งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2557 “ประเด็นที่แตกต่างจากปีงบประมาณ 2556” โดย นพ.สุธนะ เสตวรรณา รองผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2557 “ประเด็นที่แตกต่างจากปีงบประมาณ 2556” โดย นพ.สุธนะ เสตวรรณา รองผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2557 “ประเด็นที่แตกต่างจากปีงบประมาณ 2556”
โดย นพ.สุธนะ เสตวรรณา รองผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 4 สระบุรี

2 หัวข้อนำเสนอ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2557
กรอบและแนวคิดในการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหาร จัดการ ปีงบประมาณ 2557 ประเด็นหลักในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการ งบกองทุนปี 2557 รายการที่กำหนดให้บริหารจัดการแบบวงเงินระดับเขต (Global budget ระดับเขต) ประเด็นเปลี่ยนแปลงสำคัญ ค่าบริการผู้ป่วยในทั่วไป เงินค่าเสื่อม การปรับลดค่าแรงของหน่วยบริการสังกัด สป.สธ. ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ปีงบประมาณ ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๖ กรกฏาคม ๒๕๕๖

3 1. เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2557
1. เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2557

4 เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปี 2557
ก.ตามรายการเดิมของปี 2556 รายการ ปี2556 ปี2557 เพิ่ม/ลดจากปี 2556 จำนวน ร้อยละ 1. ค่าบริการเหมาจ่ายรายหัว - เป้าหมายประชากรสิทธิ (ล้านคน) 48,445,000 48,852,000 - อัตราเหมาจ่าย (บาท/ประชากร) 2,755.60 2,895.09 139.49 5.1% - ค่าบริการเหมาจ่ายรายหัว (ล้านบาท) 133,495.04 141,430.92 7,935.88 5.9% 2. ค่าบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ (ล้านบาท) 3,276.83 2,947.00 (329.83) -10.1% 3. ค่าบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง (ล้านบาท) 4,357.79 5,178.80 821.02 18.8% 4. ค่าบริการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรคเรื้อรัง(ล้านบาท) 410.09 801.24 391.15 95.4% รวมทั้งสิ้นรายการ 1-4 141,539.75 150,357.97 8,818.22 6.2% หัก-งบบุคลากรภาครัฐในระบบ UC 32,795.28 38,381.29 5,586.01 17.0% รวม 4 รายการ [ไม่รวมงบบุคลากรภาครัฐในระบบ UC] 108,744.46 111,976.67 3,232.21 3.0% ข.รายการเพิ่มเติมในปี 2557 รายการ ปี2556 ปี2557 เพิ่ม/ลดจากปี 2556 จำนวน ร้อยละ 5. ค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยบริการ (หน่วยบริการที่จำเป็นต้องให้บริการในพื้นที่กันดารและพื้นที่เสี่ยงภัย) (ล้านบาท) - 900.00 100.0% 6. ค่าตอบแทนกำลังคนด้านการสาธารณสุข (หน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข) (ล้านบาท) 3,000.00 รวมทั้งสิ้นรายการ 1-6 141,539.75 154,257.97 12,718.22 9.0% รวม 6 รายการ [ไม่รวมงบบุคลากรภาครัฐในระบบ UC] 108,744.46 115,876.67 7,132.21 6.6%

5 รายการที่ไม่รวมในเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2557
นโยบายค่าแรงของรัฐบาล ค่าครองชีพสำหรับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 15,000 บาทต่อเดือนและค่าแรงขั้นต่ำที่ 300 บาทต่อวัน ของ ลูกจ้างชั่วคราว การปรับลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้าราชการหรือพนักงาน ของกระทรวงสาธารณสุข การปรับบันไดเงินเดือนข้าราชการ (เดิมคาดว่าจะมี การดำเนินการในปี 2556)

