งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Top 10 Banking Fraud Practical Discussion of Fraud Schemes by Bank Insiders and How to Prevent Fraud from Occurring 05/04/60.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Top 10 Banking Fraud Practical Discussion of Fraud Schemes by Bank Insiders and How to Prevent Fraud from Occurring 05/04/60."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Top 10 Banking Fraud Practical Discussion of Fraud Schemes by Bank Insiders and How to Prevent Fraud from Occurring 05/04/60

2 แนะนำวิทยากร ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์ CIA CISA CISSP CFE CBA CFSA CCSA
หัวหน้าตรวจสอบภายใน บมจ. ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ (2528) ปริญญาโทบริหารธุรกิจ ธรรมศาสตร์ฯ (2533) IIA’s EIAP รุ่นที่ 7 จุฬาฯ (2546) ประสบการณ์ด้านวิศวกรรม 5 ปี ประสบการณ์ด้านการเงินในทิสโก้ 19 ปี ประธาน ชมรมผู้ตรวจสอบภายในธนาคารและสถาบันการเงิน วิทยากรและคณะทำงาน สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย 05/04/60

3 วัตถุประสงค์การเรียนรู้
เพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาและเหตุจูงใจของทุจริตในธนาคาร เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับเบาะแสและสัญญาณเตือนภัยที่เป็นตัวบ่งชี้ว่าทุจริตอาจเกิดแล้วหรือกำลังจะเกิดขึ้น เพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันทุจริตโดยศึกษาจากบทเรียนที่ได้เกิดขึ้นแล้วกับองค์กรอื่น ๆ เพื่อย้ำบทบาทที่สำคัญของผู้ตรวจสอบภายในในการสกัดกั้นการทุจริตและฉ้อโกงไม่ให้เกิดขึ้นในธนาคาร. 05/04/60

4 เนื้อหาการบรรยาย ปัญหาทุจริตในองค์กร บทเรียนจากกรณีทุจริต
การตรวจจับและสืบค้นทุจริต กรณีศึกษาทุจริตธนาคาร สรุปแนวทางป้องกันทุจริต 05/04/60

5 ปัญหาทุจริตในองค์กร 05/04/60

6 ความเสียหายจากการทุจริต
การทุจริตสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ และสังคมอย่างประเมินค่ามิได้ The Association of Certified Fraud Examiners (ACFE) ได้รายงานผลการสำรวจข้อมูลการทุจริตในองค์กรต่าง ๆ ในปี 2008 โดยประเมินความสูญเสียจากการฉ้อโกงที่เกิดในบริษัทในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว 994 พันล้านเหรียญต่อปี หรือถึง ร้อยละ 7 ของรายได้ ของบริษัททั้งปี ความเสียหายที่ไม่ใช่ตัวเงินอื่น ๆ เช่น เสื่อมศรัทธาความเชื่อถือต่อองค์กรและสถาบัน ชะลอโครงการสำคัญ ปิดกั้นโอกาสการเจริญเติบโต ทำลายขวัญกำลังใจของบุคลากร. 05/04/60

7 องค์ประกอบของทุจริต ทุจริตตามนิยามของ ACFE
การอาศัยวิชาชีพหรือตำแหน่ง นำทรัพย์สินหรือทรัพยากรของบริษัทไปใช้ในทางที่ผิดหรือไม่เหมาะสมโดยเจตนา โดยทั่วไป จะประกอบด้วยลักษณะ 4 อย่าง ปกปิดเป็นความลับ ไม่เปิดเผย มีการลวงให้เข้าใจผิด ละเมิดความเชื่อถือไว้วางใจ ของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ เช่น โดยการอาศัยวิชาชีพ หรือตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หวังประโยชน์แก่ตนเอง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และ ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ทรัพย์สิน รายได้ หรือผลประโยชน์ ขององค์กรที่เป็นนายจ้าง. 05/04/60

8 ประเภทของทุจริต ทุจริตอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน ลักขโมยหรือนำทรัพย์สิน เงินสด หรือข้อมูลขององค์กรไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว คอร์รัปชั่น ฉ้อราษฎร์บังหลวง รับสินบนหรืออามิสสินจ้าง หรือใช้อำนาจโดยผิดทำนองคลองธรรม กฎเกณฑ์หรือกฎหมาย เพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตน ตกแต่งบัญชีงบการเงิน กระทำผิดในเรื่องการรายงานงบการเงิน ลวงให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับผลประกอบการ โดยปกปิดข้อเท็จจริงสำคัญ แสดงข้อมูลหรือฐานะทรัพย์สินที่เป็นเท็จ ถ่ายเทกำไร ทุจริตภาษี ใช้ข้อมูลภายในของบริษัท ผู้บริหารถ่ายเทเงินของบริษัท หรือให้กู้ยืมเงินของบริษัทแก่ผู้อื่น. Three categories of occupational frauds : Asset Misappropriations Involve theft or misuse of organization’s assets i.e. skimming revenues, stealing inventory and payroll fraud. Corruption Wrongfully use influence to gain personal benefit contrary to duty to employer or the rights of another i.e. accepting kickbacks, conflicts of interest. Fraudulent Statements Falsification of organization’s financial statements i.e. overstating revenues and understating liabilities or expenses. 05/04/60

9 Breakdown of All Occupational Fraud Schemes — Median Loss
How Fraud is Committed Asset misappropriations were most common but low loss. Fraudulent statements were least common with highest loss. Breakdown of All Occupational Fraud Schemes — Median Loss Cash Misappropriations Out of 508 cases in our study, 440 cases (87%) involved some form of cash misappropriation. According to the Fraud Tree, cash frauds fall into one of three categories: • Fraudulent Disbursements, in which the perpetrator causes his organization to disburse funds through some trick or device. Common examples include submitting false invoices or forging company checks. • Skimming, in which cash is stolen from an organization before it is recorded on the organization’s books and records • Cash Larceny, in which cash is stolen from an organization after it has been recorded on the organization’s books and records Approximately three-fourths of the cash frauds in our study involved some form of fraudulent disbursement, making this the most common category by far. Schemes that involved a fraudulent disbursement also had the highest median loss, at $125,000. 05/04/60

10 Bank Most Common Fraud Greatest percentage (15%) of fraud occurred in banking and financial services sector. Banking and Financial Services Not surprisingly, in the banking and financial services sector, misappropriations of cash on hand were much more common than among all cases. Cash on hand schemes involve the theft of cash maintained on the premises of a victim organization. Banks have significant stores of cash on their premises, which can make them targets for this type of fraud. Cash on hand schemes tend to be relatively low-cost, with a median loss of $35,000 among the cases in our study. Corruption cases, on the other hand, tend to be much more costly; their median loss was $375,000. We reviewed 132 cases that targeted financial institutions, and one-third of those frauds involved corruption, which was a higher rate than among all cases. Conversely, other common forms of occupational fraud like false billing, skimming, non-cash theft, and check tampering were much less common in banking institutions than among all cases reported. 05/04/60

11 ปัจจัยที่เป็นต้นเหตุทุจริต
ทุจริตในองค์กรไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดเกิดจาก 3 ปัจจัยที่เรียกว่า สามเหลี่ยมทุจริต (The Fraud Triangle) ความต้องการ Incentive / Pressure Opportunity โอกาส เหตุผล Rationalization / Attitude 05/04/60

12 บทเรียนจากกรณีทุจริตในภาคธนาคาร
05/04/60

13 ตัวอย่างทุจริตในธนาคาร
การทุจริตโดยพนักงานธนาคาร พนักงาน ขโมยเงินสด ของสาขาไปใช้ประโยชน์ส่วนตน พนักงานสาขา ปลอมลายมือชื่อ ลูกค้าที่บัญชีไม่เคลื่อนไหวนาน หรือ ยักยอกบัตร และรหัส ATM ที่ลูกค้ายังไม่มารับไปและถอนเงินไปใช้ส่วนตัว พนักงานสินเชื่อรับชำระค่างวด ค่าธรรมเนียม หรือค่าประกันจากลูกค้า และ ไม่นำส่งธนาคาร พนักงานบรรจุเงินสดในเครื่อง ATM ไม่ครบตามที่แจ้งไว้ หรือ ขโมยเงิน ที่เครื่อง Reject ออก พนักงานสินเชื่อหรือผู้บริหารรู้เห็นกับลูกค้า ประเมินมูลค่าหลักประกันสูง กว่าความเป็นจริง. 05/04/60

14 ตัวอย่างทุจริตในธนาคาร
การทุจริตโดยลูกค้าและบุคคลภายนอก ปลอมเว็บไซท์ของธนาคาร เพื่อหลอกลวง ข้อมูลจากลูกค้าไปใช้ทำทุจริต (Phishing) ใช้การทำ ธุรกรรมที่ซับซ้อน กับธนาคารเพื่อ ปกปิดแหล่งที่มาของเงิน (Money laundering) เสนอ ผลประโยชน์ที่สูง หรืออ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ทางการเพื่อหลอกลวงข้อมูลหรือเงินจากบัญชีลูกค้า ปลอม เอกสารแสดงตนและหลักฐานการเงิน เพื่อกู้ยืมจากธนาคารโดยเจตนาไม่ชำระคืน ติด อุปกรณ์อ่านแถบแม่เหล็กและกล้องวิดีโอ ที่ตู้ ATM เพื่อทำสำเนาบัตรและเบิกเงินจากบัญชีลูกค้า (Skimming). 05/04/60

15 หละหลวมไม่ควบคุม รวบเกย์หนุ่มแบงก์ชาติฉก 3 ล้าน
วันที่ 6 ตุลาคม 2547 โรงพิมพ์ธนบัตร ธปท. ตรวจพบธนบัตรใบละ 1000 บาท 3000 ฉบับ หายไปจากห้องมั่นคง พอซักเจ้าหน้าที่อ้างคอมพิวเตอร์ผิดพลาด สามารถแก้ให้ยอดเงินกลับมาครบได้ แต่กลับหนีหายไม่ยอมมาทำงานอีก ผู้ต้องสงสัยมีอัธยาศัยดี ทำงาน ธปท.มา 14 ปี จนไว้วางใจให้ทำงานในห้องมั่นคง ชอบสะพายเป้เข้าไปเป็นปกติ จน รปภ.หละหลวมไม่ตรวจค้น ระยะหลังเริ่มเล่นพนันฟุตบอล มีพฤติกรรมชอบเที่ยวเตร่และพาชายหนุ่มมาค้างที่ห้อง ตำรวจรวบตัวผู้ต้องหาได้ในวันที่ 15 ตุลาคม และติดตามเงินส่วนใหญ่คืนได้จากการอายัดเงินที่โอนเข้าบัญชีเพื่อน. จับได้แล้วเกย์หนุ่มธปท.ฉก'3ล้าน' จากไทยรัฐ 15ตค 47 ตามที่ธนบัตรฉบับละ 1000 บาท จำนวน 3 พันฉบับหายไป จากห้องมั่นคง ของโรงพิมพ์ ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร จากการตรวจสอบพบว่า หายไประหว่างวันที่ 29 ส.ค ต.ค. 47 เบื้องต้นมีผู้ต้องสงสัย คือนายมนเมธี รัตนวิลัยวิทย์ อายุ 33 ปี เจ้าหน้าที่ฝ่ายห้องมั่นคงอาวุโส ซึ่งไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 8 ต.ค. ที่ผ่านมา ที่กองกำกับการสืบสวนสอบสวน บก.น.1 ถนนศรีอยุธยา เมื่อเวลา น. วันที่ 15 ต.ค. พล.ต.ต.กฤษฎา พันธุ์คงชื่น รอง ผบช.น. พร้อมด้วย พ.ต.อ.ธัมรงค์ วงศ์แป้น ผกก.สส.บก.น.1 และชุดสืบสวนประชุมวางแนวทางติดตามล่าตัวนายมนเมธี โดยการสอบสวนทราบว่า นายมนเมธีเข้ามาทำงานในธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2533 จนได้รับความไว้วางใจให้อยู่ในห้องมั่นคง มีอัธยาศัยดี ทุกครั้งที่เข้าไปทำงานจะสะพายเป้เข้าไปในห้องประจำ กลายเป็นเรื่องปกติที่ทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหละหลวมในการตรวจค้น จึงเป็นช่องทางให้น่าเชื่อว่า นายมนเมธีแอบยักยอกนำเงินจำนวนดังกล่าว ใส่กระเป๋าเป้ออกมากระทั่งวันที่ 6 ต.ค. เจ้าหน้าที่ระดับสูงมีการตรวจสอบยอดธนบัตร พบว่าธนบัตรใบละ 1000 บาท หายไปถึง 3,000 ฉบับ เมื่อสอบถามนายมนเมธีก็ให้การแบ่งรับแบ่งสู้ โดยบอกกับเจ้าหน้าที่ว่า สามารถทำคอมพิวเตอร์ให้ยอดเงินกลับมาครบได้ แต่ปรากฏว่านายมนเมธีกลับหนีหายไม่ยอมมาทำงานอีกเลย เป็นเหตุให้เชื่อว่า เจ้าหน้าที่ธนาคารรายนี้เกี่ยวข้องเพราะพบประวัตินายมนเมธีระยะหลังติดเล่นพนันฟุตบอล อาจเป็นแรงจูงใจให้ฉกเงินจำนวนดังกล่าวหนีหายไป พ.ต.ท.ฉัตรา พาสุวรรณ รอง ผกก.สส. สน.ชนะสงคราม เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ พ.ต.ท.วัฒนะพงศ์ ตงศิริ สวส. สน.ชนะสงคราม สอบปากคำพยาน 3 ปาก ซึ่งทั้งหมดเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยที่ทำงานในห้องมั่นคง และจะได้นัดพยานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่อีก 3 คนที่ทำงานในห้องดังกล่าวมาสอบปากคำเพิ่มเติม โดยสอบเกี่ยวกับการทำงาน ความเป็นอยู่ ขั้นตอนการเก็บรักษาเงิน และการขนย้ายเงิน ขณะนี้อยู่ในขั้นการรวบรวมหลักฐานเพื่อขอออกหมายจับ เช้าวันเดียวกัน พ.ต.ท.ฐากูร ฤทธิ์มนตรี สว.กก.สส. บก.น.1 นำกำลังประมาณ 10 นาย เข้าปิดล้อมอาคารไดมอนด์รัชดาเพลส 2 เลขที่ 328 ซอยรัชดาภิเษก 32 แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กทม. ซึ่งเป็นคอนโดฯ 9 ชั้น เนื่องจากสืบพบว่านายมนเมธีเช่าห้องพักอยู่ที่ห้อง 8155 บนชั้น 8 เมื่อไปถึงพบว่าห้องปิดล็อก ชุดสืบสวนจึงซุ่มรอเพื่อจับกุมนายมนเมธีตอนที่กลับมาเข้าห้อง แต่รออยู่จนกระทั่งบ่าย 3 โมง จึงทราบข่าวจากผู้ที่อยู่ในคอนโดฯว่า นายมนเมธีได้หลบหนีออกไปแล้ว จากการตรวจสอบเส้นทางหลบหนีที่ทำให้ตำรวจซึ่งยกกำลังไปล้อมคอนโดฯ ต้องหน้าแตกพบว่านายมนเมธีไปขอนอนอยู่ห้องติดกันคือห้อง 8154 ซึ่งเป็นห้องริมคอนโดฯ เมื่อรู้ว่าตำรวจมาดักรอจึงปีนออกทางหน้าต่างไปที่ระเบียง ปีนกันสาดลงมาที่ชั้น 7 เคาะหน้าต่างห้องชั้น 7 เรียกให้เจ้าของห้องช่วยเปิดหน้าต่างให้เข้าไป แล้วออกทางประตูห้อง ลงบันไดจากชั้น 7 ไปถึงชั้น 2 ปีนออกหน้าต่างช่องลมที่บันได เหยียบหลังคาห้องน้ำ กระโดดหนีออกจากคอนโดฯไปอย่างลอยนวล หลังพลาดได้ตัวนายมนเมธี เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปตรวจค้นในห้องของนายมนเมธี พบสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร 2 เล่ม เป็นชื่อของนายเกียรติกำพล ยอดเยี่ยมแก อายุ 25 ปี กับชื่อของ นายพระพุทธ ยศพลสุทัศน์สา อายุ 25 ปี มีการโอนเงินเข้ารวมกัน 2 บัญชี 3 ล้านบาท เมื่อวันที่ 8 ต.ค. ที่ผ่านมา จากการสอบสวนผู้ที่อยู่ในคอนโดฯ ทราบว่านายมนเมธีมีนิสัยชอบเพศเดียวกัน มีชายหนุ่มมาหลับนอนที่ห้อง และพาไปเที่ยวเตร่เป็นประจำ พล.ต.ต.ปราโมท ปทุมวงศ์ ผบก.น.1 เปิดเผยว่า เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า นายมนเมธีเป็นคนร้ายที่เอาเงินไป เมื่อได้เงินแล้วนำเงินโอนเข้าบัญชีของเพื่อน 2 บัญชี ถึงขณะนี้มีเงินเหลืออยู่ในบัญชีเกือบ 2 ล้านบาท เชื่อว่าเงินจำนวนนี้จะได้คืน ส่วนการติดตามตัวนายมนเมธีได้จัดชุดสืบสวน 5 ชุด ออกแยกย้ายกันติดตาม คาดว่าจะได้ตัวเร็วๆนี้ นอกจากนี้ ชุดสืบสวนอีกส่วนยังติดตามเพื่อนนายมนเมธีทั้ง 2 คน ที่คาดว่าน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนี้ด้วย ส่วนพนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทยคนอื่น จากการตรวจสอบไม่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง สำหรับนายมนเมธีศาลได้อนุมัติหมายจับแล้ว ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบเพิ่มเติม ของคณะกรรมการตรวจสอบการหายของธนบัตร โดยคณะกรรมการจะตรวจ สอบประเด็นการหายว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร มีใครเกี่ยวข้องบ้าง วิธีการฉกเงินออกไปทำอย่างไร รวมทั้งตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัยของ ธปท.ด้วยว่า จำเป็นต้องปรับปรุงส่วนไหนหรือไม่ จากการสอบสวนและตรวจสอบกล้องวงจรปิดในช่วง 1 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค. ซึ่งเป็นวันที่โรงพิมพ์ฯพบพิรุธ และทำให้รู้ตัวว่าผู้ที่ต้องสงสัยเป็นใคร ตำรวจกำลังติดตามตัวอยู่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวต่อว่า ความจริงกรณีแบบนี้เคยเกิดมาแล้วเมื่อประมาณ 2-3 เดือนที่ผ่านมา ที่ ธปท. สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น เป็นพนักงาน ธปท.เหมือนกันที่เอาเงินออกไปจากห้องมั่นคง ของ ธปท. สาขาขอนแก่น ครั้งนั้นเอาเงินออกไปได้เกือบ 2 ล้านบาทและจับกุมตัวผู้กระทำผิดได้ ส่วนเงินติดตามคืนมาได้บางส่วน ผู้กระทำผิดตอนนี้ติดคุกชดใช้อยู่ สำหรับผู้รับผิดชอบที่ขอนแก่นได้สั่งย้ายยกสายยันระดับผู้รับผิดชอบสูงสุด หากมีผู้ได้เบาะแสเรื่องธนบัตรจำนวน 3 ล้านบาท ขอให้ แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่ได้ รับธนบัตรนี้ไปจะไม่มีความผิด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในตอนค่ำวันเดียวกันนี้ ชุดสืบสวนของ กก.สส.บก.น.1 พบตัวนายเกียรติกำพล ยอดเยี่ยมแก หนุ่มคู่ขาที่นายมนเมธีโอนเงินที่ยักยอกมาเข้าบัญชี จึงนำตัวจากที่พักย่านลาดพร้าวไปสอบปากคำอย่างละเอียดถึงที่มาของเงิน ความสัมพันธ์ระหว่างนายเกียรติกำพลกับนายมนเมธี เพื่อหาข้อเท็จจริงว่านายเกียรติกำพลมีส่วนรู้เห็นกับการยักยอกเงินครั้งนี้หรือไม่ ในเบื้องต้นนายเกียรติกำพลให้การปฏิเสธ ยืนยันว่าไม่รู้ ว่านายมนเมธีเอาเงินมากมายมาจากไหน เพียงแต่เมื่อต้นเดือน นายมนเมธีใช้ให้ไปเปิดบัญชีธนาคารกรุงเทพโดยให้เงินไปเปิดบัญชี 500 บาท แต่อยู่ๆก็มีเงินโอนเข้ามาในบัญชีมากมาย อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจยังคุมตัวนายเกียรติกำพลเอาไว้สอบปากคำ เพื่อหาเบาะแสของนายมนเมธีต่อไป ผู้สื่อข่าวรายงานล่าสุดเมื่อเวลา น. วันเดียวกันว่า ชุดสืบสวนของ กก.สส.บก.น.1 นำโดย พ.ต.ท. ฐากูร ฤทธิ์มนตรี สว.กก.สส.บกน.1 พร้อมด้วยชุดสืบสวนของ สน.ชนะสงคราม จับกุมตัวนายมนเมธีได้ที่อพาร์ตเมนต์ แห่งหนึ่งในซอยรามอินทรา 127 แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กทม. จึงนำตัวไปสอบสวนที่ กก.สส.บก.น.1 เพื่อขยายผล 05/04/60 (ไทยรัฐ 15 ต.ค.47)

