งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการฯ 30 มิถุนายน 2549

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการฯ 30 มิถุนายน 2549"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการฯ 30 มิถุนายน 2549
ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคน และสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการฯ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 30 มิถุนายน 2549

2 2 2 กรอบแนวคิด : วิสัยทัศน์
น้อมนำ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวปฏิบัติ ยึด “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคีการพัฒนา วิสัยทัศน์ สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน : Green and Happiness Society มุ่งเสริมสร้างทุนของประเทศ ให้เข้มแข็งและ นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ พัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทย สู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ สร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมเป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ 2 ทุนสังคม ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ในช่วงศตวรรษแห่งเอเชีย จากกระบวนการจัดทำแผนฯ 10 ที่ผ่านเกือบ 2 ปี ขณะนี้ เราได้ข้อยุติกรอบแนวคิดของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 คือ - น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวปฏิบัติ - ยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา และ - เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคี โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ คือ อยากเห็นสังคมไทยเป็นสังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน (Green and Happiness Society) นอกจากนี้ ได้ข้อยุติว่าการพัฒนาประเทศให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว ต้องใช้ทุนที่มีอยู่ในประเทศให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ต้องพึ่งพาตนเอง ซึ่ง ประเทศไทยมีทุนของประเทศ 3 ทุน เป็นเสาหลักการพัฒนาประเทศ คือ ทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทรัพยากรฯ ซึ่งต้องเสริมสร้าง พัฒนา และใช้ประโยชน์จาก 3 ทุนนี้ เพื่อบรรลุกรอบแนวคิดและวิสัยทัศน์ สำหรับ ในครั้งนี้ สศช. ได้ร่างกรอบยุทธศาสตร์ในช่วงแผนฯ 10 ต้องให้ความสำคัญเพื่อการบรรลุกรอบแนวคิดและวิสัยทัศน์ ซึ่งมี 5 ยุทธศาสตร์ เป็นเรื่องที่เราจะดำเนินการให้เห็นผลใน 5 ปีข้างหน้า 1) การพัฒนาคนและสังคมไทยสู่สังคมภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เรื่องนี้เป็นเรื่องหลักที่ต้องทำ จะนำไปใช้ประโยชน์ทุนต่างๆ ทั้ง 3 ทุน เพื่อการพัฒนาประเทศได้ 2) การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมเป็นรากฐานที่มั่นคง ที่ 5 ปีข้างหน้าต้องทำเรื่องนี้ให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน 3) การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ในศตวรรษแห่งเอเซีย การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ผลกระทบมาเร็ว เราต้องสร้างความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจ 4) การพัฒนาบนความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างความมั่นคงฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นจุดเด่นที่ประเทศไทยมีฐานค่อนข้างมาก 5) การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ความยั่งยืน พัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทุนเศรษฐกิจ ทุน ทรัพยากร ธรรมชาติฯ เสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ความยั่งยืน 2

3 ประเด็นการนำเสนอ 1. วัตถุประสงค์ 2. แนวทางการพัฒนา
3. บทบาทภาคีการพัฒนา ประเด็นการนำเสนอ มี 5 ประเด็นหลัก วัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ แนวทางการพัฒนา บทบาทภาคีในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เป้าหมาย กระบวนการ กลไก และระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อทำให้สามารถการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. เป้าหมาย 3

4 1 2 3 วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ให้คนไทยทุกคนได้รับการพัฒนา
ทั้งทางร่างกาย จิตใจ ความรู้ ความสามารถ ทักษะการประกอบอาชีพ และความ มั่นคงในการดำรงชีวิต เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้กับครอบครัวและสังคมไทย เพื่อพัฒนาคนให้รอบรู้คู่คุณธรรม มีภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทัน และมีความสุข พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลง ก้าวสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ 1 เพื่อเตรียมคนให้พร้อมรองรับ การพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ 2 3 เพื่อสร้างความตระหนักให้คนในสังคม รู้ในคุณค่าของตนเองและผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างในการอยู่ร่วมกัน คงคุณค่าในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีส่วนร่วมในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม นำไปสู่สังคมที่มีความสงบสุข สามัคคีและเป็นปึกแผ่น 4

5 2.เสริมสร้างสุขภาวะคนไทย ในสังคมได้อย่าง สันติสุข
ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ 1. พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีภูมิคุ้มกัน พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงและก้าวสู่สังคมฐานความรู้ คน 2.เสริมสร้างสุขภาวะคนไทย ให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจที่ดี มีความสัมพันธ์ทางสังคมและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ 3. เสริมสร้างคนไทย ให้อยู่ร่วมกัน ในสังคมได้อย่าง สันติสุข แนวทางการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ในระยะ 5 ปี ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนใน 3 มิติ คือ การพัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรมโดยมุ่งให้เกิดการเสริมสร้างความรู้ตามความเหมาะสมของคนทุกกลุ่มทุกวัย ควบคู่กับการพัฒนาด้านจิตใจ เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ก้าวสู่สังคมฐานความรู้ได้อย่างมั่นคง และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ ในขณะเดียวกัน มุ่งเสริมสร้างคนไทยให้มีสุขภาวะที่ดี มีการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ควบคู่กับการเสริมสร้างคนไทยให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข การคุ้มครองทางเศรษฐกิจและสังคม กระบวนการยุติธรรม การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และมีความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต 5