6 กรอบวงเงินรายการที่ 1: อัตราเหมาจ่ายรายหัวปี 2557
บาทต่อผู้มีสิทธิ ประเภทบริการ ปี 2556 ปี 2557 ผลต่างขาลงปี57 > ปี56 บาท % 1) บริการผู้ป่วยนอกทั่วไป 983.49 1,056.96 73.47 7.5% 2) บริการผู้ป่วยในทั่วไป 975.85 1,027.94 52.09 5.3% 3) เพิ่มสำหรับหน่วยบริการที่มีต้นทุนคงที่สูง 60.99 ปรับไปรายการใหม่ (60.99) -100.0% 4) บริการที่มีปัญหาการเข้าถึง 262.10 271.33 9.23 3.5% 5) บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค* 313.70 383.61 69.91 22.3% 6) บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ 12.88 14.95 2.07 16.1% 7) บริการแพทย์แผนไทย 7.20 8.19 0.99 13.8% 8) งบค่าเสื่อม 128.69 - 0.0% 9) งบส่งเสริมคุณภาพผลงานบริการ 4.76 ปรับเป็นเงื่อนไขในรายการต่างๆ (4.76) 10) เงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการ (ม.41) 5.19 3.32 (1.87) -36.0% 11) เงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้ให้บริการ 0.75 0.10 (0.65) -86.7% รวม 2,755.60 2,895.09 (139.49) 5.1% * ประเภทรายการที่ 4 ครอบคลุมประชากรไทยทุกคน

7 กรอบวงเงินรายการที่ 2 -6 ปี 2557
ล้านบาท รายการ ปี 2556 ปี 2557 ผลต่างขาลงปี57 > ปี56 บาท % 2. ค่าบริการผู้ติดเชื้อ เอช.ไอ.วีและผู้ป่วยเอดส์ 3,276.83 2,947.00 (329.83) (10%) 2.1 ค่าบริการ 3,234.33 2,874.50 2.2 ค่าส่งเสริมและสนับสนุนการจัดบริการ 42.50 72.50 3. ค่าบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 4,357.72 5,178.80 19% 3.1 ค่าบริการ 4,334.91 5,154.10 3.2 ค่าส่งเสริมและสนับสนุนการจัดบริการ 22.81 24.70 4 ค่าบริการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรคเรื้อรัง 410.09 801.24 95% 4.1 ค่าบริการ 748.00 4.2 ค่าส่งเสริมและสนับสนุนการจัดบริการ - 53.24 5. ค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยบริการ (หน่วยบริการที่จำเป็นต้องให้บริการในพื้นที่กันดารและพื้นที่เสี่ยงภัย) 900.00 100% 6. ค่าตอบแทนกำลังคนด้านการสาธารณสุข (หน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข) 3,000.00 6.1 จ่ายเป็นค่าตอบแทนบุคลากรแบบเหมาจ่าย 2,000.00 6.2 จ่ายเป็นค่าตอบแทนบุคลากรตามผลการปฏิบัติงาน 1,000.00

8 จำนวนเงินเดือนหน่วยบริการภาครัฐ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2557
สำนักงบประมาณใช้หลักการปรับลดค่าแรง(เงินเดือน) ในระบบหลักประกันสุขภาพแหงชาติ ตาม เงื่อนไขเดิมคือ หน่วยบริการสังกัด สป.สธ. ปรับลดจำนวน 60% ของจำนวนเงินเดือนหน่วยบริการ หน่วยบริการ UHOSNET ปรับลด 17.52% ของอัตราเหมาจ่ายรายหัวรวม หน่วยบริการภาครัฐสังกัดอื่นๆ ปรับลด 24.58% ของอัตราเหมาจ่ายรายหัวรวม ทั้งนี้ในการจัดทำข้อเสนอของบประมาณ จะมีการคำนวณเงินเดือนรวมไว้ในค่าบริการ OP-ทั่วไป, IP-ทั่วไป, บริการเฉพาะกรณีบางรายการ และ บริการ P&P หน่วย : ล้านบาท รายการ ปี 2556 ข้อเสนอปี 2557 ปี 2557-ที่ปรับลดค่าแรง เพิ่ม/ลดจากปี 56 1. สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 31, 33, 36, 5, 2. สังกัดกรมใน สธ. (ตามจำนวนประชากรลงทะเบียน) 9.6191 3. ภาครัฐอื่นๆ 1, 1, 1,  รวม 32, 34, 38, 5,

9 2. กรอบและแนวคิดในการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการ ปีงบประมาณ 2557

10 กรอบและแนวคิดในการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและ การบริหารจัดการ ปีงบประมาณ 2557 (1)
กรอบตามกฎหมาย -> ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 18(1), 18(4), 18(13) , 38, 41, 46, 47 ตามแนวคิดพื้นฐานของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ความเป็นธรรมตาม Health Need ของประชาชน และ พื้นที่ดำเนินการ ประสิทธิผลและคุณภาพของผลงานบริการสาธารณสุข การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการร่วมดำเนินงาน หลักประกันสุขภาพและการบริการสาธารณสุข ประสิทธิภาพการบริหารค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข

11 รายการค่าใช้จ่ายที่ใช้ตามกรอบกฎหมาย
แนวทางการบริหารกองทุนตามกรอบกฎหมายมาตรา 18(1),(4),41,46,47 ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 รายการค่าใช้จ่ายที่ใช้ตามกรอบกฎหมาย ม.18(1) กำหนดมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ และกำหนดมาตรการในการดำเนินงานเกี่ยวกับหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพ ม.18(4) เงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้เพื่อการชดเชยผู้ให้บริการ ม.41 เงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับบริการตามมาตรา 41 ม.46(1) อาศัยราคากลางที่เป็นจริงของโรคทุกโรคมาเป็นมาตรฐานตามข้อเสนอแนะของ คกก. ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานตามมาตรา 50(4) บริการผู้ป่วยในทั่วไป ได้แก่ การใช้ระบบ DRG บริการกรณีเฉพาะ (ค่าใช้จ่ายสูง /อุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน/ บริการเฉพาะโรค) บริการผู้ป่วยนอกรับส่งต่อข้ามจังหวัด บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ (อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ) ม.46(2) ครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการในส่วนเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร บริการผู้ป่วยนอกทั่วไป บริการผู้ป่วยในทั่วไป บริการกรณีเฉพาะบางรายการย่อย และบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จะเป็นอัตราที่รวมค่าแรงเกือบทั้งหมดทุกประเภท (ยกเว้นค่าตอบแทนบางรายการที่กระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณจากรัฐบาลโดยตรง) กรณีการจ่ายค่าใช้จ่ายให้หน่วยบริการภาครัฐ จึงต้องมีการปรับลดค่าแรงในส่วนเงินเดือน เนื่องจากรัฐบาลได้จ่ายเงินเดือนแล้ว ม.46(3) คำนึงถึงความแตกต่างในภารกิจของหน่วยบริการ บริการกรณีเฉพาะ (ค่าใช้จ่ายสูง /อุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน/ บริการเฉพาะโรค) ซึ่งจะมีเงื่อนไขบริการสำหรับหน่วยบริการเฉพาะทาง หน่วยบริการรับส่งต่อ เป็นต้น ค่าเสื่อม การจัดเครือข่ายบริการโรคที่มีอัตราการตายสูง งบจ่ายตามเกณฑ์บริการปฐมภูมิ บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บริการแพทย์แผนไทย บริการผู้ป่วยไตวาย (กำหนดหน่วยบริการที่ต้องมีมาตรฐานเฉพาะด้าน เป็นต้น) ม.46(4) คำนึงถึงความแตกต่างในกลุ่มผู้รับบริการและในขนาดของพื้นที่บริการที่หน่วยบริการรับผิดชอบ งบเพิ่มสำหรับหน่วยบริการที่มีต้นทุนคงที่สูง (สำหรับหน่วยบริการในพื้นที่ hardship, หน่วยบริการขนาดเล็ก) บริการผู้ป่วยนอกทั่วไป (การ diff cap ตามโครงสร้างอายุประชากร) บริการฟื้นฟูสมรรถด้านการแพทย์ (กำหนดให้คนพิการ สามารถเข้ารับการรักษาที่สถานบริการของรัฐได้ทุกแห่ง) งบบริการผู้ติดเชื้อHIV และผู้ป่วยเอดส์ ผู้ติดเชื้อสามารถรับยา ARV ที่ไหนก็ได้ การชดเชยสำหรับประชากรที่มีลักษณะพิเศษต่างกัน ได้แก่ บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง, บริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรังสำหรับผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง ม.47 โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชากรในท้องถิ่น ให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่) บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ (กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพระดับจังหวัด)

12 กรอบและแนวคิดในการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและ การบริหารจัดการ ปีงบประมาณ 2557 (2)
ประเภทบริการ กรอบตามกฎหมาย กรอบตามแนวคิด UHC 1. งบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว 1.1 บริการผู้ป่วยนอกทั่วไป ม.46 (1), (2) , (3), (4) 1) ตาม Health need 2) ประสิทธิผลและคุณภาพผลงานบริการ 1.2 บริการผู้ป่วยในทั่วไป ม.46 (1) 4) ประสิทธิภาพการบริหารค่าใช้จ่าย 1.3 บริการกรณีเฉพาะ 1.4 บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกัน ม.46 (2) , (3), (4) และ ม.47 1) Health need 3) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 1.5 บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ ม.46 (2) , (4) และ ม.47 1.6 บริการการแพทย์แผนไทย ม.46 (2) , (3) และ ม.47 1.7 ค่าเสื่อม ม.46 (3) 1.8 เงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการ (ม.41 ) ม.41 1.9 เงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้ให้บริการ ม.18 (4) 2. ค่าบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ม.46 (4) และ ม.47 3. ค่าบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ม.46 (2) , (3), (4) 4. ค่าบริการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรคเรื้อรัง สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ม.46 (4) 5. ค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยบริการ (หน่วยบริการที่จำเป็นต้องให้บริการในพื้นที่กันดารและพื้นที่เสี่ยงภัย) ม.46 (2), (4) 6. ค่าตอบแทนกำลังคนด้านการสาธารณสุข (หน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข) ม.46 (2)

13 3. ประเด็นหลักในการปรับปรุง หลักเกณฑ์การดำเนินงาน และการบริหารจัดการงบกองทุนปี 2557

14 ขยายสิทธิประโยชน์ 2 รายการ ได้แก่
ประเด็นหลักในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินงาน และการบริหารจัดการงบกองทุนปี 2557 (1) การบริหารงบกองทุนปี 2557 มีกรอบการบริหารส่วนใหญ่เหมือนปี โดยมีประเด็นที่ปรับปรุงหลัก ดังนี้ ขยายสิทธิประโยชน์ 2 รายการ ได้แก่ การเพิ่มกลุ่มเป้าหมายที่จะต้องได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (เพิ่ม กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์มากกว่า 4 เดือน และเด็กที่อายุ 6 เดือน- 2 ปี) ได้มีการขอรับงบประมาณไว้จำนวนหนึ่งอยู่แล้ว จึงไม่เป็นภาระงบประมาณ ในปี 2557 การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดสำหรับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อม น้ำเหลืองตามข้อบ่งชี้เฉพาะ (ไม่รวมผู้ป่วย Thalassemia) จัดกรอบวงเงินรายการย่อยของงบค่าบริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายรายหัว (รวมบริการรักษาผู้ป่วยโรคนิ่วเพื่อนำนิ่วออกจากระบบ ทางเดินปัสสาวะ ไว้ที่รายการย่อยบริการผู้ป่วยในทั่วไป)

15 ประเด็นหลักในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินงาน และการบริหารจัดการงบกองทุนปี 2557 (2)
เพิ่มการจ่ายที่คำนึงถึงคุณภาพของการให้บริการเพิ่มขึ้น โดย 3.1 กำหนดวงเงินมากขึ้น บริการปฐมภูมิ จากเดิมจ่ายตามเกณฑ์ศักยภาพบริการ (30 บาทต่อผู้มีสิทธิ) ปรับ เป็นจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ (32 บาทต่อผู้มีสิทธิ) รวมทั้ง บูรณาการกับงบ P&P ที่จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ (20 บาทต่อคน) บริการผู้ป่วยใน ให้กันเงินจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ จากเดิมไม่เกิน 15 เป็นไม่เกิน 20 บาทต่อผู้มีสิทธิ บริการควบคุมป้องกันผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพ บริการ secondary prevention จากที่เคยใช้งบร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 40 ของ งบประมาณ 3.2 การบริหารจัดการเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ กำหนดเกณฑ์กลางจำนวนหนึ่ง และให้มีการเพิ่มเติมเกณฑ์ระดับพื้นที่โดยความ เห็นชอบของ อปสข. เกณฑ์กลางจะมาจากการหารือร่วมกันของ สปสช.และ สธ. โดยผ่าน คณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แนวทางการจ่ายเงินให้หน่วยบริการต้องผ่านความเห็นชอบของ อปสข.

