ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โดย อ.วัชรานนท์ จุฑาจันทร์
ฟิสิกส์ โมเมนต์ และแรงคู่ควบ Moment & Couple Force โดย อ.วัชรานนท์ จุฑาจันทร์
2
โมเมนต์ของแรง = แรง x ระยะจากแนวแรงตั้งฉากกับจุดหมุน
โมเมนต์ของแรง หมายถึง ปริมาณที่แสดงแนวโน้มของแรงที่จะหมุนวัตถุที่ถูกแรงนั้นกระทำมีค่าเท่ากับผลคูณของระยะทางจากแนวแรงตั้งฉากกับจุดหมุน หรือจุดที่คิดค่าโมเมนต์ถึงจุดที่แรงกระทำ โมเมนต์ของแรง = แรง x ระยะจากแนวแรงตั้งฉากกับจุดหมุน M = F x l
3
ทิศทางของโมเมนต์ โมเมนต์ของแรงสามารถแบ่งตามทิศของการหมุนได้ 2 ชนิด ดังนี้ 1.โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา เกิดแรงพยายามทำให้คานหมุนรอบจุดหมุน ในทิศตามเข็มนาฬิกา 2.โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา เกิดแรงพยายามที่ทำให้คานหมุนรอบ จุดหมุนในทิศทวนเข็มนาฬิกา
4
ส่วนประกอบของโมเมนต์
โมเมนต์ จะประกอบด้วย 1. วัตถุที่มีความยาว 2. จุดหมุน จุดที่ดึงวัตถุอยู่กับที่ หรือจุดฟัลครัม 3. มีแรงมากระทำต่อคาน โดยเขียนลูกศรแทนแรง ลูกศรชี้ไปทางไหน ทิศทางของแรงไปทางนั้น
5
ทิศทางของโมเมนต์ โมเมนต์ของแรงสามารถแบ่งตามทิศของการหมุนได้ 2 ชนิด ดังนี้ 1.โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา เกิดแรงพยายามทำให้คานหมุนรอบจุดหมุน ในทิศตามเข็มนาฬิกา 2.โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา เกิดแรงพยายามที่ทำให้คานหมุนรอบ จุดหมุนในทิศทวนเข็มนาฬิกา
6
หลักการของโมเมนต์ ถ้าโมเมนต์ย่อยแต่ละโมเมนต์ทำให้วัตถุหมุนไปในทางทิศเดียวกัน การหาขนาดของโมเมนต์รวมให้นำค่าของโมเมนต์ย่อยนั้นมารวมกัน โดยโมเมนต์รวมจะมีทิศทางไปในทางเดียวกับทิศทางของโมเมนต์ย่อย ถ้าโมเมนต์ย่อยแต่ละโมเมนต์ทำให้วัตถุหมุนไปคนละทิศทาง การหาขนาดของโมเมนต์รวมให้นำค่าของโมเมนต์ย่อยนั้นมาหักล้างกัน โดยโมเมนต์รวมจะมีทิศทางไปในทางเดียวกับทิศทางของโมเมนต์ย่อยที่มีค่าโมเมนต์ของแรงมากกว่า
7
กฎของโมเมนต์ (Law of moment)
เมื่อมีแรงหลายๆแรงกระทำบนวัตถุ แล้ววัตถุนั้นอยู่ในภาวะสมดุลจะได้ (ไม่เคลื่อนที่และไม่หมุน) พบว่า " ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา "
8
โมเมนต์แรงคู่ควบ = F1 * D
แรงคู่ควบ (Couple Force) ถ้ามีแรงสองแรง F1 และ F2 มีขนาดเท่ากัน แต่มีทิศทางตรงข้าม และกระทำในแนวขนานกัน จะก่อให้เกิดโมเมนต์ เราเรียกแรงนี้ว่า แรงคู่ควบ โมเมนต์ของแรงคู่ควบมีค่าเท่ากับแรงคูณกับระยะทาง ระหว่างแรงทั้งสองที่ขนานกันดังนั้น โมเมนต์แรงคู่ควบ = F1 * D
9
ทฤษฎีของแรงคู่ควบ 1. ผลบวกตามพีชคณิตของโมเมนต์ของแรง 2 แรงที่กระทำต่อวัตถุ ซึ่งทำให้เกิดแรงคู่ควบคู่หนึ่งรอบจุดใด ๆ ในระนาบเดียวกัน ย่อมเป็นจำนวนค่าคงที่ และจะมีค่าเท่ากับโมเมนต์ของแรงคู่ควบนั้น 2. แรงคู่ควบ 2 คู่ หรือมากกว่า มากระทำรวมกันบนวัตถุชิ้นหนึ่งในระนาบเดียวกัน ส่งผลให้มีโมเมนต์รวมหมุนทวนเข็มนาฬิกา เท่ากับตามเข็ม วัตถุจะไม่หมุน จะทำให้ผลของโมเมนต์ของแรงคู่ควบเป็น 0 3. แรงคู่ควบหลายคู่มากระทำร่วมกันบนวัตถุชิ้นหนึ่ง ในระนาบเดียวกัน จะสามารถแทนได้โดยแรงคู่ควบคู่หนึ่ง ซึ่งมีโมเมนต์เท่ากับผลบวกของโมเมนต์ของแรงคู่ควบเหล่านั้น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.