งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเฝ้าระวังผู้ป่วยกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (ILI) ที่เข้ารับการรักษาในสถาบันบำราศนราดูร A Hospital-Based Surveillance of ILI Case-Patients In Bamrasnaradura.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเฝ้าระวังผู้ป่วยกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (ILI) ที่เข้ารับการรักษาในสถาบันบำราศนราดูร A Hospital-Based Surveillance of ILI Case-Patients In Bamrasnaradura."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเฝ้าระวังผู้ป่วยกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (ILI) ที่เข้ารับการรักษาในสถาบันบำราศนราดูร A Hospital-Based Surveillance of ILI Case-Patients In Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute นางอินทิรา ทันตวิวัฒนานนท์ นักวิชาการสาธารณสุข ศูนย์ข้อมูลและระบาดวิทยา สถาบันบำราศนราดูร

2 ความเป็นมา ความสำคัญของปัญหา (1) ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทั่วโลก ตามฤดูกาล (Seasonal Influenza) ในช่วงหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา มีการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic Influenza) ที่สำคัญ จำนวน 3 ครั้ง คือ ไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish flu) Influ A H1N1 มีผู้เสียชีวิตประมาณ ล้านคน  ไข้หวัดใหญ่เอเชีย (Asian flu) Influ A H2N2 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 1-2 ล้านคน  ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง (Hong Kong flu) Influ A H3N2 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 1 ล้านคน

3 ความสำคัญของปัญหา (2) ประเทศไทย ความเป็นมา
 ในปีพ.ศ เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนก Influ A H5N1 ซึ่งเกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่ติดต่อในสัตว์ปีกซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะการถ่ายทอดเชื้อจากสัตว์ปีกมาสู่คนได้  วันที่ 25 เม.ย.52  องค์การอนามัยโลกประกาศออกเตือนประเทศสมาชิกให้สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (New Influ A H1N1) เป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) สามารถติดต่อส่งผ่านระหว่างมนุษย์สู่มนุษย์ผ่านทางการหายใจได้โดยตรง  โรคไข้หวัดนก (Influ A H5N1) และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influ A H1N1) ถือเป็นโรคอุบัติใหม่ที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขในปัจจุบัน

4 ความเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน (1)
ความเป็นมา ความเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน (1)  กระทรวงสาธารณสุข เป็นแกนหลักในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทุกภาคส่วนเพื่อเตรียมพร้อมและรับมือกับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ตามแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติและแผนปฏิบัติการแม่บทการเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่  กรมควบคุมโรค เป็นหน่วยงานหลักในการประสานและผลักดันให้เกิดการเตรียมความพร้อม โดยมีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดริเริ่มได้เตรียมการประคองกิจการสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ และเป็นหน่วยงานต้นแบบ เพื่อจะได้มีการเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นๆ ได้ดำเนินการเตรียมการประคองกิจการต่อไป  สถาบันบำราศนราดูร สังกัดกรมควบคุมโรค เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคติดต่อต่างๆรวมทั้งการป้องกันและควบคุมโรค ทางสถาบันได้จัดระบบการเฝ้าระวังผู้ป่วยตามมาตรฐานการควบคุมโรค โดยมีผู้ป่วยกลุ่มอาการสงสัยไข้หวัดใหญ่มารับการตรวจรักษาจากสถาบันอย่างต่อเนื่อง

5 ความเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน (2)
ความเป็นมา ความเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน (2) งานศูนย์ข้อมูลและระบาดวิทยา สถาบันบำราศนราดูร  เฝ้าระวัง และ รายงานทางระบาดวิทยาโรคติดต่อ  รายงานโรคตามปกติด้วย รง.506 รง. 507  รายงานโรคแบบเร่งด่วน สำหรับโรคติดต่อที่สามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว (ให้รายงานทันทีที่พบผู้ป่วยยืนยันหรือผู้ป่วยต้องสงสัย)  สอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย (Individual Case Investigation) ตามโรคที่สำนักระบาดวิทยากำหนด

6 ความเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน (3)
ความเป็นมา ความเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน (3)  การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ จัดอยู่รหัสโรคที่ 15 ภายใต้ระบบเฝ้าระวังโรค รง. 506  ต่อมาได้มีการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบเฝ้าระวังโรค โดยมีการจัดกลุ่มโรคเร่งด่วน หรือ กลุ่มโรคและอาการที่เป็นปัญหาสำคัญ คือ ผู้ป่วยกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (ILI) ในข่ายเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ได้แก่ ไข้หวัดนก, ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และ ผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรง/หรือเสียชีวิต โดย สอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย และรายงานโรคแบบเร่งด่วนเมื่อพบผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed case) หรือ ผู้ป่วยสงสัย (Suspected case)

7 วัตถุประสงค์ เพื่อเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลจำนวนผู้ป่วย ILI ที่เข้ารับการรักษาในสถาบันฯและตรวจพบเชื้อไข้หวัดใหญ่ เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลและสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ระบาดของโรคในสถาบันได้ เพื่อศึกษาข้อมูลทางระบาดวิทยาของของผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่างๆที่เข้ารับการรักษาในสถาบัน เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ตอบสนองต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่ให้สามารถติดตามสถานการณ์ของโรคได้ทันเวลา ตาม ILI Harmonization Project ของศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ

