ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.)
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) ข้อมูลทั่วไป พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม สังกัด : กระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ : นายกฤษฎา อุทยานิน (โดยตำแหน่ง - แทนผู้อำนวยการ สศค.) กรรมการผู้แทน กค. : นายอนันต์ สิริแสงทักษิณ Website : โทร คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการของบริษัทจำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวง การคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด กรรมการผู้จัดการ (CEO) : นางดวงพร อาภาศิลป์ สัญญาจ้างลงวันที่ : 22 พฤศจิกายน 2550 ระยะเวลาจ้าง : 22 พ.ย. 50 – 21 พ.ย. 54 วาระที่ 1 วาระที่ 2 ที่มาของ CEO : Board รอง CEO บุคคลภายนอก (รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทเงินทุน สินเอเซีย จำกัด (มหาชน)) รอง CEO พนักงาน สัญญาจ้าง CFO พนักงาน สัญญาจ้าง พระราชกำหนดบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2540 วัตถุประสงค์ : ให้ บตท. มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยและกิจการอื่นที่ส่งเสริมและพัฒนาตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (ม. 7) ภายในกรอบวัตถุประสงค์ให้ บตท. มีอำนาจกระทำกิจการต่างๆ ดังต่อไปนี้ (ม. 8) (1) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครองหรือมีทรัพย์สินต่างๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับตจำนอง แลกเปลี่ยน โอน รับโอนหรือดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักร (2) รับโอนสินเชื่อของสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (3) ดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (4) ออกหลักทรัพย์หรือตราสารการเงิน (5) รับประกันความเสี่ยงให้แก่ผู้ลงทุน (6) เรียกดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม และค่าบริการาทางการเงินอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (7) กู้ยืมเงินเพื่อธุรกิจของบรรษัท (8) รับฝากเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจของบรรษัท (9) ใช้เงินคงเหลืออยู่เปล่าในการลงทุนเพื่อนำมาซึ่งรายได้ตามที่ได้รับอนุญาตจาก คกก. (10) กระทำการที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของบรรษัท ในกรณีที่บรรษัทขอให้รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ที่บรรษัทกู้ยืมจากแหล่งเงินกู้ยืมในประเทศหรือต่างประเทศ ให้รัฐบาลมีอำนาจค้ำประกันเงินกู้นั้นได้ แต่จำนวนเงินกู้ที่จะค้ำประกันเมื่อรวมกับต้นเงินกู้ที่การค้ำประกันของรัฐบาลยังค้างอยู่ ต้องไม่เกินสี่เท่าของเงินตรากองทุนของบรรษัทเมื่อคำนวณเป็นเงินตราไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการค้ำประกันตามอำนาจที่มีอยู่ในกฎหมายใด (ม. 25) เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น Min-max ของเงินเดือน : 5,250 – 140,000 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : - บาท จำนวนพนักงาน : 54 คน (31 พ.ค. 54) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ คณะกรรมการประกอบด้วย ผอ.สศค. เป็นประธานฯ อธิบดีกรมที่ดิน ผู้แทน ธปท. ซึ่งผู้ว่าการ ธปท.มอบหมาย ผู้แทน ธอส. ผู้แทนกลต. และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกิน 4 คนเป็นกรรมการ และกรรมการผู้จัดการเป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้วยความเห็นชอบของ ครม. โดยในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชนอย่างน้อย 2 คน (ม. 13) วาระการดำรงตำแหน่ง : กรรมการซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี และกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน (ม. 14) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด : คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการผู้จัดการด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ม. 20) ปัจจุบันไม่มีโครงการที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล สัญญาจ้างผู้บริหาร มติคณะรัฐมนตรี ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ : - สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 2 ผู้อำนวยการส่วน : นายปัญญ์สุธา รายา ผู้จัดทำ : นายปนิธิ ภูเจริญ โทร ต่อ 6746 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง : - สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง -ไม่มี- ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 65/2547 การใช้เงินคงเหลืออยู่เปล่าของบรรษัทในการลงทุนเพื่อนำมาซึ่งรายได้ หรือซื้อหลักทรัพย์ที่มั่นคงถือเป็นการลงทุนในลักษณะแสวงหารายได้จากดอกเบี้ย เงินปันผล หรือผลตอบแทนเท่านั้น มิใช่เป็นกรณีที่เป็นการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทจำกัดโดยเข้าไปบริหารจัดการเองหรือมีส่วนในการบริหารจัดการด้วย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.