งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ส่วนที่ 1 Introduction to System Development

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ส่วนที่ 1 Introduction to System Development"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ส่วนที่ 1 Introduction to System Development
ความรู้พื้นฐานในการพัฒนาระบบ

2 Chapter 3 Information System Development การพัฒนาระบบสารสนเทศ

3 Learning Objectives อธิบายแนวทางจัดหาระบบสารสนเทศเพื่อใช้งานภายในองค์กร ประยุกต์ใช้วงจรการพัฒนาระบบและแนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนา ระบบได้ อธิบายและเลือกใช้แนวทางในการพัฒนาระบบสารสนเทศ อธิบายหลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ประยุกต์ใช้การพัฒนาระบบโดยใช้วงจรการพัฒนาระบบ อธิบายเครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาระบบ 3.2

4 Topics แนวทางจัดหาระบบสารสนเทศเพื่อใช้งานภายในองค์กร
การพัฒนาระบบสารสนเทศ ทีมงานการพัฒนาระบบสารสนเทศ ข้อปฏิบัติในการพัฒนาระบบ รูปแบบวงจรการพัฒนาระบบ การพัฒนาระบบโดยใช้วงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) เครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาระบบ (Computer-Aided Systems Engineering : CASE) 3.3

5 แนวทางจัดหาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ภายในองค์กร
ในการจัดหาระบบสารสนเทศให้เกิดขึ้นภายในองค์กร จัดทำได้ 3 วิธี พัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นเองโดยอาศัยเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ภายในองค์กรเป็นผู้พัฒนาระบบ ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจัดทำระบบให้ การซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จมาใช้ 3.4

6 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
การพัฒนาระบบสารสนเทศ คือ การสร้างระบบงานใหม่หรือการ ปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมที่มีอยู่แล้วให้สามารถทำงานเพื่อแก้ปัญหา การดำเนินงานทางธุรกิจได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน โดยอาจ นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อประมวลผล เรียบเรียง เปลี่ยนแปลงและจัดเก็บ ให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 3.5

7 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
สาเหตุที่ก่อให้เกิดความคิดในการพัฒนาระบบสารสนเทศใหม่ ขึ้นมาทดแทนระบบเดิม ได้ดังนี้ ระบบสารสนเทศที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอาจไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ระบบได้ ระบบสารสนเทศที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สามารถสนับสนุนการดำเนินงานในอนาคตได้ เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศในปัจจุบันอาจล้าสมัย มีต้นทุนสูง ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามากและมีประสิทธิภาพต่ำ ระบบสารสนเทศปัจจุบันมีขั้นตอนที่ใช้งานที่ยุ่งยากและซับซ้อน ทำให้การใช้งาน ควบคุมกลไกในการดำเนินงาน การตรวจสอบข้อผิดพลาด และการบำรุงรักษาข้อมูลทำได้ยาก ระบบเอกสารในระบบสารสนเทศปัจจุบันไม่มีมาตรฐานหรือขาดเอกสารที่ใช้อ้างอิงระบบ เป็นผลให้การปรับปรุงหรือแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมทำได้ยาก 3.6

8 ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศ
คณะกรรมการดำเนินงาน (Steering Committee) มีหน้าที่ในการตัดสินใจ กำหนดรูปแบบ และวัตถุประสงค์ของสารสนเทศ ผู้จัดการระบบสารสนเทศ (MIS Manager) มีหน้าที่ดูแลและประสานงานในการวางแผน โครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กร ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) มีหน้าที่รับผิดชอบในการวางแผน การจัดการ และควบคุมให้งานในโครงการดำเนินไปอย่างราบรื่น สำเร็จลุล่วงและมีประสิทธิภาพ นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือผู้ที่เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างระบบสารสนเทศกับกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบที่ต้องการพัฒนาขึ้นมาอีกด้วย โปรแกรมเมอร์หรือนักเขียนโปรแกรม (Programmer) มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุดคำสั่งหรือเขียนโปรแกรม 3.7

