ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การประชุมเชิงปฏิบัติการ
แผนประคองกิจการ (Business Continuity Plan: BCP) กรณีตัวอย่างการระบาดของโรคอุบัติใหม่ นายธานินทร์ ผะเอม รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วันอังคารที่ 7 มิถุนายน 2554 เวลา 9.00 – น. ณ โรงแรมที เค พาเลซ กรุงเทพมหานคร
2
โครงการศึกษาแผนดำเนินงานธุรกิจต่อเนื่องของ สศช.
ความเป็นมา 29 ก.ย. 52 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ สศช. กันเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ วงเงิน 10 ล้านบาทไว้เบิกเหลื่อมปีสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการศึกษาแผนดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง 23 ก.ย. 53 สศช. ได้ดำเนินการจัดจ้าง บ. ที่ปรึกษา เพื่อดำเนินโครงการศึกษาแผนดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง (BCP) โดยวิธี คัดเลือก ในวงเงิน 10 ล้านบาท และลงนามในสัญญาจ้างบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอฟเอเอส จำกัด เป็นที่ปรึกษา ตามสัญญาจ้างที่ปรึกษา เลขที่ (จ.) 37/2553 7 มิ.ย. 54 ที่ปรึกษากำลังดำเนินการศึกษาในขั้นตอนร่างรายงานฉบับสุดท้าย โดยคาดว่าจะสิ้นสุดกระบวนการศึกษา ภายในสิ้นปี 2554 และจะจัดทำเป็นข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป เหตุผลและความจำเป็น ปัจจุบันมีเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ล้วนสร้างผลกระทบกว้างขวางต่อทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐาน ภาคการผลิต วิถีการดำรงชีพของประชาชน ซึ่งต้องใช้เวลาตลอดจนงบประมาณจำนวนมากในการแก้ไขหรือสร้าง ความเชื่อมั่นให้กลับคืนมา กลไกการดำเนินงานของภาครัฐมีคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช.) โดยมีแผนการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ เป็นกรอบในการดำเนินการ ขณะที่ ระดับภาคเอกชนยังไม่มีแผนรองรับที่เชื่อมโยงกับแผนในระดับหน่วยงานของรัฐ ดังนั้น การจัดทำแผนรองรับ กรณีภัยพิบัติและเหตุฉุกเฉินในระดับภาคเอกชน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ภาคการบริการ และภาคเอกชนที่ ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน จะทำให้การดำเนินธุรกิจและกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ของภาคเอกชนมีความ ต่อเนื่องในกรณีที่เกิดวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3
โครงการศึกษาแผนดำเนินงานธุรกิจต่อเนื่องของ สศช. (ต่อ)
วัตถุประสงค์ จัดทำข้อเสนอแนวทางในการบริหารจัดการและการกำกับดูแลแผนดำเนินธุรกิจต่อเนื่องทั้งแผนระดับชาติ และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดทำแผนระดับองค์กรของภาครัฐและเอกชนที่บูรณาการเชื่อมโยงกับแผนระดับชาติอย่างมีเอกภาพ ขอบเขตการศึกษา ศึกษาประเภทความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศไทยและผลกระทบต่อการดำเนินงาน/ธุรกิจของภาครัฐและเอกชน ตลอดจนแนวทางป้องกัน แก้ไข ภายใต้กรอบแนวคิดและหลักการที่ครอบคลุมประเด็น ได้แก่ ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศไทย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการดำเนินการธุรกิจขององค์กรภาครัฐและเอกชนไทย การกำหนดประเภทองค์กรภาครัฐและเอกชนที่อาจได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงประเภทต่างๆ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีแผน ดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง และแนวทางป้องกันและแก้ไขความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระดับองค์กร
4
กลไก กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสาธารณภัยของประเทศไทย
กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ 1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ม.73 2) ระดับพรบ. ได้แก่ พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย พ.ศ. 2550 พรบ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พรบ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2523 พรบ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2499 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม พรบ.ป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 3) ระดับกระทรวง ได้แก่ ระเบียบก.การคลังว่าด้วยเงินทดรอง ราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน พ.ศ และที่แก้ไข เพิ่มเติม มอก.22301/2553 ระบบการบริหารความ ต่อเนื่องทางธุรกิจ 4) ระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น - พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสา ธารณภัย.พ.ศ ของ กทม. กลไกการบริหาร ระดับชาติ คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช.) โดยมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ ระดับท้องถิ่น: มีผู้ว่าราชการจังหวัดรับผิดชอบ หากเกินขีดความสามารถ ให้รายงานขอรับการสนับสนุนจากผู้อำนวย การกลาง หรือ ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ซึ่งมีกลไกรับผิดชอบในระดับท้องถิ่น เช่น - กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัด อำเภอและเทศบาล - กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเมืองพัทยา - กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนกรุงเทพมหานคร เป็นต้น โดยมีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภายใต้กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รับผิด ชอบหลักในการดำเนินการ ประสานงานและการเตรียมความพร้อมทั้งก่อนและหลังการเกิดภัยพิบัติ ยุทธศาสตร์และแผน อาทิ 1) แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2553 – 2557 ครอบคลุม 14 ประเภทภัย 4 ภัยความมั่นคง 2) แผนป้องกันประเทศ(กระทรวงกลาโหม) 3) แผนผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ 4) แผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก และแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมในการป้องกัน และแก้ปัญหาการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ (พ.ศ ) เป็นต้น 14 สาธารณภัย ได้แก่ ภัยจากพายุหมุนเขต ร้อน อุทกภัย และดินโคลนถล่ม ภัยจากอัคคีภัย ภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย ภัยจากการ คมนาคมและขนส่ง ภัยแล้ง ภัยจากอากาศหนาว ภัยจากไฟป่าและหมอกควัน ภัยจากแผ่นดินไหว และอาคารถล่ม ภัยจากคลื่นสึนามิ ภัยจาก เทคโนโลยีสารสนเทศ ภัยจากโรคระบาดใน มนุษย์ ภัยจากโรคแมลง สัตว์ ศัตรูพืชระบาด 4 ภัยความมั่นคง ได้แก่ การก่อวินาศกรรม ภัย จากทุ่นระเบิดกับระเบิด ภัยทางอากาศ ภัยจาก การชุมนุมประท้วงและก่อการจลาจล
5
แผนภาพแสดงความเชื่อมโยงของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยในปัจจุบัน
สถานการณ์แผนธุรกิจต่อเนื่องของไทยในปัจจุบัน แผนภาพแสดงความเชื่อมโยงของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยในปัจจุบัน ที่มา: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในอดีตประเทศไทยมีประสบการณ์ในการจัดการภัยพิบัติค่อนข้างจำกัด ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ได้แก่ ภาวะน้ำท่วม พายุฝน และภัยแล้งที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล ซึ่งไม่มีความรุนแรงมากนัก การเตรียมการต่างๆ จึงอยู่บนสมมุติฐานของลักษณะภัยพิบัติดังกล่าวภายในขอบเขตความรุนแรงระดับหนึ่งเท่านั้น ระบบการเตรียมพร้อม การจัดการในภาวะฉุกเฉิน และการกู้ภัยจึงไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในรองรับภัยขนาดใหญ่ ประเทศไทยต้องเผชิญภัยพิบัติขนาดใหญ่หลายครั้งทำให้เกิดการตื่นตัวในเชิงนโยบายของรัฐ ทำให้ปัจจุบันมีการพัฒนาการจัดการภัยพิบัติของประเทศอย่างเป็นระบบมากขึ้น แต่ยังคงมีปัญหาในการประสานสั่งการระหว่างหน่วยงาน
6
ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอเพื่อจัดการภัยพิบัติของไทย
