งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

IS กับ IT IS ต้องอาศัย IT

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "IS กับ IT IS ต้องอาศัย IT"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 IS กับ IT IS ต้องอาศัย IT
IS คือ Information System หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถจัด ทำสารสนเทศ หรือข่าวสารที่มีความหมายสำหรับให้พนักงานใช้ ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และให้ผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจ อย่างมีประสิทธิผล IT คือ Information Technology หมายถึง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ และเทคโนโลยีการพิมพ์ ปัจจุบันนี้เราได้ยินคำว่าไอที (Information Technology) บ่อยครั้งมาก หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์และสื่อมวลชนต่าง ๆ ได้ประชาสัมพันธ์เรื่องของไอทีค่อนข้างมาก ความจริงแล้วคำนี้มีความหมายกว้างขวางมาก เราอาจจะนึกถึงไอทีว่าเป็นอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม เครื่องมือสำนักงาน หรือ เครื่องมืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสารสนเทศ ในขณะเดียวกันเราอาจจะนึกถึงเรื่องของการประยุกต์อุปกรณ์และเครื่องมือเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ด้วย ในขณะเดียวกันเราก็อาจจะได้ยินคำว่า MIS (Management Information System) มาหลายครั้งด้วย คำนี้มีความหมายว่าเป็นการประยุกต์คอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้สารสนเทศสำหรับใช้ในการจัดการ และเป็นระบบแบบหนึ่งของระบบที่กว้างขวางกว่า นั่นก็คือระบบสารสนเทศ หรือ IS คำหลังนี้หมายถึงการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดเก็บข้อมูลและนำข้อมูลมาประมวลให้เป็นสารสนเทศตามที่ผู้ใช้ต้องการ หน่วยงานห้างร้านในไทยได้นำไอทีมาใช้นานแล้ว แต่ส่วนมากมักจะใช้ในแบบง่าย ๆ คือใช้เป็นเครื่องมือในการพิมพ์เอกสารบ้าง ใช้ในการเก็บข้อมูล หรือช่วยงานบริการต่าง ๆ บ้าง เช่นใช้อ่านรหัสแท่งบนฉลากสินค้าเพื่อบันทึกการขาย หรือสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรดำเนินการบันทึกข้อมูลราคาสินค้าในจังหวัดต่าง ๆ แล้วส่งข้อมูลผ่านระบบโทรศัพท์เข้ามาที่กรม งานเช่นนี้ยังไม่ถึงขั้นเป็นระบบสารสนเทศ ดังนั้นหน่วยงานห้างร้านไทยจะต้องพัฒนาการใช้ไอทีอีกมากกว่าจะไปถึงขั้นมีระบบสารสนเทศใช้ IS ต้องอาศัย IT

2 ข้อมูลกับสารสนเทศ ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น รายการค้า, ปริมาณการผลิตต่อวัน, การจำหน่ายต่อวัน, ราคาวัตถุดิบ สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่นำมาประมวลให้เกิดเป็นความรู้ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สารสนเทศอาจ ผสมผสานความลำเอียง ความรู้สึกการคาดเดา เรารู้จักคำว่า ข้อมูล มานานแล้วในความหมายว่าเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ข้อมูลบริษัท ก็เป็นข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับบริษัท ซึ่งอาจรวมถึงเรื่องของเงินทุน ชื่อผู้ถือหุ้นและสัดส่วนการถือหุ้น ธุรกิจที่ดำเนินการ ตลอดจนผลกำไรขาดทุน อีกนัยหนึ่ง เราอาจพิจารณาว่าข้อมูลนั้นเป็นตัวแทนของความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เป็นข้อความบอกเล่า เป็นจำนวน เป็นภาพ เป็นเสียง หรือเป็นอะไรก็ได้ที่แสดงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเช่น ชื่อและรายละเอียดผู้เข้ามาร่วมสัมมนาวันนี้หรือจำนวนเงินที่จ่ายไปเพื่อเดินทางมาเข้าร่วมสัมมนา ขอให้สังเกตว่าข้อมูลนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หากเราไม่จดจำ หรือ เก็บบันทึกข้อมูลนั้นไว้ ข้อมูลนั้นก็จะหายไป เช่น ถ้าหากไม่มีใครจดรายชื่อผู้เข้าร่วมสัมมนาวันนี้เอาไว้ ในภายหน้าก็จะบอกไม่ได้ว่าใครมาสัมมนาบ้าง การที่เราเก็บบันทึกข้อมูลเอาไว้นั้นก็เพื่อจะนำเอาข้อมูลนั้นกลับมาใช้อีก หรือนำข้อมูลนั้นมาประมวลให้เห็นภาพของความจริงหรือปรากฎการณ์นั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไรแน่ ผลของการประมวลก็คือสารสนเทศ ซึ่งสารสนเทศนี้อาจจะแตกต่างกันไปสุดแท้แต่วัฒนธรรม อคติ ความสมบูรณ์ และ ความเห็นของผู้ประมวลและผู้รับสารสนเทศ เช่น ข้อมูลรายได้ของบริษัทหนึ่งระบุว่าเป็นสิบล้านบาท ผู้รับสารสนเทศบางคนอาจจะคิดว่าบริษัทแห่งนี้ได้รายได้มาก แต่เจ้าของบริษัทเองอาจจะเห็นว่ารายได้ตกต่ำเพราะรายได้เมื่อปีก่อนเป็นหนึ่งร้อยล้านบาท ดังนั้นสารสนเทศสำหรับผู้รับแต่ละคนจึงอาจจะต่างกันไปได้

