้รับบริการ ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัตินี้ กรณีตัวอย่าง ญาติผู้ป่วยโดยสารไปกับรถส่งต่อเพื่อนำส่งผู้ป่วย เนื่องจากไม่มีแพทย์และพยาบาลไปส่งผู้ป่วยได้ ระหว่างเดินทางเกิดอุบัติเหตุ เสียชีวิต กรณีนี้ ญาติของผู้ป่วย ไม่ใช่ผู้รับบริการของหน่วยบริการ จึงไม่ใช่ผู้รับบริการ ตามมาตรา ๔๑

17 ประเด็นที่ ๑.๓ ยื่นคำร้องภายในระยะเวลา ๑ ปีนับแต่ทราบความเสียหายหรือไม่

18 วันที่ผู้ยื่นคำร้องรับทราบความเสียหาย
ความเสียหาย คือ การเสียชีวิต ให้ถือเอาวันที่เสียชีวิตเป็นวันที่ทราบความเสียหาย กรณีตัวอย่าง ผู้รับบริการเข้าคลอดบุตร แพทย์ช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสูญญากาศ ทารกมีสายสะดือพันคอแน่น ๑ รอบ หลังคลอดทารกศีรษะมีรอยนูน แขนขาขยับได้น้อย และมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และเสียชีวิตในวันต่อมา วันที่ทราบความเสียหายจึงเป็นวันที่ทารกเสียชีวิต

19 วันที่ผู้ยื่นคำร้องรับทราบความเสียหาย
กรณีความเสียหาย คือ การบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วย หรือพิการ หรือสูญเสียอวัยวะ หรือมีอาการอันไม่พึงประสงค์ อื่นๆ ให้ถือวันที่ได้รับทราบผลการตรวจพบความเสียหายนั้น เป็นวันที่ทราบความเสียหาย กรณีตัวอย่าง ผู้รับบริการได้รับการผ่าตัดทำหมัน เมื่อ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ต่อมาประจำเดือนขาดหายไปตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๖ จึงเข้ารับการตรวจร่างกายเมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ได้รับแจ้งผลการตรวจว่า ตั้งครรภ์ วันที่ทราบความเสียหาย คือ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ผู้รับบริการเข้าคลอดบุตร แพทย์ใช้เครื่องดูดสูญญากาศ มีภาวะคลอดติดไหล่ แรกคลอดทารกมีอาการแขนและไหล่ข้างซ้ายอ่อนแรง ลำตัวแดง ปลายมือปลายเท้าเขียว ต่อมาแพทย์จึงแจ้งผลการวินิจฉัยว่า เนื่องจากมีการคลอดไหล่ยาก ส่งผลให้เส้นประสาทแขนได้รับบาดเจ็บ และเอกซเรย์พบว่า มีกระดูกไหปลาร้าซ้ายหักร่วมด้วย วันที่ทราบความเสียหาย จึงเป็นวันที่ได้รับแจ้งผลการวินิจฉัยจากแพทย์ ผู้ป่วยโรคเกาต์ ได้รับการรักษาด้วยยา Colchisine หลังรับประทานยา ผู้ป่วยมีอาการฝ่ามือฝ่าเท้าลอก มีผื่นตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดข้อ นอนราบไม่ได้ อีก ๑ สัปดาห์ต่อมาผู้ป่วยไปหาแพทย์อีกครั้ง ด้วยอาการแขนขาอ่อนแรง นั่งและเดินไม่ได้ แพทย์วินิจฉัยว่า เป็นการแพ้ยา วันที่รับทราบความเสียหาย คือ วันที่ ทราบผลการวินิจฉัยว่า ผู้ป่วยแพ้ยา

