งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รองศาสตราจารย์ ดร. สำรี มั่นเขตต์กรน์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รองศาสตราจารย์ ดร. สำรี มั่นเขตต์กรน์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ผลกระทบของรังสีในอวกาศต่อสิ่งแวดล้อมบนโลกและผลทางรังสีชีววิทยาในมนุษย์ (2)
รองศาสตราจารย์ ดร. สำรี มั่นเขตต์กรน์ หน่วยวิจัยเคมีฟิสิกส์ ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล ศูนย์วิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านการสร้างภาพระดับโมเลกุล ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50200 อีเมลล์: และ

2

3 Source: www.global-greenhouse-warming.com/
Greenhouse Effect ภูมิอากาศของโลกเกิดจากการไหลวนของพลังงานจากดวงอาทิตย์ พลังงานนี้ส่วนใหญ่เข้ามาสู่โลกในรูปแสงแดด ประมาณร้อยละ 30 ของพลังงานที่เดินทางมาสู่โลกได้ สะท้อนกลับไปสู่ห้วงอวกาศ แต่อีกร้อยละ 70 ได้ถูกดูดซับโดยผ่านชั้นบรรยากาศลงมาให้ความอบอุ่นกับพื้นผิวโลก โลกต้องส่งพลังงานเหล่านี้กลับสู่อวกาศในรูปของแสงอินฟราเรด เนื่องจากโลกมีบรรยากาศที่เย็นกว่าดวงอาทิตย์มาก จึงไม่สามารถส่งพลังงานในรูปแสงได้เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ แต่จะส่งกลับพลังงานในรูปของอินฟราเรดหรือรังสีความร้อน การที่โลกได้สะท้อนเอาความร้อนออกไปบ้างช่วยทำให้โลกไม่ร้อนจนเกินไปซึ่งคล้าย ๆ กับการที่เราดึงเอาถ่านร้อน ๆ ออกจากเตาก่อนที่เหล็กที่วางอยู่บนเตาจะร้อนจนแดงนั่นเอง"ก๊าซเรือนกระจก" ในบรรยากาศเป็นสิ่งขวางกั้นแสงอินฟราเรดที่โลกสะท้อนกลับจากพื้นผิวสู่บรรยากาศได้เหมือนกับแสงสว่าง ดังนั้น พลังงานที่ส่งออกจากพื้นผิวของโลกจึงเป็นการส่งออกโดยกระแสลมและเมฆที่อยู่บนชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นไปด้วยก๊าซเรือนกระจก ปรากฏการณ์ที่ความร้อนถูกกักเก็บไว้ในชั้นบรรยากาศนี้ เป็นที่รู้จักกันว่า "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (Greenhouse Effect) เนื่องจากเป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาพที่เกิดขึ้นภายในเรือนกระจกที่ใช้สำหรับปลูกพืชในประเทศเขตหนาว โดยแสงแดดสามารถส่องผ่านให้ความอบอุ่นภายในเรือนกระจกได้ แต่กระจกสามารถสะท้อนไม่ให้ความร้อนออกไปจากเรือนกระจกได้ จึงสามารถคงอุณหภูมิภายในเรือนกระจกไม่ให้หนาวเย็นเหมือนภายนอกได้ Photo: Basuki; Source:

4 Combustion of fossil fuels and forest fires
Greenhouse Gases Water vapor Combustion of fossil fuels and ploughing farm soils Protective layer in the upper atmosphere from UV radiation. If excessive produced caused air pollution such as smog & fog ส่วนประกอบหลัก 6 ชนิดในก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ โอโซน คลอโรฟลูออโรคาร์บอน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ เช่นมีเทน (CH4) และไนตรัสออกไซด์ (N2O) มีอยู่ในบรรยากาศโลกในปริมาณน้อย มีคุณสมบัติในการดูดกลืนพลังงานความร้อน จึงเรียกว่าก๊าซเรือนกระจก เมื่อก๊าซเหล่านี้มีปริมาณมากขึ้น บรรยากาศโลกจึงดูดกลืนพลังงานความร้อนไว้เพิ่มขึ้น จากปกติที่ควรแผ่รังสีพลังงานความร้อนคืนกลับออกไปนอกบรรยากาศโลก ส่งผลให้สมดุลของพลังงานโลกเปลี่ยนแปลงไป อุณหภูมิโลกสูงขึ้น เกิดผลกระทบต่อเนื่องนานัปการ เช่น ฤดูกาลและปริมาณน้ำฝนเปลี่ยนแปลง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเนื่องจากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำทะเลขยายตัวเนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้น เกิดพายุและภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้นและถี่ขึ้น เป็นต้น Use of refrigerators, air conditioners, aerosol spray and cleaning agents cause depletion of atmospheric ozone layer Animal husbandry, irrigated agriculture and oil extraction ดร. จิรพล สินธุนาวา 4 Modified from Dr. Chirapol Sinthunawa

5 …and “climate change” is happening!!
“ Global climate change is happening !” CH4 released from paddy field, animal husbandry and landfills Loaded greenhouse gases by man-made at atmosphere Emitted CO2 by burning fossil fuels for power and by deforestation สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้โลกร้อนขึ้น ก็เนื่องมาจาก การเกิดก๊าซเรือนกระจกจากการการกระทำของมนุษย์ การเผาไหม้พลังงานทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การตัดไม้ทำลายป่า การทำการเกษตรและปศุสัตว์เกิดก๊าซมีเธน ปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศทำให้เกิดภาวะก๊าซเรือนกระจกขึ้น IPCC = Intergovernmental Panel on Climate Change Source : IPCC

6 CO2 levels will arise another twice times by the year 2100.
บรรยากาศโลกและสิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการร่วมกันมายาวนาน กระบวนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ได้ แต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมตั้งแต่ ค.ศ เป็นต้นมา ทำให้มีการนำพลังงานฟอสซิล (fossil fuel) เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีคาร์บอนมาใช้ การใช้พลังงานเหล่านี้ทำให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ปริมาณก๊าซนี้เพิ่มขึ้นจาก 50% ppm (ส่วนในล้านส่วน) ในช่วงก่อน ค.ศ เป็น 356 ppm ในปัจจุบัน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 2 เท่า (700 ppm) ภายใน ค.ศ. 2100

