งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
พ.ศ. 2551 นางสาวศรีประภา ถมกระจ่าง สำนักงาน ก.พ.ร.

2 ที่มา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 78 (2) กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน โดยการจัดระบบการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้มีขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจน เหมาะสมแก่การพัฒนาประเทศ และสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ 2

3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
มาตรา 283 วรรคแรก องคกรปกครองสวนท้องถิ่นยอมมีอํานาจหนาที่โดยทั่วไป ในการดูแลและจัดทําบริการสาธารณะเพื่อ ประโยชนของประชาชนในทองถิ่น และยอมมีความเปน อิสระในการกําหนดนโยบาย การบริหาร การจัดบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง และ มีอํานาจหนาที่ของตนเองโดยเฉพาะ โดยตองคํานึงถึงความสอดคลองกับการพัฒนาของจังหวัดและประเทศเปน สวนรวมดวย

4 ที่มา พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 โดยมีมาตราที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ มาตรา 52 วรรคสาม มาตรา 53/1 มาตรา 53/2

5 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 52 วรรคสาม เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด ให้จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดยื่นคำขอจัดตั้งงบประมาณได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ในกรณีนี้ให้ถือว่าจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ 5 5

6 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 53/1 ให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติ และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด ในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างหัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานที่ตั้งทำการอยู่ในจังหวัดไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคหรือราชการบริหารส่วนกลางและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดในจังหวัด รวมทั้งผู้แทนภาคประชาสังคม และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน 6

7 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 53/1 (ต่อ) การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามวรรคหนึ่ง จำนวนและวิธีการสรรหาผู้แทนภาคประชาสังคม และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เมื่อประกาศใช้แผนพัฒนาจังหวัดแล้ว ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการดำเนินกิจการของส่วนราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐทั้งปวงที่กระทำในพื้นที่จังหวัดต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดดังกล่าว มาตรา 53/2 ให้นำความในมาตรา 53/1 มาใช้บังคับกับการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดด้วยโดยอนุโลม 7

8 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ. ศ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 137 ก เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป

9 Development Model Governance Model
เจตนารมณ์ของแนวทางการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ Development Model Governance Model Area-based Approach Collaboration/ Joined-Up Government ยึดพื้นที่เป็นหลักในการพัฒนาเพื่อกระจาย การพัฒนาและลดความเหลื่อมล้ำของความ เจริญเติบโตระหว่างพื้นที่ต่างๆ ในประเทศ แบ่งเป็น 18 กลุ่มจังหวัดและ 75 จังหวัด (กลุ่ม จังหวัดเน้นยุทธศาสตร์เรี่องการสร้าง competitiveness จังหวัดเน้นยุทธศาสตร์ เรื่องพัฒนาสังคม รวมถึงการสร้างโอกาสและ อาชีพ) ต้องการให้แต่ละพื้นที่มี position ในการ พัฒนาที่ชัดเจน และผ่านการเห็นชอบร่วมกัน ทุกฝ่าย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและร่วมมือร่วม ใจกัน การจัดการความสัมพันธ์แนวดิ่งระหว่าง ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น แบ่งหน้าที่กันทำตามแต่ละยุทธศาสตร์ (มาเจรจาและทำข้อตกลงร่วมกัน) ลดความซ้ำซ้อนของการใช้ งบประมาณแผ่นดิน หรือระดม ทรัพยากรเข้ามาใช้ร่วมกันให้เกิด ประโยชน์สูงสุดในการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ การจัดการความสัมพันธ์แนวนอนระหว่าง ภาครัฐและภาคส่วนอื่นในสังคม (ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม) ประสานการลงทุนภาคเอกชน และ เชื่อมโยงเข้ากับแผนชุมชน กำหนดให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นตัว linkage ฝ่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน 9 9

10 จุลภาค มหภาค กระแสโลกาภิวัตน์ การรวมกลุ่มภูมิภาค ผลประโยชน์ของชาติ
ภาควิชาการ การแข่งขัน ความร่วมมือ วาระแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล ภาคธุรกิจ/เอกชน รัฐธรรมนูญ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด/ยุทธศาสตร์จังหวัด แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พันธมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัด ชุมชน/ประชาชน การสนับสนุน ข้อเรียกร้อง/ ความต้องการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จุลภาค 10 10 10 10 10 10

11 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัด
และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 หมวด 1 การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (มาตรา 6-16) หมวด 2 การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด (มาตรา 17-25) หมวด 3 การจัดกลุ่มจังหวัดและการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด (มาตรา 26-27) หมวด 4 งบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (มาตรา 28-33) หมวด 5 การกำกับและติดตาม (มาตรา 34-35) บทเฉพาะกาล (มาตรา 36-37)