16 ประเด็นหลักในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินงาน และการบริหารจัดการงบกองทุนปี 2557 (3)
ปรับประสิทธิภาพการบริหารกองทุน เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่จำเป็นภายในเขตพื้นที่ และมีการจัดบริการครบถ้วนสอดคล้องกับปัญหาสุขภาพในเขตพื้นที่ 4.1 การกระจายอำนาจให้มีการบริหารจัดการ โดยจัดสรรเป็นวงเงินแบบมีเพดานระดับเขตตามเขตพื้นที่ความ รับผิดชอบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติระดับเขต (global budget ระดับเขต) มากขึ้น ภายใต้ กลไก อปสข. (ค่าบริการผู้ป่วยนอกทั่วไปที่จ่ายตามผลงานบริการ บริการที่จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ บริการ P&P ที่จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ บริการผู้ป่วยในทั่วไป และบริการแพทย์แผนไทย) 4.2 การปรับรูปแบบการบริหารจัดการค่าเสื่อม โดยใช้หลักการเดียวกันสำหรับหน่วยบริการทุกสังกัด และหลัง คำนวณให้หน่วยบริการแล้ว ให้กันเงินไม่เกินร้อยละ 20 สำหรับบริหารจัดการระดับประเทศ/เขต/จังหวัด เพื่อ ส่งเสริมการเพิ่มการเข้าถึงบริการและลดการส่งต่อไปใช้บริการนอกเขตพื้นที่ โดยแนวทางการจ่ายให้หน่วย บริการให้ผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง และไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ให้ จ่ายตรงให้หน่วยบริการ 4.3 คำนึงถึงบริบทที่มีความเฉพาะของพื้นที่ กทม. โดยให้ สปสช.เขต 13 กรุงเทพมหานคร สามารถกำหนด หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นอย่างอื่นได้ แต่ต้องเป็นค่าใช้จ่ายบริการตามงบรายการนั้นๆ และให้เกิดผล ผลิต ผลลัพธ์และข้อมูลตามที่กำหนด ทั้งนี้หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายและแนวทางการจ่ายต้องผ่านความ เห็นชอบของ อปสข. (ค่าบริการผู้ป่วยนอกทั่วไปที่จ่ายตามผลงานบริการ บริการที่จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการ ปฐมภูมิ บริการ P&P บริการผู้ป่วยในทั่วไป การปรับลดค่าแรง และงบบริการควบคุมป้องกันผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง) 4.4 ให้มีมาตรการกำกับและเร่งรัดการใช้เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทุกระดับ รวมทั้งกองทุนหลักประกัน สุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

17 ประเด็นหลักในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินงาน และการบริหารจัดการงบกองทุนปี 2557 (4)
เพิ่มการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการร่วมดำเนินงานหลักประกันสุขภาพและการ บริการสาธารณสุข 5.1 เพิ่มงบ P&P ที่จัดให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จาก 40 เป็น 45 บาทต่อคน โดยส่วนที่เพิ่มขึ้นให้จ่ายเพิ่มเติมตามศักยภาพและหรือผลการดำเนินงานของ กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 5.2 เพิ่มเป้าหมายให้มีกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพระดับจังหวัด จากเขตละ 2 จังหวัด เป็นเขตละ 3 จังหวัด ปรับมาตรฐานและเงื่อนไขบริการให้สอดคล้องกับการดำเนินการบูรณาการ 3 กองทุน (ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV/AIDS, ผู้ป่วยบริการทดแทนไต) จัดให้มีการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ (บริการ OP ที่ จ่ายตามผลงาน บริการ P&P บริการผู้ป่วยวัณโรค บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ บริการแพทย์แผนไทย บริการการเข้าถึงบริการ VCT ของกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ HIV บริการควบคุมความรุนแรงของโรคใน ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง และบริการทดแทนไต งบภาพรวมทั้งหมดประมาณร้อยละ ของเงินกองทุนทุกรายการ)