7 USA, Saudi Arabia released highest CO2 per head of population in the world.
Thailand จากกราฟ เป็นการแสดงการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหัวประชากรในรายประเทศ พบว่าประเทศสหรัฐอเมริกา ซาอุดิอาระเบีย มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหัวประชากรสูงกว่าประเทศอื่นๆ

8 Wider Ozone hole prevent less UV radiation
ปัญหานี้มีความสำคัญต่อระบบภูมิอากาศทั่วโลก คือ ทำให้บรรยากาศชั้นสูง ๆ เย็นลง และรังสีอัลตราไวโอเลตส่องถึงพื้นโลกมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต เช่น พบว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งผิวหนังมากขึ้น

9 CFCs (Chlorofluorocarbon)

10 The Vienna Convention for the Protection of the Ozone Layer
In 1981 the United Nations Environment Organization has established the legal and technical working group for drafting to achieve agreements in international treaties to resolve the damage called the Vienna Convention on ozone layer protection. Contains a pledge to cooperate in research and surveillance data exchange volume Emissions and destroy the ozone layer as well as control the operation of the Convention to the future with the Vienna Convention ในปี พ.ศ องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้จัดตั้งคณะทำงานด้านกฎหมายและวิชาการ เพื่อวางโครงร่าง สำหรับการปกป้องชั้นโอโซน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความตกลงในรูปสนธิสัญญาระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาการทำลาย ชั้นโอโซน เรียกว่าอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยการป้องกันชั้นโอโซน อนุสัญญาเวียนนาประกอบด้วยคำปฏิญาณในอันที่จะร่วมมือกันในการศึกษาค้นคว้า เฝ้าระวัง และการแลกเปลี่ยนข้อมูลปริมาณการผลิต และการปล่อยสารทำลายชั้นโอโซน รวมถึงการดำเนินการควบคุมตามอนุสัญญาที่จะกำหนดขึ้นในอนาคตด้วย โดยได้มีประเทศต่างๆจำนวน 28 ประเทศ ร่วมกันให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาดังกล่าวครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 The Vienna Convention for the Protection of the Ozone Layer adopted in March 1985, entered into force, 1988 by 28 countries Source: Hazardous Substances Control Bureau

11 The Montreal Protocol on Substances that Deplete the Ozone Layer
To have negotiated the draft regulations and measures to prevent the destruction of the ozone layer under the Vienna Convention, which the draft was completed in the short time on 16 September 1987 at City Diamond Three Seasons of Canada in 47 countries worldwide, entered into force, 1989 Currently, 184 countries around the world have jointly ratified the Vienna Convention included Thailand หลังจากการยอมรับอนุสัญญาเวียนนาเพียง 2 เดือน ได้มีการตีพิมพ์บทความรายงานการสำรวจทวีปแอนตาร์คติคของคณะสำรวจชาวอังกฤษ ได้เปิดเผยถึงปริมาณโอโซนที่ลดลงอย่างน่าวิตก จนเกิดลักษณะ “หลุมโอโซน” (Ozone Hole) ขึ้นเหนือทวีปแอนตาร์คติคซึ่งลักษณะการเกิดหลุมโอโซนดังกล่าวนี้ได้ถูกตรวจพบ ได้มีการตั้งข้อสงสัยว่าสาร CFCs อาจเป็นต้นเหนุของการเกิดหลุมโอโซน จากข้อมูลข้างต้นได้ผลักดันให้องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ในฐานะหน่วยงานกลางด้านสิ่งแวดล้อมดำเนินการให้มีการเจรจาต่อรองเพื่อร่างข้อกำหนด และมาตรการเพื่อการยับยั้งการทำลายชั้นโอโซน ภายใต้อนุสัญญาเวียนนา ซึ่งสามารถร่างแล้วเสร็จได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ ที่นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา และได้เรียกข้อกำหนดนี้ว่า พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน ดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงการให้สัตยาบันต่อพิธีสารฉบับนี้ ในปี พ.ศ องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายนของทุกปีเป็นวันโอโซนสากล และขอความร่วมมือให้ประเทศภาคีสมาชิกจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการปกป้องชั้นโอโซน ปัจจุบันนี้มีประเทศต่างๆ จากทั่วโลกได้ร่วมกันให้สัตยาบันตามอนุสัญญาเวียนนาแล้ว 184 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วยและในจำนวนนี้ได้ให้สัตยาบันต่อ พิธีสารมอนทรีออลแล้ว 183 ประเทศ พิธีสารมอนทรีออลมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ คือ ความยืดหยุ่นซึ่งจะทำให้สามารถรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามความก้าวหน้าทางวิชาการ ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซนได้ตามสภาพการณ์และข้อมูลทางวิชาการที่เปลี่ยนแปลงไป 16 September is an Ozone Day

