งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สวัสดิการสังคมไทย ในแผนฯ 11

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สวัสดิการสังคมไทย ในแผนฯ 11"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สวัสดิการสังคมไทย ในแผนฯ 11
ทิศทางการจัดสวัสดิการสังคมไทย ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 สวัสดิการสังคมไทย ในแผนฯ 11 จิระพันธ์ กัลละประวิทย์ ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และวางแผนการพัฒนาทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 21 กุมภาพันธ์ 2554

2 กรอบการนำเสนอ ทิศทางของแผนฯ 11 สถานการณ์การเปลี่ยนแปลง
3. แนวทางการการพัฒนาในยุทธศาสตร์แผนฯ 11 4. กรอบทิศทางการจัดสวัสดิการทางสังคมที่ยั่งยืน ในช่วงแผนฯ 11 ประเด็นการนำเสนอ ประกอบด้วย กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 การวิเคราะห์บริบทการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ การประเมินศักยภาพของประเทศไทย ซึ่งพิจารณา 2 ขั้นตอน 3.1 การประเมินศักยภาพ 3.2 การวิเคราะห์ SWOT ร่างทิศทางและยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11

3 1. ทิศทางแผนฯ 11 6 ความเสี่ยง 6 ภูมิคุ้มกัน การเปลี่ยนแปลงภายนอก
1. ทิศทางแผนฯ 11 6 ความเสี่ยง การเปลี่ยนแปลงภายนอก 1. การบริหารภาครัฐที่อ่อนแอ 2. โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน 3. โครงสร้างประชากรไม่สมดุล 4. ค่านิยมที่ดีงามของไทยเสื่อมถอย 5. ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมมีแนวโน้มเสื่อมโทรมรุนแรง 6. ประเทศไทยยังมีความเสี่ยงด้านความมั่นคงและภัยคุกคามต่างๆ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงกฎ กติกาโลก แนวโน้มการพัฒนาไปสู่ความเป็น โลกหลายศูนย์กลาง การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ภาวะโลกร้อน ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน 6 ภูมิคุ้มกัน การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงภายใน 1. ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. ภาคเกษตรเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ 3. การพัฒนาประเทศให้อยู่บนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย 4. สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม 5. ชุมชนเป็นกลไกที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเชื่อมโยงกันเป็นสังคมสวัสดิการ 6. ประเทศไทยมีศักดิ์ศรีความเป็นเอกราช เป็นมิตรกับนานาประเทศ ประเด็นการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป การวิเคราะห์ความเสี่ยงที่ประเทศต้องเผชิญ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 และการสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ สะท้อนถึงประเด็นการพัฒนาประเทศที่ควรพิจารณา ได้ดังนี้ เร่งสร้างสังคมให้สงบสุข โดยเทิดทูนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นศูนย์รวมศรัทธาความสัมพันธ์ของคนในสังคมให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมมือกันฝ่าวิกฤติและสร้างสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เร่งขยายผลการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นค่านิยมร่วมทั้งสังคม ทำให้รากฐานสังคมและเศรษฐกิจแข็งแกร่ง พร้อมทั้งเสริมสร้างภาคราชการ การเมือง และประชาสังคมให้เข้มแข็งภายใต้วัฒนธรรมประชาธิปไตยที่ถูกต้องเหมาะสม มีธรรมาภิบาล เป็นที่เชื่อมั่นและไว้วางใจของประชาชน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคมไทยในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มุ่งพัฒนาคนให้มีคุณภาพเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มั่นคงและสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างต่อเนื่อง เป็นการพัฒนาศักยภาพ รวมทั้งด้านสติปัญญาและจิตใจให้พร้อมรับการพัฒนาประเทศสู่สังคมฐานความรู้ และร่วมพัฒนาฐานรากของสังคมไทยให้เข้มแข็งในทุกมิติการพัฒนา สามารถสร้างเสถียรภาพให้เศรษฐกิจภายในประเทศ เป็นปัจจัยการผลิตสำคัญในกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คนรุ่นต่อไปภายใต้สังคมคาร์บอนต่ำ รวมทั้งเป็นกำลังสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ พัฒนาภาคเกษตรให้คงอยู่กับสังคมไทยและสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้ทุกคน จากสภาพภูมิประเทศและที่ตั้งของประเทศไทยที่เอื้ออำนวย ทำให้การทำเกษตรมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศที่ต้องเร่งพัฒนาให้เกษตรกรมีศักยภาพ และความพร้อมในการผลิตพืชอาหารที่มีคุณภาพในปริมาณมากพอที่จะเลี้ยงดูคนในประเทศ และส่งเป็นสินค้าออกสนองความต้องการของประเทศต่างๆ สามารถเป็นผู้นำการผลิตและการค้าในเวทีโลก รักษาความโดดเด่นของสินค้าอาหารที่ต่างประเทศชื่นชอบ ปรับปรุงการบริหารจัดการของภาครัฐให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า ปัญหาเชิงโครงสร้างเป็นอุปสรรคต่อการก้าวต่อไปในอนาคตทั้งโครงสร้างสังคม โครงสร้างเศรษฐกิจ และโครงสร้างอำนาจ การแก้ปัญหาดังกล่าว ต้องให้ความสำคัญกับภาครัฐที่มีอำนาจในการบริหารจัดการประเทศให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ สร้างการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนา ทำให้การพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจและสังคม สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในช่วงแผนฯ ๑๑ ได้อย่างสัมฤทธิ์ผลและมีประสิทธิภาพ การเงินเข้มแข็ง การคลังขาดสมดุล เกษตรต้นทุนสูง พื้นที่/แรงงานจำกัด อุตสาหกรรมพึ่งต่างประเทศ บริการ/ ท่องเที่ยวมีโอกาส สังคมเปลี่ยนเป็นสังคมปัจเจก วัฒนธรรม ไทยเชื่อมโยงกับต่างชาติ การศึกษา/ สุขภาพดีขึ้น แต่ IQ EQ ของเด็ก ผลิต ภาพแรงงาน การดูแลผู้สูงอายุเป็นปัญหา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสื่อมโทรม โลกร้อนกระทบภาคเกษตร ปัญหายากจน/ย้ายถิ่น บุกรุกป่าเพิ่มขึ้น พึ่งพลังงานจากต่างประเทศ