6 1. พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีภูมิคุ้มกัน
พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงและก้าวสู่สังคมฐานความรู้ พัฒนาสมรรถนะ และทักษะแรงงาน รองรับการแข่งขัน ของประเทศ สร้าง/พัฒนาเด็ก และเยาวชน ให้พร้อม ทั้งสติปัญญา อารมณ์ ศีลธรรม จัดการความรู้ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เร่งสร้าง กำลังคน ที่มีความเป็นเลิศ พัฒนา การเรียนรู้ ตลอดชีวิต 6

7 1. 1. พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีภูมิคุ้มกัน
พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงและก้าวสู่สังคมฐานความรู้ 1. เร่งปฏิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ขยายรูปแบบการเรียนการสอน “เรียนให้รู้” พัฒนาหลักสูตรใน / นอกระบบมุ่ง ให้ความรู้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ศีลธรรม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม พัฒนาสื่อให้ทันสมัย พัฒนาคุณภาพครู สร้างเยาวชนรุ่นใหม่มุ่งสายอาชีวะ สร้างและพัฒนาเด็กและ เยาวชนให้มีความพร้อม ด้านสติปัญญา อารมณ์ และศีลธรรม แนวทางที่ 1 การพัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีภูมิคุ้มกัน พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงและก้าวสู่สังคมฐานความรู้ มุ่งเตรียมเด็กและเยาวชนทั้งด้านทักษะชีวิตและความรู้พื้นฐานในการดำรงชีวิต การพัฒนาสมรรถนะและทักษะแรงงาน และเร่งผลิตกำลังคนเพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการจัดการองค์ความรู้ แนวทางนี้ มีแนวทางย่อยที่ควรเร่งดำเนินการ 5 เรื่อง เรื่องแรก เป็นการสร้างและพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความพร้อมด้านสติปัญญา อารมณ์ และศีลธรรม โดย (1.) การเร่งปฏิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งพัฒนาสถานศึกษาที่มีศักยภาพสูงในแต่ละภูมิภาคและในพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะ ให้เป็นศูนย์การเรียนการสอนที่มีความโดดเด่นเฉพาะวิชา (2) ขยายรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งการ “เรียนให้รู้” ให้เด็กมีความสุขเมื่อเรียน โดยฝึกให้เด็กคิด วิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ ฝึกการปฏิบัติด้วยตนเองและรวมกลุ่มกัน โดยใช้แหล่งความรู้ตามธรรมชาติและแหล่งเรียนรู้สมัยใหม่ (3) พัฒนาหลักสูตรทั้งในและนอกระบบการศึกษาที่มุ่งให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและการนำไปใช้ในทางปฏิบัติทั้งในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ พร้อมทั้งสร้างบรรยากาศในสถานศึกษาให้เกิดการนำแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ให้ครูเป็นต้นแบบของการปฏิบัติ ควบคู่กับการบูรณาการเรื่องศีลธรรม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสอดแทรกความรู้เรื่องการลดความขัดแย้งแบบสันติวิธีไว้ในหลักสูตร (4) พัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย จูงใจให้เด็กสนใจและใฝ่รู้ สร้างโอกาสให้เด็กที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกลสามารถเข้าถึง ควบคู่กับการจัดทำหลักสูตรที่มุ่งให้ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เน้นภาคปฏิบัติคู่กับภาคทฤษฎี (5) พัฒนาคุณภาพครูให้มีความรู้ความสามารถในการชี้แนะ รู้เท่าทันวิทยาการสมัยใหม่อย่างสม่ำเสมอ สามารถจัดทำหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน ควบคู่กับส่งเสริมให้ครูสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกัน (6) สร้างเยาวชนรุ่นใหม่ที่มุ่งศึกษาสายอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น โดยผลักดันให้ภาคเอกชนเป็นแกนในการจัดการศึกษาระดับนี้ และยกย่องสถาบันอาชีวศึกษาที่เป็นเลิศ ส่วนในกลุ่มที่ศึกษาสายสามัญ เร่งยกระดับการเรียนการสอนในวิชาที่เป็นฐานการเรียนต่อในระดับสูงให้มีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการส่งเสริมผู้ที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานและกลับสู่ภูมิลำเนาได้มีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 7