18 ประเด็นหลักในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินงาน และการบริหารจัดการงบกองทุนปี 2557 (5)
ให้ผนวกการปรับประสิทธิภาพหน่วยบริการกับการปรับเกลี่ยค่าแรงของหน่วย บริการสังกัด สป.สธ. โดยมีหลักการ ดังนี้ การปรับเกลี่ยต้องนำข้อมูลรายรับรายจ่ายจากทุกแหล่งมาคำนวณ ไม่ใช่เฉพาะ จากระบบ UC การปรับเกลี่ยต้องนำข้อมูลด้านประสิทธิภาพของหน่วยบริการ อาจใช้ unit cost หรือตัวชี้วัดอื่นที่สามารถแสดงถึง efficient หรือ performance มาพิจารณา ประกอบ เช่น ความครอบคลุมในการดูแลประชากร โดยต้องได้รับการยอมรับและ ตรวจทานจากหน่วยบริการสังกัด สป.สธ. ทุกระดับ การช่วยหน่วยบริการที่มีปัญหาการขาดทุนต้องมีเงื่อนไขในการพัฒนา ประสิทธิภาพของหน่วยบริการให้ดีขึ้น ต้องจัดระบบรายงานความก้าวหน้าในการพัฒนาและระบบในการติดตามกำกับให้มี การพัฒนาประสิทธิภาพตามแผนงานที่หน่วยบริการให้สัญญาว่าจะดำเนินการ อาจต้องมีมาตรการเฉพาะหากหน่วยบริการไม่สามารถแก้ไขปัญหาการขาด ประสิทธิภาพได้ตามแผนงานที่หน่วยบริการให้สัญญาว่าจะดำเนินการ

19 ประเด็นหลักในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินงาน และการบริหารจัดการงบกองทุนปี 2557 (6)
รายการค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยบริการ (หน่วยบริการที่จำเป็นต้อง ให้บริการในพื้นที่กันดารและพื้นที่เสี่ยงภัย) ซึ่งเป็นรายการใหม่ในปี จะใช้ผล การศึกษาสมการต้นทุนของโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (ชุดที่ ปรับปรุงใหม่เป็นตัวแทนหน่วยบริการที่มีประสิทธิภาพ) และข้อมูลงบการเงินของ หน่วยบริการ โดยประยุกต์จ่ายตามตัวแปรของสมการต้นทุน โดยผ่านความเห็นชอบ ของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง ค่าตอบแทนกำลังคนด้านการสาธารณสุข (หน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข) ซึ่งเป็นรายการใหม่ในปี 2557 ให้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ จำนวน 2,000 ล้านบาทจ่ายเป็น ค่าตอบแทนบุคลากรแบบเหมาจ่าย และจำนวน 1,000 ล้านบาทจ่ายเป็นค่าตอบแทน บุคลากรตามผลการปฏิบัติงาน โดยให้มีคณะทำงาน 2 คณะเป็นผู้จัดทำข้อเสนอการ จ่ายเงินให้หน่วยบริการ โดยผ่านความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบ การเงินการคลัง

20 4. รายการที่กำหนดให้ บริหารจัดการแบบวงเงินระดับเขต (Global budget ระดับเขต)

21 บริหารจัดการแบบ Global budget ระดับเขต ปี2557
ไว้ 4 รายการ

22 บริหารจัดการแบบ Global budget ระดับเขต 4 รายการ
บริการผู้ป่วยนอกทั่วไป รายการย่อย “จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพและ ผลงานบริการปฐมภูมิ” (ข้อ 11) บริการผู้ป่วยในทั่วไป (ข้อ 14) บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการระดับพื้นที่ (P&P area health services) ส่วนที่เหลือจากจัดสรรให้กองทุนฯ ระดับท้องถิ่น (ข้อ 27.2) บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน (P&P basic services) ที่จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ (ข้อ 28.3) บริการการแพทย์แผนไทย (ข้อ ) * เลขข้อในวงเล็บ อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง “หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2557”