9 ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศ
เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล (Information Center Personnel) มีหน้าที่คอยช่วยเหลือนักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์ในการพัฒนาระบบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ เพื่อนำมาใช้งานได้ตามต้องการ ผู้จัดการทั่วไป (User and General Manager) เป็นบุคคลที่มีหน้าที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบงานเดิม และกำหนดความต้องการในระบบใหม่แก่ทีมงานพัฒนาระบบ เพื่อพัฒนาให้ระบบใหม่มีประสิทธิภาพและเป็นที่พึ่งพอใจกับผู้ใช้ ผู้ใช้ระบบ (System User) หมายถึง บุคคลที่ควบคุมและดูแลระบบสารสนเทศขององค์กรหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศโดยตรง 3.8

10 ข้อปฏิบัติในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
คำนึงถึงเจ้าของระบบและผู้ใช้ระบบ พยายามเข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด ต้องพยายามจับประเด็นถึงสาเหตุของปัญหาให้ได้โดยมีแนวทางดังนี้ ศึกษาและทำความเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาของระบบนั้น กำหนดความต้องการของวิธีแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม ระบุถึงวิธีแก้ไขปัญหาแต่ละวิธีและเลือกวิธีที่ดีที่สุด ออกแบบหรือลงมือแก้ปัญหานั้น สังเกตและประเมินผลกระทบจากวิธีแก้ปัญหาที่ได้ลงมือกระทำการลงไป และทำการปรับปรุงจนสมบูรณ์ในที่สุด 3.9

11 ข้อปฏิบัติในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
การกำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการทำงาน จัดทำมาตรฐานในระหว่างการพัฒนาระบบและการควบคุมเอกสาร ด้านการปฏิบัติงาน (Activity) ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibility) ด้านการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Check) ด้านเอกสารคู่มือหรือรายละเอียดความต้องการ (Documentation Guideline or Requirement) 3.10

12 ข้อปฏิบัติในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
เตรียมความพร้อมหากโครงการถูกยกเลิกหรือต้องทบทวนใหม่ โครงการนั้นไม่สามารถบรรลุผลได้ มีการเพิ่มขอบเขตของโครงการ ลดขอบเขตโครงการเพื่อจำกัดงบประมาณและแผนการของโครงการ ออกแบบระบบเพื่อรองรับการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงในอนาคต 3.11

13 System Development Life Cycle : SDLC
เป็นกระบวนการทางความคิด (Logic Process) ในการพัฒนาระบบ สารสนเทศ เพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจและตอบสนองความต้องการของ ผู้ใช้ได้ SDLC แบ่งออกเป็นระยะ ๆ (Phases) ดังนี้ Planning Phase Analysis Phase Design Phase Implement Phase 3.12

14 System Development Life Cycle : SDLC
รูปแบบของวงจรการพัฒนาระบบ Waterfall Adapted Waterfall Evolutionary Incremental Spiral 3.13

15 SDLC แบบ Waterfall SDLC แบบ Waterfall มีหลักการเปรียบเสมือนกับน้ำตก ซึ่งไหล จากที่สูงลงที่ต่ำ และไม่สามารถย้อนกลับได้ การพัฒนาระบบงานด้วยหลักการนี้ จำเป็นจะต้องมีการวางแผนที่ดี เพื่อป้องกันการผิดพลาดให้ได้มากที่สุดซึ่งทำได้ยาก ยกเว้นกรณีที่ ระบบนั้นมีรูปแบบการพัฒนาระบบที่ดีอยู่แล้ว จุดอ่อนของระบบนี้คือ หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นที่ขั้นตอนก่อนหน้านี้ แล้ว ไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ 3.14

16 SDLC แบบ Waterfall 3.15

17 SDLC แบบ Adapted Waterfall
SDLC แบบ Adapted Waterfall พัฒนามาจากแบบ Waterfall โดยในแต่ละขั้นตอนสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดหรือสามารถย้อนกลับ ได้ 3.16

18 SDLC แบบ Evolutionary SDLC แบบ Evolutionary จะพัฒนาระบบงานจนเสร็จสิ้นใน Version ที่ 1 ก่อน จากนั้นจะพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียใน Version ที่ 1 และนำข้อดีข้อเสียเหล่านั้นมาพัฒนาระบบในVersion ที่ 2 และ Version ต่อ ๆ ไป 3.17

