ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยChatrsuda Ekaluck ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
เขมกร เที่ยงทางธรรม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑ กรุงเทพฯ
โครงการ ระบาดวิทยาวัณโรคในผู้ต้องขัง กับการป้องกันควบคุมวัณโรค พื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑ กรุงเทพฯ เขมกร เที่ยงทางธรรม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑ กรุงเทพฯ
2
ความเป็นมา วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อที่กลับมาเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศในภูมิภาคต่างๆของโลกในปัจจุบันโดยเฉพาะในประเทศไทย และปัญหาวัณโรคยิ่งรุนแรงมากขึ้น ในสถานการณ์แพร่ระบาดของการติดเชื้อเอดส์ ทำให้ต้องมีมาตรการควบคุมวัณโรคทุกกลุ่มให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ต้องขังของเรือนจำ เพราะมีอัตราป่วยที่สูงกว่าประชาชนทั่วไปถึง ๓๖ เท่า เนื่องจากมีการแพร่กระจายติดต่อกันเองระหว่างผู้ต้องขัง เพราะผู้ต้องขังต้องอยู่อย่างแออัด การหมุนเวียนระบายอากาศได้น้อย ประกอบกับผู้ต้องขังมีปัจจัยเสี่ยง ต่อการติดเชื้อวัณโรคได้ง่าย เช่น มีการติดเชื้อเอดส์ ภาวะทุพโภชนาการ เป็นต้น อีกทั้งการดำเนินงานวัณโรคให้มีความสำเร็จ ยังขึ้นกับการให้ความสำคัญเชิงนโยบายในการควบคุมวัณโรคในเรือนจำ มีการแยกผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อ การทำ DOT ตลอดจนการจัดทำทะเบียนวัณโรคอย่างต่อเนื่องในทุกเรือนจำ
3
ความเป็นมา (ต่อ) แต่ปัญหาวัณโรคในเรือนจำที่สำคัญ คือ การพ้นโทษก่อนครบกำหนดการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคในเรือนจำ ซึ่งสูงถึงร้อยละ ๘ อัตราการเข้าถึงยาต้านไวรัสในผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อ HIV ร่วมด้วย ซึ่งพบว่าต่ำกว่าเป้าหมายของประเทศ การตรวจเพื่อวินิจฉัยวัณโรคในเรือนจำบางส่วนเข้าถึงการรักษาล่าช้า และการส่งรายงานไม่ครบถ้วน ตรงเวลา ทำให้สถานการณ์วัณโรคในเรือนจำคลาดเคลื่อน ไม่สะท้อนสภาพปัญหาอย่างแท้จริง ดังนั้น การศึกษาระบาดวิทยาและการควบคุมวัณโรคในเรือนจำ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนารูปแบบการดำเนินการควบคุมวัณโรคในเรือนจำที่มีประสิทธิภาพ
4
คำถามการวิจัย ระบาดวิทยาวัณโรคในผู้ต้องขังและการควบคุมป้องกันในเรือนจำ พื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑ กรุงเทพฯ เป็นอย่างไร
5
วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์วัณโรคในเรือนจำ พื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑ กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาการดำเนินงานควบคุมป้องกันวัณโรคในเรือนจำ พื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑ กรุงเทพฯ
6
วิธีการศึกษา (๑) รูปแบบการศึกษา
เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจในเรือนจำ จำนวน ๑๑ แห่ง ในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑ กรุงเทพฯ โดยศึกษาข้อมูลทางระบาดวิทยา และวิธีการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรค เก็บข้อมูลระหว่าง ม.ค.-มี.ค. 54
7
วิธีการศึกษา (๒) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มประชากร
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานวัณโรคในเรือนจำ ผู้ป่วยวัณโรคในเรือนจำ กลุ่มตัวอย่าง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานวัณโรคในเรือนจำทุกคน ผู้ป่วยวัณโรคในเรือนจำทุกคน
8
วิธีการศึกษา (๓) แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เกี่ยวกับอัตราป่วย ความชุก อัตราตาย อัตราการโอนออกและอัตราการเปลี่ยนของผลเสมหะจากบวกเป็นลบเมื่อสิ้นสุดระยะเข้มข้น ใน New M+
9
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
การนำผลไปใช้ประโยชน์ ผลที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการควบคุมป้องกันและพัฒนาปรับปรุงรูปแบบการควบคุมวัณโรคในเรือนจำให้มีประสิทธิภาพต่อไป
10
ระยะเวลาที่ศึกษา ธันวาคม ๒๕๕๓ – กันยายน ๒๕๕๔
11
งบประมาณและแหล่งทุน ๑. ค่าใช้จ่ายในการออกปฏิบัติงานประสานงานโครงการ
- ค่าเบี้ยเลี้ยง ๔ คน × ๒๑๐ บาท × ๖ วัน = ๕,๐๔๐ บาท - ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ๖ วัน × ๕๐๐ บาท = ๓,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๘,๐๔๐ บาท ๒. ค่าใช้จ่ายในการออกปฏิบัติงานเก็บข้อมูลครั้งที่ ๑ ๓. ค่าใช้จ่ายในการออกปฏิบัติงานเก็บข้อมูลครั้งที่ ๒ ๔. ค่าใช้จ่ายในการตอบแบบสัมภาษณ์ จำนวน ๒๕ บาท × ๓๐๐ คน = ๗,๕๐๐ บาท ๕. ค่าอุปกรณ์แจกผู้ป่วยวัณโรค จำนวน ๑๒๐ บาท × ๓๐๐ คน = ๓๖,๐๐๐ บาท ๖. ค่าจ้างพิมพ์ หน้าละ ๒๐ บาท × ๑๐๐ หน้า = ๒,๐๐๐ บาท ๗. ค่าจัดทำเล่ม เล่มละ ๑๐๐ บาท × ๓๐ เล่ม = ๓,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๗๒,๖๒๐ บาท
12
ทีมงาน ที่ปรึกษา นายแพทย์วิทยา หลิวเสรี ผอ.สคร.ที่ ๑ กรุงเทพฯ
นายแพทย์วิทยา หลิวเสรี ผอ.สคร.ที่ ๑ กรุงเทพฯ นางฤทัยวรรณ์ บุญเป็นเดช หัวหน้างานวัณโรค สคร.ที่ ๑ กรุงเทพฯ
13
ทีมงานผู้ร่วมวิจัย นางธัญญา รอดสุข สคร.ที่ ๑ กรุงเทพฯ
นางธัญญา รอดสุข สคร.ที่ ๑ กรุงเทพฯ นางธัญวัลย์ นันทดิลกวริทธิ์ สคร.ที่ ๑ กรุงเทพฯ นางสาวพรหมพร จำปาทอง สคร.ที่ ๑ กรุงเทพฯ นางปิยานุช มีมงคลดิลกกุล สคร.ที่ ๑ กรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่รับผิดชอบเรือนจำ พื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑ กรุงเทพฯ ๑๑ แห่ง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.