23 บริหารจัดการแบบ Global budget ระดับเขต (1)
1. บริการผู้ป่วยนอกทั่วไป รายการย่อย “จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ” จำนวนเงิน แนวทางการจัดสรร global budget ระดับเขต และแนวทางการบริหารจัดการ* ไม่น้อยกว่า 32 บาทต่อผู้มีสิทธิ จัดสรรเป็น global budget ระดับเขต ตามจำนวนผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียน และบูรณา การการบริหารจัดการรวมกับงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับ บริการพื้นฐานที่จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ ตามเกณฑ์วัด 4 ด้าน (QOF) โดย อย่างน้อยต้องเป็นไปตามเกณฑืกลางที่ สปสช.กำหนด และ สปสช.เขต โดย คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิระดับเขต สามารถเพิ่มเติมเกณฑ์ระดับ พื้นที่ได้ภายใต้ความเห็นชอบของ อปสข. แนวทางการจ่ายต้องผ่านความเห็นชอบจาก อปสข. (ข้อ 11.1) ไม่เกิน 4 บาทต่อผู้มีสิทธิ จัดสรรเป็น global budget ระดับเขต ตามจำนวนผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียน จ่ายเป็นค่าสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการปฐมภูมิให้มีศักยภาพและมีคุณภาพ ตามแนวคิดเวชศาสตร์ครอบครัว แนวทางการสนับสนุนให้ผ่านความเห็นชอบของ อปสข. (ข้อ 11.2) * เลขข้อในวงเล็บ อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง “หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2557”

24 บริหารจัดการแบบ Global budget ระดับเขต (2)
2. บริการผู้ป่วยในทั่วไป จำนวนเงิน แนวทางการจัดสรร global budget ระดับเขต และแนวทางการบริหารจัดการ* 1, บาทต่อ ผู้มีสิทธิ คำนวณตามเงื่อนไขบริการเฉพาะ ค่า RW เฉลี่ยต่อผู้มีสิทธิตามโครงสร้างอายุ และ ผลงานรวมของ adjRW (ข้อ 14) แนวทางการจ่ายส่วนใหญ่เหมือนปี 2556 * เลขข้อในวงเล็บ อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง “หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2557”

25 บริหารจัดการแบบ Global budget ระดับเขต (3)
3. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รายการ จำนวนเงิน แนวทางการจัดสรร global budget ระดับเขต และแนวทางการบริหารจัดการ* บริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคสำหรับ บริการระดับพื้นที่ (P&P area health services) ส่วนที่เหลือ จากจัดสรรให้ กองทุนฯ ระดับท้องถิ่น จัดสรรเป็น global budget ระดับเขตตามจำนวนประชากร ไทยในพื้นที่รับผิดชอบ เป็นค่าใช้จ่ายบริการ P&P ที่เป็นปัญหาเฉพาะพื้นที่หรือตาม นโยบายสำคัญ บริการที่ต้องบริหารจัดการในภาพรวมระดับ เขตหรือจังหวัด การตามจ่ายค่าบริการแทนหน่วยบริการ แนวทางการจ่ายต้องผ่านความเห็นชอบจาก อปสข. (ข้อ 27.2) บริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคสำหรับ บริการพื้นฐาน (P&P basic services) 20 บาทต่อ คน บริหารจัดการโดยบูรณาการการบริหารจัดการที่ระดับเขต รวมกับงบจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ (ข้อ 28.3) * เลขข้อในวงเล็บ อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง “หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2557”

26 บริหารจัดการแบบ Global budget ระดับเขต (4)
4. บริการการแพทย์แผนไทย จำนวนเงิน แนวทางการจัดสรร global budget ระดับเขต และแนวทางการบริหารจัดการ* ไม่น้อยกว่า บาทต่อผู้มีสิทธิ จัดสรรเงินเป็น global budget ระดับเขตตามจำนวนผู้มีสิทธิและ ผลงานบริการในปีที่ผ่านมา ในสัดส่วน 50:50 เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมให้แก่หน่วยบริการสำหรับบริการการแพทย์แผน ไทยตามเกณฑ์ที่ สปสช.กำหนด แนวทางการจ่ายต้องผ่านความเห็นชอบจาก อปสข. (ข้อ ) * เลขข้อในวงเล็บ อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง “หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2557”

27 5. ประเด็นเปลี่ยนแปลงสำคัญ
ค่าบริการผู้ป่วยในทั่วไป เงินค่าเสื่อม การปรับลดค่าแรงของหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.