16 รู้ไหมสุดท้ายใครเสียหาย
ชาวบ้านสุดระทม เสียรู้แชร์รถเช่า เดือนกุมภาพันธ์ 2551 เจ้าทุกข์นับร้อยเข้าแจ้งความขบวนการแชร์รถยนต์ ตั้งบริษัทหลอกชาวบ้านนำรถมาให้เช่า หลงเชื่อคืนทุนใน 2 ปี โดยสัญญาจ่ายเงินตอบแทนเดือนละ บาท ก่อนปิดเชิดหนี ผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์รวม 727 ราย รถสูญหาย 987 คัน ตามคืนได้เพียง 60 คัน คาดส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านหรือขายให้เต็นท์รถ บางคันจอดอย่างเปิดเผยอยู่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจติดตามสัญญาณมือถือจนจับกุมตัวผู้ต้องหาได้ที่จังหวัดน่าน พร้อมเอกสารหลักฐานของกลาง. เมื่อเวลา น. วันที่ 17 ก.พ. ที่ สน.มีนบุรี ยังมีผู้เสียหายเหยื่อแก๊งแชร์รถเช่าทยอยกันเข้าแจ้งความ รวมกับพวกที่แจ้งความไว้แล้วไปติดตามความคืบหน้าในคดี ประมาณ 20 ราย หลายรายเดินทางมาไกลจาก จ.ชัยภูมิ ขอนแก่น เชียงใหม่ ชลบุรี เกือบทั้งหมดนอกจากถูกโกงเงินค่ารถมาแล้ว ยังสูญรถไปอีกเฉลี่ยคนละไม่ต่ำกว่า 5 คัน ส่วนใหญ่เป็นรถตลาด อย่างคัมรี่ วีออส ฟอร์จูนเนอร์ อัลติส ขณะที่พนักงานสอบสวนได้นำหมายจับผู้ต้องหาคดีดังกล่าว ประกอบด้วยนายจรัล สุภาพ อายุ 38 ปี นางฐิติรัตน์ สีมุก อายุ 33 ปี นายพีรพงศ์ ภิรักษ์ชวนันท์ อายุ 32 ปี และนางณัฐนิรินทร์ มูฮำหมัด อายุ 33 ปี ติดไว้ที่ชั้นล่างของ สน.มีนบุรี เพื่อให้ผู้เสียหายทราบความคืบหน้าของคดี ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 16 ก.พ. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.มีนบุรี สามารถจับกุมตัวนายพีรพงศ์ไว้ได้แล้ว เบื้องต้นให้การเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี สามารถนำสู่การออกหมายจับผู้ต้องหารายอื่นต่อไป นางสำรวย วิวะโค อายุ 53 ปี อยู่บ้านเลขที่ 5/602 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝก เขตหนองจอก หนึ่งในผู้เสียหายที่มาติดตามความคืบหน้าของคดี เปิดเผยว่า มานั่งเฝ้าอยู่ที่นี่เพราะอยู่บ้านก็ไม่มีประโยชน์และนอนไม่หลับหลายคืนแล้ว เนื่องจากเสียรถไป 5 คัน ยังตามกลับคืนมาไม่ได้เลย ปกติเป็นแม่บ้านอาศัยเงินของสามีซึ่งเป็นลูกจ้างขับรถตู้คอนเทนเนอร์ เป็นเหยื่อแก๊งแชร์รถเช่าเมื่อกลางปี 50 เนื่องจากสังเกตเห็นข้างบ้านออกรถหลายคัน เมื่อสอบถามก็รู้ว่าออกรถมาให้เช่ามีรายได้ดี จึงออกรถมาบ้าง ประกอบกับเมื่อไปที่บริษัทยูฟูกุ ดีคอเรท พบตำรวจ ทหาร มีดาวบนบ่าเอารถไปทำสัญญาให้เช่า จึงมั่นใจว่างานนี้ไม่ถูกโกงแน่ ก่อนตัดสินใจกู้เงินนอกระบบ 5 แสนบาท ไปดาวน์รถ และตอนนี้ยังติดหนี้ไฟแนนซ์อีกราว 4 ล้านบาท ถูกโกงแบบนี้ถือว่าหมดตัวแล้ว ยิ่งวัยนี้เป็นไม้ใกล้ฝั่งอยากจะคิดสั้นทำร้ายตัวเอง แต่เมื่อนึกถึงหลานๆจึงตัดใจไม่ลง ต้องสู้ชีวิตต่อไป ต่อมาเวลา น. พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ โฆษก ตร. เดินทางไปพบกลุ่มผู้เสียหายที่ สน.มีนบุรี ที่จับกลุ่มรวมกันอยู่ประมาณ 50 ราย ระหว่างนั้น นายประจวบ อยู่สวัสดิ์ อายุ 43 ปี ผู้เสียหายรายหนึ่ง เข้ามาให้ข้อมูลว่า รถของตนที่เข้ามาร่วมกับแชร์รถเช่า เป็นรถโตโยต้า วีออส สีเทา ทะเบียน ชษ 9289 กรุงเทพมหานคร มีระบบติดตามจีพีเอส สามารถบันทึกข้อมูลไว้ได้ว่า ช่วงวันที่ 10 ม.ค.-8 ก.พ. ที่ผ่านมา รถวิ่งเข้าออกกองปราบปราม หลายต่อหลายครั้ง จึงอยากให้ตำรวจเรียกทีวีวงจรปิดมาดูว่าใครเป็นคนขับ พล.ต.ท.พงศพัศจึงแจ้งพนักงานสอบสวนให้ประสานไปทางกองปราบฯขอภาพทีวีวงจรปิดมาตรวจสอบอย่างเร่งด่วน พล.ต.ท.พงศพัศเปิดเผยว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผบ.ตร. รู้สึกห่วงใยคดีนี้ เพราะมีผู้เสียหายจำนวนมากและกระจายอยู่หลายจังหวัด จากการสอบถามชุดทำงานได้รับคำยืนยันว่าขณะนี้ไม่มีปัญหาทางด้านพนักงานสอบสวน เพราะมีเพียงพอแล้ว แต่ยังเป็นที่ร้อนใจของเจ้าทุกข์ว่าจะต้องติดตามรถ ดังนั้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะนำข้อมูลของรถ 700 คันทั่วประเทศที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ บรรจุไว้ในเว็บไซต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าเป็นรถยี่ห้อ รุ่น สี และทะเบียนอะไร เพื่อให้ผู้ครอบครองอยู่ตรวจสอบ หากต้องการจะคืนให้รีบแจ้งตำรวจใกล้บ้าน เพราะหากครอบครองโดยบริสุทธิ์ใจก็จะไม่มีความผิดใดๆส่วนที่ว่าผู้เสียหายกังวลใจเกี่ยวกับการส่งงวดไฟแนนซ์นั้น จะได้ประสานกระทรวงพาณิชย์หาทางช่วยเหลือต่อไป อาจจะขอให้พักชำระค่างวดสัก 5-6 งวดก่อน สำหรับคดีนี้จะมีการออกหมายจับเพิ่มอีก 3-4 คน เมื่อเวลา น. ร.ต.ท.ณัฏฐ์ สะอาดเอี่ยม พงส. (สบ 1) สน.พหลโยธิน รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบฯว่าพบรถต้องสงสัยโตโยต้า คัมรี่ สีบรอนซ์เงิน ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน จอดทิ้งไว้ในลานจอดรถกองปราบปราม จึงไปตรวจสอบ รถคันดังกล่าวประตูปิดล็อกทั้ง 4 ด้าน ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนและป้ายวงกลมเสียภาษี จากนั้นใช้รถยกนำมาเก็บไว้ที่ สน.พหลโยธิน เพื่อรอเจ้าของรถมาแสดงตัวติดต่อขอรับกลับไป เย็นวันเดียวกัน ที่ จ.ชลบุรี มีผู้เสียหายเจ้าของรถเก๋ง และรถปิกอัพมาเข้าคิวรอเข้าแจ้งความกับ ร.ต.ท. เฉลียว บุญคุ้ม พงส.(สบ 1) สภ.บ้านบึง จ.ชลบุรี เป็นจำนวน มาก ร.ต.ท.เฉลียวเปิดเผยว่า ตั้งแต่เมื่อเช้า วันที่ 16 ก.พ. มาจนถึงวันนี้ มีผู้เสียหายเป็นเจ้าของรถปิกอัพ รถตู้ และ รถเก๋ง กว่า 40 คัน เข้าแจ้งความในทำนองเดียวกันว่า ถูก นายจักริน พลอยสารักษ์ อายุ 42 ปี เจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.โชคอุดมรัตน์ ชลบุรี กับพวก ทำทีมาขอเช่ารถ กับผู้เสียหายเพื่อนำไปดำเนินธุรกิจ โดนรถเก๋งคันใหม่ ให้ราคา 20,000 บาท ต่อคันต่อเดือน รถปิกอัพถ้าสภาพใหม่ ราคา 19,000 บาท หรือ 18,000 บาท ต่อคัน ต่อเดือน โดยผู้เช่าจะชำระค่าเช่าเมื่อครบ 30 วัน แต่ปรากฏว่า ผู้เสียหาย บางรายก็ได้รับเงิน บางรายยังไม่ได้รับ เลยเข้าใจว่าจะโดน หลอก จึงมาแจ้งความให้ตำรวจติดตามตัวนายจักรินมาสอบสวนข้อเท็จจริงต่อไป 05/04/60 (ไทยรัฐ 18 ก.พ.51)

17 ใครกันแน่ที่โกงธนาคาร
ช็อกเงินฝาก 250 ล้านล่องหน 28 มีนาคม 2550 ธนาคารแจ้งความดำเนินคดีผู้ช่วยผู้จัดการสาขาวังน้อย ฐานลักทรัพย์นายจ้าง โดยถอนเงินหรือหักเงินในบัญชีลูกค้า แล้วใช้บัตรประจำตัวสั่งอนุมัติ ผู้ต้องหาถูกฟ้องกว่า 1000 คดี แต่ได้หลบหนีไปพร้อมเงินแต่แรก และติดตามยึดทรัพย์คืนได้น้อยมาก กลุ่มลูกค้าที่เงินหายไปจากบัญชี อ้างความเสียหายรวม 250 ล้านบาท และขอถอนเงินจากบัญชี แต่ธนาคารปฏิเสธ ลูกค้าจึงแจ้งความดำเนินคดีกับธนาคารและผู้ที่เกี่ยวข้อง ธนาคารจ่ายค่าเสียหายให้ลูกค้ากว่า 200 ล้านบาท และตัดสินใจตั้งหน่วยงานขึ้นป้องกันทุจริตโดยเฉพาะ. โพสต์ทูเดย์ — ลูกค้าแบงก์กรุงศรีฯ เต้น เงินในบัญชีล่องหน 250 ล้านบาท แถมถูกระงับถอนเงิน แจ้งจับ ผช.ผจก.ตัวดีแอบถอนเชิดเงินหนี นายวิบูลย์ นัฐยาวัต ทนายความของนางวีนัฐ จงประวัติสกุล เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากครอบครัวจงประวัติสกุล ให้เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับธนาคารกรุงศรีอยุธยาและผู้ที่เกี่ยวข้อง ภายหลังตรวจสอบพบว่าเงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของคนในครอบครัวและญาติรวม 8 คน และเงินเบิกเกินบัญชี (โอดี) ได้หายไปจากบัญชีรวมทั้งสิ้น 250 ล้านบาท นายวิบูลย์ กล่าวว่า ครอบครัว จงประวัติสกุลได้แจ้งไปยังผู้บริหารธนาคารกรุงศรีอยุธยา 1-2 ครั้ง แต่ก็ไม่ได้ข้อยุติ และธนาคารยังไม่รับผิดชอบชำระเงินคืน ล่าสุดครอบครัวจงประวัติสกุลได้ขอถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝาก 30 ล้านบาท เป็นแคชเชียร์เช็คลงลายมือชื่อ แต่เมื่อนำแคชเชียร์เช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคาร กสิกรไทย สาขารังสิต จ.ปทุมธานี ก็ได้รับแจ้งว่าไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ เพราะมีคำสั่งระงับการจ่าย อย่างไรก็ตาม เมื่อนางวีนัฐติดต่อ กลับไปยังธนาคารกรุงศรีอยุธยาก็ถูกบ่ายเบี่ยง จึงได้เข้าแจ้งความกับสถานีตำรวจภูธร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อดำเนินคดีกับธนาคารและผู้ที่เกี่ยวข้อง นายเกียรติศักดิ์ โลหิตานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ธนาคารได้ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด แต่เป็นเรื่องที่ตำรวจกำลังสืบสวนสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่ พล.ต.ต.นเรศ นันทโชติ ผบก.ภ.จว.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา ผู้รับมอบอำนาจทางกฎหมายจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาวังน้อย เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ให้ดำเนินคดีกับ น.ส.วรรณา พงษ์สุภาพ ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคาร กรุงศรีอยุธยา สาขาวังน้อย ในความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง และร่วมกันลักทรัพย์ผู้อื่น และปัจจุบันได้หนีไปแล้ว ทั้งนี้ เนื้อหาในคำฟ้องระบุว่า น.ส.วรรณามีพฤติกรรมถอนเงินหรือหักเงินในบัญชีลูกค้า โดยนำใบถอนเงินแบบไม่มีสมุดบัญชีผู้ฝากและเจ้าของบัญชีที่แท้จริงไม่ทราบ และไม่ได้ลงลายมือชื่อในใบถอนเงินแล้วใช้อำนาจของตัวเอง ซึ่งสามารถ ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ประจำตัวในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการสาขาสั่งอนุมัติการถอนเงิน จากนั้นโอนเงินเข้าบัญชีผู้อื่น หรือใช้วิธีการหักบัญชีของลูกค้า โดย ทำใบหักเงินปลอมแล้วใช้บัตรประจำตัวของตัวเองอนุมัติ คิดเป็นความเสียหาย 200 ล้านบาทเศษ ตอนนี้กำลังติดตาม ตัวอยู่ “ตำรวจได้สอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานจนสามารถขอหมายจับ น.ส.วรรณาจากศาลจังหวัดแล้ว และได้แจ้งไปยังตำรวจทั่วประเทศ พร้อมตั้งรางวัลนำจับ 5 แสนบาท แต่ยังไม่ได้ตัว” พล.ต.ต.นเรศ กล่าว แหล่งข่าวกล่าวว่า น.ส.วรรณาได้หลบหนีไปพร้อมเงินแต่แรกแล้ว และเชื่อว่า ยังมีชีวิตอยู่และกบดานอยู่ในเขตภาคเหนือ 05/04/60 (โพสต์ทูเดย์ 24 พ.ค. 50)

18 เสียเงินไม่พอแถมเสียชื่อ
ผู้ช่วยผู้จัดการร่วมพนักงานสาวโกงแบงก์ วันที่ 2 เมษายน ผู้จัดการธนาคาร สาขาอุบล เข้าแจ้งความดำเนินคดี ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อ ฐานแสดงรายการเบิกเท็จเพื่อให้ธนาคารอนุมัติเงิน 30 รายการ และพนักงานบัญชี ฐานลักลอบเบิกเงินลูกค้า 6 บัญชี ความเสียหายรวมกว่า 17 ล้านบาท ทุจริตเริ่มทำมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 และถูกตรวจพบโดยสำนักงานใหญ่เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2552 แต่ผู้ต้องหารู้ตัวหลบหนีทัน ลูกค้าเงินฝากถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินอ้างอยู่ระหว่างตรวจสอบ รอเกือบ 2 เดือนทนไม่ไหวเข้าแจ้งความ. แจ้งจับ ผช.แบงก์ธนชาติสาขาอุบลฯ ฐานร่วมพนักงานสาวโกงเงิน 17 ล้าน อุบลราชธานี-ผจก.ธนาคารธนชาติ สาขาอุบลราชธานี โร่แจ้งความจับผู้ช่วยผู้จัดการและพนักงานบัญชีลอบทำรายการเบิกเท็จจากบัญชีเงินฝากลูกค้ากว่า 17 ล้าน หลังเรื่องแดงหนีหน้าไม่เข้าที่ทำงาน เมื่อเวลา น.วันนี้( 2 เม.ย.)พ.ต.ต.อดิสรณ์ อินทะนาม สารวัตรเวร สภ.เมือง จ.อุบลราชธานี รับแจ้งจากนายพรสิน ชูวงษ์ อายุ 53 ปี ผจก.ธนาคารธนชาติจำกัดสาขาอุบลราชธานี อยู่บ้านเลขที่ 423 ซ.เดชอุดม 14 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ได้รับมอบอำนาจจากธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน) ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับนายสมบัติ โล่ห์สุวรรณ ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารธนชาติจำกัด สาขาอุบลราชธานี และ น.ส.รุจิรา ดาวเรือง พนักงานฝ่ายบัญชีธนาคารเดียวกัน ฐานฉ้อโกงทรัพย์เป็นเงินสดจำนวน 17,549, บาท จากการสอบสวนนายพรสินให้การว่า ธนาคารธนชาติ สำนักงานใหญ่ได้ตรวจสอบบัญชีเงินฝากของลูกค้าเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2552 พบ น.ส.รุจิราพนักงานบัญชีของธนาคารธนชาติ สาขาอุบลราชธานี ลักลอบเบิกเงินของลูกค้าที่นำฝากกับทางธนาคารระหว่างวันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 18 มีนาคม 2552 จำนวน 6 บัญชี คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 11,126, บาท สำหรับนายสมบัติ โล่สุวรรณ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อได้แสดงรายการเบิกอันเป็นเท็จ เพื่อให้ธนาคารอนุมัติเงินจากบัญชีของลูกค้าอีก 30 รายการ คิดเป็นจำนวนเงิน 6,422,877 บาท เหตุเกิดระหว่างวันที่ 28 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 26 มีนาคมปีเดียวกันนี้ จึงมาแจ้งความร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนเรียกตัวผู้ต้องหาทั้ง 2 มาให้ปากคำและรับทราบข้อกล่าว รวมทั้งให้ออกหมายจับหากผู้ต้องหาหลบหนีไปแล้วด้วย ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า สำหรับผู้ต้องหาทั้ง 2 หลังธนาคารตรวจพบความผิดปกติ ก็ไม่ได้เข้ามาในที่ทำงานในวันนี้ด้วย 05/04/60 (ผู้จัดการ 2 เม.ย. 52)

