ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
หนี้สาธารณะของรัฐบาลไทย
จัดทำโดย นางสาวกิติยาภรณ์ พรมชาติ นางสาวปิยะทิพย์ ดอนปัญญา นางสาวสุวรรณี เริงชัยภูมิ นางสาวสุนิสา ทองอ้ม นางสาวเสาวณีย์ กลิ่นสุคนธ์ สาขาเศรษฐศาสตร์ปีที่ 2
2
ความหมายหนี้สาธารณะของรัฐบาลไทย
หนี้สาธารณะ (Public Debt) หรือหนี้ของรัฐบาล (government Deb) หมายถึงหนี้สินที่รัฐบาลก่อขึ้นเพื่อนำมาใช้จ่ายในกิจการของรัฐบาล และที่อยู่ในรูปของสัญญาใช้เงินที่รัฐบาลให้ไว้แก่ผู้ที่รัฐบาลกู้ยืม ว่ารัฐบาลจะจ่ายคืนเงินต้นที่กู้มาพร้อมทั้งดอกเบี้ยจำนวนหนึ่ง เมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญา
3
» สินค้าและบริการ ความสำคัญของหนี้สาธารณะ
รัฐบาลจะเก็บภาษีต่างๆไปใช้จ่ายเพื่อการผลิตสินค้าและบริการต่างๆที่จำเป็นต่อสังคม เช่น บริการป้องกันประเทศ การรักษาความสงบภายใน และบริการสาธารณะต่างๆ » การขยายตัวทางเศรษฐกิจ รัฐบาลกู้ยืมเงินมาเพื่อนำมาลงทุนในโครงพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
4
ความสำคัญของหนี้สาธารณะ
» ชำระหนี้เงินกู้ของรัฐบาล การชำระคืนเงินกู้ของรัฐบาล เมื่อถึงกำหนดระยะเวลาชำระคืนแต่รัฐบาลไม่มีเงินเพียงพอ รัฐบาลก็จะต้องกู้ยืมเงินจากแหล่งอื่นเพื่อนำมาหมุนเวียนใช้หนี้เก่า » การเคลื่อนย้ายของเงินทุนระหว่างประเทศ เมื่อรัฐบาลกู้ยืมเงินมาจากต่างประเทศก็ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายของเงินทุนเข้ามาในระบบเศรษฐกิจ แต่เมื่อรัฐบาลชำระคืนเงินกู้ก็จะส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายของเงินทุนออกจากระบบเศรษฐกิจ
5
1.แบ่งตามระยะเวลาของการกู้
ประเภทของหนี้สาธารณะ 1.แบ่งตามระยะเวลาของการกู้ ☻ระยะสั้น(Short-Tem Loan) หนี้ที่มีระยะเวลาการไถ่ถอนไม่เกิน 1 ปี *การกู้ยืมโดยออกตั๋วเงินคลัง(Treasury Bills) *การกู้ยืมโดยเบิกเกินบัญชี(OverdraftหรือO/D) ☻หนี้ระยะกลาง(Medium-Tem Loan) หนี้ที่มีกำหนดระยะเวลาชำระคนตั้งแต่ 1ถึง 5 ปี ☻หนี้ระยะยาว(Long-Tem Loan) หนี้ที่มีระยะเวลาการไถ่ถอนคืนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
6
2.แบ่งตามแหล่งที่มาของเงินกู้
☻หนี้ภายในประเทศ(Internal Debt)เป็นการกู้ยืมจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกลาง สถาบันการเงินอื่นๆ ☻หนี้ภายนอกประเทศ(External Debt) เป็นการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ได้แก่ เอกชนต่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ และสถาบันการเงินระหว่างประเทศอื่นๆ
7
ประเภทของหนี้สาธารณะ
3.แบ่งตามลักษณะการก่อหนี้ ☻การก่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การก่อหนี้ลักษณะนี้เป็นเพียงการเปลี่ยนมือผู้ใช้จ่ายเงินเอกชน ธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินอื่นๆมาเป็นรัฐบาล ☻การก่อหนี้ที่ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การก่อหนี้ของรัฐบาลไม่เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงผู้ใช้จ่ายหรือผู้ลงทุนเท่านั้น แต่ทำให้ค่าใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากเดิมเท่ากับจำนวนที่รัฐบาลกู้มา
8
ฐานะหนี้สินของรัฐบาล ( หน่วย : พันล้าน )
ปีงบประมาณ 2531 2532 2533 2534 2535 2536 2537 2538 ยอดหนี้ค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 642.2 622.6 617.1 589.7 600.4 602.7 624.7 685.4 ( สัดส่วนต่อ GDP) 41.2 33.5 28.2 23.5 21.4 19.8 17.4 16.5 หนี้ในประเทศ 344.8 328.2 344.3 308.1 297.5 286.5 267.8 298.2 - รัฐบาลกู้โดยตรง 319.4 302.6 307.5 235.2 210.6 164.0 110.4 74.6 -รัฐบาลค้ำประกัน 25.4 25.6 36.8 72.9 86.9 122.5 157.4 223.6 หนี้ต่างประเทศ 297.4 294.4 272.8 281.6 302.9 334.2 356.9 387.2 131.3 127.5 92.7 93.9 99.1 106.0 114.2 121.0 - รัฐบาลค้ำประกัน 166.1 166.9 180.1 187.7 203.8 228.2 242.7 266.2 (สัดส่วนของงบชำระหนี้ของรัฐบาลต่องบประมาณรายจ่าย 24.5 23.3 20.8 14.3 12.7 11.2 9.4 6.2
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.