งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ณ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 5

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ณ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 5"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2 ณ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 5
สมรรถนะและองค์ความรู้ที่จำเป็นของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริต วันพุธที่ 29 กรกฎาคม 2552 ณ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดย พ.ต.ท.วันนพ สมจินตนากุล ผู้อำนวยการสำนักปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 5 สำนักงาน ป.ป.ท.

3 การตรวจสอบภายใน ความหมาย การให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษา
อย่างเที่ยงธรรมและเป็นอิสระ เพื่อเพิ่มคุณค่าและเกิดการปรับปรุง โดยวิธีการประเมิน - ความเสี่ยง - การควบคุม - การกำกับดูแล อย่างเป็นระบบและเป็นระเบียบ

4 ข้อดีของการมีการตรวจสอบภายใน
องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมั่นใจ ทำให้การบริหารเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล สร้างความเชื่อมั่นแก่บุคคลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กร

5 ความคาดหวังต่องานตรวจสอบภายใน
รายงานข้อมูล บทวิเคราะห์ต่างๆ เชื่อถือได้เพียงใด การใช้ทรัพยากรขององค์กร คุ้มค่าหรือไม่ บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติหรือไม่ มาตรการควบคุมต่างๆมีความเหมาะสมหรือไม่ บุคลากรทำงานไปในทางที่บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือไม่ การบริหารงาน การปฏิบัติงาน มีประสิทธิภาพและโปร่งใส ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม

6 คุณสมบัติประจำตัวผู้ตรวจสอบภายใน
มีมนุษยสัมพันธ์ บุคลิกภาพ และทักษะในการสื่อความ ที่ดี รับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น มีความคิดริเริ่ม การสังเกต และไหวพริบ ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาจากข้อมูลต่างๆ ใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่องในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีจรรยาบรรณ ความซื่อสัตย์ ความเที่ยงธรรม การรักษาความลับ ความสามารถในหน้าที่

7 คุณสมบัติพื้นฐานความรู้
ด้านการตรวจสอบภายใน กระบวนการ เทคนิค วิธีการ มาตรฐานวิชาชีพ ด้านบัญชี การเงิน สำหรับงานตรวจสอบบัญชี การเงิน ด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กฎหมายและระเบียบ การบริหาร เทคโนโลยีสารสนเทศ เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ

8 สถานการณ์การทุจริตในสังคมไทย
- องค์กรนานาชาติมองสถานการณ์การทุจริตในสังคมไทย ยังอยู่ในกลุ่มที่มีการคอร์รัปชันสูง ประชาชนยังมองว่าข้าราชการเป็นกลุ่มผู้กระทำการ ทุจริตมากที่สุด - รูปแบบการทุจริตคอร์รัปชัน 5 ประเภท - ข้อมูลการทุจริตที่พบในหน่วยงานของรัฐและในองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น

9 The World's Most Corrupt Countries
23 September 2008 The Transparency International CPI measures the perceived levels of public-sector corruption in a given country and is a composite index, drawing on different expert and business surveys. The 2008 CPI scores 180 countries (the same number as the 2007 CPI) on a scale from zero (highly corrupt) to ten (highly clean). Denmark, New Zealand and Sweden share the highest score at 9.3, followed immediately by Singapore at 9.2. Bringing up the rear is Somalia at 1.0, slightly trailing Iraq and Myanmar at 1.3 and Haiti at 1.4.

10 Highly clean countries
Canada /Australia Iceland /Netherlands Switzerland /Finland Singapore New Zealand /Sweden /Denmark 9.3 9.2 9.0 8.9 8.7 Thailand อยู่ในลำดับที่ 80 จาก 180 ประเทศ ระดับคะแนน 3.5

11 เปรียบเทียบลำดับในกลุ่มประเทศอาเซียน
Singapore Malaysia Thailand Vietnam Indonesia Philippines Laos Cambodia Myanmar (141) (151) (4) (168) (47) (126) (178) (80) (121)

12 เปรียบเทียบในกลุ่มประเทศในเอเชีย
Singapore Hongkong Taiwan China Malaysia South Korea Thailand India Vietnam 9.2 5.6 3.5 3.4 8.1 5.1 5.7 2.7 3.6