4 1. ทิศทางแผนฯ 11 (ต่อ) 6 ยุทธศาสตร์
1. ทิศทางแผนฯ 11 (ต่อ) สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง วิสัยทัศน์ 6 ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์การสร้างความสมดุลและมั่นคงของอาหาร และพลังงาน ยุทธศาสตร์การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้และการสร้าง ปัจจัยแวดล้อม ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในภูมิภาค ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม มุ่งสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุน ทรัพยากร การประกอบอาชีพ ยกระดับรายได้ และสร้างความมั่นคงทางสังคมให้ทุกคนในสังคมไทย ช่วยเหลือกลุ่มคนยากจน คนด้อยโอกาส แรงงานนอกระบบ/ต่างด้าว ชนกลุ่มน้อยให้เข้าถึงบริการทางสังคมอย่างเท่าเทียมกัน ส่งเสริมให้ภาคีพัฒนามีส่วนร่วมแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความขัดแย้งในสังคมไทยอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาทุกคนในสังคมไทยให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน เน้นการพัฒนาคนไทยทุกกลุ่มวัยให้มีศักยภาพ มีความพร้อมทั้งกายใจ สติปัญญา มีจิตสำนึกวัฒนธรรมที่ดีงาม และรู้คุณค่าความเป็นไทย มีโอกาสและสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมของครอบครัว ชุมชน และสังคมให้มั่นคง และเอื้อต่อการพัฒนาคนที่สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลง ยุทธศาสตร์การสร้างความสมดุลและมั่นคงของอาหารและพลังงาน สร้างฐานภาคเกษตรให้เข้มแข็ง สามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพเพียงพอสำหรับผู้บริโภคทุกคนภายในประเทศ เป็นฐานการผลิตที่ทำให้เกิดความมั่นคงในอาชีพและรายได้แก่เกษตรกร สร้างความสมดุลในการใช้ผลิตผลการเกษตรเป็นอาหารและพลังงาน ตลอดจนจัดหาพลังงานให้มีความมั่นคงเพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ ยุทธศาสตร์การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้และการสร้างปัจจัยแวดล้อม สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าและบริการในภูมิภาคบนฐานปัญญา นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เสริมสร้างการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในระยะกลางและระยะยาวอย่างสมดุล สร้างระบบประกันและบริหารจัดการความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการผลิต การค้า และการลงทุน รวมทั้งการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ สร้างเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ภายในประเทศที่เชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค และพัฒนาความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม นำไปใช้ในการยกระดับห่วงโซ่การผลิตและการให้บริการ ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในภูมิภาค ที่เตรียมความพร้อมและปรับตัวเข้าสู่บริบทโลกและภูมิภาค รวมถึงประชาคมอาเซียน และสร้างความเชื่อมโยงด้านการค้า การลงทุนกับขั้วเศรษฐกิจที่ขยายตัวสูงและประเทศเพื่อนบ้าน สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจจากศักยภาพของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ส่งเสริมบทบาทไทยในเวทีระหว่างประเทศให้เด่นชัด รวมทั้งบรรเทาผลกระทบเชิงลบและประเด็นปัญหาร่วมระหว่างประเทศ ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์ ขับเคลื่อนการผลิตและบริโภคของประเทศไปสู่การเป็นสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างภูมิคุ้มกันและเตรียมความพร้อมในการรองรับและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