12 หลักการสำคัญตามกฎหมาย การมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วน
สร้างความเชื่อมโยงและเชื่อมประสานกันระหว่าง นโยบายการพัฒนาประเทศ หรือนโยบายของรัฐบาลในระดับชาติกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น อยู่บนพื้นฐานของความต้องการและศักยภาพของประชาชน ความพร้อมของภาครัฐและภาคธุรกิจ เอกชน และความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับชาติ  ความสอดคล้อง และเชื่อมโยง การมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประสานและสร้างการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามาร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์ การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเพื่อให้เกิดความเห็นพ้องต้องกันในยุทธศาสตร์ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และร่วมรับผิดชอบต่อการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ การบูรณาการ บูรณาการตั้งแต่กระบวนการวางแผน กระบวนการกำหนดยุทธศาสตร์ การบริหาร ตามแผนและยุทธศาสตร์ รวมไปถึงการ บูรณาการระหว่างแผนงานและแผนงบประมาณ ให้รวมถึงการบูรณาการระหว่างภาครัฐกับ ภาคท้องถิ่น และภาครัฐกับภาคธุรกิจเอกชนด้วย

13 อนุ กนจ.ด้านแผนและงบประมาณ
โครงสร้างระบบการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ การวางแผน การอนุมัติ การตรวจสอบ  พรฎ.ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดฯ - ก.บ.จ./ ก.บ.ก. - ผู้ตรวจ นร./ มท. เร่งรัด ติดตาม ประเมินผล และรายงานต่อ ก.น.จ. อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง กนจ. ครม. กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดทำแผน กนจ. ก.บ.จ. (สำนักงานจังหวัด) ระเบียบ นร. ว่าด้วยการกำกับฯ - กกภ. - รนม. กำกับติดตามการปฏิบัติ ราชการของผู้ว่าราชการจังหวัด/ เจ้าหน้าที่ระดับสูงในจังหวัด - ผู้ตรวจ นร. รายงานต่อ รนม. - รองนายกฯ มีอำนาจอนุมัติงบ กลาง กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ให้แก่หน่วยงานของรัฐไม่เกิน คนละ 100 ล้านบาทต่อปี ก.บ.ก. (สำนักบริหาร ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด) อนุ กนจ.ด้านแผนและงบประมาณ (5 คณะ) จัดทำแผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ซึ่งถือเป็นคำของบประมาณ ร่างระเบียบ นร.ฯ - คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด(ก.ธ.จ.)

14 หลักการการบริหารงานจังหวัดและ กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
เป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัดหรือแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด สร้างโอกาสและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในจังหวัด กระจายอำนาจการตัดสินใจลงไปสู่ระดับผู้ปฏิบัติ การส่งเสริมและสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีความพร้อมในการรองรับการกระจายอำนาจ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

15 กลไกการบริหารงานจังหวัดและ กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ

16 ระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ
 ให้จังหวัดริเริ่มเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนา พื้นที่ นำปัญหาและความต้องการของ ประชาชนมากำหนดเป็นแนวทางริเริ่ม เพื่อ แก้ไขปัญหา และพัฒนาในพื้นที่ให้สอดคล้อง กับศักยภาพของตนเอง โดย - สนับสนุน อปท. มีบทบาทดำเนินกิจกรรม - สร้างกลไกรับฟังความเห็นของประชาชน  บูรณาการทุกภาคส่วนในพื้นที่ในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีโดยยึดหลัก “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหาและร่วมรับผิดชอบ” “การบริหารแบบเครือข่าย” และ “การบูรณาการทรัพยากร” ระบบการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ  ให้กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งสำนักบริหาร ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด เพื่อให้มีบทบาท ในการเชื่อมโยงและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัด โดยให้เป็นหน่วยงานขนาดเล็ก มีความคล่องตัวสูง และอาจใช้วิธีการ “จัดจ้างที่ปรึกษา” มาดำเนินการได้  ให้กลุ่มจังหวัดริเริ่มเพื่อแก้ไขปัญหาและ พัฒนาพื้นที่ โดยนำความต้องการของ ประชาชนมากำหนดเป็นแนวทางริเริ่ม  ให้ ผวจ. ผู้ทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่มจังหวัด มีหน้าที่ - ประสาน เร่งรัด ติดตามการดำเนินงานของ ผวจ.ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนา และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด - บูรณาการในการแก้ไขปัญหาในกลุ่มจังหวัด โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน - รายงานสภาพปัญหาที่มีอยู่ในกลุ่มจังหวัด และไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง โดยขอรับการวินิจฉัยสั่งการและแก้ไขปัญหาจาก รนม. หรือ รมต.นร. ที่กำกับดูแล  ให้ส่วนราชการในพื้นที่กลุ่มจังหวัด สนับสนุนบุคลากรมาช่วยปฏิบัติงาน ในสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ทำหน้าที่ หัวหน้ากลุ่มจังหวัดร้องขอ