3 ความจำเป็นที่ทำให้ต้องใช้ IS/IT
เศรษฐกิจของประเทศกำลังตกต่ำ กรอบเวลาดำเนินงานลดลง ขีดจำกัดทางการเงิน สิ่งแวดล้อมและสังคม ได้กล่าวมาแล้วว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังตกต่ำอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน การที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้บริหารทั้งในภาคเอกชน และ ภาครัฐไม่ได้สนใจในเรื่องข้อมูลและสารสนเทศ ไม่ได้สนใจไอทีเพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่ยากเกินความเข้าใจ อีกทั้งไม่ได้เข้าใจว่าไอทีเป็นกลยุทธ์สำคัญในการบริหารหน่วยงานและประเทศ ดังนั้นจึงไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดการจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อจัดเก็บข้อมูลเอาไว้เพื่อประมวลผล และ จัดทำเป็นสารสนเทศเพื่อให้เห็นภาพสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ในสภาพการณ์ที่กำลังเกิดอยู่นี้ รัฐได้พยายามกระตุ้นให้หน่วยงานประหยัดด้วยการตัดทอนงบประมาณลง โดยเฉพาะงบด้านไอที การทำเช่นนี้เป็นความผิดพลาดเพราะเปรียบเสมือนการประหยัดให้โรงพยาบาลด้วยการดึงอุปกรณ์ช่วยชีวิตของผู้ป่วยในห้องซีพียู หรือ ดับไฟฟ้าทั้งโรงพยาบาล ในเวลานี้เรากำลังประสบกับความท้าทายที่น่าวิตกหลายประการ การที่ IMF เข้ามาช่วยนั้นมีหลายคนมองว่าเพื่อจะได้บีบซื้อกิจการไทยในราคาถูก ซึ่งก็อาจมีส่วนจริง ในขณะเดียวกันการแข่งขันทางธุรกิจการค้าระหว่างประเทศก็รุนแรงขึ้น เราจำเป็นจะต้องเปิดเสรีการค้ามากขึ้น ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ฯลฯ ไอทีไม่ถึงกับเป็นยาวิเศษที่จะช่วยแก้วิกฤติการณ์ได้ แต่ไอทีก็เป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดที่เราจะนำมาใช้เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่กำลังประสบอยู่นี้ได้ หากเราไม่ใช้ไอทีแล้ว ก็มองไม่เห็นทางออกว่าเราจะมีข้อมูลและสารสนเทศที่จะแก้ปัญหาได้อย่างไร

