ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยThiang Sitdhirasdr ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ชื่อเรื่อง การใช้สื่อแบบฝึกทักษะภาพสามมิติเพื่อพัฒนาการเรียน การสอนหน่วยที่ 1 การบำรุงรักษาเครื่องยนต์เล็ก วิชางานเครื่องยนต์เล็ก รหัส ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. ปีที่ 2 สาขาวิชางานยานยนต์ ชื่อผู้วิจัย นายสุรศักดิ์ สืบภู่ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก บ้านโป่ง จ. ราชบุรี
2
ปัญหาการวิจัย จากการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมาพบว่าผู้เรียนวิชางานเครื่องยนต์เล็กของสาขาวิชางานเครื่องยนต์ที่ผู้วิจัยสอนอยู่นี้มีอุปสรรคการอธิบายการทำงาน และการบำรุงรักษาชิ้นส่วนเครื่องยนต์เล็ก ทำให้ประสิทธิภาพการเข้าใจบทเรียนไม่ดีพอ ผู้วิจัยได้ศึกษาสื่อการสอนภาพสามมิติจากสำนักพัฒนาเทคนิคศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(2547:1-40) พบว่าน่าจะนำมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อแบบฝึกทักษะให้ผู้เรียนได้ จึงได้ทำวิจัยการใช้สื่อชุดนี้ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้วิชางานเครื่องยนต์เล็ก
3
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียนจากการใช้ แบบฝึกทักษะ วิชางานเครื่องยนต์เล็ก รหัสวิชา 2101 – 2103 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ระดับ ปวช.ปีที่ 2 สาขาวิชางานยานยนต์
4
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ตัวแปรต้น แบบฝึกทักษะภาพสามมิติ ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเครื่องยนต์เล็ก
5
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้น ปวช.2/1-2/2 วิทยาลัยเทคโนโลนีดอนบอสโก บ้านโป่ง สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน เขตการศึกษา 5 จังหวัดราชบุรี จำนวน 47 คน
6
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 2 ชุดๆละ 20 ข้อ ครอบคลุมเนื้อหาสาระตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแผนการเรียนรู้ ครูผู้สอนได้ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบ ได้แก่ ตรวจสอบความตรง ความเป็นปรนัย ความเชื่อมั่น อำนาจจำแนก และความยากง่าย
7
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้ใช้ค่าสถิติดังนี้ ค่าสถิติสำหรับการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ค่าเฉลี่ย( )ใช้ในการวิเคราะห์ระดับคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ใช้ในการวิเคราะห์การกระจายของคะแนน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย (C.V.) ใช้ตรวจสอบประสิทธิภาพการสอน ค่า t-test (Dependent) ใช้ในการทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อน เรียนและหลังเรียน 2. ค่าสถิติสำหรับการตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ค่า IC ใช้ตรวจสอบความตรงและความเป็นปรนัยของแบบทดสอบ ค่า r (วิธีสอบซ้ำ Test – retest) ใช้ตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น ค่า p และค่า r ใช้ตรวจสอบอำนาจจำแนกและความยากง่าย
8
การประเมินผล N D D2 t-test ก่อนเรียน-หลัง เรียน 47 -431 4841
การเปรียบเทียบความแตกต่างของการทดสอบก่อนการเรียนและหลังเรียนวิชางานเครื่องยนต์เล็ก ( ) ของนักเรียนชั้นปวช. 2/1 - 2/2 สาขาวิชางานยานยนต์ เรื่องการบำรุงรักษาเครื่องยนต์เล็ก การประเมินผล N D D2 t-test ก่อนเรียน-หลัง เรียน 47 -431 4841 ** **ค่านัยสัมคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
9
สรุปผลการวิจัย พบว่าเมื่อตรวจสอบความแตกต่างของคะแนนการทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนด้วย t-test พบค่า t = ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงกล่าวได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่เชื่อมั่นได้ถึง 99 % ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นปวช.2/1-2/2 สาขางานยานยนต์ วิชางานเครื่องยนต์เล็ก( )ที่เรียนด้วยวิธีการสอนตามความคาดหวังของนักเรียนมีความแตกต่างกัน ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า สื่อแผ่นใส3มิติและวิธีการสอนตามความคาดหวังของนักเรียนช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.