ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยUng Pramoj ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
โครงสร้างระบบประสาท แบ่งตามตำแหน่งและโครงสร้างได้เป็น 2 ระบบ คือ 1. ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervousหรือ CNS) ได้แก่ สมองและไขสันหลัง 2. ระบบประสาทรอบนอก (peripheral nervous sytem: PNS) ได้แก่ เส้นประสาทสมองและเส้นประสาทไขสันหลัง
4
ไขสันหลัง ไขสันหลัง (spinal cord) เป็นส่วนของระบบประสาทที่ต่อออกมาจากเมดัลลาออบลองกาตา อยู่ภายในกระดูกสันหลัง ตั้งแต่กระดูกสันหลังข้อแรกจนถึงกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอวข้อที่ 2 และมีเยื่อหุ้มเช่นเดียวกับสมอง ไขสันหลังบริเวณอกและเอวขยายกว้างกว่าส่วนอื่น ๆ เมื่อเลยกระเบนเหน็บลงไปแล้ว จะเรียวเล็กจนมีลักษณะเป็นเส้นไม่มีเยื่อหุ้ม ดังนั้นการฉีดยาเข้าที่บริเวณไขสันหลังและเจาะน้ำบริเวณไขสันหลังจึงทำกันต่ำกว่ากระดูกสันหลังเอวข้อที่สองลงมา
6
เส้นประสาทไขสันหลัง เส้นประสาทที่แยกออกจากไขสันหลังมีทั้งหมด 31 คู่ เป็นเส้นประสาทประสม(mixed never)แบ่งออกเป็นทั้งหมด 5บริเวณดังนี้ เส้นประสาทบริเวณคอ (cervical never) 8 คู่ เส้นประสาทบริเวณอก (thoracal never) 12 คู่ เส้นประสาทบริเวณเอว (lumbar never) 5 คู่ เส้นประสาทบริเวณกระเบนเหน็บ (sacral never) 5 คู่ เส้นประสาทบริเวณก้นกบ (coccygeal never) 1 คู่ เส้นประสาทที่ไขสันหลังไปเลี้ยงแขนและขาจะมีความยาวมากกว่าไปเลี้ยงลำตัว
8
ระบบประสาทอัตโนมัติ เป็นระบบประสาทที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ (involuntary nervous system)เป็นระบบประสาทที่ควบคุมอวัยวะที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ เช่น กล้ามเนื้อเรียบและอวัยวะต่าง ๆ กล้ามเนื้อหัวใจที่หัวใจ และต่อมต่าง ๆ ให้ทำงานโดยอัตโนมัติ ทำให้ร่างกายดำเนินชีวิต ได้อย่างปกติ การทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติประกอบด้วย เส้นประสาทของระบบประสาทอัตโนมัติ มี 2 ตอน คือ • ตอนแรก คือ เส้นประสาทหน้าปมประสาทหรือเซลล์ประสาทก่อนแกลงเกลีย มีเยื่อไมอีลินห่อหุ้ม เชื่อมระหว่างระบบประสาทส่วนกลางกับปมประสาทอัตโนมัติ • ตอนที่ 2 คือ เส้นประสาทหลังปมประสาทหรือเซลล์ประสาทหลังแกงเกลีย เป็นเส้นประสาทที่เชื่อมระหว่างปมประสาทอัตโนมัติ กับอวัยวะตอบสนอง ปมประสาทอัตโนมัติ • เป็นส่วนที่มีตัวเซลล์ประสาทของระบบประสาทอัตโนมัติ ที่อยู่นอกระบบประสาทกลางอยู่และเป็นตำแหน่งที่มีการไซแนปส์ของเซลล์ประสาทหน้าปมประสาทกับเซลล์ประสาทหลังปมประสาท
9
ระบบประสาทอัตโนวัติ แบ่งออกเป็น 2 ระบบ โดยมีลักษณะในการทำงานตรงกันข้าม คือ • ระบบประสาทซิมพาเทติก (symoathetic nerve) • ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasymoathetic nerve)
12
ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nerve)
13
ผิวหนังและการสัมผัส ผิวหนังปกคลุมห่อหุ้มร่างกายทั้งหมด ซึ่งภายในมีปลายประสาทรับความรู้สึกมากมาย เพื่อรับรู้การสัมผัส การกดความเจ็บ และอุณหภูมิร้อนเย็น ระบบผิวหนังมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และยังมีหน้าที่เป็นอวัยวะขับเหงื่อและไขมันด้วย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.