5 การพัฒนาที่ไม่สมดุลส่งผลให้สังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำ
2. สถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ที่มีผลต่อโครงสร้างสังคมไทย การพัฒนาที่ไม่สมดุลส่งผลให้สังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำ 1 3 โครงสร้างเศรษฐกิจบิดเบือนไม่เอื้อต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดช่องว่างทางเศรษฐกิจ การเข้าไม่ถึงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติทำให้ชุมชนสูญเสียความสามารถในการพึ่งตนเอง โครงสร้างเศรษฐกิจพึ่งพิงอุตสาหกรรม/การส่งออกในสัดส่วนสูง ผลิตภาพภาคเกษตรต่ำกว่าภาคอุตสาหกรรมมาก โครงสร้าง/นโยบายเศรษฐกิจเอื้อประโยชน์ต่อเจ้าของทุนมากกว่าแรงงาน ผลตอบแทนแรงงานต่ำกว่าผลตอบแทนทุน การผูกขาดทางการค้าเป็นอุปสรรคต่อการสร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับรายย่อย ธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อม การกระจายความมั่งคั่ง/ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั้งด้านรายได้/การถือครองสินทรัพย์ยังมีความเหลื่อมล้ำมาก ชุมชนไม่สามารถเข้าถึง/ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติได้ ทำให้ต้องอาศัยแหล่งอาหารจากภายนอกชุมชนที่มีต้นทุนสูง การพัฒนาอุตสาหกรรมที่รุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรม/แหล่งทำมาหากิน ก่อให้เกิดมลพิษและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน อิทธิพลกลุ่มทุนต่อนโยบายต่างๆ ทำให้ชุมชนมีช่องทางน้อยลงในการทำมาหากินในท้องถิ่น ไม่สามารถอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้เต็มที่ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นตัวเร่งให้เกิดความยากลำบากในการดำรงชีวิตของคนในชุมชนชนบท 2 การทุจริตประพฤติมิชอบเป็นอุปสรรคสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม 4 โครงสร้างทางสังคมยังมีช่องว่างทางสังคมระหว่างชนชั้นทั้งในด้านองค์ความรู้ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร คุณภาพบริการทางสังคม แรงงานกว่าร้อยละ ๖๒.๑ ยังไม่มีหลักประกันทางสังคม คุณภาพบริการด้านการศึกษาและสาธารณสุขยังมีความแตกต่างกันรายพื้นที่ โอกาสของผู้หญิงในภาคการเมือง การเป็นผู้บริหารระดับสูงในภาครัฐ/ภาคธุรกิจเอกชนยังมีน้อย การบริหารจัดการที่ดีของไทยยังคงเผชิญกับปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในภาครัฐ ปัญหาการทุจริตการเลือกตั้งยังมีอยู่ทุกระดับ มีรูปแบบหลากหลายซับซ้อน ยากต่อการตรวจสอบมากขึ้น ปัญหาการเข้าถึงสิทธิ/กระบวนการยุติธรรมที่เสมอภาคของคนกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทยเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความเป็นธรรม การทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ/เลือกปฏิบัติการ/ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ

