งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทที่ 12 กฎหมายว่าด้วยการใช้กำลัง (International Law on the Use of Force) กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 พัฒนาการกฎหมายก่อนมี UN
ตราบจนต้นศตวรรษที่ 20 ไม่มีกฎหมายห้ามการทำสงคราม แต่มีหลักกฎหมายที่ควบคุมการใช้กำลัง หลักการทำสงครามที่ชอบธรรม (Just War) หลักการตอบโต้โดยชอบด้วยกฎหมาย (Reprisal) หลักสิทธิในการป้องกันตนเอง (Right of Self-Defence)

3 หลักการทำสงครามที่ชอบธรรม
ได้รับการสนับสนุนจากนักคิดในสมัยต่างๆ เช่น St. Augustine ในศตวรรษที่ 5 St. Thomas Aquinas ในศตวรรษที่ 13 Grotius ในศตวรรษที่ 17 กล่าวถึงการทำ Just War ว่าเป็นการใช้กำลังเพื่อป้องกันตนเอง เพื่อคุ้มครองทรัพย์สินและพลเมือง ตลอดจนเพื่อลงโทษการกระทำผิดของอีกรัฐหนึ่ง

4 หลักการตอบโต้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คดี Naulilaa Case ค.ศ (Portugal v. Germany) ประกอบด้วยหลัก 3 ประการ คือ มีการกระทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศ มีคำร้องขอให้แก้ไขหรือเยียวยาความเสียหาย แต่มิได้รับการตอบสนอง การตอบโต้จะต้องไม่เกินกว่าเหตุ ในปัจจุบัน การตอบโต้ หรือ reprisal ถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ

5 หลักสิทธิในการป้องกันตนเอง
Caroline Case (1837) เอกสารตอบโต้ระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ การใช้สิทธิในการป้องกันตนเอง หมายถึง การใช้กำลังเมื่อมีความจำเป็นขณะนั้น เป็นความจำเป็นอย่างท่วมท้น (overwhelming) และไม่มีหนทางอื่นให้เลือก ไม่มีเวลาที่จะเจรจา และเป็นการใช้กำลังพอสมควร

6 กติกาสันนิบาตชาติ ค.ศ. 1918 รัฐสมาชิกมีหน้าที่ต้องนำข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ หรือ การระงับข้อพิพาททางศาล หรือ การไต่สวน โดยคณะมนตรี ห้ามมิให้ทำสงครามจนกว่าจะพ้น 3 เดือนหลังจากมีคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ หรือ ศาล หรือได้รับรายงานจากคณะมนตรี รัฐสมาชิกตกลงที่จะไม่ทำสงครามกับสมาชิกที่ได้ยอมปฏิบัติตามคำวินิจฉัย หรือรายงานที่ได้รับการรับรองเป็นเอกฉันท์แล้วจากคณะมนตรี

7 สนธิสัญญาทั่วไปว่าด้วยการยกเลิกสงคราม (General Treaty for the Renunciation of War หรือ the Kellog-Briand Pact) ค.ศ. 1928 รัฐภาคีประณามการทำสงคราม และตกลงที่จะไม่ใช้สงครามเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

8 กฎบัตรสหประชาชาติ (UN Charter, Chapter 7)
Article 2 (4) ห้ามมิให้รัฐคุกคามหรือใช้กำลังต่อกันและกัน “ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐสมาชิกทั้งปวงจักต้องละเว้นการคุกคาม หรือการใช้กำลังต่อบูรณภาพแห่งอาณาเขต หรือเอกราชทางการเมืองของรัฐใดๆ หรือการกระทำในลักษณะการอื่นใดที่ไม่สอดคล้องกับความมุ่งหมายของสหประชาชาติ”

9 ข้อยกเว้นในการใช้กำลัง
การใช้สิทธิป้องกันตนเอง (ตามหลักจารีตประเพณี และตาม Article 51 UN Charte การใช้มาตรการรักษาสันติภาพร่วมกันภายใต้ระบบของ UN (กลไกการรักษาสันติภาพภายใต้ Chapter 7)

10 การใช้สิทธิป้องกันตนเองตาม Article 51
“ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบันอันจักรอนสิทธิประจำตัวในการป้องกันตนเองโดยลำพังตนหรือโดยร่วมกัน หากการโจมตีโดยกำลังอาวุธบังเกิดแก่สมาชิกของสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ ”

11 ประเด็นคำถามเกี่ยวกับการใช้สิทธิป้องกันตนเอง
รวมถึงกรณีการป้องกันตนเองล่วงหน้า (anticipatory self-defence หรือ pre-emptive self-defence) หรือไม่ ? รวมถึงการคุ้มครองชีวิตของพลเมือง และทรัพย์สินในต่างแดนหรือไม่ ?

12 กลไกของรักษาสันติภาพของ UN
บทบาทหลักอยู่ที่คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council – SC) ตาม Chapter VII ของ UN Charter Article 39 – ก่อนที่ SC จะดำเนินมาตรการใดๆจะต้องมีความเห็นก่อนว่าเกิดการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ หรือการกระทำการรุกราน (aggression) หรือไม่

13 อะไรคือ “Aggression” ตามนิยามของมติของสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 1974 รวมความถึง
การใช้กำลังอาวุธต่อรัฐอื่น การโจมตีด้วยกำลังทหาร หรือกำลังอาวุธ การปิดล้อมเมืองท่า การส่งกองกำลังเข้าไปปฏิบัติการทหารในประเทศอื่น การยินยอมให้รัฐอื่นละเมิดดินแดนเพื่อกระทำการรุกรานรัฐที่สาม

14 กลไกของรักษาสันติภาพของ UN (2)
Article 40 – SC สามารถดำเนินมาตรการชั่วคราวเพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ทวีความร้ายแรงยิ่งขึ้น Article 41 – SC อาจวินิจฉัยและเรียกร้องให้สมาชิกใช้มาตรการอันไม่มีการใช้กำลังอาวุธ อาจรวมถึงการตัดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การคมนาคมทางรถไฟ ทางทะเล ทางอากาศ ทางไปรษณีย์ ทางโทรเลข ทางวิทยุ และวิถีทางคมนาคมอย่างอื่นโดยสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน และการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตด้วย

15 กลไกของรักษาสันติภาพของ UN (3)
Article 42 – หากเห็นว่ามาตรการตาม Article 41 ไม่เพียงพอ SC อาจดำเนินการใช้กำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินเช่นที่เห็นจำเป็น ซึ่งอาจรวมถึงการแสดงแสนยานุภาพ การปิดล้อม และการปฏิบัติการอย่างอื่นโดยใช้กำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินของบรรดาสมาชิกสหประชาชาติ

16 ข้อจำกัดของการรักษาสันติภาพโดย UN
กลไกของสหประชาชาติในการรักษาสันติภาพมีข้อจำกัดทั้งด้านการเมืองและงบประมาณ การใช้สิทธิยับยั้ง (veto) ของสมาชิกประเภทถาวรของคณะมนตรีความมั่นคง มาตรการไม่ใช้กำลัง เช่น การลงโทษทางเศรษฐกิจ (economic sanctions) ใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล หรืออาจไม่ได้ผล และมักก่อให้เกิดปัญหาด้านมนุษยธรรม เช่น การลงโทษแอฟริกาใต้ ,โรดีเซีย, อัฟกานิสถาน หรือ อิรัก


ดาวน์โหลด ppt กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google