ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
เข้าร่วมประกวดผลงานวิจัยประเภทการเรียนการสอน
2
งานวิจัย เรื่อง “การพัฒนาทักษะและสร้างกิจนิสัยที่ถูกต้องในการพิมพ์แป้นอักษรบน เพื่อความรวดเร็ว แม่นยำ รายวิชาพิมพ์ดีดไทยด้วยคอมพิวเตอร์ 2 ระดับชั้น ปวช. 1/14 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ” ผู้วิจัย : นางสาวทิพย์นิภา แซ่อุ้ม อาจารย์ผู้สอนสาขาวิชา ปฏิบัติสำนักงาน สังกัด : วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ
3
ปัญหาการวิจัย 1.2 ปัญหาการวิจัย
จากการสังเกตของผู้สอน พบว่าผู้เรียนมีกิจนิสัยในการพิมพ์ แป้นอักษรบน (กดShift) ไม่ถูกต้อง จึงส่งผลให้ผู้เรียนมีผลการพิมพ์ ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ 35 คำ/นาที ตามที่วิทยาลัยฯกำหนด ผู้สอนจึงจำเป็นต้องพัฒนาทักษะและสร้างกิจนิสัยที่ถูกต้องในการพิมพ์ แป้นอักษรบน ผู้สอนจึงใช้วิธีการ สร้างข้อสอบ เรื่องการพิมพ์แป้นอักษรบน ลงโปรแกรมทดสอบพิมพ์สัมผัสภาษาไทย เวอร์ชั่น 2.0 เพื่อใช้ในการประเมินผลการเรียน การสอน หลังการเรียนรู้เรื่องการพัฒนาทักษะและสร้างกิจนิสัยที่ถูกต้องในการพิมพ์แป้นอักษรบน (ทดสอบจับเวลา 5 นาที) ปัญหาการวิจัย
4
1.3 วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการพิมพ์แป้นอักษรบน (กด Shift) ได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ เพื่อให้ผู้เรียนมีผลการพิมพ์ได้ในอัตราความเร็ว 35 คำ/นาที เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ทักษะที่ได้จากการฝึกปฏิบัติ ไปประกอบอาชีพการงานทุกแต่ละแขนงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างกิจนิสัยในการพิมพ์ที่ถูกต้องแก่ผู้เรียน
5
1.4 ผังสรุปสำคัญ ประชากร : นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้น ปีที่ 1 จำนวน 6 ห้อง ของภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 กลุ่มตัวอย่าง : นักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ห้องที่ 14 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล : แบบทดสอบพิมพ์สัมผัส เรื่องการพิมพ์แป้นอักษรบน รหัสสอบพิมพ์ ทดสอบจับเวลา 5 นาที จากโปรแกรมทดสอบพิมพ์สัมผัสภาษาไทย เวอร์ชั่น 2.0
6
1.4 ผังสรุปสำคัญ (ต่อ) การรวบรวมข้อมูล ระยะที่ 1 ขั้นเตรียมการ ให้ผู้เรียนฝึกทบทวน เพื่อพัฒนาทักษะการพิมพ์แป้นอักษรบน (กด Shift) จากโปรแกรมเรียนพิมพ์สัมผัสภาษาไทย เวอร์ชั่น 2.0 ระยะที่ 2 ขั้นดำเนินการ ผู้สอนสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการพิมพ์แป้นอักษรบน โดยกำหนดรหัสสอบ Cap1 จับเวลา 5 นาที
7
จากตาราง พบว่า ค่า t ที่คำนวณได้มีค่าเท่ากับ -27
จากตาราง พบว่า ค่า t ที่คำนวณได้มีค่าเท่ากับ ซึ่งค่า t ที่ได้จากการคำนวณมีค่ามากกว่าค่า t ในตารางนั่นคือคะแนนที่ได้จากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
8
1.5 สรุปผลการวิจัย ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของคะแนนทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน เรื่องการพัฒนาทักษะและกิจนิสัยที่ถูกต้องในการพิมพ์แป้นอักษรบน ของนักศึกษาระดับชั้น ปวช. 1 ห้องที่ 14 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 49 คน พบว่าผลสัมฤทธิ์ของคะแนนทดสอบหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้เนื่องมาจากนักศึกษาได้มีการทบทวน และเพิ่มความชำนาญในการฝึกพิมพ์แป้นอักษรบน ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ
9
ภาพประกอบ เครื่องมือที่ใช้ : แบบทดสอบพิมพ์สัมผัสภาษาไทย รหัสข้อสอบ Cap จับเวลา 5 นาทีจากโปรแกรมสอบพิมพ์ เวอร์ชั่น 2.0
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.