งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันเกิดจากการพัฒนา การปรับตัว ปรับวิถีชีวิตของคนในภาคใต้ที่ประกอบด้วยคนไทยและอีกหลายชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมกันในคาบสมุทรมีคนมาเลย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันเกิดจากการพัฒนา การปรับตัว ปรับวิถีชีวิตของคนในภาคใต้ที่ประกอบด้วยคนไทยและอีกหลายชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมกันในคาบสมุทรมีคนมาเลย์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันเกิดจากการพัฒนา การปรับตัว ปรับวิถีชีวิตของคนในภาคใต้ที่ประกอบด้วยคนไทยและอีกหลายชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมกันในคาบสมุทรมีคนมาเลย์ คนจีน และคนที่มาจากอินเดียฝ่ายใต้ แต่กลุ่มชนที่มีจำนวนมากที่สุดคือ ไทยสยาม โดยสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นแหลมทอง มีทะเลกว้างใหญ่ขนาบอยู่ทั้งสองข้าง มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งในทะเล และบนแผ่นดิน อันล้วนเป็นเขตมรสุมใกล้เส้นศูนย์สูตร มีผู้คนหลายชาติ หลายภาษา หลายวัฒนธรรมเดินทางมาทั้งทางบกและทางทะเลเพื่อมาตั้งหลักแหล่ง แสวงหาโภคทรัพย์และทำมาค้าขายเป็นเวลาติดต่อกันยาวนานกว่าพันปี มีการตั้งถิ่นฐานทำมาหากินกันหลายลักษณะ ทั้งบริเวณชายทะเล ที่ราบระหว่างชายทะเลกับเทือกเขา หลังเขา และตามสายน้ำน้อยใหญ่จำนวนมากที่ไหลจากเทือกเขาลงสู่ทะเลทั้งสองด้าน ภูมิปัญญาของภาคใต้จึงมีความหลากหลาย ทั้งที่ได้พัฒนาการจากการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ หรือคนต่างถิ่นที่พกพามาจากแหล่งอารยะธรรมต่างๆจนหลอมรวมกัน เกิดเป็นภูมิปัญญาประจำถิ่น ซึ่งมีอยู่ในหลายลักษณะ คือ

2 ภูมิปัญญาในด้านประเพณีความเชื่อ
ภูมิปัญญาในด้านศิลปะการแสดง ภูมิปัญญาในด้านกีฬาการละเล่น ภูมิปัญญาในด้านอาหารการกิน ภูมิปัญญาในด้านสิ่งของเครื่องใช้พื้นบ้าน 

3 แต่เนื่องจากประเพณีมีมากจึงขอนำมากล่าวเฉพาะที่สำคัญ ในสมัยวัฒนธรรมทองที่ยังพอมีลมหายใจอยู่บ้าง และได้เข้าใจว่าเรื่องเหล่านี้มีบทบาทอิทธิพลเสมือนยาดำ ต่อการจัดระเบียบทางสังคมและการดำรงคุณธรรมของชาวบ้าน ได้อาศัยศาสนาเป็นแกนและใช้วัฒนธรรมประเพณีเป็นตัวช่วยให้เกิดบูรณาการ (Integration) เติมเต็ม ทำให้คนพื้นเมืองมีอัตลักษณ์และมีคุณภาพมีจริยธรรมสามารถรักษาสถาบันทางสังคมเข็มแข็งที่เป็นลักษณะเฉพาะ (Unique Strength) เป็นมรดกล้ำค่าน่าภูมิใจและเป็น “ต้นทุนชีวิต” สืบมาได้จากวันนี้

4 ประเพณีและพิธีกรรมตามความเชื่อ ของคนภาคใต้
เรื่องวัฒนธรรม และประเพณีในวิถีชีวิตชาวใต้ที่เกิดขึ้นมีทั้งในรอบปี และในรอบตลอดชีวิต เป็นอย่างไร และมีอะไรบ้างนั้น เราอาจแบ่งได้เป็น ๓ ประเภทคือ ๑. ประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาโดยตรง เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา เทศกาลเข้าพรรษา-ออกพรรษา การเข้าสุหนัต การละหมาด ซากัด การแสวงบุญ

5 ๒. ประเพณีที่มีการสืบเนื่องจากศาสนา เช่น การเวียนเทียน การบวชเรียน การรับ-ส่งตา-ยา ในงานบุญเดือนสิบ ประเพณีลากพระ การลอยกระทง งานเมาลิด การถือศีลอด การอ่านคัมภีร์กุรอ่าน การสวดอาซาน การถือศีลกินเจ

6 ๓. ประเพณีที่จัดให้มีขึ้นตามฤดูกาลหรือวาระ เช่น
งานแรกนาขวัญ งานแข่งเรือ งานบวชนาค งานสมรส งานทำศพ งานให้ทานไฟ งานสงกรานต์ งานทำบุญ หมู่บ้าน ราญอฮัจยี เป็นต้น

7 ประเพณีในวิถีชีวิตชาวใต้ที่เกิดขึ้นในรอบ ตลอดชีวิต และมีอะไรบ้างนั้น
การเกิด ผูกเปล โกนผมไฟ บวช แต่งงาน ดูดวงผูกชะตา สู่ขอ แยบ หมั้น แต่ง ดูฤกษ์ผานาที

8 ขึ้นบ้านใหม่ สวดบ้าน ไหว้นา ไหว้สวน ไหว้เจ้าที่ พระภูมิ สวดรับเทดา /เทียมดา / เทวดา

9 การเจ็บป่วย รักษา หาหมอ ต้มยา รดน้ำมนต์ ทำบุญสะเดาะเคราะห์ บริจาคทาน สวดอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์

10 การตายจัดทำพิธีตามประเพณีความเชื่อของแต่ละศาสนา สวดอภิธรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศล / สวดดูอา เผา / ฝัง ลอยอังคาร/ทำบุญบังสุกุลบัว /กระดูก เช้งเม้ง / ไหว้หลุมศพ


ดาวน์โหลด ppt ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันเกิดจากการพัฒนา การปรับตัว ปรับวิถีชีวิตของคนในภาคใต้ที่ประกอบด้วยคนไทยและอีกหลายชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมกันในคาบสมุทรมีคนมาเลย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google