12 Thailand's role Must take steps to reduce and stop using the substances in accordance with the specified period. Must report the amount of controlled substance to UNEP who serves as the Secretariat of the Protocol. Department of Industrial Works Ministry of Industry as the primary agency responsible conducted studies in amount of substances destroying the ozone layer in different industry sectors and the import volume controls destroying substances. National Plan of Thailand: to stop using substances that destroy the ozone layer and prepared for the period of disuse substances destroying the ozone layer. ตามที่นานาประเทศได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องและความจำเป็นในการฟื้นฟูสภาพของชั้นโอโซน โดยการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาเวียนนาเพื่อการปกป้องชั้นโอโซนและพิธีสารมอนทรีออลเพื่อการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซนนั้น ประเทศไทยแม้จะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการที่ชั้นโอโซนถูกทำลาย แต่เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้สารทำลาย ชั้นโอโซนและอุตสาหกรรมการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือบรรจุด้วยสารดังกล่าว ซึ่งตามข้อกำหนดของพิธีสารได้ห้ามการซื้อขายสารทำลายชั้นโอโซนและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรืบรรจุด้วยสารนี้กับประเทศนอกภาคีสมาชิก นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงความรับผิดชอบร่วมกับนานาประเทศในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมโลก ดังนั้น ประเทศไทยจึงได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารมอนทรีออล ทำให้ประเทศไทยในฐานะประเทศภาคีสมาชิกต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดต่าง ๆ ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ โดยมีหน้าที่หลักที่สำคัญ คือ ต้องดำเนินการเพื่อการลดและเลิกใช้สารให้สอดคล้องตามระยะเวลาที่กำหนด และจะต้องรายงานปริมาณการใช้สารควบคุมต่อ UNEP ซึ่งทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการของพิธีสาร รวมทั้งการติดต่อประสานงานกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อขอรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนพหุภาคีในการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซนด้วยเป็นต้น กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะที่เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก ได้ดำเนินการในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การศึกษา สถานการณ์และปริมาณการใช้สารทำลายชั้นโอโซนในอุตสาหกรรมภาคต่าง ๆ และกำหนดมาตรการควบคุมปริมาณการนำเข้าสารทำลาย ชั้นโอโซน จัดทำแผนแห่งชาติเพื่อกำหนดระยะเวลาการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน โดยคำนึงถึงผลประโยชน์และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทั้งต่อภาคอุตสาหกรรมและผู้บริโภค (UNEP:UNEP ย่อมาจาก United Nations Environmental Program โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ เป็นองค์การชำนัญพิเศษที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช )

13 Globalization Global warming
Pop. Growth & Urbanization Deforestation & others factors Industrialization & trade Global warming จะเห็นได้ว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming) นั้นมีสาเหตุมาจากหลายด้านเชื่อมโยงกันที่ส่งผลกระทบต่อกัน โลกาภิวัตน์ ทำให้มีความเจริญเพิ่มขึ้น ประชากรเพิ่มขึ้นก่อเกิดเป็นชุมชนเมืองจึงมีความต้องการใช้พลังงานต่าง ๆ เพิ่มขึ้น มีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการอยู่อาศัยและดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจ การอุตสาหกรรม การค้าขาย ขยายตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง

14 What if…Climate Change?
Increasing sea-levels Increasing Strong wind Photo: ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ว่า ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ได้ส่งผลกระทบในหลายๆ ด้าน อาทิเช่น การเกิดพายุที่รุนแรงขึ้น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลทำให้เกิดการกัดเซาะของชายฝั่ง เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา ต่อการอาศัยและหากินของสัตว์ป่าต่าง ๆ เกิดภาวะแห้งแล้งอย่างหนัก Increasing sea-levels will lead to costal erosion Greenpeace/Jeremy Sutton-Hibbert

15 Changes in the Claciers at Shrong Himal, Nepal over 26 years
จะเห็นได้ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมาจากอดีต พบว่าธารน้ำแข้งในประเทศเนปาลมีการละลายไปเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่สูงขึ้นนั่นเอง Source : Nagoya University,

16 Event-based Change in 21 century
Impact of Climate Change: How does it all relate to me? Event-based Change in 21 century Impact on Human Health Warmer Temperatures and stagnant air masses Increased risk of Diseases Unsafe food. Animal as reservoir/amplifying vector/transmitter of pathogens. Heavy precipitation events Flash Floods and Land slides Costal erosion Reduced crop yields Intense weather events (Cyclones, Storms) Loss of Life, injuries, life long handicaps. Diseases outbreak. Damage of Animals/Insects/Plant Ecosystems. Droughts and Floods Reduced crop yields. Reduced electricity and power production. Monsoon seasons change in region Phenomenon Droughts and Floods ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก วันอากาศร้อนเพิ่มมากขึ้น กระแสคลื่นความร้อนรุนแรงขึ้น เกิดเหตุการณ์รุนแรงด้านภูมิอากาศมากขึ้น พายุเขตร้อนทวีความรุนแรงขึ้น ภัยแล้งและน้ำท่วมรุนแรงขึ้น ภูมิอากาศในฤดูมรสุมหน้าร้อนเขตเอเชียแปรปรวนมากขึ้น จากเหตุการณ์ต่างๆ นั้นส่งผลให้เกิดผลกระทบต่างๆ ตามมาทั้งในด้านสุขภาพ และสังคม เศรษฐกิจ อาทิเช่น ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงขึ้น สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงเกิดความเครียดจากอากาศร้อนพืชผลเสียหาย น้ำท่วม ดินถล่ม การกัดเซาะหน้าดิน พืชผลเสียหาย เพิ่มความเสี่ยงต่อคุณภาพชีวิต เกิดโรคระบาด ผลิตผลการเกษตรลดลง ศักยภาพด้านการผลิตไฟฟ้าและพลังงานดลง เกิดอุทกภัยและภัยแล้งที่รุนแรงขึ้นในเขตเอเชียและเขตอบอุ่น

17 Weather events VS Impacts on human health (1)
Heat stroke, Respiratory dis. Cardio-vascular illness Heat waves / air pollution คลื่นความร้อนเกี่ยวโยงกับโรคต่างๆ มากมาย เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ ความเจ็บป่วยและการสูญเสียชีวิตจากสาเหตุเหล่านี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้สูงอายุ สภาพอากาศที่ร้อนขึ้นและผันผวนมากขึ้นจะทำให้คุณภาพอากาศในเมืองหลายเมืองแย่ลง ในขณะเดียวกัน อากาศหนาวที่น้อยลงในพื้นที่เขตอบอุ่นอาจลดการสูญเสียชีวิตเนื่องจากความหนาวเย็นได้เช่นกัน อันตรายที่เกิดจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นในหน้าร้อนจะเพิ่มขึ้นหากความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง เนื่องจากในสภาพบรรยากาศเช่นนี้ เหงื่อจะไม่สามารถระเหยและพาความร้อนออกจากร่างกายได้ ดังที่เรียกว่า “ ร้อนอบอ้าว ” ส่งผลให้ระบบเมตาบอลิซึมในร่างกายล้มเหลวเป็นอันตรายถึงชีวิต เกิดผลกระทบต่อการกระจายของเชื้อโรค เมื่อโลกร้อนขึ้น พาหะนำเชื้อโรค เช่น ยุง หนู สามารถแพร่ขยายไปยังพื้นที่แถบเหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีการคาดประมาณว่าประมาณร้อยละ 45 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะต่อการแพร่กระจายของมาลาเรีย แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศชี้ให้เห็นว่าการแพร่ขยายของพื้นที่เสี่ยงต่อมาลาเรียเป็นไปได้สูง ทั้งตามแนวเส้นรุ้งและเส้นแวง การศึกษาโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อมาลาเรียในประเทศไทยก็แสดงแนวโน้มเช่นเดียวกัน Warmer temp. & disturbed rainfall patterns Vector-borne diseases:

18 สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
Changes in climate may alter the distribution of important vector species and may increase the spread of disease. โรคที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะ เช่น โรคมาลาเรีย โรคไข้เลือดออก หรือไข้เหลือง เปลี่ยนแปลงรูปแบบ และการแพร่กระจาย เนื่องจากพาหะของเชื้อมีความไวต่อการผันแปรของอุณหภูมิ อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเร่งวงจรชีวิตของแมลงที่เป็นพาหะนำโรค ทำให้ระยะฟักตัวของเชื้อลดลง และการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว

19 Weather events VS Impacts on human health (2)
Water/ food-borne diseases: cholera, harmful algae bloom, etc. Heavy precipitation events Malnutrition & Starvation Psychosocial Stress ปริมาณน้ำจืดที่ลดลงอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ การลดลงของปริมาณน้ำจืดทำให้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคลดน้อยลง ทำให้ประชาชนต้องใช้น้ำที่ไม่สะอาด เช่น จากแม่น้ำโดยตรง ซึ่งบ่อยครั้งพบว่ามีมลพิษมาก หรือปนเปื้อนสารเคมี ยาฆ่าแมลง เชื้อโรคต่างๆ ปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้เกิดการปัญหาการระบาดของโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารได้มากขึ้น สภาวะแห้งแล้งจะเป็นภัยคุกคามและอาจเกิดสภาวะขาดอาหาร การโยกย้ายถิ่นฐานของมนุษย์ การระบาดของโรคและปัญหาสุขภาพจิต Droughts

20 Harmful Algal Blooms (HAB) & Global warming
Expansion of water surface Warmers temp & longer duration Tendency to be toxic strains “Especially temperate zone” Freshwater HABs Toxins Hepatoxins, Neurotoxins All are blue-green algae (cyanobacteria) ปรากฏการณ์ “ขี้ปลาวาฬ” กับภาวะโลกร้อน สาหร่ายเป็นพิษส่วนใหญ่เกิดจากสาหร่ายจำพวกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินเมื่อพวกมันมีจำนวนมากขึ้นจนแหล่งน้ำกลายเป็นสีเขียว แดง หรือเหลือง หรือเรียกว่า “ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ” (Algal Bloom) ซึ่งเกิดจากธาตุอาหารในน้ำเพิ่มมากผิดปกติโดยเฉพาะฟอสฟอรัส กองทัพสาหร่ายเหล่านี้ขยายปริมาณเพิ่มขึ้นมหาศาล และสูบออกซิเจนในน้ำไปใช้จนสัตว์น้ำทยอยตาย ซึ่งมีการศึกษาด้านความเชื่อมโยงระหว่าง ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬกับภาวะโลกร้อน พบว่าปรากฏการณ์นี้จะเกิดมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูง แต่สาเหตุที่ชัดเจนมากกว่า น่าจะเป็นการก่อมลพิษด้วยน้ำมือของมนุษย์ เพราะฟอสฟอรัสที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ที่เกิดจากปุ๋ยเคมี น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและบ้านเรือน ที่มา : “สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-Green Algae: Cyanabacteria)”. วารสารสารคดี. ปีที่ 25 ฉบับที่ 293 (ก.ค.52) เกิดสารพิษในน้ำ หากคนดื่มน้ำหรือทานสัตว์น้ำอาส่งผลให้เกิดอการเหล่านี้ ได้ -ท้องเสีย -เป็นอัมพาต -อาการทางระบบประสาท ความจำเสื่อม Marine HABs: Toxins & Toxicity Diarrheic, Paralytic, Neurotoxic, Amnestic shellfish poison, Ciguatera fish poison (DSP, PSP, NSP, ASP, CFP)

21 Harmful algal bloom Harmful algal bloom ;Florida
ผลกระทบจากปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ ผลกระทบและความเสียหายจากปรากฏการณ์ดังกล่าว มีผลต่อหลายๆด้านด้วยกันที่พอจะสรุปได้คือ -  ผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่ง โดยทำให้สัตว์ทะเลหลายชนิดตายเป็นจำนวนมาก -  ชายหาดมีความสกปรก มีกลิ่นเหม็น สร้างมลพิษทางอากาศทำให้ระบบการหายใจของประชาชนบริเวณดังกล่าวมีปัญหาต่อ สุขภาพ และจิตใจ และทัศนียภาพไม่น่ารื่นรมย์ -  มีผลกระทบต่อการประมงชายฝั่งรวมถึงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้รับผลกระทบ โดยตรง ซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชุมชนบริเวณนี้ -  ผลกระทบทางด้านการตลาด ประชาชนขาดความมั่นใจในการบริโภคสัตว์ทะเล -  ผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยว เนื่องจากน้ำทะเลสกปรกมีกลิ่นเหม็น จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงส่งผลต่อภาคธุรกิจโดยรวม Harmful algal bloom ;Florida