19 ไว้ใจให้โจรดูแลเงิน ลากคอยกแก๊ง ฉกเอทีเอ็ม 3 ปี
วันที่ 15 สิงหาคม 2552 แบงก์ผิดสังเกตสัญญาณเตือนเงินหมดตู้เอทีเอ็มทั้งที่เพิ่งเติมตอนเย็น แจ้งบริษัทขนเงินเข้าตรวจ พบเงินหายจากตู้โดยไม่มีร่องรอยงัดแงะ ส่วนกล้องวงจรปิดถูกคนร้ายใช้ร่มบังจนมองไม่เห็น ตำรวจรวบพนักงานบริษัทขนเงินสาขาระยองได้ยกแก๊งรวม 11 คน สารภาพทำมา 3 ปี โดยเติมเข้าตู้เอทีเอ็มไม่ครบและแอบนำไปใช้ส่วนตัว พนันบอล เข้าบ่อนเขมร พอเงินในตู้ใกล้หมด ก็เอาจากตู้อื่นที่รับผิดชอบมาใส่คืนวนไปเรื่อย ๆ ตำรวจแจ้งข้อหาร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง คาด ความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 23 ล้านบาท. โพสต์ทูเดย์ — ลูกค้าแบงก์กรุงศรีฯ เต้น เงินในบัญชีล่องหน 250 ล้านบาท แถมถูกระงับถอนเงิน แจ้งจับ ผช.ผจก.ตัวดีแอบถอนเชิดเงินหนี ลากคอยกบริษัท11โจรฉกเอทีเอ็มโกง3ปีสูญ23ล้านหัวโจกยังหนีรอด หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ สรุปข่าวหน้าหนึ่ง -- อังคารที่ 18 สิงหาคม :45:33 น. ตำรวจโชว์ฟอร์มลากคอแก๊งฉกเงินตู้เอทีเอ็มธนาคารกรุงศรีอยุธยา เกือบยกแก๊ง 11 คน เป็นพนักงานบริษัทบริงค์ ทำหน้าที่นำเงินใส่ตู้เอทีเอ็ม 10 คน อีก 1 คน เป็น คนที่รับฝากเงิน เหลือผู้ต้องหายังหลบหนีเพียง 1 คน แฉพนักงานแสบโกงยกสาขา อมเงินที่ต้องนำใส่ตู้ไว้บางส่วน พอเงินที่ใส่ไว้ใกล้หมดก็จะไขเอาเงินจากตู้เอทีเอ็ม อื่นไปใส่แทน ใช้วิธียักย้ายถ่ายเทเงินเป็น "งูกินหาง" เพื่อกลบเกลื่อนการกระทำผิด กระทั่งหนึ่งในคนร้ายแอบฉกเงินในตู้ไป 3 ล้านบาทแล้วเผ่นหนี หัวหน้าคนงานกับ พวกรวม 4 คน เลยสวมรอยตระเวนลักเงินในตู้เอทีเอ็ม 4 ตู้รวด จนความแตกถูกตำรวจตามลากคอยกแก๊ง ผู้จัดการบริษัทเผย คนร้ายกระทำผิดลักษณะเดียวกันนาน ร่วม 3 ปี คาดเงินหายไปราว 23 ล้านบาท คมชัดลึก :คนร้ายไขกุญแจปลดระหัส เข้าฉกเงินตู้เอทีเอ็มแบ็งค์กรุงศรีอยุธยา ในพื้นที่จังหวัดระยองคืนเดียว 4 ตู้ กวาดกว่า 10 ล้านบาท ตำรวจสงสัยเจ้าหน้าที่บริษัท รับจ้างขนเงิน (15ส.ค.) พ.ต.ท.ฉัตร ณรงค์ พนักงานสอบสวนเวร สภ.มาบตาพุด อ.เมือง ระยอง รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่บริษัท BING ซึ่งเป็นบริษัท รับจ้างขนเงินเข้าตู้เอทีเอ็ม ของ ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา ทั่วประเทศ ว่า ตู้เอทีเอ็ม ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ถูกคนร้ายลักเงินไป จำนวน 4 ตู้ ได้แก่ตู้เอทีเอ็ม หน้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขากะเฉด ริมถนนสุขุมวิท ต.กะเฉด อ.เมือง ระยอง จำนวน 2 ตู้ สาขานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ริมถนน ไอ 1 อ.เมือง จ.ระยอง 1 ตู้ และสาขาบ้านฉาง หน้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา (เก่า) ริมถนนสุขุมวิท ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง จำนวน1 ตู้ เงินสดที่ถูกโจรกรรมไม่ต่ำกว่า 10ล้าน บาท หลังรับแจ้งจึงรายงานพล.ต.ต.ธนิตศักดิ์ ธีระสวัสดิ์ ผบก. ภ.จว.ระยอง และไปที่เกิดเหตุพร้อมพ.ต.อ. อิทธิเดช เจริญสหายานนท์ รอง ผบก. ภ.จว.ระยอง พร้อม ประสาน เจ้าหน้าที่ วิทยาการ กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดระยอง เข้าตรวจสอบ และเก็บรายนิ้วมือของคนร้าย จากการตรวจสอบที่ตู้เอทีเอ็ม ทั้ง 4แห่ง ที่ถูกโจรกรรม คนร้ายใช้กุญแจไขและใช้รหัส ถอดตู้ทุกตู้ได้อย่างสบาย นำเงินออกจาก กล่องได้ โดยไม่ต้องงัดแงะ ส่วน กล้องวงจรปิดที่ติดไว้ คนร้ายใช้ร่มบังจนมองไม่เห็น จากการสอบสวน ทราบว่า เมื่อเวลา สัญญาณ ฉุกเฉิน ดังเข้าไปในสำนักงานใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา แสดงให้ทราบว่า มีการเข้าไปในตู้เอทีเอ็ม ต่อมาเวลา 05.00 น. จึงแจ้งมายังบริษัท BING ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ ในนิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด ให้ตรวจสอบ จึงพบว่า ตู้เอทีเอ็มถูกโจรกรรม โดยคนร้ายไขกุญแจ พร้อมการใช้รหัส นำเงินออกจากตู้ เจ้าหน้าที่บริษัทบริ๊ง จึงได้ตรวจสอบตู้อื่นๆ ในระยอง พบว่า มีตู้เอทีเอ็ม ถึง 4 ตู้ที่ถูกโจรกรรมในลักษณะเดียวกัน พ.ต.อ. อิทธิเดช เจริญสหายานนท์ รอง ผบก. ภ.จว.ระยอง กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝ่ายสืบสวน ได้ประสานผู้บริหาร บริษัท BING ให้สอบถาม พนักงาน ที่รับผิด ชอบการขนเงินเข้ายังตู้เอทีเอ็ม ทราบในเบื้องต้นว่า เมื่อ เวลา16 นาฬิกาวันที่ 14 สิงหาคม เจ้าหน้าที่ บริษัท บริ๊ง 4 คน นำเงินสด ใส่ตู้เอทีเอ็มทั้งสี่ ตู้ ประมาณ 10 ล้าน ต่อมาเวลา นาฬิกา สัญญาณเงินหมดจากตู้ดังไปที่ สำนักงานใหญ่ เป็นที่น่าสงสัย เพราะเจ้าหน้าที่เพิ่งนำเงินเข้าไปใส่ในตู้ ตอนเย็น ไม่กี่ชั่วโมงเงินหมด จึงแจ้ง ให้ บริษัท เข้าไปตรวจสอบ ก็พบว่า เงินถูกโจรกรรม จึงติดตามเจ้าหน้าที่ทั้งสี่ มาสอบสวน แต่ทางบริษัท แจ้งว่าเจ้าหน้าที่ 4 คน หายไปหนึ่งคน คือนายณรงค์ โทมี อายุ 36 ปี อยู่บ้านเลขที่ 258 ม3 ต.โพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ตำรวจกำลังติดตามตัวมาสอบสวน เพราะ นายณรงค์ เป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ ที่นำเงินมาใส่ตู้และเก็บกุญแจ ทราบรหัสทั้งหมด 05/04/60 (ไทยรัฐ 18 ส.ค. 52)

20 เอาเอกสารมาจากไหน ต้มแบงก์ 40 ล้าน ปลอมเอกสารมโหฬาร
วันที่ 11 ธ.ค ตำรวจกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี จับกุมผู้ต้องหาสองคน ขณะติดต่อธนาคารแห่งหนึ่ง สำนักพหลโยธิน พบปลอมเอกสารหลักฐาน อำพรางชื่อบุคคลอื่นเพื่อขอสินเชื่อซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ทำบัตรเครดิต สร้างความเสียหายแก่ธนาคารและสถาบันทางการเงินต่าง ๆ รวมกว่า 40 ล้านบาท รวมทั้งเจ้าของเอกสารที่เดือดร้อนจากการถูกแอบอ้างทั้งที่ตัวเองไม่ได้ก่อหนี้ ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ และอยู่ระหว่างขยายผลว่ามีพนักงานธนาคารเกี่ยวข้องรู้เห็นด้วยหรือไม่. ต้มแบงก์ '40 ล้าน' ปลอมเอกสารมโหฬาร [13 ธ.ค :25] ที่กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (บก.ปศท.) เมื่อเวลา น. วันที่ 12 ธ.ค. พล.ต.ต.โกวิทย์ วงศ์รุ่งโรจน์ ผบก.ปศท. แถลงการจับกุมนายบุญฤทธิ์ ทิพย์จักร อายุ 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 69/195 ซอยรามคำแหง 164 แขวงและเขตมีนบุรี กทม. นายเกษดิษฐ์ แก้วอิน อายุ 34 ปี อยู่บ้านเลขที่ 1/17 ซอยสุวรรณพฤกษ์ แขวงและเขตสะพานสูง กทม. ในข้อหาร่วมกันพยายามฉ้อโกง ร่วมกันปลอมแปลงและใช้เอกสารปลอม สืบเนื่องจากเมื่อเวลา น. วันที่ 11 ธ.ค.ที่ผ่านมา พ.ต.อ.กิตติ สะเภาทอง รอง ผบก. ปศท. พ.ต.อ.ธงชัย วงศ์ศรีวัฒนกุล ผกก.1 บก.ปศท. พ.ต.ท.ประวิตร์ นัยเนตร์ รอง ผบก.3 บก.ปศท. นำกำลังจับกุมผู้ต้องหาทั้งสองคน ขณะกำลังทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานพหลโยธิน ยึดหลักฐานเอกสารทางการเงินที่ใช้ยื่นต่อธนาคาร 64 แผ่น ใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมธนาคารจำนวน 1 แผ่น สมุดบัญชีธนาคารต่างๆจำนวน 3 เล่ม แผนผังหมู่บ้านต่างๆ จำนวน 2 แผ่น โทรศัพท์มือถือ 4 เครื่อง รถยนต์ฮอนด้า ซีวิค สีบรอนซ์เงิน 1 คัน พล.ต.ต.โกวิทย์ วงศ์รุ่งโรจน์ ผบก.ปศท.กล่าวว่า ตำรวจ กก.1 บก.ปศท. สืบทราบว่า มีการปลอมแปลงเอกสารทางการเงิน โดยใช้ชื่อบุคคลอื่นในการอำพราง ไปยื่นเรื่องขอสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์กับธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ โดยจะเสาะหาบ้านเดี่ยวมือสอง ในโครงการที่มีชื่อเสียงเพื่อความน่าเชื่อถือ จากนั้นจะทำเอกสารผู้เช่าซื้อปลอม เช่น ใบรับรองเงินเดือน บันทึกการเคลื่อนไหว ทางการเงิน (สเตทเมนต์) บัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้อื่นที่เจ้าตัวไม่ทราบมาก่อน หรืออาจมีบางรายสมรู้ร่วมคิดด้วยการแบ่งผลประโยชน์กันภายหลัง แล้วนำไปยื่นขอสินเชื่อซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ รวมทั้งทำบัตรเครดิตธนาคารต่างๆ เมื่อธนาคารหลงเชื่ออนุมัติเงินให้ กลุ่มคนร้าย ก็จะกลายเป็นหนี้สูญ สร้างความเสียหายแก่ธนาคารและสถาบันทางการเงิน รวมทั้งเจ้าของบัตรประชาชนที่ถูกแอบอ้างและที่จะถูกฟ้องร้องตามมา ทั้งที่ตัวเองไม่ได้ก่อหนี้ จากการตรวจสอบในเบื้องต้น กลุ่มผู้ต้องหาสร้างความเสียหายแก่ธนาคารต่างๆ อาทิธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารธนชาต รวมมูลค่ากว่า 40 ล้านบาท นอกจากนี้ผู้ต้องหาทั้ง 2 คน ยังมีหมายจับในความผิดลักษณะเดียวกันนี้อีกหลายท้องที่ เบื้องต้นสอบสวนผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ และอยู่ระหว่างการขยายผลว่ามีพนักงานธนาคารมีส่วนเกี่ยวข้องรู้เห็นด้วยหรือไม่ต่อไป 05/04/60 (ไทยรัฐ 13 ธ.ค.51)