13

14 บริษัทที่ปรึกษาความเสี่ยงด้านการเมืองและเศรษฐกิจ หรือเพิร์ค (คะแนนคอร์รัปชัน)
ผลการสำรวจปัญหาการคอร์รัปชั่นในภูมิภาคเอเชีย ประจำปี 2009 พบว่า อินโดนีเซียและไทย ติดอันดับสองประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นมากที่สุด ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารต่างชาติเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่นในแต่ละประเทศ ระบุว่า สิงคโปร์ยังคงเป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นน้อยที่สุด รองลงมาคือฮ่องกง (1.89) ส่วน ไทย (7.63) และอินโดนีเซีย (8.32)

15 - ประชาชนมองสถานการณ์การทุจริต
- ประชาชนมองสถานการณ์การทุจริต ในสังคมไทยอย่างไร สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาคอร์รัปชันในสังคมไทย โดยสำรวจความเห็นของผู้นำภาคประชาชนทุกจังหวัดๆละ 100 คน รวม 7,191 คน พบว่า

16 1. วิธีการและรูปแบบคอร์รัปชัน
ร้อยละ 1) รับสินบน 43.9 2) วิ่งเต้นขอตำแหน่งในราชการ 42.7 3) รับส่วย รีดไถประชาชน 40.9 4) คอร์รัปชันเชิงนโยบาย 40.3 5) แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ 40.0 ทุจริตเรื่องเวลาของข้าราชการ (เช้าชามเย็นชาม) 36.1

17 2. การทุจริตที่ประชาชนพบเห็น
2. การทุจริตที่ประชาชนพบเห็น มากที่สุด ได้แก่ การฮั้วการประมูลในการจัดซื้อ จัดจ้างของทางราชการ (44.3 %) ปานกลาง ได้แก่ 1. การเลือกตั้ง (44.2 %) 2.กินตามน้ำหรือค่าน้ำร้อนน้ำชา(44.0 %) 3. นักการเมืองขาดคุณธรรม (42.5 %)

18 3. กลุ่มผู้กระทำการทุจริต
3. กลุ่มผู้กระทำการทุจริต มากที่สุด ข้าราชการ (47.8 %) ปานกลาง - พนักงานบริษัทเอกชน (43.1 %) - พนักงานรัฐวิสาหกิจ (39.6 %) - นักวิชาการ (34.0 %) น้อยที่สุด เกษตรกร (31.8 %)

19 4. องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ ทุจริต
4. องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ ทุจริต มากที่สุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รองลงมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. ,เทศบาล, อบจ.)

20 5. มูลเหตุสำคัญของการทุจริต
5. มูลเหตุสำคัญของการทุจริต (1) เจ้าหน้าที่ขาดคุณธรรมและไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ (2) ขาดกลไกในการลงโทษและการบังคับใช้กฎหมาย (3) เจ้าหน้าที่ได้รับค่าตอบแทนต่ำไม่สัมพันธ์กับหน้าที่ รับผิดชอบ (4) สภาพการทำงานเปิดโอกาส เอื้ออำนวยต่อการกระทำ ทุจริตกระบวนการปฏิบัติงานมีช่องโหว่

21 6. การทุจริตที่เป็นปัญหาเรื้อรังมากที่สุด
6. การทุจริตที่เป็นปัญหาเรื้อรังมากที่สุด ได้แก่ การเมืองในระดับชาติ รองลงมา ได้แก่ การเมืองระดับท้องถิ่น

22 7. แนวทางแก้ไข ควรสนับสนุนให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการ ตรวจสอบการทุจริต ควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูล เพื่อสร้างจิตสำนึก ค่านิยม ต้านการทุจริต ควรส่งเสริมให้ภาคประชาชน และองค์กรอิสระทำการตรวจสอบการทุจริตอย่างแท้จริง

23 - ประเภทของการทุจริตคอร์รัปชัน
การศึกษาเรื่องทุจริตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาสอบสวน และศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตของวุฒิสภา ได้แบ่งกรณีการทุจริตคอร์รัปชัน เป็น 5 ประเภท ได้แก่ (1) การทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ (2) การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง (3) การทุจริตในการให้สัมปทาน (4) การทุจริตโดยการทำลายระบบตรวจสอบ อำนาจรัฐ (5) การทุจริตเชิงนโยบาย

