งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สำนักงาน ก.พ.ร. เปิดบ้านจัดคลินิกให้คำปรึกษาการตรวจรับรองคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Certified FL) 6 ก.พ. 56 – 13 มี.ค. 56.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สำนักงาน ก.พ.ร. เปิดบ้านจัดคลินิกให้คำปรึกษาการตรวจรับรองคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Certified FL) 6 ก.พ. 56 – 13 มี.ค. 56."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สำนักงาน ก.พ.ร. เปิดบ้านจัดคลินิกให้คำปรึกษาการตรวจรับรองคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Certified FL) 6 ก.พ. 56 – 13 มี.ค. 56

2 วัตถุประสงค์ของการตรวจ Certified FL
เป็นการตรวจรับรองเพื่อให้มั่นใจว่า ส่วนราชการ มีแนวทางหรือระบบต่าง ๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการขององค์การ (ลักษณะสำคัญขององค์การ และ การบริหารจัดการตามเกณฑ์ฯ ระดับพื้นฐาน) • นำแนวทางไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง • มีการปรับปรุงแนวทางหรือระบบให้มีความเหมาะสม ฉะนั้น การตรวจรับรองฯ จึงเป็นการสอบทานว่าส่วนราชการ “สามารถพัฒนาองค์การได้ ตามเกณฑ์ PMQA ระดับพื้นฐาน” และมีความพร้อมในการขอรับ รางวัลคุณภาพการบริหาร จัดการภาครัฐ

3 แนวทางการตรวจ Certified FL
แนวทางการตรวจประเมิน ผู้ตรวจหน่วยละ 2 คน และเจ้าหน้าที่ ก.พ.ร. ระยะเวลาการตรวจ 1 วัน ตั้งแต่เวลา – น. การตรวจประเมินจะพิจารณาผลการดำเนินการ 2 ปี คือ - ปี 2554 ดูว่ายังคงมีการรักษามาตรฐานการปฏิบัติตามเกณฑ์ PMQA - ปี 2555 เพื่อดูความต่อเนื่องหรือการปรับปรุงพัฒนาที่ดีขึ้น ส่วนราชการนำเสนอ OP 15 นาที นำเสนอหมวด 1-6 อีก 15 นาที การตรวจ ใช้วิธีสัมภาษณ์ ไม่เน้นการตรวจเอกสาร (เอกสารจะขอดูในประเด็นผู้ตรวจสงสัย หรือส่วนราชการชี้แจงไม่ชัดเจนจนเป็นข้อสงสัย) และจะพิจารณารวมถึงความเชื่อมโยงการทำงานอย่างบูรณาการกันของหมวดต่าง ๆ ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้บริหาร บุคลากรหลักในทุกหมวด

4 แนวทางการตรวจ Certified FL
แนวทางการตรวจประเมิน (ต่อ) ผู้ตรวจกล่าวสรุปภายหลังการตรวจเสร็จสิ้น โดยให้คำแนะนำข้อคิดเห็นเพื่อให้ ส่วนราชการนำไปปรับปรุงพัฒนาองค์การต่อได้ (หากมีเวลา) สำนักงาน ก.พ.ร. จะแจ้งผลประเมินให้ส่วนราชการทราบหลังจากได้ประชุมผู้ตรวจเพื่อสรุปภาพรวมการตรวจประเมินทุกส่วนราชการเรียบร้อยแล้ว

5 แนวทางการตรวจ Certified FL
การเตรียมตัวของส่วนราชการ นัดผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง ประเมินตนเองตามโปรแกรม Certified FL และนำผล Feedback Report ตัวชี้วัดที่ผ่านมา เพื่อใช้ในการปรับปรุง จัดทำ Power point นำเสนอในภาพลักษณะสำคัญขององค์การ 15 นาที และการดำเนินการในแต่ละหมวด 15 นาที เตรียมใจให้เบิกบาน และเตรียมกายให้แข็งแรง

6 วงจรคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
1. OP 15 คำถาม 2. เกณฑ์ PMQA 7 หมวด 90 คำถาม 6

7 ลักษณะสำคัญขององค์กร
การตรวจ Certified FL จุดมุ่งเน้นของประเด็นการตรวจรับรอง ฯ (โปรดสังเกตข้อความที่ขีดเส้นใต้ เป็นจุดเน้นการตรวจรับรองในเชิงคุณภาพ) ลักษณะสำคัญขององค์กร เริ่มจากการสัมภาษณ์ลักษณะสำคัญขององค์กร แต่ละข้อคำถามเกี่ยวกับ แนวคิดระบบบริหารจัดการ การกำกับดูแลตนเองที่ดี ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกัน เป็นการถามถึงความต้องการขององค์กรที่จะนำไปใช้เป็นพื้นฐานสำคัญในการกำหนดระบบการบริหารจัดการใน หมวดต่างๆ หมวด 1 การนำองค์การ เน้นบทบาทของผู้บริหารในการผลักดันองค์การให้บรรลุวิสัยทัศน์ ด้วยการสื่อสารที่ชัดเจนเพื่อทำให้นำไปปฏิบัติและกำกับดูแลใหัดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาล

8 ตัวอย่างแนวทางการตรวจ
LD 1 ส่วนราชการ/ผู้บริหารต้องมีการกำหนดทิศทางการ ทำงานที่ชัดเจน ครอบคลุมในเรื่องวิสัยทัศน์ ค่านิยม เป้าประสงค์หรือผลการดำเนินการที่คาดหวังขององค์การ โดยมุ่งเน้นผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งมี การสื่อสารเพื่อถ่ายทอดทิศทางดังกล่าวสู่บุคลากร เพื่อให้เกิดการรับรู้ ความเข้าใจ และการนำไปปฏิบัติ ของบุคลากร อันจะส่งผลให้การดำเนินการบรรลุผลตาม เป้าประสงค์ที่ตั้งไว้

