ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยYu-phin Kanjanapas ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
การแทรกสอดของคลื่น การแทรกสอดของคลื่นเกิดขึ้นจากคลื่นตั้งแต่สองขบวน ขึ้นไปเคลื่อนที่มาพบกัน ทำให้เกิดการรวมกันของคลื่นได้ 2 แบบ คือ แบบหักล้างกันและแบบเสริมกัน
2
แหล่งกำเนิดอาพันธ์ คือ แหล่งกำเนิด 2 แหล่งที่ปล่อย คลื่นออกมามีความถี่ ความยาวคลื่น อัตราเร็ว และแอมพลิจูด เท่ากัน และมีเฟสตรงกันและต่างกันคงที่
3
ถ้าแหล่งกำเนิด S1 และ S2 เป็นแหล่งกำเนิดคลื่น อาพันธ์มีเฟสตรงกัน แนวตรงกลางจะเป็นคลื่นรวมแบบเสริม กัน เรียกว่า แนวปฏิบัพกลาง (A0) ถ้าแหล่งกำเนิด S1 และ S2 เป็นแหล่งกำเนิดคลื่น อาพันธ์มีเฟสตรงกันข้าม แนวตรงกลางจะเป็นแนวคลื่นรวม แบบหักล้างกัน เรียกว่าแนวบัพกลาง (N0)
4
การแทรกสอดแบบเสริมกัน เป็นการแทรกสอดซึ่งสันคลื่นทั้งสองมารวมกันหรือ ท้องคลื่นมารวมกัน (เฟสตรงกันมาพบกัน) คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะมีสันสูงกว่าเดิม หรือท้องคลื่นลึกกว่าเดิม เรียกตำแหน่งนั้น ว่า ปฏิบัพ (Antinode , A)
5
การแทรกสอดแบบหักล้างกัน
เป็นการแทรกสอดซึ่งสันคลื่นกับท้องคลื่นมารวมกัน (เฟส ตรงกันข้ามมาพบกัน) คลื่นลัพธ์จะมีสันคลื่นต่ำกว่าเดิม หรือท้อง คลื่นตื้นกว่าเดิม เรียกตำแหน่งนั้นว่า บัพ (Node , N)
6
เมื่อแหล่งกำเนิดมีเฟสตรงกัน แนวเสริมกัน (Antinode) แนวหักล้างกัน (Node) l S1P - S2P l = n l S1P - S2P l = (n - 𝟏 𝟐 ) d 𝐬𝐢𝐧 𝜽 = n d 𝒔𝒊𝒏 𝜽 = (n - 𝟏 𝟐 ) 𝒅𝒙 𝑫 = n เมื่อ n = 0,1,2,… 𝒅𝒙 𝑫 = (n - 𝟏 𝟐 ) เมื่อ n = 1,2,3,…
7
การเลี้ยวเบน (Diffraction of Wave)
การเลี้ยวเบนเกิดขึ้นเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวาง คลื่น บางส่วนจะสะท้อนกลับ อีกบางส่วนที่สามารถผ่านไปได้จะสามารถ แผ่จากขอบสิ่งกีดขวางเข้าไปที่ด้านหลังของสิ่งกีดขวาง คล้ายกับคลื่น เคลื่อนที่อ้อมผ่านสิ่งกีดขวางนั้นได้ เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การ เลี้ยวเบน (คลื่นยังคงมีความยาวคลื่น ความถี่ และอัตราเร็วของคลื่น เท่าเดิม)
8
หลักการเลี้ยวเบน 1. ในการเลี้ยวเบนของคลื่น ความยาวคลื่น ความถี่ และอัตราเร็วยังคง เท่าเดิม 2. ถ้าเพิ่มความยาวคลื่นของคลื่นตกกระทบ จะเกิดการเลี้ยวเบนมาก ขึ้น 3. การเคลื่อนที่ของคลื่นผ่านช่องเปิด จะเกิดการเลี้ยวเบนมากยิ่งขึ้น ถ้าขนาดช่องเปิด (d) น้อยกว่าความยาวคลื่น ()
9
การอธิบายการเลี้ยวเบนโดยใช้ หลักการของฮอยเกนส์ ซึ่งกล่าวว่าแต่ละจุดบนหน้าคลื่นถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดของ คลื่นใหม่ซึ่งทำให้เกิดคลื่น ซึ่งเคลื่อนที่ไปในทุกทิศทุกทางด้วย อัตราเร็วเท่ากับอัตราเร็วคลื่นเดิม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.