22 Weather events VS Impacts on human health (3)
Death, Injuries Damage infrastructure Diseases related to extreme climates eg. Leptospirosis Social problems Psychosocial Stress Cyclones, Storms, flooding Disappearance of Land Migration Social conflict Stress การเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศที่รุนแรงหรือบ่อยขึ้น เช่น คลื่นความร้อนอุทกภัย พายุ สภาวะแห้งแล้งจะเป็นภัยคุกคามและอาจก่อให้เกิดภัยถึงชีวิตและบาดเจ็บสภาวะขาดอาหาร การโยกย้ายถิ่นฐานของมนุษย์ การระบาดของโรคและปัญหาสุขภาพจิต ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะยังไม่แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อความถี่ของพายุอย่างไร พวกเขาก็ได้คาดการณ์ว่าภูมิภาคบางแห่งจะเกิดอุทกภัยหรือสภาวะแห้งแล้งมากขึ้น นอกจากนั้น น้ำท่วมชายฝั่งก็อาจเลวร้ายลงเนื่องจากระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น พายุอันเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอีกด้วย พายุในประเทศไทยส่วนใหญ่มักมาพร้อมกับน้ำท่วมอย่างฉับพลัน ซึ่งทำให้คุณภาพชีวิตของประชากรต่ำลงอย่างมาก ประชากรอาจเสียชีวิตจากการจมน้ำ ไฟฟ้าดูด หรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับข้องกับน้ำท่วมขัง เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคฉี่หนู (Leptospirosis) Sea level rise & Coastal storms

23 Projected impacts of global warming in Asia (1)
Glacier melt in the Himalayas is projected to increase flooding, rock avalanches from destabilised slopes, and affect water resources within the next two to three decades. This will be followed by decreased river flows as the glaciers recede. Freshwater availability in Central, South, East and Southeast Asia particularly in large river basins is projected to decrease due to climate change which, along with population growth and increasing demand arising from higher standards of living, could adversely affect more than a billion people. Source: IPCC WGII Fourth Assessment Report, April 2007

24 Projected impacts of global warming in Asia (2)
Coastal areas, especially heavily-populated mega-delta regions in South, East and Southeast Asia, will be at greatest risk due to increased flooding from the sea and in some mega-deltas flooding from the rivers. Climate change is projected to impinge on sustainable development of most developing countries of Asia as it compounds the pressures on natural resources and the environment associated with rapid urbanisation, industrialisation, and economic development. Source: IPCC WGII Fourth Assessment Report, April 2007

25 Projected impacts of global warming in Asia (3)
Endemic morbidity and mortality due to diarrhoeal disease primarily associated with floods and droughts are expected to rise in East, South and Southeast Asia due to projected changes in hydrological cycle associated with global warming. Increases in coastal water temperature would exacerbate the abundance and/or toxicity of cholera in South Asia. Source: IPCC WGII Fourth Assessment Report, April 2007

26 Projected impacts of global warming in Asia
It is projected that crop yields could increase up to 20% in East and Southeast Asia while it could decrease up to 30% in Central and South Asia by the mid 21 st century. Taken together and considering the influence of rapid population growth and urbanization, the risk of hunger is projected to remain very high in several developing countries.

27 ธารน้ำแข็งหิมาลัยในเอเชียมีอัตราการละลายเร็วที่สุด ปัจจุบันจึงบางลงมากกว่าธารน้ำแข็งอื่นๆ
จากภาพเป็นกราฟแสดงถึงการละลายของธารน้ำแข็งที่เกิดจากภาวะโลกร้อน พบว่าธารน้ำแข็งหิมาลัยในเอเชียมีอัตราการละลายเร็วที่สุด และพบว่าปัจจุบันบางลงมากกว่าธารน้ำแข็งอื่นๆ

28 Location Volume(km3) Potential sea-Level rise (m) East Antarctic ice sheet 26,039,200 64.80 West Antarctic ice sheet 3,262,000 8.06 Antarctic Peninsula 227,100 .46 Greenland 2,620,000 6.55 All other ice caps, ice field, and valley glaciers 180,000 .45 Total 32,328,300 80.32 หากแผ่นน้ำแข็งทางด้านตะวันตกละลาย คาดกันว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเหลืออยู่ตามภาพกราฟฟิคนี้ โดยเส้นร่างสีดำ เป็นขอบเขตเดิมของแผ่นดินในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า อาจมีบางเมืองสำคัญถูกน้ำทะเลท่วมและแผ่นดินกลายเป็นน้ำทะเล เช่น โฮจิมินห์ซิตี้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครด้วย Southeast Asia if West sheet melted (17-foot rise) Source: Dr. Chirapol Sintunawa 28

29 Climate Change: Study Impact to Thailand
Climate change tend to be : higher and longer temperatures BUT not dryness Slightly increasing temperature around 1-2 °C Summer season will be longer 1-2 months Winter season will be shorter 1-2 months Rainy season remains unchanged BUT water volume will increase 10-20% Uncertain season interval changed dramatically ( Extreme scenario ) การศึกษาสภาวะการเปลี่ยนแปลงของอากาศในไทย มีอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย 1-2 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนยาวขึ้น 1-2 เดือน ฤดูหนาวหดสั้นลง 1-2 เดือน ฤดูฝนยังคงมีระยะเวลาเท่าเดิมแต่ปริมาณน้ำฝนรายปีเพิ่มสูงขึ้น % และมีความผันผวนระหว่างฤดู และระหว่างปีเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงในประเทศไทย ควรให้ความสนใจและทำการศึกษาถึงผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นอีก เพื่อการเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ กับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต What if Climate Change effected Thailand? Encourage to conduct various of continued-studies and brain storming

