งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การใช้ไขมันในอาหารโคนม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การใช้ไขมันในอาหารโคนม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การใช้ไขมันในอาหารโคนม
ผศ.ดร.วิโรจน์ ภัทรจินดาและวัชรวิทย์ มีหนองใหญ่ ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ. ขอนแก่น 40002 อาหารไขมันที่ใช้ในอาหารสัตว์มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของพลังงาน เพิ่มการดูดซึมโภชนะที่ละลายในไขมัน ลดความเป็นฝุ่น ซึ่งสามารถเสริมในรูปเมล็ดพืชน้ำมัน น้ำมันพืช-สัตว์ และไขมันเม็ด ไขมันที่พบทั่วไปจะเป็นชนิดมีสายคาร์บอนยาว (Long-chain fatty acids) เช่น Triglyceride , Phospholipids nonesterified fatty acids และเกลือของ Long-chain fatty acids ซึ่งในเมล็ดพืชน้ำมันและน้ำมันพืชจะอยู่ในรูปกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว(unsaturated fatty acids) เป็นส่วนใหญ่ ตรงข้ามกับน้ำมันวัว (saturated fatty acids) การเสริมไขมันในอาหารโคนม ในอาหารโคนม(TMR)ทั่วไปจะมีไขมัน 2-3% ซึ่งโคที่อยู่ในภาวะความเครียด โคช่วงแรกการให้น้ำนม โคให้ผลผลิตสูง จะกินได้น้อยกว่าความต้องการ จึงต้องมีการชดเชยพลังงานให้สูงขึ้น ซึ่งสามารถเสริมได้อีก 3-4 %ไขมัน (Jenkin, 1997) การเสริมจะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมมากขึ้น4.5 %ในโคช่วงแรกการให้น้ำนม, เพิ่ม 3.6%ในระยะสูงสุดของการให้นม และเพิ่ม 3.4%ในระยะกลาง-ปลายการให้นม (Chilliard,1993) การเกิด Hydrogenation ของไขมัน R-CH=CH-(CH2)4-COOH + H2 ----> R-(CH2)6-COOH กระบวนการเมทาบอลิซึมของไขมัน เมื่อโคกินอาหารที่มีไขมันเข้าไปจุลินทรีย์ในกระเพาะหมักจะเปลี่ยนแปลงไขมันให้อยู่ในสภาพอิ่มตัว(hydrogenation of saturated fatty acid )ในกระเพาะรูเมน ซึ่งไขมันชนิดอิ่มตัวจะมีความเป็นพิษหรือจำกัดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์น้อยกว่าชนิดไม่อิ่มตัว การย่อยได้ของไขมันในเมล็ดธัญพืชจะต่ำกว่าการเสริมในรูปน้ำมันพืช-สัตว์ และการย่อยได้จะต่ำลงในวัตถุดิบไขมันที่มีค่าiodine value มากกว่า40 (Jenkins, 1993 ) ผลการเสริมไขมัน มีแนวโน้มเพิ่มไขมันในน้ำนม แต่ลดระดับโปรตีนน้ำนมลง ดังนั้นจึงควรเพิ่มระดับโปรตีนในสูตรอาหารหรือใช่ร่วมกับ by pass protein (Wu and Huber, 1994) การใช้ไขมันในระดับสูงจะลดการดูดซึมของแคลเซียมและแม็กนีเซียม จึงควรเพิ่มระดับชดเชย การเสริมไขมันช่วยเพิ่มอัตราการผสมติดและตั้งท้อง เพราะเพิ่มปริมาณไข่อ่อนที่สมบูรณ์และขนาดไข่อ่อน ช่วยลดระดับ insulin และเพิ่มระดับ progesterone เพื่อพยุงการตั้งท้อง (Staple et al, 1998) การกิน แร่ธาตุ โปรตีน คาร์โบไฮเดรท จุลินทรีย์ พลังงานโปรตีน ดูดซึม น้ำนม กระเพาะหมัก ไขมันเม็ด ลำไส้เล็ก การเปลี่ยนไขมันเหลวเป็นไขมันเม็ด (Saponification) R-COOH + NaOH > R-COO- + Na+ + H2O สรุป ระดับการเสริมอาหารไขมันขึ้นกับปัจจัยชนิดไขมัน ระยะและปริมาณการให้ผลผลิต วัตถุดิบอาหาร อายุโค สิ่งแวดล้อมและรูปแบบการจัดการฟาร์ม ระดับการใช้ไขมันในอาหารสูตรรวม(TMR)ไม่ควรเกิน 6-7% ในโคช่วงแรกการให้น้ำนมควรเสริมไขมันในระดับที่ต่ำกว่า 6% การใช้ในรูปไขมันเม็ด เมล็ดพืชน้ำมันหรือใช้ร่วมกับน้ำมันจะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการกินที่ลดลง ทำให้โคได้รับพลังงานและเยื่อใยเพียงพอ การใช้ไขมันเม็ด ไขมันเม็ดหรือ bypass fat มีคุณสมบัติไหลผ่านไปย่อยที่ลำไส้เล็ก และไม่รบกวนการเจริญของจุลินทรีย์ มีไขมัน 82 %, แคลเซียม 9%, ความชื้น 3%, NEL 6.5 Mcal/kg. การเสริมในรูปไขมันเม็ด ( 2.3% ไขมัน)เทียบกับในรูปน้ำมัน(วัวหรือพืช)จะเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ 1.1 เทียบกับ 0.1 กก.น้ำนม/วัน (Grummer, 1994) การใช้เมล็ดพืชน้ำมันสามารถใช้ทดแทนไขมันเม็ด แต่จะตอบสนองลดลงเมื่อใช้เทียบเท่าการเสริมไขมัน 2% การใช้ไขมันเม็ดในระดับสูงทำให้การกินได้ลดลง วิธีใช้แบบโรยบนอาหารโคจะไม่ชอบกิน เพราะรสชาติต่ำ แต่การผสมในอาหารข้น ผสมกับเมล็ดธัญพืช จะทำให้กินได้ดีขึ้น (Grummer et al., 1990) เอกสารอ้างอิง Chilliard, Y Dietary fat and adipose tissue metabolism in ruminants, pig, and rodent: a review. J. Dairy Sci. 76: Grummer, R.R Fat sources and levels for high milk production Pp in Proc.Southwest Nutrition and Management Conference. Uni. of Arizona, Tucson, AZ. Grummer, R.R., M.L. Hatfield, and M.R. Dentin Acceptability of fat supplements in four dairy herds. J. Dairy Sci. 73: Jenkins, T.C Lipid metabolism in the rumen. J. Dairy Sci. 76: Jenkins, T.C Success of fat in dairy rations depends on the amount. Feedstuffs.69(2): Staple, C.R., J.M. Burke, and W.W. Thatcher Influence of supplemental fats on reproductive tissue and performance of lactating cows. J. Dairy Sci. 81: Wu,Z., and J.T. Huber Relationship between dietary fat supplementation and milk protein concentration in lactating cows. A review. Livest. Prod. Sci. 39:


ดาวน์โหลด ppt การใช้ไขมันในอาหารโคนม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google