24 - ข้อมูลการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงาน ป. ป. ช
- ข้อมูลการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงาน ป.ป.ช. ได้รวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปี (ข้อมูล ณ วันที่ 14 มกราคม 2552)พบว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในสังกัด อปท.ถูกกล่าวหาว่ากระทำการทุจริต รวมทั้งสิ้น 7,452 เรื่อง มีผู้ถูกกล่าวหา 13,683 ราย อันดับ 1 ได้แก่ อบต. 4,321 เรื่อง ผู้ถูกกล่าวหา 8,038 ราย อันดับ 2 ได้แก่ เทศบาล 2,324 เรื่อง ผู้ถูกกล่าวหา 4,234 ราย อันดับ 3 ได้แก่ อบจ. 424 เรื่อง ผู้ถูกกล่าวหา ราย อันดับ 4 ได้แก่ กทม. 369 เรื่อง ผู้ถูกกล่าวหา ราย อันดับ 5 ได้แก่ เมืองพัทยา 14 เรื่อง ผู้ถูกกล่าวหา 43 ราย

25 ผลกระทบที่เกิดจากการทุจริต
ด้านความเชื่อมั่นจากประชาคมโลก ด้านระบบเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านการเมือง ด้านประชาชน

26 หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
- เดิมมีคณะกรรมการ ป.ป.ป. เป็นกลไกรับผิดชอบ - ต่อมารัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช. ทั้งหมด - ปัจจุบัน รัฐธรรมนูญ ปี 2550 กำหนดกรอบอำนาจหน้าที่ของป.ป.ช. ขึ้นใหม่ ให้ทำเฉพาะเรื่องใหญ่ๆ - การจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ท.

27 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบการทุจริตหรือประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้ไต่สวนอิสระ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ องค์กรตุลาการ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ตัวแทนองค์กรประชาชน (ส.ส. , ส.ว.) คณะกรรมาธิการสามัญสภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา

28 ความเป็นมาของสำนักงาน ป.ป.ท.
จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ เป็นส่วนราชการ มีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงยุติธรรม การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. (นายธาริต เพ็งดิษฐ์) ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของสำนักงาน การปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ให้เลขาธิการฯ ขึ้นตรงต่อประธานคณะกรรมการ ป.ป.ท. มี พ.ร.บ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 เป็นเครื่องมือทำงาน

29 การแบ่งส่วนราชการ สำนักงานเลขาธิการ กองการต่างประเทศ
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักคุ้มครองและป้องกัน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 1-5 สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขตพื้นที่ 1-9

30 องค์ประกอบของคณะกรรมการ ป.ป.ท.
จำนวน 7 คน ประธาน 1 คน และกรรมการอีกไม่เกิน 5 คน ครม. แต่งตั้งโดยได้ความเห็นชอบจาก สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา เลขาธิการ ป.ป.ช. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง เลขาธิการ ป.ป.ท. เป็นเลขานุการ

31 คุณสมบัติคณะกรรมการ ป.ป.ท.
ต้องมีคุณสมบัติ 5 ประการ ไม่มีลักษณะต้องห้าม 15 ประการ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี (เมื่อครบวาระแล้วอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่ได้อีก แต่ต้องไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน)

32 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ท.
1. เสนอนโยบาย มาตรการ และแผนพัฒนา การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ต่อคณะรัฐมนตรี 2. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ หรือมาตรการต่างๆเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 3. เสนอแนะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.

33 4. ไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลเกี่ยวกับการกระทำการทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
5. ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งความเห็นส่งพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีอาญา ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ 6. จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีเสนอต่อ คณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบด้วย

34 7. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตามที่
คณะกรรมการ ป.ป.ท. มอบหมาย 8.ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หรือการอื่นใด เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตใน ภาครัฐตามที่คณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย

35 อำนาจหน้าที่ในการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ท.
- มีหนังสือสอบถามหรือเรียกให้สถาบันการเงิน ส่วนราชการ ฯลฯ ส่งเจ้าหน้าที่มาชี้แจงหรือส่งเอกสาร รวมทั้งเรียกบุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงหรือเอกสารเพื่อประกอบการไต่สวนหรือพิจารณาได้ - มีอำนาจขอให้ศาลออกหมายเพื่อทำการ * ตรวจสอบ * ค้น * ยึดหรืออายัด - ขอให้หน่วยงาน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนหรือเข้าร่วมปฏิบัติงาน