30 Impacts in Thailand Sea Level
Increasing sea-levels approximately 0.09 – 0.88 meters will lead to costal erosion. Gulf of Thailand Erosion crisis worse than the Andaman Sea; six areas crisis included Bangkok, Rayong, Petchaburi down to Narathivas ผลกระทบในประเทศไทย ระดับน้ำทะเล การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกทำให้ระดับน้ำเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.09 – 0.88 เมตร มีผลต่อสภาวะคลื่นและการกัดเซาะชายฝั่ง ส่งผลต่อระบบนิเวศชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นทั้งทรัพยากรชีวภาพที่สำคัญ และแหล่งประกอบอาชีพของชุมชนชายฝั่ง ผลผลิตทางการประมง และเกษตรกรรมบริเวณชายฝั่ง รวมไปถึงธุรกิจการท่องเที่ยวซึ่งมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และเศรษฐกิจของประเทศ พบว่าชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลมากกว่า ชายฝั่งอันดามัน บริเวณชายฝั่งที่ประสบปัญหารุนแรง คือ กรุงเทพมหานคร และบริเวณใกล้เคียงรวมถึงชายฝั่งจังหวัดระยอง จังหวัดเพชรบุรี ลงไปถึงนราธิวาส ชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง อยู่ในบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก และชายหาดหัวหิน ถูกกัดเซาะเข้าไปเป็นระยะทางหลายร้อยเมตร ชายฝั่งที่เป็นหน้าผาหินแข็งอย่าง บริเวณอ่าวพังงา จะถูกกัดเซาะได้ช้ากว่า ชายฝั่งที่เป็นหน้าผาหินเนื้ออ่อน เช่น บริเวณอ่าวระยอง ซึ่งถูกกัดเซาะจนร่นถอย และเสียพื้นที่อย่างรวดเร็ว การเพิ่มของระดับน้ำทะเลเป็นสาเหตุนำไปสู่การเคลื่อนตัวของน้ำเค็มสู่แผ่นดิน ทำให้เกิดปัญหาน้ำจืดใต้ดินเค็ม ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่ต้องพึ่งพาแหล่งน้ำจืดใต้ดิน เช่น กรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ พบว่าการสูบน้ำขึ้นมาใช้ของกรุงเทพมหานครยังทำให้ระดับน้ำทะเลสัมพัทธ์เพิ่มขึ้น อัตราการเพิ่มนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี นอกจากนี้ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นยังทำให้ ชุมชนชายฝั่งทะเลระบายน้ำเสียลงสู่ทะเลได้ยากขึ้นระบบบำบัดน้ำเสียอาจได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะและจมตัวของแผ่นดิน ในการผลิตเกลือสมุทรอาจพบปัญหาในระบบดันน้ำออกจากแปลงนาเกลือที่อยู่ต่ำกว่า ในขณะแปลงนาเกลือที่อยู่สูง ก็จะพบปัญหาการกัดเซาะและชายฝั่งจมตัว

31 Bangkhunthien coastal water erosion
จากสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมาดังเช่นในประเทศไทย บริเวณแถบชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนที่ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเกิดการกัดเซาะชายฝั่งลึกเข้ามาเป็นบริเวณกว้าง ดร.จิรพล สินธุนาวา 31

32 Floods Within 3 decades, country severely affected by climate change in the frequency of extreme weather events result Floods and storms, especially in eastern coastal lines and southern area near the ocean as well as Bangkok, Hadyai and Chiangmai. Climate change may also affect diseases spread both human and animal/plants delta regions น้ำท่วม ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ชุมชนของไทยมักจะประสบกับปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้ง โดยส่วนใหญ่จะเกิดในเขตชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย โดยเฉพาะแถบชายฝั่งด้านตะวันออก และทางใต้ของประเทศซึ่งตั้งอยู่ใกล้มหาสมุทร ในเขตเมืองใหญ่อย่าง กรุงเทพมหานคร หาดใหญ่ และเชียงใหม่ก็ประสบปัญหาน้ำท่วมเช่นกัน โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน ทั้งนี้ก็เนื่องจากปริมาณน้ำมีมากกว่าที่กักเก็บ และระบบระบายน้ำยังไม่มีประสิทธิภาพพอ ผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วม นำความเสียหายอย่างมหาศาลมาสู่ชีวิตและทรัพย์สินขึ้น น้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ได้ทำลายสิ่งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนหนทาง สิ่งก่อสร้างต่างๆ เป็นต้น ทำลายพืชผลทางการเกษตร ชะล้างหน้าดินทำให้ดินเสื่อมสภาพ เกิดการปนเปื้อนของน้ำ และคร่าชีวิตประชาชนจำนวนมาก นอกจากนี้ปัญหาน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ยังส่งผลต่อการแพร่ของโรคระบาดทั้งในมนุษย์ พืชและสัตว์ และมีการระบาดของแมลงศัตรูพืชที่สำคัญในการเกษตร ประชาชนต้องสูญเสียที่ทำกิน ต้องอพยพย้ายถิ่น ผลผลิตระดับท้องถิ่นและระดับประเทศลดลง มีผลให้ประชาชนเกิดวิกฤตทางอารมณ์ซึ่งมีผลต่อการก่ออาชญากรรมที่สูงขึ้น

33 Flash Floods Land Slide
ผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนในประเทศไทย คือ ภาวะน้ำท่วมฉับพลัน โคลนถล่ม ที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

34 Drought Drought occurs in summer caused dryness reservoir, reduced crop yields. ความแห้งแล้ง ภาวะแห้งแล้งขาดน้ำ จะเกิดขึ้นในหน้าแล้งและหน้าร้อน มีสาเหตุมาจากฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ทำให้แหล่งน้ำตามธรรมชาติแห้ง ไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคของประชาชน ซึ่งปรากฏการณ์ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานานนี้ก็เกิดเป็นผลต่อเนื่องมาจากสภาวะที่โลกร้อนขึ้น สภาวะแห้งแล้งนี้มีผลกระทบต่อการทำเกษตรของไทยอย่างยิ่ง การปลูกพืชเศรษฐกิจของไทยที่มีปัญหาอยู่เสมอ เช่น พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดมีจำกัด ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ต่ำเนื่องจากความแปรปรวนของน้ำฝนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปัญหาปริมาณน้ำฝนที่ไม่สม่ำเสมอก็ยังมีผลกระทบต่อการทำไร่อ้อยด้วย Dryness affecting in crops produced caused farmers stress

35 Fog and Forest Fires Long term high temperature has been rise in key air pollutants causes respiratory diseases. หมอกควัน ไฟป่า ภาวะอากาศร้อนยาวนานสามารถเพิ่มการเกิดหมอกควัน และการแพร่กระจายของสารที่ทำให้เกิดการแพ้ แต่ทั้งหมอกควันและสารที่ทำให้เกิดการแพ้ ส่งผลโดยตรงต่ออาการของระบบทางเดินหายใจ