6 3. แนวทางการพัฒนาในยุทธศาสตร์แผนฯ 11
3. แนวทางการพัฒนาในยุทธศาสตร์แผนฯ 11 ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม เป้าหมายการพัฒนา การกระจายรายได้และการถือครองทรัพย์สิน ประเภทต่างๆ ของกลุ่มต่างๆ ดีขึ้น ยกระดับการคุ้มครองทางสังคมให้มีคุณภาพและ ครอบคลุมทั่วถึง มีความแตกต่างด้านคุณภาพ บริการทางสังคมระหว่างพื้นที่/กลุ่มคนลดลง โครงสร้างค่าจ้างแรงงานมีความเป็นธรรมมากขึ้นและสวัสดิการแรงงานปรับปรุงดีขึ้นและเหมาะสมกับการยกระดับคุณภาพชีวิต การแข่งขันทางธุรกิจมีความเป็นธรรมมากขึ้น และธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อมมีสัดส่วน/บทบาทมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ลดการผูกขาดการค้าและสร้างความ รับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ เอกชน รวมทั้งความรับผิดชอบต่อ ผู้บริโภค/ผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ความเท่าเทียมทางเพศมีมากขึ้น ทั้งเรื่อง รายได้ โอกาสทางอาชีพ โอกาสทาง การเมือง และการดำรงตำแหน่งใน ระดับสูงและบริหารจัดการ ยกระดับความเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมไทยสูงขึ้น ภูมิคุ้มกัน ทุกคนในสังคมไทยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มผู้ด้อยโอกาสได้รับโอกาสและการพัฒนาศักยภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ประชาชนมีความเข้มแข็งเป็นพลังร่วมของสังคมไทย ทุกคนสามารถอยู่ในชุมชนและสังคมที่ยึดโยงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ตัวชี้วัด ดัชนีชี้วัดความมั่นคงของรายได้ ที่อยู่อาศัย การทำงาน การศึกษา คุณภาพ การศึกษา การดูแลสุขภาพ สัดส่วนประชากรที่เข้าถึงการคุ้มครองทาง สังคมที่มีคุณภาพจำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ ในระบบและนอกระบบ และสัดส่วน ของแรงงานนอกระบบประกันสังคมที่ เข้าถึงระบบสวัสดิการสังคมของกำลัง แรงงานทั้งหมด สัดส่วนรายได้ระหว่างกลุ่มที่มีรายได้สูงสุด ร้อยละ ๑๐ แรกกับกลุ่มที่มีรายได้น้อย ร้อยละ ๑๐ สุดท้าย สัดส่วนการถือครองทรัพย์สินประเภท ต่าง ๆ ของคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมไทย ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคมีมาตรฐาน ดีขึ้น สัดส่วนผู้หญิงที่ได้รับเลือกตั้ง/แต่งตั้งเป็น ผู้แทนในรัฐสภา อบต. และผู้บริหารระดับสูงของ ราชการ ช่องว่างรายได้หรือผลตอบแทนแรงงานชาย และหญิง ดัชนีชี้วัดความไว้วางใจในตัวบุคคล สถาบัน ทางสังคม และองค์กรต่างๆ การเป็นสมาชิกในการดำเนินกิจกรรมทาง การเมือง องค์การกุศล และกลุ่มสมาคมต่าง ๆ สัดส่วนของประชาชนที่มีสิทธิได้รับคำปรึกษา ทางกฎหมายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ดัชนีภาพลักษณ์การทุจริตประพฤติ มิชอบ

7 แนวทางในยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
๑) การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทุกคนในสังคมไทยสามารถจัดการความเสี่ยงและสร้างโอกาสในชีวิตให้แก่ตนเอง โดย (๑) สร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจฐานรากและการสร้างโอกาสเศรษฐกิจให้คนฐานล่าง (๒) สนับสนุนการจัดหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยและการเข้าถึงระบบสาธารณูปโภค (๓) ปรับระบบการคุ้มครองทางสังคมให้ครอบคลุมทุกคนอย่างทั่วถึงสอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็น (๔) ส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดความเป็นธรรม (๕) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิต รวมทั้งการคุ้มครองผู้บริโภค (๖) ส่งเสริมบทบาทของภาคธุรกิจเอกชนในการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมแก่คนในสังคมไทย ๒) การจัดบริการทางสังคมให้ทุกคนตามสิทธิพึงมีพึงได้ เน้นการสร้างภูมิคุ้มกันระดับปัจเจกและสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในการพัฒนาประเทศ (๑) สร้างโอกาสอย่างเป็นธรรมให้กลุ่มด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงบริการทางสังคมที่มีคุณภาพอย่าง เท่าเทียมและทั่วถึง (๒) เสริมสร้างความมั่นคงให้คนยากจนมีความพร้อมรับผลกระทบจากวิกฤตต่างๆ (๓) สนับสนุนการสร้างสังคมสวัสดิการ