36 การไต่สวนข้อเท็จจริง
“ไต่สวนข้อเท็จจริง” หมายความว่า แสวงหา รวบรวม และดำเนินการอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน ในการที่จะทราบรายละเอียดและพิสูจน์เกี่ยวกับการทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

37 จะดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงกับใคร
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แต่ไม่รวม 1. ผู้บริหารระดับสูงตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญฯ 2. ผู้พิพากษาและตุลาการ 3. พนักงานอัยการ 4. ผู้บริหารท้องถิ่น รอง ผู้ช่วย 5. เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานศาล รัฐสภา องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 6. เจ้าหน้าที่ของรัฐในสำนักงาน ป.ป.ท. 7. เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งกระทำความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรดำเนินการตามที่กำหนด 8. เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งร่วมกระทำความผิดกับบุคคลตาม 1. ถึง 7.

38 กระทำการหรือพฤติการณ์ที่จะถูกไต่สวนฯ
“ทุจริตในภาครัฐ” หมายความว่า ทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติมิชอบในภาครัฐ “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือกระทำการอันเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตาม ป.อาญา หรือตามกฎหมายอื่น “ประพฤติมิชอบ” หมายความว่า ใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง หรือมติ ครม. ที่มุ่งหมายจะควบคุม ดูแลการรับ การเก็บรักษา หรือการใช้เงินหรือทรัพย์สินของแผ่นดิน

39 เรื่องกล่าวหาที่ไม่มีอำนาจดำเนินการ
คณะกรรมการ ป.ป.ท. ไม่มีอำนาจไต่สวนฯ ต้องส่งให้คณะกรรมการป.ป.ช. ดำเนินการ ได้แก่ (1) เรื่องกล่าวหาบุคคลซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (2) เรื่องกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่ากระทำความผิดร่วมกับบุคคลซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (3) เรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. แจ้งให้ส่งให้พิจารณา

40 เรื่องกล่าวหาที่ไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณา
คณะกรรมการ ป.ป.ท. ไม่มีอำนาจรับเรื่องไว้ ได้แก่ (1) เรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับพิจารณา หรือวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดแล้ว (2) เรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้วินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดแล้ว และ ไม่มีพยานหลักฐานใหม่ (3) เรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหาถูกฟ้องคดีอาญาในประเด็นเดียวกัน และ ศาลประทับฟ้อง หรือพิพากษา หรือมีคำสั่งเด็ดขาดแล้ว (4) พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนถูกกล่าวหาเกินกว่าห้าปี (อยู่ระหว่างแก้กฎหมาย)

41 พงส. ต้องส่งให้สำนักงาน ป.ป.ท.
กรณีมีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อ พงส. ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ภายใน วัน นับแต่วันร้องทุกข์ อาจแจ้งให้ พงส. ทำการสอบสวนก่อนและส่งสำนวนการสอบสวนให้ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยถือว่าเป็นสำนวนการไต่สวนด้วยก็ได้

42 บุคคลที่จะทำการไต่สวนฯ
คณะกรรมการ ป.ป.ท. - แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน - มอบหมายให้ พนักงาน ป.ป.ท. หรือ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. เพื่อดำเนินการแสวงหาข้อมูลและรวบรวมพยานหลักฐานก็ได้ โดยให้คำนึงถึง - ความเหมาะสม - ระดับ และ - ตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา

43 ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการไต่สวนข้อเท็จจริง
1. การดำเนินการทางวินัย 2. การดำเนินคดีอาญา 3. การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน 4. การเพิกถอนคำสั่งทางการปกครอง

44 การดำเนินการทางวินัย
กรณีมีมูลทางวินัยด้วย ให้ส่งเรื่องให้ ผู้บังคับบัญชาหรือ ผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน ลงโทษวินัยภายใน 30 วัน นับแต่รับเรื่อง โดยไม่ต้องสอบวินัยอีก หากละเลยไม่ดำเนินการ ให้ถือว่ากระทำความผิดวินัยหรือ กฎหมาย ตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการ บริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหา

45 ไม่ดำเนินการตามผลการชี้มูลวินัย
ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน ไม่ดำเนินการทางวินัย หรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นว่า 1. ดำเนินการทางวินัยไม่ถูกต้อง 2. ไม่เหมาะสม ให้เสนอความเห็นไปยัง นรม. เพื่อสั่งการ หรือกรณีจำเป็นจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือคณะกรรมการอื่น ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแล ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อให้มีการดำเนินการที่ถูกต้อง เหมาะสม ก็ได้

46 สิทธิผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษวินัย
ผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษตามที่ถูกชี้มูล จะใช้สิทธิอุทธรณ์ดุลพินิจ การกำหนดโทษของผู้บังคับบัญชา ตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับผู้ถูกกล่าวหานั้นๆ ก็ได้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งดังกล่าว

47 การดำเนินคดีอาญา กรณีมีมูลทางอาญา หรือวินัยและอาญา ให้ส่งเรื่องให้อัยการดำเนินคดี โดยให้ถือว่าเป็นการสอบสวนตาม ป.วิ.อาญา หากอัยการเห็นว่าข้อเท็จจริง เอกสาร หรือความเห็นยังไม่สมบูรณ์พอ สามารถแจ้งให้ไต่สวนเพิ่มเติมได้ กรณีจำเป็นจะตั้งคณะทำงานร่วมกันไต่สวนเพิ่มเติมก็ได้ กรณีอัยการสั่งไม่ฟ้อง แต่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ยืนยันให้ฟ้อง ให้ส่งเรื่องให้ อสส. วินิจฉัย (เป็นที่สุด)

48 การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน
ในการไต่สวนฯ ถ้าเห็นควรตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ถูกกล่าวหา และเป็นกรณีที่ได้ยื่นบัญชีไว้ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้ว ให้ขอความร่วมมือเพื่อนำมาตรวจสอบได้ แต่ถ้าเป็นกรณีที่มิได้ยื่นไว้ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ * ผู้ถูกกล่าวหา * คู่สมรส และ * บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ถูกกล่าวหา * ร่ำรวยผิดปกติ หรือ มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการ

49 การเพิกถอนคำสั่งทางการปกครอง
นอกจากคดีจะมีมติว่า มีมูลทางอาญาและทางวินัยแล้ว การกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้ *อนุมัติ *อนุญาต *ออกเอกสารสิทธิ *ให้สิทธิประโยชน์ หรือ *การสั่งการใดๆ โดยมิชอบ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการ ให้แจ้งให้สั่ง ยกเลิกหรือเพิกถอน คำสั่งนั้นได้

50 ผู้แทนภาคประชาชน คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจแต่งตั้งผู้แทนภาคประชาชนเข้าร่วมในคณะอนุกรรมการ ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนด โดยมีสิทธิได้รับ * ค่าตอบแทน * ค่าเดินทาง * ค่าที่พัก และ * สิทธิประโยชน์ ทั้งนี้ ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรม โดยความเห็นชอบของ กค.

51 การแต่งตั้งที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญ
คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจแต่งตั้ง * ที่ปรึกษา * ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือคณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงได้ ทั้งนี้ การแต่งตั้งและสิทธิต่างๆ เช่นเดียวกับผู้แทนภาคประชาชน

52 คุ้มครองพยานเบื้องต้น
- เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน - ทำการคุ้มครองในเบี้องต้นให้แก่ - ผู้กล่าวหา - ผู้เสียหาย - ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ - ผู้ให้ถ้อยคำหรือแจ้งเบาะแส ฯลฯ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนด

53 มาตรการคุ้มครองพยาน หากเห็นสมควรให้มีมาตรการคุ้มครอง ให้แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความคุ้มครอง โดยถือว่าเป็นพยานที่มีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองพยาน กรณีเกิดความเสียหายแก่ ชีวิต ร่างกาย ฯลฯ บุคคลที่เกี่ยวข้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อขอรับค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรตามกฎหมายคุ้มครองพยาน