17 ระบบการประสานงานและการรายงาน
 รายงานผลความก้าวหน้าในการดำเนินการแผนงาน โครงการตามแผนพัฒนา แผนปฏิบัติราชการประจำปี ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และการบริหารงบประมาณ ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ให้จังหวัดรายงานต่อ ก.น.จ. ทุก 6 เดือน /รมต.สร.  รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่าย งบประมาณ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ตามแผนพัฒนา และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของ จังหวัดให้รายงานต่อ ก.น.จ. ก่อนนำเสนอ ครม.  รายงานสภาพปัญหาอุปสรรคที่มีอยู่ในพื้นที่ ให้รายงานต่อ ผต.นร. และหรือ ผต.มท. เพื่อบูรณาการ ในการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น และนำเสนอ ก.น.จ. เพื่อทราบหรือให้ข้อวินิจฉัยสั่งการ ระบบการติดตามและประเมินผล  กลไกการตรวจราชการของ ผต.นร. และ ผต.มท. ในการเร่งรัด ติดตาม และ ประเมินผลการดำเนินการ ตามแผนพัฒนา แผนปฏิบัติ ราชการประจำปีของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด รวมทั้งการ บริหารงบประมาณ  ใช้กลไกของ ก.พ.ร. ในการติดตาม ประเมินผล ตามคำรับรอง การปฏิบัติราชการของ จังหวัดและ กลุ่มจังหวัด  ใช้กลไกของคณะกรรมการ ตรวจสอบและประเมินผล ภาคราชการ (ค.ต.ป.) 17

18 กรอบนโยบายในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
1. กรอบแนวทาง  มุ่งเน้นการทำงานแบบเครือข่ายร่วมกัน ทุกภาคส่วน โดยคำนึงถึงความพร้อมของทุกภาคส่วน  นำแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค มาใช้เป็นแนวทางการจัดทำ  รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด

19 กรอบนโยบายในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
2. ขอบเขตของแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาจังหวัด เป็นแผนที่มุ่งการพัฒนาจังหวัดแบบองค์รวมที่ครอบคลุมทุกมิติในด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในจังหวัด เป็นแผนที่มุ่งเน้นการพัฒนา ด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มจังหวัด และนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน และสร้างรายได้ให้กลุ่มจังหวัด การจัดทำต้องอยู่บนพื้นฐานของความเห็นชอบร่วมกันของทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและร่วมมือร่วมใจกัน เมื่อมีการประกาศใช้แผนฯ แล้ว การจัดทำแผนปฏบัติราชการประจำปี รวมทั้งการดำเนินกิจการของส่วนราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐในพื้นที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด(ตามนัยมาตรา 53/1 แห่ง พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ)

20 แผนพัฒนาจังหวัด ความหมาย ระยะเวลาสี่ปี องค์ประกอบ
รายการเกี่ยวกับโครงการและแผนงานต่างๆ ของจังหวัดที่จำเป็นต้องจัดทำเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนา ของจังหวัดในอนาคต โดยต้องคำนึงถึงความต้องการและศักยภาพของ ประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด รวมตลอดถึงความพร้อมของภาครัฐ และภาคธุรกิจเอกชน และยุทธศาสตร์ระดับชาติ มีกระบวนการรับฟังหรือให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการในการพัฒนาพื้นที่ของจังหวัดมาพิจารณาให้เกิดความผสมผสานไม่ขัดแย้งในด้านใดด้านหนึ่ง องค์ประกอบ อย่างน้อยต้องระบุรายละเอียด ของ - วิสัยทัศน์ - ประเด็นยุทธศาสตร์ - เป้าประสงค์ - ตัวชี้วัด - ค่าเป้าหมาย และ - กลยุทธ์

21 แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด
ความหมาย องค์ประกอบ เป็นแผนที่แปลงแผนพัฒนาจังหวัดไปสู่การปฏิบัติ โดยระบุถึงโครงการต่างๆ ที่จำเป็นต้องดำเนินการในจังหวัดในแต่ละปีงบประมาณ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของจังหวัด ทั้งนี้ ไม่ว่าโครงการนั้นจะดำเนินการโดยจังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ หรือเอกชน อย่างน้อยต้องระบุ - รายละเอียดของโครงการ - เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน - หน่วยงานผู้รับผิดชอบ และ - งบประมาณที่จะต้องใช้ดำเนินการ โดยต้องมีการระบุให้ชัดเจนว่าโครงการ หรืองานใดที่จังหวัดประสงค์จะขอตั้ง งบประมาณจากสำนักงบประมาณโดยตรง