8 แนวทางในยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม (ต่อ)
๓) การเสริมสร้างพลังให้ทุกภาคส่วนสามารถเพิ่มทางเลือกการใช้ชีวิตในสังคมและสร้างการมีส่วนร่วมในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้อย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี (๑) เสริมสร้างพลังทางสังคมให้ทุกคนสามารถแสดงออกทางความคิดอย่างอิสระ (๒) เสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนให้สามารถจัดการปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๓) สนับสนุนการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ในการสร้างค่านิยมใหม่ๆ ในสังคมไทย (๔) ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเป็นพลังร่วมในการพัฒนาสังคมไทย (๕) เสริมสร้างระบบบริหารราชการให้เข้มแข็งมีประสิทธิภาพ มีระบบถ่วงดุลอำนาจและการตรวจสอบที่เข้มงวดและรอบด้าน มีการรับผิดรับชอบที่เหมาะสม (๖) ปฏิรูปการเมืองไทยทั้งระบบให้เป็นประชาธิปไตยของมวลชน (๗) สร้างความเท่าเทียมในกระบวนการยุติธรรม ๔) เสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมให้แน่นแฟ้นเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (๑) สร้างค่านิยมใหม่ที่ยอมรับร่วมกันบนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจและเกื้อกูลกันในสังคม (๒) ส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองที่มีธรรมาภิบาลนำไปสู่การเป็นประชาธิปไตยที่ถูกต้องและเหมาะสม (๓) สร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจให้เกิดขึ้นกับคนในสังคม

9 4. กรอบทิศทางการจัดสวัสดิการสังคมในช่วงแผนฯ 11
กรอบแนวคิด มุ่งศึกษาแนวทางการพัฒนากลไก ระบบ และรูปแบบการจัดสวัสดิการทางสังคมที่หลากหลาย โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อสร้างหลักประกันด้านสิทธิที่ประชากรทุกช่วงวัยสามารถเข้าถึงสวัสดิการที่เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง และข้อจำกัดด้านการเงินการคลังของประเทศ อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนของระบบ และทำให้คนไทยได้รับสวัสดิการที่มั่นคงตลอดอายุขัย กรอบแนวคิด ขอบเขตการศึกษา ระบบ และรูปแบบการจัด สวัสดิการทีหลากหลายและ เหมาะสมกับคนไทยทุกกลุ่มวัย กลไกการบริหารจัดการเพื่อการ แปลงแนวทางการจัดสวัสดิการ ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ทบทวนสถานการณ์ วิเคราะห์ปัจจัยเงื่อนไข OUTPUT: กรอบทิศทางการจัดสวัสดิการที่ยังยืนในช่วงแผนฯ 11 การบริการทางสังคม (Social Service) การศึกษา สาธารณสุข สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พักอาศัย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุ ข้อเสนอ การช่วยเหลือทางสังคม (Social Assistance) สถานสงเคราะห์ เบี้ยยังชีพ ปัจจัยสี่ รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นโยบายรัฐบาล และทิศทางการพัฒนาประเทศ การประกันสังคม (Social Insurance) กองทุนประกันสังคม กบข. ฯลฯ การช่วยเหลือเกื้อกูลของภาคประชาชน สวัสดิการชุมชน CSR การประกันภัย ทิศทางการลงทุนและข้อจำกัดด้านการเงินการคลังของประเทศ กลไกการดำเนินงาน รัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น เอกชน ชุมชน ครอบครัว ปัจเจกบุคคล กระบวนการศึกษา วางกรอบประเด็นการศึกษาและขั้นตอนการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดประชุมระดมความเห็น (Focus Group) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา  สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเกี่ยวกับสาระของกรอบทิศทางฯ

10 ข้อวิเคราะห์การจัดสวัสดิการสังคมของไทย
ผลการศึกษา ข้อวิเคราะห์การจัดสวัสดิการสังคมของไทย  รูปแบบการจัดสวัสดิการสำหรับคนกลุ่มวัยต่างๆ ยังคงมีประเด็นปัญหาเชิงนโยบายที่ควรให้ความสำคัญ ดังนี้ กลุ่มเด็กและเยาวชน บริการด้านการศึกษายังคงมีปัญหาในเชิงคุณภาพ และความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท กลไกและการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนยังไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงได้ กลุ่มวัยทำงาน แรงงานนอกระบบยังไม่สามารถเข้าถึงระบบการประกันสังคม (Social Insurance) ขณะที่มีแนวคิดใน การรวมกลุ่มเพื่อจัดระบบการประกันสังคมของตนเอง อาทิ กองทุนสวัสดิการชาวนา ฐานข้อมูลกลุ่มแรงงานนอกระบบยังไม่เป็นหมวดหมู่ชัดเจน กลุ่มผู้สูงอายุ ยังคงให้ความสำคัญกับการสงเคราะห์ โดยไม่คำนึงถึงการพึ่งพาตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี การจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ยังขาดการบูรณาการกลไกต่างๆ ที่มีอยู่ในระดับพื้นที่ และยังไม่มีการเชื่อมโยงกับการดูแลโดยครอบครัวและชุมชน พัฒนากองทุนการออมแห่งชาติให้เป็นทางเลือกแก่ประชาชนทั่วไปในการเข้าถึงระบบบำนาญชราภาพ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส  เน้นการสงเคราะห์โดยยังขาดการพัฒนาศักยภาพแบบครบวงจร เพื่อให้กลุ่มผู้พิการและด้อยโอกาสสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี รวมทั้งการเป็นผู้ให้ประโยชน์แก่สังคม