9 ประเด็นพิจารณา ตัวอย่างแนวทางการตรวจ
1 แนวทาง/วิธีการในการกำหนดวิสัยทัศน์ ค่านิยม และเป้าประสงค์ให้สอดคล้องกับพันธกิจ และความคาดหวังผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (อาจแสดงเป็น Flow Chart ประกอบด้วย ขั้นตอน ปัจจัยนำเข้า ผู้เกี่ยวข้อง และกรอบเวลา) การกำหนดทิศทางองค์การควรมีแนวทางขั้นตอนที่เป็นระบบ มีความสอดคล้องกับพันธกิจ และความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามที่กำหนดไว้ในลักษณะสำคัญขององค์การ 2 มีแนวทาง/วิธีการในการถ่ายทอดสื่อสารองค์การ ประกอบด้วย ช่องทาง ประเด็นการสื่อสาร ผู้สื่อสาร และความถี่ ให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มบุคลากรและนำไปปฏิบัติจริง การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพควรมีการกำหนดช่องทางวิธีการสื่อสารในแต่ละกลุ่มบุคลากรเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานได้ถูกต้อง โดยวิธีการสื่อสารควรมีการระบุให้ชัดเจนว่าช่องทางใด สื่อสารข้อมูลประเภทใด ใครเป็นผู้สื่อสาร สื่อสารไปยังกลุ่มใด ความถี่ในการสื่อสาร และเมื่อดำเนินการแล้วควรมีประเมินประสิทธิภาพของแต่ละช่องทางการสื่อสารว่าบุคลากรในแต่ละกลุ่มมีการรับรู้และเข้าใจเป็นอย่างไร เพื่อจะได้นำผลดังกล่าวมาปรับปรุงพัฒนาการใช้ช่องทางการสื่อสารให้เหมาะสมต่อไป

10 ตัวอย่างแนวทางการตรวจ
ประเด็นพิจารณา 3 มีการประเมินผลการรับรู้และความเข้าใจวิสัยทัศน์ ค่านิยม และเป้าประสงค์ขององค์การ อันจะส่งผลให้การดำเนินการบรรลุผลตามเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ (สอดคล้องกับ SP1 และ SP2) 4 มีการทบทวนแนวทางการกำหนดและการถ่ายทอดสื่อสารวิสัยทัศน์ ค่านิยม และเป้าประสงค์เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง เมื่อส่วนราชการได้มีการสื่อสารถ่ายทอดทิศทางขององค์การไปสู่บุคลากรทั่วทั้งองค์การแล้ว ควรมีการติดตามประเมินผลว่าบุคลากรมีการรับรู้และเข้าใจในทิศทางขององค์การและนำแนวทางไปปฏิบัติเป็นอย่างไร และนำผลประเมินดังกล่าวไปสู่การทบทวนปรับปรุงแนวทางหรือวิธีการสื่อสารสร้างการรับรู้เข้าใจให้ดีขึ้นต่อไปได้อย่างไร

11 หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์
การตรวจ Certify FL จุดมุ่งเน้นของประเด็นการตรวจรับรอง ฯ (โปรดสังเกตข้อความที่ขีดเส้นใต้ เป็นจุดเน้นการตรวจรับรองในเชิงคุณภาพ) หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ เน้นกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ที่ สอดคล้องกับความท้าทายขององค์การ มีการกำหนดตัวชี้วัด ติดตามทบทวนผลการดำเนินการเพื่อให้มีการนำแผนไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เน้นการกำหนดกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความต้องการของแต่ละกลุ่ม และการจัดลำดับความสำคัญที่สอดคล้องกับพันธกิจ รวมทั้ง การสร้างความสัมพันธ์และความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ โดยกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ เน้นระบบฐานข้อมูลที่ครอบคลุม ถูกต้อง ทันสมัย รวมทั้ง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความพร้อมใช้งานและปลอดภัย ที่นำมาใช้ในสนับสนุนการปฏิบัติงาน ซึ่งต้องแสดงให้ เห็นว่า ได้นำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจหรือบริหารจัดการอย่างไร

12 หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
การตรวจ Certified FL จุดมุ่งเน้นของประเด็นการตรวจรับรอง ฯ (โปรดสังเกตข้อความที่ขีดเส้นใต้ เป็นจุดเน้นการตรวจรับรองในเชิงคุณภาพ) หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล เน้นการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อให้ส่วนราชการบรรลุเป้าประสงค์ทางยุทธศาสตร์ ให้บุคลากรมีความผาสุก ความพึงพอใจ และความผูกพันกับส่วนราชการ รวมทั้งสอดคล้องกับความท้าทายด้านบุคลากรตามลักษณะสำคัญขององค์กร หมวด 6 การจัดการกระบวนการ การกำหนดกระบวนการที่สร้างคุณค่าที่สนองตอบต่อความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การออกแบบกระบวนการเพื่อให้บรรลุต่อข้อกำหนดของกระบวนการ รวมทั้งการปรับปรุงกระบวนการเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ เป็นการตรวจสอบผลลัพธ์ของกระบวนการของการดำเนินการตามหมวด 1-6 ว่ามีระดับผลการดำเนินการเป็นอย่างไร

13 แต่ละหมวดจะต้องได้คะแนน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 จึงจะผ่าน Certified FL
ตัวอย่าง โปรแกรม Self Certified FL แต่ละหมวดจะต้องได้คะแนน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 จึงจะผ่าน Certified FL