8 ความรู้และทักษะพื้นฐาน จัดระบบการเรียนรู้
พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรม พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรม พัฒนาสมรรถนะและทักษะแรงงาน รองรับการแข่งขันของประเทศ ความรู้และทักษะพื้นฐาน ในการทำงาน จัดระบบการเรียนรู้ ในการประกอบอาชีพ เรื่องที่ 2 เป็นการพัฒนาสมรรถนะและทักษะแรงงานให้รองรับการแข่งขันของประเทศ โดย 1. เพิ่มพูนความรู้และทักษะพื้นฐานในการทำงาน ทั้งการคิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ แก้ปัญหา ตัดสินใจ ทำงานเป็นทีม และมีจริยธรรม โดย 1) เพิ่มความรู้ด้านทักษะพื้นฐานไว้ในทุกหลักสูตรการฝึกอบรมแรงงาน 2) พัฒนากำลังคนให้มีวินัยในการทำงาน มีความซื่อสัตย์ มุ่งผลสำเร็จของงาน และมีความรับผิดชอบต่อสังคม 2. เสริมสร้างการจัดระบบการเรียนรู้ในการประกอบอาชีพทั้งในด้านความรู้ ความสามารถและทักษะที่สอดคล้องกับวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ และมีการส่งต่ออย่างเชื่อมโยงตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปสู่ระดับวิชาอาชีพ โดย 1) เสริมสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน ชุมชนทุก ระดับในการพัฒนาสมรรถนะแรงงาน โดยจัดหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นที่หลากหลาย 2) ผลักดันองค์กรต่างๆ ในสังคม เช่น องค์กรชุมชน สถานประกอบการ สถาบันการแพทย์ สถานสงเคราะห์ เป็นต้น ให้จัดการศึกษาในรูป “ศูนย์การเรียน” ที่มุ่งจัดการเรียนขั้นพื้นฐานและวิชาการด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 3) เร่งรัดการจัดทำระบบคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาที่เป็นความต้องการและนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง 4) จัดทำข้อมูล ข่าวสารและความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานและความก้าวหน้าในวิชาชีพในทุกอาชีพเผยแพร่ผ่านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ 8

9 เร่งสร้างกำลังคน ที่มีความเป็นเลิศ ในการสร้างสรรค์ นวัตกรรม/
พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรม ผลิตและพัฒนากำลังคน ที่มีคุณภาพ ตามศักยภาพ ที่มีอยู่บนพื้นฐาน การพึ่งตนเอง สร้างปัจจัยสนับสนุน การพัฒนาวิทยาการ ทุกสาขา เร่งสร้างกำลังคน ที่มีความเป็นเลิศ ในการสร้างสรรค์ นวัตกรรม/ องค์ความรู้ใหม่ เร่งสร้างกำลังคนที่มีความเป็นเลิศในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ที่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ โดย (1)ผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพตามศักยภาพที่มีอยู่บนฐานการพึ่งตนเอง โดยเร่งผลิตนักวิจัยในสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและของสังคมไทย เพื่อเป็นแกนนำในการพัฒนาประเทศ - พัฒนานักวิจัยที่มีอยู่ให้มีศักยภาพ มีความคิดสร้างสรรค์และความเชี่ยวชาญสูงขึ้น สามารถสร้างนวัตกรรมที่นำมาใช้ประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมและเชิงพาณิชย์ - สนับสนุนให้ทำวิจัย พัฒนาและสร้างนวัตกรรมที่เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางชีวภาพ มุ่งสร้างสรรค์คุณค่าและมูลค่าเพิ่ม เพิ่มผลิตภาพโดยรวม นำไปสู่การพึ่งตนเองในระยะยาว (2) สร้างปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาวิทยาการทุกสาขาให้เป็นระบบ เน้นการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง กำหนดมาตรการจูงใจ และกระจายแหล่งเรียนรู้ให้กว้างขวางในทุกภูมิภาค โดย - ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในทุกสาขาอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีที่สร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการลงทุนจากต่างประเทศ ผลักดันให้บริษัทข้ามชาติจัดกิจกรรมวิจัยและพัฒนาในประเทศเพิ่มขึ้น สนับสนุนการร่วมลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาระหว่างภาครัฐและเอกชน -กำหนดมาตรการจูงใจที่มุ่งสนับสนุนให้นักวิจัยสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ยกเว้นภาษีทุกประเภทที่เกี่ยวกับงานวิจัยและพัฒนาทุกสาขา จัดสรรผลประโยชน์ที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนาให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรม เป็นต้น - กระจายและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทุกสาขาวิชา พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านต่าง ๆ สร้างเครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวข้องในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปสู่ภูมิภาคและชุมชน 9

