ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
เกราะ ๕ ชั้น และ คุณธรรม ๔ ประการ
2
พุทธพจน์ “ สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ. ศีล เป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์ ” (สีลวเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๕๘.
3
“ คือ ความปกติของมนุษย์ ”
ศีล ๕ “เบญจศีล” “ คือ ความปกติของมนุษย์ ” ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป ๒.อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ ไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย ๓.กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม ๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ ๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
4
ทำไมต้องรักษาศีล ? ศีลข้อ ๑ เพราะ ใครๆ ก็รักชีวิตตัวเอง
ศีลข้อ ๑ เพราะ ใครๆ ก็รักชีวิตตัวเอง ศีลข้อ ๒ เพราะ ใครๆก็อยู่เป็นสุขได้ด้วยสมบัติของเขา ศีลข้อ ๓ เพราะ ใครๆ ก็รักพี่น้องพวกพ้องของเขา ศีลข้อ ๔ เพราะ ใครๆ ก็รักความจริงใจด้วยกันทั้งนั้น ศีลข้อ ๕ เพราะว่าเมื่อดื่มเข้าไปแล้ว จะทำลายสติของเรา เมื่อสติของเราเสียหายไปแล้ว ศีลข้ออื่นๆ ก็พร้อม ที่จะขาดไปหมด
5
“ เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป ”
องค์แห่งศีล ข้อที่ ๑ “ เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป ” ปาโณ สัตว์มีชีวิต ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต วธกจิตฺตํ มีจิตคิดจะฆ่า อุปกฺกโม ทำความพยายามฆ่า เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
6
“เว้นจากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย ”
องค์แห่งศีล ข้อที่ ๒ “เว้นจากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย ” ปรปริคฺคหิตํ ของนั้นมีเจ้าของหวงแหน ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้ว่ามีเจ้าของหวงแหน เถยฺยจิตฺตํ มีจิตคิดจะลัก อุปกฺกโม ทำความพยายามลัก เตน หรณํ นำของมาได้ด้วยความพยายามนั้น
7
“ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ”
องค์แห่งศีล ข้อที่ ๓ “ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ” อคมนียวตฺถุ วัตถุที่ไม่ควรล่วงละเมิด ตสฺมึ เสวนจิตฺตํ มีจิตคิดจะเสพ เสวนปฺปโยโค พยายามที่จะเสพ มคฺเคน มคฺคปฺปฏิปตฺติ กระทำการให้มรรคต่อมรรคจดกัน
8
องค์แห่งศีล ข้อที่ ๔ “ เว้นจากการพูดเท็จ ” อตถํ เรื่องไม่จริง
อตถํ เรื่องไม่จริง วสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดให้ผิด ตชฺโช วายาโม พยายามพูดออกไปตามจิตนั้น ปรสฺส ตตฺถวิชานนํ ผู้ฟังเข้าใจเนื้อความนั้น
9
“ เว้นจากการดื่มน้ำเมา ”
องค์แห่งศีล ข้อที่ ๕ “ เว้นจากการดื่มน้ำเมา ” มทนียํ สิ่งที่เป็นเหตุให้มึนเมา (คือมีเหล้าเบียร์) ปาตุกมฺยตาจิตฺตํ จิตคิดจะดื่มหรือเสพ ตชฺโช วายาโม พยายามดื่มหรือเสพตามที่จิตคิดนั้น ปิตปฺปเสวนํ ดื่มน้ำเมาหรือเสพสารเสพติดนั้นเข้าไป
10
วิบากกรรมของการผิดศีลข้อ ๑
ฆ่าสัตว์ อายุสั้น
11
วิบากกรรมของการผิดศีลข้อ ๒
ลักทรัพย์ ทรัพย์สมบัติพินาศ
12
วิบากกรรมของการผิดศีลข้อ ๓
ประพฤติผิดในกาม ครอบครัวแตกแยก
13
วิบากกรรมของการผิดศีลข้อ ๔
โกหก โรคภายในช่องปาก
14
วิบากกรรมของการผิดศีลข้อ ๕
ดื่มน้ำเมา โง่เขลา, ปัญญาอ่อน
16
วิธีสร้างเกราะภายในตน
“คือ การตั้งเจตนางดเว้น จากการประพฤติผิดทางกายและวาจา” ๑. งดเว้นโดยไม่ตั้งใจไว้ก่อน ๒. งดเว้นโดยตั้งใจและปฏิญาณไว้ก่อน ๓. งดเว้นด้วยตัดขาดได้
17
ธรรมที่เกื้อกูลต่อการรักษาศีล
“ หิริ โอตตัปปะ ” “ หิริ ” ความละอายต่อบาป เกิดขึ้นด้วยการพิจารณาถึงฐานะของตนเอง “ โอตตัปปะ ” ความเกรงกลัวต่อบาป เกิดขึ้นได้ เพราะกลัวว่าตนเองจะเดือดร้อนในภายหลัง “ เมื่อมีหิริ และโอตตัปปะอยู่ ศีลก็เกิดขึ้น และตั้งอยู่ได้ เมื่อไม่มีหิริ และโอตตัปปะ ศีลก็ไม่เกิดขึ้น และตั้งอยู่ไม่ได้ ”
18
พระราชดำรัส ในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า
เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๕ ความว่า “ ...คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษา และน้อมนำมาปฏิบัติมีอยู่สี่ประการ ประการแรก คือ การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจความดีนั้น ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจิต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละ ประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง”
19
คุณธรรม ๔ ประการ ๑. สัจจะ นิสัยความรับผิดชอบ
“ ฆราวาสธรรม ” ๑. สัจจะ นิสัยความรับผิดชอบ ๒. ทมะ นิสัยรักการฝึกฝนตนเอง ๓. ขันติ นิสัยอดทน ๔. จาคะ นิสัยเสียสละ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.