ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง (รยส.)
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง ข้อมูลทั่วไป โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง (รยส.) สังกัด : กระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ : นายอำนวย ปรีมนวงศ์ กรรมการผู้แทน กค. : นายอำนวย ปรีมนวงศ์ นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ นายพิทักษ์ ดิเรกสุนทร Website : โทร พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม. 9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการของบริษัทจำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวงการคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด ผู้อำนวยการ (CEO) : - นายอำนาจ เพิ่มชาติ รองผู้อำนวยการยาสูบ รักษาการผู้อำนวยการยาสูบ สัญญาจ้างลงวันที่ : - ระยะเวลาจ้าง : - รอง CEO พนักงาน สัญญาจ้าง CFO พนักงาน สัญญาจ้าง เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด ขั้นที่ 58 Min-max ของเงินเดือน : 5,510 – 113,520 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : 9,670 บาท จำนวนพนักงาน : 4,046 คน (31 พ.ค. 54) เนื่องด้วยโรงงานยาสูบ ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล การดำเนินการต่างๆ จึงเป็นการดำเนินการของกระทรวงการคลัง ในฐานะหน่วยงานเจ้าสังกัด อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังได้มีการมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจ ลงวันที่ 2 เมษายน 2552 ให้รักษาการผู้อำนวยการยาสูบปฏิบัติหน้าที่แทนในนามกระทรวงการคลังได้ ระเบียบบริหารงานโรงงานยาสูบ พ.ศ. 2543 มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ วัตถุประสงค์ : ไม่ระบุวัตถุประสงค์- ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ คณะกรรมการประกอบด้วย คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้ง มีจำนวนอย่างน้อย 5 คน แต่ไม่เกิน 15 คน สำหรับประธานกรรมการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้ง (ข้อ 6) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด : การแต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการยาสูบเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ข้อ 11) การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ปัจจุบันไม่มีโครงการที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ : -ไม่มี- หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน สิทธิพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง : - ไม่มี- ที่มาของข้อมูล สัญญาจ้างผู้บริหาร มติคณะรัฐมนตรี ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สิทธิพิเศษตาม พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ. 2509 การประกอบอุตสาหกรรมบุหรี่ซิกาแรตเป็นการผูกขาดของรัฐ (ม. 16) สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 2 ผู้อำนวยการส่วน : นายปัญญ์สุธา รายา ผู้จัดทำ : นางสาวพิมพ์นิภา โตประเสริฐ โทร ต่อ 6719 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง -ไม่มี- ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง (เรื่อง การห้ามแสดงผลิตภัณฑ์ยาสูบ ณ จุดขาย) เรื่องเสร็จที่ 718/2548 แม้การแสดงผลิตภัณฑ์ยาสูบ ณ ที่ขาย เป็นประเพณีปฏิบัติทางการค้าเพื่อให้ผู้บริโภคมีความอิสระในการเลือกสินค้าอันเป็นสิทธิของผู้บริโภค แต่ผลิตภัณฑ์ยาสูบเป็นสินค้าที่ทำให้เกิดโรคภัยร้ายแรงแก่ผู้บริโภค จึงมีกฎหมายควบคุมเกี่ยวกับการขายและการโฆษณาผลิตภัณฑ์ยาสูบ ดังนั้น การแสดงผลิตภัณฑ์ยาสูบ ณ จุดขาย จึงอาจมีทั้งกรณีที่เข้าข่ายและไม่เข้าข่ายเป็นการ “โฆษณา” ที่ต้องห้ามตาม ม. 8 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ จึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆ ไป โดยหากมีลักษณะเป็นการโฆษณายิ่งกว่าการขายตามปกติ เช่น จัดเรียงไว้สะดุดตาเป็นพิเศษ หรือให้ประโยชน์ตอบแทนจากการซื้อ ย่อมเข้าข่ายห้ามโฆษณาผลิตภัณฑ์ยาสูบ ตาม ม.8 พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฯ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.