54 รางวัลตอบแทน คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจจัดให้มีรางวัลตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใด แก่ผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้ให้ถ้อยคำ หรือผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อมูล เกี่ยวกับการทุจริตในภาครัฐ หากเป็น จนท.รัฐ อาจเสนอ ครม.เลื่อนขั้นเงินเดือนและระดับตำแหน่งเป็นกรณีพิเศษ ตามระเบียบที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนด

55 ย้ายหน่วยงานให้พยานที่เป็นข้าราชการ
ผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้ให้ถ้อยคำ ฯลฯ ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร้องขอให้ได้รับความคุ้มครอง หรือมีมาตรการอื่นใดตามที่เห็นสมควร เนื่องจากหากยังคงปฏิบัติหน้าที่ในสังกัดเดิมต่อไป -อาจถูกกลั่นแกล้ง หรือ -ได้รับการปฏิบัติไม่เป็นธรรม

56 การกันเป็นพยาน หากข้อมูลหรือเบาะแสของบุคคลหรือผู้ถูกกล่าวหา มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเป็นสาระสำคัญในอันที่จะใช้เป็นพยานในการวินิจฉัยชี้มูลการกระทำผิด ของเจ้าหน้าที่รัฐรายอื่น สามารถที่จะกันผู้นั้นเป็นพยานโดยไม่ดำเนินคดีได้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนด

57 สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว)
เป็นกฎหมายว่าด้วย การจัดหาสินค้าและบริการของหน่วยงานของรัฐ โดยใช้เงินของแผ่นดิน การที่รัฐให้สิทธิในการดำเนินกิจกรรมบางอย่างโดยการให้สัมปทาน อนุญาต หรือกรณีอื่นใด เพื่อประโยชน์สาธารณะอันเป็นกิจการของรัฐ เป็นการดำเนินการด้วยวิธีการเสนอราคา เพื่อให้บริสุทธิ์ ยุติธรรม จะต้องมีการแข่งขันอย่างเสรี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

58 ความหมายที่สำคัญ ตาม พ.ร.บ.ฮั้ว
การเสนอราคา หมายถึง การยื่นข้อเสนอ เพื่อเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ อันเกี่ยวกับการซื้อ การจ้าง การแลกเปลี่ยน การเช่า การจำหน่ายทรัพย์สิน การได้รับสัมปทาน หรือการได้รับสิทธิใดๆ หน่วยงานของรัฐ หมายถึง กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือหน่วยงานอื่นใดที่ดำเนินกิจการของรัฐตามกฎหมายและได้รับเงินอุดหนุนหรือเงินหรือทรัพย์สินลงทุนจากรัฐ เงินของแผ่นดิน หมายถึง เงินงบประมาณ เงินกู้ เงินช่วยเหลือ รายได้ของหน่วยงานของรัฐ การแข่งขันอย่างเสรี หมายถึง มีการแข่งขันอย่างเสรี เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด ตัดตอน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม (มาตรา 43 , มาตรา 85(5) ตาม รธน. 2550)

59 ผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.ฮั้ว
มี 3 กลุ่ม 1. บุคคลทั่วไป (เอกชน) สมยอมราคา ร่วมกันจัดฮั้ว ข่มขืนใจผู้อื่น ใช้อุบายหลอกลวง หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใด เสนอราคาต่ำ หรือให้ผลประโยชน์สูงกว่าปกติ กรณีนิติบุคคลกระทำผิด ผู้จัดการและผู้บริหารเป็นตัวการร่วม

60 ผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้ว (ต่อ)
2. เจ้าหน้าที่ของรัฐ รู้หรือควรรู้ว่ามีการกระทำความผิด ละเว้นไม่ยกเลิกการเสนอราคา ทุจริตในการออกแบบ กำหนดราคา กำหนดเงื่อนไข กำหนดรายละเอียดพัสดุ กำหนดคุณสมบัติ กำหนดผลประโยชน์ตอบแทน กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้ว ถือว่า มีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ 3. นักการเมือง กรรมการ อนุกรรมการ ในหน่วยงานของรัฐ มิได้เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้ว กระทำการต่อเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐ ที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสนอราคาเพื่อจูงใจหรือจำยอม ต้องยอมรับการเสนอราคา ที่มีการกระทำผิด ถือว่ามีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่

