ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การให้ออกซิเจนที่บ้าน
ตัวแท็งก์โดยมากมีสีเขียว มี 4 ขนาด จากขนาดเล็กไปใหญ่ ดังนี้ คือ ขนาดจิ๋ว (พกใส่กระเป๋า หิ้วหรือสะพายได้),ขนาดเล็ก(D), ขนาดกลาง(E), และขนาดใหญ่(D) วิธีใช้ 1.ปิดวาวล์ให้แน่นสนิทก่อน 2. ต่อหัวเกจ์เข้ากับท่อออกซิเจนใต้หัววาวล์ โดยใช้กุญแจเลื่อนหมุนจนแน่น
2
3. ถ้าใช้ออกซิเจนมากกว่า 2 ลิตรต่อนาทีควรต่อ กระป๋องทำความชื้นเข้ากับโฟลมิเตอร์ ดังรูป
4. ต่อสายน้ำแก๊สออกซิเจนเข้ากับโฟลมิเตอร์ หรือกระป๋องน้ำทำความชื้น 5. เปิดวาวล์และหมุนปุ่มโฟลมิเตอร์เพื่อเปิดอัตราไหล ของแก๊สตามที่เด็กต้องการแล้วต่อสายนำแก๊ส ออกซิเจนเข้ากับตัวเด็ก 6. เมื่อไม่ต้องการให้ออกซิเจน ปิดวาวล์และปิดโฟลมิเตอร์ ถอดสายนำแก๊สออกจากตัวเด็ก
3
การดูแลแท็งก์ออกซิเจนที่บ้าน
1. ไม่ควรรอให้ใช้แก๊สออกซิเจนจนหมดแท็งก์ควรสังเกตจากตัวเลขที่หน้าปัดของ เกจ์ว่าแก๊สลดลงถึงระดับแล้ว ถ้าเกจ์ลดลงถึงระดับ 100 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ควนำไปเติมได้ 2. แท็งก์เล็กที่วางบนรถเข็นและแท็งก์ขนาดจิ๋ว ที่ใส่กระเป๋าหิ้วสะพายได้เหมาะสำหรับใช้ขณะ เดินทาง 3. การนำแท็งก์ติดไปในรถยนต์ ควรวางบนที่นั่ง และคาดเข็มขัดนิรภัยไว้เพื่อป้องกันการ ระเบิดของแท็งก์ ห้ามวางแท็งก์ในที่ร้อน 4. ถ้าหากแท็งก์ชำรุด ควรรีบเปลี่ยนหรือติดต่อบริษัทที่ขายแท็งก์ออกซิเจนควรติด ชื่อบริษัทที่ขายออกซิเจนแขวนไว้กับแท็งก์ออกซิเจน ชื่อบริษัท โทรศัพท์ ที่อยู่ 5. ถ้าต่อกระป๋องน้ำทำความชื้น ควรถอดล้างกระป๋องทุกวันแล้วเช็ดให้แห้งก่อน เติมน้ำต้มสุกที่ กรองแล้ว ให้ถึงขีดที่กำหนด แล้วจึงต่อเข้ากัลโฟลมิเตอร์
4
ออกซิเจนกับความปลอดภัย
ออกซิเจนเป็นแก๊สไวไฟ อาจติดหรือระเบิดได้ ถ้าถูกับเปลวไฟหรือ ความร้อน ดังนั้น จึงควรมีมาตรการการดูแลดังนี้ 1. ห้ามสูบบุหรี่ในห้องที่มีแท็งก์ออกซิเจน ติดป้าย “ห้ามสูบบุหรี่” ในห้องที่ผู้ป่วยอยู่ 2. ไม่ควรตั้งแท็งก์ใกล้เตาไฟ ขณะให้ออกซิเจน ตัวเด็กควรอยู่ห่าง เตาไฟในระยะรัศมี 6-8 ฟุตขึ้นไป
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.