ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยRatri Chiwpreecha ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ ของกระแสเงินหลังหักภาษี
การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ ของกระแสเงินหลังหักภาษี อาจารย์พงศ์พัฒน์ เพ็ชรรุ่งเรือง บัณฑิตวิทยาลัยสาขาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
2
การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ ของกระแสเงินหลังหักภาษี
จุดประสงค์การศึกษา เสนอแนวทางในการคำนวณภาษี อัตราภาษีรายได้ และการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ของกระแสเงินหลังหักภาษี การประมาณกระแสเงินสดก่อนหลังภาษีเพื่อเปลี่ยนเป็นกระแสเงินสดหลังหักภาษีเกี่ยวข้องกับการปรารถนา ผลกระทบของภาษีซึ่งอาจมีผลต่อการตัดสินใจ เปรียบทางเลือกเพื่อเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด โดยวิธี PW, AW และ ROR จะได้นำมาพิจารณาจากกระแสเงินหลังหักภาษี นอกจากนั้นผลกระทบของภาษียังมีผลต่อการวิเคราะห์การทดแทน
3
การคำนวณภาษีรายได้ (Income Tax)
รายได้เบื้องต้น (Gross income: GI) หมายถึง ผลรวมของรายได้จากผลผลิตของบริษัทและรายได้จากแหล่งอื่นๆ เช่น การขายทรัพย์สิน การขายลิขสิทธิ์ และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รายได้จะถูกแสดงในบัญชีงบกำไรขาดทุนในส่วนของรายได้ ภาษีรายได้ (Income Tax) หมายถึง จำนวนภาษีที่คิดจากรายได้ ซึ่งจะต้องส่งภาษีให้กับตัวแทนของรัฐบาล ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน (Operating expenses; E) หมายถึง ผลรวมของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจาการดำเนินธุรกิจ ค่าใช้จ่ายเป็นส่วนลดภาษี
4
การคำนวณภาษีรายได้ (Income Tax)
จำนวนของ GI และ E ต้องทำการประมาณเพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ รายได้เบื้องต้น – ค่าใช้จ่าย = GI – E รายได้ที่ทำไปคิดภาษี (Taxable income; TI) รายได้สุทธิที่จะนำไปคิดภาษีสำหรับบริษัท ค่าเสื่อมราคา (D) และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะถูกนำมาคิด TI = รายได้เบื้องต้น – ค่าใช้จ่ายดำเนินการ – ค่าเสื่อมราคา TI = GI – E – D [14.1]
5
การคำนวณภาษีรายได้ (Income Tax)
อัตราภาษี (Tax rate; T) เปอร์เซ็นต์ของภาษี และภาษีสามารถคำนวณได้จากสมการ Taxes = ภาษี = รายได้ที่นำไปคิดภาษี อัตราภาษี Taxes = (TI) (T) [14.2] กำไรสุทธิหลังหักภาษี (Net profit after taxes; NPAT) จำนวนเงินที่เหลืออยู่ในแต่ละปีของรายได้ที่หักภาษีแล้ว NPAT = รายได้ที่นำไปคิดภาษี – ภาษี = TI – (TI) (T) NPAT = (TI) (1-T) ตาราง 14.1 หน้า 260
6
การคำนวณภาษีรายได้ (Income Tax)
อัตราภาษีแบบก้าวหน้า จะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กมีข้อได้เปรียบอยู่เล็กน้อย เนื่องจากการคำนวณภาษีแบบข้างต้น มันยากสำหรับคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของ TI ดังนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ ซึ่งใช้อัตราภาษีเฉลี่ยซึ่งสามารถคำนวณได้ดังนี้ อัตราภาษีเฉลี่ย (Average tax rate) = taxes/TI [14.4]
7
การคำนวณภาษีรายได้ (Income Tax)
จากที่กล่าวมาเบื้องต้นภาษีประกอบด้วยภาษีสหพันธ์ ภาษีของรัฐ และภาษีท้องถิ่น เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ เราจะใช้อัตราภาษีเดี่ยวที่เรียกว่า อัตราภาษีที่แท้จริง (effective tax rate; Te) ซึ่งอัตราภาษีที่แท้จริงสามารถคำนวณได้ดังนี้ Te = state rate + (1-staterate)(federal rate) [14.5] Taxes = (TI) (Te) [14.6] ตัวอย่าง 14.1 หน้า 261
8
กระแสเงินสดก่อนและหลังหักภาษี (Cash Flow tax)
จะเห็นว่ากระแสเงินสดสุทธิ (net cash flow ; NCF) หมายถึง กระแสเงินสดจริงของแต่ละปี ซึ่งคำนวณจากกระแสเงินสดรับคูณด้วยกระแสเงินสดจ่าย เนื่องจาก NCF จะถูกนำมาใช้ประเมินทางเลือกโดยวิธี PW, AW, ROR และ B/C ในบทนี้กระแสเงินสดสุทธิจะต้องถูกคำนวณใหม่โดยมีการพิจารณาค่าเสื่อมราคาและภาษีโดย NCF จะแทนด้วยกระแสเงินสดก่อนหักภาษี (Cash flow before taxes ; (FBT))
9
กระแสเงินสดก่อนและหลังหักภาษี (Cash Flow tax)
และอีกเทอมที่ใช้คือ กระแสเงินสดหลังหักภาษี (Cash flow After taxes ; CFAT) ในบทนี้จะกล่าวถึงวิธีการในการเปลี่ยน (FBT) ไปเป็น CFAT ในการประเมินทางเลือกในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้นยังคงใช้วิธีเดิมและแนวทางเดิมในการเลือกทางเลือกโดยใช้กระแสเงินสดหลังหักภาษีแล้ว
10
กระแสเงินสดก่อนและหลังหักภาษี (Cash Flow tax)
CFBI เกิดจากการประมาณค่าจากเงินลงทุน มูลค่าซากที่เกิดขึ้น รายได้และค่าใช้จ่าย CFBT = รายได้เบื้องต้น – ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน – เงินลงทุน + มูลค่าซาก = GT - E – P + S จากบทต้น P คือเงินลงทุน โดยส่วนใหญ่จะเกิดที่ปีที่ 0 และ S คือมูลค่าซากในที่ n เมื่อเราสามารถหาภาษีได้ CFAT จะเป็นสมการ CFAT = CFBT – Taxes [14.8]
11
กระแสเงินสดก่อนและหลังหักภาษี (Cash Flow tax)
ซึ่ง Taxes สามารถคำนวณได้จาก (TI) (T) หรือ (TI) (Te) จากสมการที่ 14.1 ค่าเสื่อมราคา D จะถูกนำมาหักจากเงินรายได้เบื้องต้น ซึ่งเราจะต้องเข้าใจถึงบทบาทของค่าเสื่อมราคาต่อการคำนวณ CFAT ค่าเสื่อมราคาไม่ใช่กระแสเงินสดแต่ค่าเสื่อมราคาจะถูกนำมาหักเพื่อนำมาคิดภาษี โดยค่าเสื่อมราคานี้จะไม่ได้แสดงอย่างชัดเจน ในกระแสเงินสด ดังนั้นจากสมาการ (14.7) และ (14.8) CFAT = GI – E – P + S – (GI – E – D) (Te)
12
ตารางแสดงวิธีการคำนวณ CFBT และ CFAT
13
ตัวอย่าง ที่ 14.3 หน้าที่ 265 และ การบ้าน
ข้อที่ 14.1 หน้าที่ 279 ข้อที่ 14.3 หน้าที่ 279 ข้อที่ 14.5 หน้าที่ 280
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.