20 วันที่ผู้ยื่นคำร้องรับทราบความเสียหาย
หากไม่มีหลักฐานแสดงว่า ผู้ยื่นคำร้องได้รับทราบผลการตรวจพบความเสียหายเมื่อใด ก็อนุโลมให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่มีหลักฐานแสดงว่า ผู้ยื่นคำร้องได้รับทราบถึงความเสียหายนั้นอย่างแน่นอน กรณีตัวอย่าง ผู้ป่วยเด็ก ประวัติคลอดเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๔ ขณะคลอดทารกมีภาวะสำลักน้ำคร่ำ และขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง หลังคลอดมีอาการชักเกร็ง ต่อมาได้รับการส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงขึ้น แพทย์นัดตรวจติดตามอาการต่อเนื่อง ต่อมาวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๖ พ่อแม่ได้ยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น โดยอ้างว่า เพิ่งได้รับแจ้งถึงความเสียหายที่เป็นความพิการถาวร แต่จากการตรวจสอบหลักฐาน พบว่า เด็กได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้พิการ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ ดังนั้น หากถือว่า อย่างช้าที่สุดวันที่ขึ้นทะเบียนเด็กเป็นผู้พิการ เป็นวันที่พ่อแม่เด็กทราบความเสียหาย ซึ่งเมื่อนับมาจนถึงวันที่ยื่นคำร้อง ก็เป็นการยื่นคำร้องเกิน ๑ ปี นับตั้งแต่วันที่รับทราบความเสียหาย

21 วันที่ผู้ยื่นคำร้องรับทราบความเสียหาย
การที่ผู้ยื่นคำร้องเชื่อเองว่า ผู้เสียหายจะหายได้ จึงไม่ยื่นคำร้องนั้น ไม่อาจใช้เป็นข้ออ้างที่จะยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น เกินกว่าที่ข้อบังคับฯกำหนดได้ กรณีตัวอย่าง ผู้ป่วยคลอดที่โรงพยาบาลชุมชน ขณะคลอดมีภาวะคลอดติดไหล่ และพบน้ำคร่ำผิดปกติแพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจ วินิจฉัยว่าทารกมีภาวะขาดออกซิเจนรุนแรง ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัด ผู้ป่วยไม่สามารถขยับไหล่และข้อศอกขวาได้ ตอนที่ผู้ป่วยอายุได้ ๒ เดือน พ่อแม่ได้นำผู้ป่วยไปตรวจที่โรงพยาบาลจังหวัด แพทย์ได้แจ้งผลการวินิจฉัยว่า เส้นประสาทแผงคอส่วนบนและแขนขวาบาดเจ็บในขณะคลอด จึงถือว่าได้รับทราบความเสียหายตั้งแต่วันนั้นแล้ว ส่วนการที่พ่อแม่เชื่อว่า ทารกจะหายได้ จึงไม่ยื่นคำร้องนั้น เป็นความคาดหวังผลของการรักษา ไม่ใช่ข้อยกเว้นที่จะยื่นคำร้องเกิน ๑ ปีได้

22 ประเด็นที่ ๑.๔ เป็นความเสียหายจากการรับบริการในหน่วยบริการหรือไม่
ประเด็นที่ ๑.๔ เป็นความเสียหายจากการรับบริการในหน่วยบริการหรือไม่

23 เป็นความเสียหายจากการรับบริการในหน่วยบริการหรือไม่
ความเสียหายที่เกิดจากการให้บริการของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ถือเป็นความเสียหายที่เกิดจากการให้บริการของหน่วยบริการตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้ป่วยเข้ารับบริการผ่าตัดต้อกระจกตา กับหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของโรงพยาบาลซึ่งออกให้บริการตามโครงการผ่าตัดต้อกระจกขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ณ โรงพยาบาลประจำอำเภอในจังหวัด ต่อมาผู้ป่วยเข้ารับบริการอีกครั้งด้วยอาการปวดตามากขึ้นเรื่อยๆ และมีอาการคลื่นไส้ แพทย์วินิจฉัยว่า มีการติดเชื้อที่กระจกตาและลูกตา ต่อมาแพทย์ต้องผ่าตัดเอาลูกตาซ้ายออก กรณีนี้ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพฯ วินิจฉัยว่า ความเสียหายที่เกิดจากการให้บริการของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนตามพรบ.หลักประกันสุขภาพฯ ถือเป็นความเสียหายที่เกิดจากการให้บริการของหน่วยบริการตามพรบ.หลักประกันสุขภาพฯ

