งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ที่มาของอาเซียน Association of Southeast Asian Nations (ASEAN)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ที่มาของอาเซียน Association of Southeast Asian Nations (ASEAN)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความคืบหน้าในประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community-APSC)

2 ที่มาของอาเซียน Association of Southeast Asian Nations (ASEAN)
ก่อตั้งโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 1967 (พ.ศ. 2510) อาเซียนอยู่กับคนไทยมานาน และเป็นส่วนสำคัญของนโยบายต่างประเทศไทยเสมอมา 1) นอกจากไทยจะเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งอาเซียนแล้ว ที่ผ่านมา ไทยยังเป็นตัวขับเคลื่อนพัฒนาการของอาเซียนที่สำคัญฯ ตัวอย่างเช่น การจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียนในปี 2535 การจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และ การริเริ่มแนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อมโยงและการจัดทำแผนแม่บทเรื่องความเชื่อมโยงในอาเซียน เนื่องจากไทยเล็งเห็นประโยชน์ที่จะใช้กรอบความร่วมมือในระดับภูมิภาคของอาเซียนในการผลักดันนโยบายต่างๆ ที่สำคัญต่อไทย 2) ปัจจุบัน อาเซียนได้ขยายความร่วมมือไปหลากหลายสาขา และมีความเกี่ยวข้องกับประชาชนในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจ ดังนั้น อาเซียนจึงเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกหน่วยงานและทุกภาคส่วนจำเป็นต้องประสานความร่วมมือและบูรณาการการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศมากที่สุด 3) หลายท่านอาจเคยคิดสงสัยว่า เรื่องต่างๆ ที่ไทยทำในกรอบอาเซียน เป็นประโยชน์กับไทยมากเพียงใด หรือประเทศสมาชิกอื่นจะได้ประโยชน์มากกว่าหรือไม่ จึงขอเรียนว่า สิ่งที่อาเซียนดำเนินการทั้งหมดเป็นสิ่งที่ทุกประเทศสมาชิกเห็นชอบร่วมกัน เนื่องจากเห็นประโยชน์ร่วมกัน โดยคำนึงถึงว่า ประโยชน์ที่เกิดกับภูมิภาคย่อมส่งผลดีและส่งเสริมผลประโยชน์ของไทยในระยะยาวเช่นกัน 4) ความสำเร็จของอาเซียน ไม่ว่าจะเรื่องการเมือง (เช่น ปัญหากัมพูชา) หรือการรวมตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ปัจจุบันอาเซียนได้รับการยอมรับจากนานาประเทศและสามารถมีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลก โดยการที่ไทยมีบทบาทเด่นในอาเซียนก็ทำให้ไทยสามารถใช้กรอบอาเซียนในการผลักดันผลประโยชน์ของไทยในเวทีโลกด้วย ปัจจุบันได้ขยายความร่วมมือไปหลายสาขา และมีความเกี่ยวข้องกับประชาชนทุกภาคส่วน

3 นโยบายรัฐบาลนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ในเรื่องอาเซียน
นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สร้างความสามัคคีและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนและส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชียภายใต้กรอบความร่วมมือด้านต่าง ๆ และเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความมั่นคง (ข้อ 7.2) นโยบายเร่งด่วน เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและเร่งดำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค (ข้อ 1.6) อาเซียนเป็นวาระแห่งชาติของไทย เรื่องของอาเซียนจึงถูกบรรจุอยู่ในทั้งนโยบายเร่งด่วน และนโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบัน นโยบายด้านอาเซียน แบ่งออกได้เป็น 2 มิติ คือ มิติภายในประเทศ และมิติภายนอกประเทศ มิติภายในประเทศ เป็นเรื่องการดำเนินการภายในเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นประชาคมอาเซียน รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ ให้ความรู้แก่ประชาชน และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย มิติภายนอกประเทศ เป็นเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศสมาชิกในด้านต่างๆ รวมทั้งการส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจกันในภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนเป็นพื้นที่ที่มีสันติภาพ เสถียรภาพ เหมาะแก่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อไป การดำเนินนโยบายของไทยในเรื่องอาเซียนทั้ง 2 มิติ จะต้องทำควบคู่กันไป รวมทั้งต้องมีการประสานการทำงานให้เป็นภาพเดียวกันและสอดคล้องกัน 3

