ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยSirikit Klinpraneet ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ (ฉบับที่ 37) พ. ศ
กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ (ฉบับที่ 37) พ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 14 มกราคม 2554
2
สรุปสาระสำคัญ 1. กฎข้อบังคับนี้เรียกว่า “กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ (ฉบับที่ 37) พ.ศ. 2553” 2. กฎข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 3. ให้ยกเลิกข้อ 1 และ 2 หมวด ค แห่งกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ (ฉบับที่ 15)พ.ศ และบรรดา กฎข้อบังคับ และระเบียบในส่วนที่บัญญัติไว้แล้ว ซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งกฎข้อบังคับนี้
3
สรุปสาระสำคัญ 4. กฎข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับกับเรือทุกลำที่มีขนาดความยาวตลอดลำตั้งแต่ 24 เมตรขึ้นไป ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) เป็นเรือซึ่งต่อสร้างขึ้นใหม่หรือดัดแปลงในหรือหลังจากวันที่กฎข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ (2) เป็นเรือที่ซื้อมาจากต่างประเทศซึ่งต่อสร้างหรือดัดแปลงเสร็จสมบูรณ์ก่อนวันที่ กฎข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับกฎข้อบังคับนี้ไม่ใช้บังคับกับ เรือรบ เรือช่วยรบ และเรือราชการ
4
สรุปสาระสำคัญ 5. บทบัญญัติว่าด้วยการตรวจรับรองแบบแปลนเรือ รายการคำนวณ คู่มือการบรรทุกหนังสือแสดงความทรงตัวตามข้อ 8 ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
5
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
1. เจ้าของเรือ ผู้ออกแบบเรือ ผู้ต่อเรือ รายใด ประสงค์ในการอนุมัติแบบแปลนเรือของตน ให้ร้องขอตามแบบคำร้อง ก.5 ตามภาคผนวก 1 ท้ายกฎข้อบังคับนี้ ต่อสำนักมาตรฐานเรือกรมเจ้าท่า 2. การตรวจแบบแปลนเรือ เป็นการตรวจแบบแปลน รายการคำนวณ คู่มือการบรรทุก หนังสือแสดงความทรงตัว เพื่อให้แน่ใจว่า โครงสร้าง อุปกรณ์ ระบบ การติดตั้งการจัดการ และวัสดุ เป็นไปตามมาตรฐานสากล ข้อกำหนดตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ รวมถึงกฎข้อบังคับอื่นใดที่เกี่ยวข้อง
6
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
3. แบบแปลนบังคับยื่น รายการคำนวณ คู่มือการบรรทุก หนังสือแสดงความทรงตัวที่ยื่น ประกอบการตรวจแบบแปลนเรือ มีดังต่อไปนี้ (1) แบบการจัดการทั่วไป (General arrangement) (2) แบบรูปตัดกึ่งกลางลำ (Midship section) (3) แบบโครงสร้าง (Construction profile) (4) แบบดาดฟ้า (Deck plans) (5) หนังสือแสดงความทรงตัว (Stability booklet)"
7
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
4. แบบแปลนหรือเอกสารประกอบใดผ่านการตรวจรับรองจากผู้ที่ได้รับการรับรองจากกรมเจ้าท่า หรือสมาคมจัดชั้นเรือที่กรมเจ้าท่ายอมรับแล้ว หรือแบบแปลนหรือเอกสารประกอบนั้นเป็นเอกสารสนับสนุนในการต่อสร้างหรือดัดแปลงเรือ ให้วิศวกรผู้ตรวจแบบแปลนประทับตราตามรูปแบบที่กำหนดในภาคผนวก 3 พร้อมลงนามไว้เป็นสำคัญ
8
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
เอกสารแนบท้าย 1. แบบคำร้อง ก.5 2. แบบสัญลักษณ์สำหรับใช้ในแบบการจัดการเพลิงไหม้ (Fire Control Plan)แบบการจัดการอุปกรณ์ความปลอดภัยแห่งชีวิต (Life Saving Appliance Plan)และแบบการจัดการความปลอดภัย (Safety Plan)" 3. แบบตราประทับบนแบบแปลนเรือ ของกรมเจ้าท่า 4. แบบใบสำคัญรับรองการตรวจอนุมัติแบบแปลนเรือ 5. อัตราค่าธรรมเนียมสำหรับการตรวจเพื่อออกใบสำคัญรับรองการตรวจอนุมัติแบบแปลนเรือ
9
จบการนำเสนอ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.