36 Role Of Medical team to EID / PHER
Clinical Treatment Strictly follow guideline for IC, PPE Logistic preparation Clinicians Diagnosis / Surveillance Clinical Finding, Epidemiology, Laboratory Diagnose Monitor Role Of Medical team to EID / PHER Reporting on time Encourage team Alerting Message Supervise team and health education to population Selected key message Quality assurance บทบาทของทีมการแพทย์ต่อโรคติดต่ออุบัติใหม่และการตอบโต้ในภาวะฉุกเฉิน ด้านผู้รักษา ดูแลผู้ป่วยตามแนวทางมาตรฐานเคร่งครัด IC, PPE ถูกต้องเตรียมเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ ผู้วินิจฉัย สอดส่องค้นหาผู้ป่วยตรวจสอบทางคลินิก, ระบาดวิทยา, ชันสูตร ด้านการเตือนภัยรายงานครบถ้วน รวดเร็ว ถูกต้องกระตุ้นทีมสาธารณสุข กระตุกเตือน ปชช. ด้านผุ้วิจัย บันทึก รวบรวม เรียบเรียง วิเคราะห์ สังเคราะห์ รายงานสร้างความรู้ใหม่ เพื่อใช้ประโยชน์ ครู / ผู้สอน สอนทีมงานให้การศึกษา ปชช. ชี้ประเด็นสำคัญ กวดขันคุณภาพ Teachers/Mentors Researchers Collecting, Recording, Analyze and report Updating new knowledge

37 Conclusion (1) Now the world is changing in many directions.
Climate change and global warming caused public health problem and diseases outbreak in the world. Thailand should prepare for respond to Communicable diseases / Infectious diseases and other new/re-emerging diseases for example; Vector-Borne Disease; hemorrhagic fever, Malaria, Japanese encephalitis, Elephantiasis Food and water Borne Diseases; Diarrhea, Food Poisoning, Hepatitis Respiratory Diseases; Influenza Emerging and re-emerging Diseases; Avian Influenza, Nipah and Westnile Infectious Diseases from Natural Disaster Impact โดยสรุป -โลกกำลังหมุนไป พร้อมกระแสความเปลี่ยนแปลงใหญ่หลายกระแส -การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รวมถึงภาวะโลกร้อน เป็นกระแสการเปลี่ยนแปลงสำคัญ ซึ่งจะเป็นเหตุให้และปัญหาสุขภาพและการเกิดโรคเปลี่ยนแปลงไป ในประเทศต่างๆทั่วโลก -สำหรับโรคติดต่อ/ โรคติดเชื้อ ประเทศไทยควรเตรียมพร้อมรับมือกับโรคที่จะยังคงเป็นปัญหา / เพิ่มขึ้น / หรือเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ โรคที่นำโดยแมลง/ เช่น ไข้เลือดออก สมองอักเสบเจอี มาลาเรีย เท้าช้าง โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ เช่น อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ โรคติดต่อระบบหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำต่างๆ เช่น ไข้หวัดนก ไข้สมองอักเสบนิปาห์ เวสต์ไนล์ โรคติดเชื้ออันเป็นผลกระทบจาก อุบัติภัยและภัยธรรมชาติ

38 Conclusion (2) Preparedness concepts
Strengthen and Development of public Health System Surveillance and Rapid Response Enhancement of capacity building and knowledge Strengthen multi-sectoral collaboration and network แนวทางหลักในการเตรียมความพร้อม -สร้างความเข้มแข็งแก่ระบบงานสาธารณสุขทั้งระบบ -การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค -ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือของหน่วยงานทุกภาคส่วน และประชาชน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเตรียมความพร้อม

39 Sawasdee krab

40 “คาร์บอนเครดิต” สินค้าตัวใหม่ จากประเทศกำลังพัฒนา
Carbon Credit คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่ลดได้จากกิจกรรมของมนุษย์ เป็นเครื่องมือสำคัญในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) โดยกำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้ว 41 ประเทศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 5% เมื่อเทียบกับปี 2533 ภายในปี 2555 (Carbon Credit) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่ลดได้จากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งก๊าซดังกล่าวมีอยู่หลายชนิดเช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน โอโซน และไอน้ำ ซึ่งเป็นตัวการผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน “คาร์บอนเครดิต” สินค้าตัวใหม่จากประเทศกำลังพัฒนา “คาร์บอนเครดิต” เป็นเครื่องมือสำคัญในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) ที่นานาชาติร่วมกันจัดทำขึ้นในปี 2540 โดยกำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้ว 41 ประเทศ (Annex 1) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 5% เมื่อเทียบกับปี 2533 ภายในปี 2555 ส่วนประเทศกำลังพัฒนาอีก 148 ประเทศ (Non-Annex 1) ยังไม่มีพันธะนี้ แต่ก็ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้โดยความสมัครใจ ทว่าเพื่อผ่อนปรนให้ประเทศพัฒนาแล้วบรรลุพันธกรณีนี้ได้ง่ายขึ้น พิธีสารจึงกำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วสามารถสนับสนุนเทคโนโลยีสะอาดแก่ประเทศกำลังพัฒนาได้ ด้วยการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศเหล่านั้น หรืออีกทางหนึ่ง ประเทศพัฒนาแล้วอาจซื้อโควต้าคาร์บอน จากผู้ประกอบการในประเทศกำลังพัฒนาโดยตรง เพื่อนำปริมาณคาร์บอนที่พวกเขายังไม่ได้ใช้ ไปหักลบกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศตัวเอง โดยเป็นเสมือนเครดิตส่วนลดให้แก่ประเทศพัฒนานั้นๆ สามารถปล่อยก๊าซก่อภาวะเรือนกระจกได้มากกว่าปริมาณที่ถูกกำหนดไว้

