งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โรคมือปากเท้าเปื่อย (Hand foot mouth syndrome)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โรคมือปากเท้าเปื่อย (Hand foot mouth syndrome)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โรคมือปากเท้าเปื่อย (Hand foot mouth syndrome)
เกิดจากเชื้อCoxsackie A1B และ enterovirus71 สามารถทำให้เกิด การอักเสบของสมองได้ ผู้ป่วยจะมีอาการหนักคือมีไข้ ซึม หอบ เขียว และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามมีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการหนัก ในประเทศไทยพบการระบาดของโรคนี้เพียงประปรายเท่านั้น น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์

2 น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627
การติดเชื้อ เมื่อเด็กได้รับเชื้อไวรัสต้นเหตุเข้าสู่ร่างกาย ไวรัสจะแบ่งตัวที่เยื่อบุในกระพุ้งแก้ม และในลำไส้เล็ก ใน 24 ชั่วโมงต่อมาเชื้อไวรัสจะเข้าไปอยู่ในต่อมน้ำเหลือง โดยมีระยะฟักตัวสั้น คือ 3-6 วัน หลังได้รับเชื้อ 3 วัน ไวรัสก็จะแพร่กระจายในกระแสเลือดไปฝังตัวอยู่ตามอวัยวะเป้าหมาย คือเยื่อบุของช่องปาก และที่ผิวหนังของมือและเท้า น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์

3 น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627
เมื่อเข้าสู่วันที่ 6 ของการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานสูงขึ้น ทำให้เชื้อไวรัสถูกขจัดออกจากกระแสเลือดและตำแหน่งที่เชื้อไวรัสไปฝังตัวอยู่ น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์

4 น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627
อาการของโรค มีไข้ เจ็บคอ มีตุ่มที่คอ ปาก เหงือก ลิ้นโดยมากเป็นตุ่มน้ำมากกว่าเป็นแผล ปวดศีรษะ ผื่นเป็นมากที่มือ รองลงมาพบที่เท้า ที่ก้นก็พอพบได้ เบื่ออาหาร เด็กจะหงุดหงิด น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์

5 น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627
โรคแทรกซ้อน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เกิดโรคนี้จากเชื้อ coxsackievirus A16 จะหายเองใน 1 สัปดาห์ แต่หากเกิดจากเชื้อ enterovirus 71 โรคจะเป็นรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อน - อาจจะเกิดชักเนื่องจากไข้สูง ต้องเช็ดตัวเวลามีไข้และรับประทาน ยาลดไข้ - อาจจะเกิดเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบได้ น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์

6 การแพร่กระจายของเชื้อ
เชื้อ Enteroviruses พบได้ทั่วโลก ในประเทศที่ยังไม่พัฒนา อาจพบเด็ก ๆ ติดเชื้อในระหว่างที่ยังเป็นทารกอยู่ แต่สำหรับในประเทศที่พัฒนาแล้ว อาจจะไม่พบการติดเชื้อจนกระทั่งเป็นวัยรุ่น เพศชายจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเพศหญิง การถ่ายทอดไวรัสผ่านทางช่องปากหรือโดยทางอวัยวะที่เกี่ยวกับการหายใจ น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์

7 การแพร่กระจายของเชื้อ (ต่อ)
Enterovirus สามารถถูกขับออกมาทางอุจจาระได้ ตรวจพบได้ในน้ำ , ดิน , ผักสด , สัตว์น้ำที่มีเปลือกหุ้ม สามารถติดต่อได้ในชุมชนโดยการปนเปื้อนมากับอาหาร หรือ น้ำ ลักษณะของโรค จะเกิดผื่นขึ้นที่มือ เท้า และปาก ประเทศในเขตอบอุ่น จะพบโรคนี้บ่อยในฤดูที่มีอากาศร้อน แต่สำหรับประเทศในเขตร้อน จะพบโรคนี้ได้ทุกฤดูกาล น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์

8 เกณฑ์การวินิจฉัยโรค…ทางคลีนิค
ไข้ + แผลเปื่อยหลายแผล + ตุ่มน้ำพองขนาดเล็กที่ฝ่ามือ นิ้วเท้า ฝ่าเท้าและส้นเท้า เกณฑ์การวินิจฉัยโรค...ทางห้องปฏิบัติการ แยกเชื้อไวรัส จาก - Throat swab ในสัปดาห์แรกของการเริ่มป่วย - ป้ายจากตุ่มน้ำพอง ที่มือ เท้า ก้น - เก็บอุจจาระภายใน 14 วันของวันที่เริ่มป่วย ตรวจเลือด 2 ครั้งห่างกัน 14 วัน น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์

9 ประเภทผู้ป่วยและการรายงานโรค
ผู้ป่วยที่สงสัย (suspected case) ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลีนิค ผู้ป่วยที่เข้าข่าย (probable case) เกณฑ์ทางคลีนิค + ข้อมูลทางระบาดวิทยาที่เชื่อมโยงกับผู้ป่วยที่ยืนยัน ผู้ป่วยที่ยืนยัน (confirmed case) เกณฑ์ทางคลีนิค + ผลทางห้องปฏิบัติการ น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์

10 น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627
การรักษา ไม่มียาสำหรับการรักษาโดยเฉพาะ ส่วนมากมักจะเป็นการรักษาไปตามอาการ อาจมีการรักษาที่มุ่งจัดการกับโรคแทรกซ้อน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ , การเต้นของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ , หัวใจล้มเหลว เป็นต้น ใช้ immune globulin ป้องกันการเกิดอาการที่รุนแรง คือ ในรายที่ระดับภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายและสามารถทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์

11 น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627
การป้องกันและควบคุม จัดการการอนามัยในชุมชนให้ดีขึ้น เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย ในกรณีที่พบการระบาดในพื้นที่เดียวกัน ให้สอบสวนหาสาเหตุของการระบาดเพื่อกำหนดแนวทางการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์


ดาวน์โหลด ppt โรคมือปากเท้าเปื่อย (Hand foot mouth syndrome)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google