8 วิธีการศึกษา (1)  รูปแบบการศึกษา
 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive analysis) -Demographic -Clinical characteristics ความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

9 วิธีการศึกษา (2)  ประชากรกลุ่มเป้าหมาย และจำนวน
 ผู้ป่วยกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ปีงบประมาณ เพื่อเก็บจำนวนผู้ป่วยเป็นฐานข้อมูล ILI ในโรงพยาบาล  ผู้ป่วย ILI ผล Rapid test positive และ/หรือ ผล PCR positive ที่เข้ารับการรักษาในสถาบันบำราศนราดูร เพื่อนำแฟ้มเวชระเบียนมาเก็บข้อมูลประกอบกับแบบสอบสวนโรค

10 วิธีการศึกษา (3)  สถาบันบำราศนราดูร  พื้นที่ศึกษา หรือดำเนินโครงการ
 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  หน่วยคัดกรองผู้ป่วย ILI แผนกผู้ป่วยนอก สถาบันบำราศนราดูร  ตึกแยกโรค 3/2 กรณีผู้ป่วย ILI มีอาการรุนแรง/สงสัยปอดอักเสบรุนแรง, ตึกแยกโรค 3/4, ตึกผู้ป่วยเด็ก 5/3  งานภูมิคุ้มกันและไวรัสวิทยา สถาบันบำราศนราดูร (ตรวจแยกเชื้อไข้หวัดใหญ่ด้วยวิธี Rapid test และ PCR)  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรณี ผู้ป่วยส่งตัวอย่างตรวจ PCR กรมวิทย์  ศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ กรณีติดตามผลการตรวจแยกเชื้อไวรัสในผู้ป่วย ILI ที่เข้าร่วมโครงการ

11 วิธีการศึกษา (4)  แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล
 ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยใช้รหัส ICD10 ในการค้นหาผู้ป่วยดังต่อไปนี้ J00 acute nasopharyngitis (common cold) J02.9 acute pharyngitis J06.9 acute upper respiratory infection, unspecified J10 Influenza J11 Influenza, virus not identified  เก็บจำนวนผู้ป่วย ILI เป็นประจำทุก 1 เดือน เป็นข้อมูลพื้นฐานเฝ้าระวังโรค  เก็บข้อมูลผู้ป่วยผล Rapid test positive และ/หรือ ผล PCR positiveจากรายงานผลLab จากแฟ้มเวชระเบียนและแบบสอบสวนโรคผู้ป่วย ILI

12 วิธีการศึกษา (5)  จำนวนผู้ป่วย ILI เทียบเป็นอัตราส่วนร้อยละกับจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในสถาบันทั้งหมด (เก็บราย 1 เดือน)  ผู้ป่วยนอก ยืนยันไข้หวัดใหญ่ Demographic เพศ สถานะ อายุ ภูมิลำเนา อาชีพ Clinical characteristics ประวัติเสี่ยง โรคประจำตัวเสี่ยง/ไม่เสี่ยง สายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ตรวจพบ  ผู้ป่วยใน ยืนยันไข้หวัดใหญ่ Clinical characteristics ประวัติเสี่ยง โรคประจำตัวเสี่ยง/ไม่เสี่ยง สายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ตรวจพบ จำนวนวันนอน ผลเอกซเรย์ปอด ผลเลือด ผลแลปอื่นๆ อาการแทรกซ้อน ฯลฯ

13 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
 เป็นข้อมูลพื้นฐาน (baseline data) ทางด้านระบาดวิทยาในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ในโรงพยาบาลเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันควบคุมโรคและพัฒนาองค์ความรู้ในการเฝ้าระวังให้มีประสิทธิภาพต่อไป  ข้อมูลทางระบาดวิทยาการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ของสถาบันสามารถสนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ พัฒนาเครือข่ายในการรายงานโรคให้สามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วทันเวลาและสามารถส่งเสริมการป้องกันควบคุมโรคในระดับชุมชนจนถึงระดับประเทศได้

14 ระยะเวลาที่ศึกษา  ระยะเวลาประมาณ 1 ปี

15 งบประมาณและแหล่งทุน  ได้รับการสนับสนุนจาก  สถาบันบำราศนราดูร
 กรมควบคุมโรค

16 ทีมงาน น้องเลี้ยงพี่เลี้ยงที่ปรึกษา
 น้องเลี้ยง นางอินทิรา ทันตวิวัฒนานนท์ นักวิชาการสาธารณสุข ศูนย์ข้อมูลและระบาดวิทยา สถาบันบำราศนราดูร  พี่เลี้ยงในหน่วยงาน นางวราภรณ์ เทียนทอง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ พยาบาลประจำหน่วยงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในสถาบันบำราศนราดูร  ทีมงานสนับสนุน เจ้าหน้าที่ในศูนย์ข้อมูลและระบาดวิทยา สถาบันบำราศนราดูร


ดาวน์โหลด ppt การเฝ้าระวังผู้ป่วยกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (ILI) ที่เข้ารับการรักษาในสถาบันบำราศนราดูร A Hospital-Based Surveillance of ILI Case-Patients In Bamrasnaradura.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google