งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดการน้ำเสียจากฟาร์มสุกร โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดการน้ำเสียจากฟาร์มสุกร โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดการน้ำเสียจากฟาร์มสุกร โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
โดย กรมควบคุมมลพิษ นำเสนอโดย นายวรวุฒิ นำสุวิมลกุล

2 บทนำ ปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างมาก โดยเฉพาะสุกรซึ่งเป็นสัตว์ที่ประชากรคนไทยนิยมบริโภคมากเป็นอันดับหนึ่ง มีผลทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเพิ่มทั้งปริมาณสุกรและจำนวนฟาร์มสุกร ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากมูลและของเสียต่าง ๆ ตลอดจนทำให้เกิดก๊าซแอมโมเนีย และไฮโดรเจนซัลไฟด์ทำให้เกิดมลภาวะต่อฟาร์มสุกร และชุมชนใกล้เคียง ระบบก๊าซชีวภาพเป็นระบบกำจัดของเสียที่เหมาะสมสำหรับใช้แก้ปัญหามลภาวะดังกล่าว ระบบก๊าซชีวภาพเป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการกำจัดของเสียจากฟาร์มสุกร

3 วัตถุประสงค์ เป็นการศึกษาการนำระบบก๊าซชีวภาพมาใช้ในการจัดการของเสียในฟาร์มสุกร

4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ช่วยกำจัดของเสียจากฟาร์มสุกร เช่น มูลสุกร กลิ่นเหม็น น้ำเสียจากฟาร์มสุกร 2.ผลิตเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในภายในฟาร์ม เช่น ก๊าซชีวภาพมีเทนเป็นพลังงานความร้อนที่ใช้ในการหุงต้ม ผลิตแสงสว่าง และใช้เป็นแหล่งความร้อนในการกกลูกสุกร 3.มูลที่เหลือจากการหมักจะนำมาใช้เป็นปุ๋ยคอกในแปลงพืชผัก

5 วิธีการ 1.ศึกษาขั้นตอนการย่อยสลายมูลสัตว์และของเสียจากฟาร์มโดยจุลินทรีย์ 2.การออกแบบระบบก๊าซชีวภาพ ( บ่อหมักมูลสัตว์และของเสียจากสัตว์ )

6 ศึกษาขั้นตอนการย่อยสลายมูลสัตว์และของเสียจากฟาร์มโดยจุลินทรีย์
1.แบคทีเรียPhychrophillis ย่อยสลายมูลเป็นกรดอินทรีย์ 2.แบคทีเรียMesophillis เปลี่ยนกรดอินทรีย์เป็นกรดน้ำส้ม 3.แบคทีรีย Thermophillis จะเปลี่ยนกรดน้ำส้มเป็นก๊าซมีเทน *แบคทีเรียทั้ง 3 ชนิดเป็น anaerobic microorganism

7 การออกแบบระบบก๊าซชีวภาพ
เป็นการออกแบบระบบภาชนะหรืออุปกรณ์ที่เหมาะสม เพื่อรองรับมูลสัตว์เพื่อให้เกิดการหมักโดยแบคทีเรีย

8 ส่วนประกอบของระบบก๊าซชีวภาพ
1.บ่อรวมน้ำเสีย 2.บ่อตกตะกอน 3.บ่อหมักไร้ออกซิเจน

9 ส่วนประกอบของระบบก๊าซชีวภาพ
4.ลานกรองของแข็ง 5.บ่อหมักไร้ออกซิเจนแบบเร็ว 6.สระเปิดหรือบ่อเลี้ยงปลา

10 บ่อหมักไร้ออกซิเจน บ่อหมักไร้ออกซิเจนแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1.บ่อหมักแบบโดมคงที่ ( Fixed dome digester ) 2.บ่อหมักแบบราง ( Channel digester )

11 บ่อหมักแบบราง

12 สรุป 1.การกำจัดของเสียจากฟาร์มสุกร โดยใช้ระบบก๊าซชีวภาพ สามารถช่วยจัดการของเสียในฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ของเสียที่เป็นตะกอนจะถูกแยกและนำไปใช้เป็นปุ๋ยในแปลงพืชผล น้ำเสียที่ผ่านระบบนี้จะสามารถกำจัดของเสียได้ถึงร้อยละ 90 2.การกำจัดของเสียระบบนี้ นอกจากจะช่วยลดมลภาวะภายในฟาร์ม และชุมชน ยังสามารถได้รับผลพลอยได้ คือ ปุ๋ย ก๊าซชีวภาพมีเทนซึ่งเป็นพลังงานทดแทนเพื่อใช้ในการหุงต้ม การผลิตแสงสว่าง การใช้เป็นพลังงานภายในฟาร์ม

13 วิจารณ์และข้อเสนอแนะ
1.ระบบการกำจัดของเสียโดยวิธีนี้จะต้องใช้เงินลงทุนระยะแรกค่อนข้างสูง แต่สามารถใช้ได้เป็นระยะเวลานาน 2.ฟาร์มที่จะติดตั้งระบบนี้จะต้องเป็นฟาร์มที่มีการให้ความร่วมมือร่วมใจอย่างจริงจังในการช่วยแก้ปัญหาการลดมลภาวะ 3.น่าจะมีการต่อยอดเทคโนโลยีให้สามารถบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มและนำกลับมาใช้ได้อย่างสมบูรณ์

14 เอกสารอ้างอิง ควมคุมมลพิษ, กรม การจัดการน้ำเสียจากฟาร์มสุกรโดยใช้ เทคโนโลยีชีวภาพ. กรุงเทพ ฯ : กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม. Steven J.Hoff,Dwaine S.Bundy, Minda A.Nelson and Brian C. Zelle.(2004). Emission of Ammonia, Hydrogen Sulfide and Odor before,during,after Slurry Removal from a Deep-Pit Swine Finisher. Air and Waste Manage.Assoc.56 :


ดาวน์โหลด ppt การจัดการน้ำเสียจากฟาร์มสุกร โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google