14 หมวด 1 การนำองค์กร ความรับผิดชอบต่อสังคม
หมวด 1 การนำองค์กร ความรับผิดชอบต่อสังคม วิสัยทัศน์ กำหนดทิศทางองค์กร เป้าประสงค์ ทำงานอย่างมีจริยธรรม LD 1 LD 5,6 ค่านิยม Stakeholder โดยยึด หลักโปร่งใส 2 ways แต่ละกลุ่ม OP 3,8 LD 6 สื่อสาร สร้างความเข้าใจ ผลการดำเนินการที่คาดหวัง นโยบายกำกับดูแลองค์การที่ดี LD 1 สื่อสาร สร้างความเข้าใจ สร้างบรรยากาศ ติดตามผล LD 2 LD 3 การทำงานมีผลกระทบ ต่อสังคม ผ่านกลไกการกำกับดูแลตนเองที่ดี (OP 6) เป็นตัวอย่างที่ดี (role model) LD 7 LD 3 ประเมินความสำเร็จการบรรลุเป้าประสงค์ เชิงรับ- แก้ไข ตัวชี้วัด (5) (หมวด 4.1) ทบทวนผลการดำเนินการ หมวด 2 เชิงรุก คาดการณ์ ป้องกัน LD 4 ประเมินความสามารถ การตอบสนองการเปลี่ยนแปลง จัดลำดับความสำคัญ LD 4 ปรับปรุงทั่วทั้งองค์กร LD 4

15 หมวด 2 ทิศทางองค์กร ความรับผิดชอบต่อสังคม
หมวด 2 ทิศทางองค์กร ความรับผิดชอบต่อสังคม ภายนอก วางแผนยุทธศาสตร์ ปัจจัย โอกาส/ความท้าทาย (OP) ระยะสั้น ยาว SP 1 ภายใน SP 2 การจัดทำยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์/เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์/กลยุทธ์หลัก Stakeholder (OP) ถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ (Strategy Map) SP 5 สื่อสาร สร้างความเข้าใจ SP 4 การบริหารความเสี่ยง การถ่ายทอดกลยุทธ์หลักเพื่อนำไปปฏิบัติ SP 7 แผนปฏิบัติการ ตัวชี้วัด ใช้ติดตาม เป้าหมาย ความเสี่ยงเชิงยุทธศาสตร์ ความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ - ความเสี่ยงด้านกระบวนการ SP 3 แผนหลักด้านทรัพยากรบุคคล SP 3 จัดสรรทรัพยากร SP 6 นำไปปฏิบัติ SP 6

16 หมวด 3 ความรู้เกี่ยวกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
หมวด 3 แบ่งกลุ่มผู้รับบริการ ผู้รับบริการที่พึงมีในอนาคต สอดคล้องตาม OP (8) CS1 ความรู้เกี่ยวกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หาเครื่องมือที่เหมาะสม แต่ละกลุ่ม CS2 รับฟังความต้องการ/ความคาดหวัง วางแผนปฏิบัติงาน (หมวด 2) ปรับปรุงกระบวนการ (หมวด 6) หาความต้องการร่วมของแต่ละกลุ่ม (Common Need) CS 2 พัฒนาบริการ (หมวด 6) - ขอข้อมูล - ขอรับบริการ - ร้องเรียน - กิจกรรม การสร้างความสัมพันธ์และความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ออกแบบกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี CS4 CS5 CS7 CS3 สื่อสาร สร้างความเข้าใจ / กำหนดวิธีปฏิบัติ กระบวนการจัดการ ข้อร้องเรียน ติดตามคุณภาพบริการ CS3 วัดความพึงพอใจ/ไม่พึงพอใจ CS6 CS6 CS3 ปรับปรุงกระบวนการ (หมวด 6)

17 หมวด 4 การวัดและวิเคราะห์ผลการดำเนินการของส่วนราชการ
หมวด 4 ระบบการวัด ติดตามผลการปฏิบัติงาน (หมวด 6) Daily Management IT 5 - leading/lagging indicator ข้อมูลเปรียบเทียบ ผลการดำเนินการโดยรวม (หมวด 2/7) เลือกข้อมูลสารสนเทศ IT 1 - 3 นวัตกรรม (หมวด 2/6) รวบรวม ทบทวนผลการดำเนินการ (หมวด 1) การวัดและวิเคราะห์ผลการดำเนินการของส่วนราชการ วิเคราะห์ผล วางแผนยุทธศาสตร์ (หมวด 2) สื่อสารผล การวิเคราะห์ สอดคล้องตาม OP (4) วางระบบการจัดการ - ข้อมูลสารสนเทศ - อุปกรณ์สารสนเทศ - ความพร้อมใช้งาน - การเข้าถึง - เชื่อถือได้ - ปลอดภัย - ใช้งานง่าย IT 4, 6 IT 5,6 สอดคล้องตาม OP (15) IT 7 การจัดการสารสนเทศและความรู้ การจัดการความรู้ ความรู้ บุคลากร ข้อมูลสารสนเทศ ครอบคลุม ถูกต้อง ทันสมัย IT 1 - 3 รวบรวม ผู้รับบริการ/องค์กรอื่น จัดให้เป็นระบบ Best Practices ถ่ายทอด/Sharing