10 พัฒนาการเรียนรู้ ตลอดชีวิต
พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรม พัฒนาการเรียนรู้ ตลอดชีวิต สร้างวัฒนธรรมการ เรียนรู้ให้กับคนทุกวัย พัฒนารูปแบบ/หลักสูตรที่สอดคล้องกับสภาพเมือง/ชุมชน ส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน ว&ท เบื้องต้นที่สามารถ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ปรับสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้ ตลอดชีวิต พัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีประเด็นสำคัญในเรื่องนี้ 4 ประเด็น เรื่องแรก ต้องสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้กับคนทุกช่วงวัย ให้ตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดย สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับทุกคนในสังคมไทย ให้เห็นความสำคัญและสนใจการเรียนรู้ในหลายรูปแบบ เกิดเป็น “สังคมแห่งการเรียนรู้” ปรับทัศนคติของสังคมให้ยกย่องผู้ที่ใฝ่ศึกษาอย่างต่อเนื่อง เรื่องที่สอง ต้องพัฒนารูปแบบและหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สอดคล้องกับสภาพของเมืองและชุมชน โดย - เปิดพื้นที่ทั้งสถานศึกษาและชุมชนให้เป็นสถานที่เรียนรู้ของคนในชุมชน จัดกิจกรรมหลังเวลาเรียนในโรงเรียน ขยายหลักสูตรสำหรับคนทั่วไปในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย เพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้ อาทิ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์กีฬา - พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ให้ปราชญ์ ผู้รู้ในพื้นที่เป็นผู้สอน --  ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเปิดโอกาสแก่ลูกจ้างได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในและนอกสถานประกอบการ และกำหนดค่าจ้างที่เหมาะสมกับคุณวุฒิที่สูงขึ้น รวมทั้งสร้างเส้นทางอาชีพที่มีความก้าวหน้า เรื่องที่ 3 ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเบื้องต้นที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดย -     ให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง -                     พัฒนาแหล่งเรียนรู้และศูนย์การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่ระดับชุมชนถึงระดับประเทศให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ เรื่องที่ 4 ปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับทุกคน โดย -     ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต โดยกำหนดมาตรการจูงใจ อาทิ การลดหย่อนภาษีให้ภาคเอกชนที่ร่วมลงทุน และส่งเสริมให้จัดการเรียนรู้ในสถานประกอบการ -     ปรับปรุงกฎ ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้เอื้ออำนวยและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง -     จัดระบบข้อมูลข่าวสารการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ทุกคนสามารถเข้าถึง รวมทั้งจัดหน่วยให้คำปรึกษาสำหรับการเรียนรู้ -     พัฒนาสถานที่เรียนรู้ให้เหมาะสมกับกิจกรรม โดยปรับปรุงสภาพทั่วไป จัดอุปกรณ์ต่างๆ และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ด้อยโอกาส 10

11 จัดการความรู้ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรม จัดการความรู้ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ระดับท้องถิ่น จัดการ พัฒนา ต่อยอด ใช้ประโยชน์ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ระดับประเทศ มุ่งสร้างศักยภาพการ แข่งขันในเวทีโลก บนฐานการพึ่งตนเอง แนวทางที่5 เป็นแนวทางสุดท้ายภายใต้แนวทางการพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม เป็นเรื่องการจัดการองค์ความรู้ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งระดับชุมชนถึงระดับประเทศ ในระดับท้องถิ่น เป็นการจัดการ พัฒนาต่อยอด ใช้ประโยชน์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อรักษาองค์ความรู้ดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาให้คงอยู่และเผยแพร่สู่สากล โดย -     จัดการความรู้ด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ชุมชนเป็นผู้ดำเนินการ สืบค้น ถอดความรู้/ภูมิปัญญาที่อยู่ในตัวคนออกเป็นความรู้ที่ผู้อื่นสามารถเรียนรู้ รวบรวมจัดเป็นคลังข้อมูลในชุมชน และนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชน อาทิ การจัดทำแผนชุมชน และคุ้มครองความรู้เหล่านี้ ทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย -     สนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากการปฏิบัติจริงร่วมกับปราชญ์ ผู้รู้ และผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ผ่านศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน และผลักดันให้เป็นวิชาในการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา -     นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาพัฒนา ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อย่างเป็นระบบ และนำไปผลิตสินค้าและบริการ ควบคู่กับการทำวิจัยพื้นบ้านที่ชุมชนร่วมกับสถาบันการศึกษาและภาครัฐ ส่วนการจัดการความรู้ระดับประเทศ มุ่งสร้างศักยภาพทางการแข่งขันในเวทีโลกบนฐานของการพึ่งตนเองตามศักยภาพของคนไทย โดย - สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาทุกสาขาให้ผลิตองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับศักยภาพของประเทศ ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง และผลักดันไปสู่การใช้ประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและ โดยปรับมาตรการจูงใจทางการเงินการคลัง ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา พัฒนาขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนา - พัฒนานวัตกรรมที่นำไปสู่การพึ่งตนเอง สามารถลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และปรับระบบจูงใจด้านการเงิน - จัดการทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นระบบ ให้ความสำคัญกับการคุ้มครอง การแบ่งปันผลประโยชน์ การนำองค์ความรู้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ มีองค์กร กลไก รับผิดชอบ 11

12 2.เสริมสร้างสุขภาวะคนไทย ในสังคมได้อย่าง สันติสุข
ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ 1. พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีภูมิคุ้มกัน พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงและก้าวสู่สังคมฐานความรู้ คน 2.เสริมสร้างสุขภาวะคนไทย ให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจที่ดี มีความสัมพันธ์ทางสังคมและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ 3. เสริมสร้างคนไทย ให้อยู่ร่วมกัน ในสังคมได้อย่าง สันติสุข แนวทางการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ในระยะ 5 ปี ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนใน 3 มิติ คือ การพัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรมโดยมุ่งให้เกิดการเสริมสร้างความรู้ตามความเหมาะสมของคนทุกกลุ่มทุกวัย ควบคู่กับการพัฒนาด้านจิตใจ เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ก้าวสู่สังคมฐานความรู้ได้อย่างมั่นคง และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ ในขณะเดียวกัน มุ่งเสริมสร้างคนไทยให้มีสุขภาวะที่ดี มีการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ควบคู่กับการเสริมสร้างคนไทยให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข การคุ้มครองทางเศรษฐกิจและสังคม กระบวนการยุติธรรม การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และมีความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต 5

