ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
3 ลักษณะของประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา
ความหมาย “ประเทศที่มีระดับรายได้ที่แท้จริงเฉลี่ยต่อบุคคลต่ำเมื่อเปรียบเทียบ กับประเทศอื่นๆ”
2
World Bank’s Classification System
ใช้ Gross National Income per capita เป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจ ประเทศต่างๆ ถูกจัดเป็นกลุ่มโดยใช้ GNI ในปี 2000 ได้ดังนี้ Low Income Countries (LIC): $ 755 Lower-Middle Income Countries (LMC): $ 756-2,995 Upper-Middle Income Countries (UMC): $ 2,995-9,265 High Income Countries: $ 9,266 เกณฑ์ที่ใช้ในการจัดกลุ่มประเทศตามฐานะทางเศรษฐกิจนี้ เป็นการจัดโดยธนาคารโลกเท่านั้น องค์กรอื่นๆ มีตัวชี้วัดอื่นๆ ในการจัดกลุ่มประเทศต่างๆ เช่นกัน ซึ่งอาจทำให้ได้กลุ่มประเทศที่แตกต่างกัน อย่างเช่น กลุ่มประเทศ high income ของธนาคารโลก ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วทางเศรษฐกิจ แต่ UN ถือว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา โดยมีตัววัดตัวอื่น เช่น ดูการพัฒนาด้านการศึกษาหรือตัววัดทางด้านสุขภาพ ซึ่งยังพบว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศยังมีการศึกษาต่ำและไม่ได้รับการบริการทางด้านสุขภาพที่เพียงพอ ตัวอย่างประเทศที่มีรายได้สูงแต่ยังไม่มีการพัฒนาด้านสังคมที่ดีพอ คือ ประเทศที่ส่งออกน้ำมัน เช่น Kuwait, the United Arab Emirates UNDP ก็ใช้ HDI ในการจัดกลุ่มประเทศ
3
3 ลักษณะของประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา
ความหมาย “ประเทศที่มีระดับรายได้ที่แท้จริงเฉลี่ยต่อบุคคลต่ำเมื่อเปรียบเทียบ กับประเทศอื่นๆ” Jacob Viner, “The Economic of Development” “ประเทศที่มีโอกาสหรือลู่ทางอย่างดีในการใช้ทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นทุน แรงงานหรือทรัพยากรธรรมชาติให้มากขึ้น เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรปัจจุบันให้เพิ่มสูงขึ้นหรือไม่ให้ระดับความเป็นอยู่ของประชากรที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตลดต่ำลง”
4
3 ลักษณะของประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา (ต่อ)
พิจารณาได้จากความสามารถของประเทศนั้นๆ ในการจัดหาสินค้าและบริการในการอุปโภคบริโภคให้กับประชากร สรุป: “ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ยากจนและยากจนมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งเกิดจากความไม่สามารถที่จะใช้ทรัพยากรที่ประเทศมีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ได้ แต่ยังมีโอกาสที่จะนำเอาทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรให้ดีขึ้น”
5
3 ลักษณะของประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา (ต่อ)
สภาพที่คล้ายคลึงกันของประเทศกำลังพัฒนา มีดังนี้ มีอัตราการเพิ่มของประชากรค่อนข้างสูง จากอัตราการเกิดสูง มีกำลังแรงงานในภาคเกษตรมาก ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาต่ำ ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ (low levels of productivity) มีรายจ่ายเกี่ยวกับอาหารและสิ่งจำเป็นในสัดส่วนที่สูงเทียบกับรายได้ การสะสมทุนหรือออมทรัพย์มีในกลุ่มเล็กๆ ที่ค่อนข้างร่ำรวย สินค้าออกเป็นวัตถุดิบ/สินค้าเกษตร สินค้าเข้าเป็นสินค้าอุตสาหกรรม อัตราการว่างงานค่อนข้างสูง มีอัตราการพึ่งพา (dependency ratio) สูง ประสิทธิภาพการผลิตในภาคเกษตรต่ำ เนื่องจากขนาดการผลิตส่วนใหญ่เป็นขนาดเล็ก พื้นที่ถือครองต่อครัวเรือนเกษตรต่ำ ประเทศไทยอยู่ที่ครัวเรือนละประมาณ 10 กว่าไร่ (ประมาณ 2 ha/ครัวเรือน) ก็ไม่แตกต่างกันมากกับประเทศอื่นๆ แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่แตกต่างกันมากกับเกษตรกรในประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่ขนาดเฉลี่ยเป็นสิบเฮกตาร์ขึ้นไป ถึง100 โดยเฉพาะในประเทศบราซิล ที่ต่ำกว่า 50 ถือว่าเป็นฟาร์มขนาดเล็ก พื้นที่ขนาดเล็ก ย่อมไม่เกิดการผลิตที่ประหยัดต่อขนาด นอกจากนี้ ผลผลิตที่ต่ำยังเกิดจากผลิตภาพทางด้านแรงงานที่ต่ำด้วย ( low labour productivity) คือ มีการแรงงานมากในการผลิต มากกว่าทุน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีก เช่น การเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร ความรู้ในการผลิต แรงจูงใจในการผลิต การตลาด สินเชื่อ (จะเรียนภายหลัง) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ต้องลงทุนในเครื่องมือในการผลิตหรือสินค้าประเภททุนพร้อมๆ กับการลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีทักษะในการผลิตและการจัดการฟาร์มมากขึ้น ผ่านการลงทุนด้านการศึกษาและการฝึกอบรม ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสถาบันที่เกี่ยวข้องเพื่อทำให้การลงทุนด้านทรัพยากรทุนและมนุษย์มีศักยภาพเพิ่มขึ้น เช่น การปฎิรูปที่ดิน สินเชื่อ เป็นต้น 4.ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายด้านอาหารและสิ่งจำเป็นในการดำรงชีพ แสดงว่ารายได้ต่ำ รายได้ส่วนใหญ่จะมีเพียงพอแค่จ่ายค่าอาหารและสิ่งจำเป็นพื้นฐานเท่านั้น ไม่มีเงินเหลือพอจะจับจ่ายใช้สอยด้านอื่นในสิ่งอำนวยความสะดวก ส่งผลต่อในประเด็นต่อไป 5.มีการออมต่ำ หรือการสะสมทุนของประเทศมีน้อย 6. สินค้าส่งออกเป็นสินค้าวัตถุดิบหรือสินค้าขั้นปฐมหรือสินค้าเกษตร (ใช้เป็นตัวชี้วัดโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง) สินค้านำเข้าเป็นสินค้าอุตสาหกรรมหรือเครื่องจักรกล หรือสินค้าสำเร็จรูปมากกว่า 7. ในด้านการทำงาน พบว่า ส่วนใหญ่ประเทศกำลังพัฒนา มีอัตราการว่างงานค่อนข้างสูง และมีการทำงานไม่เต็มที่ เช่น เกษตรกรว่างงานนอกฤดูการผลิต ก่อให้เกิดอัตราการพึ่งพาสูง หมายถึง คนทำงาน 1 คนต้องเลี้ยงคนที่ไม่ทำงานหลายคน เป็นต้น
6
3 ลักษณะของประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา (ต่อ)
Todaro เพิ่มเติมว่า ลักษณะของประเทศกำลังพัฒนานั้นจะรวม มีมาตรฐานการครองชีพที่ต่ำ การกระจายรายได้ไม่เท่าเทียมกัน ประชากรส่วนใหญ่ยากจน มีความสัมพันธ์กับประเทศที่พัฒนาแล้ว ในลักษณะพึ่งพา และขาดเสถียรภาพ เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศกำลังพัฒนาจะมีมาตรฐานการครองชีพที่ต่ำกว่า เช่น สาธารณสุข สวัสดิการสังคม การคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ การกระจายรายได้ไม่เท่าเทียมกัน คนชนบทเมื่อเทียบกับคนเมืองจะจนลงเรื่อยๆ คนที่จนที่สุดในประเทศ คือ คนที่ประกอบอาชีพเกษตรกร รองลงมาคือ คนที่ไม่มีงานทำ อันดับสามคือ กรรมการ สุดท้าย มีความสัมพันธ์กับประเทศที่พัฒนาแล้วในลักษณะพึ่งพาและขาดเสถียรภาพ คือ ต้องพึ่งพาและขอความช่วยเหลือจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งด้านการเงินและการค้า ประเทศกำลังพัฒนาเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตร เพื่อขายให้กับประเทศที่พัฒนาแล้ว จะถูกเอารัดความเปรียบจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นผู้กำหนดเงื่อนไขในการซื้อและมีอิทธิพลต่อราคาในตลาดโลก และพยายามปกป้องเกษตรกรในประเทศของตนเอง ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อกีดกั้นสินค้าที่จะเข้าไปแข่งขันกับเกษตรกรของตนเอง นอกจากนี้ บริษัทข้ามชาติของประเทศที่พัฒนาแล้วเหล่านี้ยังเป็นผู้ควบคุมการค้าระหว่างประเทศด้วย ไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง การประกันภัย การธนาคาร ตลอดจนควบคุมปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี เครื่องมือการเกษตร ยากำจัดศัตรูพืช เป็นต้น ซึ่งการต้องการการพึ่งพาและช่วยเหลือ ทำให้ถูกชักจูงโดยประเทศที่พัฒนาแล้วไปในทางที่ประเทศเหล่านั้นต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ ประเทศที่พัฒนาแล้วได้เปรียบ เช่น ให้เงินกู้ยืมในการพัฒนาประเทศ ภายใต้เงื่อนไขการปรับเปลี่ยนให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้มากขึ้น
7
4 การพัฒนาการเกษตรกับการพัฒนาชนบท
การพัฒนาการเกษตรเชื่อมโยงกับการพัฒนาชนบทอย่างไร? ประชากรในชนบทส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร การพัฒนาการเกษตรให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจในชนบทดีขึ้น ประสิทธิภาพการผลิตภาคการเกษตรที่สูงขึ้น ส่งผลให้ค่าครองชีพในชนบทต่ำ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการผลิตภาคการเกษตร นำความเจริญมาสู่ชนบทด้วย ดูบทบาทของภาคการเกษตรในการพัฒนาประเทศในบทที่ 2
8
ประชากรและแรงงานในประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนา
9
จำนวนประชากรในชนบทและภาคเกษตร จำแนกตามกลุ่มประเทศ
10
จำนวนประชากรเกษตรและนอกเกษตรของไทย ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่3-8
จำนวนประชากรเกษตรและนอกเกษตรของไทย ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่3-8
11
สัดส่วนของประชากรเกษตรและนอกเกษตรของไทย ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่3-8
สัดส่วนของประชากรเกษตรและนอกเกษตรของไทย ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่3-8
12
ระดับการศึกษาของแรงงานไทย ปี 2541 เทียบกับ ปี 2546
13
เปรียบเทียบสัดส่วนของสินค้าส่งออก ระหว่างประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้ว
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.