21 อย่านึกว่าแบงก์จะรอด
ศาลสั่งแบงก์ใช้คืนลูกค้า เอทีเอ็มโดนกด 1.8 แสน วันที่ 21 ธ.ค ลูกค้าธนาคาร สาขาสุโขทัย ร้องเงินฝากหายไปจากบัญชีออมทรัพย์ รวม บาท ทั้งที่บัตรอยู่กับตัวและไม่ได้ถอนเงินออกไป แบงก์ตรวจสอบพบเงินถูกถอนจากตู้เอทีเอ็มที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ยันลูกค้าเป็นผู้ผิดเงื่อนไขการถือบัตรเอง เพราะพาซื่อบอกแบงก์ว่า มักมอบบัตรพร้อมรหัสให้ภรรยาและบุตรไปถอนเงิน แบงก์ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบชดใช้ให้ ศาลพิเคราะห์จากพฤติการณ์ของลูกค้าที่ให้รายละเอียดโดยสุจริตใจ และระยะทางไกลพ้นวิสัยที่จะเดินทางไปเบิกได้ทัน สั่งแบงก์คืนเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยให้ลูกค้า. ในคดีตัวอย่างของนครหลวงไทย จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ ที่แนบ เงินในบัญชีลูกค้าจังหวัดสุโขทัยถูกลักถอนด้วยบัตร ATM ในจังหวัดสงขลา โจทก์นำสืบว่าปกติเก็บบัตรไว้ที่ตนเองตลอด เฉพาะบางครั้งที่ขับรถอยู่จะมอบบัตรและรหัสให้ภรรยาและบุตรไปกดแทน เมื่อพบว่าเงินหายได้แจ้งธนาคารและแสดงหลักฐานที่อยู่ขณะเกิดรายการ ธนาคารพยายามยกเรื่องมอบบัตรและรหัสแก่ผู้อื่นเป็นเหตุไม่ชดใช้ลูกค้า แต่ศาลตัดสินให้ธนาคารคืนเงินให้ จากเนื้อข่าว ผมสันนิษฐานว่าบัตรลูกค้าโดน Skimmer จากตู้ ATM ตามปั๊มน้ำมันต่างจังหวัด (แบบเดียวกับที่กล่าวถึงใน mail ของ BSC) ซึ่งเป็นกรณีเดียวกันที่เคยเกิดกับลูกค้าธนาคารใหญ่ๆ มาแล้วแทบทุกธนาคาร บางกรณีธนาคารชดใช้ถึง 5 แสนบาท โดยจับมือใครดมไม่ได้ สาเหตุจากการที่แบบหน้ากากตู้เอทีเอ็มบางธนาคาร (โดยเฉพาะสีเหลือง) ติด Skimmer ได้เนียน ลูกค้าไม่ทันสังเกตเห็นความผิดปกติ ตัวตู้ตั้งในทำเลดี กลางวันมีคนหมุนเวียนใช้บริการมาก แต่กลางคืนไม่มีคนดูแล ไม่มีกล้องสังเกตการณ์ คนร้ายสามารถนำอุปกรณ์มาติดตั้งและถอดกลับไปได้โดยสะดวก เช่น ตามปั๊มน้ำมันไกลๆ เมื่อได้ข้อมูลบัตรและรหัสลูกค้า ซึ่งอาจจะเป็นลูกค้าธนาคารใดก็ได้ที่บังเอิญมาใช้เครื่องจังหวะนั้น คนร้ายจะำำทำบัตรขึ้นใหม่แล้วนำบัตรที่ทำขึ้นไปถอนเงินตามตู้ที่ห่างไกลตอนกลางคืนรวดเดียวอาจจะ ใบ ไม่มีทางที่จะจับได้ ธนาคารต้องมีการ monitor รายการถอนติดๆ กันที่ตู้เดียวกันผิดปกติแบบ realtime ถึงจะสามารถระงับได้ทัน ที่ลูกค้าเรายังไม่เคยประสบเหตุ ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะทิสโก้เพิ่งเข้า Pool จำนวนบัตรยังมีไม่มาก แต่ว่าลูกค้าเราบางรายจำนวนเงินในบัญชีสูงมาก และเิบิกได้จำนวนมากต่อวัน เช่น บัตรพรีเมียม ถ้าลูกค้าไม่เช็คยอดในบัญชีสม่ำเสมอ และเราไม่ monitor รายการผิดปกติของลูกค้า เช่น ถอนเกินวงเงิน หรือถอนเต็มวงเงินติดต่อกัน กว่าจะรู้ตัว เราจะเสียหายมาก จะเห็นว่าให้พนักงานระวังตัวเองอย่างเดียว หรือระวังดูเฉพาะตู้ของทิสโก้ไม่พอ (ที่จริงการออกแบบและความปลอดภัยของตู้ ATM ทิสโก้ค่อนข้างดีกว่าที่อื่นทั่วไปมาก) ควรที่จะต้องให้ความรู้แก่ลูกค้า และถ้าพบตู้เอทีเอ็มไม่ปลอดภัยไม่ว่าจะของธนาคารใด ก็ต้องช่วยกันแจ้ง เพื่อจะได้ช่วยกันป้องกัน ครับ ศาลสั่งแบงก์ใช้คืนลูกค้า เอทีเอ็มโดนกด1.8แสน! ศาลตัดสินคดีตัวอย่าง สั่งแบงก์นครหลวงไทยคืนเงินฝาก 1.8 แสน พร้อมดอกเบี้ยให้ลูกค้า อันเนื่องจากถูกมือมืดมากดเอทีเอ็มถอนไป เผยลูกค้าเจรจาไม่ได้ผล เลยจำต้องฟ้องศาลแพ่ง หลังตรวจพบมีคนกดเงินไปจากตู้เอทีเอ็มที่สงขลา ทั้งที่ตัวเองกับบัตรอยู่ที่สุโขทัย ฝ่ายธนาคารที่เป็นจำเลยต่อสู้คดีด้วยการอ้างโจทก์ทำผิด ไปบอกรหัสเอทีเอ็มให้ลูกเมียรู้ แต่ศาลพิจารณาแล้วไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยจะไม่รับผิดชอบไม่ได้ เมื่อวันที่ 18 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 ส.ค.ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดสุโขทัยอ่านคำพิพากษา คดีความแพ่งที่นายชัยยศ วงษ์กมลชุณห์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัทธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นจำเลย เมื่อวันที่ 29 ส.ค.2550 เรื่องฝากทรัพย์ โดยสรุปคำฟ้องว่า จำเลยเป็นบริษัทมหาชน จำกัด ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โจทก์เป็นลูกค้าของจำเลย สาขาสุโขทัย ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย.2546 โดยใช้บริการประเภทบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ พร้อมทำบัตรเอทีเอ็ม โจทก์ฝากเงิน และถอนเงินในบัญชีดังกล่าวเรื่อยมา เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2549 โจทก์พบว่าเงินฝากของโจทก์สูญหายไปรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 180,252 บาท โจทก์ไม่ได้เป็นผู้เบิกถอนเงินจำนวนดังกล่าวไป โจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินฝากจำนวน 180,252 บาทแก่โจทก์ แต่จำเลยบ่ายเบี่ยง โจทก์มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยคืนเงินจำนวน 180,252 บาทแก่โจทก์ จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามแล้วเพิกเฉย เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยคืนเงิน จำนวน 180,252 บาทและค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ย จำนวน 1, บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 180,252 บาทนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยให้การว่า โจทก์กระทำผิดข้อตกลงและเงื่อนไขสำหรับการถือบัตรเอทีเอ็ม เนื่องจากโจทก์แจ้งให้ภรรยาและบุตรของโจทก์ทราบรหัสประจำบัตรเอทีเอ็ม การเบิกถอนเงินจากบัญชีของโจทก์เป็นไปโดยถูกต้อง และจำเลยไม่ได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับการเบิกถอนเงินดังกล่าวแต่อย่างใด ทั้งการเบิกถอนเงินดังกล่าวก็เป็นไปตามขั้นตอนและเงื่อนไขในการใช้บัตรเอทีเอ็ม มิได้เกิดขึ้นจากความบกพร่องหรือผิดพลาดในระบบของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่า โจทก์เปิดบัญชีฝากออมทรัพย์และทำบัตรเอทีเอ็มกับจำเลย ซึ่งเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโจทก์ได้ใช้บริการของจำเลยเรื่อยมา ต่อมาในวันที่ 21 ธ.ค.2549 โจทก์พบว่าเงินในบัญชีของโจทก์สูญหายไปเป็นเงินจำนวน 180,252 บาท โจทก์จึงติดต่อกับจำเลย ที่สาขาสุโขทัย เจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจสอบแล้วพบว่ามีรายการถอนเงินจากบัญชีดังกล่าวของโจทก์จากตู้เอทีเอ็มที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในวันที่ 20 ธ.ค.2549 และวันที่ 21 ธ.ค.2549 รวม ทั้งสิ้น 9 รายการ เป็นเงินจำนวน 180,000 บาท และจำเลยคิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการถอนเงินดังกล่าว จำนวน 252 บาท เป็นเหตุให้เงินในบัญชีของโจทก์สูญหายไปเป็นเงินจำนวน 180,252 บาท ในวันเดียวกันโจทก์ได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนที่สภ.อ.เมืองสุโขทัย ต่อมาเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เรียกโจทก์และบุคคลในครอบครัวไปสอบข้อเท็จจริงและเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ทำความเห็นว่าโจทก์สุจริต เห็นควรคืนเงินให้กับโจทก์ ตามรายการสอบข้อเท็จจริงและหนังสือแจ้งข้อมูลเพิ่มเติม ต่อมาจำเลยปฏิเสธที่จะคืนเงินให้แก่โจทก์ เนื่องจากโจทก์เคยแจ้งรหัสประจำบัตรเอทีเอ็มของโจทก์ให้ภรรยาและบุตรทราบ ตามปกติโจทก์จะเป็นผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มด้วยตนเองและเก็บรักษาบัตรเอทีเอ็มไว้กับโจทก์โดยตลอด โจทก์มอบบัตรเอทีเอ็มพร้อมกับรหัสประจำบัตรเอทีเอ็มให้กับบุตรและภรรยาไปเบิกถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มเป็นครั้งคราว ภรรยากับบุตรของโจทก์จำรหัสบัตรเอทีเอ็มไม่ได้ เพราะโจทก์ต้องบอกรหัสประจำบัตรเอทีเอ็มแก่บุตรและภรรยาใหม่ทุกครั้งที่ให้บุตรและภรรยาไปถอนเงินจากตู้เอทีเอ็ม ทางพิจารณาจำเลยนำสืบว่า การขอใช้บริการบัตรเอทีเอ็มของจำเลยลูกค้าตนเองกรอกแบบฟอร์มคำขอให้บริการบัตรเอทีเอ็ม ซึ่งในแบบฟอร์มคำขอให้บริการบัตรเอทีเอ็มของจำเลยจะมีข้อกำหนดและเงื่อนไขสำหรับการถือบัตรเอทีเอ็มลูกค้าผู้ขอใช้บริการบัตรเอทีเอ็มทราบข้อกำหนดและเงื่อนไขสำหรับการถือบัตร ข้อกำหนดและงื่อนไขสำคัญสำหรับการถือบัตรคือผู้ถือบัตรต้องรักษารหัสประจำบัตรไว้เป็นความลับเฉพาะตัว ไม่แจ้งให้ผู้ใดทราบ โจทก์ทราบข้อกำหนดและเงื่อนไขดังกล่าวดีแล้ว ตามคำขอใช้บริการบัตรเอทีเอ็ม แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในการใช้บัตรเอทีเอ็ม เนื่องจากโจทก์ได้แจ้งรหัสบัตรเอทีเอ็มแก่บุตรและภรรยาของโจทก์ทราบ จึงเป็นการกระทำผิดข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ตกลงไว้ และการเบิกถอนเงินจากบัญชีของโจทก์ก็ไม่ปรากฏรายการผิดปกติและไม่ได้เกิดขึ้นจากความผิดของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายและคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ แต่เนื่องจากโจทก์เป็นลูกค้าที่ดีของจำเลย จำเลยจึงจะช่วยเหลือเพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายให้แก่โจทก์ โดยคืนให้แก่โจทก์จำนวนครึ่งหนึ่งของความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ศาลพิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริง มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยต้องคืนเงินฝากพร้อมค่าเสียหายให้แก่โจทก์หรือไม่ โจทก์อ้างว่าตนเองเบิกความเป็นพยานว่า โจทก์เปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์และทำบัตรเอทีเอ็มกับจำเลย โจทก์ใช้บริการของจำเลยเรื่อยมาจนกระทั่งวันที่ 21 ธ.ค.2549 โจทก์พบว่าเงินฝากในบัญชีสูญหายไป เมื่อตรวจสอบพบว่า มีรายการถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มในอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วันที่ ธ.ค.รวมเป็นเงิน จำนวน 180,252 บาท ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวโจทก์อยู่ที่จ.สุโขทัย และบัตรเอทีเอ็มอยู่ที่โจทก์ เห็นว่า สัญญาฝากเงินและเบิกถอนเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยในฐานะผู้รับฝากมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่รับฝากให้แก่โจทก์ ตามจำนวนรับฝากไว้ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 672 เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ที่สุโขทัย แต่บัญชีเงินฝากของโจทก์ถูกถอนจากตู้เอทีเอ็มที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และโจทก์ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สภ.อ.เมืองสุโขทัย วันที่ 21 ธ.ค.2549 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่มีรายการถอนเงินจากบัญชีของโจทก์ที่ตู้เอทีเอ็มในจ.สงขลา และโจทก์ได้นำบัตรเอทีเอ็มไปมอบให้พนักงานสอบสวนในที่แจ้งความด้วย นอกจากนี้ จ.ส.ต.พิเชษฐ์ เนตรบุตร ได้เบิกความเป็นพยานโจทก์ว่า โจทก์มาแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนและมอบสมุดบัญชีเงินฝากและบัตรเอทีเอ็มให้พนักงานสอบสวนเป็นหลักฐาน พนักงานสอบสวนจึงมอบหมายให้พยานติดตามหาตัวคนร้าย เมื่อเคราะห์จากพฤติการณ์ของโจทก์จากที่ทราบว่าเงินฝากในบัญชีสูญหาย โจทก์ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความสุจริตมาโดยตลอดตั้งแต่แจ้งกับเจ้าหน้าที่ของจำเลยในทันที จนกระทั่งมีการตรวจสอบพบว่าเงินในบัญชีสูญหายไปได้อย่างไร ให้รายละเอียดและวิธีการในการใช้บัตรเอทีเอ็มตามปกติของโจทก์แก่เจ้าหน้าที่ของจำเลยอย่างละเอียดโดยที่ไม่มีการปกปิดข้อเท็จจริงบางประการที่อาจเป็นผลร้ายแก่ตนเองในภายหลัง เป็นต้นว่า การให้บุตรและภรรยาทราบรหัสประจำบัตรในกรณีที่จะให้บุตรและภรรยาไปถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มแทนโจทก์ และแจ้งความกับพนักงานสอบสวนในทันที ซึ่งหากเป็นเรื่องเท็จอาจทำให้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาในภายหลังได้ ประกอบกับเมื่อคำนวณระยะทางและระยะเวลาในการเดินทางระหว่างจ.สงขลาอันเป็นสถานที่ถอนเงินและจ.สุโขทัยอันเป็นภูมิลำเนาของโจทก์และบุตรและภรรยาแล้ว โจทก์และบุตรกับภรรยาก็ไม่สามารถเดินทางจากจ.สุโขทัย ไปเบิกเงินที่จ.สงขลาได้ทันที ในส่วนของนายสุเทพ ตันศิริ ผู้จัดการสาขาอาวุโส สุโขทัย เจ้าหน้าที่จำเลยได้ระบุว่า โจทก์เข้ามาแจ้งที่สาขาด้วยตนเองและแสดงบัตรเอทีเอ็มว่าอยู่กับตนเป็นการแสดงตัวว่าโจทก์อยู่ในเขตจ.สุโขทัย รวมทั้งภรรยาและบุตรที่ทราบรหัสเบิกเงินก็ได้เข้ามาติดต่อแจ้งเหตุพร้อมกับโจทก์ด้วย นายสุเทพจึงมีความเห็นว่าโจทก์สุจริต โดยจำเลยก็ไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นว่าโจทก์มีพฤติการณ์ในการทุจริตหรือร่วมกับบุคคลอื่นทุจริตอย่างใด เชื่อว่า การเบิกถอนเงินดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นจากการกระทำของโจทก์หรือการกระทำของบุตรหรือภรรยาของโจทก์ ดังนั้นการที่เงินฝากของโจทก์ที่จำเลยรับฝากไว้สูญหายไปเป็นเงินจำนวน 180,252 บาทเป็นการกระทำผิดต่อสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 672 จำเลยจะอ้างข้อตกลงตามคำขอใช้บริการบัตรเอทีเอ็มที่ว่าผู้ถือบัตรจะต้องรักษารหัสประจำบัตรเป็นความลับเฉพาะตัว และไม่แจ้งให้ผู้ใดทราบดังกล่าว มาเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องรับผิดไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 373 และโจทก์นำสืบถึงวิธีการเก็บรักษาบัตรเอทีเอ็มว่าโจทก์จะเป็นผู้เก็บบัตรเอทีเอ็มไว้ที่ตนเองโดยตลอด และใช้บัตรเอทีเอ็มด้วยตนเองในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 99 ส่วนที่เหลือคือกรณีที่โจทก์ขับรถอยู่ก็จะมอบบัตรเอทีเอ็มและรหัสให้ภรรยาและบุตรไปใช้บัตรแทน แล้วบุตรและภรรยาจะนำบัตรเอทีเอ็มคืนให้โจทก์ทันที บุตรและภรรยาของโจทก์จำรหัสไม่ได้ เพราะหากโจทก์จะให้บุคคลดังกล่าวใช้บัตรเอทีเอ็มโจทก์ต้องบอกรหัสใหม่ทุกครั้ง ตามพฤติกรรมของโจทก์เพียงเท่านี้ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เงินในบัญชีสูญหายไปด้วย พิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวน 180,252 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค.2549 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ทั้งนี้ดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 30 มี.ค.2550) ต้องไม่เกิน 1,581,50 บาท ตามที่โจทก์ขอกับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้จำนวน 2,000 บาท สำหรับโจทก์ที่ชนะคดีตัวอย่างครั้งนี้ คือนายชัยยศ วงษ์กมลชุณห์ อายุ 71 ปี อยู่บ้านเลขที่ 1-1/2 ถนนราษฎรอุทิศ อ.เมือง จ.สุโขทัย กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับเงินค่าชดเชยจากธนาคารนครหลวงไทยแต่อย่างใด ทั้งๆที่ศาลมีคำพิพากษาตัดสินคดีไปแล้วครึ่งเดือน ที่ผ่านมาตนให้ความไว้วางใจต่อธนาคารแห่งนี้ตั้งแต่มาเปิดสาขาสุโขทัยในครั้งแรก การชนะคดีครั้งนี้ถือเป็นเรื่องน่ายินดี แม้ว่าบางเรื่องจะไม่สามารถเรียกเงินได้แต่ที่ได้เงินกลับมาครั้งนี้ก็ถือว่าดีแล้ว 05/04/60 (ข่าวสด 19 ก.ย.50)

22 น้องเร็วหน่อยพี่รีบ ลักสมุดบัญชีเศรษฐีไล่ถอนเงิน
รวบแก๊งแสบ งัดบ้านขโมยสมุดบัญชีเงินฝาก บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ไปสวมรอยเบิกเงินจากธนาคาร สารภาพทำมา 13 ครั้ง รวมความเสียหายกว่า 20 ล้าน มีพฤติการณ์นำเอกสารไปสวมรูปปลอมลายเซ็น แล้วทำทีเป็นเจ้าของบัญชีถือสมุดบัญชีและเอกสารตัวจริงไปถอนเงินต่างสาขา อ้อนขอถอนด่วนเพราะภรรยากำลังจะคลอด จ้องเลือกสาขาที่มีคนพลุกพล่าน เพราะเจ้าหน้าที่มักละเลยไม่ตรวจสอบลายมือชื่อ และเอกสารต่าง ๆ ให้ละเอียด ตำรวจฟันธงธนาคารผิดสัญญาฝากทรัพย์ เพราะประมาทปล่อยให้คนอื่นถอนเงิน ต้องรับผิดชอบคืนเงินให้ผู้เสียหาย. ลักบัญชีเศรษฐีไล่ถอนเงิน โพสต์ทูเดย์ วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552 ตำรวจรวบแก๊งลักทรัพย์ตามบ้านเศรษฐี เน้นสมุดบัญชีเงินฝากและสำเนาบัตรประชาชนนำไปสวมรูป ในเวลาเพียง 1 ชม. ก่อนตระเวนถอนเงินตามธนาคาร ทำมากว่า 10 จังหวัด ฉกไป 20 ล้าน พล.ต.ท.ฉลอง สนใจ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 แถลงจับกุมนายจีรศักดิ์ ฝ่ายแก้ว นายเปรม ประสิทธิ์สุข นาย สายชล เอี่ยมพันธ์ และนายประสิทธิ์ เคียนงาม หลังขับรถตระเวนไปตามหมู่บ้านราคาแพง เมื่อสบโอกาสเจ้าของไม่อยู่บ้านก็จะงัดแงะเข้าไปขโมยทรัพย์สิน โดยจะเลือกเป็นสมุดบัญชีเงินฝากและสำเนาบัตรประชาชน ก่อนจะนำไปสวมรูปตัวเองปลอมบัตรประชาชนขึ้นมาในเวลาเพียง 1 ชั่วโมง และหัดปลอมลายมือชื่อ รีบนำไปถอนเงินสดตามธนาคารที่ผู้เสียหายเปิดบัญชีไว้ เพราะเกรงผู้เสียหายจะแจ้งอายัดสมุดบัญชีธนาคาร ทั้งนี้ ผู้ต้องหายอมรับว่าตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมาก่อเหตุมาแล้ว 13 ครั้ง รวมกว่า 10 จังหวัด ในพื้นที่ภูธร และ 4 โดยจะเลือกสาขาที่มีคนพลุกพล่าน เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบลายมือชื่อและเอกสารต่างๆ ไม่ละเอียด สร้างความเสียหายไปแล้วกว่า 20 ล้านบาท สำหรับเงินที่ได้มาจากการเบิกเงินในบัญชีจะนำไปเล่นการพนัน เที่ยว และใช้จ่ายซื้อของใช้ต่างๆ นายจีรศักดิ์ เคยถูกจับกุมในคดีลักทรัพย์เมื่อปี 2551 แต่ขณะเจ้าหน้าที่เรือนจำคุมตัวมาฟังคำพิพากษาได้สลัดกุญแจมือและหลบหนีไปจนถูกจับกุมได้ ล่าสุดตำรวจกำลังเร่งติดตามผู้ร่วมขวนการที่เป็นผู้หญิงอีก 3 คน ที่กล้องวงจรปิดของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งบันทึกภาพไว้ แหล่งข่าวจากตำรวจกองปราบปราม เปิดเผยว่า เมื่อไม่นานมานี้มีผู้หญิงคนหนึ่งอยู่ที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี มาแจ้งความว่า ในคืนวันศุกร์ เวลากลางคืนช่วงประมาณตี 2 ถึงตี 3 ได้มีกลุ่มคนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ และได้ลักเอาทองรูปพรรณ น้ำหนัก 10 บาท เงินสดจำนวน 1 หมื่นบาท สมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หลายธนาคาร พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านตัวจริง วันเกิดเหตุเป็นคืนวันศุกร์ วันรุ่งขึ้นจึงได้โทรศัพท์ไปอายัดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับคอลเซ็นเตอร์ของธนาคารแห่งหนึ่งในเวลา น. อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของธนาคารแจ้งว่าธนาคารไม่สามารถอายัดสมุดเงินฝากออมทรัพย์ของลูกค้าได้ ธนาคารอายัดได้แต่เพียงบัตรเอทีเอ็มและบัตรเครดิต เท่านั้น ต่อมาเช้าวันจันทร์จึงได้ไปยืนรอเพื่อที่จะอายัดสมุดเงินฝากที่สาขาธนาคาร อ.เฉลิมพระเกียรติ แต่ได้รับแจ้งว่าได้มีคนร้ายปลอมตัวเป็นสามีซึ่งเป็นเจ้าของบัญชีร่วมกัน พร้อมทั้งทะเบียนบ้านตัวจริงและบัตรประชาชนไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ของธนาคารที่สาขาสยามพารากอน มีหลักฐานพร้อมซึ่งธนาคารได้ถ่ายเอกสารไว้ โดยอ้างว่าต้องรีบถอนเงินเพราะภรรยากำลังจะคลอดบุตรจึงจำเป็นต้องถอนเงินต่างสาขา โดยถอนเงินไป 1.5 แสนบาท คดีเช่นนี้ธนาคารพาณิชย์จะต้องรับผิดชอบอย่างแน่นอน เนื่องจากความประมาทปล่อยให้บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่ ผู้ฝากทรัพย์ถอนเงินออกจากบัญชีของ ผู้ฝาก อันเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 672 วรรค 2 ถึงแม้ว่าจะเป็นเหตุสุดวิสัย ผู้ประมาทก็จะต้องคืนเงินให้กับผู้ฝาก ทั้งหมดพร้อมกับดอกเบี้ย นายนพดล เรืองจินดา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารธนชาต กล่าวว่า กรณี ผู้เสียหายไม่ได้เป็นลูกค้าธนาคาร และ ที่ผ่านมายังไม่เคยเจอกรณีที่คนร้ายงัดบ้านแล้วนำสมุดบัญชีมาสวมรอยเบิกเงิน แต่เมื่อเกิดเป็นคดีตัวอย่างขึ้นมาแล้วอยากให้ลูกค้าระวังตัว สมุดบัญชีเป็นเอกสารสำคัญ ควรเก็บรักษาให้ดี และถ้าพบว่าเอกสารหายไปเมื่อใดควรรีบแจ้งความและดำเนินการอายัดทันที เพราะช่วงเวลาที่ลูกค้ายังไม่ได้อายัดเป็นช่วงเวลาที่เสี่ยงมาก 05/04/60 (โพสต์ทูเดย์ 2 ก.ย.52)