22 แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด
ความเชื่อมโยงระหว่างแผนพัฒนาจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และคำของบประมาณจังหวัด แผนพัฒนาจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด มาตรา 28 เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบกับแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดตามที่ ก.น.จ.เสนอแล้ว ให้ ก.น.จ.ส่งให้สำนักงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดสรรงบประมาณ โดยสำนักงบประมาณต้องดำเนินการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้เพียงพอต่อการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด การส่งแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าจังหวัดได้ยื่นคำของบประมาณต่อสำนักงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วย วิธีการงบประมาณแล้วเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับงบประมาณของจังหวัด 22

23 แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
ความหมาย รายการเกี่ยวกับโครงการและแผนงานต่างๆ ของกลุ่มจังหวัดที่จำเป็นต้องจัดทำเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของกลุ่มจังหวัดในอนาคต โดยต้องคำนึงถึงความต้องการและศักยภาพของประชาชนในท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัด รวมตลอดถึงความพร้อมของภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน และยุทธศาสตร์ระดับชาติ มีกระบวนการรับฟังหรือให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการกำหนดความ ต้องการในการพัฒนาพื้นที่ของจังหวัด มาพิจารณาให้เกิดความผสมผสาน ไม่ขัดแย้งในด้านใดด้านหนึ่ง ระยะเวลาสี่ปี องค์ประกอบ อย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของ - วิสัยทัศน์ - ประเด็นยุทธศาสตร์ - เป้าประสงค์ - ตัวชี้วัด - ค่าเป้าหมาย และ - กลยุทธ์

24 แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด
ความหมาย องค์ประกอบ เป็นแผนที่แปลงแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดไปสู่การปฏิบัติ โดยระบุถึงโครงการต่างๆ ที่จำเป็นต้องดำเนินการในกลุ่มจังหวัดในแต่ละปีงบประมาณ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของกลุ่มจังหวัด ทั้งนี้ ไม่ว่าโครงการนั้นจะดำเนินการ โดยจังหวัด กลุ่มจังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ หรือเอกชน อย่างน้อยต้องระบุ - รายละเอียดของโครงการ - เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน - หน่วยงานผู้รับผิดชอบ และ - งบประมาณที่จะต้องใช้ ดำเนินการ โดยต้องมีการระบุ ให้ชัดเจนว่าโครงการหรืองานใด ที่จังหวัดประสงค์จะขอตั้ง งบประมาณจากสำนักงบประมาณ โดยตรง

25 แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด มาตรา 32 ให้นำความมาตรา 28 ใช้บังคับโดยอนุโลม
ความเชื่อมโยงระหว่างแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด และคำของบประมาณกลุ่มจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด มาตรา 32 ให้นำความมาตรา 28 ใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบกับแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดตามที่ ก.น.จ.เสนอแล้ว ให้ ก.น.จ.ส่งให้สำนักงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดสรรงบประมาณ โดยสำนักงบประมาณต้องดำเนินการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้เพียงพอต่อการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด การส่งแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่า จังหวัดได้ยื่นคำของบประมาณต่อสำนักงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วย วิธีการงบประมาณแล้วเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับงบประมาณของจังหวัด 25

26 กลไกการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
คณะกรรมการนโยบาย การบริหารงานจังหวัดและ กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ระดับชาติ ก.น.จ. นายกรัฐมนตรี ระดับกลุ่มจังหวัด ก.บ.ก. คณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ หัวหน้ากลุ่มจังหวัด ระดับจังหวัด ก.บ.จ. จังหวัด 2 คณะกรรมการบริหารงานจังหวัด แบบบูรณาการ จังหวัด 4 ผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัด 1 จังหวัด 3

27 คณะกรรมการนโยบาย การบริหารงานจังหวัดและ กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
(ก.น.จ.)