18 หมวด 5 ระบบงาน การเรียนรู้ของบุคลากรและการสร้างแรงจูงใจ
สภาพแวดล้อมการทำงาน ความพึงพอใจ HR 1 หาปัจจัย สถานที่ อุปกรณ์การทำงาน - ตัวชี้วัด/เป้าหมาย - การมีส่วนร่วม เตรียมพร้อมภาวะฉุกเฉิน การสร้างความและความพึงพอใจแก่บุคลากร กำหนดตัวชี้วัด/วิธีการประเมิน สร้างแรงจูงใจ/จัดระบบสวัสดิการ ระบบยกย่อง/จูงใจ ระบบประเมินผล HR 2 ประเมินผล กำหนดคุณลักษณะและทักษะที่จำเป็น ระบบงาน HR 3 จัดลำดับความสำคัญ สอดคล้อง กับผลลัพธ์องค์กร สร้างความก้าวหน้าในการทำงานให้ชัดเจน HR 5 ปรับปรุง ความจำเป็น (Training Need) ความต้องการในการฝึกอบรม พัฒนาบุคลากร ทางการ/ไม่ทางการ บุคลากร ทำงานตามแผนปฏิบัติงาน (หมวด 2) หน.งาน/ผู้บังคับบัญชา HR 3 HR 3 องค์กร สมดุลทั้งความต้องการองค์กรและความต้องการบุคลากร (หมวด 5.1) ความรู้ในองค์กร (หมวด 4.2) ส่งเสริมนำไปปฏิบัติ การเรียนรู้ของบุคลากรและการสร้างแรงจูงใจ HR 4 ประเมินผลประสิทธิผลการฝึกอบรม - ผลการปฏิบัติงานของบุคคล - ผลการดำเนินงานขององค์กร

19 หมวด 6 กระบวนการที่สร้างคุณค่า, กระบวนการสนับสนุน กำหนดกระบวนการ
PM 1 ความต้องการผู้รับบริการ (หมวด 3) ข้อกำหนดที่สำคัญ กฎหมาย กฎ ระเบียบ (OP) PM 2 องค์ความรู้/IT ความต้องการผู้รับบริการ ออกแบบ กระบวนการ ระยะเวลา/ค่าใช้จ่าย/ผลิตภาพ PM 3 เป้าหมายภารกิจ กำหนดตัวชี้วัดควบคุมกระบวนการ PM 5 การจัดการกระบวนการ สู่การปฏิบัติ คู่มือการปฏิบัติงาน สอดคล้องตาม OP ปรับปรุงกระบวนการ อบรม สร้างความเข้าใจ PM6 ลดค่าใช้จ่ายใน การตรวจสอบ ป้องกัน ความผิดพลาด PM 4 PM 6 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ PM6 IT7 นวัตกรรม

20 KM สรุปภาพการบูรณาการทำงานโดยใช้เครื่องมือ PMQA มาช่วย หมวด 5 หมวด 1
เตรียมพัฒนาบุคลากรทั้งการปฏิบัติงาน และสร้างความผาสุก หมวด 5 หมวด 1 พันธกิจ จำนวนบุคลากร .... คน อายุเฉลี่ย สายงานหลัก สายงานสนับสนุน แพทย์ เภสัชกร นวช. นักคอมพิวเตอร์ นักบัญชี ปัจจัยภายนอก-ภายใน วิสัยทัศน์ ค่านิยม วัฒธรรมองค์การ เป้าประสงค์ หมวด 2 การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการ แผนบริหารความเสี่ยง ฯลฯ ความท้าทาย วัดผลลัพธ์หมวด 7 หมวด 3 ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่ม หมวด 4 Link หมวด 1 กำหนดทิศทาง 2 ทำแผน 4 ฐานข้อมูล 5 , 6 มาตรฐานปฏิบัติงาน กลุ่มผู้รับบริการ/ ผุ้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความต้องการ ผู้ประกอบการ มาตรฐาน กลไก กฎหมาย เป็นธรรม เข้าใจง่าย ปฏิบัติได้ ผู้บริโภค ผลิตภันฑ์มีคุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัย เป็นธรรม ความรู้ถูกต้อง เข้าใจง่าย ทันการณ์ เครือข่ายประชาคม ข้อมูลถูกต้อง รวดเร็ว เข้าถึง เข้าใจง่าย ประเภทข้อมูล ฐานข้อมูล ผู้ใช้ข้อมูล ทบทวนฐานข้อมูล ความถี update ชนิดข้อมูล ผู้รับผิดชอบ ผู้บริหาร สำนัก A สำนัก B ผู้รับบริการ ผู้มีส่ส่วนได้ส่วนเสีย มีแล้ว ปรับปรุง ยกเลิก ยุทธสาตร์ พันธกิจ กระบวนการสร้างคุณค่า - xxx excel กระบวนการสนับสนุน ความต้องการของู้รับบริการ - xxx หมวด 6 กระบวนการสร้างคุณค่า กระบวนการสนับสนุน Link หมวด 1 พันธกิจ ยุทธศาสตร์ 2 ตัวชี้วัด 3 ความต้องการของผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม 4 ฐานข้อมูล 5 มาตรฐานการปฏิบัติงาน ความพร้อมใช้งานของข้อมูลและสารสนเทศ BCM/BCP เตรียมพร้อมทรัพยากร (คน IT สถานที่ อุปกรณ์) ให้งานต่อเนื่อง KM

21 หลักในการตรวจสอบตนเอง
วิเคราะห์และเข้าใจลักษณะพื้นฐานขององค์การ บริบท พันธกิจหลัก วิสัยทัศน์ กฏหมายที่กำกับและเกี่ยวข้อง ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่กำลังเกิดขึ้น ความท้าทาย 2. วิเคราะห์ระบบงานขององค์การ กระบวนการทำงานที่ดีและเป็นระบบ มีการถ่ายทอดและนำไปปฏิบัติ มีการติดตามประเมินผล มีการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นจนสามารถนำไปสู่นวัตกรรม วิเคราะห์ผลลัพธ์ขององค์กรในด้านต่าง ๆ ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในแต่ละปี ดีกว่าผลลัพธ์ขององค์การอื่น เชื่อมโยงกับพันธกิจและยุทธศาสตร์ขององค์การ