23 กรณีทุจริตอื่น ๆ ยักยอกเงินจากบัญชีลูกค้า
พนักงานธนาคารสาขาอ่างทองออกรับเงินฝากตามร้านค้าเพื่อนำมาเข้าบัญชี แต่แอบยักยอกไป 6 แสนบาท ก่อนหลบหนีไป และถูกจับกุมได้ที่จังหวัดภูเก็ต พนักงานฝ่ายควบคุมการเงินธนาคาร ประจำสาขานครนายก ยักยอกเงินที่เบิกจ่ายจากสำนักงานใหญ่และเงินเติมตู้เอทีเอ็มเพื่อนำไปเล่นหวยมาเกือบ 2 ปี ธนาคารเสียหายกว่า 45 ล้านบาท พนักงานธนาคารสาขาสี่แยกบางนา ร่วมกันปลอมใบถอนเงินของลูกค้า 4 ราย ถอนเงิน 123 ครั้ง เสียหายกว่า 65 ล้านบาทแล้วตกแต่งบัญชีของผู้เสียหายปกปิดความผิด. เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองอ่างทอง จับกุม นายวิชัย ศรีอุทมาลย์ อายุ 33 ปี อดีตพนักงานบัญชี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาอ่างทอง ขณะคุมงานก่อสร้างรีสอร์ทที่หาดราไวย อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต จากการสอบสวนทราบว่า นายวิชัย ผู้ต้องหาได้ทำการยักอกเงินของลูกค้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาอ่างทอง ไปจำนวนทั้งสิ้น 677,185 บาท ตั้งแต่เมื่อปลายปี 2548 ก่อนหลบหนีไป และถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามจับกุมได้ สำหรับพฤติกรรมของนายวิชัย ได้ออกไปรับฝากเงินตามร้านค้าเพื่อที่จะนำมาเข้าบัญชีธนาคาร แต่แอบยักยอกเงินไป จนทางลูกค้าเข้าร้องเรียนทางธนาคารจึงทำการตรวจสอบ และในขั้นตอนสอบสวนนายวิชัย ได้หลบหนี ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะไปจับกุมได้ที่ภูเก็ต หลังสืบทราบว่าผู้ต้องหาหลบหนีไปอยู่ที่ จ.ภูเก็ต จึงออกติดตามและสามารถจับกุมได้ ในเบื้องต้นผู้ต้องหาให้การปฎิเสธ เมื่อเวลา น. วันที่ 25 พ.ย. ร.ต.อ. ประยุทธ ตันติโพธิ์ทอง ร้อยเวร สภ.อ.เมืองนครนายก ได้นำตัวนายอานนท์ สำเร็จ อายุ 42 ปี พนักงานธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขานครนายก ผู้ต้องหาคดียักยอก และลักทรัพย์นายจ้าง ออกจากห้องควบคุมตัว มาสอบปากคำเพิ่มเติม หลังก่อเหตุยักยอก และขโมยเงินสด ของธนาคาร จำนวนกว่า 45 ล้านบาท ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อตอนค่ำวันที่ 23 พ.ย. ที่ผ่านมา ได้มีนายชุมพล ลีกระจ่างแจ้ง อายุ 47 ปี ผู้จัดการธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขานครนายก ตั้งอยู่ริมถนนสุวรรณศร เขตเทศบาลเมืองนครนายก เข้าแจ้งความกับ ร.ต.อ.ประยุทธ ตันติโพธิ์ทอง ร้อยเวร สภ.อ. เมืองนครนายก ว่า เงินของธนาคารได้สูญหายไปจำนวนกว่า 38 ล้านบาท และครั้งล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ สูญหายไปอีก 6.7 ล้านบาท รวมที่สูญหายไปประมาณ 45 ล้านบาท โดยทางธนาคารสงสัยคนที่ยักยอกเงินไปคือนายอานนท์ สำเร็จ อายุ 42 ปี พนักงานอำนวยการสาขาฝ่ายควบคุมการเงินของธนาคาร จึงมาแจ้งความให้ตำรวจสืบสวนติดตามจับกุม ต่อมาวันที่ 24 พ.ย. ปรากฏว่านายอานนท์ได้หลบหนีไปไม่มาทำงาน ตำรวจจึงอายัดการเบิกจ่ายเงินตามธนาคารและตู้เอทีเอ็มที่นายอานนท์รับผิดชอบ พร้อมขออนุมัติศาลออกหมายจับ จากนั้นเข้าตรวจค้นที่บ้านของนายอานนท์ เลขที่ 153 ตรอกขจรพานิช ต.หน้าเมือง อ.เมืองปราจีนบุรี พบหลักฐานเป็นโพยหวยใต้ดิน 6 แผ่น ลงวันที่ตั้งแต่ 2 พ.ค. 48 เป็นต้นมา แต่ละแผ่นแทงหวยใต้ดิน 3 ตัว เป็นจำนวนเงินตั้งแต่หลักพันถึงหลักหมื่นบาท แทง 2 ตัวล่าง ตัวละหลายหมื่นบาท และแทงวิ่งตัวเดียว ตัวละหลายแสนบาท รวมยอดทั้งหมดเป็นเงินนับสิบล้านบาท จึงยึดไว้เป็นหลักฐาน เบื้องต้นตำรวจทราบว่านายอานนท์เดินทางเข้ากรุงเทพฯ จึงนำกำลังติดตามล่าตัว จนกระทั่งสามารถจับกุมนายอานนท์ ได้ขณะโดยสารรถทัวร์เดินทางกลับ จ.ปราจีนบุรี คุมตัวไปสอบปากคำที่ สภ.อ.เมืองนครนายก สอบสวนนายอานนท์รับสารภาพว่า ทำงานที่ธนาคารทหารไทย สาขานครนายก มานานกว่า 10 ปี จนได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่เบิกจ่ายเงินจากสำนักงานใหญ่ไปที่สาขานครนายก และนำเงินไปบรรจุตามตู้เอทีเอ็มต่างๆในจังหวัด ชอบเล่นหวยใต้ดินและบนดินงวดละหลายแสนบาท แต่แทงไม่ค่อยถูก จึงมีหนี้สินจำนวนมาก เลยตัดสินใจก่อเหตุยักยอกเงินของธนาคารมาตั้งแต่ต้นปี 47 เรื่อยมา โดยแต่ละเดือนจะต้องเดินทางไปเบิกจ่ายเงินจากสำนักงานใหญ่ 3 ครั้ง ครั้งละนับล้านบาท จะแอบยักยอกเงินไว้ส่วนหนึ่ง และส่งเฉพาะตัวเลขให้ทางธนาคารตรวจสอบ ครั้งแรกยักยอกเงินมา 6 หมื่นบาท และครั้งต่อๆไปก็ขยับขึ้นเป็นหลักแสนและหลายแสนบาท รวมทั้งแอบขโมยเงินระหว่างนำเงินไปใส่ตู้เอทีเอ็มด้วย หนุ่มแบงก์จอมแสบให้การต่อไปว่า คิดว่าไม่มีใครตรวจสอบได้ จึงย่ามใจก่อเหตุเรื่อยมานานเกือบ 2 ปี แต่ความมาแตก เมื่อธนาคารตรวจสอบพบว่ามีเงินสูญหายไปจำนวนมาก จึงแจ้งความจับกุม โดยการก่อเหตุกระทำเพียงคนเดียวไม่มีผู้ร่วมขบวนการ และเงินที่ได้มานำไปแทงหวยหมดแล้ว หนำซ้ำยังเป็นหนี้เจ้ามือหวยใต้ดินอีกถึง 5 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ตำรวจไม่ปักใจเชื่อคำให้การของนายอานนท์ คาดว่าจะต้องมีผู้ร่วมรู้เห็นด้วยแน่นอน เพราะจำนวนเงินมาก ตำรวจจะได้สอบสวนขยายผล รวมทั้งติดตามเงินที่ถูกยักยอกไปว่า ผู้ต้องหานำเงินไปใช้จ่ายอะไร หรือให้ใครไปบ้าง ด้าน พล.ต.ต.โกศล พัวเวส ผบก.ภ.จ.นครนายก กล่าวว่า คดีนี้เป็นคดีที่น่าสนใจมาก เพราะในจังหวัดนครนายกยังไม่เคยเกิดขึ้นเลย ได้สั่งการให้ พ.ต.ท.โสนกุณช์ ทรัพย์สมบัติ สว.สส.ภ.จ.นครนายก เข้าไปร่วมสอบสวนผู้ต้องหาเพื่อขยายผลอย่างเร่งด่วนแล้ว ศาลตัดสินสั่งจำคุก 492 ปี อดีตพนักงานธนาคารกรุงเทพ สุดแสบ ยักยอกเงินลูกค้า ทำหลักฐานเท็จพร้อมสั่งชดใช้เงินคืน 65 ล้านบาท ศาลจังหวัดพระโขนง อ่านคำพิพากษา ในคดีที่พนักงานอัยการ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง น.ส.ศุภรัศมิ์ พิพิธทวีวงษ์ อดีตพนักงาน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาสี่แยกบางนา เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิ์ ปลอมตั๋วเงิน ใช้เอกสารสิทธิ์ปลอม กรณีจำเลยร่วมกับผู้อื่นปลอมแปลงเอกสารสิทธิ์ โดยนำใบถอนเงินของธนาคารกรุงเทพของผู้เสียหาย 4 ราย ตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2549 ถึง เดือนกรกฎาคม ปี 2550 ไปถอนเงินทั้งสิ้น 123 ครั้ง สูญเงินกว่า 65,000,000 บาท จากนั้นจำเลยได้มีการตกแต่งบัญชีของผู้เสียหาย ปกปิดความผิดตลอดมา โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า จำเลยกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา จึงลงโทษฐานใช้เอกสารสิทธิ์ปลอม ลงโทษจำคุกจำเลยหลายกระทงรวมกันเป็นเวลา 492 ปี แต่โทษหนักสุดที่ 20 ปี พร้อมสั่งจำเลยชดใช้ค่าเสียหาย มูลค่ากว่า 65,000,000 บาท 05/04/60

24 กรณีทุจริตอื่น ๆ ยักยอกเงินจากบัญชีลูกค้า
เจ้าหน้าที่ธนาคารถูกสอบยักยอกเงิน 8 ล้าน ขับรถเข้าม่านรูดขังตัวเองในห้องแล้วยิงขมับฆ่าตัวตายหนีปัญหา พนักงานธนาคารสาขาถนนนวมินทร์ ปลอมลายมือชื่อถอนเงินในบัญชีลูกค้า 6 ราย มีทั้งเบิกเงินสด และโอนเข้าบัญชีตัวเองหรือบัญชีคนอื่นที่จ้างเปิดไว้ในหลายธนาคาร ก่อเหตุ 18 ครั้ง รวมความเสียหายทั้งสิ้น 56 ล้านบาท สารภาพเล่นพนันบอลตั้งแต่ยังเรียน จนติดหนี้หลายล้าน พนักงานตรวจนับเงินประจำศูนย์เงินสดขอนแก่น ยัดเงินสด 2 แสนบาทใส่กระเป๋าเสื้อคลุมหลบหนี แต่กล้องจับภาพไว้ได้ คาดทำมาแล้วหลายครั้ง ยอดรวมอาจถึง 84 ล้านบาท. เจ้าหน้าที่ธนาคารmหารไทยเครียด ถูกต้นสังกัดสอบยักยอกเงิน 8 ล้าน ขับรถเข้าม่านรูด ขังตัวเองในห้องแล้วยิงขมับฆ่าตัวตายหนีปัญหา วันนี้ (26 ม.ค.) เมื่อเวลา น. ร.ต.ท.สมบัติ สืบศรี ร้อยเวรสอบสวน สภ.สำโรงเหนือ อ.เมืองสมุทรปราการ รับแจ้งเหตุมีชายยิงตัวตายภายในห้องเบอร์ 308 โรงแรมสตาร์อินน์ ม.4 ถ.เทพารักษ์ กม.4 ต.เทพารักษ์ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ หลังรับแจ้งจึงรุดไปตรวจสอบ พร้อมกับมูลนิธิร่วมกตัญญูในที่เกิดเหตุเป็นโรงแรมม่านรูด หน้าห้องดังกล่าว พบรถเก๋งมิตซูบิชิ แลนเซอร์ สีบรอนซ์เงิน ทะเบียน พค 6018 กทม. ภายในห้องพบศพชาย ทราบชื่อ นายพิภพ รัตนติสร้อย อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 118/33 ม.3 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เจ้าหน้าที่แคชเชียร์ ธนาคารทหารไทย สาขาเทพารักษ์ นอนสวมเสื้อยืดสีดำ กางเกงขายาวสีดำ มีบาดแผลถูกยิงด้วยอาวุธปืนเข้าบริเวณขมับขวา 1 รู บนหน้าอกมีอาวุธปืนขนาด .25 วางอยู่ 1 กระบอก ปลอกกระสุนขนาดเดียวกันตกอยู่ และที่ชั้นวางของมุมห้องพบขวดน้ำยากำจัดวัชพืชจำนวน 1 ขวด เจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมไว้เป็นหลักฐานจากการสอบสวนทราบว่า ผู้ตายขับรถคันดังกล่าวมาที่ห้องพักเมื่อเวลา น.ของคืนที่ผ่านมา กระทั่งพอถึงช่วงบ่ายของวันนี้ทางเจ้าหน้าที่โรงแรมได้โทรศัพท์ไปที่ห้อง แต่ไม่มีใครรับสาย จึงเปิดประตูห้องดู พบว่าผู้ตายนอนเสียชีวิตคาที่นอนสภาพดังกล่าวแล้วต่อมาตำรวจได้ตรวจสอบภายในรถยนต์รถของผู้ตาย พบสมุด 1 เล่ม ภายในเขียนจดหมายมีข้อความว่า “มีสมบัติติดตัวขณะนี้จำนวน 5 รายการ ขอมอบให้แก่ น.ส.วาสนา หากใครเอาสมบัติของข้าพเจ้าไป แม้ตายไปก็จะตามเอาคืน นอกจากนี้ ฝากถึง น.ส.วาสนา ว่าพี่รู้ว่าน้องก็เจ็บปวดมาก พี่ก็เหมือนกัน พี่ขอโทษ หากชาติหน้ามีจริงขอเกิดเป็นสามีของ น.ส.วาสนา อีก ขอให้เข้มแข็งไว้ที่รัก” ตำรวจตามตัว น.ส.วาสนา พูลแก้ว อายุ 37 ปี ภรรยาของผู้ตายมายังที่เกิดเหตุ พร้อมให้การว่าสามีของตนเพิ่งโดนทางธนาคารตรวจสอบในข้อหายักยอกเงินจากธนาคารไปจำนวนกว่า 8 ล้านบาท ก่อนเกิดเหตุเมื่อ 2 วันที่ผ่านมาก็หายออกจากบ้านไม่ทราบว่าไปที่ไหน ตนก็เพิ่งเดินทางเข้าแจ้งความไว้ที่ สภ.สำโรงเหนือ เมื่อคืนวันที่ผ่านมานี้ จนกระทั่งได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่าสามีเสียชีวิตก็รีบเดินทางมาโดยทันที เบื้องต้นตำรวจสันนิษฐานว่าผู้ตายเครียดเรื่องที่โดนธนาคารตรวจสอบเรื่องยักยอกเงินจึงตัดสินใจฆ่าตัวตายหนีปัญหา จึงได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่มูลนิธินำศพไปชันสูติที่สถาบันนิติเวชวิทยาต่อไป วันนี้( 26 ก.ย.) พ.ต.อ.กิตติศักดิ์ สุขวัฒน์ธนกุล ผกก.5 บก.ป. พ.ต.ท.จอม สิงห์น้อย พ.ต.ต.ศตยุ ไชยสุวรรณ์ สว.กก.5 บก.ป. พร้อมกำลังจับกุม นายทัฬดนัย หรือกัญชัย หรือโจ้ หรือต้น วัฒนวงศ์ อายุ 35 ปี อดีตพนักงานอาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนนวมินทร์ ตามหมายจับศาลอาญาที่ 275/2551 ลงวันที่ 22 ม.ค.51 ข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง และปลอมและใช้เอกสารปลอม ได้ที่บริเวณชั้นใต้ดินห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาลาดพร้าว สืบเนื่องจากช่วงปลายเดือน ธ.ค.50 นายทัฬดนัย ทำงานอยู่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนนวมินทร์ ตำแหน่งพนักงานอาวุโส ทำหน้าที่เบิก-จ่ายเงินให้กับลูกค้าได้ปลอมลายมือชื่อเพื่อถอนเงินในบัญชีลูกค้า 6 ราย ไปเข้าบัญชีผู้อื่น รวมทั้งสิ้น 18 ครั้ง รวมมูลค่าความเสียหาย 56,755, บาท ซึ่งทางธนาคารแจ้งความไว้ที่ สน.ลาดพร้าว และมีการรวบรวมหลักฐานขออนุมัติหมายจับจากศาล ต่อมาชุดสืบสวน กก.5 บก.ป. สืบทราบว่า ผู้ต้องหาหลบหนีไปซ่อนตัวอยู่ที่อาคารลุมพินีวิลล์ ถนนประชาอุทิศ แขวง-เขตห้วยขวาง จึงสะกดรอยติดตามมาถึงที่ห้างสรรพสินค้าดังกล่าว ก่อนตัดสินใจบุกจับกุมตัวได้ดังกล่าว จากการสอบสวนผู้ต้องหาให้การรับสารภาพอ้างว่า ทำงานที่ธนาคารดังกล่าวมา 8-9 ปี ทำหน้าที่เบิก-ถอนเงินให้กับลูกค้า แต่เนื่องจากช่วงปี 51 ตนติดหนี้พนันฟุตบอลเป็นจำนวนมาก โดยแทงพนันกับโต๊ะรับแทงพนันฟุตบอลประมาณ 5 แห่งครั้งละเป็นหลักแสนบาท แต่เสียพนันเป็นหนี้หลายล้าน ที่ผ่านมาเจ้าหนี้ก็ไม่ได้ทวงอะไรมาก เพราะเครดิตดี แต่พอเป็นหนี้มากขึ้นก็ไม่รู้จะหาเงินที่ไหนมาใช้จึงตัดสินขโมยเงินจากบัญชีลูกค้าซึ่งก็มีทั้งการเบิกเป็นเงินสด และโอนเงินจากบัญชีลูกค้าไปเข้าบัญชีตัวเอง หรือบุคคลอื่นที่ตนจ้างไปเปิดไว้ในหลายๆธนาคาร เมื่อเรื่องแดงก็หลบหนีไปโดยนำเงินที่ได้ไปใช้หนี้พนันฟุตบอลจนเหลือติดตัวอยู่ประมาณล้านกว่าบาทเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการหลบหนีตามไปจังหวัดต่างๆ อยู่เป็นปีจนถึงขณะนี้ก็ไม่มีเงินเหลือติดตัวอยู่แค่ไม่กี่พันบาทก็มาถูกจับกุม ด้าน พ.ต.ท.จอม กล่าวว่า ผู้ต้องหารายนี้เล่นพนันฟุตบอลต่างประเทศตั้งแต่ยังเรียนระดับอุดมศึกษา และเมื่อมาทำงานแล้วก็ยังเล่นพนันอยู่ แต่แทงจำนวนเงินหนักขึ้นจนเป็นหนี้สินมากมาย เมื่อไม่มีทางออกจึงตัดสินใจขโมยเงินจากบัญชีลูกค้าทั้งหมด 6 บัญชี รวมแล้ว 18 ครั้งๆละ 2 แสนบาท – 1.5 ล้านบาท โดยวิธีการจะมีทั้งปลอมลายมือชื่อเบิกเงินสด และคีย์โอนเงินผ่านระบบไปเข้าบัญชีที่ได้จ้างให้บุคคลอื่นไปเปิดไว้โดยให้ค่าจ้าง 2,000-3,000 บาท ซึ่งมีทั้งหมด 6 บัญชี ทราบว่าพนักงานสอบสวนได้รวบรวมหลักฐานขออนุมัติหมายจับบุคคลที่รับไปเปิดบัญชีให้ผู้ต้องหาไว้แล้ว อย่างไรก็ตามจะนำตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน สน.ลาดพร้าว ดำเนินคดีตามกฎหมาย และอายัดทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิดต่อไป. "เดลินิวส์" อีกราย เวลา น. วันเดียวกัน นายสมชัย ธนพณิชพันธ์ เจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ประจำศูนย์เงินสด สาขาถนนมิตรภาพ ตรงข้ามห้างบิ๊กซี สาขาขอนแก่น ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น นำเอกสารหลักฐานและภาพบันทึกจากกล้องวงจรปิดเข้าแจ้งความกับพ.ต.ท.ชุมพล หันชะนา พนักงานสอบ สวน (สบ.3) สภ.เมืองขอนแก่น ว่า นายสงกรานต์ แผลงสูงเนิน อายุ 34 ปี อยู่บ้านเลขที่ 75 หมู่ 6 ต.โนนสะอาด อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นพนักงานตรวจนับเงินประจำศูนย์ดังกล่าวลักเงินสด 200,000 บาท ขณะปฏิบัติหน้าที่แล้วหลบหนีไป สอบสวนทราบว่า เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 6 พ.ค.ก่อนเกิดเหตุนายสงกรานต์เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ ตรวจนับเงินที่ศูนย์เงินสด ธนาคารกรุงศรีอยุธยาแล้วเลิกงานกลับบ้านตามปกติ กระทั่งเช้าวันที่ 7 พ.ค.ธนาคารเปิดทำการมาตรวจสอบพบว่าเงินสดหายไปจำนวนมาก ตอนแรกตกใจคิดว่าเงินสดจำนวนกว่า 50 ล้านบาทหาย ไป จนมาตรวจสอบพบว่าเบื้องต้นเงินสดที่หายไป 200,000 บาทเท่านั้น และครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาแล้วหลายครั้ง จึงรีบนำภาพบันทึกจากภาพวงจรปิดในช่วงเวลาที่นายสงกรานต์มาปฏิบัติหน้าที่มาดู พบว่านายสงกรานต์แอบนำเงิน 2 ปึก จำนวน 200,000 บาท ยัดใส่กระเป๋าเสื้อคลุมยาวที่สวมใส่อยู่ จากนั้นกลับบ้านไปหลังเลิกงาน แล้วก็หายตัวไปไม่มาทำงานตามปกติ ทำให้ตนเชื่อว่านายสงกรานต์มีพฤติกรรมเกลือเป็นหนอน แอบลักเอาเงินสดมาแล้วหลายครั้ง เมื่อมีหลักฐานชัดเจนว่าจึงรีบนำหลักฐานมาแจ้งความดังกล่าว พ.ต.อ.สันติสั่งการให้พนักงานสอบสวน ประสาน ไปยังกองวิทยาการเขตที่ 23 จ.ขอนแก่น ตรวจสอบที่เกิดเหตุพร้อมกัน คาดว่านายสงกรานต์คงหนีไปกบ ดานในจังหวัดใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม ได้ประสานขอความช่วยเหลือไปยังโรงพักใกล้เคียงเพื่อเร่งติดตามจับกุมตัวคนร้ายมาดำเนินคดีต่อไป เมื่อเวลา น . วันที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา นายสงกรานต์ แผลงสูงเนิน อายุ 35 ปี ผู้ต้องหาคดียักยอกเงินสด 200,000 บาท จากศูนย์เงินสดธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขามิตรภาพ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้เดินทางมาพร้อมทนายประจำตัว เพื่อขอเข้ามอบตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น เพื่อขอสู้คดี เจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวว่า นายสงกรานต์ซึ่งเป็นพนักงานตรวจนับเงินธนาคารกรุงศรีฯมานานหลายปีและได้ก่อเหตุในลักษณะดังกล่าวมาแล้วหลายครั้ง จากการตรวจสอบตัวเลขสูงสุดที่หายไป มียอดถึง 84 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินจำนวนมาก คาดว่านายสงกรานต์ไม่ได้ทำเพียงลำพัง น่าจะมีเพื่อนรวมขบวนการซึ่งจะได้เร่งสอบสวนเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ด้านนายสงกรานต์ หลังจากจำนนต่อหลักฐานซึ่งเป็นภาพจากกล้องวงจรปิดที่สามารถจับภาพได้ขณะยักยอกเงิน ได้กล่าวว่าจะให้การในชั้นศาลเท่านั้น 05/04/60

