ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยKaranyapat Jurangkool ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
โครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ความเป็นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากรดิน ด้วยทรงเห็นว่าดินเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญเช่นเดียวกับน้ำ จึงมีพระราชดำริเริ่มให้มีการนำหญ้าแฝก ซึ่งเป็นพืชที่มีคุณลักษณะพิเศษที่มีรากยาวหยั่งลึกแผ่กระจายเป็นตาข่ายลงไปในดินเสมือนเป็นกำแพงธรรมชาติที่มีชีวิตมาใช้แก้ปัญหาการชะล้างพังทลายของดินที่ส่งผลต่อความเสื่อมโทรมแก่ทรัพยากรดิน จึงพระราชทานพระราชดำริเรื่องนี้ครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2534 และได้มีพระราชดำริอย่างต่อเนื่องครอบคลุมการดำเนินงานทุกด้าน ทั้งด้านศึกษา วิจัย วิธีการปลูก และการใช้ประโยชน์ โดยทรงให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบ 60 ปี ในปีพุทธศักราช 2549 และเนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2550 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างปี และยังคงดำเนินการเรื่อยมาจนปัจจุบัน เพื่อรณรงค์ส่งเสริมและขยายผลให้ประชาชนปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ และนำหญ้าแฝกไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม กว้างขวางและต่อเนื่อง ภายใต้การสนับสนุนของ 11 หน่วยงาน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เป็นหน่วยงานกลางในการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทิศทางการดำเนินงาน ส.ป.ก. ได้จัดทำโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ มาตั้งแต่ปี 2548 โดยประสานงานกับ ส.ป.ก.จังหวัด เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรและชุมชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ พร้อมให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน นอกจาก นั้นยังได้ประสานงานกับกรมพัฒนาที่ดินในการขอรับการสนับสนุนพันธุ์กล้าหญ้าแฝก สำหรับแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ส.ป.ก. ได้พยายามส่งเสริมให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินปลูกหญ้าแฝกอย่างต่อเนื่อง เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกอย่างเหมาะสม และได้จัดทำโครงการติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกฯ เพื่อศึกษาผลการดำเนินงาน ประเด็นปัญหาและอุปสรรค เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการต่อไป
2
วัตถุประสงค์ - เพื่อรณรงค์และขยายผลการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน - เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำ โดยเฉพาะการป้องกันการชะล้าง พังทลายของหน้าดินและการทลายชั้นดินดาน - เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของหญ้าแฝกอย่างเหมาะสม องค์ความรู้/การจัดการ - หญ้าแฝกกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ การแก้ปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน การแก้ปัญหาดินดาน - การจัดการพื้นที่เชิงอนุรักษ์ เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ประโยชน์ที่ได้รับ - หญ้าแฝกได้รับความนิยมและปลูกกันอย่างแพร่หลายในเขต ปฏิรูปที่ดิน - ปัญหาเรื่องการชะล้างพังทลายของหน้าดินและดินดานลดลง - มีการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกอย่างเหมาะสม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตปฏิรูปที่ดินได้รับการ อนุรักษ์และฟื้นฟู ผลการดำเนินงาน ปี ดำเนินการปลูกหญ้าแฝกในเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน 11,585,930 กล้า เนื้อที่ประมาณ 2,500 ไร่ ผลที่ได้รับ/คาดว่าจะได้รับ - พื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ทรัพยากร ดินและน้ำได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู - เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยทรัพยากรดิน และน้ำที่สมบูรณ์
3
แผนดำเนินงาน ปี 2555 งบประมาณ 2,954,400 บาท
พัฒนาองค์ความรู้ ให้แก่เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ หลักสูตร “หญ้าแฝกกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรในเขต ปฏิรูปที่ดิน” จำนวน 72 ราย - ภาคเหนือตอนบน (9 จังหวัด) จำนวน 27 ราย - ภาคเหนือตอนล่าง (8 จังหวัด) จำนวน 24 ราย - ภาคใต้ตอนบน (7 จังหวัด) จำนวน 21 ราย ดำเนินการปลูกหญ้าแฝกในเขตปฏิรูปที่ดิน 66 จังหวัด จำนวน 5,202,500 กล้า
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.