19 SDLC แบบ Incremental SDLC แบบ Incremental จะมีลักษณะคล้ายคลึงแบบ
Evolutionary แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ตัว Product (ระบบ) ที่พัฒนาขึ้นจะเป็นส่วนแรกเท่านั้น และพัฒนาในส่วนที่ 2 และส่วน อื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อ Product (ระบบ) ที่สมบูรณ์ 3.18

20 SDLC แบบ Spiral SDLC แบบ Spiral จะมีลักษณะเป็นวงจรวิเคราะห์-ออกแบบ-
พัฒนา-ทดสอบ (Analysis-Design-Implementation-Testing) และจะวนกลับมาในแนวทางเดิมไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งได้ Product ที่ สมบูรณ์ การพัฒนาระบบงานแบบ Spiral จะมีความยืดหยุ่นมากที่สุดเพราะ ระยะเวลาในการทำแต่ละขั้นตอนจะสั้นหรือยาวก็ได้ และบางขั้นตอน อาจถูกข้ามไปก็ได้ 3.19

21 SDLC แบบ Spiral 3.20

22 System Development Life Cycle : SDLC
3.21

23 ตัวอย่างแผนภาพเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้
System Development Life Cycle : SDLC ค้นหาและเลือกสรรโครงการ (Project Identification and Selection) กิจกรรม ตัวอย่างแผนภาพเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ 1. ค้นหาโครงการพัฒนาระบบที่เห็นสมควรได้รับการพัฒนา 2. จำแนกและจัดลำดับโครงการ 3. เลือกโครงการที่เหมาะสมที่สุด ตารางเมตริกซ์ (Matrix Table) 3.22

24 ตัวอย่างแผนภาพเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้
System Development Life Cycle : SDLC 2. เริ่มต้นและวางแผนโครงการ (Project Initiating and Planning) กิจกรรม ตัวอย่างแผนภาพเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ 1. เริ่มต้นโครงการ 2. เสนอแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งาน 3. วางแผนโครงการ เทคนิคการรวบรวมสารสนเทศและข้อเท็จจริง (Fact-Finding and Information Gathering) เทคนิคการวิเคราะห์ต้นทุนและผลกำไร (Cost-benefit Analysis) PERT Chart Gantt Chart 3.23

25 ตัวอย่างแผนภาพเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้
System Development Life Cycle : SDLC 3. วิเคราะห์ระบบ (System Analysis) กิจกรรม ตัวอย่างแผนภาพเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ 1. ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิม 2. กำหนดความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบ 3. จำลองแบบขั้นตอนการทำงาน 4. อธิบายขั้นตอนการทำงานของระบบ เทคนิคการรวบรวมสารสนเทศและข้อเท็จจริง (Fact-finding and Information Gathering) แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล (E-R Diagram) พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ตัวต้นแบบ (Prototyping) ผังงานระบบ (System Flowchart) เครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ (CASE Tools) 3.24

26 ตัวอย่างแผนภาพเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้
System Development Life Cycle : SDLC 4. ออกแบบเชิงตรรกะ (Logical Design) กิจกรรม ตัวอย่างแผนภาพเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ 1. ออกแบบแบบฟอร์มข้อมูลและรายงาน (Form/Report) 2. ออกแบบ User Interface 3. ออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะ แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล (E-R Diagram) พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ตัวต้นแบบ (Prototyping) เครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ (CASE Tools) 3.25

27 ตัวอย่างแผนภาพเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้
System Development Life Cycle : SDLC 5. ออกแบบเชิงกายภาพ (Physical Design) กิจกรรม ตัวอย่างแผนภาพเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ 1. ออกแบบฐานข้อมูลในระดับกายภาพ 2. ออกแบบ Application แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล (E-R Diagram) พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ตัวต้นแบบ (Prototyping) เครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ (CASE Tools) 3.26