โครงสร้างกลไกและองค์กร พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 เป็นกฎหมายหลักในการบริหารจัดการ ซึ่งกำหนดให้มีการจัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 3 ระดับ คือ แผนระดับชาติ ระดับจังหวัด และแผนของกรุงเทพมหานคร โดยครม.ให้ความเห็นชอบ แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 17 พ.ย.2552 ปัญหาการบริหารจัดการสาธารณภัย ปรับวิธีคิด การเสริมบทบาทเอกชน และการประยุกต์ใช้ ICT วัฒนธรรมและแนวคิดของคนไทย ขาดวัฒนธรรมและ ความตระหนักถึงการสร้างความปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยง ขณะที่วิธีคิดด้านการพัฒนาไม่เชื่อมโยงกับการจัดการภัย พิบัติ เช่น การลงทุนด้านระบบชลประทานสามารถป้องกัน/ ลดผลกระทบจากภัยแล้งและน้ำท่วมได้ในขณะเดียวกัน 2.ด้านบทบาทและภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขาดเอกภาพในการปฏิบัติ และความเป็นเอกภาพในการ บริหารจัดการทั้งในระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับ ท้องถิ่น ผู้รับผิดชอบหลัก มีอำนาจสั่งการได้ไม่ครอบคลุม ทุกหน่วยงาน การจัดทำโครงการด้านสาธารณภัยมีลักษณะ ต่างฝ่ายต่างดำเนินการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้า และไม่มีการทำงานในลักษณะองค์รวมเพื่อ ประสานการทำงานในทิศทางเดียวกันและแก้ไขปัญหาระยะ ยาว 3.ด้านขีดความสามารถของหน่วยงานปฏิบัติ ขาดแคลน งบประมาณ บุคลากร เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ที่ เหมาะสมและจำเป็นในเบื้องต้น รวมทั้งเครื่องมือพิเศษที่ จำเป็นต้องใช้ในกรณีต่างๆ และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน ส่วนกำลังคนที่มีอยู่ก็ยังขาดความรู้และความ ชำนาญในเชิงเทคนิค 4.ด้านองค์ความรู้และอำนาจการตัดสินใจในขั้นตอนการ ปฏิบัติ ประเทศไทยยังขาดการวิจัยและพัฒนาด้านสาธารณ ภัยอย่างต่อเนื่อง ยังไม่มีความชัดเจนในการกำหนดพื้นที่ เสี่ยงภัย และการเผชิญปัญหา ระเบียบและกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับการป้องกันสาธารณภัยและผังเมืองยังไม่ สามารถบังคับใช้อย่างได้ผล ขณะที่กฎหมายอื่นๆ เป็น อุปสรรคต่อการจัดการสาธารณภัย 1.การปรับวิธีคิด สร้างค่านิยมและวัฒนธรรมของคนไทยเพื่อให้การบริหารจัดการกับสาธารณภัยสอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงและสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 2.ปรับปรุงกลไกการประสานงาน สื่อสารและการสั่งการ มักพบว่ามีหน่วยงานจำนวนมากเข้าไปในพื้นที่ประสบภัยโดยไม่มีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพรองรับ ขาดระบบประสานงานและการสื่อสารข้อมูล ไม่มีผู้มอบหมายงานหลัก ทำให้อาสาสมัครไม่ทราบว่าควรจะทำหน้าที่อะไร หรือช่วยเหลือใคร ในขณะเดียวกัน อาสาสมัครแต่ละคนอาจไม่ได้รับการฝึกฝนเตรียมตัวมาก่อน 4. แนวทางการพัฒนาระบบอาสาสมัครเพื่อการจัดการภัยพิบัติ รัฐควรให้การสนับสนุนทั้งอาสาสมัครที่มีการจัดตั้งโดยหน่วยงานของรัฐ และอาสาสมัครภาคประชาชนซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อให้อาสาสมัครสามารถมีบทบาทในทุกขั้นตอนของการจัดการภัยพิบัติ 2.สร้างปัจจัยส่งเสริมให้เกิดระบบอาสาสมัคร ได้แก่ เหตุการณ์ภัยพิบัติที่รุนแรงและระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้สึกร่วมและต้องการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย จนก่อให้เกิดความตื่นตัวในการทำงานอาสาสมัครอย่างมาก 5. พัฒนา ICT เพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติ (1) เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลและประมวลผลสำหรับการวางแผนเพื่อการตัดสินใจ (2) เป็นเครื่องมือในการประสานงาน เผยแพร่ข้อความเตือนภัยและคำแนะนำต่างๆ ถึงประชาชนในพื้นที่เสี่ยง (3) ช่วยสนับสนุนการช่วยเหลือภาคสนามในการกำหนดตำแหน่งและเส้นทางของทีมปฏิบัติการ การมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน การบริหารจัดการแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ สู่การปฏิบัติ การบริหารจัดการแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นระบบและเป็นขั้นเป็นตอนตามหลักของ P-D-C-A กล่าวคือ Plan ต้องจัดทำยุทธศาสตร์ให้ชัดเจนทั้งวัตถุประสงค์ เป้าหมายและแนวทางการพัฒนา รวมทั้งจัดทำระบบการบริหารจัดการสู่การปฏิบัติ Do ทุกภาคส่วนมีการปฏิบัติงานภายใต้ระบบที่ออกแบบไว้อย่างจริงจังและเต็มประสิทธิภาพ Check ดำเนินการตรวจสอบติดตามความก้าวหน้า และประเมินผลที่สะท้อนผลกระทบและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อผลการพัฒนาที่เกิดขึ้น และ Act การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการดำเนินงานให้การขับเคลื่อนแผนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยมีหลักการและวัตถุประสงค์ ดังนี้ หลักการ ๑.