28 ก.น.จ. นายกรัฐมนตรี : ประธาน องค์ประกอบ กรรมการ กรรมการและ
เลขานุการ รนม.ทุกคน + รัฐมนตรีซึ่ง นรม.มอบหมายให้กำกับ และติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เลขาธิการ ก.พ.ร. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการนายกรัฐมนตรี 1.รองเลขาธิการ ก.พ.ร. 2.ข้าราชการสังกัด กระทรวงมหาดไทย ที่ปลัดกระทรวง มหาดไทยกำหนด เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการ สศช. นายกสมาคม อบจ. แห่งประเทศไทย นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย นายกสมาคม อบต. แห่งประเทศไทย งานธุรการ ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สำนักงาน ก.พ.ร. รับผิดชอบ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้ทรงคุณวุฒิจาก ก.พ.ร. ที่ประธาน ก.พ.ร. กำหนด ไม่เกิน 3 คน ผู้แทนภาคประชาสังคมที่ นรม. แต่งตั้งไม่เกิน 2 คน (มีวาระ 3 ปี)

29 อำนาจหน้าที่ ก.น.จ. 1. กำหนดกรอบนโยบายและวางระบบในการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ 2. กำหนดนโยบาย แนวทาง หลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด การจัดทำและบริหารงบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 3. พิจารณา กลั่นกรอง และให้ความเห็นชอบในแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และคำของบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี 4. กำกับดูแลการดำเนินการตาม (1) และ (2) ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ 5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน อย่างน้อยต้องมี คณะอนุกรรมการด้านแผนและงบประมาณ 6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

30 คณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัด
แบบบูรณาการ (ก.บ.ก.)

31 ประธาน: หัวหน้ากลุ่มจังหวัด
ก.บ.ก. องค์ประกอบ ประธาน: หัวหน้ากลุ่มจังหวัด รองประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดในกลุ่มจังหวัดทุกจังหวัด กรรมการ ผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดในกลุ่มจังหวัดที่ผู้ว่าราชการ จังหวัดมอบหมายจังหวัดละไม่เกิน2 คน (มีวาระ 3 ปี) นายก อบจ.ในกลุ่มจังหวัดทุกจังหวัด นายกเทศมนตรีในกลุ่มจังหวัด จังหวัดละ 1 คน นายก อบต.ในกลุ่มจังหวัด จังหวัดละ 1 คน ผู้แทนภาคประชาสังคม (มีวาระ 3 ปี) ผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน กรรมการและเลขานุการ ข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่ปลัดกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดของทุกจังหวัดในกลุ่มจังหวัด

32 ก.บ.ก. อำนาจหน้าที่ (1) วางแนวทางปฏิบัติและอำนวยการให้การบริหารงานแบบ บูรณาการในกลุ่มจังหวัดเป็นไปตามหลักการ นโยบายและระบบตามที่ ก.น.จ. กำหนด (2) จัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดเสนอต่อที่ประชุมตามมาตรา 19 เพื่อรับฟังความคิดเห็น (3) ส่งเสริม ประสานความร่วมมือการพัฒนาระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจเอกชน และสภาองค์กรชุมชนตำบล และแก้ไขปัญหาภายในกลุ่มจังหวัดและระหว่างกลุ่มจังหวัด (4) วิเคราะห์ บูรณาการ และให้ความเห็นชอบรายละเอียดการปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดและ คำของบประมาณกลุ่มจังหวัด ก่อนนำเสนอต่อ ก.น.จ. (5) กำกับ ให้คำแนะนำ ติดตามและประเมินผลและรายงาน ก.น.จ. (6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน (7) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ

33 คณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
กรณีที่ ก.บ.ก. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนา กลุ่มจังหวัด อย่างน้อยต้องประกอบด้วย 1. ผู้แทนที่เป็นนายก อบจ.ไม่น้อยกว่า 1 คน 2. ผู้แทนนายกเทศมนตรีในกลุ่มจังหวัด ไม่น้อยกว่า 2 คน 3. ผู้แทนนายก อบต. ในกลุ่มจังหวัดไม่น้อยกว่า 3 คน และ 4. ผู้แทนภาคประชาสังคมไม่น้อยกว่า 1 คน

34 คณะกรรมการบริหารงานจังหวัด
แบบบูรณาการ (ก.บ.จ.)

35 ประธาน: ผู้ว่าราชการจังหวัด
ก.บ.จ. องค์ประกอบ ประธาน: ผู้ว่าราชการจังหวัด กรรมการ รองผู้ว่าราชการจังหวัดทุกคน ผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการที่มีสำนักงานอยู่ในจังหวัด ไม่ว่าจะมีฐานะเป็นราชการส่วนภูมิภาคหรือส่วนกลาง * ผู้แทนรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ในจังหวัด* ผู้แทนหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีสำนักงาน อยู่ในจังหวัด* ผู้แทนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น* ผู้แทนภาคประชาสังคม* ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัด ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด กรรมการและเลขานุการ * มีวาระอยู่ในตำแหน่ง คราวละ 3 ปี หัวหน้าสำนักงานจังหวัด