61 สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502
พนักงาน ตามความหมายของ พ.ร.บ. นี้ ได้แก่ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ หรือบุคคลผู้ปฏิบัติงาน ในองค์การ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งทุนทั้งหมดหรือทุนเกินกว่าร้อยละ 50 เป็นของรัฐ ได้รับเงินเดือนหรือประโยชน์ตอบแทนจากหน่วยงานนั้น มิได้เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย เป็นความผิดที่มีลักษณะเช่นเดียวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ (มาตรา )

62 ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบของ สตง. เกี่ยวกับการพัสดุ
ไม่มีการวางแผนการจัดซื้อ จัดจ้าง และไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการจัดซื้อ จัดจ้าง ไม่จัดทำรายงานเสนอก่อนดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้าง ซึ่งต้องประกอบด้วย เหตุผล ความจำเป็น รายละเอียดของพัสดุ ราคามาตรฐานหรือราคากลาง วงเงินที่จะจัดหา วิธีการจัดหา และเหตุผลที่ต้องจัดหาด้วยวิธีการนั้นๆ

63 ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบของ สตง. เกี่ยวกับการพัสดุ (ต่อ)
ไม่ส่งประกาศเผยแพร่การสอบราคาและเอกสารการสอบราคาต้องส่งไปยังผู้มีอาชีพขาย หรือ รับจ้างนั้นโดยตรงไม่น้อยกว่า 5 ราย หรือ โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน กับให้ปิดประกาศเผยแพร่ไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของส่วนราชการ มีการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงวิธีการตามที่ระเบียบฯ กำหนด คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาและผู้มีอำนาจอนุมัติไม่พิจารณาทำสัญญากับผู้เสนอราคาต่ำสุด

64 ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบของ สตง. เกี่ยวกับการพัสดุ (ต่อ)
ตรวจรับพัสดุโดยยังไม่ส่งมอบของและตรวจพัสดุโดยพัสดุนั้น ผิดคุณลักษณะที่กำหนดตามสัญญา คิดค่าปรับกรณีส่งมอบของเกินกำหนด ต่ำกว่าสัญญา / ไม่ได้คิดค่าปรับ จ่ายเงินประกันสัญญาคืนก่อนกำหนด

65 ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบของ สตง. เกี่ยวกับการพัสดุ (ต่อ)
หากในการดำเนินการบางโครงการการจัดหาไม่มีการวางแผน หรือ ไม่ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ หรือไม่มีการเตรียมการเพื่อให้พร้อมที่จะทำสัญญาในเวลาอันควร ทำแล้วอ้างว่าจำเป็นต้องมีการซื้อ หรือ จ้างโดยเร่งด่วน (หากไม่เร่งดำเนินการจะเสียหายแก่ราชการ) ไม่สามารถนำมาเป็นข้ออ้างได้ ไม่แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ การรับ-จ่ายพัสดุ ประจำปี

66 ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบของ สตง. เกี่ยวกับการพัสดุ (ต่อ)
ทรัพย์สินที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพใช้การไม่ได้ ไม่ทำการซ่อมแซม หรือ จำหน่ายออกจากบัญชี ลงรายการในบัญชีไม่ถูกต้อง จัดทำบัญชีแยกประเภทไม่ถูกต้องครบถ้วนตามชนิดและรายการ รวมทั้งไม่ให้เลขหมายประจำครุภัณฑ์

67 การป้องกันการทุจริตภาครัฐ

68 นโยบายของรัฐบาล 1. ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ ที่ล้าสมัยและเปิดช่องให้เกิดการทุจริต ประพฤติมิชอบ หรือทำให้เกิดประโยชน์ทับซ้อน 2. ออกกฎหมายใหม่ๆเพื่อป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบขยายและยกเลิกอายุความในคดีอาญาบางประเภท และ คดีทุจริต 3. ปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในทุกระดับอย่างจริงจัง 4. สนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐมากขึ้น 5. ส่งเสริมคุณธรรมคู่ความรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา เพื่อปลูกฝังค่านิยม “คนไทยต้องไม่โกง”

69 พบเห็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการทุจริต หรือ ประพฤติมิชอบ
สำนักงาน ป.ป.ท. อาคารกระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โทร โทรสาร โปรดส่งข้อมูลมายัง

70 จบการนำเสนอ ขอขอบคุณ


ดาวน์โหลด ppt ณ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 5

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google