ให้สังคมไทยยอมรับและใช้แผนฯ ๑๑ เป็นกรอบทิศทางหลักในการพัฒนาประเทศ ขณะที่ภาคีการพัฒนาเข้าใจบทบาทของตนเองในการร่วมพัฒนาอย่างชัดเจน ๒.กระจายการพัฒนาลงสู่พื้นที่โดยตรง ยึดหลักการพัฒนาพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วม (A-F-P ) ให้จังหวัดเป็นพื้นที่ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนา และเป็นจุดเชื่อมโยงการพัฒนาจากระดับชุมชนสู่ระดับประเทศ และระดับประเทศสู่ชุมชน ๓.ใช้ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกส่วนของระบบเศรษฐกิจและสังคม และในทุกพื้นที่ ท้องถิ่น และชุมชน ๔.ใช้กลไกและเครื่องมือการพัฒนาของภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน และสื่อมวลชนอย่างบูรณาการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของแผนฯ ๑๑ สู่การปฏิบัติ สามารถสนองความต้องการของคนไทยทั้งประเทศ เพื่อเสริมสร้างบทบาททุกภาคีให้มีส่วนร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แผนฯ ๑๑ สู่การปฏิบัติ เกิดความร่วมมือ และดำเนินการแบบบูรณาการ เพื่อเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนแผนฯ ๑๑ สู่การปฏิบัติในทุกระดับอย่างมีสัมฤทธิผล เพื่อให้การติดตามและประเมินผลเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบตั้งแต่ภาพรวมของประเทศลงสู่ระดับภูมิภาค พื้นที่ และชุมชน การบริหารจัดการแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยไปสู่การปฏิบัติที่เป็นระบบ
7
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ในกลไกในระดับชาติ ต้องมีกระบวนการในการดูแลครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการป้องกันเพื่อเตรียมการและเตือนภัย ขั้นตอนระหว่างเกิดเหตุการณ์ และขั้นตอนการฟื้นฟูหลังเกิดเหตุการณ์ 1 ในทางปฏิบัติ กลไก และกระบวนการรับมือกับภัยพิบัติควรให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนรวมให้มากที่สุด โดยเฉพาะชุมชนในพื้นที่ และหน่วยงานในระดับท้องถิ่น เช่น อปจ. และ อปท. 2 ต้องมีการจัดทำกฎหมายที่จะดูแล และคุ้มครองเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานโดยต้องมีการกำหนดนโยบาย หน่วยงานหลักรับผิดชอบ และโครงสร้างการสั่งการที่ชัดเจน 3 ควรมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นที่มีการรวบรวมข้อมูลโดยหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำมาประเมินสถานการณ์ที่ถูกต้อง สามารถพิจารณาการออกประกาศเตือนภัยได้ทันเวลา 4
8
ขอบคุณ
9
กลไกการปฏิบัติงานปัจจุบัน
ที่มา: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
10
BACK UP
11
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
ประวัติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 ก.พ เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของสำนักนายกรัฐมนตรี วิสัยทัศน์ เป็นหน่วยงานหลักในการวางแผน และจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน ที่ยึดประโยชน์ส่วนรวม ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และมีประสิทธิภาพสูง ภารกิจและอำนาจหน้าที่ เสนอแนะและให้ความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อคณะรัฐมนตรี พิจารณาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับข้อเสนออื่นๆของ สศช.แล้วทำความเห็นเสนอต่อ คณะรัฐมนตรี เสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีในกิจการเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตามที่ นายกรัฐมนตรีขอให้พิจารณา จัดให้มีการประสานงานระหว่าง สศช.กับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการจัดทำ แผนงาน โครงการพัฒนาและในด้านการปฏิบัติตามแผนงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการ พัฒนา เศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ พิจารณางบลงทุนประจำปี ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจเพื่อเสนอ ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี และกระทรวงต้นสังกัดของรัฐวิสาหกิจ ตามระเบียบว่าด้วยงบลงทุนของ รัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2522
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.