36 ก.บ.จ. อำนาจหน้าที่ (1) วางแนวทางปฏิบัติและอำนวยการให้การบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดเป็นไปตามหลักการ นโยบายและระบบตามที่ ก.น.จ. กำหนด (2) จัดทำแผนพัฒนาจังหวัดเสนอต่อที่ประชุมตามมาตรา 19 เพื่อรับฟังความคิดเห็น (3) ส่งเสริม ประสานความร่วมมือการพัฒนาระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจเอกชน เพื่อสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนและชักชวนภาคธุรกิจเอกชนมาลงทุนในจังหวัด (4) จัดทำบันทึกความเข้าใจกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด (5) วิเคราะห์ บูรณาการ และให้ความเห็นชอบรายละเอียดการปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี และคำของบประมาณจังหวัด ก่อนนำเสนอ ต่อ ก.น.จ. (6) กำกับ ให้คำแนะนำ ติดตามและประเมินผล และรายงาน ก.น.จ. (7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน (8) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ

37 ผู้ว่าราชการจังหวัด อำนาจหน้าที่
(1) บริหารงานจังหวัดโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับแนวนโยบาย และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัดในการจัดทำ แผนพัฒนาจังหวัด และบริหารยุทธศาสตร์ตามแผนดังกล่าว (2) ประสานและเชื่อมโยง หน่วยงานของรัฐ อปท. ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน เพื่อร่วมกันวางยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดให้ เหมาะสมกับโอกาสและศักยภาพของจังหวัดโดยเน้นการมีส่วนร่วม ของทุกฝ่าย (3) บูรณาการการบริหารงบประมาณและแสวงหาความร่วมมือและ การสนับสนุนจากทุกฝ่าย (4) ส่งเสริมและสนับสนุน อปท.ให้มีความเข้มแข็งในการพัฒนาท้องถิ่น (5) ส่งเสริมและสนับสนุนภาคประชาสังคมให้มีความเข้มแข็ง สามารถ บริหารจัดการและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน (6) เสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและการบริหารการ เปลี่ยนแปลง (7) กระทำตนเป็นแบบอย่าง ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ ตลอดจนการพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน

38 มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัด
หัวหน้ากลุ่มจังหวัด มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัด ประสาน เร่งรัด ติดตามการดำเนินงานของ ผู้ว่าราชการจังหวัดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีของกลุ่มจังหวัด

39 กลุ่มจังหวัด การจัดตั้ง
ให้คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) เป็นผู้พิจารณาจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ การจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัดดังกล่าวให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดของจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัดทำหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัด เว้นแต่ ก.น.จ. จะกำหนดเป็นอย่างอื่น

40 การปรับปรุงการจัดกลุ่มจังหวัด
กลุ่มจังหวัด 19 กลุ่ม ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2546 กลุ่มจังหวัด 18 กลุ่ม ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551

41 กลุ่มจังหวัดและจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัด
กลุ่มจังหวัด 18 กลุ่ม ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551

42 ตัวอย่าง Value Chain ของการผลักดันยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตร กระทรวง กรม
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพ การผลิต การแปรรูป เพิ่มและสร้าง คุณค่า การพัฒนา เกษตรกรและ สถาบัน เกษตรกร การพัฒนา ระบบ การตลาด กระทรวง กรม จังหวัด องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ชุมชน/ เอกชน

43 Value Chain ของการผลักดันยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว
พัฒนา ระบบบริหาร และจัดการ การท่องเที่ยว พัฒนาปัจจัย พื้นฐานด้าน ท่องเที่ยว พัฒนา ผลิตภัณฑ์ ทางการ ท่องเที่ยว พัฒนาศักยภาพบุคลากรภาค บริการท่องเที่ยว พัฒนา ด้านการ ตลาดและประชาสัมพันธ์ กระทรวง กรม จังหวัด องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ชุมชน/ เอกชน

44 กระบวนการการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
ก.น.จ. กลุ่มจังหวัด 1 ก.น.จ.กำหนดกรอบ นโยบาย ขั้นตอน วิธีการ แผนและงบประมาณของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด จังหวัด 2 จังหวัดรวบรวมข้อมูลศักยภาพของจังหวัด และสำรวจความต้องการของประชาชนในจังหวัด 3 ข้อมูลศักยภาพและความต้องการของจังหวัดประกอบการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ก.บ.จ. วิเคราะห์ เพื่อกำหนดศักยภาพและความต้องการ ของจังหวัด 4 ก.บ.ก. จัดทำร่าง แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด จัดส่งร่างแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดประกอบการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด 5 ก.บ.จ. จัดทำร่าง แผนพัฒนาจังหวัด ร่างแผนพัฒนาจังหวัด ส่งร่างแผนกลุ่มจังหวัดให้จังหวัดต่าง ๆ ในกลุ่มจังหวัดนำไปประชุมหารือ ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ในจังหวัด 6 จังหวัดจัดประชุมปรึกษา หารือกับทุกภาคส่วนในจังหวัด 7.1 ก.บ.ก. ปรับปรุงแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดให้สมบูรณ์ ส่งข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ซึ่งได้จากการประชุมหารือให้กลุ่มจังหวัดเพื่อนำไปปรับปรุง ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับแผนพัฒนาจังหวัด 7.2 8 ก.น.จ. กลั่นกรองและเสนอความเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ความเห็นชอบ ก.บ.จ. ปรับปรุงแผน พัฒนาจังหวัดให้สมบูรณ์ แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาจังหวัด ครม. พิจารณาเห็นชอบแผน พัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด 9