13 2. 2. มีภูมิคุ้มกัน กินดี อยู่ดี
เสริมสร้างสุขภาวะคนไทยให้มีสุขภาพแข็งแรง ทั้งกายและใจที่ดี มีความสัมพันธ์ทางสังคม และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ 2. 2. มีภูมิคุ้มกัน กินดี อยู่ดี คนไทย มีสุขภาพแข็งแรง ทั้งกายและใจ ใช้ภูมิปัญญา/ องค์ความรู้ เสริมสร้างสุขภาวะ แนวทางการพัฒนาที่ 2 ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยฯ เป็นเรื่องการเสริมสร้างสุขภาวะคนไทยให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจที่ดี มีความสัมพันธ์ทางสังคมและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ มุ่งการสร้างคนไทยให้มีการกินดี อยู่ดี มีอาหารบริโภคเพียงพอกับการดำรงชีวิต มีภูมิคุ้มกัน โดยการลด ละ เลิกพฤติกรรมเสียงต่อสุขภาพ ให้มีการออกกลังกาย เล่นกีฬา ฯลฯ รวมทั้งการนำภูมิปัญญาของไทยที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ ซึ่งจะนำสู่การมีสุขภาวะที่ดี 12

14 2. เสริมสร้างสุขภาวะคนไทยให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจที่ดี
มีความสัมพันธ์ทางสังคมและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ 2. ส่งเสริมให้คนไทยบริโภคอาหารได้อย่างเพียงพอ ส่งเสริมการบริโภคที่ปลอดภัย ส่งเสริมให้คนมีพัฒนาการด้านสุขภาพที่เหมาะสมตามช่วงวัย สนับสนุนให้คนไทยลด ละ เลิกพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงทางสุขภาพ แนวทางย่อยภายใต้แนวทางการพัฒนาที่ 2 การเสริมสร้างสุขภาวะคนไทยฯ มี 4 เรื่องหลัก ใ นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารที่เพียงพอและปลอดภัยให้ความสำคัญกับ การส่งเสริมให้คนไทยมีอาหารบริโภคอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะคนยากจนและด้อยโอกาส โดยให้ชุมชนนำภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ที่มีอยู่ / องค์ความรู้ใหม่ มาพัฒนาให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ สร้างความหลากหลายทางชีวภาพในทุกพื้นที่ ส่งเสริมการบริโภคที่ปลอดภัย มุ่งพัฒนาแหล่งอาหารในภาคเกษตรให้ปลอดสารพิษและสารเคมี โดยขยายพื้นที่เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรอินทรีย์ และเกษตรยั่งยืนให้กว้างขวาง ส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานเทคโนโลยีสะอาดในการทำเกษตรกรรม ใช้ปุ๋ยชีวภาพ และใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร ในส่วนของการสร้างภูมิคุ้มกันให้คนไทยมีการดูแลสุขภาพชิงป้องกัน มีแนวทางที่สำคัญในเรื่อง ส่งเสริมให้คนมีพัฒนาการด้านสุขภาพที่เหมาะสมตามช่วงวัย โดยการเตรียมความพร้อมของคู่สมรส เด็กแรกเกิด จนถึงวัยสูงอายุ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และภาวะโภชนาการที่เหมาะสม สนับสนุนให้คนไทยลด ละ เลิกพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงทางสุขภาพ ควบคู่กับการดูแลสุขภาพ รู้จักการป้องกันโรคเบื้องต้น มีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่เป็นภัยต่อสุขภาพ มีการออกกำลังกาย เล่นกีฬา และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ในการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของคนไทย สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญา องค์ความรู้ที่มี เช่น สมุนไพร ภูมิปัญญาไทย และวัฒนธรรมไทย รวมทั้งใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย แทนการใช้สารเคมี เพื่อสร้างความปลอดภัยในการบริโภคและการประกอบอาชีพ ควบคู่กับการพัฒนาการแพทย์ทางเลือกและการแพทย์แผนไทย เพื่อสร้างสรรค์มูลค่าทางเศรษฐกิจและลดการพึ่งพิงทรัพยากรจากภายนอก ส่งเสริมการใช้สมุนไพร ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมไทย ในการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี 13

15 2.เสริมสร้างสุขภาวะคนไทย ในสังคมได้อย่าง สันติสุข
ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ 1. พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีภูมิคุ้มกัน พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงและก้าวสู่สังคมฐานความรู้ คน 2.เสริมสร้างสุขภาวะคนไทย ให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจที่ดี มีความสัมพันธ์ทางสังคมและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ 3. เสริมสร้างคนไทย ให้อยู่ร่วมกัน ในสังคมได้อย่าง สันติสุข แนวทางการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ในระยะ 5 ปี ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนใน 3 มิติ คือ การพัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรมโดยมุ่งให้เกิดการเสริมสร้างความรู้ตามความเหมาะสมของคนทุกกลุ่มทุกวัย ควบคู่กับการพัฒนาด้านจิตใจ เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ก้าวสู่สังคมฐานความรู้ได้อย่างมั่นคง และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ ในขณะเดียวกัน มุ่งเสริมสร้างคนไทยให้มีสุขภาวะที่ดี มีการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ควบคู่กับการเสริมสร้างคนไทยให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข การคุ้มครองทางเศรษฐกิจและสังคม กระบวนการยุติธรรม การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และมีความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต 5

