ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โครงสร้างขององค์กร (Organization Structure)
Executive Info. System (EIS) Top - Level Mgmt. Decision-Support System (DSS) Mgmt. Info. System (MIS) Mid/ Tactical - Level Mgmt. Transaction Processing Systems (TPS) Low - Level Mgmt. Office Automation Systems (OAS)
2
Office Automation Systems (OAS)
เป็นระบบที่มีการนำเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารข้อมูล และคอมพิวเตอร์มาช่วยในการปฏิบัติงานต่างๆ ใน สำนักงาน เช่น PC, Mainframe, Application S/W, etc. จุดประสงค์หลักของ Office Automation System คือ นำเทคโนโลยีมาช่วยให้พนักงานภายในองค์กรสามารถ ทำงานได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น EX: , Voice Mail, VDO Conferencing, Fax, etc.
3
Office Automation Systems (ต่อ)
ส่วนมาก Office Automation Systems จะใช้ ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Packaging S/W) มากกว่าที่จะ ใช้ซอฟต์แวร์ที่ต้องเขียนขึ้นมาใหม่เอง(Customized S/W) เช่น ระบบ , การรับส่งแฟกซ์, Word Processor, Spreadsheet, etc.
4
ประเภทของระบบสารสนเทศ (Types of Information System)
1. Transaction Processing system (TPS) มาก น้อย 2. Management Information System (MIS) 3. Decision Support System (DSS) MIS DSS 4. Executive Information System (EIS) 5. Expert system (ES) น้อย มาก
5
Transaction Processing Systems (TPS)
คือ ระบบที่ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับ งานขั้นพื้นฐาน ขององค์กร (Routine Work) หรือเกี่ยวกับการบันทึก รายการเปลี่ยนแปลง(Transaction) ขั้นพื้นฐานต่างๆ ที่ เกี่ยวกับการดำเนินงานในองค์กร เช่นการฝากเงิน การถอน เงิน การซื้อ/ ขายสินค้า TPS จะเกี่ยวข้องกับข้อมูลปริมาณมาก โดยข้อมูลดังกล่าว จะเป็นข้อมูลขั้นพื้นฐานขององค์กร ซึ่งจะถูกนำไปใช้ใน การดำเนินของระบบสารสนเทศประเภทอื่นๆ ต่อไป (เช่น MIS DSS และ EIS)
6
Management Information Systems (MIS)
เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูล (ซึ่งสร้างโดย TPS) มาผ่าน กระบวนการที่นำไปสู่ข้อสรุปของข้อมูลดังกล่าว สารสนเทศที่ได้จาก MIS จะแสดงในรูปของ Periodic Report ซึ่งจะใช้ เป็นข้อมูล สำหรับการวางแผนการดำเนินงาน (Planning) ควบคุมการ ดำเนินงาน (Controlling) หรือช่วยในการตัดสินใจ (Decision Making) เช่น รายงานสรุปยอดขายรายเดือน/ ปี รายงานแสดงจำนวนลูกค้าที่เข้า มาใช้บริการ ฯลฯ MIS จะผลิตสารสนเทศที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาแบบ มีโครงสร้าง (Structured Problem) เช่น การพิจารณาเพิ่มยอดการผลิตสินค้า โดย อาศัยข้อมูลจาก รายงานสรุปยอดขายรายเดือน
7
Decision Support Systems (DSS)
เป็น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ โดยจะ ทำการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว เพื่อนำมาซึ่งทางเลือก ที่ใช้ในการแก้ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Problem) หรือปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Problem) DSS เป็นระบบที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก MIS ที่ขาดการชี้แนะ หรือเสนอ ทางเลือกให้กับผู้ใช้ (Decision Maker) ซึ่ง MIS จะนำเสนอแค่ยอดรวม ของสิ่งที่สนใจเท่านั้น ในขณะที่ DSS จะเป็นระบบที่ถูกออกแบบมาให้มี ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะของ What-If Analysis รวมทั้งแจกแจงทางเลือกทั้งหมดให้กับผู้ใช้ (Decision Maker)
8
Decision Support Systems (cont.)
9
ข้อแตกต่างระหว่างระบบ MIS และ DSS
สารสนเทศที่ได้จาก MIS จะใช้ในการตัดสินปัญหาที่มีโครงสร้าง (Structured Problem) ในขณะที่ สารสนเทศที่ได้จาก DSS จะใช้ในการตัดสินปัญหากึ่งโครงสร้าง(Semi-Structured Problem) หรือ ปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Problem) MIS จะผลิตสารสนเทศในลักษณะที่เน้น หรือแสดงให้เห็นถึงความจริงที่ซ่อนอยู่ภายในข้อมูลเหล่านั้น ในขณะที่ DSS จะแสดงทางเลือกทั้งหมดที่เป็นไปได้ สำหรับปัญหาใดๆที่สนใจ พร้อมทั้งให้คำแนะนำ/ ข้อเปรียบเทียบสำหรับแต่ละทางเลือกนั้น โดยผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการประกอบการตัดสินใจต่อไป
10
Executive Information Systems (EIS)
EIS คือ DSS ประเภทหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ที่จะเกิดขึ้นในระดับ Top-Level Management ซึ่งการทำงานในระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับการวางแผนในเชิงกลยุทธ์ขององค์กร (Strategic Planning) EIS จะต้องสามารถใช้งานได้ง่าย (Easy to use) เนื่องจากผู้ใช้ของระบบคือผู้บริหารระดับสูง ซึ่งอาจเป็นผู้ไม่มีความชำนาญในเชิงคอมพิวเตอร์มากนัก
11
ข้อแตกต่างระหว่าง DSS และ EIS
DSS จะนำเสนอทางเลือกทั้งหมดที่เป็นไปได้ รวมทั้งความคิดเห็น ข้อแนะนำ หรือข้อเปรียบเทียบที่ระบบมีต่อทางเลือกแต่ละทางนั้น ในขณะที่ EIS จะไม่เพียงแต่เสนอทางเลือก และข้อแนะนำ หรือ ข้อเปรียบเทียบให้กับผู้ใช้ เท่านั้น แต่ EIS ยังสามารถแสดงแนวโน้ม หรือคาดคะเนเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย (Forecast / Project)
12
Expert System (ES) ES (หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ) เป็นระบบสารสนเทศประเภทหนึ่งที่ถูกออกแบบมาให้สามารถคิด/ วิเคราะห์หาคำตอบ สำหรับสถานการณ์ใดๆ ลักษณะการคิด/ วิเคราะห์ของ ES ได้ถูกจำลอง หรือลอกเลียนแบบมาจาก วิธีการคิด/ วิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญจะถูกบันทึกในองค์ประกอบของระบบที่เรียกว่า Knowledge Base (KB)
13
ข้อแตกต่างระหว่าง DSS และ ES
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.