ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การฟังและการอ่านให้เกิดวิจารณญาณ
2
การฟังและการอ่านให้เกิดวิจารณญาณ
คำว่าวิจารณญาณ แยกได้เป็น วิจารณ+ญาณ วิจารณ หรือ วิจารณ์ หมายถึง การคิดใคร่ครวญโดย ใช้เหตุผล ญาณ หมายถึงปัญญา หรือความรู้ใน ขั้นสูง ความหมายของ วิจารณญาณ คือปัญญาที่ สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้องได้
3
การฟังและการอ่านให้เกิดวิจารณญาณนั้น จะต้องฟังและอ่าน ให้สัมฤทธิ์ผลก่อนแล้วพัฒนาต่อไปอีก สรุปรวมได้ดังนี ้ ผู้ฟังผู้อ่านพิจารณาว่าผู้พูดผู้เขียนมีความมุ่งหมายในการพูด การเขียนครั้งนั้นๆ อย่างไรบ้าง เรื่องที่ได้ฟังได้อ่านมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เรื่องที่ได้ฟังได้อ่านมีสารประโยชน์ อย่างไรบ้าง ผู้ฟังผู้อ่านวินิจฉัยว่าผู้พูดผู้เขียนมีความเข้าใจอย่างไร ผู้ฟังผู้อ่านพิจารณาได้ว่าผู้พูดผู้เขียนใช้วิธีการพูดการเขียน หรือวิธีการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดอย่างไร
4
การบวนการฟังการอ่านให้เกิดวิจาณญาณมีเป็นขั้นๆ อย่างไร
การบวนการฟังการอ่านให้เกิดวิจาณญาณมีเป็นขั้นๆ อย่างไร การฟังการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ ใคร่ครวญ วินิจฉัย ประเมิณค่า ได้ยินได้อ่าน รับรู้ เข้าใจ
5
พัฒนาวิจารณญาณโดยฟังและอ่านสารประเภทต่างๆ
สิ่งแรกที่จะต้องเข้าใจ คือ การจำแนกสารตามลักษณะ ของเนื้อหา จำแนกสารเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ สารให้ความรู้ สารโน้มน้าวใจ สารจรรโลงใจ
6
สารให้ความรู้ สารให้ความรู้บางชนิดไม่สลับซับซ้อน แต่บางชนิด จำเป็นต้องเพ่งพินิจ เช่น เมื่อเราฟังหรืออ่านข่าวการให้สัมภาษณ์ของผู้มี อำนาจหน้าที่ สารชนิดนี้ต้องอ่านรายละเอียดต่างๆ ให้เข้าใจครบถ้วน เพื่อจะได้ไม่สับสน เมื่อฟังหรืออ่านข่าวการให้สัมภาษณ์ของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เราต้องเพ่งพินิจไปอีกแง่ หนึ่ง เช่น นักข่าวป้อนคำถามเพื่อจุดประสงค์อะไร น้ำเสียงของผู้ตอบเป็นอย่างไร เชื่อได้มากน้อย เพียงไร
7
สารโน้มน้าวใจ การฟังการอ่านสารโน้มน้าวใจ อาจพิจารณาในแง่ต่างๆ ดังนี้ คือ สารนั้นเรียกร้องหรือดึงดูดความสนใจ สารที่นำมาเสนอนั้น สนองความต้องการพื้นฐาน อย่างไร เสนอแนวทางที่จะสนองความต้องการหรือแสดงให้ เห็นว่าจะได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง สารนั้นเร่งเร้าให้เชื่อถือเกี่ยวกับสิ่งใด ภาษาที่ใช้โน้มน้าวใจนั้น มีลักษณะเร้าอารมณ์ อย่างไรบ้าง
8
สารจรรโลงใจ การฝึกนั้นมีวิธีการที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้
ฟังและอ่านด้วยความตั้งใจ ทำความเข้าใจเนื้อหาสำคัญ คิดพิจารณาว่าสารนั้นจรรโลงใจในแง่ใด พิจารณาภาษาที่ใช้ว่าเหมาะสมกับรูปแบบ เนื้อหา และผู้รับสารหรือไม่
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.