25 การตรวจจับและสืบค้นทุจริต
05/04/60

26 Initial Detection of Occupational Frauds4
How Fraud is Detected It takes 24 months on average to catch employee fraud Initial Detection of Occupational Frauds4 05/04/60

27 Key Indicators of Fraud
Tips / Complaints Missing / Alteration of documents Duplicate / Unreasonable expenses or reimbursements Failure of certain employees to take vacations Failure to follow up on past-due receivables Unusual write-offs of receivables Employees on the payroll not sign up for benefits Excessive purchase of products or services Common phone numbers / addresses of payees or customers RELATED ARTICLE: Signals of Fraud * Alteration of documents. * Duplicate payments. * Second endorsements on checks. * Stale items on bank reconciliations. * Journal entries without supporting documentation. * Unexplained adjustments to accounts receivable, accounts payable, revenues, or expenses. * Failure of certain employees to take vacations. * Failure to follow up on past-due receivables. * Shortages in delivered goods. * Employees on the payroll who do not sign up for benefits. * Complaints by customers. * Significant increases or decreases in account balances. * Unusual financial statement relationships such as: * Increased revenues with decreased receivables. * Increased revenues with decreased purchases of inventory. * Increased inventory with decreased purchases or payables to vendors. * Unusual write-offs of receivables. * Products or services purchased in excess of needs. * Unreasonable expenses or reimbursements. * Cash shortages or overages. * Common names, telephone numbers, and addresses of payees or customers. * Missing documentation. * Excessive voids or credits. * Tips from employees. * Significant changes in liquidity, leverage, profitability, or turnover ratios. 05/04/60

28 Key Indicators of Fraud
(Continued) Cash shortages / overages Stale items on bank reconciliations Unexplained adjustments / Journal entries Unusual financial statement relationships i.e. Increased revenue vs. decreased receivable Increased revenue vs. decreased inventory purchase Increased inventory vs. decreased purchase or A/P Significant increases or decreases in account balances Significant changes in liquidity, leverage, profitability or turnover ratios RELATED ARTICLE: Signals of Fraud * Alteration of documents. * Duplicate payments. * Second endorsements on checks. * Stale items on bank reconciliations. * Journal entries without supporting documentation. * Unexplained adjustments to accounts receivable, accounts payable, revenues, or expenses. * Failure of certain employees to take vacations. * Failure to follow up on past-due receivables. * Shortages in delivered goods. * Employees on the payroll who do not sign up for benefits. * Complaints by customers. * Significant increases or decreases in account balances. * Unusual financial statement relationships such as: * Increased revenues with decreased receivables. * Increased revenues with decreased purchases of inventory. * Increased inventory with decreased purchases or payables to vendors. * Unusual write-offs of receivables. * Products or services purchased in excess of needs. * Unreasonable expenses or reimbursements. * Cash shortages or overages. * Common names, telephone numbers, and addresses of payees or customers. * Missing documentation. * Excessive voids or credits. * Tips from employees. * Significant changes in liquidity, leverage, profitability, or turnover ratios. 05/04/60

29 Limiting Fraud Losses Surprise audit and job rotation are still overlooked by many organizations. 05/04/60

30 Limiting Fraud Losses Surprise audit, job rotation, and anonymous reporting showed the greatest impact on fraud losses. 05/04/60

31 Bank Case Symptoms Supervisory override, unusually large transactions or with no apparent business purpose Journal voucher contain only one signature, containing incorrect information, fund transfer between different customers' accounts Deposit slip with missing information, depositor names incomplete or not match with passbook or acct name. Frequent, large deposit/withdrawal in Executive account Deposits and withdrawals on same account on same day or in a short period of time Bank checks used to transfer between accounts / checks with altered date. 05/04/60

32 Symptoms ... More Purported customer signature on withdrawal voucher and checks Large negative balances in slush accts or customer accts Deposit slip of customer funds between accts of different customers Deposits of customer check where cash was received back CDs closed prematurely with proceeds put into low interest account, sometimes with penalty Customer not presented when account was opened, closed or transacted Mailing of customer statement to Executive address 05/04/60

33 Bank Fraud Trend Fraud financial cost may be three or more times the value of loss amount Fraud is not static. It evolves with each new measures implemented New opportunities for employee fraud are emerging Criminals thwart rules-based systems “Silo” mentality weakens fraud detection Top management are moving toward an enterprise focus on anti-fraud systems Regulatory expectations are increasing Solutions require commitment, investment, and talent 05/04/60

34 Insider Threat “Deliberate misuse by those who are authorized to use computer and networks.” Insiders include employees, contactors, consultants, temporary helper, personnel from third-party business partner, etc. This study covers 508 cases of occupational fraud totaling over $761 million in losses. All information was provided by the Certified Fraud Examiners (CFEs) who investigated these cases. • Organizations suffer tremendous costs as a result of occupational fraud and abuse. Participants in this study, anti-fraud specialists with a median 16 years’ experience in the fraud examination field, estimate that the typical U.S. organization loses 6% of its annual revenues to fraud. Applied to the US Gross Domestic Product for 2003, this translates to approximately $660 billion in total losses. • Our data strongly supports Sarbanes-Oxley’s requirement for audit committees to establish confidential reporting mechanisms. Occupational frauds in our study were much more likely to be detected by a tip than through other means such as internal audits, external audits, and internal controls. Among frauds committed by owners and executives, which tend to be the most costly, over half of all cases were identified by a tip. • Confidential reporting mechanisms reduce fraud losses significantly. The median loss among organizations that had anonymous reporting mechanisms was $56,500. In organizations that did not have established reporting procedures, the median loss was more than twice as high. • While Sarbanes-Oxley only requires publicly traded companies to establish confidential reporting mechanisms for employees, our data strongly suggests that these programs should also embrace third-party sources such as customers and vendors. Among cases that were detected by a tip, 60% of the tips came from employees, 20% of the tips came from customers, 16% came from vendors, and 13% came from anonymous sources. Companies that have implemented basic employee hotlines to ensure Sarbanes-Oxley compliance could detect significantly more frauds by making their hotlines available to third parties as well. • More effective internal controls are needed to detect fraud. Internal controls ranked fourth – behind By Accident – in terms of the number of frauds detected in our study. Furthermore, the frauds that were detected by internal controls tended to be relatively small, with a median loss of $40,000, which was by far the lowest of any detection method. More effective types of internal controls are needed to detect fraud, especially larger frauds that may involve senior personnel overriding or circumventing traditional internal controls. • Small businesses suffer disproportionately large losses due to occupational fraud and abuse. The median cost experienced by small businesses in our study was $98,000. This was higher than the median loss experienced by all but the very largest organizations. Small businesses are less likely to be able to survive such losses and should better protect themselves from fraud. • The loss caused by occupational fraud is directly related to the position of the perpetrator. Frauds committed by owners and executives caused a median loss of $900,000, which was six times higher than the losses caused by managers, and 14 times higher than the losses caused by employees. Despite this fact, organizations were less likely to take legal action against owners and executives who had committed fraud than they were against employees and managers. This may remove a useful deterrent and unnecessarily expose such organizations to additional high-dollar frauds. • Most occupational fraudsters are first time offenders. Only 12% of the fraudsters in our study had a previous conviction for a fraud-related offense. Criminal background checks can help organizations make informed hiring decisions, but they will not weed out all fraudsters because most frauds are committed by apparently honest employees. • The most cost-effective way to deal with fraud is to prevent it. According to our study, once an organization has been defrauded it is unlikely to recover its losses. The median recovery among victim organizations in our study was only 20% of the original loss. Almost 40% of victims recovered nothing at all. 05/04/60

35 Facts about Insider Misuses
Most were not technically sophisticated or complex Most were thought out and planned in advance Most were motivated by financial gain Most perpetrators of banking and finance incidents Not hold technical position Never engage in technical attack or hacking Not necessarily perceived as problem employees Executed at workplace during normal business hours Detected by various channels and methods. 05/04/60

36 Misuse of Applications
Legitimate Use Misuse Client/Server Message exchange Connectivity to server Execution of tasks Unusual exchange to degrade performance Exceedingly connection (DOS) Execute privileged procedure Mail Clients Send and receive s Illegal content / remote attack / private use / overload network Browsers / Multimedia player Browse Internet / play files View cached file and history View illegal content Display other users’ viewed files and accesses Programming Tools Develop program Display memory segment Create malware Access memory segment with sensitive information General-purpose Applications Read / write Input strings Access temp file for sensitive information / modify temp file to change program flow Buffer overflow This study covers 508 cases of occupational fraud totaling over $761 million in losses. All information was provided by the Certified Fraud Examiners (CFEs) who investigated these cases. • Organizations suffer tremendous costs as a result of occupational fraud and abuse. Participants in this study, anti-fraud specialists with a median 16 years’ experience in the fraud examination field, estimate that the typical U.S. organization loses 6% of its annual revenues to fraud. Applied to the US Gross Domestic Product for 2003, this translates to approximately $660 billion in total losses. • Our data strongly supports Sarbanes-Oxley’s requirement for audit committees to establish confidential reporting mechanisms. Occupational frauds in our study were much more likely to be detected by a tip than through other means such as internal audits, external audits, and internal controls. Among frauds committed by owners and executives, which tend to be the most costly, over half of all cases were identified by a tip. • Confidential reporting mechanisms reduce fraud losses significantly. The median loss among organizations that had anonymous reporting mechanisms was $56,500. In organizations that did not have established reporting procedures, the median loss was more than twice as high. • While Sarbanes-Oxley only requires publicly traded companies to establish confidential reporting mechanisms for employees, our data strongly suggests that these programs should also embrace third-party sources such as customers and vendors. Among cases that were detected by a tip, 60% of the tips came from employees, 20% of the tips came from customers, 16% came from vendors, and 13% came from anonymous sources. Companies that have implemented basic employee hotlines to ensure Sarbanes-Oxley compliance could detect significantly more frauds by making their hotlines available to third parties as well. • More effective internal controls are needed to detect fraud. Internal controls ranked fourth – behind By Accident – in terms of the number of frauds detected in our study. Furthermore, the frauds that were detected by internal controls tended to be relatively small, with a median loss of $40,000, which was by far the lowest of any detection method. More effective types of internal controls are needed to detect fraud, especially larger frauds that may involve senior personnel overriding or circumventing traditional internal controls. • Small businesses suffer disproportionately large losses due to occupational fraud and abuse. The median cost experienced by small businesses in our study was $98,000. This was higher than the median loss experienced by all but the very largest organizations. Small businesses are less likely to be able to survive such losses and should better protect themselves from fraud. • The loss caused by occupational fraud is directly related to the position of the perpetrator. Frauds committed by owners and executives caused a median loss of $900,000, which was six times higher than the losses caused by managers, and 14 times higher than the losses caused by employees. Despite this fact, organizations were less likely to take legal action against owners and executives who had committed fraud than they were against employees and managers. This may remove a useful deterrent and unnecessarily expose such organizations to additional high-dollar frauds. • Most occupational fraudsters are first time offenders. Only 12% of the fraudsters in our study had a previous conviction for a fraud-related offense. Criminal background checks can help organizations make informed hiring decisions, but they will not weed out all fraudsters because most frauds are committed by apparently honest employees. • The most cost-effective way to deal with fraud is to prevent it. According to our study, once an organization has been defrauded it is unlikely to recover its losses. The median recovery among victim organizations in our study was only 20% of the original loss. Almost 40% of victims recovered nothing at all. 05/04/60

37 Universal of Internal Computer Fraud
Data Capture Spyware & Key loggers Billing Schemes Forged Endorsement Corruption & Price initiation Ghost Vendor Accomplice Vendor Quid Pro Quo & Barter Schemes Personal Purchase Return & Voids Passing of Payment of Invoices for Non-existing Suppliers Errors Duplicate Payments Over Early Missing or Bad Information Payment to Erroneous Employees & Vendors Duplicate Information Computer Fraud Fund Transfer Unauthorized Transfer of Funds Program Altering Schemes Changing Program and Data Ownership Setting Improper Parameter Use of Malware (e.g. Trojans) Alteration of Program and Data File Manipulation of Data Input Data Integrity Attack Falsification of Stock Record to Cover Theft of Stocks Suppression Information Privacy Risk Loss of Intellectual Property Through Fraud Transmission of Confidential Data (i.e. TCP/IP) Peer-to-peer Filing Sharing Employee Posting Confidential Company Information Downloading Hacker Tools For ID Theft Purpose Downloads & Nefarious Applications This study covers 508 cases of occupational fraud totaling over $761 million in losses. All information was provided by the Certified Fraud Examiners (CFEs) who investigated these cases. • Organizations suffer tremendous costs as a result of occupational fraud and abuse. Participants in this study, anti-fraud specialists with a median 16 years’ experience in the fraud examination field, estimate that the typical U.S. organization loses 6% of its annual revenues to fraud. Applied to the US Gross Domestic Product for 2003, this translates to approximately $660 billion in total losses. • Our data strongly supports Sarbanes-Oxley’s requirement for audit committees to establish confidential reporting mechanisms. Occupational frauds in our study were much more likely to be detected by a tip than through other means such as internal audits, external audits, and internal controls. Among frauds committed by owners and executives, which tend to be the most costly, over half of all cases were identified by a tip. • Confidential reporting mechanisms reduce fraud losses significantly. The median loss among organizations that had anonymous reporting mechanisms was $56,500. In organizations that did not have established reporting procedures, the median loss was more than twice as high. • While Sarbanes-Oxley only requires publicly traded companies to establish confidential reporting mechanisms for employees, our data strongly suggests that these programs should also embrace third-party sources such as customers and vendors. Among cases that were detected by a tip, 60% of the tips came from employees, 20% of the tips came from customers, 16% came from vendors, and 13% came from anonymous sources. Companies that have implemented basic employee hotlines to ensure Sarbanes-Oxley compliance could detect significantly more frauds by making their hotlines available to third parties as well. • More effective internal controls are needed to detect fraud. Internal controls ranked fourth – behind By Accident – in terms of the number of frauds detected in our study. Furthermore, the frauds that were detected by internal controls tended to be relatively small, with a median loss of $40,000, which was by far the lowest of any detection method. More effective types of internal controls are needed to detect fraud, especially larger frauds that may involve senior personnel overriding or circumventing traditional internal controls. • Small businesses suffer disproportionately large losses due to occupational fraud and abuse. The median cost experienced by small businesses in our study was $98,000. This was higher than the median loss experienced by all but the very largest organizations. Small businesses are less likely to be able to survive such losses and should better protect themselves from fraud. • The loss caused by occupational fraud is directly related to the position of the perpetrator. Frauds committed by owners and executives caused a median loss of $900,000, which was six times higher than the losses caused by managers, and 14 times higher than the losses caused by employees. Despite this fact, organizations were less likely to take legal action against owners and executives who had committed fraud than they were against employees and managers. This may remove a useful deterrent and unnecessarily expose such organizations to additional high-dollar frauds. • Most occupational fraudsters are first time offenders. Only 12% of the fraudsters in our study had a previous conviction for a fraud-related offense. Criminal background checks can help organizations make informed hiring decisions, but they will not weed out all fraudsters because most frauds are committed by apparently honest employees. • The most cost-effective way to deal with fraud is to prevent it. According to our study, once an organization has been defrauded it is unlikely to recover its losses. The median recovery among victim organizations in our study was only 20% of the original loss. Almost 40% of victims recovered nothing at all. Payroll Schemes Ghost Employee False Communication Worker’s Compensation Scheme Falsified Wages Forged Endorsement Check Tampering Forged Checks Skimming Alter Payee Write-off of Money Due to Company 05/04/60 37 05/04/60 37

38 Types of Application Controls
Data Origination / Input Controls Check Integrity of Data entered Into Business Application Check whether sources from staff direct input, remote by business partner, or through web-enabled application Ensure accuracy with optimum computerized validation and editing, Check if data is within specified parameter Error handling procedure facilitate timely and accurate resubmission of all corrected data Ensure accuracy, completeness and timeliness of data during conversion from original sources into computer data or entry to computer application either manual, online input or batch. Identification & Authentication Authorization Access Controls Accountability Audit Physical Devices (i.e. biometric scan, metal locks, hidden path, digital signatures, encryption, social barriers, human and automated monitoring systems etc.), Permit or deny use of an object Application Controls Data Processing Ensure accuracy, completeness and timeliness of data during either Batch or real-time processing by application. Ensure data is accurately processed through the application No data is added, lost or altered during processing This study covers 508 cases of occupational fraud totaling over $761 million in losses. All information was provided by the Certified Fraud Examiners (CFEs) who investigated these cases. • Organizations suffer tremendous costs as a result of occupational fraud and abuse. Participants in this study, anti-fraud specialists with a median 16 years’ experience in the fraud examination field, estimate that the typical U.S. organization loses 6% of its annual revenues to fraud. Applied to the US Gross Domestic Product for 2003, this translates to approximately $660 billion in total losses. • Our data strongly supports Sarbanes-Oxley’s requirement for audit committees to establish confidential reporting mechanisms. Occupational frauds in our study were much more likely to be detected by a tip than through other means such as internal audits, external audits, and internal controls. Among frauds committed by owners and executives, which tend to be the most costly, over half of all cases were identified by a tip. • Confidential reporting mechanisms reduce fraud losses significantly. The median loss among organizations that had anonymous reporting mechanisms was $56,500. In organizations that did not have established reporting procedures, the median loss was more than twice as high. • While Sarbanes-Oxley only requires publicly traded companies to establish confidential reporting mechanisms for employees, our data strongly suggests that these programs should also embrace third-party sources such as customers and vendors. Among cases that were detected by a tip, 60% of the tips came from employees, 20% of the tips came from customers, 16% came from vendors, and 13% came from anonymous sources. Companies that have implemented basic employee hotlines to ensure Sarbanes-Oxley compliance could detect significantly more frauds by making their hotlines available to third parties as well. • More effective internal controls are needed to detect fraud. Internal controls ranked fourth – behind By Accident – in terms of the number of frauds detected in our study. Furthermore, the frauds that were detected by internal controls tended to be relatively small, with a median loss of $40,000, which was by far the lowest of any detection method. More effective types of internal controls are needed to detect fraud, especially larger frauds that may involve senior personnel overriding or circumventing traditional internal controls. • Small businesses suffer disproportionately large losses due to occupational fraud and abuse. The median cost experienced by small businesses in our study was $98,000. This was higher than the median loss experienced by all but the very largest organizations. Small businesses are less likely to be able to survive such losses and should better protect themselves from fraud. • The loss caused by occupational fraud is directly related to the position of the perpetrator. Frauds committed by owners and executives caused a median loss of $900,000, which was six times higher than the losses caused by managers, and 14 times higher than the losses caused by employees. Despite this fact, organizations were less likely to take legal action against owners and executives who had committed fraud than they were against employees and managers. This may remove a useful deterrent and unnecessarily expose such organizations to additional high-dollar frauds. • Most occupational fraudsters are first time offenders. Only 12% of the fraudsters in our study had a previous conviction for a fraud-related offense. Criminal background checks can help organizations make informed hiring decisions, but they will not weed out all fraudsters because most frauds are committed by apparently honest employees. • The most cost-effective way to deal with fraud is to prevent it. According to our study, once an organization has been defrauded it is unlikely to recover its losses. The median recovery among victim organizations in our study was only 20% of the original loss. Almost 40% of victims recovered nothing at all. Ensure integrity of output and the correct and timely distribution of output produced either in hardcopy, files to be used as input for other system, or information available for online viewing Output Control 05/04/60 38 05/04/60 38