16 3. เสริมสร้างคนไทยให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
ครอบครัว ให้เข้มแข็ง ความร่วมมือ ครอบครัว สถานศึกษา สถาบันศาสนา สร้าง หลักประกัน ความมั่นคงทาง เศรษฐกิจ สังคม ส่งเสริม การดำรงชีวิต ที่ปลอดภัย น่าอยู่ สงบสุข 14

17 3. เสริมสร้างคนไทยให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
ครอบครัว ให้เข้มแข็ง เสริมสร้างความรู้ให้พ่อแม่ ครอบครัวนำความรู้มาอบรม ชี้แนะบุตรหลาน สำหรับแนวทางหลักที่ 3 ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยฯ เป็นเรื่อง “การเสริมสร้างคนไทยให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข” ที่มุ่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของคนในสังคมทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน โดยพัฒนาระบบการคุ้มครองทางเศรษฐกิจและสังคม กระบวนการยุติธรรม สิทธิมนุษยชน รวมทั้งมีความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต เกิดความสงบสุขในสังคม การพัฒนาจะเริ่มตั้งแต่ระดับครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยแรกในสังคมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคนตั้งแต่แรกเกิด โดยเฉพาะการบ่มเพาะพื้นฐานจิตใจที่ดีในช่วงวัยเด็ก โดย (1) เริ่มจากการเสริมสร้างพ่อแม่ให้มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ปลอดภัยและมั่นคงภายในครอบครัว ให้ความรู้ตามหลักวิชาการและหลักคำสอนทางศาสนาในการเลี้ยงดูบุตรหลานให้เหมาะสมตามช่วงวัย และพ่อแม่ต้องประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี (2) ส่งเสริมให้ครอบครัวนำความรู้ที่เป็นทักษะในการดำรงชีวิตมาอบรม กล่อมเกลา ชี้แนะบุตรหลานบนพื้นฐานของศีลธรรมอันดีงาม ความพอเหมาะพอควร ประหยัด อดออม มีวินัยในการใช้จ่าย และให้รู้จักรากเหง้าของตนเองและท้องถิ่น นอกจากครอบครัวแล้วต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างครอบครัว สถานศึกษา สถาบันศาสนา ในการพัฒนาเด็กด้วย โดยเฉพาะในการพัฒนาให้มีพื้นฐานจิตใจที่ดีงาม เป็นคนดี มีคุณธรรม ปลูกฝังค่านิยมที่ดีงาม รวมทั้งการสืบสานจารีตประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม นอกจากนี้ยังต้องให้ชุมชนได้มีบทบาทในการร่วมกันดูแล ตักเตือน เฝ้าระวังความประพฤติของทุกคนฉันท์เครือญาติ ปลูกฝังค่านิยมที่ดีงาม ให้เด็กและเยาวชน ส่งเสริมให้คนในชุมชน ร่วมกันดูแลพฤติกรรม ความร่วมมือ ครอบครัว สถานศึกษา สถาบันศาสนา 15

18 เสริมสร้างคนไทยให้อยู่ร่วมกันในสังคม ส่งเสริมการดำรงชีวิต
3. เสริมสร้างคนไทยให้อยู่ร่วมกันในสังคม ได้อย่างสันติสุข สร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุน ขยายการคุ้มครองทางสังคมทั้งทางการ/ไม่ทางการ ส่งเสริมการออมระดับครัวเรือน ทุกคนได้รับ หลักประกัน ความมั่นคงทาง เศรษฐกิจและสังคม ในส่วนของการสร้างหลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ให้ความสำคัญกับ การสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุนในการประกอบอาชีพและรายได้อย่างทั่วถึง โดยเร่งรัดพัฒนากองทุนหมู่บ้านให้เป็นสถาบันการเงินชุมชน ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพชุมชนในด้านการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินกิจการของสถาบันการเงินชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขยายการคุ้มครองทางสังคมทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการให้แก่คนในชุมชน โดยมุ่งจัดสวัสดิการสังคมให้ทั่วถึง โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งส่งเสริมการออมเพื่อชราภาพ ส่งเสริมการออมระดับครัวเรือน โดยกระตุ้นให้คนไทยมีการออมในรูปแบบต่างๆ อาทิ พันธบัตรรัฐบาล อสังหาริมทรัพย์ การประกันชีวิตและสุขภาพ การส่งเสริมการดำรงชีวิตที่มีความปลอดภัย น่าอยู่ และสงบสุข โดย เสริมสร้างกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง สามารถคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส เด็กและสตรี ส่งเสริมการใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือกให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง กระจายกระบวนการยุติธรรมไปสู่ท้องถิ่น และผลักดันให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลความสงบเรียบร้อยภายในชุมชน สร้างระบบเฝ้าระวังทางสังคมในชุมชน เสริมสร้างความมั่นคงภายในประเทศ ลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในทุกระดับ โดยใช้หลักคุณธรรมและจริยธรรมเป็นเครื่องมือ และจัดกิจกรรมเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ เสริมสร้างจิตสำนึกด้านสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง ภายใต้กรอบกฎหมาย จารีตประเพณี วัฒนธรรม ของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมไทยเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ทั้งของตนเองและผู้อื่น โดยสอดแทรกในหลักสูตรการเรียนการสอน รณรงค์ผ่านสื่อต่างๆ เสริมสร้างกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย ส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมทางเลือก กระจายกระบวนการยุติธรรมสู่ท้องถิ่น เสริมสร้างความมั่นคงภายในประเทศ เสริมสร้างจิตสำนึกด้านสิทธิและหน้าที่พลเมือง ส่งเสริมการดำรงชีวิต ที่ปลอดภัย น่าอยู่ สงบสุข 16