4 ขนาดและความสำคัญของเศรษฐกิจอาเซียน
ประชาคมอาเซียน เปรียบเทียบกับ ประชากร 604 ล้านคน (อันดับ 3 ของโลก) สหภาพยุโรป (≈ 500 ล้านคน/ 28 ประเทศ) GDP ขนาด 2.18 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (อันดับ 9 ของโลก) = 5.7 เท่าของไทย (≈ 345,000 ล้าน USD) การค้าระหว่างประเทศ 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (อันดับ 5 ของโลก) 5 เท่าของไทย (≈ 460,000 ล้าน USD) ต่างชาติมาลงทุนในอาเซียน 114 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 60% ของการลงทุนของต่างชาติในจีน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP growth) 4.7% ตารางนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและขนาดทางเศรษฐกิจของอาเซียนเมื่อรวมตัวกัน 10 ประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าอาเซียนถือเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง ประชากรของอาเซียนมีจำนวนกว่า 600 ล้านคน และจัดเป็นอันดับ 3 ของโลก ซึ่งมากกว่าสหภาพยุโรป GDP รวมกัน นับเป็นอันดับ 9 ของโลก หรือเกือบ 6 เท่าของไทย การค้าระหว่างประเทศรวมกันเป็นอันดับ 5 ของโลก การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) รวมกันเกินครึ่งของจีน และติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก หากพิจารณาแต่ละประเด็นจะเห็นว่าประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศมีจุดเด่นที่ส่งเสริมกันและกันอยู่ เช่น อินโดนีเซียมีประชากรมาก ในขณะที่สิงคโปร์และบรูไนฯ มี GDP สูง แต่ประชากรน้อย เป็นต้น

5 ประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน
เรื่องสำคัญที่คาบเกี่ยวกับ 3 เสาของประชาคมอาเซียน(Cross Cutting Issues) ความสัมพันธ์กับ นอกภูมิภาค ประชาคมอาเซียน ประชาชนอาเซียน (มากกว่า 600 ล้านคน) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน ปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือกับหุ้นส่วนต่างๆ

6 การประชุมคณะรัฐมนตรีของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ อาเซียน (AMM) การประชุมคณะกรรมาธิการสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การประชุม ASEAN Regional Forum(ARF) การประชุมคณะรัฐมนตรีของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน การประชุมสุดยอดอาเซียน การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติ(AMMTC) ประชาชนอาเซียน การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา(ADMM Plus) การประชุม AMMTC กับประเทศคู่เจรจา การประชุมรัฐมนตรีว่าด้วยเรื่องกฎหมายของอาเซียน (ALMM)

7 ประชาคม การเมือง ความมั่นคง เป้าหมาย ประเด็นสำคัญ เป้าหมาย
-Rules-Based Community of Shared Norms and Values ประเด็นสำคัญ -ประชาธิปไตย -สิทธิมนุษยชน -นิติธรรม -ผลประโยชน์รวมกันของประชาคม -อัตลักษณ์อาเซียน เป้าหมาย -Cohesive, Peaceful, Stable and Resilient Region with Shared Responsibility for Comprehensive Security ประเด็นสำคัญ -สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน -ไม่ใช้กำลังแก้ไขปัญหาและส่งเสริมสันติภาพ -การแก้ไขปัญหาต่างๆโดยสันติวิธี -การแก้ไขปัญหาความท้าทายในรูปแบบใหม

8 ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ปฏิสัมพันธ์กับนอกภูมิภาค
เป้าหมาย -Dynamic and Outward-Looking Region in an Increasingly Integrated and Interdependent World ประเด็นสำคัญ -การสร้างความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในโครงสร้างสถาปัตยกรรมในภูมิภาค (ARF, ADMM Plus, AMMTC and Dialogue Partners) -การร่วมมือกับประเทศและองค์กรนอกภูมิภาคเพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค -การหารือในประเด็นระหว่างประเทศที่มีนัยยะต่อสันติภาพและความมั่นคง

9 กลไกอื่นๆที่สนับสนุนการส่งเสริมความมั่นคงในภูมิภาค
AICHR ACWC AMF (ASEAN Maritime Forum) ASEANAPOL Network of ASEAN Peacekeeping Centres AHA Centre NADI AIPR ARCMA ASEANTOM เป้าหมาย: สนับสนุนอาเซียนให้ส่งเสริมความมั่นคงในภูมิภาค

10 AMMTC + Dialogue Partners
ASEAN Regional Forum (ARF) East Asia Summit (EAS) การร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน Expanded ASEAN Maritime Forum AMMTC + Dialogue Partners ASEAN Defense Ministers Meeting (ADMM) Plus UN และองค์การระหว่างประเทศและภูมิภาคอื่นๆ


ดาวน์โหลด ppt ที่มาของอาเซียน Association of Southeast Asian Nations (ASEAN)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google