ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
นักวิจัย กับ แนวทางการมีส่วนร่วมในการทำวิจัย
ความต้องการของประเทศ (สำคัญ) 4. สังเกต (เก็บเกี่ยว) 2. นัก วิจัยร่วม ทำ แกนนำ สังเกต ร่วมฟัง (ดูแบบ) 5. สังเกต (ร่วมกิจกรรม) 3. แกนนำ โครงการย่อย 6. สังเกต (แนวทางประยุกต์) ความสามารถของนักวิจัย ไม่ต้องสนใจ ทำส่วนตัว หาแหล่งทุนเฉพาะที่สนใจ
2
แนวทาง ไปสู่หัวข้อวิจัย
เริ่มจากจุดที่ตนเองถนัด มีความสามารถ มีความรู้ มีประสบการณ์ และมีความสนใจ พิจารณาสิ่งที่ตนเองมีความสามารถ กับสิ่งที่สำคัญ ประเทศชาติต้องการ แล้ว หาคำสำคัญ (keywords) 2-3 คำ ที่ระบุถึงสิ่งที่จะเริ่มต้น คิดเชิงระบบ ในภาพใหญ่ ภาพรวม ภาพกว้าง ให้ครอบคลุมโดยทั่วไปก่อน ระบุหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น มีหน้าที่รับผิดชอบ ด้านนโยบาย ด้านการกำกับดูแล ด้านนำไปปฏิบัติ ด้านส่งเสริม ด้านตรวจสอบประเมินผล
3
แนวทาง ไปสู่หัวข้อวิจัย (ต่อ)
หาข้อมูลอย่างกว้าง จากคำสำคัญ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดกรอบหรือขีดวงให้แคบลง ไปสู่เรื่องที่สำคัญ หาหนังสือ วารสาร และจากกลุ่มคนที่สนใจ (blog) ที่เกี่ยวข้อง ยังไม่ต้องลงรายละเอียด เพื่อให้มีแนวคิด ทฤษฎี ทราบถึงแนวโน้ม ความก้าวหน้า ใครทำอะไรบ้าง รวมถึงประเด็นที่มีผู้สนใจมาก สืบค้นผลการวิจัย จากวารสารวิจัย บทความวิชาการ จาก scholar.google.com ห้องสมุด วช. สกว. สวทช. สกอ.(ThaiLis) สวรส. หรือมหาวิทยาลัยที่มีคณะเกี่ยวข้อง
4
แนวทาง ไปสู่หัวข้อวิจัย (ต่อ)
ถ้าแนวคิดเบื้องต้น เริ่มชัดเจนแล้ว ให้สรุปเป็น concept paper ยาว 3-5 หน้า ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าจะทำอะไร เพื่ออะไร จากแนวคิดดังกล่าว ควรระบุสาขาวิชาการหลัก สาขาวิชารอง ที่ต้องใช้ในการทำวิจัย เพื่อนำไประบุนักวิจัยหลัก นักวิจัยร่วม ระบุหน่วยงานวิจัยหลัก และหน่วยงานสนับสนุน โดยหน่วยงานหลักเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการทำวิจัย และหน่วยงานสนับสนุน เป็นหน่วยงานเสริม เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับผิดชอบ หรือ การนำไปใช้ประโยชน์
5
แนวทาง ไปสู่หัวข้อวิจัย (ต่อ)
นำแนวคิด ไปปรึกษาหารือ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก เพื่อหาข้อมูล ปัญหาที่สำคัญ แผนงานที่วางไว้ และสอบถามความสนใจที่จะร่วมวิจัยด้วยกัน ทบทวนวรรณกรรม ให้ชัดเจนในแนวคิดหลักๆ ที่เกี่ยวข้อง 2-3 แนวคิด ทฤษฎี การทำวิจัยที่เกี่ยวข้อง หาช่องที่ต่อยอด จุดที่สำคัญ มีความต้องการ และยังไม่มีใครทำวิจัย ประสานงาน พัฒนารายละเอียดข้อเสนอ ให้ภาพรวมชัดเจน มีที่มาแสดงความสำคัญ มีที่ไปในการใช้ประโยชน์ มีความพร้อมในการทำให้สำเร็จ มีคุณภาพตามหลักวิชาการสาขาที่เกี่ยวข้องและการวิจัย
6
แนวทาง ไปสู่หัวข้อวิจัย (ต่อ)
หน่วยงานที่สนับสนุน ให้ประสานงานขอหนังสือรับรอง ในการร่วมสนับสนุนการวิจัย รวมถึงความต้องการผลเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ พัฒนารายละเอียดข้อเสนอ ให้ภาพรวมชัดเจน มีเอกสารประกอบ อ่านแล้วชัดเจน ด้วยการทบทวน 3 อ่าน
7
หน่วยงานวิจัยหลัก และนักวิจัย
หน่วยงานวิจัยหลัก คือ หน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการวิจัย หัวหน้าโครงการวิจัย ควรเป็นนักวิจัยที่รับผิดชอบหลัก ใช้สาขาวิชาการหลักในการวิจัย การระบุสัดส่วนการวิจัย ให้ระบุ ชื่อนักวิจัย ตำแหน่ง สังกัด สัดส่วนที่รับผิดชอบกี่ % และระบุความรับผิดชอบของนักวิจัยแต่ละคน(โดยย่อ)ในโครงการวิจัย เอกสารประกอบ ประวัติผู้วิจัย ควรระบุสิ่งที่จำเป็น เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการวิจัยนี้ สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องก็ไม่ควรใส่เข้าไป
8
หน่วยงานวิจัยหลัก และนักวิจัย
หน่วยงานวิจัยหลัก คือ หน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการวิจัย หัวหน้าโครงการวิจัย ควรเป็นนักวิจัยที่รับผิดชอบหลัก ใช้สาขาวิชาการหลักในการวิจัย การระบุสัดส่วนการวิจัย ให้ระบุ ชื่อนักวิจัย ตำแหน่ง สังกัด สัดส่วนที่รับผิดชอบกี่ % และระบุความรับผิดชอบของนักวิจัยแต่ละคน(โดยย่อ)ในโครงการวิจัย เอกสารประกอบ ประวัติผู้วิจัย ควรระบุสิ่งที่จำเป็น เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการวิจัยนี้ สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องก็ไม่ควรใส่เข้าไป
9
หน่วยงานสนับสนุน หน่วยงานสนับสนุน คือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการวิจัย ทั้งในด้านการทำวิจัย และหรือ ด้านการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ การมีหน่วยงานสนับสนุนที่เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากภาครัฐ หรือเอกชนที่เกี่ยวข้องหลัก ทำให้มีโอกาสได้ข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งข้อมูลในอดีต ปัญหา สถานภาพ แผนการดำเนินงานของเขา และในระหว่างการทำวิจัย อาจให้สถานที่ทำวิจัย มีอุปกรณ์ เครื่องมือ สิ่งอำนวยความสะดวก หน่วยงานสนับสนุนที่เป็นหน่วยงานใช้ประโยชน์ ทำให้มีความชัดเจนในด้านความต้องการ และทำให้มั่นใจว่าทำแล้วมีโอกาสนำไปใช้ ถ้าได้รับการสนับสนุนด้านการเงินด้วย ยิ่งดี อาจเป็นตัวชี้วัดการให้ทุน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.