28 ตัวอย่างแผนภาพเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้
System Development Life Cycle : SDLC 6. พัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation) กิจกรรม ตัวอย่างแผนภาพเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ 1. เขียนโปรแกรม (Coding) 2. ทดสอบโปรแกรม (Testing) 3. ติดตั้งระบบ (Installation) 4. จัดทำเอกสาร (Documentation) 5. ฝึกอบรม (Training) 6. บริการให้ความช่วยเหลือหลังการ ติดตั้ง (Support) โปรแกรมช่วยสอน (Computer Aid Instruction: CAI) ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรม (Computer-based Training: CBT) ระบบการฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Training: WBT) โปรแกรมแก้ไขข้อผิดพลาด (Debugging Program) 3.27

29 ตัวอย่างแผนภาพเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้
System Development Life Cycle : SDLC 7. ซ่อมบำรุงระบบ (System Maintenance) กิจกรรม ตัวอย่างแผนภาพเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ 1. เก็บรวบรวมคำร้องขอให้ปรับปรุงระบบ 2. วิเคราะห์ข้อมูลคำร้องขอเพื่อการปรับปรุง 3. ออกแบบการทำงานที่ต้องการปรับปรุง 4. ปรับปรุงระบบ แบบฟอร์มแจ้งข้อผิดพลาดของระบบ 3.28

30 เครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาระบบ
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ช่วยการพัฒนาระบบ (Computer-Aided Systems Engineering-CASE ) เป็นเทคนิควิธีที่ใช้โปรแกรมที่มี ความสามารถสูงเป็นเครื่องมือ เรียกย่อๆ ว่า CASE Tools 3.29

31 เครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาระบบ
ขอบข่ายของเครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาระบบ (CASE Tool Framework) มี 2 ช่วง Upper-CASE เป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการทำงานในขั้นตอนต้นๆ ของการพัฒนาระบบ ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการวิเคราะห์ และขั้นตอนการออกแบบระบบ Lower-CASE เป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการทำงานในขั้นตอนสุดท้ายในการพัฒนาระบบ ได้แก่ ขั้นตอนการออกแบบ ขั้นตอนการพัฒนาและทดสอบระบบ และขั้นตอนการให้บริการหลังการติดตั้งระบบ 3.30

32 เครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาระบบ
คุณสมบัติและความสามารถของ CASE ( Facilities and Functions) เครื่องมือช่วยสร้างแผนภาพ (Diagram Tools) ใช้ในการเขียนแผนภาพเพื่อจำลองสิ่งต่างๆ ของระบบซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับแบบจำลองส่วนอื่นได้ เครื่องมือช่วยเก็บรายละเอียดต่างๆ ของระบบ (Description Tools) เครื่องมือช่วยสร้างตัวต้นแบบ (Prototyping Tools) เครื่องมือช่วยสร้างรายงานแสดงรายละเอียดของแบบจำลอง (Inquiry and Reporting) ใช้ในการสร้างรายงานรายละเอียดต่างๆ ของแบบจำลองซึ่งถูกเก็บไว้ใน Repository ได้ เครื่องมือเพื่อคุณภาพของแบบจำลอง (Quality Management Tools) 3.31

33 เครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาระบบ
คุณสมบัติและความสามารถของ CASE ( Facilities and Functions) เครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Tools) เครื่องมือช่วยจัดการเอกสาร (Documentation Organization Tools) เครื่องมือช่วยออกแบบ (Design Generation Tools) เครื่องมือช่วยสร้างโค้ดโปรแกรม (Code Generator Tools) เครื่องมือช่วยทดสอบ (Testing Tools) เครื่องมือช่วยให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน (Data Sharing Tools) 3.32

34 เครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาระบบ
ประโยชน์ที่ได้จากการใช้ CASE มีการพัฒนาคุณภาพในการทำงาน มีการสร้างเอกสารที่ดี ประหยัดเวลาในการบำรุงรักษาให้ข้อมูลนั้นเป็นปัจจุบันมากที่สุด 3.33

35 Reference Book and Text Book
ตำราอ้างอิง การวิเคราะห์และออกแบบระบบ กิตติ ภักดีวัฒนกุล และพนิดา พานิชกุล Modern Systems Analysis & Design : Jeffrey A. Hoffer, Joey F.George, Joseph S. Valacich เว็บไซต์ 3.34

36 Q & A 3.35


ดาวน์โหลด ppt ส่วนที่ 1 Introduction to System Development

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google