ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ระดับท้องถิ่น/พื้นที่
แนวทางการบริหาร งบประมาณ P&P ระดับท้องถิ่น/พื้นที่ (กองทุน อบต./เทศบาล) ปี2552 ขอบคุณ...ที่ให้ หลักประกันสุขภาพกับผมและเพื่อนๆ โดย..นายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช.
2
อปท.มีภารกิจและอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย และมีศักยภาพความพร้อมมากขึ้นมาก
สถานการณ์และความจำเป็น กระจายอำนาจให้ อปท.และชุมชน เป็นทิศทางของประเทศ และกำหนดไว้ในกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปัญหาสาธารณสุขมีความซับซ้อนและต้องการระบบงานและกลไกที่มีประสิทธฺภาพและหลากหลายมากขึ้น อปท.มีภารกิจและอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย และมีศักยภาพความพร้อมมากขึ้นมาก
3
หลักการและแนวคิด จัดตั้งกองทุนประจำทุกพื้นที่ เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในชุมชน อย่างต่อเนื่อง เน้นการสร้างสุขภาวะของประชาชนและชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน อปท. และสาธารณสุข กระจายอำนาจให้ อปท.ภายใต้เงื่อนไขและการสนับสนุนทางวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ
4
มาตรา 47 พรบ.หลักประกันสุขภาพฯ
มาตรา 47 พรบ.หลักประกันสุขภาพฯ “เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับบุคคลในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน (คณะกรรมการฯ มีมติเมื่อ 27 กพ. 2549)
5
พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจ ให้แก่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น พ. ศ
พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจ ให้แก่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 อำนาจหน้าที่ของเทศบาล เมืองพัทยาและ อบต. (10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล มาตรา 17 อำนาจหน้าที่ของ อบจ. (19) การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ (27) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
6
บันทึกความร่วมมือ 7 หน่วยงาน
เมื่อ 19 มีนาคม 2550 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ อปท. ในการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพและสวัสดิการชุมชนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ( กระทรวงสาธารณสุข,พม.,มท., สปสช., สมาคม อบจ.แห่งประเทศไทย, สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคม อบต. แห่งประเทศไทย)
7
หนังสือที่ มท.0891.3/ว1110 ลวท. 3 เมย.2550
ให้ อปท. สมทบงบประมาณเข้าระบบหลักประกันสุขภาพฯ ตามประกาศคณะกก.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยตั้งแต่งบ2550 เป็นต้นไป ให้ อบต./เทศบาล ตั้ง งบประมาณสมทบไว้ในรายจ่ายงบกลางประเภทรายจ่ายตามข้อผูกพัน
8
สรุปภาพรวมการดำเนินงาน
- สปสช. โอน บ./หัว – อบต./เทศบาล สมทบ 10,20,50 % ส่งเสริมสุขภาพ คัดเลือก อบต./เทศบาลที่ผ่านเกณ์ – แต่งตั้ง กก.บริหารกองทุน – พัฒนาศักยภาพ กก. จัดทำแผนที่ยุทธศาตร์สุขภาพชุมชน ประเมินผล ฟื้นฟูสมรรถภาพ กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต. และเทศบาล ป้องกันโรค คณะ กก.บริหารกองทุน ผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยง เด็ก/เยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ แผนสุขภาพชุมชน ประชาชน ชุมชนมีส่วนร่วม
9
ปี2551 อบต.หรือเทศบาลที่สนใจและมีความพร้อม (2,682 แห่ง)
ผลการดำเนินงาน ปี อบต.หรือเทศบาลนำร่องอำเภอละแห่ง (880 แห่ง) ปี อบต.หรือเทศบาลที่สนใจและมีความพร้อม (2,682 แห่ง) ปี2552 เป็นต้นไป อบต.หรือเทศบาลทุกแห่งที่สนใจ และมีความพร้อมตามเกณฑ์ที่กำหนด (3,996 แห่ง หรือ ~50% ของ อปท. ทั้งหมด)
10
ระบบประเมินกองทุนฯ ประเมินภาพรวมผลสัมฤทธิ์ของกองทุนฯต่อนโยบายสาธารณะและการพัฒนาชุมชน โดยคณะวิจัยของ 9 สถาบันอุดมศึกษา (นำโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ศึกษาการบริหารจัดการและรวบรวมนวัตกรรมที่เกิดขึ้นของกองทุนฯ โดยคณะวิจัยของ วพบ. และ วสส. 41 แห่ง ของกระทรวงสาธารณสุข ประเมินผลการดำเนินการและผลกระทบทางด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นของกองทุนฯ โดยคณะวิจัยของเครือข่ายคณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยต่างๆ (นำโดยคณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล)
11
บทบาทของ สปสช. สาขาจังหวัด
ให้หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ให้การสนับสนุน ติดตาม และใช้ประโยชน์จากกองทุนฯ โดยมีทีมวิทยากรจังหวัด/ทีมแผนที่ยุทธศาสตร์จังหวัด สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพกรรมการกองทุนฯ สนับสนุนให้ทุกพื้นที่มีการจัดอบรมการบริหารจัดการแก่กรรมการกองทุนฯ โดยใช้แผนที่ยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือ มีการจัดทำข้อมูลสุขภาพชุมชน มีแผนดำเนินงานและกิจกรรมโดยมี 5 กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม และมีการจัดทำรายงานไตรมาส รายปี
12
สิ่งที่อยากให้เกิดในปี 2552
หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ (สสจ. สสอ. สอ. รพช.) รับรู้ เข้าใจ และร่วมติดตามสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่อย่างเข้มแข็งโดยทีมวิทยากรจังหวัด ขยายพื้นที่ อบต. หรือเทศบาลที่มีความพร้อมและสนใจร่วมดำเนินงานปี 2552 (มีงบสมทบ/มีคณะกก.บริหาร/มีข้อมูลสุขภาพ/มีการทำแผนที่ยุทธศาสตร์/มีกิจกรรมพัฒนากรรมการบริหาร) ทุกพื้นที่มีการอบรมการบริหารจัดการแก่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ โดยใช้แผนที่ยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือ มีการจัดทำข้อมูลสุขภาพชุมชน/มีแผนดำเนินงาน/มี 5 กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงการบริการสุขภาพดีขึ้น/มีการจัดทำรายงานไตรมาสและรายปีผ่านทางอิเลคโทรนิค/มีการติดตามประเมินผลต่อเนื่อง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.