22 ประเด็นปัญหาสำคัญของการตรวจ Certified FL ที่พบบ่อย
หมวด ประเด็นปัญหา 1 ไม่มีแนวทางในการทบทวนการดำเนินการในประเด็นต่าง ๆ อย่างชัดเจนเช่น การกำหนดตัวชี้วัดและการประเมินผลการดำเนินงาน นโยบายและผลการดำเนินงานการกำกับดูแลที่ดี เป็นต้น ไม่ชัดเจนถึงแนวทางการสื่อสารและทำความเข้าใจให้แก่บุคลากรเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ค่านิยม รวมถึงการประเมินผลการรับรู้และความเข้าใจได้อย่างทั่วทั้งองค์กร การดำเนินการบริหารความเสี่ยงไม่ครอบคลุมทุกโครงการที่วิเคราะห์ว่ามีความเสี่ยง โดยเฉพาะโครงการที่มีผลต่อยุทธศาสตร์ แนวทางการกำหนดมาตรการในการจัดการผลกระทบทางลบที่เกิดจากการดำเนินการตามภารกิจของส่วนราชการไม่ชัดเจน และขาดกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบทางลบ

23 ประเด็นปัญหาสำคัญของการตรวจ Certified FL ที่พบบ่อย
หมวด ประเด็นปัญหา 2 กระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ไม่เป็นระบบ ไม่เชื่อมโยงกับภารกิจ และไม่สอดคล้องกับ ความท้าทายขององค์การ รวมทั้งไม่ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย การจัดทำแผนไปสู่การปฏิบัติ ไม่มีกระบวนการทบทวนหรือปรับปรุงแผน การนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาใช้ในกระบวนการทบทวนไม่เป็นระบบ การวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงแผนไม่ชัดเจนว่ามีการนำปัจจัยทั้งภายนอกและภายในมาใช้ ประกอบในการพิจารณาวางแผน/ทบทวนแผน การวางแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล ไม่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และ แผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ แผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล ไม่ชัดเจนว่ามีแนวทางพัฒนาบุคคลากรไปในทิศทางใด

24 ประเด็นปัญหาสำคัญของการตรวจ Certified FL ที่พบบ่อย
หมวด ประเด็นปัญหา 3 การวัดความพึงพอใจและไม่พึงพอใจไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มของผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียในทุกพันธกิจ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารราชการ ส่วนราชการดำเนินการไม่ถึง ระดับประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้อง (Involve) (กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจะ อยู่เพียงระดับการปรึกษาหารือ) ไม่มีการจัดทำแผนในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนไปสู่ระดับที่สูงขึ้นหรือขยาย ขอบเขตหรือกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น เช่น สนับสนุนให้ประชาชนมีการรวมกลุ่มเพื่อเป็นตัวแทน ในการรวบรวมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อใช้ในการดำเนินงานของส่วนราชการให้ สอดคล้องและตอบสนองกับความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด เป็นต้น กระบวนการในการรับฟังและเรียนรู้ความต้องการของผู้รับบริการ รวมถึงการนำข้อมูลที่ได้ไป ใช้ และการประเมินเพื่อปรับปรุงวิธีการรับฟังไม่ชัดเจนและไม่เป็นระบบ

25 ประเด็นปัญหาสำคัญของการตรวจ Certified FL ที่พบบ่อย
หมวด ประเด็นปัญหา 3 (ต่อ) การทบทวนกลไกการตอบสนองความคาดหวังของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่เป็น ระบบและขาดการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง กระบวนการรับฟังข้อร้องเรียนของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่มีการกำหนด ผู้รับผิดชอบในการติดตามและประเมินผลคุณภาพการให้บริการที่ชัดเจน รวมทั้งไม่สามารถ ดำเนินการตามกระบวนการต่างๆ ให้ได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ต้องตอบข้อร้องเรียน ภายใน 15 วัน แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เป็นต้น การกำหนดกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักไม่ชัดเจน และไม่สอดคล้องกับพันธ กิจขององค์กร (มีการกำหนดกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาพกว้าง เช่น กลุ่มผู้ มาติดต่อ กลุ่มผู้ขออนุญาต กลุ่มผู้เข้ารับการศึกษาอบรม เป็นต้น ซึ่งทำให้ไม่สามารถทราบ ความต้องการได้อย่างชัดเจน) การวิเคราะห์เพื่อกำหนดกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่ม ไม่ได้วิเคราะห์โดย พิจารณาจากพันธกิจเป็นหลัก ทำให้การวิเคราะห์ถึงบริการที่ให้ ความคาดหวัง และแนวทาง/ วิธีการสื่อสารระหว่างกันแต่ละกลุ่มไม่ชัดเจน รวมถึงการออกแบบกระบวนการจะทำให้ไม่ สอดคล้องกับความต้องการ