11 ข้อวิเคราะห์การจัดสวัสดิการสังคมของไทย (ต่อ)
ผลการศึกษา (ต่อ) ข้อวิเคราะห์การจัดสวัสดิการสังคมของไทย (ต่อ)  กลไกการดำเนินงานจัดสวัสดิการสังคม ยังคงมีประเด็นที่ควรปรับปรุงแก้ไขให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงาน ดังนี้ กลไกการปฏิบัติงาน กลไกภาครัฐ ยังดำเนินงานในลักษณะต่างคนต่างทำภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ ของตนตามที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นข้อจำกัดในการเชื่อมประสานการดำเนินงานข้าม หน่วยงาน กลไกภาคธุรกิจเอกชน เริ่มเข้ามาร่วมมีบทบาทในรูป CSR แต่รัฐยังไม่มีมาตรการจูงใจ และกฎหมายที่ชัดเจนรองรับ กลไกภาคประชาชนและองค์กรชุมชน เป็นกลไกหลักในพื้นที่มีบทบาทสำคัญต่อการ ฟื้นฟูวัฒนธรรมและระบบการเกื้อกูลกันภายในชุมชนแบบดั้งเดิม แล้วขยายการเรียนรู้ ไปสู่พื้นที่อื่นๆ เกิดกระบวนการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง กลไกกลาง ในรูป “คณะกรรมการระดับชาติ” มีหลายคณะ สามารถขับเคลื่อนนโยบาย ให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม แต่ยังไม่สามารถบูรณาการ การจัดสวัสดิการสังคมให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างเกื้อกูล

12 ผลการศึกษา (ต่อ) ข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบ
สวัสดิการทางสังคมในช่วงแผนฯ 11 : สู่การจัดสวัสดิการสังคมแบบบูรณาการ เป็นสังคมสวัสดิการ ยุทธศาสตร์ด้านการจัดรูปแบบสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับ แต่ละกลุ่มวัย ยุทธศาสตร์ด้านการบูรณาการกลไกการดำเนินงานจัดสวัสดิการสังคมให้มีความเชื่อมสัมพันธ์กันอย่างเกื้อกูล เชื่อมโยงระบบสวัสดิการระดับชาติ ท้องถิ่น ชุมชน และจัดให้มีกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างชุมชน พัฒนากลไกจังหวัดเพื่อให้เป็นแกนหลักใน การเชื่อมโยงภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ กำหนดภารกิจและแนวทางปฏิบัติของ อปท.ให้สามารถสนับสนุนงานสวัสดิการ ชุมชน เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนร่วมเป็นเจ้าของ กลไกระดับนโยบายในฐานะหุ้นส่วน ควบคู่ กับการเสริมสร้างการรับรู้แก่ประชาชนใน เรื่องสิทธิการเข้าถึงบริการ และการพัฒนา ศักยภาพการจัดการตัวเองของครอบครัว และชุมชน  พัฒนาระบบสวัสดิการแก่เด็กและ เยาวชน เพื่อให้เป็นผู้ใฝ่รู้ รอบรู้ และมีความแข็งแกร่งด้านการคิด เชิงวิเคราะห์ มีโอกาสและสามารถ สร้างนวัตกรรมทางการศึกษาและ การเรียนรู้ได้โดยตรง  ขยายระบบประกันสังคมให้ ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้ง จัดระบบฐานข้อมูลให้ชัดเจน  พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อ ต่อการเป็นสังคมสวัสดิการ (Welfare Society)

13


ดาวน์โหลด ppt สวัสดิการสังคมไทย ในแผนฯ 11

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google