19 ภาคีการพัฒนา 17 ประชาชน ชุมชน รัฐ สถาบันศาสนา ธุรกิจเอกชน
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ต้องมีภาคส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ปประชาชน ชุมชน สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา อปท. สื่อ ภาคเอกชน ประชาสังคม ประชาชน ต้องเริ่มลุกขึ้นมา ชุมชนสนับสนุน รัฐอำนวยความสะดวก ธุรกิจเอกชนมีจำนวนมากที่จะเข้ามาร่วม สถาบันการศึกษา การวิจัยต่าง สถาบันศาสนาเป็นแหล่งจูงใจการพัฒนาคน สื่อต้องสร้างสรรค์สังคม อปท จะเป็นหลักการพัฒนาในชุมชน บทบาทภารกิจต่างๆต้องเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาคน สถาบันการศึกษา สื่อ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ประชาสังคม 17

20 บทบาทภาคีการพัฒนา ครอบครัว น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต อบรม ดูแลสมาชิก ปลูกฝังนิสัยใฝ่รู้ ถ่ายทอดวัฒนธรรม ค่านิยมที่ดีงามแก่เด็ก เยาวชน ร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มต่างๆ ร่วมสืบค้น รวบรวม จัดเก็บถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ผลิตและบริโภคพืชผักปลอดสารพิษ ชุมชน เสริมสร้างการรวมตัว สร้างผู้มีศักยภาพ/ผู้นำเพื่อเป็นแกนพัฒนาชุมชนและประสานความร่วมมือ สืบค้น รวบรวม จัดการความรู้ รัฐ เชื่อมโยงการพัฒนา ส่วนเสริมการเรียนรู้ กำหนดนโยบายสนับสนุน จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเสริมสร้างคุณธรรม ธุรกิจเอกชน เป็นหุ้นส่วนการพัฒนาของชุมชนและสังคม เป็นแหล่งเรียนรู้ สร้างอาชีพ จัดทำบรรษัทภิบาลในองค์กร ยกระดับการผลิต ส่งเสริม R&D การสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการผลิตบนฐานการพึ่งตนเอง สื่อ ผลิตสื่อสร้างสรรค์ สร้างกระแสเชิงบวก ส่งเสริมเด็กมีบทบาทร่วมผลิตสื่อ เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ กระตุ้นให้คนไทยเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ 18

21 บทบาทภาคีการพัฒนา อปท. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ สนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้ การส่งเสริมสุขภาวะ การจัดบริการสังคมโดยจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสม ประสานการ สืบค้น รวบรวม ถ่ายทอดองค์ความรู้ ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่ม สถาบันการศึกษา พัฒนากระบวนการเรียนมุ่ง “เรียนให้รู้” ทั้ง ทักษะพื้นฐาน ควบคู่คุณธรรม พัฒนากำลังคนที่ความเป็นเลิศ สร้างองค์ความรู้ใหม่ให้ทันการเปลี่ยนแปลง นำภูมิปัญญาไทยผสมผสานเทคโนโลยี เป็นแหล่งข้อมูลและที่ปรึกษาทางวิชาการของชุมชน สถาบันศาสนา สร้างแรงจูงใจให้ใช้หลักธรรมในการดำรงชีวิตมากขึ้น พัฒนาบุคลากรทางศาสนา ร่วมกับครอบครัว สถาบันการศึกษาและสถาบันทางสังคมในการสร้างสังคมดี ประชาสังคม สร้างกระบวนการเรียนรู้ สนับสนุนการจัดการความรู้ สร้างทางเลือกการพัฒนาและส่งเสริมภาคีการพัฒนาให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง 19