39 Example of Detection System
XBRL Business Report Engine Business Report General Ledger XSLT Spreadsheet Branch Main Office Web Browser Loan Application Dataset Web Server Application XML document XML Key Fraud Signature Misuse detection data & metadata Rules Engine Event Correlation Database This study covers 508 cases of occupational fraud totaling over $761 million in losses. All information was provided by the Certified Fraud Examiners (CFEs) who investigated these cases. • Organizations suffer tremendous costs as a result of occupational fraud and abuse. Participants in this study, anti-fraud specialists with a median 16 years’ experience in the fraud examination field, estimate that the typical U.S. organization loses 6% of its annual revenues to fraud. Applied to the US Gross Domestic Product for 2003, this translates to approximately $660 billion in total losses. • Our data strongly supports Sarbanes-Oxley’s requirement for audit committees to establish confidential reporting mechanisms. Occupational frauds in our study were much more likely to be detected by a tip than through other means such as internal audits, external audits, and internal controls. Among frauds committed by owners and executives, which tend to be the most costly, over half of all cases were identified by a tip. • Confidential reporting mechanisms reduce fraud losses significantly. The median loss among organizations that had anonymous reporting mechanisms was $56,500. In organizations that did not have established reporting procedures, the median loss was more than twice as high. • While Sarbanes-Oxley only requires publicly traded companies to establish confidential reporting mechanisms for employees, our data strongly suggests that these programs should also embrace third-party sources such as customers and vendors. Among cases that were detected by a tip, 60% of the tips came from employees, 20% of the tips came from customers, 16% came from vendors, and 13% came from anonymous sources. Companies that have implemented basic employee hotlines to ensure Sarbanes-Oxley compliance could detect significantly more frauds by making their hotlines available to third parties as well. • More effective internal controls are needed to detect fraud. Internal controls ranked fourth – behind By Accident – in terms of the number of frauds detected in our study. Furthermore, the frauds that were detected by internal controls tended to be relatively small, with a median loss of $40,000, which was by far the lowest of any detection method. More effective types of internal controls are needed to detect fraud, especially larger frauds that may involve senior personnel overriding or circumventing traditional internal controls. • Small businesses suffer disproportionately large losses due to occupational fraud and abuse. The median cost experienced by small businesses in our study was $98,000. This was higher than the median loss experienced by all but the very largest organizations. Small businesses are less likely to be able to survive such losses and should better protect themselves from fraud. • The loss caused by occupational fraud is directly related to the position of the perpetrator. Frauds committed by owners and executives caused a median loss of $900,000, which was six times higher than the losses caused by managers, and 14 times higher than the losses caused by employees. Despite this fact, organizations were less likely to take legal action against owners and executives who had committed fraud than they were against employees and managers. This may remove a useful deterrent and unnecessarily expose such organizations to additional high-dollar frauds. • Most occupational fraudsters are first time offenders. Only 12% of the fraudsters in our study had a previous conviction for a fraud-related offense. Criminal background checks can help organizations make informed hiring decisions, but they will not weed out all fraudsters because most frauds are committed by apparently honest employees. • The most cost-effective way to deal with fraud is to prevent it. According to our study, once an organization has been defrauded it is unlikely to recover its losses. The median recovery among victim organizations in our study was only 20% of the original loss. Almost 40% of victims recovered nothing at all. SYSLOG IDS Firewall and Router Log 05/04/60 39 05/04/60 39

40 การวิเคราะห์เพื่อหารายการทุจริต
ใช้ กฎของ Benford เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ เพื่อช่วยระบุรายการที่มีแนวโน้มเป็นการทุจริต เส้นค่าตามทฤษฎี รายการทุจริต Frequencies (percent) RELATED ARTICLE: Signals of Fraud * Alteration of documents. * Duplicate payments. * Second endorsements on checks. * Stale items on bank reconciliations. * Journal entries without supporting documentation. * Unexplained adjustments to accounts receivable, accounts payable, revenues, or expenses. * Failure of certain employees to take vacations. * Failure to follow up on past-due receivables. * Shortages in delivered goods. * Employees on the payroll who do not sign up for benefits. * Complaints by customers. * Significant increases or decreases in account balances. * Unusual financial statement relationships such as: * Increased revenues with decreased receivables. * Increased revenues with decreased purchases of inventory. * Increased inventory with decreased purchases or payables to vendors. * Unusual write-offs of receivables. * Products or services purchased in excess of needs. * Unreasonable expenses or reimbursements. * Cash shortages or overages. * Common names, telephone numbers, and addresses of payees or customers. * Missing documentation. * Excessive voids or credits. * Tips from employees. * Significant changes in liquidity, leverage, profitability, or turnover ratios. 40 05/04/60 05/04/60 40

41 กรณีศึกษาทุจริตธนาคาร
05/04/60

42 ตัวการทุจริต ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ทุจริต
นาย สมเกียรติ ปัญญาวรคุณเดช อายุ 33 ปี ตำแหน่งพนักงานธุรกิจสาขาอาวุโส เกรด 7 ปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่การเงิน สาขาเซ็นหลุยส์ 3 ทำงานที่สาขาเซ็นหลุยส์ สาขาเดียวเป็นเวลา 9 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย ถึง พ.ค. 2552 จำนวนเงินที่ทุจริต 499,272, บาท ระยะเวลาที่ทำการทุจริต 1 ปี 5 เดือน ตั้งแต่ วันที่ 8 พ.ย วันที่ 20 เม.ย. 2552 ได้รับรางวัลเป็นพนักงานดีเด่น และไม่เคยมีประวัติการทุจริต. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ทุจริตและการทุจริต 1.ประวัติผู้ทุจริต นายสมเกียรติ ปัญญาวรคุณเดช ตำแหน่งพนักงานธุรกิจสาขาอาวุโส เกรด 7 สาขาเซ็นหลุยส์ 3 อายุ 33 ปี ปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่การเงินที่สาขาเซ็นหลุยส์เพียงสาขาเดียวเป็นเวลา 9 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.2542 ถึงปัจจุบัน จำนวนเงินที่ทุจริต 499,272, บาท โดยมีระยะเวลาที่ทำการทุจริต ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย เม.ย.2552 05/04/60 (กรุงเทพธุรกิจ 3 ส.ค.52)

43 วิธีการทุจริต วิธีการทุจริตมี 2 แบบ
ทุจริตปลอมสลิปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำลูกค้า 2 บัญชี รวม 6 รายการ เป็นเงิน ล้านบาท ระหว่างวันที่ 8 พ.ย ถึงวันที่ 23 ม.ค. 2551 สร้างรายการค่าใช้จ่ายประเภทบัญชีดอกเบี้ยจ่ายเงินฝากประจำ ของสำนักพระราม 9 และสาขาเซ็นหลุยส์ 3 จำนวน 419 รายการ เป็นเงินรวม ล้านบาท และสร้างรายการฝากเงินเข้าบัญชีของตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในจำนวนเดียวกัน ระหว่างวันที่ 20 ก.พ ถึง 20 เม.ย ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทุจริต วิธีการทุจริตมี 2 แบบ ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน 1.การปลอมสลิปถอนเงินจากบัญชีลูกค้า โดยการปลอมสลิปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำลูกค้ารายนางเล่งบ่าย รงคพรรณ จำนวน 2 บัญชี รวม 6 รายการ จำนวนเงินรวม ล้านบาท ซึ่งเป็นการทำทุจริต ระหว่างวันที่ 8 พ.ย.2550 ถึงวันที่ 23 ม.ค.2551 2.การสร้างรายการค่าใช้จ่ายประเภทบัญชีดอกเบี้ยจ่ายเงินฝากประจำ ของสำนักพระราม 9 และสาขาเซ็นหลุยส์ 3 จำนวน 419 รายการ จำนวนเงินรวม ล้านบาท ทั้งๆ ที่นายสมเกียรติไม่มีเงินฝากประจำที่สาขาทั้ง 2 แห่งแต่อย่างใด และในขณะเดียวกันนายสมเกียรติก็สร้างรายการฝากเงินเข้าบัญชีของตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในจำนวนเดียวกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่สร้างขึ้นดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นการทำการทุจริตในช่วงหลัง go Live โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 20 ก.พ.2551 ถึง 20 เม.ย.2552 05/04/60 (กรุงเทพธุรกิจ 3 ส.ค.52)

44 วิธีการทุจริต ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการทุจริต
เงินถูกโอนทาง ATM จากบัญชีดอกเบี้ยจ่ายเงินฝากประจำ ของสำนักพระราม 9 และสาขาเซ็นหลุยส์ 3 ไปยังบัญชีของตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในหลายธนาคารย่านสยามสแควร์ วันละ 30 รายการ รายการละ บาท รวมเป็นเงินวันละ 700, ,000 บาท ทุกวัน เป็นเวลา 1 ปีครึ่ง โดยอาศัยเวลาหลังเลิกงาน ช่วงที่ระบบยังไม่ปิด นั่งทำรายการทุจริตที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนโดยไม่มีใครสงสัย. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ทุจริตและการทุจริต Mr Somkiat allegedly abused his authority as a teller by transferring some 700, ,000 baht from GHB's interest accounts into his personal bank accounts every day for a year-and-a-half. He allegedly made about 30 transfers per day, with each transfer amounting to 30,000 baht. Transfers were made via ATMs to numerous accounts Mr Somkiat had opened with several banks located in the Siam Square area of Bangkok's Pathumwan district. According to Mr Khan, Mr Somkiat made the transfers after working hours, a time when GHB had already finished its daily clearing. "Mr Somkiat showed no signs of irregularities at all. He acted like an ordinary office worker who came to work by bus," Mr Khan said.Mr Somkiat had won an award for being an outstanding member of GHB's staff, and he had earned the trust of clients at the branch he worked at, the bank's president said. 05/04/60 (กรุงเทพธุรกิจ 3 ส.ค.52)

45 ความเสียหายทุจริต มูลค่าความเสียหายสุทธิต่อธนาคาร
เงินสด และสินทรัพย์ต่างๆ จำนวน ล้านบาท ของนายสมเกียรติ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามได้ แบ่งเป็น เงินสด ล้านบาท บ้านพร้อมที่ดิน ล้านบาท ห้องชุด ล้านบาท รถยนต์ 4 คัน ล้านบาท ทรัพย์สินอื่นๆ 10 ล้านบาท รวมความเสียหายสุทธิต่อธนาคาร ประมาณ 250 ล้านบาท. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ทุจริตและการทุจริต ทั้งนี้ ยอดเงินกระทำทุจริต 499 ล้านบาท ทางธนาคารและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ติดตามเงินสด และสินทรัพย์ต่างๆ ที่นายสมเกียรติ ปัญญาวรคุณเดช ถือครอบครอง เงินการกระทำทุจริต จำนวน ล้านบาท แบ่งเป็น เงินสด 201 ล้านบาท บ้านพร้อมที่ดิน 28.9 ล้านบาท ห้องชุด 2.2 ล้านบาท รถยนต์ 4 คัน 11.8 ล้านบาทและ ทรัพย์สินอื่นๆ 10 ล้านบาท ซึ่งรวมสุทธิแล้ว ขณะนี้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้รับความเสียหายประมาณ 250 ล้านบาท 05/04/60 (กรุงเทพธุรกิจ 3 ส.ค.52)

46 สาเหตุทุจริต สาเหตุที่ทุจริตปลอมสลิปถอนเงินจากบัญชีลูกค้าได้สำเร็จ
นายสมเกียรติทำการ ปลอมเอกสารสลิปถอนเงิน จากบัญชีเงินฝากของลูกค้า พนักงานและผู้บริหารในสาขา ละเลยไม่ระมัดระวังในการเก็บรักษารหัสส่วนตัว (Password) ให้เป็นความลับ ทำให้นายสมเกียรตินำไปใช้ Override รายการทุจริตได้ พนักงานและผู้บริหารในสาขา ละเลยไม่ตรวจสอบรายงานการอนุมัติเกินอำนาจในวันรุ่งขึ้น จึงไม่พบความผิดปกติในการใช้ Password อนุมัติรายการ จนเป็นเหตุ ให้นายสมเกียรติสามารถทุจริตได้เป็นเวลานาน. ๐สาเหตุที่ทุจริตได้สำเร็จ 1.นายสมเกียรติทำการปลอมเอกสารสลิปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกค้า นอกจากนายสมเกียรติ ที่เป็นผู้ทุจริตแล้ว พนักงานและผู้บริหารในสาขาละเลยไม่ ระมัดระวังในการเก็บรักษารหัสส่วนตัว (Password) ให้เป็นความลับ ทำให้นายสมเกียรตินำไปใช้ Override รายการกระทำการทุจริตได้ ตลอดจนไม่ตรวจสอบ รายงานการอนุมัติเกินอำนาจในวันรุ่งขึ้น จึงไม่พบความผิดปกติในการใช้ Password อนุมัติรายการจนเป็นเหตุสามารถทุจริตได้เป็นเวลานาน 05/04/60 (กรุงเทพธุรกิจ 3 ส.ค.52)

47 สาเหตุทุจริต สาเหตุที่ทุจริตสร้างรายการดอกเบี้ยจ่ายในระบบบัญชีได้สำเร็จ ระบบ Core Banking System มีข้อบกพร่อง Menu ที่ใช้ในการปรับปรุงดอกเบี้ยจ่ายและทำรายการข้ามสาขา เปิดให้พนักงานทุกระดับรวมถึงนายสมเกียรติสามารถเข้าไปทำรายการกับบัญชี GL ของธนาคาร โดยไม่มีการอนุมัติผ่านรายการ แยกเป็น ดอกเบี้ยจ่ายสำนักพระราม 9 จำนวน ล้านบาท และดอกเบี้ยจ่ายสาขาเซ็นต์หลุยส์ 3 จำนวน ล้านบาท พนักงานและผู้บริหารในสาขาของบัญชีดอกเบี้ยจ่าย ไม่ตรวจสอบงบทดลองประจำวัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยให้นายสมเกียรติสามารถทุจริตได้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน. ๐สาเหตุที่ทุจริตได้สำเร็จ 2.นายสมเกียรติทำการทุจริตโดยเข้าไปสร้างรายการดอกเบี้ยจ่ายในระบบบัญชี GL ของธนาคารได้จำนวน ล้านบาท โดยมีปัจจัยมาจาก 2 ประการ คือ ประการแรก ระบบงานโดยเฉพาะหน้าจอ (MENU) ที่ใช้ในการปรับปรุงดอกเบี้ยจ่าย และการทำรายการข้ามสาขาเปิดให้พนักงานทุกระดับ (Work Class) สามารถ ทำรายการได้ในบัญชี GL ของธนาคาร โดยไม่มีการอนุมัติผ่านรายการ (Verify) ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยให้นายสมเกียรติสามารถเข้าไปทำรายการดอกเบี้ยจ่ายในระบบ งานบัญชี GL ของธนาคารได้ ประการที่ 2 สาขาของบัญชีดอกเบี้ยจ่ายไม่ตรวจสอบงบทดลองประจำวัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยให้นายสมเกียรติสามารถทุจริตได้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งทำให้มี มูลค่าความเสียหายสูง 05/04/60 (กรุงเทพธุรกิจ 3 ส.ค.52)

48 สาเหตุทุจริต สาเหตุของข้อบกพร่องในระบบ Core Banking System
ธนาคารได้ implement CBS ระบบใหม่ ซึ่งรวมระบบ GL เข้าไว้ด้วย ต่างจากระบบเก่าที่แยก GL ออกต่างหาก แต่ไม่ได้ตระหนักถึงความเสี่ยง ทำให้ ไม่ได้กำหนดสิทธิในการเข้าถึงเมนูที่สามารถเชื่อมโยงกับงานบัญชี GL ของธนาคาร หลังจากเริ่มใช้งานระบบใหม่ ธนาคารประสบปัญหาระบบคิดดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่จ่ายให้ผู้ฝากผิด จึงได้ นำเมนูดังกล่าวมาใช้ในการปรับปรุงรายการดอกเบี้ยจ่ายให้ถูกต้อง การปิดระบบของสาขาทำพร้อมกันจากส่วนกลางในเวลาประมาณ น. ซึ่งช่วยเปิดโอกาสให้นายสมเกียรติสามารถทำรายการทุจริตนอกเวลาทำการ. จากปัจจัย 2 ประการข้างต้น คณะกรรมการสามารถสรุปได้คือ The fraud evidently coincided with the bank's introduction of a new core banking system, installed by with Datamat/SuperblockInfosys as a subcontractor. Before the new system was introduced, access to the bank's general ledger accounts was open only to level-9 bank staff with verification made by level-11 executives. When the new IT system was introduced, access to the bank's general ledger accounts was incorporated into the system, but without sufficient firewalls and security systems to block unauthorised access, according to the inquiry report. The lack of safeguards allowed staff at all levels to see the accounts within the system, including interest rate policies and even loan contract terms of customers. One executive said the decision to include the general ledger accounts in the core banking system was made to facilitate work at the bank. ''There was nothing necessarily wrong with the core banking system. But it is also necessary to set up sufficient safeguards and access barriers, which evidently was not done,'' he said. Responsibility for the case is likely to fall on the bank's IT staff, internal control officers as well as the manager of the St Louis branch. The role of executives involved in the core banking system 1.ระบบงานโดยเฉพาะหน้าจอที่ใช้ในการปรับปรุงดอกเบี้ยจ่าย และการทำรายการข้ามสาขา หรือ MENU HXFER เปิดให้พนักงานทุกระดับสามารถทำรายการได้ใน บัญชี GL ของธนาคารโดยไม่มีการ Verify มีสาเหตุมาจาก 1.1 ธนาคารไม่ได้กำหนดสิทธิในการเข้าถึง MENU HXFER ทั้งที่เมนูดังกล่าวสามารถเชื่อมโยงกับงานบัญชี GL ของธนาคาร เนื่องจาก Architecture ของ CBS ระบบเก่าและใหม่ แตกต่างกันอย่างมีสาระสำคัญ คือ ในระบบใหม่ได้รวมระบบ GL เข้าไว้ในระบบ ในขณะที่ระบบเดิมแยกระบบ GL ออกต่างหาก ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้อง รับทราบประเด็นความแตกต่างดังกล่าวหากแต่ไม่ได้ตระหนักถึงความเสี่ยง หรือโอกาสที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหากไม่มีระบบการควบคุมที่เหมาะสม 1.2 ภายหลังจากการ GO LIVE แล้ว ธนาคารประสบปัญหาในการให้บริการ โดยเฉพาะธุรกรรมเงินฝากซึ่งระบบคิดดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่จ่ายให้ผู้ฝากผิด จึงได้นำ MENU HXFER มาใช้ในการปรับปรุงรายการดอกเบี้ยจ่าย 1.3 ธนาคารได้กำหนดการปิดระบบของสาขา จะเป็นการปิดเปิดระบบจากส่วนกลางพร้อมกันทุกสาขา ซึ่งจะปิดระบบภายหลังจากที่เคาน์เตอร์การเงินปิดให้บริการ แล้วในเวลาประมาณ น. จึงเปิดโอกาสให้นายสมเกียรติสามารถเข้าไปทำรายการทุจริตนอกเวลาทำการ 05/04/60 (กรุงเทพธุรกิจ 3 ส.ค.52)

