ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
การพัฒนาศักยภาพด้านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Desirable characteristic assessment) สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หน่วยที่ 1 ความสำคัญของ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
2
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Desirable characteristic)
คุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน อันเป็นคุณลักษณะที่สังคมต้องการครอบคลุมถึงด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึก ที่ต้องการปลูกฝังให้กับผู้เรียนให้ติดเป็นนิสัยจนเป็นวิถีชีวิตหรือบุคลิกภาพ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก (หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551)
3
ธรรมชาติของการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นการวัดทางอ้อม ไม่สามารถวัดได้โดยตรงจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 การประเมินมีความคลาดเคลื่อนได้ง่ายเนื่องจากอารมณ์หรือความรู้สึกอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์หรือเงื่อนไข การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไม่มีถูก-ผิด แหล่งข้อมูลในการประเมินสามารถวัดได้จากหลายฝ่าย การประเมินต้องใช้สถานการณ์จำลองเป็นเงื่อนไขให้ผู้ถูกวัดตอบข้อคำถาม
4
ความสำคัญของการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ความสำคัญต่อครู ช่วยให้ทราบเกี่ยวกับพฤติกรรมเบื้องต้นของนักเรียน ครูก็จะรู้ว่า นักเรียนแต่ละคนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับใด เพื่อจัดกิจกรรมพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการ ความสำคัญต่อการแนะแนว ช่วยให้แนะแนวทางในการประพฤติ ปฏิบัติตนในทางที่เหมาะสม ตลอดจนช่วยให้สามารถแก้ปัญหาทางจิตวิทยา อารมณ์สังคมและบุคลิกภาพต่างๆของนักเรียน
5
ความสำคัญของการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ความสำคัญต่อการบริหาร ช่วยในการวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมของโรงเรียน ตลอดจนการบริหารโรงเรียน ช่วยให้ทราบว่าปีต่อไปจะวางแผนงานโรงเรียนอย่างไร เช่นการส่งเสริมเด็กที่ประพฤติดีการปรับปรุงกิจกรรมของโรงเรียนให้ดีขึ้น ความสำคัญต่อผู้ปกครอง ช่วยให้ทราบว่าเด็กในปกครองของตนนั้นมีความเจริญงอกงามเป็นอย่างไร เพื่อเตรียมการส่งเสริมความประพฤติของนักเรียน ตลอดจนพฤติกรรมของเด็ก
6
ความสำคัญของการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ความสำคัญต่อการวิจัย ช่วยวินิจฉัยข้อบกพร่องในการบริหารงานของโรงเรียนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูและข้อบกพร่องของนักเรียน นอกจากนี้ยังนำไปสู่การวิจัยในชั้นเรียนหรือการวิจัยเชิงทดลองต่าง ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษามาก
7
ขั้นตอนของการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวคิดทฤษฏี หลักการที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาแนวปฏิบัติในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียนก่อนการพัฒนา ขั้นตอนที่ 5 สร้างหรือเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม/สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนา ขั้นตอนที่ 6 ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางที่กำหนดไว้และประเมิน เป็นระยะ ๆ ขั้นตอนที่ 7 รายงานผลการพัฒนาต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.