ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บัญชีแยกประเภทและผังบัญชี
บทที่ 5 บัญชีแยกประเภทและผังบัญชี
2
ความหมายของบัญชีแยกประเภท
สมุดบัญชีแยกประเภทจัดเป็นสมุดบัญชีขั้นปลายที่จะใช้บันทึกรายการค้าต่าง ๆ โดยในสมุดบัญชีแยกประเภทนี้จะช่วยแยกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการนำข้อมูลไปใช้ในการสรุปผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของกิจการโดยทั่วไป สมุดบัญชีแยกประเภทจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1. สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger) ใช้สำหรับการจดบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและยอดคงเหลือของบัญชีใดบัญชีหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง
3
บัญชีแยกประเภททั่วไป แบ่งออกได้ดังนี้
บัญชีแยกประเภททั่วไป แบ่งออกได้ดังนี้ 1.1 บัญชีประเภทสินทรัพย์ (Assets) หมายถึง บัญชีที่แสดงสินทรัพย์ที่กิจการเป็นเจ้าของแยกตามประเภทสินทรัพย์ เช่น บัญชีเงินสด บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินค้าคงเหลือ บัญชีวัสดุสำนักงาน บัญชีเครื่องใช้สำนักงาน บัญชีธนาคาร บัญชีที่ดิน เป็นต้น 1.2 บัญชีประเภทหนี้สิน (Liabilities) หมายถึง บัญชีที่แสดงมูลค่าของหนี้สินที่กิจการต้องชำระให้กับบุคคลภายนอก เช่น บัญชีเจ้าหนี้การค้า บัญชีเงินกู้ธนาคาร บัญชีค่าใช้จ่ายค้างจ่าย บัญชีตั๋วเงินจ่าย เป็นต้น
4
บัญชีแยกประเภททั่วไป แบ่งออกได้ดังนี้
บัญชีแยกประเภททั่วไป แบ่งออกได้ดังนี้ 1.3 บัญชีประเภทส่วนของเจ้าของ (Owner’s equity) หมายถึง บัญชีที่แสดงส่วนของเจ้าของที่เพิ่มหรือลดลง ได้แก่ บัญชีทุน บัญชีถอนใช้ส่วนตัว บัญชีรายได้ บัญชีค่าใช้จ่าย บัญชีรายได้ เมื่อมีรายได้ ทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น บัญชีค่าใช้จ่าย เมื่อมีค่าใช้จ่าย ทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง บัญชีถอนใช้ส่วนตัว เมื่อมีการถอนเงินสดและนำสินทรัพย์ไปใช้ส่วนตัว ทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง
5
2. สมุดบัญชีแยกประเภทย่อย (Subsidiary Ledger
2.1 สมุดแยกประเภทลูกหนี้ เพื่อแยกลูกหนี้เป็นรายบุคล 2.2 สมุดแยกประเภทเจ้าหนี้ เพื่อแยกเจ้าหนี้เป็นรายบุคคล
6
รูปแบบของบัญชีแยกประเภท
บัญชีแยกประเภท (Ledger Accounts) หมายถึง รูปแบบซึ่งรวบรวมการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นไว้เป็นหมวดหมู่ ต่อจากสมุดรายวันทั่วไป รูปแบบบัญชีแยกประเภทที่นิยมใช้ มี 2 รูปแบบ 1. แบบตัว ที (T) ในภาษาอังกฤษ 2. แบบมีช่องยอดคงเหลือ
7
การจัดหมวดหมู่บัญชี การจัดหมวดบัญชี การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ รายได้ และค่าใช้จ่าย เพื่อ ประโยชน์ในการอ้างอิง และสะดวกในการค้นหา แบ่งได้ 5 หมวด หมวดที่ 1 บัญชีหมวดสินทรัพย์ หมวดที่ 2 บัญชีหมวดหนี้สิน หมวดที่ 3 บัญชีหมวดส่วนของเจ้าของ หมวดที่ 4 บัญชีหมวดรายได้ หมวดที่ 5 บัญชีหมวดค่าใช้จ่าย
8
ผังบัญชี (Chart of Accounts)
เลขหน้าแสดงหมวดบัญชี เลขหลังแสดงลำดับบัญชีแต่ละประเภทในแต่ละหมวด เช่น บัญชีเงินสด เลขที่ 101 เลข 1 ด้านหน้า = หมวดสินทรัพย์ เลข 01 หลัง = ลำดับบัญชี
9
ตัวอย่างแบบผังบัญชี หมวดบัญชีชื่อบัญชี เลขที่บัญชี
1. สินทรัพย์ 101 เงินสด 102 ธนาคาร 103 ลูกหนี้ 2 หนี้สิน เจ้าหนี้การค้า 202 เงินกู้ธนาคาร 3. ส่วนของเจ้าของ ทุน-นายยุรนันต์ ถอนใช้ส่วนตัว กำไรขาดทุน 4. รายได้ รายได้ค่าโฆษณา 402 รายได้ค่าเช่า รายได้ดอกเบี้ย 5. ค่าใช้จ่าย เงินเดือน 502 ค่าพาหนะ ค่าเช่า 504 ค่ารับรอง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.