4 ปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจเมื่อไม่มีกลยุทธ์ทางด้าน IS
การลงทุนในระบบไม่มีทิศทาง ระบบไม่ผสมผสานกัน คือ ต่างคนต่างทำ ไม่มีวิธีการกำหนดลำดับความสำคัญของโครงการ ไม่มีวิธีบอกว่าใช้ทรัพยากรเหมาะสมที่สุดแล้วหรือไม่ ไม่มีสารสนเทศสำหรับตัดสินใจ แผนก IS กับผู้ใช้ ไม่เข้าใจกัน ไม่มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การนำไอทีมาใช้ในหน่วยงานให้ได้ผลนั้นจำเป็นจะต้องวางแผนงานอย่างละเอียดรอบคอบ โดยปกติแล้วหน่วยงานควรมีแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน (Corporate Plan) อยู่แล้ว แต่แผนนี้มักจะกล่าวถึงเฉพาะทิศทางการดำเนินงาน การผลิต หรือ การให้บริการของหน่วยงานเท่านั้น ยังไม่ได้ครอบคลุมไปถึงงานด้านไอที ดังนั้นหน่วยงานจึงควรพิจารณาวางแผนงานด้านไอทีด้วย แผนนี้จะเรียกว่าแผนแม่บทด้านไอที หรือ แผนกลยุทธ์ด้านไอทีก็ได้ แผนแม่บทด้านไอทีจะช่วยให้เห็นทิศทางการนำไอทีมาใช้ในหน่วยงานได้ชัดเจนขึ้น สามารถระบุได้ว่าจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศอะไรบ้าง ระบบเหล่านั้นสัมพันธ์กับแผนกต่าง ๆ อย่างไร ต้องจัดเก็บข้อมูลสำคัญ ๆ อะไรบ้าง จะต้องร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างไร ต้องจัดให้มีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์กว้างขวางมากน้อยเพียงใด จะต้องเชื่อมโยงไปยังที่ใดบ้าง จะเข้าสู่อินเทอร์เน็ตหรือไม่ ฯลฯ การพัฒนาแผนแม่บทด้านไอทีนั้นควรจะเชิญให้ผู้มีประสบการณ์มาดำเนินการให้ วิธีการวางแผนมักจะเริ่มด้วยการวิเคราะห์แผนกลยุทธ์ของหน่วยงานเพื่อศึกษาทิศทาง ศึกษาการดำเนินงานภายในว่าสมควรนำไอทีมาใช้สนับสนุนการทำงานอย่างไรบ้าง ศึกษาว่าหน่วยงานจำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง ข้อมูลเหล่านั้นควรจัดเก็บอย่างไร ควรจัดให้มีโครงสร้างอย่างไร จะต้องรักษาความมั่นคงปลอดภัยอย่างไร ต้องพิจารณาว่าควรจะต้องจัดทำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างไร และใช้เทคโนโลยีอะไร

5 ประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับ IT
ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาและใช้งานระบบได้สำเร็จ มี วิธีใดบ้างที่ จะช่วยให้พัฒนาระบบที่ใช้งานได้ดี และบำรุงรักษาได้ง่ายบ้าง ควรใช้เทคโนโลยีอะไรดีและควรซื้อได้จากใครจึงจะ ไม่เกิดปัญหา ทำอย่างไรจึงจะควบคุมการขยายตัวเองของอุปกรณ์ที่เข้ากันไม่ได้ โดยไม่ทำให้ผู้ใช้เกิด ความขลุกขลัก การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย บริษัทและหน่วยงานหลายแห่งล้วนมีประสบการณ์ที่ไม่น่าชื่นชมเกี่ยวกับเรื่องนี้มาแล้ว ตัวปัญหาในเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยี แต่อยู่ที่ผู้ใช้ขาดความเข้าใจและไม่ได้เตรียมตัวศึกษาในเรื่องนี้อย่างรอบคอบก่อน นอกจากนั้นยังคิดว่าไอทีก็เหมือนกับผลิตภัณฑ์อย่างอื่น คือซื้อมาแล้วก็ใช้ได้ ประเด็นที่เราจะต้องทำความเข้าใจที่สำคัญมีอยู่หลายข้อ แต่ขอยกมาให้คิดสักสองเรื่อง เรื่องแรกก็คือทำอย่างไรจึงจะพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นใช้งานได้สำเร็จ หากเราลองพิจารณาดูหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จในด้านการใช้คอมพิวเตอร์เวลานี้ จะพบว่าส่วนมากเป็นระบบที่หน่วยงานซื้อมาใช้โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด หรือมิฉะนั้นก็เป็นหน่วยงานที่มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนหน่วยงานที่พัฒนาระบบขึ้นใช้เองมักจะล้มลุกคลุกคลาน ประเด็นที่สองก็คือการจัดซื้อจัดหาระบบคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ โดยระเบียบปฏิบัติเวลานี้ เรามักจะได้เครื่องที่เราไม่อยากใช้ ส่วนเครื่องที่อยากใช้เรามักจะซื้อไม่ได้เพราะราคาแพงเกินไป อีกนัยหนึ่งเราถูกบังคับให้พิจารณาราคาสินค้ามากกว่าดูที่ความน่าเชื่อถือ หรือ บริการหลังการขาย ดังนั้นจึงมีหลายหน่วยงานที่ซื้อคอมพิวเตอร์มาแล้วยังไม่ทันไรเครื่องก็เสีย และบริษัทก็ปิดกิจการไปแล้ว ประเด็นเหล่านี้จะไม่มีคำตอบหากเรายังไม่ช่วยกันคิดอย่างจริงจัง