41 ฉลากคาร์บอน (Carbon Label) ทางเลือกใหม่เพื่อลดภาวะโลกร้อน
ฉลากคาร์บอน : ฉลากที่แสดงระดับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ เราทุกคนล้วนมีส่วนร่วมในฐานะผู้ก่อปัญหาภาวะโลกร้อนผ่านการใช้ทรัพยากรและพลังงานรูปแบบต่างๆ เพื่อดำเนินกิจวัตรประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทางเลือกหนึ่งเพื่อชดเชยสิ่งที่คุณทำ คือ การเลือกซื้อสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อย หรือสินค้าที่มี “ฉลากคาร์บอน” ฉลากคาร์บอน (Carbon Label) ทางเลือกใหม่เพื่อลดภาวะโลกร้อน เราทุกคนล้วนมีส่วนร่วมในฐานะผู้ก่อปัญหาภาวะโลกร้อนผ่านการใช้ทรัพยากรและพลังงานรูปแบบต่างๆ เพื่อดำเนินกิจวัตรประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทางเลือกหนึ่งเพื่อชดเชยสิ่งที่คุณทำ คือ การเลือกซื้อสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อย หรือสินค้าที่มี “ฉลากคาร์บอน” ฉลากคาร์บอน (Carbon Label) คืออะไร ฉลากที่แสดงระดับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ โดยการประเมินวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment : LCA) หรือสินค้าตั้งแต่การจัดเตรียมวัตถุดิบ การผลิต การใช้ และการจัดการหลังการใช้ โดย LCA ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ โดยแสดงผลอยู่ในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent) ในการออกฉลากคาร์บอน อย่างไรก็ตาม ข้อมูล LCA ในประเทศไทยยังไม่สมบูรณ์ที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับฉลากคาร์บอนได้ ดังนั้น ในระยะแรก ฉลากคาร์บอนจึงเป็นผลจากการประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตเท่านั้น

42 แหล่งข้อมูลเรื่อง Global Warming
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ; Intergovernmental Panel on Climate Change ; World Health Organization ;

43 Bibliography Allen, D.J., S. Nogues, and N. Baker Ozone depletion and increased UV-B radiation: is there a real threat to photosynthesis? Journal of Experimental Botany. Vol. 49, No. 328, pp – 1788. Executive: summary: Scientific Assessment of Ozone Depletion: 1994, World Meteorological Organization, Geneva, [World Meteorological Organization Global Ozone Research and Monitoring Project – Report No. 37] Antarctic Ozone Bulletin: 2005, World Meteorological Organization, [Antarctic Ozone Bulletin No 8/2005 Winter/spring summary] Bojkov, R.D., V.E. Fioletov Total ozone variations in the tropical belt: An application for quality of ground based measurements. Meteorology and Atmospheric Physics, - Springer Britt, A.B Plant Biology: An unbearable beating by light? Nature. 406, 30 – 31. Descamps, F.J., E. Martens, P. Proost, S. Starckx, P. E. VandenSteen, J.VanDamme and G. Opdenakker Gelatinase B/matrixmetalloproteinase-9 provokes cataract by cleaving lens BB1 Crystallin. The FASEB Journal. 19:29-35. Environmental effects of ozone depletion and its interactions with climate change: Progress Report 2003; United Nations Environmental Programme, Environmental Effects Assessment Panel [The Royal Society of Chemistry and Owner Societies 2004] Photochemistry and Photobiology Science 2004, 3, 1 – 5. Hader D.P., H.D. Kumar, R.C. Smith, and R.C. Worrest Effects on aquatic ecosystems. Journal of Photochemistry and Photobiology. B: Biology 46: 53 – 68. Kerr, R Winds, pollutants drive ozone hole. Science. 238: 156 – 159. Last, J.M Global change: Ozone depletion, greenhouse warming and public health. Annual Review of Public Health. 14: M.M. Caldwell (USA), A.H. Teramura (USA), M. Tevini (FRG ), J.F. Bornman (Sweden), L.O. Björn (Sweden), and G. Kulandaivelu (India). EFFECTS OF INCREASED SOLAR ULTRAVIOLET RADIATION ON TERRESTRIAL PLANTS . Environmental Effects of Ozone Depletion: 1994 Assessment

44 Neale P. J. , R. Davis, and J. Cullen. 1998
Neale P. J., R. Davis, and J. Cullen Interactive effects of ozone depletion and vertical mixing on photosynthesis of Antarctic phytoplankton. Nature. 392, 585 – 589. Randal, W.J. and F.Wu Cooling of Artic and Antarctic Polar Stratosphere due to depletion. Journal Climate. 12; 1467 – 1479. Shell, E.R Solarflights into the ozone hole reveal its causes. Smithsonian. Smith, R. C., B. B. Prezelin, K. S. Baker, R R. Bidigare, N. P. Boucher, T. Coley, D. Karentz, S. MacIntyre, H. A. Matlick, D. Menzies, M. Ondrusek, Z. Wan, and K. J. Waters Ozone depletion: Ultraviolet radiation and phytoplankton biology in Antarctic waters. Science 255: 952- U.S. Environmental Protection Agency. Ozone Depletion Rules & Regulations Van Der Mei, I.A., A.L. Ponsonby, T. Dwyer, L. Blizzard, R. Simmons, B.V. Taylor, H. Butzkueven and T. Kilpatrick. Past exposure to sun, skin phenotype and risk of multiple sclerosis: case-control study. British Medical Journal, 2003, 327, 316 – 322. Whitehead R. F. S.de Mora, and S. Demers Enhanced UV radiation – a new problem for the marine environment. Cambridge Environmental Chemistry Series (No. 10) World Meteorological Organization, Geneva, Executive: summary: Scientific Assessment of Ozone Depletion: [Reprinted from Scientific Assessment of Ozone Depletion: 2002, Global Ozone Research and Monitoring Project – Report No. 47, 498 pp., World Meteorological organization, Geneva, 2003.] wmobro/graphics/fig9m.gif detail/detail_281.html ../ozone_hole.htm en/13007/image.htm aqtrnd95/stratoz.html lectures/ozone_health/ education/education.htm

45 เรียนเชิญเข้าร่วมประชุมและเพื่อเปิดรับข้อคิดเห็น
การจัดงานแสดงมุติตาจิตเนื่องในวโรกาสเกษียณอายุราชการ ปี 2554 รองศาสตราจารย์ ระวีวรรณ กันไพเราะ วันที่ 1 ธันวาคม 2553 เวลา น เป็นต้นไป ที่ห้องประชุมพันตน


ดาวน์โหลด ppt รองศาสตราจารย์ ดร. สำรี มั่นเขตต์กรน์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google