24 เป็นความเสียหายจากการรับบริการในหน่วยบริการหรือไม่
ความเสียหายที่เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพฯใช้บังคับ มิใช่ความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของ “หน่วยบริการ” ตามพระราชบัญญัตินี้ สรุปความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า พรบ.นี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ เป็นต้นไป เมื่อปรากฏว่า ความเสียหายได้เกิดขึ้นก่อนที่พรบ.จะใช้บังคับ ความเสียหายดังกล่าวย่อมมิใช่ความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของ “หน่วยบริการ” ตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้ได้รับความเสียหายจึงไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายนี้กำหนด รวมถึงสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นมาตรา ๔๑ แห่งพรบ.ฉบับนี้ เพราะเมื่อผู้รับบริการได้รับความเสียหายก่อนที่จะมีการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการตามมาตรา ๔๔ แห่งพรบ.ฉบับนี้ ย่อมไม่อาจถือได้ว่า ผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

25 การพิจารณาความเสียหายเข้าเกณฑ์จ่ายเงินช่วยเหลือหรือไม่

26 ความเสียหายที่เป็นประเด็น แห่งการร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น
หากในการเข้ารับบริการครั้งเดียวกัน เกิดหลายความเสียหายให้ใช้ความเสียหายที่มีผลกระทบมากที่สุด ในการพิจารณากำหนดเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีตัวอย่าง ผู้ป่วยเข้ารับบริการคลอดบุตร หลังคลอดมีภาวะตกเลือด ต้องตัดมดลูก และต่อมาเสียชีวิต กรณีนี้ ความเสียหายที่มีผลกระทบมากที่สุด ที่จะใช้พิจารณากำหนดเงินช่วยเหลือเบื้องต้น คือ การเสียชีวิต

27 ความเสียหายที่เป็นประเด็นแห่งการร้องขอรับเงินช่วยเหลือฯ
โดยทั่วไปในการรับบริการครั้งหนึ่ง จะพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้นเพียงครั้งเดียว แต่หากภายหลังพบความเสียหายเพิ่มเติม ซึ่งเป็นความเสียหายที่ไม่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่แรก และความเสียหายนั้นมีความรุนแรงกว่าความเสียหายเดิมที่ยื่นคำร้องแล้ว ก็สามารถรับคำร้องไว้พิจารณาได้หากเข้าหลักเกณฑ์การขอให้พิจารณาใหม่ ตามมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กรณีตัวอย่าง ผู้ยื่นคำร้องเข้ารับบริการด้วยอาการเจ็บครรภ์คลอด ขณะคลอดทารกมีภาวะติดไหล่ ตรวจทารกแรกคลอดพบแขนขวาอ่อนแรง แพทย์วินิจฉัยว่า เส้นประสาทแขนขวาได้รับบาดเจ็บ คณะอนุกรรมการระดับจังหวัดได้พิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นไปแล้ว โดยจัดประเภทความเสียหายตามข้อบังคับ ๖(๓) กรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง ต่อมา ผู้ยื่นคำร้องได้ยื่นคำร้องอีกครั้ง เนื่องจากพบว่า บุตรมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดติดไหล่ และความผิดปกติทางการได้ยินของทารก เป็นความเสียหายที่ไม่อาจตรวจพบในทารกตอนแรกคลอดได้ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพฯ เห็นว่า เป็นการขอให้พิจารณาใหม่ ตามมาตรา ๕๔ แห่งพรบ.วิธีปฎิบัติราชการทางการปกครองฯ อันเนื่องจากมีหลักฐานใหม่(มีผลตรวจใหม่) ที่ทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้น เปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ จึงให้รับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาได้

28 ทางวิชาชีพ ทางกฎหมาย และดุลพินิจ ประกอบการพิจารณา
ในการพิจารณาว่า .... ความเสียหาย เกิดจากการรักษาพยาบาล หรือเหตุสุดวิสัย หรือพยาธิสภาพ การจัดประเภทความเสียหาย ตามข้อบังคับ ฯ ความสัมพันธ์ระหว่าง ความเสียหาย กับการรักษาพยาบาล ผลกระทบต่อผู้เสียหาย จำเป็นต้องใช้เหตุผล ทางวิชาชีพ ทางกฎหมาย และดุลพินิจ ประกอบการพิจารณา

29 แลกเปลี่ยนความคิดเห็น........


ดาวน์โหลด ppt ขั้นตอนการพิจารณา จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google