6 ประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับ IT
ควรเปิดแผนก IT ไว้กับฝ่ายใดจึงเหมาะ แผนกนี้ควรทำงานร่วม กับแผนกอื่นๆ อย่างไร และจะตัดสินใจเรื่องการใช้ IT กันอย่างไร เราจะควบคุมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ IT ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดได้ อย่างไร ประเด็นต่อมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดองค์กรทางด้านคอมพิวเตอร์ขึ้นในหน่วยงาน มีคำถามว่าองค์กรนี้ควรมีลักษณะอย่างไร ประกอบด้วยบุคลากรประเภทใดบ้าง เป็นจำนวนเท่าใด และควรจะรายงานต่อใคร ในประเด็นนี้เราจะพบว่านับวันการใช้คอมพิวเตอร์ก็จะแพร่กระจายลงไปยังทุกแผนก หรือแม้กระทั่งทุกคนในอนาคตก็อาจจะมีคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่บนโต๊ะทำงาน เมื่อเป็นเช่นนี้บทบาทและหน้าที่ของศูนย์คอมพิวเตอร์ก็อาจจะต้องเปลี่ยนไปจากเดิม แต่จะเปลี่ยนไปในทางใด จะทำให้การใช้และการให้บริการงานด้านไอทีเปลี่ยนไปในลักษณะใด ยังเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจ ประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เราเชื่อกันว่าการนำคอมพิวเตอร์มาใช้นั้นจะทำให้หน่วยงานสามารถประหยัดได้ เช่นการนำมาใช้เป็นระบบสำนักงานอัตโนมัติจะทำให้ลดกระดาษลงได้ แต่ในทางปฏิบัติปรากฏว่าหน่วยงานที่ใช้คอมพิวเตอร์นั้นกลับใช้กระดาษมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องทำความเข้าใจเรื่องของค่าใช้จ่ายในการใช้ไอทีให้ชัดเจน ต้องเข้าใจว่าค่าใช้จ่ายในด้านนี้มีทั้งชนิดที่จ่ายครั้งเดียว และที่จะต้องจ่ายเป็นประจำต่อเนื่องไปทุกเดือนหรือทุกปี ผู้บริหารจะต้องทราบว่าการใช้คอมพิวเตอร์ทำให้เกิดหัวข้อค่าใช้จ่ายตามมาอีกหลายหัวข้อ อาทิการฝึกอบรม การพัฒนาซอฟต์แวร์ การอัพเกรดเครื่อง ฯลฯ

7 การประยุกต์เชิงกลยุทธ์ของ IS/IT
1. ผสมผสานการใช้สารสนเทศในกระบวนการสำคัญหน่วยงาน คือเป็น ระบบ Mission Critical 2. เชื่อมโยงหน่วยงานกับลูกค้าและพันธมิตรคู่ค้า 3. ทำให้หน่วยงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดได้ รวดเร็วและตรงกับความต้องการ 4. ช่วยให้ผู้บริหารมีข้อมูลที่จะช่วยจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิผล การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานนั้นอาจจะทำได้หลายแบบ นั่นคือใช้ไอทีเป็นเครื่องมือช่วยการทำงานประจำวัน เช่นใช้ในการพิมพ์เอกสาร หรือใช้ในการบันทึกข้อมูล หรือใช้ในงานอันเป็นภารกิจประจำซึ่งเมื่อใช้แล้วจะทำให้หน่วยงานมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น หน่วยงานที่ไม่ได้สนใจหรือทำความเข้าใจเรื่องไอทีนัก จะใช้ไอทีตามอย่างผู้อื่น คืออาจจะเห็นผู้อื่นใช้ก็เลยใช้บ้าง หรืออาจจะได้รับการโฆษณาชวนเชิญจากบริษัทผู้ค้าไอทีให้ลองใช้ไอทีดูบ้าง ส่วนหน่วยงานที่ใช้ไอทีเป็นจะมองการใช้ไอทีในระดับกลยุทธ์ คือไม่ได้ใช้เฉพาะในงานพื้นฐานเท่านั้น การใช้ไอทีในระดับกลยุทธ์นั้น มุ่งที่จะทำให้เกิดประโยชน์ในระดับสูง เช่นทำให้มีการผูกพันกับคู่ค้า หรือผู้ส่งชิ้นส่วน ทำให้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ได้รวดเร็วขึ้น ทำให้สามารถให้บริการลูกค้าได้ดีกว่าเดิม การใช้ในระดับกลยุทธ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือการใช้บันทึกเก็บข้อมูลธุรกรรมและข้อมูลการปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่จะมีประโยชน์ต่อไปข้างหน้า นั่นคือทำให้สามารถวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ความต้องการของตลาด วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า ฯลฯ ได้ ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้หน่วยงานสามารถกำหนดทิศทางของผลิตภัณฑ์และบริการของตนเองได้แม่นยำขึ้น


ดาวน์โหลด ppt IS กับ IT IS ต้องอาศัย IT

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google