28 ค่าบริการผู้ป่วยในทั่วไป

29 ค่าบริการผู้ป่วยในทั่วไป ปี2557
ประเด็นเปลี่ยนแปลงสำคัญ ขอบเขตบริการ รวมกรณีบริการรักษาผู้ป่วยโรคนิ่วเพื่อ นำนิ่วออกจากระบบทางเดินปัสสาวะ (ย้ายมาจากการ บริหารจัดการเฉพาะโรค) การปิด Global budget ระดับเขต

30 IP - การปิด Global budget ระดับเขต

31 เงินค่าเสื่อม

32 กรอบแนวทางบริหารงบค่าเสื่อมปี 2557
( บาทต่อผู้มีสิทธิ) งบค่าเสื่อม OP (55.10 บาทต่อผู้มีสิทธิ) งบค่าเสื่อม IP (53.59 บาทต่อผู้มีสิทธิ) งบค่าเสื่อม PP (20 บาทต่อผู้มีสิทธิ) หมายเหตุ (B)ไม่เกิน20% สำหรับการบริหารระดับประเทศ/เขต/จังหวัด เพื่อส่งเสริมการเพิ่มการเข้าถึงบริการและลดการส่งต่อไปใช้บริการนอกเขตพื้นที่ โดยแนวทางการจ่ายให้ผ่านความเห็นชอบจากคณุอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง ตามจำนวนผู้ลงทะเบียนสิทธิ คำนวณตามสัดส่วนอัตราต่อผู้มีสิทธิของงบ OP-PP-IP ตามจำนวนผลบริการ IP (sum adjRW) ของหน่วยบริการ รวมงบค่าเสื่อมที่คำนวณตามสัดส่วน OP-PP-IP (100%) (A) โอนตรงหน่วยบริการไม่น้อยกว่า 80% (B) ไม่เกิน 20% สำหรับการบริหารระดับประเทศ/เขต/จังหวัด หน่วยบริการ

33 เงินค่าเสื่อมปี มติคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง ครั้งที่ 5/2556 วันที่ 17 กันยายน 2556 เห็นชอบให้แนวทางแนวทางการจ่ายเงินค่าเสื่อมปี 2557 ส่วนที่กัน ไว้ไม่เกินร้อยละ 20 เพื่อส่งเสริมการเพิ่มการเข้าถึงบริการ และลด การส่งต่อไปใช้บริการนอกเขตพื้นที่ มีแนวทางการจ่ายให้หน่วย บริการ ดังนี้ สำหรับเงินที่กันมาจากหน่วยบริการสังกัด สป.สธ. ให้บริหาร จัดการระดับประเทศโดย สป.สธ. ซึ่งต้องมีแผนการพัฒนา ครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง เพื่อทดแทนส่วนขาดและซ่อมบำรุง ครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้างที่เสื่อมถอยหรือถดถอยหรือเสียหายจน ไม่สามารถใช้งานได้ดังเดิม สำหรับหน่วยบริการอื่นๆ ที่เหลือ ให้จ่ายคืนให้หน่วยบริการ ตามจำนวนที่กันไว้

34 การปรับลดค่าแรง ของหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.

35 ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ปีงบประมาณ ๒๕๕๗ หมวดที่ ๒ ส่วนที่ ๑๐ การปรับลดค่าแรงสำหรับหน่วยบริการภาครัฐ ที่ให้บริการผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ข้อ ๕๑.๔ วิธีการปรับลดค่าแรงสำหรับหน่วยบริการภาครัฐสังกัด สป.สธ.

36 วิธีการปรับลดค่าแรงสำหรับหน่วยบริการภาครัฐสังกัด สป.สธ. ปี 2557 (2)

37 วิธีการปรับลดค่าแรงสำหรับหน่วยบริการภาครัฐสังกัด สป.สธ. ปี 2557 (3)

38 ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2557 “ประเด็นที่แตกต่างจากปีงบประมาณ 2556” โดย นพ.สุธนะ เสตวรรณา รองผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google