49 สาเหตุทุจริต สาเหตุที่สาขาไม่ได้ตรวจสอบงบทดลองประจำวัน
ผู้บริหารและผู้ตรวจบัญชีของสำนักงานพระราม 9 และสาขาเซ็นหลุยส์ 3 ไม่ตรวจสอบรายงานทดลองประจำวัน ไม่ควบคุมดูแลการกระทบยอดประจำวัน และ ไม่กำกับดูแลงบการเงินของสาขาเมื่อมีความผิดปกติในงบการเงินเกี่ยวกับดอกเบี้ยจ่าย ไม่มีการอบรมเรื่องระบบ GL ให้ดูหัวบัญชีดอกเบี้ยจ่าย หรือการเตรียมความพร้อมพื้นฐานสำหรับผู้บริหารสาขา คู่มือปฏิบัติงานไม่สมบูรณ์ รายงานสำคัญที่ใช้ในการกระทบยอดรายวันไม่อำนวย ให้ผู้ปฏิบัติสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ. 2.สำนักงานพระราม 9 และสาขาเซ็นหลุยส์ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของบัญชีดอกเบี้ยจ่ายไม่ได้ตรวจสอบงบทดลองประจำวัน มีสาเหตุมาจาก 2.1 ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารสาขา และผู้ที่ตรวจบัญชีสาขาไม่ปฏิบัติหน้าที่ คือ ไม่ตรวจสอบรายงานทดลองประจำวันหรือรายงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ควบคุมดูแล การกระทบยอดประจำวัน ไม่ได้บริหารจัดการสาขา ควบคุม กำกับ ดูแลงบการเงินของตน กรณีเกิดความผิดปกติในงบการเงินเกี่ยวกับดอกเบี้ยจ่าย ถือเป็นค่าใช้จ่ายสำคัญของสำนักงานพระราม 9 และสาขาเซ็นหลุยส์ 3 อย่างมีสาระสำคัญให้ครบถ้วนตามที่ธนาคารกำหนด 2.2 ผู้ปฏิบัติไม่ได้รับการชี้แจงวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง ครบถ้วน และไม่ได้รับการอบรมในเรื่องระบบ GL เพื่อให้ดูหัวบัญชีดอกเบี้ยจ่าย ซึ่งจากการสอบถามผู้ปฏิบัติ ก็ให้การยืนยันตรงกันว่าไม่ได้ดูหัวบัญชีดอกเบี้ยจ่าย อีกทั้งธนาคารไม่มีการฝึกอบรวมผู้บริหารสาขาเพื่อเตรียมความพร้อมที่จำเป็นพื้นฐานในการบริหารสาขา 2.3 คู่มือปฏิบัติงานไม่มีความสมบูรณ์ในเรื่องการกระทบยอดงบทดลองประจำวัน และไม่ได้ปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องกับบัญชี GL คือก่อน Go Live ธนาคารไม่ได้ ปรับปรุงคู่มือปฏิบัติงานในเรื่องนี้ ต่อมาภายหลัง Go Live ก็ได้มีการปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่ไม่สามารถปิดงบทดลองได้ลงตัว แต่ไม่มีคู่มือ กระทบยอดรายวันเพื่อกระทบหัวบัญชีดอกเบี้ยจ่าย โดยผู้ปฏิบัติไม่ได้ดูหัวบัญชีดอกเบี้ยจ่ายเนื่องจากเข้าใจว่าระบบจะประมวลผลตัวเลขที่ถูกต้องซึ่งสอดคล้องกับ คำให้การของหัวหน้าบริหารจัดการสาขา 2.4 รายการสำคัญที่ใช้ในการกระทบยอดรายวัน ไม่อำนวยให้ผู้ปฏิบัติสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือรายงานที่ใช้กระทบยอดและตรวจสอบรายวันในระบบใหม่ จะใช้รายงานรายการเกี่ยวกับตรวจเช็คต่างๆ ซึ่งเทียบได้กับรายงานในระบบเดิม 8 รายงาน และรายงานที่ใช้ตรวจประจำวันซึ่งเทียบกับรายงานระบบเดิม 5 รายงาน โดยปริมาณหน้าแต่ละวันของสำนักงานพระราม 9 มีมากกว่าพันหน้า ซึ่งรายงานดังกล่าวได้รวมทั้งรายการที่เกิดขึ้นตามปกติ และรายการที่ไม่ปกติ เช่น รายการที่มีการปรับปรุง การทำข้ามสาขาเข้าไว้ในรายงานเดียวกัน จึงทำให้เป็นการยากที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ แล้วธนาคารทำอะไรบ้างหลังเกิดการทุจริต ภายหลังเกิดการทุจริต ธนาคารได้ดำเนินการปรับปรุงการทำงานในด้านต่างๆ เพื่อป้องกันสาเหตุที่ก่อให้เกิดการทุจริต ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้ดังนี้ กลุ่มกำหนดระบบรักษาความปลอดภัยของระบบ 1.การใช้ MENU HXFER, TRTRAN, TM ทำงานกำหนดให้พนักงานที่มี Work Class ตั้งแต่เกรด 9 ขึ้นไป จึงจะทำรายการได้ 1 คน ทำหน้าที่บันทึกและอีก 1 คน ทำหน้าที่ Verify ขณะนี้อยู่ระหว่าง Set Up และทดสอบระบบ เพื่อป้องกันการเข้าถึงหัวบัญชีของ GL ประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย 2.ปรับปรุงวงเงิน เงินฝาก ถอน รายการโอน เคลียริ่ง และยอดเงินสะสมคงเหลือในมือของ Teller ระดับต่างๆ ใหม่ ให้มีวงเงินที่ลดลงจากเดิม 3.การทำรายการเกิน Limit ตามข้อ 2 ต้องมีการ Override รายงานโดยพนักงานเกรด 9 ขึ้นไป 4.ปรับปรุงการทำงานบันทึกรายการด้วย MENU HXFER และ TM (Transaction Maintenance) โดยกำหนดให้มีระบบควบคุมการทำรายการมี Marker-Checker ทุกครั้งที่ทำรายการ 5.กำหนดหัวบัญชี GL ที่สำคัญให้เป็นหน้าที่ของ Checker ซึ่งเป็นพนักงานเกรด 9 ขึ้นไป ที่จะทำการ Post Transaction เท่านั้น กลุ่มปรับปรุงกระบวนการทำงาน 1.การหมุนเวียนพนักงานสาขาหลักไปทำงานที่ Booth/oss/สาขาย่อย สาขาหลักจะต้องทำแผนล่วงหน้า 1 เดือน ส่งให้ฝ่ายงานต้นสังกัดอนุมัติและส่งให้ CORE TEAM เพื่อปรับ Work Class 2.การขอสร้างเปลี่ยนแปลง/แก้ไข หรือยกเลิกรหัสผู้ใช้งาน เพื่อเข้าสู่ระบบ CBS กำหนดให้ ผอ.ฝ่าย/สำนัก เป็นผู้อนุมัติตามแบบฟอร์มที่กำหนด 3.การปรับปรุงกระบวนงานปฏิบัติงานของสาขาทั้งหมด โดยแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดกระบวนงานปฏิบัติสาขา และคณะทำงานกระบวนการปฏิบัติงานสาขาอีก 3 คณะ เพื่อดำเนินการปรับปรุง งานการเงินสาขา งานบัญชีสาขา และงานสินเชื่อสาขา กลุ่มการปรับปรุงรายงานและผลการตรวจสอบ 1.การตรวจสอบรายละเอียดของรายการที่ทำไปแล้ว กำหนดให้ USER ใช้เมนู TI (Transaction Inquiry) ตรวจสอบรายละเอียดของรายการ 2.สายงาน IT ได้ปรับปรุงการออกรายงานสรุปยอดเดินรายการประจำวันของแต่ละสาขา โดยฝ่ายวางแผนปฏิบัติการสารสนเทศจะเป็นผู้ RUN ข้อมูลก่อนประมวล ผลสิ้นวัน และให้สาขาเรียกรายงานตรวจสอบยันยอดเปรียบเทียบกับยอดรวมในรายการยอดเดินรายการประจำวันของแต่ละสาขา ที่ใช้กระทบยอดเมื่อวันก่อน หากมียอดแตกต่างให้ตรวจสอบหาสาเหตุจากหน้าจอ CBS ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มปรับปรุงระเบียบปฏิบัติงานและการอบรม 1.ธนาคารได้ปรับปรุงระเบียบ ปฏิบัติงานด้านการเงิน ซึ่งประกอบด้วยระบบเงินฝาก การกำหนดวงเงินรับจ่ายของสำนักงานพระราม 9 และสาขา การกำหนดวงเงินสดในมือ เกินอำนาจอนุมัติของพนักงาน การใช้เมนู TM และ MENU HXFER 2.ธนาคารได้จัดประชุมทำความเข้าใจและหารือในเรื่องเกี่ยวกับการตรวจสอบรายงานทางการเงินเพื่อป้องกันทุจริตเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.2552 คณะกรรมการสอบสวนสรุปไว้อย่างน่าสนใจว่า จะเห็นว่าการปรับปรุงข้างต้นเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาข้อบกพร่องและความไม่พร้อมของระบบคอร์แบงกิ้ง (Core Banking System : CBS) อันเป็นสาเหตุของการทุจริตที่เกิดขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสาเหตุที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงสรุป 05/04/60 (กรุงเทพธุรกิจ 3 ส.ค.52)

50 การแก้ไขหลังเกิดเหตุ
กลุ่มกำหนดระบบรักษาความปลอดภัยของระบบ จำกัดการเข้าถึงเมนู ที่สามารถเชื่อมโยงกับงาน บัญชี GL ประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย ให้เฉพาะพนักงานเกรด 9 ขึ้นไป โดยต้องมี 1 คนบันทึก 1 คน Verify ลดวงเงิน ฝาก ถอน โอน เคลียริ่ง และยอดเงินสะสมคงเหลือในมือ ของ Teller ระดับต่าง ๆ ลงจากเดิม โดยการ Override Limit ต้องทำโดยพนักงานเกรด 9 ขึ้นไป ปรับปรุงการทำงานบันทึกรายการ ที่เชื่อมโยงกับงานบัญชี GL ให้มี Maker-Checker ทุกครั้งที่ทำรายการ กำหนดการ Post Transaction หัวบัญชี GL ที่สำคัญ ให้เป็นหน้าที่ Checker ซึ่งเป็นพนักงานเกรด 9 ขึ้นไปเท่านั้น. แล้วธนาคารทำอะไรบ้างหลังเกิดการทุจริต ภายหลังเกิดการทุจริต ธนาคารได้ดำเนินการปรับปรุงการทำงานในด้านต่างๆ เพื่อป้องกันสาเหตุที่ก่อให้เกิดการทุจริต ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้ดังนี้ กลุ่มกำหนดระบบรักษาความปลอดภัยของระบบ 1.การใช้ MENU HXFER, TRTRAN, TM ทำงานกำหนดให้พนักงานที่มี Work Class ตั้งแต่เกรด 9 ขึ้นไป จึงจะทำรายการได้ 1 คน ทำหน้าที่บันทึกและอีก 1 คน ทำหน้าที่ Verify ขณะนี้อยู่ระหว่าง Set Up และทดสอบระบบ เพื่อป้องกันการเข้าถึงหัวบัญชีของ GL ประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย 2.ปรับปรุงวงเงิน เงินฝาก ถอน รายการโอน เคลียริ่ง และยอดเงินสะสมคงเหลือในมือของ Teller ระดับต่างๆ ใหม่ ให้มีวงเงินที่ลดลงจากเดิม 3.การทำรายการเกิน Limit ตามข้อ 2 ต้องมีการ Override รายงานโดยพนักงานเกรด 9 ขึ้นไป 4.ปรับปรุงการทำงานบันทึกรายการด้วย MENU HXFER และ TM (Transaction Maintenance) โดยกำหนดให้มีระบบควบคุมการทำรายการมี Marker-Checker ทุกครั้งที่ทำรายการ 5.กำหนดหัวบัญชี GL ที่สำคัญให้เป็นหน้าที่ของ Checker ซึ่งเป็นพนักงานเกรด 9 ขึ้นไป ที่จะทำการ Post Transaction เท่านั้น 05/04/60 (กรุงเทพธุรกิจ 3 ส.ค.52)

51 การแก้ไขหลังเกิดเหตุ
กลุ่มปรับปรุงกระบวนการทำงาน หมุนเวียนพนักงานสาขาหลัก ไปทำงานที่บูทและ สาขาย่อย โดยมีการทำแผนล่วงหน้า 1 เดือน กำหนดให้ระดับผู้อำนวยการฝ่าย/สำนัก เป็นผู้ อนุมัติการขอ สร้าง/เปลี่ยนแปลง/แก้ไข/ยกเลิก รหัสผู้ใช้งานระบบ CBS แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน ปรับปรุงกระบวนงานปฏิบัติงานของสาขา ทั้งหมด ทั้งงานการเงิน งานบัญชี และงานสินเชื่อ. แล้วธนาคารทำอะไรบ้างหลังเกิดการทุจริต ภายหลังเกิดการทุจริต ธนาคารได้ดำเนินการปรับปรุงการทำงานในด้านต่างๆ เพื่อป้องกันสาเหตุที่ก่อให้เกิดการทุจริต ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้ดังนี้ กลุ่มปรับปรุงกระบวนการทำงาน 1.การหมุนเวียนพนักงานสาขาหลักไปทำงานที่ Booth/oss/สาขาย่อย สาขาหลักจะต้องทำแผนล่วงหน้า 1 เดือน ส่งให้ฝ่ายงานต้นสังกัดอนุมัติและส่งให้ CORE TEAM เพื่อปรับ Work Class 2.การขอสร้างเปลี่ยนแปลง/แก้ไข หรือยกเลิกรหัสผู้ใช้งาน เพื่อเข้าสู่ระบบ CBS กำหนดให้ ผอ.ฝ่าย/สำนัก เป็นผู้อนุมัติตามแบบฟอร์มที่กำหนด 3.การปรับปรุงกระบวนงานปฏิบัติงานของสาขาทั้งหมด โดยแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดกระบวนงานปฏิบัติสาขา และคณะทำงานกระบวนการปฏิบัติงานสาขาอีก 3 คณะ เพื่อดำเนินการปรับปรุง งานการเงินสาขา งานบัญชีสาขา และงานสินเชื่อสาขา 05/04/60 (กรุงเทพธุรกิจ 3 ส.ค.52)

52 การแก้ไขหลังเกิดเหตุ
กลุ่มการปรับปรุงรายงานและผลการตรวจสอบ กำหนด เมนูสำหรับตรวจสอบ รายละเอียด ของรายการที่ทำไปแล้ว ปรับปรุง การออกรายงานสรุปยอดเดินรายการประจำวัน ของแต่ละสาขา โดยฝ่ายวางแผนปฏิบัติการสารสนเทศจะเป็นผู้ Run ข้อมูลก่อนประมวลผลสิ้นวัน และให้สาขาเรียกรายงานตรวจสอบยันยอดเปรียบเทียบกับยอดรวมในรายการยอดเดินรายการประจำวันของแต่ละสาขา ที่ใช้กระทบยอดเมื่อวันก่อน หากมียอดแตกต่างให้ตรวจสอบหาสาเหตุจากหน้าจอ CBS ที่เกี่ยวข้อง. แล้วธนาคารทำอะไรบ้างหลังเกิดการทุจริต ภายหลังเกิดการทุจริต ธนาคารได้ดำเนินการปรับปรุงการทำงานในด้านต่างๆ เพื่อป้องกันสาเหตุที่ก่อให้เกิดการทุจริต ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้ดังนี้ กลุ่มการปรับปรุงรายงานและผลการตรวจสอบ 1.การตรวจสอบรายละเอียดของรายการที่ทำไปแล้ว กำหนดให้ USER ใช้เมนู TI (Transaction Inquiry) ตรวจสอบรายละเอียดของรายการ 2.สายงาน IT ได้ปรับปรุงการออกรายงานสรุปยอดเดินรายการประจำวันของแต่ละสาขา โดยฝ่ายวางแผนปฏิบัติการสารสนเทศจะเป็นผู้ RUN ข้อมูลก่อนประมวล ผลสิ้นวัน และให้สาขาเรียกรายงานตรวจสอบยันยอดเปรียบเทียบกับยอดรวมในรายการยอดเดินรายการประจำวันของแต่ละสาขา ที่ใช้กระทบยอดเมื่อวันก่อน หากมียอดแตกต่างให้ตรวจสอบหาสาเหตุจากหน้าจอ CBS ที่เกี่ยวข้อง 05/04/60 (กรุงเทพธุรกิจ 3 ส.ค.52)

53 การแก้ไขหลังเกิดเหตุ
กลุ่มปรับปรุงระเบียบปฏิบัติงานและการอบรม ปรับปรุง ระเบียบปฏิบัติงานด้านการเงิน ซึ่งประกอบด้วยระบบเงินฝาก การกำหนดวงเงินรับจ่ายของสำนักงานพระราม 9 และสาขา การกำหนดวงเงินสดในมือเกินอำนาจอนุมัติของพนักงาน การใช้เมนูที่สามารถเชื่อมโยงกับงานบัญชี GL จัดประชุมทำความเข้าใจและหารือในเรื่องเกี่ยวกับ การตรวจสอบรายงานทางการเงิน เพื่อป้องกันทุจริต. แล้วธนาคารทำอะไรบ้างหลังเกิดการทุจริต ภายหลังเกิดการทุจริต ธนาคารได้ดำเนินการปรับปรุงการทำงานในด้านต่างๆ เพื่อป้องกันสาเหตุที่ก่อให้เกิดการทุจริต ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้ดังนี้ กลุ่มปรับปรุงระเบียบปฏิบัติงานและการอบรม 1.ธนาคารได้ปรับปรุงระเบียบ ปฏิบัติงานด้านการเงิน ซึ่งประกอบด้วยระบบเงินฝาก การกำหนดวงเงินรับจ่ายของสำนักงานพระราม 9 และสาขา การกำหนดวงเงินสดในมือ เกินอำนาจอนุมัติของพนักงาน การใช้เมนู TM และ MENU HXFER 2.ธนาคารได้จัดประชุมทำความเข้าใจและหารือในเรื่องเกี่ยวกับการตรวจสอบรายงานทางการเงินเพื่อป้องกันทุจริตเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.2552 คณะกรรมการสอบสวนสรุปไว้อย่างน่าสนใจว่า จะเห็นว่าการปรับปรุงข้างต้นเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาข้อบกพร่องและความไม่พร้อมของระบบคอร์แบงกิ้ง (Core Banking System : CBS) อันเป็นสาเหตุของการทุจริตที่เกิดขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสาเหตุที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงสรุป 05/04/60 (กรุงเทพธุรกิจ 3 ส.ค.52)

54 สรุปแนวทางป้องกันทุจริต และบทบาทผู้ตรวจสอบภายใน
05/04/60

55 Managing Insider Threat
Strong authentication / biometric technologies Role-based access granted on a need-to-have basis Rotate job function / event log reading Place server and sensitive equipment in secured area Restrict physical access / lock / alarm test Wear badge / background check Default password / unused port / log-off on absence Encrypt sensitive data stored on user hard drives Store sensitive document in secured space Never issue password over unsecured channels 05/04/60

56 Aware of Warning Signs Rogue access point / wireless / remote
Disgruntled employee A user accesses database or area of network they have never accessed before Download spike 05/04/60

57 Fraud Prevention Checklist
Good internal control Employee fraud awareness training / hotline Analytical review / surprise fraud audits Review company contracts Perception of detection / management oversight Proactive fraud policy and program / prosecution Mandatory vacations / periodic job rotation Screen job applicants Information security review / limit access / audit trail Management climate / employee support program Fraud Prevention Checklist * Increase use of analytical review. * Review company contracts. * Conduct a threat analysis. * Consult a certified fraud examiner. * Create and maintain a fraud policy. * Create an employee fraud hotline. * Impose mandatory vacations. * Create periodic job rotation. * Check employee references twice. * Evaluate password system and use. * Track unsuccessful attempts to access a computer. * Encrypt data files and data transmissions. * Maintain appropriate backup of files. * Use the best virus protection. * Maintain a computer transaction log. * Scan files and diskettes for viruses. * Request an information system security review. * Perform surprise fraud audits. 05/04/60

58 Summary Auditor's roles in combating fraud
Promote culture of honesty and high ethics Assess and mitigate the risk of fraud Ensure control adequacy and effectiveness Use data mining and statistical analysis tools Analyze financial statements reports Being alert on predication of fraud Ensure investigations are properly conducted Ensure proper follow-up actions are taken Develop your anti-fraud knowledge and skills TOPIC: Combating Fraud: Putting in Place an Effective Audit System to Detect and Prevent Fraud Ø Key indicators of fraud Ø Types of fraud associated with the activities reviewed Ø Prevention aids by internal auditors Ø Techniques for enabling the detection and investigation of fraudulent activities 05/04/60

59 About the ACFE The Association of Certified Fraud Examiners Start 1988
Provide anti-fraud training and education Over 50,000 members in 125 countries Administrate the Certified Fraud Examiner (CFE) designation- a certification program for fraud practitioners recognized by U.S. Department of Defense and FBI More than 20,000 CFE’s worldwide (5 Thais) $55 Membership Fee More information about ACFE The Naval Criminal Investigative Service (NCIS), Department of the Navy and the Office of Inspector General of the Port Authority of New York & New Jersey recently recognized the CFE credential for hiring and promotional purposes. Both recognitions are part of the Association of Certified Fraud Examiner’s (ACFE) Law Enforcement Partnership program and have plans to work toward having all current investigators achieve this valuable credential. They also join the ranks of government agencies such as the FBI, the U.S. Postal Inspection Service, the Government Accountability Office and the Department of Defense. 05/04/60

60 About CFE Exam Covers 4 areas Criminology & Ethics
Financial Transactions Fraud Investigation Legal Elements of Fraud 4 Exam sections of 125 questions each (75%) Administered via computer / must complete each section in one sitting (2.6 hr) Complete all and return to ACFE in 30 days Must pass Qualifying Points System (40/50) $250 Application Fee CFE Exam covers four areas Criminology & Ethics - The purpose of this section is to test your knowledge of criminological concepts and to evaluate your understanding of the underlying ethics of the fraud examination profession. This part includes administration of criminal justice, theories of crime causation, theories of fraud prevention, crime information sources, and ethical situations. Financial Transactions - This section tests your knowledge of the types of fraudulent financial transactions incurred in accounting records. To pass this section, you will be required to demonstrate knowledge of these concepts: basic accounting and auditing theory, fraud schemes, internal controls to deter fraud and other auditing and accounting matters. Fraud Investigation - This section includes questions in the following areas: interviewing, taking statements, obtaining information from public records, tracing illicit transactions, evaluating deception and report writing. Legal Elements of Fraud - This section ensures that you are familiar with the many legal ramifications of conducting fraud examinations, including criminal and civil law, rules of evidence, rights of the accused and accuser and expert witness matters. 05/04/60

61 Q&A PAIRAT SRIVILAIRIT SVP Head of Internal Audit
TISCO Financial Group Public Company Limited Mobile : Office : 05/04/60


ดาวน์โหลด ppt Top 10 Banking Fraud Practical Discussion of Fraud Schemes by Bank Insiders and How to Prevent Fraud from Occurring 05/04/60.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google