งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ผ่านกลไกสถานบันศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ผ่านกลไกสถานบันศึกษา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ผ่านกลไกสถานบันศึกษา
เป้าหมายโครงการฯ ปี มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 7,380 คน 1. สถาบันอาชีวศึกษา จำนวน แห่ง ยุวเกษตรกร ปวช./ปวส. จำนวน 1,410 คน 2. บุคคลที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 5,970 คน ผลการดำเนินงาน ส.ป.ก. รับสมัครบุคคลสนใจเข้าร่วมโครงการ หลักสูตรเฉพาะทาง 2,151 ราย (152.55%) หลักสูตรครบวงจร 4,638 คน (101.71%)

2 ผลการตรวจราชการ 1. ผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่างๆ ดำเนินการได้ตามเป้าหมาย 2. ยังไม่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานให้บรรลุข้อตกลงร่วมกัน แต่ละหน่วยงานทำงานเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ประสานการอบรมร่วมกัน ส่วนกลางไม่ได้รับรายงานถึงบทบาทของสถาบันอาชีวศึกษาที่ร่วมโครงการ 3. การกำหนดเป้าหมายจำนวนเกษตรกร ต้องจัดทำรายชื่อเกษตรกรให้ส่วนกลาง และประสานแจ้งรายชื่อส่งต่อให้หน่วยงานอื่น หากรายชื่อใดไม่ตรงกันต้องปรับแก้ไขใหม่ 4. บางจังหวัดไม่มีพื้นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินว่างหรือเพียงพอ สำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่/นักศึกษาเข้าดำเนินกิจกรรมทางการเกษตร ส่วนกลางควรเตรียมแผนจัดหาพื้นที่

3 ปัญหาและอุปสรรค 1. ผู้ปฏิบัติขาดความชัดเจนในตัวโครงการ บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน 2. ขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน เนื่องจากการโอนเงินงบประมาณของแต่ละหน่วยงานไม่พร้อมกัน และในเรื่องรายชื่อเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการไม่ตรงกัน 3. เพื่อให้ได้บุคคลครบตามเป้าหมาย บางจังหวัดได้มีผู้สูงอายุซึ่งมีอาชีพเกษตรเข้าร่วมโครงการ 4. หลักสูตรฝึกอบรมถูกกำหนดจากส่วนกลาง บางหลักสูตรไม่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน

4 ข้อเสนอแนะ 1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ควรกำกับ ดูแลโครงการ จัดประชุมชี้แจงให้เกิดความชัดเจน เพื่อบรรลุผลตามกรอบความร่วมมือที่ตกลงไว้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ 2. ควรมีการวางแผนกำหนดหลักสูตร จัดทำแผนงาน งบประมาณ ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ และ ส.ป.ก. ควรรายงานผลการดำเนินงานให้ทั้ง 2 กระทรวงทราบ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริหารโครงการฯ 3. การดำเนินงานโครงการควรเป็นไปตามกรอบความร่วมมือ โดยต้องให้หน่วยงานที่ปฏิบัติในพื้นที่ไม่สับสนระหว่าง โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ กับ โครงการบ่มเพาะเกษตรกรอนาคตในเขตปฏิรูปที่ดิน 4. ควรดำเนินงานโครงการในพื้นที่ที่มีความพร้อม ให้ความสำคัญ และยอมรับเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ และทบทวนว่า ควรทำในสถาบันอาชีวศึกษาทั้ง 76 แห่ง หรือไม่ 5. โครงการนี้นับเป็นโครงการที่ดี หากหน่วยงานมีความพร้อม และมีบูรณาการ เพราะเป็นโครงการที่สร้างโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ ทรัพยากรที่ดิน อาชีพ พัฒนาอาชีพเกษตรกรรม และแหล่งเงินทุน


ดาวน์โหลด ppt โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ผ่านกลไกสถานบันศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google