26 ประเด็นปัญหาสำคัญของการตรวจ Certified FL ที่พบบ่อย
หมวด ประเด็นปัญหา 3 (ต่อ) กลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ใช่ผู้รับบริการหลัก แต่เป็นกลุ่มที่สนับสนุนงาน หลักของส่วนราชการให้สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ไม่มีการประเมินหรือแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นและความคุ้มค่าจากการจัด กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับเครือข่าย แนวทางในการกำหนดเครือข่ายไม่ชัดเจน เนื่องจากการวิเคราะห์เครือข่าย ไม่ได้พิจารณา จากพันธกิจเป็นหลัก การกำหนดช่องทางในการสร้างความสัมพันธ์จำแนกตามพันธกิจ ไม่ได้จำแนกตามกลุ่ม ผู้รับบริการ จึงไม่ชัดเจนว่าผู้รับบริการทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ การประเมินความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจ ไม่ได้แยกแบบสำรวจออกจากกันอย่าง ชัดเจน ไม่มีการทบทวนผู้รับบริการและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก พร้อมทั้งจัดลำดับความสำคัญของแต่ละกลุ่ม

27 ประเด็นปัญหาสำคัญของการตรวจ Certified FL ที่พบบ่อย
หมวด ประเด็นปัญหา 4 แนวทางในการทบทวน และวิเคราะห์ฐานข้อมูลไม่ชัดเจน วิธีการในการคัดเลือกข้อมูลเพื่อจัดทำระบบการจัดการฐานข้อมูลทั้งฐานข้อมูลสนับสนุนการ ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ กระบวนการสร้างคุณค่าและกระบวนการสนับสนุน ไม่ชัดเจน แนวทางที่นำมาใช้ในการประเมินและปรับปรุงเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ประชาชนเข้าถึง ข้อมูลและได้รับบริการที่ดียิ่งขึ้น ไม่ชัดเจนว่าเป็นอย่างไร แผนบริหารความเสี่ยงของข้อมูลและระบบสารสนเทศ ขาดมาตรการสร้างความปลอดภัย กระบวนการทบทวนสิทธิ์ของบุคลากรในการเข้าถึงข้อมูลและการปรับปรุงข้อมูลไม่เป็นระบบ และไม่ทันสมัย ซึ่งสะท้อนถึงความเสี่ยงต่อระบบเทคโนโลยีขององค์กร เช่น การปรับปรุง สิทธิ์ของบุคลากรหากมีการโยกย้าย ลาออก หรือเกษียณ เป็นต้น

28 ประเด็นปัญหาสำคัญของการตรวจ Certified FL ที่พบบ่อย
หมวด ประเด็นปัญหา 4 (ต่อ) การดำเนินกิจกรรม KM มีเพียงการจัดทำคู่มือกระบวนการที่สร้างคุณค่า ซึ่งไม่ใช่กิจกรรม หลักที่สามารถสร้างบรรยากาศให้เกิดการเรียนรู้ในองค์การได้ การระบุประเภทของฐานข้อมูลที่สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์/กระบวนการที่สร้างคุณค่าและ กระบวนการสนับสนุนไม่ชัดเจนว่ามีฐานข้อมูลประเภทใดบ้าง (เพื่อให้ทราบถึงฐานข้อมูลที่ สำคัญของส่วนราชการ ผู้ที่จะต้องใช้ฐานข้อมูลสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และสะดวกใน การค้นหาฐานข้อมูล) ระบบบริหารความเสี่ยงของฐานข้อมูลและสารสนเทศ ไม่มีการกำหนดแนวทางแก้ปัญหาจาก สถานการณ์ต่าง ๆ ที่ชัดเจน การปรับปรุงฐานข้อมูล ไม่ชัดเจนและไม่เป็นระบบ (มีเพียงตัวอย่างของการปรับปรุง แต่ไม่ พบรายละเอียดของกระบวนการว่าจะดำเนินการอย่างไร) การบริหารความเสี่ยงระบบฐานข้อมูลมีการกำหนดเป็นมาตรการ แต่ไม่มีการจัดทำเป็น แผนงานที่ชัดเจน

29 ประเด็นปัญหาสำคัญของการตรวจ Certified FL ที่พบบ่อย
หมวด ประเด็นปัญหา 5 ไม่มีการกำหนดปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุก ไม่ได้กำหนดแนวทางในการหาปัจจัยความผาสุกที่ชัดเจนและถูกต้องตามหลักวิชาการ ก่อนที่จะมีการกำหนดแผนสร้างความผาสุก มีกระบวนการหาปัจจัยความผาสุกแต่การกำหนดปัจจัยความผาสุกขาดการวิเคราะห์ปัจจัย ความผาสุกที่ชัดเจน ไม่ได้แยกกลุ่มบุคลากรในการกำหนดปัจจัยความผาสุก รวมถึงการประเมินความผาสุกและ ความพึงพอใจ การวิเคราะห์ความพึงพอใจและความผาสุกไม่สอดคล้องกับปัจจัยที่กำหนด ไม่มีการปรับปรุงแบบสำรวจความพึงพอใจและไม่พึงพอใจของบุคลากร ไม่ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาบุคลากรให้ชัดเจนในแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล (SP3) แผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลใน SP3 ไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ มีแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล แต่ไม่มีการปฏิบัติตามแผน

30 ประเด็นปัญหาสำคัญของการตรวจ Certified FL ที่พบบ่อย
หมวด ประเด็นปัญหา 5 (ต่อ) เกณฑ์การประกันคุณภาพการฝึกอบรมไม่ครอบคลุมกระบวนการฝึกอบรมทั้งหมด มีเกณฑ์ประกันคุณภาพการฝึกอบรม แต่แนวทางการดำเนินการตามเกณฑ์ไม่ชัดเจน หรือ แนวทางที่ใช้ในการติดตามผลภายหลังการฝึกอบรมไม่ชัดเจน การประกันคุณภาพการฝึกอบรม ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์การประกันคุณภาพการฝึกอบรมที่ กำหนดไว้ การประเมินการฝึกอบรมเน้นเพียงการลดต้นทุน ไม่มีการประเมินความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการฝึกอบรม การจัดเก็บข้อมูลการประเมินผลการฝึกอบรมไม่ครอบคลุม หลักสูตร หรือหน่วยงานต่าง ๆ แผนสร้างความก้าวหน้าควรทำถึงระดับความก้าวหน้าสูงสุดในแต่ละสายงาน ไม่ได้นำแผนการสร้างความก้าวหน้าของบุคลากรไปปฏิบัติ รวมถึงการประเมินผลการดำเนินการตามแผนการสร้างความก้าวหน้าของบุคลากร