22 ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย เชิงปริมาณ
การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทย สู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ การศึกษาเฉลี่ย 10 ปี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลัก สูงกว่าร้อยละ 55 1. พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีภูมิคุ้มกันพร้อมเผชิญการ เปลี่ยนแปลงและก้าวสู่สังคม ฐานความรู้ 2. เสริมสร้างสุขภาวะคนไทยให้มี สุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจที่ดี มีความสัมพันธ์ทางสังคมและ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ 3. เสริมสร้างคนไทยให้อยู่ร่วมกัน ในสังคมได้อย่างสันติสุข กำลังแรงงานระดับกลางที่มีคุณภาพ มีไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 4-5 นักวิจัย 8 คน ต่อ 10,000 ปชก. การศึกษาเฉลี่ย ปัจจุบัน 8.5 ปี (ปี 48) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน : ผลการประเมินนักเรียน ชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 พบว่า - นักเรียน ชั้น ป.6 มีคะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาไทย ร้อยละ คณิตศาสตร์ ร้อยละ ภาษาอังกฤษ ร้อยละ และ วิทยาศาสตร์ ร้อยละ 41.60 - นักเรียน ชั้น ม.3 มีคะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาไทย ร้อยละ คณิตศาสตร์ ร้อยละ ภาษาอังกฤษ ร้อยละ และวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 37.22 - นักเรียนชั้น ม.6 มีคะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาไทย ร้อยละ ภาษาอังกฤษ ร้อยละ วิทยาศาสตร์กายภาพ ร้อยละ คณิตศาสตร์ ร้อยละ เคมี ร้อยละ ชีววิทยา ร้อยละ และฟิสิกส์ ร้อยละ 35.24 การกำหนดเป้าหมายกำลังแรงงานระดับกลาง มาจากฐาน 2 ส่วน คือ (1) นักเรียนที่เรียนสายสาชีวะ ปัจจุบันมีร้อยละ 37 ของนักเรียนชั้น ม. ปลายทั้งหมด (2) กำลังแรงงานที่มีการศึกษา ม.ต้นขึ้นไปแต่ต่ำกว่า ปริญญาตรี ปัจจุบันมี ร้อยละ 15 ผลิตภาพแรงงานปัจจุบันเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อปี จำนวนนักวิจัยอิงจากเป้าหมายกระทรวงวิทย์ กำหนด 10 คน ในปี 2556 ปัจจุบันประมาณ 3 คน เป้าหมายการออกกำลังกายอิงกับผลการประเมินเป้าหมายของแผนฯ 9 พบว่าในปี 2548 คนอายุ 6 ปีขึ้นไป ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วันๆละ 30 นาที่มีร้อยละ 83.2 อัตราการป่วยด้วยโรคป้องกันได้ ปัจจุบัน อันดับ 1. ได้แก่โรคหัวใจ 493 ต่อประชากร แสนคน2. ความดัน 477 : แสนคน 3. เบาหวาน 435 ต่อแสนคน 4. หลอดเลือดสมอง 166 ต่อแสน 5. เนื้องอกร้าย(มะเร็ง) 107 ต่อแสนคน การสูบบุหรี่ : ข้อมูลปี 2547 คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่มีร้อยละ 23 ของประชากร การคุ้มครองผู้อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบ ปัจจุบันมีแรงงงานนอกระบบประมาณ 23 ลานคน ขณะนี้กำลังดำเนินการขยายการคุ้มครองให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ แต่ยังอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดเพื่อกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์อัตราเงินสมทบ - ทั้งนี้ในส่วนการคุ้มครองด้านสุขภาพสำนักงานประกันสังคมและสำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำลังเร่งดำเนินการเพื่อโอนการให้บริการรักษาพยาบาลแรงงานนอกระบบอายุ ปี จำนวน 15.5 ล้านคนจาก 30 บาทเข้าสู่ความคุ้มครองประกันสังคม - ในปี 2550 จะขยายความคุ้มครองแรงงงานนอกระบบให้ได้ 1 ล้านคน ครอบคลุมหญิงบริการ หมอนวด สาวอะโกโก้ คนขับแท็กซี่ มอเตอร์ไซด์รับจ้าง แพทย์ พยาบาลโรงพยาบาลเอกชน ทนายความ คนรับงานไปทำที่บ้าน โดยจะเก็บสมทบจากผู้ประกันตน 1,200 บาทต่อปี และรัฐสมทบเท่ากัน โดยได้รับการคุ้มครอง 4 กรณี คือ เจ็บป่วยหรือประสบอันตรายจากการทำงาน คลอดบุตร ทุพพลภาพ และเสียชีวิต ร้อยละ 90 ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วัน ลดอัตราการป่วยด้วยโรคป้องกันได้ อัตราการสูบบุหรี่ต่ำกว่าร้อยละ 15 การคุ้มครองผู้อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบ 20

23 ประเด็นการระดมความคิดเห็น
ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ บทบาทของภาคีการพัฒนาในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ประเด็นการระดมความคิดเห็น มี 3 เรื่องที่ขอให้ที่ประชุมช่วยพิจารณา เรื่องแรก คือ แนวทางตามยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยฯ เรื่องที่สอง เกี่ยวกับบทบาทภาคีในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เรื่องที่สาม เรื่องกระบวน กลไก กฎระเบียบที่เดี่ยวข้องที่จะต้องให้ความสำคัญ 21

24 ขอบคุณ 22


ดาวน์โหลด ppt นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการฯ 30 มิถุนายน 2549

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google