45 การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด
ขั้นตอนการบริหาร การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด จังหวัดตั้งคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ(ก.บ.จ.) จังหวัดได้รับนโยบาย แนวทาง ขั้นตอน และวิธีการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดจาก ก.น.จ. 2 3 ก.บ.จ. ดำเนินการสำรวจหาความต้องการของประชาชน ในพื้นที่เพื่อประกอบการ จัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และจัดส่งผลสำรวจความต้องการที่เกี่ยวกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดให้ ก.บ.ก. 1 ก.บ.จ. นำแผนพัฒนาจังหวัดไปจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด+คำขอ งปม. ผู้ว่าราชการจังหวัดนำแผนพัฒนาจังหวัดฉบับสมบูรณ์ ส่ง ก.น.จ.และ ก.บ.ก. 9 8 4 คณะรัฐมนตรี จังหวัดดำเนินการสรรหาผู้แทนภาคประชาสังคมและผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนเพื่อเข้าประชุมปรึกษาหารือตาม มาตรา 19 ก.บ.จ. นำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับไป ปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด ส่งข้อคิดเห็นไป ก.บ.ก. 10 ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดส่งแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด ส่ง ก.น.จ.และ ก.บ.ก. 5 7 ก.บ.จ. จัดทำแผนพัฒนาจังหวัด โดยการวิเคราะห์จาก (1) ข้อมูลที่ได้รับจาก ก.น.จ. (2) ข้อมูลจากการสำรวจความต้องการ และ (3) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด จาก ก.บ.ก. จังหวัดนำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดไปประชุมปรึกษาหารือกับทุกภาคส่วนในจังหวัดพร้อมกัน 6

46 การจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด
ขั้นตอนการบริหาร การจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด กลุ่มจังหวัดตั้งคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ(ก.บ.ก.) 2 กลุ่มจังหวัดได้รับนโยบาย แนวทาง ขั้นตอน และวิธีการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดจาก ก.น.จ. 3 กลุ่มจังหวัดรับข้อมูลการสำรวจความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ที่จังหวัดจัดส่งให้เพื่อประกอบการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด 1 ก.บ.ก. นำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดไปจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด+ คำขอ งปม. หัวหน้ากลุ่มจังหวัดนำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดฉบับสมบูรณ์ ส่ง ก.น.จ. 9 8 4 ก.บ.ก. จัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด โดยการวิเคราะห์จาก (1) ข้อมูลที่ได้รับจาก ก.น.จ.และ (2) ข้อมูลจากการ สำรวจความต้องการที่ได้รับ จาก ก.บ.จ. คณะรัฐมนตรี ก.บ.ก. นำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับไปปรับปรุงแผนพัฒนา กลุ่มจังหวัด หัวหน้ากลุ่มจังหวัดจัดส่งแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด ส่ง ก.น.จ.และ ก.บ.จ. 10 7 5 ก.บ.ก. จัดส่งร่างแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดให้ ก.บ.จ. เพื่อประกอบการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด และเพื่อนำเข้าไปประชุมปรึกษาหารือกับทุกภาคส่วนในจังหวัด จังหวัดนำแผนพัฒนากลุ่ม จังหวัดไปประชุมปรึกษาหารือ กับทุกภาคส่วนในจังหวัด พร้อมกับแผนพัฒนาจังหวัด - ส่งข้อคิดเห็นฯ ให้ ก.บ.ก. 6

47 งบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
หมวด 4 งบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

48 จัดส่งแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด
แนวทางดำเนินการเมื่อ ครม.เห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีของจังหวัด ก.น.จ. จัดส่งแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด ที่ ครม.ให้ความเห็นชอบให้สำนักงบประมาณ สำนักงบประมาณ ดำเนินการจัดสรรงบประมาณฯ ให้เพียงพอต่อการดำเนินงานตาม แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด การส่งแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดให้ถือว่าเป็นการยื่น คำของบประมาณต่อสำนักงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการ งบประมาณแล้วเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับงบประมาณของจังหวัด

49 การแจ้งการจัดสรรงบประมาณ
เมื่อ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีมีผลบังคับใช้ ให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องแจ้งการได้รับการจัดสรรงบประมาณ ดังนี้  ส่วนราชการ  สำนักงบประมาณ ผู้ว่าราชการจังหวัด  กรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น (แจ้ง งปม. เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ) (แจ้งภายใน 30 วัน) การโอนงบประมาณ ส่วนราชการใดมีความจำเป็นต้องโอนงบประมาณที่ปรากฏอยู่ในแผนปฏิบัติ ราชการประจำปีของจังหวัดใดกลับส่วนราชการนั้นหรือโอนไปดำเนินการ ในจังหวัดอื่น ให้กระทำได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นแล้ว

50 การรายงานการใช้จ่ายงบประมาณ
การบริหารงบประมาณ ให้เป็นไปตามวิธีการบริหารงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติตามที่ ก.น.จ. กำหนด ตามข้อเสนอแนะของสำนักงบประมาณ การรายงานการใช้จ่ายงบประมาณ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ให้จังหวัดรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานและผลการ ใช้จ่ายงบประมาณที่แสดงถึงผลสำเร็จ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการ ดำเนินงานตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด เสนอ ก.น.จ. เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี และให้จัดส่งสำเนาให้สำนักงบประมาณ ทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ กรณีที่สำนักงบประมาณกำหนดให้จังหวัดจัดทำรายงานผลการใช้จ่าย งบประมาณตามแบบที่ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด เมื่อจังหวัด ได้จัดส่งสำเนาให้สำนักงบประมาณตามวรรคหนึ่งแล้วให้ถือว่าจังหวัด ได้จัดทำรายงานดังกล่าวแล้ว

51 กลุ่มจังหวัด งบประมาณ การจัดทำและบริหารงบประมาณ
ให้นำข้อกำหนดที่ใช้กับจังหวัดมาใช้บังคับกับด้วยโดยอนุโลม ในกรณีใดที่ไม่อาจปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้หรือมิได้ กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ การดำเนินการในกรณีนั้น ให้เป็นไปตามที่ ก.น.จ. กำหนดด้วยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรี ให้หัวหน้ากลุ่มจังหวัดบูรณาการการบริหารงบประมาณกลุ่มจังหวัด ให้เป็นไปตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีของกลุ่มจังหวัด

52 หมวด 5 การกำกับและติดตาม

53 การกำกับและติดตาม ให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจราชการ
กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจหน้าที่เร่งรัด ติดตามและประเมินผล การดำเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติ ราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด รวมทั้งการบริหาร งบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยรายงานผลการติดตามประเมินผลแก่ ก.น.จ. อย่างน้อย ปีละสองครั้ง

54 แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/ แผนพัฒนาจังหวัด
การกำกับและติดตาม (ต่อ) เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ให้จังหวัดจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/ แผนพัฒนาจังหวัด ผลสัมฤทธิ์ในระดับภาพรวมและแยกตามรายประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ในระดับโครงการ (ตามคำของบประมาณประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด)

55 การกำกับและติดตาม (ต่อ)
บันทึกความร่วมมือการดำเนินการ ให้จังหวัด ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่น ของรัฐบรรดาที่มีสำนักงานอยู่ในท้องที่จังหวัดและได้รับเงินงบประมาณ เป็นการเฉพาะเพื่อดำเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติ ราชการประจำปีของจังหวัด มีหน้าที่ต้องจัดทำบันทึกความร่วมมือ การดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กำหนด ให้ใช้บังคับกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมัครใจให้ความร่วมมือและ สนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีของจังหวัดด้วย ให้ใช้บังคับกับการดำเนินการตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดด้วยโดยอนุโลม

56 ข้อมูลและองค์ความรู้
ตัวอย่างบันทึกความร่วมมือการดำเนินการ ชื่อโครงการ หน่วยงาน งบประมาณ ฐาน ข้อมูลและองค์ความรู้ อุปกรณ์/เครื่องมือ และเทคโนโลยี บุคลากร หน้าที่/ความ รับผิด ชอบ ก. xx,xxx,xxx ……. - คน/เดือน ข. ค. รวม

57 บทเฉพาะกาล การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ในครั้งแรก ให้ ก.บ.จ. จัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และให้ ก.บ.ก. จัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด เสนอ ก.น.จ. พิจารณาให้ความเห็นชอบในคราวเดียวกัน พรฎ.นี้ให้ใช้บังคับกับการดำเนินการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ เป็นต้นไป

58 ร่วมพัฒนาระบบ ยกระดับบริการ เพื่อรอยยิ้มของประชาชน


ดาวน์โหลด ppt พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google