31 ประเด็นปัญหาสำคัญของการตรวจ Certified FL ที่พบบ่อย
หมวด ประเด็นปัญหา 6 ไม่มีการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างกระบวนการกับพันธกิจ ยุทธศาสตร์ และความต้องการของผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่มีข้อมูลการจัดทำข้อกำหนดกระบวนการ และตัวชี้วัดของกระบวนการสร้างคุณค่า และกระบวนการสนับสนุน การจัดทำข้อกำหนดที่สำคัญของกระบวนการที่สร้างคุณค่า แสดงการวิเคราะห์ข้อกำหนดไม่ครบถ้วนทั้ง 4 ด้าน (ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อกำหนดด้านกฎหมาย ประสิทธิภาพของกระบวนการ ความคุ้มค่าของการลดต้นทุน) การกำหนดตัวชี้วัดกระบวนการที่สำคัญ ไม่สะท้อนผลลัพธ์จากการดำเนินงานหรือตอบสนองความต้องการของ ผู้รับบริการ ขาดการติดตามประเมินตัวชี้วัดกระบวนการเพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการ แผนสำรองฉุกเฉินไม่เชื่อมโยงครอบคลุมในทุก ๆ ด้านตามพันธกิจ และขาดการดูแลระบบงานและบุคลากร ซึ่งควรทบทวนแผนสำรองฉุกเฉินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง

32 หมวด ตัวอย่างประเด็นพิจารณาที่ผ่านการประเมิน
ตัวอย่างประเด็นพิจารณาที่ผ่านการประเมิน Certified FL หมวด ตัวอย่างประเด็นพิจารณาที่ผ่านการประเมิน OP - มีความชัดเจน สอดคล้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทั้งการกำหนดพันธกิจ ค่านิยมหลัก ความท้าทายขององค์กร ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินกิจกรรม PMQA อย่างต่อเนื่อง การกำหนดเป้าหมาย แนวทางการดำเนินการ รวมทั้งรูปแบบการประเมินผลมีการกำหนดปัจจัยความสำเร็จ (Critical Success Factor) และตัวชี้วัดที่ชัดเจน 1 ผู้บริหารทุกระดับและทุกสมัยให้ความสนใจ สนับสนุน และผลักดันการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรตามเกณฑ์ PMQA อย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการมอบอำนาจมีการดำเนินการได้ถูกต้อง และชัดเจน การสื่อสารถ่ายทอดทิศทางขององค์การ ส่วนราชการมีการกำหนดช่องทาง ประเด็นการสื่อสาร ผู้สื่อสาร กลุ่มบุคลากร ความถี่ เป้าหมาย และผลการดำเนินการ แยกตามแต่ละช่องทางอย่างชัดเจน มีแนวทางในการทบทวนการดำเนินการในประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นระบบ เช่น แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดและการประเมินผลการดำเนินงาน นโยบายและผลการดำเนินงานการกำกับดูแลที่ดี รวมถึงมีการดำเนินการบริหารความเสี่ยงครอบคลุมทุกโครงการ มีการวิเคราะห์ผลกระทบทางลบที่มีต่อสังคมในด้านสิ่งแวดล้อมตาม ISO 10004

33 หมวด ตัวอย่างประเด็นพิจารณาที่ผ่านการประเมิน
ตัวอย่างประเด็นพิจารณาที่ผ่านการประเมิน Certified FL หมวด ตัวอย่างประเด็นพิจารณาที่ผ่านการประเมิน 2 แผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงกับภารกิจ และความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กร (OP) โดยกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ รวมถึงการถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติ และการสื่อสารไปยังหน่วยต่าง ๆ ให้รับทราบ และเข้าร่วมดำเนินการมีความชัดเจนและเป็นระบบ โดยการวิเคราะห์ SWOT ทำให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพ มีการนำข้อมูลจากผู้รับบริการทุกกลุ่ม ข้อมูลจากผู้บริหารทุกระดับ และผลการสำรวจความต้องการในอนาคตมากำหนดทิศทางขององค์การ และกำหนดแผนยุทธศาสตร์ขององค์การ การถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจไปสู่ผู้ปฏิบัติงานมีการดำเนินการหลากหลายวิธี และมีการประเมินความรู้ความเข้าใจในทุกระดับ

34 หมวด ตัวอย่างประเด็นพิจารณาที่ผ่านการประเมิน
ตัวอย่างประเด็นพิจารณาที่ผ่านการประเมิน Certified FL หมวด ตัวอย่างประเด็นพิจารณาที่ผ่านการประเมิน 3 - มีกระบวนการกำหนดกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการออกแบบวิธีการแนวทางการสื่อสารที่ชัดเจน และมีการประเมินความพึงพอใจ/ไม่พึงพอใจอย่างเป็นระบบ มีกระบวนการในการรับฟังและเรียนรู้ความต้องการที่ชัดเจน เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม มีการจัดทำมาตรฐานการให้บริการและคู่มือการทำงานที่ชัดเจน รวมถึงการวัดความพึงพอใจและไม่พึงพอใจที่ดำเนินการได้ครอบคลุมทุกกลุ่มของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามคุณภาพการให้บริการ มีกระบวนการในการจัดทำ flow chart ที่แสดงถึงกระบวนการพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์และมีการจัดทำคู่มือเรื่องร้องเรียนไว้อย่างชัดเจน พร้อมทั้งมีการแจ้งผู้ร้องเรียนให้ทราบสองรอบ คือ รอบแรกแจ้งสถานะของเรื่อง และรอบที่สองแจ้งผลการพิจารณาสั่งการ/ยุติเรื่อง การเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากการรับฟังความต้องการของผู้รับบริการมาใช้ในการจัดทำแผน ปฏิบัติราชการ รวมถึงการปรับปรุงกระบวนการทำงานมีความชัดเจน นอกจากนั้น ยังมีการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานในการให้บริการไว้อย่างชัดเจน พร้อมทั้งมีการประเมินความมีประสิทธิผลของการดำเนินการด้วย

35 ตัวอย่างประเด็นพิจารณาที่ผ่านการประเมิน
ตัวอย่างประเด็นพิจารณาที่ผ่านการประเมิน Certified FL หมวด ตัวอย่างประเด็นพิจารณาที่ผ่านการประเมิน 4 มีฐานข้อมูลที่สนับสนุนภารกิจต่าง ๆ ตามแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร ทั้งในด้านกระบวนงานหลัก และกระบวนงานสนับสนุนอย่างชัดเจน โดยมีกระบวนการและแนวทางในการทบทวน และวิเคราะห์ฐานข้อมูล การจัดการฐานข้อมูล รวมถึงกระบวนการในการปรับปรุงฐานข้อมูลเดิมที่มีประสิทธิผล นอกจากนี้ แนวทางที่ใช้ในการประเมินและปรับปรุงเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและการบริการได้ง่าย มีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจนเช่นเดียวกัน มีแนวทางในการเฝ้าระวัง และเตือนภัยที่สามารถรองรับการติดตามผลการปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว การกำหนดนโยบาย และแนวปฏิบัติสำหรับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความชัดเจนและเป็นระบบ มีการนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิผล รวมถึงมีกระบวนการที่ชัดดเจน และเป็นระบบในการจัดทำ และทบทวนฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนทั้งยุทธศาสตร์ กระบวนการที่สร้างคุณค่า และกระบวนการสนับสนุน มีการดำเนินการจัดการความรู้ (KM) ที่สมบูรณ์ ครบถ้วน ตามกระบวนการ KM โดยจัดทำเป็นรูปแบบในลักษณะ Explicit แยกตามกลุ่มผู้เรียนรู้ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป มีกระบวนการจัดการองค์ความรู้ (KM) ที่ดี สอดคล้องกับยุทธศาสตร์

36 หมวด ตัวอย่างประเด็นพิจารณาที่ผ่านการประเมิน
ตัวอย่างประเด็นพิจารณาที่ผ่านการประเมิน Certified FL หมวด ตัวอย่างประเด็นพิจารณาที่ผ่านการประเมิน 5 มีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลที่ดีและชัดเจน แผนการสร้างความผาสุขแก่ผู้ปฏิบัติงาน มีการกำหนดปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุก และความพึงพอใจตามกลุ่มบุคลากร และมีการประเมินความผาสุกและความพึงพอใจแยกตามกลุ่มบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงานมีความชัดเจน เป็นระบบ และมีการแจ้งผลการปฏิบัติงานให้กับบุคลากรได้รับทราบ และนำไปปรับปรุง มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง โดยนำเกณฑ์ประกันคุณภาพมากำกับในการฝึกอบรม

37 หมวด ตัวอย่างประเด็นพิจารณาที่ผ่านการประเมิน
ตัวอย่างประเด็นพิจารณาที่ผ่านการประเมิน Certified FL หมวด ตัวอย่างประเด็นพิจารณาที่ผ่านการประเมิน 6 มีการจัดทำข้อกำหนดกระบวนการ และตัวชี้วัดของกระบวนการที่สร้างคุณค่า และกระบวนการสนับสนุนอย่างชัดเจน มีแนวทางที่ใช้ในการออกแบบกระบวนการที่ชัดเจนเป็นระบบ รวมถึงการสื่อสารเพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้อง - มีระบบรองรับภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ ที่ชัดเจน โดยมีแผนสำรองฉุกเฉิน มีการสื่อสารแผน การซ้อม แผน และทบทวนแผนที่ส่งผลให้การปฏิบัติงานมีความต่อเนื่อง เช่น กรณีไฟไหม้ (มีการ ซักซ้อมตามแผนภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งจัดทำวีดีทัศน์เผยแพร่ให้บุคลากรทราบโดยทั่วกัน) กรณี น้ำท่วม (มีการแจ้งภาวะฉุกเฉินให้กับบุคลากรทางระบบ OA = office automatic เช่น หากน้ำ ท่วมให้ย้ายไปทำงานที่สถานที่อื่นที่ระบุไว้ตามแผนภาวะฉุกเฉิน) - แนวทางที่ใช้ในการออกแบบและพิจารณาข้อกำหนดของกระบวนการมีความชัดเจน และมีการกำหนดตัวชี้วัดของกระบวนการที่สอดคล้องกับข้อกำหนดที่สำคัญ รวมถึงมีการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ครบถ้วน และนำไปใช้งานอย่างทั่วถึง

38 Q & A , # 8916, 8985, 8804


ดาวน์โหลด ppt สำนักงาน ก.พ.ร. เปิดบ้านจัดคลินิกให้คำปรึกษาการตรวจรับรองคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Certified FL) 6 ก.พ. 56 – 13 มี.ค. 56.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google